ทริปเล็กๆ สำหรับช่างมือใหม่ จ่ายไฟ+PROTECT+ตัวอย่างหลายยี่ห้อ update 11/7/12
ธันวาคม 13, 2024, 09:39:34 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6 7 ... 23   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ทริปเล็กๆ สำหรับช่างมือใหม่ จ่ายไฟ+PROTECT+ตัวอย่างหลายยี่ห้อ update 11/7/12  (อ่าน 634671 ครั้ง)
TRT
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #58 เมื่อ: ตุลาคม 09, 2008, 05:07:41 pm »

มาดูการทำงานของภาคจ่ายไฟกันครับ
ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจกับคำว่า ภาคจ่ายไฟของ TV กันก่อนนะครับ ตามโครงสร้างบล็อกไดอะแกรม ( ในรูปครับ ) ภาคจ่ายไฟของ TV จะเริ่มต้นด้วยการแปลงไฟ 220 VAC  ให้เป็นแรงดันไฟตรง ซึ่งจะได้อยู่ที่ 300 VDC และจะต้องทำให้ไฟ 300 VDC นี้เป็นไฟสลับวิ่งผ่านหม้อแปลง Switching เพื่อให้เกิดนามแม่เหล็กเหนี่ยวนำผ่านไปยังขดเซคคั่นดารี่  เพื่อนำไฟจากขดเซคคั่นดารี่ไปใช้ใน TV ในภาคต่างๆ 
สิ่งที่สำคัญในภาคจ่ายไฟก็คือหน่วยออสซิเลเตอร์ นั่นคือการผลิตความถี่และส่งไปขยายที่หน่วย Output  ที่ควบคุมการออน-ออฟ ให้ไฟ 300 VDC นี้เป็นไฟสลับใหลผ่านหม้อแปลง Switching  เพื่อให้เกิดการเหนี่ยวนำผ่านออกไปในขดเซ็คคั่นดารี่  ใน TV รุ่นเก่าๆ จะใช้ทรานซิสเตอร์หรือมอสเฟตเป็นหน่วย Output  ทำหน้าที่ ออน-ออฟไฟ 300 VDC แต่รุ่นใหม่ๆเดี๋ยวนี้จะเป็น IC STR ซะโดยส่วนใหญ่ ซึ่งหน่วยผลิตออสซิเลเตอร์ และหน่วย Output ก็จะอยู่ในตัวเดียวกัน  ซึ่งการซ่อมภาคจ่ายไฟนั้น ไม่ว่าจะรุ่นเก่าหรือรุ่นใหม่ สิ่งสำคัญที่ต้องดูก็คือ
-   ไฟ 300 VDC ได้รับมาจากไดโอดบริดส์ แปลงไฟ 220 VAC มาเป็นไฟ 300VDC
-   ไฟ Stard ไฟนี้มาจากไฟ 300 VDC ลดแรงดันผ่าน R มาให้หน่วย OSC
-   หน่วย OSC หน่วยนี้จะทำหน้าที่ผลิตความถี่ออกมาเพื่อจะทำให้ไฟ 300 VDC นี้เป็นไฟสลับ
-   หน่วย Output ทำหน้าที่ขยายความถี่ OSC ให้กับหม้อแปลง Switching
-   และรุ่นใหม่ๆจะมีภาคควบคุมแรงดันเข้ามาช่วยให้ไฟที่ออกจากขดเซคคั่นดารี่ เพิ่มเข้ามาให้ไฟออกเที่ยงตรงที่สุด
บันทึกการเข้า

TRT
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #59 เมื่อ: ตุลาคม 09, 2008, 05:08:59 pm »

คราวนี้มาดูตัวอย่างกันเลยนะครับ เราจะยกตัวอย่างการทำงานภาคจ่ายไฟของยี่ห้อ LG แท่น MC-049 ก่อนเลยนะครับ ตามรูปจะเห็นว่าไฟ 220VAC จะผ่าน DB801 แปลงให้เป็นไฟ 300VDC และ C803 ทำหน้าที่ฟิลเตอร์ให้ไฟเรียบขึ้น และจะใหลผ่านขา 9 ของหม้อแปลงออกมาขา 6 และมารอการสวิทช์ที่ขา 1 IC801 หรือจะมองข้างใน IC801 ก็คือขา Drain นั่นเอง
และอีกทางนึงจากไฟ 220VAC จะมีไดโอด D805 แปลงให้เป็นไฟ DC มาเป็นไฟ Stard ที่ขา 4 IC801 เมื่อขา 4 IC801 นี้ได้รับไฟ Stard แล้ว ก็จะทำการออสซิเลทความถี่ไปทริกให้ขาเกท ของมอสเฟส output ให้มอสเฟตทำงาน และเมื่อมอสเฟตทำงานในจังหวะลูกคลื่นลูกแรก และเมื่อผ่านการออนไปแล้ว ก็มาถึงจังหวะออฟ ก็จะเกิดการเหนี่ยวนำที่หม้อแปลง ทำให้มีไฟของขดเซคคั่นดารี่ออกมา จะมีขดเซคคั่นดารี่หลายชุด โดยเรามาดูที่ขา 1 และขา 3 กันก่อน ซึ่งไฟที่ออกมาจากจุดนี้ ส่วนนึงจะไปเสริมให้กับไฟ Stard เพื่อให้เกิดคล็อคลูกต่อไปนั่นเอง ส่วนอีกส่วนนึงจะวิ่งมาที่ขา 7 Over Current Protect  ขานี้จะทำงานเมื่อมีไฟออกมาจากขา 3 หม้อแปลงมากเกิน ( กระแสใหลมากตอนที่มอสเฟตออนนั่นเอง )และการทำงานก็จะสลับการ ออน-ออฟ ไปอย่างนี้ตลอดครับ
บันทึกการเข้า
TRT
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #60 เมื่อ: ตุลาคม 09, 2008, 05:15:18 pm »

ต่อไปมาดูเรื่องแรงดันไฟทางขดเซคคั่นดารี่ที่ไปใช้ในภาคต่างๆของ TV กันครับ ฝั่งนี้ก็มีหลายจุดเช่นกันครับ อาทิไฟที่ขา 11 , 12 , 14 , 16 และที่ขา 18 สำหรับไปเลี้ยงภาคต่างๆ ซึ่งเราจะไม่พูดถึงนะครับ เราจะมาดูไฟแค่ที่ขา 11 ( 14 V ) และขา 18 ของหม้อแปลง นั่นก็คือขาไฟ B+ 110V โดยไฟนี้ นอกจากไปเลี้ยงภาค Hor แล้วยังแยกมาหา IC Err Amp โดยใหลผ่าน R824 มาที่ขา 1 IC Err Amp คราวนี้ก็จะมีแรงดันเปรียบเทียบออกมาที่ขา 2  IC Err Amp ถ้าไฟ B+ มาก ไฟ 14 V ก็มากตาม ทำให้ไฟใหลผ่าน Opto ฝั่ง LED มาก ทำให้ฝั่งที่เป็น TR ของ Opto ทำงานมากขึ้นนั่นเอง แล้วจะมีไฟใหลผ่าน TR opto  ส่งไฟผ่าน ZD801 เป็นรีเวิร์สไบอัสไปที่ขา 6 IC801 และเมื่อมีไฟไปที่ขา 6 ของ IC801 แล้ว ทำให้เครื่องมันรู้ว่าขณะนี้ไฟเกินนะ ให้ลดความถี่ OSC ลงมาหน่อย ( STR มันใช้ภาษาต่างดาวคุยกันน่ะครับ ) คราวนี้ไฟ B+ ก็จะลดลงมา ไม่เกินแล้วครับ  และโดยส่วนมากที่ไฟ B+ เกินนี้ ก็มาจาก R824 , IC Err Amp เจ้งครับ
บันทึกการเข้า
TRT
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #61 เมื่อ: ตุลาคม 09, 2008, 05:17:32 pm »

คราวนี้มาดูสภาวะ Standby กันครับ  เมื่อมีคำสั่ง STB มา ( สภาวะ Low  )  Q803 ก็จะไม่ทำงาน ส่งผลให้ Q802 ทำงาน ดึงไฟที่ขาอาโหนด ของ Opto ฝั่ง LED ลงกราวด์ผ่าน ZD803 ซึ่งให้ใหลผ่านสภาวะรีเวิร์สไบอัสเท่านั่น คราวนี้แรงดันเปรียบเทียบที่ขา 2 IC Err Amp ก็จะไม่มีผลกับการควบคุมแรงดันของ Opto ฝั่ง LED เพราะตอนนี้ไฟจาก LED ไปใหลลงกราวด์ที่ Q802 แล้ว ทำให้ไฟ B+ คงที่อยู่ในระดับนึง แต่น้อยกว่าแรงดันปกติ
บันทึกการเข้า
Chap
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 14


« ตอบ #62 เมื่อ: ตุลาคม 09, 2008, 06:02:27 pm »

ขอบคุณมากๆเลยครับ  ช่างมีน้ำใจงามเหลือล้นจริงๆครับ  ขอให้รวยๆครับ Cheesy Cheesy
บันทึกการเข้า
blueviper
ชุมชนคนรักอาชีพช่าง
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 89


« ตอบ #63 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2008, 10:02:49 am »

สุดยอดเลย ขอให้รวยๆ 
บันทึกการเข้า
chanaphan_ch
member
*

คะแนน3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9


อีเมล์
« ตอบ #64 เมื่อ: ตุลาคม 14, 2008, 05:29:43 pm »

เยี่ยมยอดมาก Cheesy
บันทึกการเข้า
TRT
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #65 เมื่อ: ตุลาคม 16, 2008, 10:36:22 am »

Protect JVC AV-29B316
- จุดแรกที่ต้องดูก่อนคือ ที่ Main Prot รุ่นนี้จะอยู่ที่ขา 115 IC701 ครับ ปกติขานี้ต้องมีไฟ 3.3 V ถ้าไม่มีไฟก็ Protect ครับ
- ต่อมามาดูที่ Prot B+ กันครับ โดย Q572 จะเป็นตัวตัด Protect ครับ อันนี้ให้ตรวจเช็ค R569 ก่อนเลยครับ ถ้ายืดจะ Protect ครับ และก็ให้ดูไฟ B+ ด้วย ต้องไม่เกินครับ
- รูปต่อมาก็มาดูเรื่องไฟอีกครับ แต่อันนี้เป็นไฟ 5 V และก็ 12 V ครับ อันนี้ให้วัดไฟ VO ที่ขา 2 IC973 และ IC975 เลยนะครับ
บันทึกการเข้า
TRT
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #66 เมื่อ: ตุลาคม 16, 2008, 10:41:36 am »

มาต่อครับ
- คราวนี้มาดู Vert Prot กันครับ อันนี้จะเจอบ่อยครับ ให้ลอย Q422 ออกก่อนได้ครับ
- สุดท้ายก็คือ X-Ray Prot ครับ ตัวนี้จะทำงานเมื่อฟลายแบ็คทำงานมากเกินครับ
บันทึกการเข้า
boonkuae35
วีไอพี
member
***

คะแนน12
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 950


อีเมล์
« ตอบ #67 เมื่อ: ตุลาคม 17, 2008, 10:45:58 pm »

ขอบคุณครับ   ให้กำลังใจเสมอครับ 
บันทึกการเข้า
qmax40
member
*

คะแนน1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9


อีเมล์
« ตอบ #68 เมื่อ: ตุลาคม 20, 2008, 02:33:23 pm »

ขอบใจในความมีน้ำใจคับ
บันทึกการเข้า
jpepasing
member
*

คะแนน3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 144


อีเมล์
« ตอบ #69 เมื่อ: ตุลาคม 21, 2008, 03:25:54 am »

 wav!!  Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy ขอบพระคุณอย่างสูงครับ  wav!!
บันทึกการเข้า
pramon +200
ซุปเปอร์ วีไอพี
member
*

คะแนน25
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 69


โอมตึ๊กตั๊ก เงินนักสาวหุม


อีเมล์
« ตอบ #70 เมื่อ: ตุลาคม 22, 2008, 10:34:07 am »

ผมเรียนมาอาจารย์ยังไม่บอกงี้เลย!!
เป็นข้อมูลสุดยอดจริงๆครับ
ขอบคุณมากครับอาจารย์
 
ข้าน้อยขอคาราวะ
บันทึกการเข้า
nuy_na
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 27


« ตอบ #71 เมื่อ: ตุลาคม 23, 2008, 01:14:55 pm »

สุดยอด ขอบคุณมากคับ

บุญคุณครั้งนี้ช่างยิ่งใหญ่นัก
 
บันทึกการเข้า
thevetan
ชุมชนคนรักอาชีพช่าง
member
*

คะแนน1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 48


« ตอบ #72 เมื่อ: ตุลาคม 27, 2008, 08:21:45 am »

ขอบคุณมากครับ
บันทึกการเข้า
muk
member
*

คะแนน1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7


« ตอบ #73 เมื่อ: ตุลาคม 27, 2008, 11:10:40 am »

ฃอบพระคุณป็นอย่างสูงที่มอบสิ่งที่สูงด้วยปัญญาให้ Cheesy
บันทึกการเข้า
jad09
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5


อีเมล์
« ตอบ #74 เมื่อ: ตุลาคม 27, 2008, 10:23:06 pm »

ถึงมันจะน้อยนิด สำหรับท่าน แต่สำหรับผม ถือว่า สุดยอด

สุดยอดเลยครับ ได้ความรู้เยอะเลยครับ

ขอบคุณมากครับ
บันทึกการเข้า
GOAMON
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2


« ตอบ #75 เมื่อ: ตุลาคม 28, 2008, 04:55:49 pm »

ขอบคุณมากๆครับ
บันทึกการเข้า
toktik ♥
ซุปเปอร์ วีไอพี
member
*

คะแนน36
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 159


ช่างมือใหม่หัดซ่อมค่ะ

tik.2006@hotmail.com
อีเมล์
« ตอบ #76 เมื่อ: ตุลาคม 30, 2008, 01:43:34 am »

   เอามาฝากกันอีกแล้วค่ะ ขอบพระคุณอย่างยิ่งค่ะ อาจารย์  THANK!!  THANK!!
บันทึกการเข้า

**()**ตุ๊กติ๊กช่างใหม่หัดซ่อมค่ะ**()**
iyo
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7



« ตอบ #77 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2008, 12:35:38 am »

สุดยอด .....เอาอีก wav!!
บันทึกการเข้า
TRT
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #78 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2008, 10:14:01 am »

Sharp 20GT-18
วันนี้เรามาดู Protect ของ Sharp 20GT-18 กันนะครับ
จุดแรกที่ต้องมาดูคือ Main Protect ซึ่งอยู่ที่ขา 7 IC1001 ครับ
สถานะของขานี้ปกติเป็นไฮล์ประมาณ 4.8 V นะครับ
ถ้าไฟที่ขานี้หายไป เครื่องก็จะ Protect ทันทีครับ
ต่อไปเรามาดูจุดย่อยของ Protect ครับ
1. D1091 Protect ไฟ 9 V ถ้าไฟ 9 V ไม่มี ซึ่งก็จะเปรียบเป็นสภาวะ LoW หรือกราวด์นั่นเอง ไฟ 4.8 V ที่ขา 7 ก็จะใหลลงกราวด์ไป ทำให้ไฟที่ขา 7 เป็น 0 V เครื่องก็จะ Protect
2. D203 Protect ไฟ 33 V ซึ่งถ้าไม่มีไฟ 33 V ไฟที่ขา 7 ก็จะใหลลงกราวด์ เครื่องก็จะ protect
บันทึกการเข้า
TRT
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #79 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2008, 10:30:10 am »

ต่อครับ
3. Q603 Protect ไฟ จุดใส้หลอดเกิน หรือ X-Ray Protect นั่นเองครับ เมื่อใดที่ไฟใส้หลอดเกิน เครื่องจะ Protect ทันทีครับ ไฟใส้หลอดจะเกินได้ก็มีสาเหตุอยู่หลายอย่างด้วยกันครับ เช่นไฟ B+ เกิน , ความถี่ Hor ผิดเพี้ยน หรืออาจเป็นที่ FBT เสียก็เป็นไปได้ครับ
4. D605 Protect ไฟ 185 V ตัวนี้จะเป็นตัวตรวจสอบแรงดันไฟ 185 V เมื่อใดที่ไม่มีไฟ 185 V เครื่องก็จะ Protect ครับ
5. สุดท้ายครับ D608 ABL Protect ครับ อันนี้จะเป็นตัวตรวจสอบแรงไฟ ABL ครับ ถ้า ABL เป็นไฟลบมากเกิน เครื่องก็จะ Protect ครับ ซึ่งไฟลบจะมากเกิน โดยส่วนใหญ่ก็มาจาก R ABL ขาดครับ
บันทึกการเข้า
sangwean
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7


อีเมล์
« ตอบ #80 เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2008, 04:57:07 pm »

โชคดีมากเลยครับ ที่ผมเกิดมาเป็นคนไทย เพราะคำว่าน้ำใจของคนไทย
มีเอื้อเฟื้อมีแบ่งปัน ขอบคุณมากครับผม
บันทึกการเข้า
TRT
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #81 เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2008, 07:42:21 pm »

SHARP 25WG3
Protect ของแท่นนี้เรามาดู Main Protect ที่ IC1001 ที่ขา 27 ครับ ปกติขานี้มีสภาวะเป็นโลว์นะครับคือมีไฟ 0 V แต่ถ้าเมื่อใดขานี้มีไฟเป็นไฮล์เครื่องก็จะเกิด protect ทันทีครับ จากรูปแรกผมแสดงขา Protect ของ IC1001 นะครับ ต่อมาเรามาดูจุด protect กันครับ ในรุปที่ 2 นี้จะเป็นตัว X-Ray Protect นะครับ เมื่อใดที่ไฟจุดใส้หลอดสูงมากเกินแรงดันรีเวอร์สไบอัสของ D601  ( ซึ่งเป็นซีเนอร์ 18 V ) ก็จะส่งแรงดันไฟไปที่ขา 27 IC1001 ทำให้ขา 27 มีไฟ เครื่อง Protect ครับ
บันทึกการเข้า
TRT
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #82 เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2008, 08:03:51 pm »

ต่อครับ
ต่อไปเรามาดู Protect ในรูปครับ Protect จุดนี้เป็นการรวมจุด Protect หลายๆจุดด้วยกันครับ มีด้วยกัน 4 จุด โดยผมจะใช้คำว่าวงจร SUB Main Protect นะครับ โดยมี Q1005 เป็นตัวคอยตัด-ต่อส่งไฟไปที่ขา 27 โดยปกติที่ขา B Q1005 จะมีไฟ 5 V Q1005 ก็จะไม่ทำงาน จะไม่มีไฟไปที่ขา 27 IC1001 แต่ถ้าเมื่อใดที่ขา B Q1005 มีไฟ 0 V Q1005 ก็จะทำงานส่งแรงดันไฟจากขา E ออกไปขา C แล้วส่งไฟไปที่ขา 27 ทำให้เครื่อง Protect
คราวนี้เรามาดูจุดย่อยต่างๆที่ทำให้ Q1005 ทำงาน และเครื่องเกิดการ Protect นะครับ
 - จุดแรกเรามาดูที่ D1050 ซึ่งตัวนี้จะเป็น Protect ไฟ 12 V ครับ ถ้าไฟ 12 V นี้หายไปหรือไม่มี  Q1005 ก็จะทำงาน ส่งไฟออกขา C แล้วส่งต่อไปที่ขา 27 IC1001 เครื่องก็จะ Protect ครับ
 - จุดต่อมา มาดูที่ D1051 ซึ่งตัวนี้จะแยก Protect ออกไปอีก 2 จุดย่อยนะครับ คือตรวจจับไฟ 5 V และไฟ 8 V เมื่อใดก็ตาม ถ้าไฟ 5 V หรือไฟ 8 V ไม่มี ขา B Q1005 ก็จะเป็น Low Q1005 ก็จะทำงาน เครื่องก็จะ Protect
 - อีกจุดนึงนะครับ เป็น ABL Protect เมื่อใดที่วงจร ABL มีไฟเป็น Low Q1005 ก็จะทำงาน เครื่องก็จะ Protect ครับ
บันทึกการเข้า
knopporn
member
*

คะแนน3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 155


อีเมล์
« ตอบ #83 เมื่อ: พฤศจิกายน 05, 2008, 10:29:08 am »

 wav!! wav!! Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy
บันทึกการเข้า
vasant9
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 36


อีเมล์
« ตอบ #84 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2008, 03:22:13 pm »

 Embarrassed wav!!
บันทึกการเข้า
patsawatchara
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2


อีเมล์
« ตอบ #85 เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2008, 01:02:12 pm »

อ่านบทความของพี่แล้วทำให้ผมมีความรู้มากขึ้นเลยครับ   Cheesy
บันทึกการเข้า
nongll
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7


อีเมล์
« ตอบ #86 เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2008, 11:21:52 am »

ขอบคุณมากครับ wav!!
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6 7 ... 23   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!