ดร.สนอง วรอุไร วิทยาศาสตร์ธรรมะเกษตร
LSVคลังสมองออนไลน์
 
*
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน มีนาคม 29, 2024, 09:02:07 PM


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ดร.สนอง วรอุไร วิทยาศาสตร์ธรรมะเกษตร  (อ่าน 2018 ครั้ง)
คนเกษตร
วีไอพี
member
***

คะแนน41
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 45


« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2016, 11:55:21 AM »


ประวัติ ท่านอาจารย์ดร.สนอง วรอุไร

ดร.สนอง วรอุไร ภูมิลำเนาของท่านอยู่ที่ตำบลคลองหลวงแพ่ง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา มีพี่น้องทั้งหมด ๘ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๖ บิดามารดาของท่านมีอาชีพทำสวน ทำไร่ นอกจากนี้บิดายังเป็นกำนันของตำบลคลองหลวงแพ่งและเป็นมัคนายกของวัดในละแวกบ้านด้วย ในวัยเด็ก ท่านมีหน้าที่ใส่บาตรตอนเช้าทุกวันและนำอาหารที่มารดาจัดเตรียมไปถวายพระในวันสำคัญและวันพระตามประสาชีวิตในชนบทยุคนั้น

ท่านได้รับการศึกษาเบื้องต้นจากโรงเรียนสุวรรณศิลป์ใกล้บ้าน เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบลง ท่านและพี่ๆ น้องๆ ได้ย้ายเข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ อยู่บ้านที่บิดามารดาซื้อไว้ให้พี่น้องทุกคนอยู่ร่วมกัน ย่านประตูน้ำ โดยบิดามารดามิได้ย้ายมาด้วย ท่านศึกษาในโรงเรียนวัฒนศิลป์วิทยาลัยจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๘ ชีวิตท่านต้องรับผิดชอบงานส่วนตัว เช่น ซักรีดผ้าเอง และแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบงานในบ้านร่วมกับพี่ๆ น้องๆ ท่านเป็นอยู่อย่างมัธยัสถ์ อดออม และมีระเบียบ เมื่อถึงช่วงปิดเทอมก็พากันกลับไปเยี่ยมบิดามารดาเพื่อช่วยงานด้านเกษตรกรรม เช่น เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงหมู เป็นดังนี้ตลอดมา

ดร.สนอง วรอุไร สนใจฝึกสมาธิครั้งแรกในขณะเรียนชั้นมัธยมศึกษา โดยสนทนากันระหว่างพี่ๆ น้องๆ แล้วนำมาฝึกหัดปฏิบัติเองเมื่อมีโอกาส จนถึงระดับอุดมศึกษา ท่านเลือกศึกษาในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จบปริญญาตรีสาขาโรคพืช เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕ แล้วไปทำงานเป็นนักวิชาการเกษตร เผยแพร่ความรู้ด้านการปลูกข้าวปลูกเห็ดแก่ประชาชนในภาคอีสานอยู่ประมาณ ๒ ปี ในระหว่างนี้ ท่านแต่งงานมีครอบครัวและได้โอนย้ายจากกรมวิชาการข้าวกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาเป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ เป็นอาจารย์รุ่นบุกเบิกมหาวิทยาลัยและบุกเบิกบัณฑิตวิทยาลัยด้วย

จากนั้นปีพ.ศ. ๒๕๑๔ ท่านก็ได้เรียนจบปริญญาโทเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สาขาเชื้อรา ปีเดียวกันนั้นเอง ท่านได้รับทุนโคลัมโบไปศึกษาปริญญาเอก สาขาไวรัสวิทยา มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ นาน ๔ ปี ในระหว่างการศึกษา ท่านมิได้เดินทางกลับมาเมืองไทยเลย เพราะเรียนหนักมาก ท่านใช้เวลาว่างพักทำจิตนิ่งทุกวัน ซึ่งมีผลให้ท่านจดจำได้เร็ว เรียนเข้าใจง่าย และจบ ๔ ปีตามกำหนด

เมื่อกลับเมืองไทยในเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๑๘ และมีเวลาว่างช่วงก่อนเปิดเทอมไปสอนนักศึกษา ท่านตัดสินใจอุปสมบทเพื่อพิสูจน์สัจธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ วัดปรินายก แล้วมาฝึกวิปัสสนากรรมฐานกับพระเทพสิทธิมุนี (โชดก ปธ.๙) ที่คณะห้า วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์ ท่าพระจันทร์ ในชั่วระยะเวลา ๓๐ วัน ที่ท่านปฏิบัติตามคำสอนของครูบาอาจารย์อย่างมอบกายถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา ท่านได้รับประสบการณ์ทางจิตและความก้าวหน้าในญาณอภิญญาต่างๆ มากมาย โดยหลังจากปฏิบัติได้เพียง ๑๐ วัน ท่านสามารถแยกกายกับจิตได้ และได้รับนิมนต์ไปแสดงธรรมเป็นครั้งแรกในชีวิต ณ ลานอโศก วัดมหาธาตุฯนั่นเอง

เมื่อลาสิกขาบทแล้ว วิถีชีวิตของท่านเปลี่ยนแปลงไปมาก ด้วยความคิด ด้วยคำพูด และการกระทำซึ่งถูกหล่อหลอมจากภาวนามยปัญญา ที่ได้รับจากการพัฒนาจิตวิญญาณในครั้งนั้น ท่านได้รับเชิญเป็นองค์บรรยายด้านหลักธรรม คุณธรรม จริยธรรม ตามหน่วยงานต่างๆ องค์กรต่างๆ มากมาย และหลังจากเกษียณอายุราชการที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ท่านยังเป็นอาจารย์พิเศษถวายความรู้แก่พระนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนาด้วย

ปัจจุบันท่านเป็นครูบาอาจารย์สั่งสอนธรรม โดยได้นำประสบการณ์ตรงของท่านเองมาเป็นแบบอย่าง สร้างจุดเปลี่ยนแปลงที่ดีให้กับชีวิตของคนจำนวนมาก มีกลุ่มคณะศิษย์ก่อตั้งเป็นชมรมกัลยาณธรรมช่วยกันเผยแผ่ผลงานของท่านโดยทำเป็นหนังสือหลายเล่ม เช่น ทำชีวิตให้ได้ดีและมีสุข, ยิ่งกว่าสุขเมื่อจิตเป็นอิสระ, ทางสายเอก, ตามรอยพ่อ, การใช้ชีวิตที่คุ้มค่า, มาดสดใสด้วยใจเกินร้อย, อริยมรรค นอกจากนี้ยังมีตลับเทป ซีดี และ MP3 อีกเป็นจำนวนมาก

ผลงานเรื่อง “ ทางสายเอก ” ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษโดยอาจารย์ทวีศักดิ์ คุรุจิตธรรม เพื่อให้ชาวต่างชาติได้มีโอกาสศึกษาถึงประสบการณ์การปฏิบัติธรรมและการพัฒนาจิตวิญญาณของท่านเพื่อเสริมสร้างความศรัทธาในวิชาวิปัสสนากรรมฐาน สุดยอดวิชาเอกของโลก

 ขอบคุณhttp://www.kanlayanatam.com/voice/dr_snong.htm
http://www.108kaset.com/

หาดูได้ในUtube ธรรมะรักษาแนวทางการดำเนินชีวิต มีไว้ให้ทุกคนศึกษาไม่ต้องเสียสตางค์


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media Free Web Counter
Valid XHTML 1.0! Valid CSS! Dilber MC Theme by HarzeM