Ubuntu 9.07 Prompt Edition ในสไตล์ไทยๆ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
มีนาคม 29, 2024, 04:55:35 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: Ubuntu 9.07 Prompt Edition ในสไตล์ไทยๆ  (อ่าน 6054 ครั้ง)
TongTang-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน985
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3404



« เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2009, 10:03:32 PM »

Ubuntu 9.07(PE)Prompt Edition
 
เลขเวอร์ชั่น 9.07 นั้น 9 ความหมายคือปี 2009 ส่วน .07 ก็คือเดือน 7 (กรกฏาคม) ที่ได้พัฒนาและลิลีสรุ่นดังกล่าว …

Ubuntu 9.07(PE)Prompt Edition พัฒนาต่อยอดจาก Ubuntu 9.05(PE)(ต่อยอดมาจาก Ubuntu 9.04 อีกที)
โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ได้ลินุกส์ที่ปรับให้เหมาะกับการใช้งานในสไตล์ไทยๆ มีแพกเกจพร้อมใช้งานครบถ้วนในทุกๆด้าน
โดยไม่มีคำนึงถึงข้อจำกัดของสื่อมาตรฐานติดตั้งเดิม CD(700MB) สำหรับรุ่นนี้มากับขนาด isoที่ใหญ่กว่าเดิม
ประมาณ  1.5GB ซึ่งสื่อที่ใช้ในการจัดเก็บควรจะเป็นสื่อที่มีความจุตั้งแต่ 2GB ขึ้นไป ก็จะเป็น DVD และ USB
สำหรับ DVD หากใช้ในรูปแบบ DVD ความจุมาตราฐาน 4.7GB ก็จะทำให้เสียพื้นที่ไปมากถึง 3.2GB แนะนำใช้ DVD-RW
มาใช้ก็จะนำมาใช้ใหม่ได้ไม่เสียเปล่า แต่ทว่าสื่อ DVD-R ปัจจุบันก็ราคาค่อนข้างถูก หรือแม้แต่ USB ก็ตามราคาก็ไม่แพง
ก็แล้วแต่พิจารณญาณของผู้ใช้แต่ละท่านเป็นผู้เลือก …

Ubuntu 9.07(PE)Prompt Edition เป็นลินุกส์เดสก์ทอปพร้อมใช้งาน โดยการนำ Ubuntu(ต้นฉบับ) ดิสโทรยอดนิยม
มาทำการ ปรับแต่ง ปรุงแต่ง เพิ่มเติม ให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้ใช้งานคนไทย ภาษาไทยที่สมบูรณ์และสวยงาม
ไลบรารีที่จำเป็นกับงานด้านต่างๆ โดยเฉพาะงานด้านมัลติมีเดียสามารถใช้งานได้ทันที หรือแพกเกจอื่นๆที่น่าสนใจและเป็นที่นิยม
ก็ได้ถูกติดตั้งเพิ่มเติมกว่าต้นฉบับดั้งเดิมมากมาย  …

Ubuntu 9.07(PE)Prompt Edition  คือผลผลิต จากประสบการณ์ของผู้จัดทำ และข้อมูลที่ผู้จัดทำได้เก็บเกี่ยวจากผู้รู้
หลายๆท่านผ่านช่องทาง เว็บไซด์/เว็บบอร์ด/บล็อก ต่างๆ ใครใช้ Ubuntu รุ่นนี้ก็เหมือนกับการใช้ลินุกส์ที่ผ่านการปรับแต่งจาก
ประสบการณ์ที่ได้ผลดี จากผู้รู้หลายๆท่าน ...

สรุป โดยรวมคือ "ลินุกส์รุ่นพร้อมใช้" สามารถนำลินุกส์ตัวนี้ไปใช้งานได้ทันที และแทบไม่จำเป็นติดตั้งแพกเกจใดๆเพิ่มเติมอีก
เหมาะสำหรับผู้ใช้งานที่ยังไม่ชำนาญและยังใหม่กับลินุกส์สามารถใช้งานได้ ทันทีโดยไม่ติดขัด หรือผู้ใช้งานที่มีประสบการณ์มาแล้ว
ก็สามารถช่วยลดภาระและเวลาการติดตั้งแพกเกจจำเป็นต่างๆได้มากทีเดียว ...

คำแนะนำสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยสัมผัสกับลินุกส์

ไม่ ได้คิดจะแนะนำให้มาใช้ลินุกส์ทดแทนวินโดว์ส แต่มานำเสนอทางเลือกเพิ่มเติม ประมาณ "รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม"
คุณรู้หลายๆระบบปฏิบัติการ มุมมองด้านคอมพิวเตอร์คุณก็จะกว้างตามไปด้วย ปกติผู้เขียนก็ใช้งานวินโดว์สเป็นหลัก
ใช้ลินุกส์เป็นเรื่องบันเทิง แต่ก็ได้ความรู้นำมามองกลับที่วินโดว์สแล้วมีมุมมองที่กว้างขึ้นจริงๆ ใช้แล้วรู้สึกท้าทายดี
ใช้แล้วภูมิใจเล็กๆว่าอย่างน้อยได้ใช้โปรแกรมที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ใคร ไม่เคยคิดว่าระบบปฏิบัติการใครดีกว่าใคร
เพราะคิดว่าระบบปฏิบัติการแต่ละตัวย่อมต้องมีข้อดีและข้อด้อยด้วยกันแทบ
ทั้งสิ้น ...

ถ้ายังกลัวๆอยู่ ทดลองใช้แบบ LiveCD/DVD/USB ไปก่อน ไม่ต้องติดตั้งลงเครื่อง ปรับค่าไบออสของเครื่องให้มีลำดับ
การบูตอุปกรณ์เหล่านี้ (CD/DVD/USB) มาก่อนฮาร์ดดิสต์เสมอ คุณก็สามารถใช้งาน Ubuntu ที่ทำงานบนหน่วยจำ RAM
(แนะนำอย่างน้อย 512MB)  สามารถทำงานได้อย่างเนียนๆน้องๆฮาร์ดดิสต์ทีเดียว ...

หรืออยากติดตั้งลงฮาร์ดดิสต์ แต่กลัวพาร์ติชั่นเดิมจะเสียหาย Ubuntu ก็มีวิธีติดตั้งแบบ Wubi คือการจำลองไฟล์ให้เป็น
พาติชั่นเทียมเพื่อใช้ติดตั้ง Ubuntu เมื่อติดตั้งเสร็จโปรแกรมจะสร้าง multiboot (Windows/Ubuntu) ให้อัตโนมัต
เบื่อหรือไม่ชอบก็ลบ Ubuntu ทิ้งผ่านทาง Add/Remove Program ที่สำคัญไม่ต้องกังวลว่าระบบวินโดว์สคุณจะมีอะไรเสียหาย
ทุกอย่างยังอยู่ครบ รับประกันได้เลย ...

หรืออย่างน้อยศึกษาการใช้ ไว้บ้างสักเล็กน้อยก็ยังดี มีตัวแผ่น LiveCD/DVD/USB ทิ้งไว้ไม่เสียเปล่า เพราะแผ่นนี้สามารถช่วย(ชีวิต)
สำเนาข้อมูลจากพาร์ติชั่นวินโดว์สได้ ในกรณีที่ระบบวินโดว์สล่มเสียหาย บูตปกติไม่ได้ โดยเฉพาะโน๊ตบุ๊คอาจจะไม่สามารถถอดแกะ
ฮาร์ดดิสต์ออกได้ด้วยตัวเอง จะนำไปให้ช่างซ่อมก็อาจจะสุ่มเสี่ยงกับการแอบขโมยข้อมูลลับส่วนตัว และพิเศษเพิ่มเติมอีกอย่างก็คือ
UPE9.07 ติดตั้ง Avast anti virus (อัพเดตแพตเทิร์นล่าสุด 20/07/2009) นำแผ่นไปใช้บูตระบบ เพื่อไปใช้ค้นหาและลบไวรัส
บนพาร์ติชั่นวินโดว์สได้เลยนะ จะบอกให้ ...






การปรับปรุงระบบหลัก

    * พัฒนาจากพื้นฐานจาก GNU/Linux Ubuntu Desktop LiveCD (i386) 9.04
    * ปิดระบบเวลาแบบ UTC (ตั้งข้อมูลเวลาจากอินเตอร์เน็ต) แก้ปัญหาเวลาไม่ตรงกันกับเวลาของ BIOS
    * ถอดถอน Locale ภาษาอื่นๆจากระบบ คงเหลือเฉพาะ Thai และ English(Family)
    * ปรับค่าปริยาย Language ขณะติดตั้งเป็น Thai ผู้ใช้งานสามารถเลือกภาษา Eng เองได้
    * สร้าง Applet Keyboard-layout (สลับภาษา) ค่าปริยาย Alt+Shift และเพิ่มเติม Grave (~) เป็นทางเลือกเสริม
    * แสดงผลการสลับภาษาด้วยสัญลักษณะรูปภาพ(ธงชาติ)
    * เปลี่ยนค่าปริยายระบบฟอนต์หลักด้วยฟอนต์ Lomaputta ฟ้อนต์แนะนำของ อ.วิทยา (www.thaitux.info)
    * เพิ่มเติมไลบรารี่ gstreamer + medibuntu + w32codec + Flash Plugin + Other สำหรับงานด้านมัลติมีเดีย
    * ล็อกการเปลี่ยนแปลงชื่อของ Folder หลักภายใน Home ผู้ใช้งานเป็นชื่ออังกฤษเสมอ
    * แสดงไอค่อน My Computer /Home /Network บนหน้าเดสก์ทอป
    * ปรับแต่งหน้าตา Gnome ใหม่ด้วยธีม New Wave(Dark Menu)
    * ปรับแต่งชุด Icon ใหม่ด้วย Human-O2
    * ปรับเปลี่ยนภาพพื้นหลังใหม่เพื่อให้มีหน้าเข้ากันกับชุดธีมและไอค่อน
    * ปรับเปลี่ยน luncher โปรแกรมที่ใช้บ่อยๆบน Toolbar
    * เพิ่มภาพพื้นหลังแปรภาพได้ตามช่วงเวลา(Dynamic Wallpeper)(แนะนำโดยคุณ phooja)
    * ปรับแต่งระบบการแชร์ไฟล์วินโดว์(Samba)ให้ง่ายขึ้น (ไอเดียพี่ Kids)
    * ปรับแต่งไฟล์ระบบเพื่อสะดวกกับการใช้งานโปรแกรมช่วยหมุนโทรศัพท์ Gnome-PPP
    * เพิ่มเติมแพกเกจไดร์เวอร์ b43-fwcutter รองรับ Wireless LAN Broadcom บางรุ่น
    * คงค้างแพกเกจ Display Driver Resticted (PPA) ทำให้สามารถติดตั้งไดร์เวอร์ได้ทันที
    * ติดตั้งเคอเนลล่าสุดในรุ่น 9.04 (Kernel Linux 2.6.28-13 Generic)
    * ติดตั้ง Xorg/Driver from PPA (แก้บั๊ก)
    * อัพเกรดระบบแพกเกจต่างๆ ณ วันที่ 20/07/2009


การปรับแต่งแอพพลิเคชั่น

    * เพิ่มเติม Nautilus Extension & Plugins เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งานเดสก์ทอป
    * ปรับแต่งภาพพื้นหลังของโปรแกรม Nautilus เมื่อใช้ในฐานะ user และ root เพื่อสร้างความแตกต่างให้ชัดเจน
    * ปรับแต่งสี(พื้นหลัง/อักษร)ของโปรแกรม Gnome-Terminal ให้แสดงสีอักษรแตกต่างระหว่าง User/Root
    * โอเพ่นออฟฟิศ 3.1.0(Sun) + ไทยเมนู + ฟ้อนต์ทดแทน(AngsnaNew,BrawalliaNew,Cordia)
    * ไฟร์ฟอกซ์ 3.0.11 + ไทยเมนู + UbuntuClub Toolbar + Thai Seach + Other Plugins


เพิ่มเติมแอพพลิเคชั่นใหม่ที่เหมาะสมกับงานเพิ่มเติมต่อจาก PE9.05
Applications/Accessories

    * Avast! Antivirus (มีไว้ตรวจไวรัสเครื่องวินโดว์ส อิอิ)
    * ChmSee (โปรแกรมอ่านไฟล์ CHM)
    * Easy Crypt (โปรแกรมเข้ารหัสแฟ้ม/โฟลเดอร์)
    * Screenlets (โปรแกรมเสริมการใช้งานเดสก์ทอป)


Applications/Educations

    * GNU PSPP (คุณซันแบคจีซุสแนะนำ)(โปรแกรมทดแทน SPSS)
    * Stellarium (คุณเทพแนะนำสูตรการแก้ภาษาไทย)(โปรแกรมศึกษาดาราศาสตร์)
    * TuxMath (โปรแกรมฝึกคณิตศาสตร์)
    * TuxPaint (โปรแกรมฝึกวาดภาพ)
    * TuxType (โปรแกรมฝึกพิมพ์ดีด)


Applications/Games

    * djl (บล็อกคุณโสธร)(ตัวช่วยติดตั้งลินุกส์เกมส์)
    * FlashPlayer (โปรแกรมใช้งาน SWF แบบ Off Line)(แฟลชเกมส์)
    * Frozen-Bubble (โปรแกรมเกมส์ยิงลูกบอล)
    * Gweled  (โปรแกรมเกมส์ ...)
    * lBreakout2 (โปรแกรมเกมส์ …)


Applications/Graphics

    * Picasa (คุณซันแบคจีซุสแนะนำ)(โปรแกรมจัดการรูปภาพ)
    * Blender (โปรแกรมสร้างภาพ 3D/Animation)
    * Cheese (โปรแกรมใช้งาน/ทดสอบ VedioCAM)
    * Comix (โปรแกรมอ่านไฟล์การ์ตูน comic)
    * FontFroge (โปรแกรมสร้างฟอนต์หลากหลายมาตราฐาน)
    * Inkscape (โปรแกรมทดแทน Illustrator)
    * PDF Editor (โปรแกรมแก้ไขแฟ้ม PDF)
    * QCaD (โปรแกรมทดแทน AutoCAD 2D)


Applications/Internet

    * aMSN (โปรแกรม Messenging)
    * aMule (client eDonkey2000 Peer-to-Peer)
    * Angry IP Scanner (โปรแกรมค้นหาข้อมูลในเครือข่าย)
    * Deluge (Bittorrent)
    * Google Earth (คุณซันแบคจีซุสแนะนำ)
    * GWibber (Twitter Client)
    * Mozilla Thunderbird (โปรแกรมจัดการ mail/news/RSS)
    * Nessus (โปรแกรมตรวจสอบความปลอดภัยด้านเน็ตเวิร์ค)
    * Vuze (Bittorent)


Applications/Office

    * Adobe Reader9 (โปรแกรมดูไฟล์ PDF)
    * Freemind (โปรแกรม minemap)
    * gLabels (โปรแกรมสร้างลาเบลจดหมาย /นามบัตร /บาร์โค็ด)
    * Sunbird (โปรแกรมบันทึกปฏิทินงานส่วนตัว)


Applications/Programming

    * Bluefish (โปรแกรมเขียนเว็บเพจแบบ GUI)
    * Gambas2 (โปรแกรมพัฒนาระบบงาน VB Clone)
    * Python(V2.6) (โปรแกรมไพธอน)
    * XAMPP (แพกเกจสำหรับเว็บเซิร์ฟเวอร์)(เพื่อนๆเรียกร้องกันเยอะ)


Applications/Sound & Vedio

    * 2ManDVD (โปรแกรมจัดทำ DVD)
    * EasyTag (โปรแกรมแก้ไขค่า MP3/ID3Tags)
    * gtkpod (คุณ Kids แนะนำ)(โปรแกรมจัดการข้อมูลเครื่อง Ipod)
    * K3b (โปรแกรมเขียนแผ่น CD/DVD)
    * Piviti (โปรแกรมตัดต่อวิดีโอ)
    * XawTV (โปรแกรมจับภาพ Vedio CAM/TV)
    * XBMC (คุณซันแบคจีซุสแนะนำ)(Home Mutimedia Center)


Applications/Tools

    * Cairo-Dock(no OpenGL) (ตัวช่วยเรียกโปรแกรมสไตล์ OSX)
    * Cairo-Dock(with OpenGL) (ตัวช่วยเรียกโปรแกรมสไตล์ OSX)


System/Preferences

    * Emerald (คุณ temtem แนะนำ)(โปรแกรมเปลี่ยนกรอบหน้าต่าง ต้องใช้ร่วมกับ Desktop Effect)

Others/Package

    * alien  (โปรแกรมแปลงแพกเกจ RPM เป็น DEB)
    * lxrandr (คุณ temtem แนะนำ)(โปรแกรมจัดการ X)
    * build-essential (ชุดคอมไพเลอร์พื้นฐาน)
    * OpenJDK 6 Java (โอเพ่นซอร์สจาวา)





ขนาดไฟล์ iso พร้อมใช้งาน 1.47Gb 

Download : http://mirror1.ku.ac.th/ubuntuclub/prompt/9.07




ยังมีราละเอียดๆ อื่นๆ ที่น่าสนใจอีกเยอะ ตามไปดูต่อได้ที่นี่.. http://forum.ubuntuclub.com/forum/topic,9955.0.html







ที่มา : Ubuntuclub.com




บันทึกการเข้า

TongTang-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน985
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3404



« ตอบ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2009, 11:54:43 AM »

สำหรับ Ubuntu X Edition 9.10 ในสไตล์ไทยๆ คลอดออกมาแล้วอย่างไม่เป็นทางการ
ไปดูดได้เลยแต่เป็น Torrent 






ดาวน์โหลดได้ที่นี่..  http://t.clubdistro.com




หมาเหตุ :  xe910 เป็น live CD
               xe910sw_cd เป็น software เสริม (ไม่บังคับลง)





ที่มา : http://forum.ubuntuclub.com/forum/topic,11446.0.html

บันทึกการเข้า
nismo
member
*

คะแนน13
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 175


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2009, 08:04:01 AM »

9.11 PE ก็ออกแล้วครับ  ที่มาก็แหล่งเดียวกันครับ    ping!
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!