ทำไมต้องมีกองทุนการออมเพื่อการชราภาพ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
มีนาคม 28, 2024, 04:11:30 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไมต้องมีกองทุนการออมเพื่อการชราภาพ  (อ่าน 6431 ครั้ง)
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1882
ออนไลน์ ออนไลน์

กระทู้: 13198


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2012, 01:41:47 PM »

ที่กำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ทำให้ในอีก 20 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุต่อประชากรเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันที่มีคนวัยทำงาน 6 คน ต่อผู้สูงอายุ 1 คน มาเป็น คนวัยทำงาน 3 คน ต่อผู้สูงอายุ 1 คน พูดง่ายๆ คือ จะมีคนทำงานที่เลี้ยงดูคนแก่น้อยลง


นอกจากนี้ การที่โครงสร้างของครอบครัวไทยกำลังเปลี่ยนแปลงจากครอบครัวแบบขยายที่มีพ่อแม่ลูกหลานหลายๆ คนอาศัยอยู่ในครอบครัวเดียวกัน คอยช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มาเป็นครอบครัวเดี่ยวที่ลูกหลานย้ายออกไปสร้างครอบครัวเดี่ยวๆ ของตนเอง ทำให้เครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุในอดีตจะถูกเปลี่ยนแปลงจากการที่ลูกหลานเลี้ยงดูพ่อแม่ มาเป็นผู้สูงอายุต้องพึ่งพาและดูแลตนเองมากขึ้น


แล้วคนไทย 60 กว่าล้านคนวันนี้ เตรียมพร้อมรึยังที่จะออมเงินตั้งแต่วันนี้เพื่อไว้ใช้ยามชราภาพ และระบบการออมของประเทศไทยในปัจจุบันนี้ มีความเพียงพอที่จะรองรับกลุ่มสูงวัยในอนาคตรึยัง
 

หากพิจารณาระบบการออมของประเทศไทยในปัจจุบันจะพบว่า พอจะมีกลไกระบบรองรับทางสังคมที่บังคับหรือส่งเสริมให้ออมไว้ใช้หลังเกษียณอยู่บ้างในระดับหนึ่ง เช่น กองทุนประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ แต่ยังมีความครอบคลุม (Coverage) ไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะแรงงานนอกระบบ เช่น พ่อค้า แม่ค้า บุคคลที่ไม่ได้ทำงานตามบริษัทห้างร้าน หรือ ลูกจ้างตามบ้าน เป็นต้น
 

จากข้อมูลปี 2551 พบว่ามีจำนวนผู้มีงานทำทั่วประเทศประมาณ 37 ล้านคน แบ่งเป็นแรงงานในระบบ จำนวน 14 ล้านคน โดยแบ่งเป็นแรงงานในระบบที่ได้รับความคุ้มครองจากระบบการออมยามชราภาพประเภทใดประเภทหนึ่งข้างต้นแล้วประมาณ 11 ล้านคน ส่วนที่เหลืออีก 3 ล้านคนยังไม่มีระบบใดๆ ที่คอยคุ้มครองดูแลยามแก่เฒ่า  และยังมีแรงงานที่อยู่นอกระบบ อีกจำนวนมากถึง 24 ล้านคน  ดังนั้น จึงยังมีผู้ที่ยังไม่ได้รับความคุ้มครองตอนแก่ อีกถึงประมาณ 27 ล้านคน
 

อย่างไรก็ดี กลุ่มคนผู้ที่ยังไม่มีระบบการออมรองรับยามแก่เฒ่าเหล่านี้ ก็ไม่ใช่ขาดที่พึ่งเสมอไป เพราะท้ายที่สุดหากบุคคลเหล่านี้ก็ยังพอมีรัฐบาลที่ต้องเข้ามาดูแล ผ่านเบี้ยยังชีพคนชราคนละ 500 บาทต่อเดือน และหากเจ็บป่วยก็ยังมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ ที่เรียกกันติดปากว่า “ระบบ 30 บาทรักษาทุกโรค”
 

ในวันนี้รัฐบาลต้องมีภาระงบประมาณรายจ่ายในโครงการเบี้ยยังชีพและโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ถึงประมาณปีละเกือบแสนล้านบาท หากยิ่งในมองไปข้างหน้าที่จะมีคนแก่จำนวนมากขึ้นเข้ามารับเบี้ยยังชีพนี้เพิ่มขึ้น แถมยังต้องมีค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลให้คนแก่เฒ่าจำนวนมากขึ้นที่มีโอกาสเจ็บป่วยสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุอานามที่เพิ่มขึ้น รัฐบาลในอนาคตคงต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายงบประมาณในแต่ละปีที่สูงมาก
 

ดังนั้น โจทย์สำคัญในวันนี้ คือ จะทำอย่างไร ที่จะสร้างระบบการออมเพื่อการชราภาพเพิ่มเติมจากระบบที่มีอยู่ในปัจจุบันให้ครอบคลุมถึงคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศ และจะต้องมีระบบที่พยายามลดภาระการคลังของรัฐบาลในการดูแลคนแก่ในอนาคตให้ลดลง จะได้ไม่เป็นปัญหาฐานะการคลังเหมือนหลายๆ ประเทศในยุโรปและอเมริกาที่มีค่าใช้จ่ายดูแลคนชราสูงมากในปัจจุบัน
 

การจัดตั้งกองทุนการออมเพื่อการชราภาพ (กอช.) จะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยสร้างระบบการออมยามแก่เฒ่าให้ครอบคลุมแรงงานที่ยังไม่มีระบบการคุ้มครองเพื่อการชราภาพใด ๆ ตามที่กล่าวถึงข้างต้น โดยที่กองทุนฯ นี้จะเป็นกองทุนการออมแบบสมัครใจที่เปิดโอกาสให้แรงงานออมเงินตั้งแต่วันนี้ แล้วนำไปลงทุนเพื่อจ่ายเป็นรายได้ให้แรงงานยามชราภาพหลังเกษียณอายุ ตามจำนวนเงินออมที่แรงงานแต่ละคนได้ส่งเข้ากองทุน รวมกับผลตอบแทนจากการนำเงินออมดังกล่าวไปลงทุน
 

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการจูงใจให้แรงงานให้มีการออมเพื่อการชราภาพในระยะยาวมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการลดภาระในการดูแลคนแก่เฒ่าในอนาคต  รัฐบาลอาจจะพิจารณาจ่ายเงินสมทบร่วมกับผู้ออมบ้างบางส่วน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อแรงงานที่ยังไม่ได้อยู่ในระบบการออมแบบใดๆ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมเหมือนกับที่รัฐบาลให้การสนับสนุนกองทุนอื่นๆ เช่น การสมทบเงินเข้ากองทุนประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่กองทุน LTF/RMF ต่างๆ   
 

ท้ายนี้ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รัฐบาลนี้จะสามารถผลักดัน “กองทุนการออมเพื่อการชราภาพ” ให้ออกมาเป็นกฎหมายอย่างเป็นรูปธรรมให้จงได้ เพื่อจะได้เป็นตาข่ายกันกระแทกรองรับสังคมคนแก่ในอนาคตและเป็นการลดภาระการคลังที่ต้องดูแลคนแก่ในระยะยาว คงต้องฝากท่าน ว่าที่ ส.ว. (สูงวัย) ทั้งหลายให้ช่วยกันขับเคลื่อนนโยบายนี้ให้สำเร็จโดยเร็วด่วนด้วยนะครับ

http://www.bangkokbiznews.com/

โครงการกองทุนการออมเพื่อการชราภาพ (กอช.)


โครงการกองทุนการออมเพื่อการชราภาพ (กอช.)


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!