สธ.ห้าม รพ.เอกชน เก็บเงิน "ผู้ป่วยฉุกเฉินโคม่า" ภายใน 72 ชั่วโมง ฝ่าฝืนมีโทษ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
เมษายน 25, 2024, 04:18:53 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สธ.ห้าม รพ.เอกชน เก็บเงิน "ผู้ป่วยฉุกเฉินโคม่า" ภายใน 72 ชั่วโมง ฝ่าฝืนมีโทษ  (อ่าน 2326 ครั้ง)
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1883
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13240


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« เมื่อ: เมษายน 02, 2017, 07:18:56 AM »

รัฐมนตรีว่าการ สธ.ลงนามประกาศคุม รพ.เอกชน
เก็บเงินผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต คาดประกาศใช้ได้สงกรานต์นี้
พร้อมกำหนดความชัดเจนนิยาม "สีแดง" -
อัตราค่าบริการการแพทย์ กว่า 3 พันรายการ



นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)
กล่าวถึงความคืบหน้าการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขและหลักเกณฑ์เงื่อนไขต่างๆ
ในการลดปัญหา รพ.เอกชนบางแห่งเรียกเก็บเงินผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต
ซึ่งขัดต่อนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ ภายใน 72 ชั่วโมงว่า
สำหรับประกาศกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต
ซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559 นั้น
ล่าสุดตนได้ลงนามเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2560 ประกอบด้วย
1.ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดผู้ป่วยฉุกเฉิน
2.เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยฉุกเฉิน
การระดมทรัพยากร และมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเยียวยา
และการจัดให้มีการส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลอื่น
ซึ่ง 2 ฉบับจะบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา



"ฉบับที่ 3.เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต
จะต้องนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเพื่อให้สามกองทุนสุขภาพภาครัฐ
ทั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) กองทุนประกันสังคม
และกองทุนสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการได้รับทราบ
เพราะอัตราค่าใช้จ่ายต้องให้แต่ละกองทุนเป็นผู้จ่าย
แต่จะมีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
เป็นเหมือนเคลียริ่งเฮาส์ในการดำเนินการ ทั้งนี้ ยังไม่ทราบว่าประกาศฉบับที่ 3
จะทันการประชุม ครม.ในวันที่ 21 มีนาคมนี้หรือไม่
แต่เชื่อว่าทั้งหมดจะพร้อมประกาศใช้ได้ช่วงเทศกาลสงกรานต์" นพ.ปิยะสกลกล่าว



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับ
1.ประกาศฯ เรื่องกำหนดผู้ป่วยฉุกเฉิน หาก รพ.ไม่ให้บริการรักษาจนพ้นวิกฤต
ถือว่ามีโทษตามมาตรา 36 แต่หากให้การรักษาจนพ้นวิกฤตแล้ว
แต่ รพ.ยังเรียกเก็บเงินกับผู้ป่วย และวินิจฉัยแล้วว่าอาการอยู่ในข่ายสีแดงจริง
รพ.ต้องจ่ายเงินคืนแก่ผู้ป่วย และเก็บกับกองทุนสุขภาพนั้นๆ แทน

2.ประกาศฯ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ฯ การช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยฉุกเฉินฯ อาทิ
การคัดแยกระดับความฉุกเฉิน อย่างผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (สีแดง) ได้แก่
บุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยกะทันหัน ซึ่งมีภาวะคุกคามต่อชีวิต
ซึ่งหากไม่ได้รับปฏิบัติการแพทย์ทันที เพื่อแก้ไขระบบการหายใจ ระบบไหลเวียนเลือด
หรือระบบประสาทแล้ว ผู้ป่วยจะมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง
หรือทำให้การบาดเจ็บหรืออาการป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นรุนแรงขึ้น
หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้อย่างฉับไว

3.ประกาศฯ เรื่องการเบิกเงินตามอัตราค่าบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน
ที่กองทุนนั้นๆ ต้องจ่ายแก่ รพ. โดยสรุปรายการ 3,358 รายการ
แบ่งออก 12 หมวด อาทิ ค่าห้องและค่าอาหาร ค่าอวัยวะเทียม
และอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค ค่ายา และสารอาหารทางเส้นเลือด ฯลฯ


Cr: http://m.prachachat.net/

*****************************************

ข่าวนี้เชื่อว่าหลายๆคนคงกำลังสงสัยอยู่ว่ามันหมายถึงอะไร
คืองี้ เรามีนโยบายนึงมาหลายปีแล้ว ตั้งแต่รัฐบาลก่อนนู้น
ที่ว่า ถ้าคนเจ็บป่วยฉุกเฉิน คือเจ็บป่วยหนักจริงๆแล้วต้องรีบรักษา
ถ้าไม่รักษาจะตายอยู่รอมร่อตรงนั้น แล้วแถวนั้นไม่มี รพ รัฐเลย

ไม่เป็นไร เข้า รพ เอกชนไปเลย แล้วแพทย์ใน รพ เอกชนจะช่วยเหลือเบื้องต้น
เอาให้รอดชีวิต จากนั้นพออาการคงที่ก็จะทำการติดต่อหน่วยงานของรัฐ
ประสานงานกันเพื่อย้ายคนไข้ไปรักษาต่อที่ รพ รัฐ
ตามระบบ ส่วนค่าใช้จ่าย เด๋วรัฐจะตามไปจ่ายให้เอง

ฟังดูก็ดีอยู่ แต่!!

ฟังให้ดีนะจ๊ะ

แต่เราไม่มีกฏหมายลูกที่มารองรับหลักการที่ว่านี้
นั่นคือที่ผ่านมาหลายปี ถ้าเอาคนเจ็บเข้า รพ เอกชน
เพราะคิดว่าจะใช้หลักการที่ว่านี้ได้ แต่ รพ เอกชนเขาไม่สน
ไม่เรียกเก็บจากรัฐตามนโยบายนี้ แต่ไปเรียกเก็บจากญาติ จากคนเจ็บ
ก็ไปทำอะไรเขาไม่ได้นะจ๊ะ
เพราะไม่มีกฏหมายระบุว่าไอ้ที่เขาทำมันผิด ถถถถถถถถถถถถถถถถ

ทำให้ช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีกรณี คนเจ็บฉุกเฉิน เข้า รพ เอกชนใกล้ๆ
เพราะได้ข่าวนโยบายนี้มา สุดท้าย
หนี้สินล้นพ้นตัว เต็มไปหมด แต่อันนี้จะว่าเอกชนก็ไม่ได้นะ
เพราะนโยบายแม่งไม่ชัดเจนเอง

เลยมีการร่างกฏหมายลูกออกมารองรับนโยบายนี้
ในข่าวนี้คือขั้นต้น ส่วน step ถัดๆไปจะเป็นเรื่องการกำหนดโทษ
พวกโรงพยาบาลที่คนไข้อาการหนัก วิกฤติมาแต่ปฎิเสธไม่ยอมรักษาจนกว่าจะพ้นวิกฤติ
หรือเรียกเก็บเงินก่อนไม่งั้นจะไม่ยอมรักษา แบบนั้นมีความผิด เต็มๆ

อนึ่งกรุณาใช้สิทธินี้ตามความเหมาะสม และเข้าใจว่า ฉุกเฉิน คืออะไร?

ไอ้ประเภทวิ่งเข้ารพ เอกชน เพราะไข้ไอเจ็บคอแล้วบอกว่ากรูฉุกเฉินนะว้อย

อันนั้นไม่ฉุกเฉินนะครับ

 ping!


บันทึกการเข้า

eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1883
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13240


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: เมษายน 02, 2017, 07:23:43 AM »

ลงราชกิจจาฯ แล้ว!! "สธ." ประกาศ3ฉบับ กรณี "ผู้ป่วยฉุกเฉิน"

เรื่องค่าใช้จ่ายและเยียวยา ย้ำ...บังคับใช้วันนี้!


เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2560 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
ได้เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
การช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยฉุกเฉิน
ซึ่งมีผลบังคับใช้วันนี้ (1 เมษายน 2560) ระบุใจความว่า

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยฉุกเฉิน
การระดมทรัพยากรและมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเยียวยา
และการจัดให้มีการส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลอื่น


อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๑
และมาตรา 36 วรรคสามและวรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม
โดยพระราชบัญญัติสถานพยาบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
โดยคําแนะนําของคณะกรรมการสถานพยาบาลจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และ
เงื่อนไขการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยฉุกเฉิน การระดมทรัพยากรและมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเยียวยา
และการจัดให้มีการส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลอื่น”

ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

หมวด 1
การช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยฉุกเฉิน
ข้อ 3 เมื่อมีผู้ป่วยฉุกเฉิน ซึ่งหากปล่อยไว้เช่นนั้นจะเป็นอันตรายต่อชีวิต หรือการรุนแรงขึ้น
ของการบาดเจ็บ หรืออาการป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินได้ ให้ผู้รับอนุญาตและผู้ดําเนินการของสถานพยาบาล
มีหน้าที่ดําเนินการช่วยเหลือเยียวยาตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้

(๑) ตรวจคัดแยกระดับความฉุกเฉินและจัดให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการบริการตามลําดับความเร่งด่วน
ทางการแพทย์ฉุกเฉิน และเมื่อดําเนินการดังกล่าวแล้ว ให้แจ้งผลของการคัดแยกให้ผู้ป่วย หรือญาติ
ผู้ป่วยทราบ

กรณีที่มีปัญหาการวินิจฉัยในการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตให้ปรึกษาศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิ
ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติได้ตลอดเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง เพื่อดําเนินการวินิจฉัย
โดยคําวินิจฉัยของศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
ให้ถือเป็นที่สุด

(๒) ผู้ป่วยฉุกเฉินต้องได้รับการบริการฉุกเฉินจนเต็มขีดความสามารถของสถานพยาบาลนั้น
ก่อนการส่งต่อ เว้นแต่มีผู้ประกอบวิชาชีพให้การรับรองว่าการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน จะเป็นประโยชน์
ต่อการป้องกันการเสียชีวิต หรือการรุนแรงขึ้นของการเจ็บป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้น

(๓) การให้บริการต่อผู้ป่วยฉุกเฉินต้องเป็นไปตามความจําเป็นและข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ฉุกเฉิน
โดยมิให้นําสิทธิการประกัน การขึ้นทะเบียนสถานพยาบาล หรือความสามารถในการรับผิดชอบ
ค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยฉุกเฉิน หรือเงื่อนไขใดๆ มาเป็นเหตุปฏิเสธผู้ป่วยฉุกเฉินให้ไม่ได้รับการบริการอย่างทันท่วงที
นอกจากวรรคหนึ่งแล้ว สถานพยาบาลต้องกระทําการใด ๆ อันจะมีผลเป็นการควบคุม ระงับ
หรือบรรเทาผลร้ายจากอันตรายและความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นได้อย่างทันท่วงทีตามสมควรแก่กรณี
ข้อ 4 การตรวจคัดแยกระดับความฉุกเฉินของผู้ป่วยตามข้อ 3 (๑) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้

 


(๑) ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ได้แก่ บุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บ หรือมีอาการป่วยกะทันหัน ซึ่งมีภาวะ
คุกคามต่อชีวิต ซึ่งหากไม่ได้รับปฏิบัติการแพทย์ทันทีเพื่อแก้ไขระบบการหายใจ ระบบไหลเวียนเลือด
หรือระบบประสาทแล้ว ผู้ป่วยจะมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง หรือทําให้การบาดเจ็บหรืออาการป่วยของผู้ป่วย
ฉุกเฉินนั้น รุนแรงขึ้นหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้อย่างฉับไว
ให้ใช้สัญลักษณ์ “สีแดง” สําหรับผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต

(๒) ผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน ได้แก่ บุคคลที่ได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยซึ่งมีภาวะเฉียบพลันมาก
หรือเจ็บปวดรุนแรงอันจําเป็นต้องได้รับปฏิบัติการแพทย์อย่างรีบด่วน มิฉะนั้น จะทําให้การบาดเจ็บ
หรืออาการป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น ซึ่งส่งผลให้เสียชีวิต
หรือพิการในระยะต่อมาได้
ให้ใช้สัญลักษณ์ “สีเหลือง” สําหรับผู้ป่วยฉุกเฉนเร่งด่วน

(๓) ผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง ได้แก่ บุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บ หรือมีอาการป่วยซึ่งมีภาวะ
เฉียบพลันไม่รุนแรง อาจรอรับปฏิบัติการแพทย์ได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือเดินทางไปรับบริการสาธารณสุข
ด้วยตนเองได้ แต่จําเป็นต้องใช้ทรัพยากรและหากปล่อยไว้เกินเวลาอันสมควรแล้วจะทําให้การบาดเจ็บ
หรืออาการป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้
ให้ใช้สัญลักษณ์ “สีเขียว” สําหรับผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง
ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามแนวทางการปฏิบัติในการคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ตามนโยบาย
“เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” กรณีการเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลเอกชนนอกคู่สัญญา
สามกองทุนตามที่คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินกําหนด

ข้อ 5 ให้สถานพยาบาลจัดให้มีผู้ประกอบวิชาชีพ เพื่อคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินตามข้อ 3 (๑)
ตลอดเวลา รวมทั้งควบคุมและดูแลให้ผู้ปฏิบัติการดําเนินการให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการปฏิบัติการฉุกเฉิน
ตามลําดับความเร่งด่วน ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินประกาศกําหนด

ข้อ 6 นอกจากการจัดให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการบริการตามข้อ 3 แล้ว สถานพยาบาล
ต้องจัดให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการบําบัดเจาะจงตามขีดความสามารถอย่างทันท่วงทีด้วย

ข้อ 7 ในกรณีที่ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (สีแดง) ที่ได้รับการรักษาในสถานพยาบาลประเภท
ที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนผู้ใดเป็นผู้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
หรือกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมหรือกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน หรือจากส่วนราชการ หรือองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ และเมื่อผู้นั้นไปรับบริการจากสถานพยาบาล
ประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเมื่อใดแล้ว ให้สถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนแจ้งการเข้ารับบริการและ
ให้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีกําหนด

หมวด ๒
การระดมทรัพยากรและมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเยียวยา
ข้อ 8 ให้ผู้รับอนุญาตและผู้ดําเนินการจัดหาทรัพยากรด้านบุคลากร อุปกรณ์ เครื่องมือ
เครื่องใช้ ยาและเวชภัณฑ์ ยานพาหนะให้เพียงพอและพร้อมต่อการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินตามมาตรา 33/1
ตามขีดความสามารถของสถานพยาบาล

หมวด ๓
การจัดให้มีการส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลอื่น
ข้อ 9 เมื่อให้การช่วยเหลือเยียวยาผู้ป่วยตามหมวดหนึ่ง ถ้ามีความจําเป็นต้องส่งต่อ
หรือผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยมีความประสงค์จะไปรับการรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลอื่น ผู้รับอนุญาต
และผู้ดําเนินการต้องจัดการให้มีการจัดส่งต่อไปยังสถานพยาบาลอื่นตามความเหมาะสม
ในกรณีที่ผู้ประกอบวิชาชีพให้การรับรองว่าการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินจะเป็นประโยชน์ต่อการป้องกัน
การเสียชีวิต หรือการรุนแรงขึ้นของการเจ็บป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้น หรือเกินขีดความสามารถตามนัยแห่ง
ข้อ 3 (๒) ให้สถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนดําเนินการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน ตามมาตรฐาน
การส่งต่อผู้ป่วยที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกําหนด และให้สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วย
ไว้ค้างคืนดําเนินการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินตามมาตรฐานการส่งต่อผู้ป่วยที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกําหนด
โดยอนุโลม

ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ปิยะสกล สกลสัตยาทร


http://www.tnews.co.th/
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!