กลยุทธ์หลังวิกฤต ทิศทางปี 2553
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
มีนาคม 29, 2024, 05:33:22 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กลยุทธ์หลังวิกฤต ทิศทางปี 2553  (อ่าน 2432 ครั้ง)
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3004


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« เมื่อ: มกราคม 15, 2010, 05:32:00 PM »

สัมมนา SCB Annual Conference on the Economy (SCB ACE) โดยมี 3 ผู้นำภาคธุรกิจ ร่วมเปิดมุมมอง “กลยุทธ์หลังวิกฤต ทิศทางในปี 2553” ณ โรงแรมพลาซ่า แอทธินี รอแยล เมอริเดียน กรุงเทพฯ

ธนาคารไทยพาณิชย์จัดสัมมนา SCB Annual  Conference  on  the  Economy (SCB  ACE) โดยมี 3 ผู้นำภาคธุรกิจ ได้แก่ คุณประเสริฐ  บุญสัมพันธ์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่  บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) คุณอนันต์  อัศวโภคิน  แระธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าล์ จำกัด (มหาชน) และคุณกานต์  ตระกลูฮุน  กรรมการผู้จัดการใหญ่  เครือซีเมนต์ไทย  ร่วมเปิดมุมมอง “กลยุทธ์หลังวิกฤต  ทิศทางในปี 2553” ณ โรงแรมพลาซ่า แอทธินี รอแยล เมอริเดียน กรุงเทพฯ


ผู้นำพลังงาน “ปตท.” ย้ำเศรษฐกิจรุ่งแน่
         คุณประเสริฐ  บุญสัมพันธ์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่  บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) มองว่า  ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา  เศรษฐกิจในประเทศปรับตัวขึ้นนักลงทุนเริ่มกลับมา  ตลาดทุนปรับตัวดีขึ้น  การส่งออกติดลบน้อยลง  สถานการณ์เริ่มควบคุมได้  ถือว่าเศรษฐกิจของประเทศผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว  และเมื่อมองจากเหตุการณ์ทั่วโลก  ไม่น่ามีปัจจัยอะไรที่ทำให้เศรษฐกิจทรุดลงอีก

          “ผมเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดี  ผู้บริโภคมีความมั่นใจ  ตัวชี้วัดหลายๆ ตัวเริ่มส่งผลและสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค  และนักลงทุนเกิดความมั่นใจได้ดีขึ้น  ตลาดทุนปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น  การส่งออกก็เริ่มมาในทิศทางทีติดลบน้อยลง  ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่ควบคุมได้  จะเห็นว่าตลาดโลกหรือตลาดบ้านเรานั้นกระตุ้นตลาดกันอุตลุด  เกิดความมั่นใจได้ส่วนหนึ่ง  แต่ว่าการฟื้นตัวเศรษฐกิจก็มีมุมมองที่หลากหลาย  แต่สอดคล้องกันว่าไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ดีขึ้น  ซึ่งอาจจะสะท้อนไปถึงปีหน้าในไตรมาสแรกบางคนพูดว่าจะกลับมาเป็นบวก  อย่างของธนาคารไทยพาณิชย์เองจะเห็นว่าปีหน้าประเมินว่าจะโตและสอดคล้องกับเศรษฐกิจโลกว่าจะกลับมาเป็นบวก”

         หากถามเรื่องราคาน้ำมัน  คุณประเสริฐมองว่า  ราคาน้ำมันดิบอยู่ที่ 70 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล ราคาน้ำมันสำเร็จรูป 80 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล  ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศอยู่ที่ 30 บาท/ลิตร  ซึ่งถือเป็นราคาที่ยังรับได้  ที่สำคัญการใช้พลังงานในประเทศโดยเฉพาะภาคขนส่งเริ่มปรับตัวดีขึ้น  ซึ่งตรงนี้ไม่ได้เป็นจุดที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ  เนื่องจากรัฐบาลเองได้พยายามออกมาตรการและอัดฉีดเม็ดเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ  ขณะที่ธุรกิจพลังงานเจาะสำรวจปิโตรเลียม  และโรงกลั่นน่าจะเอาตัวรอดได้และคาดว่าจะฟื้นตัวใน 1-2 ปีข้างหน้า  แต่สิ่งสำคัญคือ รัฐบาลจะต้องสร้างความเชื่อมั่นให้ทุกฝ่าย  ทั้งนักลงทุนและผู้บริโภคและนักท่องเที่ยว  สำหรับการปรับตัวของธุรกิจ ปตท. หลังเศรษฐกิจผ่านจุดต่ำสุดแล้วจะเน้นการรักษาสภาพคล่องของเงินสด  ไม่ว่าจะเป็นการออกหุ้นกู้เพื่อนำเงินมาเสริมสภาพคล่องรวมถึงการบริหารจัดการ  และปรับตัวตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง



“ผมเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดี  ผู้บริโภคมีความมั่นใจ  ตัวชี้วัดหลายๆ ตัวเริ่มส่งผลและสร้างความมั่นใจได้ดีขึ้น  ตลาดทุนปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น  การส่งออกก็เริ่มมาในทิศทางที่ติดลบน้อยลง  ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่ควบคุมได้...” คุณประเสริฐ  บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน)

          “สำหรับกลยุทธ์ในการดำเนินงานนั้น เครือ ปตท. บริษัทจะต้องมีการเตรียมแผนการดำเนินงานไว้หลายสมมุติฐานกรณีภาวะเศรษฐกิจดี และกรณีภาวะเศรษฐกิจไม่ดี  และจะต้องมรการปรับตัวที่ดีเพื่อจะสามารถผ่านวิกฤตไปได้และจากการที่เกิดวิกฤตมา  ทำให้บริษัทมีการปรับตัวในเรื่องการควบรวมกิจการ  และมีการซื้อกิจการซึ่งผ่านมาบริษัทได้มีการซื้อเหมืองถ่านหินในต่างประเทศในราคาที่ต่ำ  แต่ถึงอย่างไรก็ตาม  เศรษฐกิจประเทศไทยฟื้นตัวขึ้นอย่างแน่นอนในปี 2553  แต่จะเป็นรูปแบบของตัวยู หรือดับเบิลยู  ก็ยังต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิดเพราะยังมีปัจจัยที่เป็นผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยไม่ว่าจะเป็นเมืองในประเทศ นโยบายการบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาล  เศรษฐกิจโลกตลอดจนราคาน้ำมัน” คุณประเสริฐกล่าวทิ้งท้ายในวิสัยทัสน์ที่มีต่อภาพรวมในปลายปีนี้ถึงปีหน้า

อสังหาฯ บ้านเดี่ยว...ฉันเลยโอเค
        ด้านอนันต์  อัศวโภคิน  ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บริษัท แสนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด(มหาชน) กล่าวว่าที่ผ่านมาแลนด์ฯ ปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา  แม้แต่ด้านเทคโนโลยีที่นำสมัยยังต้องนำมาปรับใช้กับองค์กร  หรือแม้แต่แนวคิดที่จะให้พนักงานทำงานที่บ้านก็เป็นประเด็นหนึ่งที่กำลังคิดอยู่  เพื่อลดทอนค่าใช้จ่าย ส่วน 8 เดือนที่ผ่านมานั้น  คุณอนันต์ตอบว่า

        “8 เดือนที่ผ่านมายังไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นมากนัก  ทุกอย่างยังทรงตัว  เพียงแต่ธุรกิจอสังหาฯ มีข้อน่าสังเกตคือ แม้เศรษฐกิจจะมีปัญหา   แต่บริษัทพัฒนาที่ดินที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยเฉพาะ 10 อันดับแรก  ยอดขายและยอดรับรู้รายได้เติบโตขึ้นไม่ต่ำกว่า 20% เกือบทุกราย  สาเหตุเป็นเพราะผู้ประกอบการายเล็กรายกลางหายไปจากตลาดจำนวนมาก”

       ขณะเดียวกันวิกฤตรอบนี้โครงสร้างของดีมานด์และซัพพลายในตลาดเปลี่ยนแปลงไปมาก  เห็นได้จากยอดจดทะเบียนบ้านใหม่จากเดิมเมื่อ 20 ปีก่อน เป็นบ้านเดี่ยว 30% คอนโดฯ 10% ปัจจุบันยอดจดทะเบียนของคอนโดฯ จะสูงถึง 60% ส่วนบ้านเดี่ยวลดเหลือ 20% นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของมุมมองและกลยุทธ์ในการฝ่าวิกฤตที่เริ่มมีสัญญาณดีขึ้น

ผู้นำอุตสาหกรรมก่อสร้างบอก “ซ่อมได้”
         ขณะที่ คุณกานต์  ตระกูลฮุน  กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน) หรือ SCG  ก็มองไปในทิศทางเดียวกันกับคุณประเสริฐ  บุญสัมพันธ์  คาดว่าเศรษฐกิจไทยเริ่มดีขึ้นเป็นรูปธรรมนับจากวันนี้ไปถึงปี 2553 ส่วนหนึ่งนั้นมาจากมาตรการของรัฐที่อัดฉีดเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีการเติบโตเพิ่มขึ้น  แต่การฟื้นตัวเศรษฐกิจในรอบนี้ไม่น่าจะเป้นตัววี  แต่จะเป็นตัววีเอียงหรือค่อยๆ ปรับตัวขึ้นมากกว่า  จึงเป็นห่วงว่าหากอีก 1 ปี ข้างหน้า  รัฐบาลถอนการกระตุ้นเศรษฐกิจ  อาจกระทบต่อเศรษฐกิจได้  ดังนั้น  การป้องกันความเสี่ยงจึงน่าจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุด  โดยในส่วนของเอสซีจีจะใช้กลยุทธ์คือเน้นการเก็บเงินสดและรักษาสภาพคล่อง  ตลอดจนลดต้นทุนเน้นการขยายตลาดไปต่างประเทศ ซึ่ง 6 เดือนแรกผ่านมาผลออกมาเป็นที่น่าพอใจ  อีกทั้งยังเน้นเรื่องพัฒนาการวิจัยและการสร้างแบรนด์ให้มากขึ้น  พร้อมกับเร่งเครื่องด้านการบริหารจัดการให้องค์กรเข้มแข็งโดยเฉพาะเรื่อง R&D รวมทั้งการขานรับนโยบายของรัฐบาลถึงเรื่องกระบวนการคิดในลักษณะ Creative  Economy ซึ่งทางเอสซีจีก็ได้เข้าสู่กระบวนการนี้มาโดยตลอด

ขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของวารสารพลังไทย และ วิชาการ.คอม
http://www.pttplc.com/TH/Default.aspx 






บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!