ประวัติLazada ก่อนโดน แจ๊คหม่า แห่ง Alibaba ช้อนซื้อกว่า 3หมื่นล้าน
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
มีนาคม 29, 2024, 08:06:42 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติLazada ก่อนโดน แจ๊คหม่า แห่ง Alibaba ช้อนซื้อกว่า 3หมื่นล้าน  (อ่าน 699 ครั้ง)
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18613


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« เมื่อ: กรกฎาคม 01, 2018, 11:23:06 AM »

หากอ่านบทความไม่พอดีกับจอมือถือ ดูเนื้อหาและคลิปวีดีโอที่เกี่ยวข้อง> w ww.ubmthai.com เวอร์ชั่นสมาร์ทโฟน >>คลิ๊ก!!  www.pohchae.com
.
.      ย้อนไปในปี 2012 ซึ่งเป็นปีที่ Lazada ถือกำเนิดขึ้นโดยทีมงานจาก Rocket Internet GmbH นั้น คงต้องบอกว่าหากซีกโลกตะวันตก มีชื่อของ Amazon เป็นแพลตฟอร์ม e-Commerce รายหลัก ทีมงานผู้พัฒนาอย่าง Rocket Internet ก็ตั้งเป้าให้ “Lazada” เป็นแพลตฟอร์ม e-Commerce รายหลักแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นกัน.. โดยการเปิดให้บริการของ Lazada นั้น เน้นใน 6 ประเทศหลักได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม สินค้าหลักคือสินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องสำอาง ความสวยความงาม แฟชั่น ของใช้ภายในบ้าน เฟอร์นิเจอร์ สมาร์ทโฟน ฯลฯ.. Lazada คือการมาถึงที่ “ถูกเวลา” .. Amazon ใช้เวลาในการสร้างอาณาจักรมากกว่า 10 ปี แต่ Lazada ใช้เวลาเพียง 3 ปีก็ก้าวขึ้นเป็นแพลตฟอร์มด้าน Marketplace ยักษ์ใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แล้ว ยกตัวอย่างเช่น ในปี 2013 นั้น Lazada มียอดขายราว 89 ล้านเหรียญสหรัฐ ก่อนจะกระโดดขึ้นมาในปี 2014 ไปอยู่ที่ยอดขาย 350 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว.. เรื่องนี้ผู้บริหาร Lazada ยกความดีให้การขยายตัวของธุรกิจ e-Commerce ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีประชากรรวมกันมากกว่า 600 ล้านคน และมีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักช้อปออนไลน์กว่า 256 ล้านคน ว่ามีส่วนช่วยผลักดัน ประกอบกับการจัดโปรโมชันต่าง ๆ ไปจนถึงการแจกรหัสส่วนลด Lazada ออกมามากมายให้นักช้อปออนไลน์ได้เอาไปใช้งานกัน แต่จริง ๆ แล้วต้องบอกว่าส่วนหนึ่งที่สำคัญมากคืองบในการโปรโมตที่ Lazada ใช้ทุกช่องทาง ทุกสื่อ และถือเป็นเว็บแรก ๆ ที่มีการโปรโมตผ่านทางทีวี (ที่ในยุคนั้นค่าโฆษณาทางทีวีก็ไม่ได้ลดแลกแจกแถมเหมือนในยุคนี้) ในด้านการพัฒนาของตัวเว็บไซต์ ในปี 2013 Lazada ได้เริ่มพัฒนาการเป็นหน้าร้าน (Marketplace Model) อนุญาตให้ผู้ค้ารายอื่น ๆ เข้ามาขายสินค้าของตนเองได้มากขึ้น ซึ่งต่อมาในปี 2014 ก็พบว่ายอดขายจาก Marketplace นั้นคิดเป็น 65% ของยอดขายทั้งหมดของบริษัททีเดียว ..การเติบโตของ Lazada เตะตายักษ์ใหญ่จากแดนมังกรอย่าง Alibaba ของ Jack Ma เข้าอย่างจัง นั่นจึงทำให้เกิดการเจรจาก่อนจะนำมาซึ่งการซื้อกิจการ Lazada เมื่อเดือนเมษายน 2016 โดย Alibaba ได้จ่ายเงินไปทั้งสิ้น 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (เข้าซื้อหุ้นจากการเพิ่มทุน และซื้อหุ้นจากนักลงทุนเดิม) ในการเข้าถือหุ้นใหญ่ของ Lazada และจากการเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ทำให้มูลค่าบริษัท Lazada ขึ้นไปอยู่ที่ 1,500 ล้านเหรียญ หรือเกือบ 52,600 ล้านบาท การขยับตัวครั้งใหญ่ของ Alibaba ในครั้งนี้เป็นผลมาจากวิสัยทัศน์ของ Jack Ma หัวเรือใหญ่ของ Alibaba ที่มองว่าธุรกิจของบริษัทยังอิงอยู่กับรายได้จากตลาดจีนเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นบริษัทควรจะมีการขยายไปสู่ตลาดต่างประเทศมากขึ้น และเขาตั้งเป้าหมายให้ Alibaba มีรายได้ครึ่งหนึ่งมาจากตลาดนอกประเทศจีน ซึ่ง Lazada ถือเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงเป็นเป้าหมายที่ดีที่จะช่วยต่อยอดธุรกิจของ Alibaba ตามวิสัยทัศน์ดังกล่าวได้ ผลคือ Jack Ma คาดการณ์ถูกเผง เมื่อผลประกอบการไตรมาสที่2ของปีนี้ ทาง Alibaba ระบุว่าสามารถทำยอดขายได้มากกว่า 389 ล้านเหรียญสหรัฐจากตลาดอื่นที่ไม่ใช่ประเทศจีน สัดส่วนนี้เพิ่มขึ้นมากกว่า 136% เมื่อเทียบจากปีที่แล้ว.. สำนักข่าว Techin Asia ระบุว่าตัวเลขยอดขายจากตลาดนอกประเทศจีนที่ Alibaba ทำได้ในช่วงเมษายน-มิถุนายนปีนี้ถือเป็นสถิติสูงสุดที่บริษัทเคยทำมา จุดนี้ Alibaba ยอมรับว่าการเติบโตนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลจากรายได้ของ Lazada ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องนั่นเอง  

ต่อไปนี้เป็นเหตุผล 6 ข้อ ที่ Alibaba เลือกจับมือ Lazada ลุยตลาด Southeast Asia อย่างจริงจัง

1. Alibaba ถึงเวลาหาตลาดใหม่นอกจากจีน

Alibaba มีลูกค้าปีละกว่า 407 ล้านคนจากเว็บ Taobao และ Tmall ซึ่งนับเป็นสองเท่าของคู่แข่งอย่าง JD และ Amazon ในจีน ประชากรในจีนมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ 785 ล้านคนและ Jack Ma ประกาศกลยุทธ์จะขยายพื้นที่อาณาจักรของ Alibaba ออกไปให้ครอบคลุมมากว่านี้อีก เพราะยังมีบางพื้นที่ในจีนเช่นตามชนบท หรือชานเมืองที่ผู้คนยังไม่เคยใช้บริการ E-commerce พร้อมทั้งจะเพิ่มศักยภาพทางการขนส่งเพื่อรองรับการเข้าถึงพื้นที่ห่างไกลให้มากขึ้น

“Alibaba มีแผนจะขยายตลาดไปในพื้นที่ชนบทให้มากขึ้น เราหวังว่าจะพา E-commerce ไปสู่ทุกหมู่บ้านในจีน ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ห่างไกลได้สัมผัสประสบการณ์แบบคนเมือง และขายสินค้าของพวกเขาไปยังเมืองต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย”

ด้วยจำนวนมหาศาลของประชากรชั้นกลางและประชากรที่อาศัยอยู่นอกเมืองของจีนทำให้ธุรกิจ E-commerce ในจีนเติบโตเป็นตลาดขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของโลกตั้งแต่ Jack Ma เปิดตัว Taobao ในปี 2003 และเอาชนะ E-Bay จีนได้ การเทคโอเวอร์ Lazada ครั้งนี้จึงเป็นอีกครั้งที่จะเพิ่มสีสันและความสดใหม่ให้บริษัท

ก่อนหน้านี้ Jack Ma เคยลงทุนกับบริษัท E-Commerce ในอินเดียคือ Paytm และ Snapdeal แต่การลงทุนใน Lazada ครั้งนี้ถือว่าเป็นการลงทุนข้ามชาติครั้งใหญ่ที่สุดของ Alibaba

2. การเติบโตอย่างรวดเร็วของชนชั้นกลางใน Southeast Asia

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีประชากรราว 618 ล้านคน มีชนชั้นกลางค่อนข้างน้อยในตอนนี้คือแค่ 190 ล้านคน หากนับจากผู้ที่มีรายได้ประมาณ 500 – 3,000 บาทต่อวัน อย่างไรก็ตามการเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลางในภูมิภาคมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 400 ล้านคนภายในปี 2020 ไปพร้อมๆ กับการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรทั้งหมด นั่นหมายถึงฐานลูกค้าของ Alibaba และ Lazada ก็จะเพิ่มขึ้นตามนั่นเอง ทั้งในแง่ของนักช้อป และพ่อค้าแม่ค้าที่นำสินค้ามาลงขายในเว็บไซต์

3. Lazada มีการเติบโตที่ดี

Lazada ถือว่าเป็น E-Commerce ที่เป็นผู้นำตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากทั้ง 6 เว็บไซต์ที่แยกกระจายตามแต่ละประเทศ แม้ว่าจะไม่ได้เป็นเว็บชั้นนำของประเทศนั้นๆ ก็ตาม Lazada มียอดขายถึง 433 เหรียญสหรัฐใน 6 เดือนแรกของปี 2015 (ข้อมูลล่าสุด) ซึ่งมากขึ้นเป็น 4 เท่าจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะให้ถึง 1 พันล้านก่อนหมดปี 2015 ด้วยจำนวนลูกค้ากว่า 5.7 ล้านคนซึ่งเพิ่มขึ้นจากกลางปี 2014 ที่มีแค่ 1.4 ล้านคน นั่นอาจดูเป็นจำนวนที่น้อยนิดเมื่อเทียบกับที่ Alibaba มีอยู่ในมือ แต่ตัวเลขของการเติบโตต่างหากที่เป็นสิ่งที่ Alibaba สนใจ

Lazada เริ่มต้นธุรกิจตามรอยของ Amazon คือขายสินค้าของตัวเองในโกดังของตัวเอง ก่อนจะเริ่มเปิดให้มีร้านค้าอื่นๆ และแบรนด์เข้ามาวางสินค้าขายในเว็บไซต์ในแบบที่ Alibaba ทำ จนถึงตอนนี้ Lazada มีร้านค้ารวม 27,000 ร้านค้าจาก 6 ประเทศ

Rocket Internet ผู้ก่อตั้ง Lazada และ Web service ต่างๆ เคยทำผิดพลาดในการลงแข่งในตลาด Southeast Asia มาแล้วหลายครั้ง เช่น การพ่ายแพ้ของ Easytaxi เมื่อต้องเผชิญหน้ากับ Uber และ Grabtaxi แต่สำหรับ Lazada ถือว่าพวกเขาทำได้ดีเลยทีเดียว สำหรับ Alibaba เองตลาดที่แข็งที่สุดดูเหมือนจะเป็นทางอินโดนีเซียที่ต้องต่อสู่กับ E-commerce เจ้าถิ่นอย่าง Tokopedia และ Matahari Mall กิจการใหม่ในเครือบริษัทของครอบครัวเศรษฐีรายใหญ่ในอินโดนีเซีย

4. Lazada ฝ่าด่านหินของ Southeast Asia มาแล้ว

การทำตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเรื่องไม่ง่ายเลย แล้วยิ่งเป็นธุรกิจบนภูมิภาคที่การพัฒนาทางอินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างเชื่องช้า รวมถึงปัจจัยแวดล้อมมากมายที่สร้างความหลากหลายในทุกๆ ด้าน ตั้งแต่การอยู่อาศัยของประชากรที่แบ่งแยกกระจายตัวบนพื้นที่นับพันเกาะ แต่ละพื้นที่มีภาษาของตัวเอง มีความหลากหลายทางด้านกฎหมาย วัฒนธรรม ภาษี การชำระเงิน วิธีการลดราคา ไปจนถึงการขนส่ง ไหนจะเรื่องความแตกต่างด้านประชากร และการเมืองการปกครอง บ้างเป็นประชาธิปไตย บ้างเป็นเผด็จการ รวมถึงวิธีการของการเกิดคอร์รัปชั่น แต่ละอย่างที่กล่าวมากทำให้ยิ่งยากในการเริ่ม E-commerce ในภูมิภาคนี้

แล้วยังมีเรื่องของความยากจนของประชากร การขนส่งหลักเป็นไปโดยทางรถยนต์และรถไฟ นั่นทำให้การซื้อของออนไลน์ช้าและแพง ผู้คนในบางพื้นที่ยังใช้การพายเรืออยู่เลยด้วยซ้ำ ทำให้ไม่น่าแปลกใจว่าทำไม E-commerce ส่วนใหญ่ไม่สามารถขยายครอบคลุมทั้งภูมิภาคได้ ส่วนมากจะอยู่แค่ในประเทศของตัวเองเท่านั้น เนื่องด้วยปัจจัยต่างๆ ข้างต้นนั่นเอง

“อินโดนีเซียเป็นที่ที่การขนส่งค่อนข้างยากลำบากที่สุด นั่นทำให้ต้องมีการลงทุนสร้างระบบขนส่งของ Lazada ขึ้นมาเอง” Magnus Exbom Head ขอ Lazada Indonesia เคยกล่าวไว้

เขาบอกว่าระบบขนส่งในอินโดนีเซียไม่สามารถรองรับการเติบโตอย่างรวดเร็วของ Lazada ได้ นั่นทำให้บริษัทต้องมีศูนย์กระจายสินค้าและระบบขนส่งของตัวเองเพื่อให้การขนส่งเป็นไปอย่างราบรื่นทั่วประเทศ ซึ่งใช้รถตู้และมอเตอร์ไซค์รวมนับพันคัน

5. ซื้อมาย่อมง่ายกว่าทำเอง

สิ่งที่กล่าวมาในข้อ 4 แน่นอนว่าเป็นสิ่งที่ Alibaba ไม่คุ้นเคย แม้จีนจะมีหลายชาติพันธุ์และจำนวนประชากรมหาศาล แต่ส่วนใหญ่พวกเขาก็พูดภาษาจีน ที่ผ่านมาสิ่งที่ Alibaba ต้องทำก็แค่สร้างเว็บไซต์และแอปพลิเคนชันเพื่อครอบคนพันล้านคนไว้ด้วยกัน แถมยังสบายในเรื่องการขนส่งที่ระบบคมนาคมในจีนค่อนข้างดีและสะดวกรวดเร็ว พร้อมทั้งมีการแข่งขันสูงทำให้ราคาค่าขนส่งในจีนถูก

ดังนั้น หากจะแข่งกับ Lazada คงต้องใช้เงินเป็นพันล้านหรือมากกว่านั้นไม่รู้กี่เท่าในการทำตลาดข้าม 6 ประเทศแบบที่ Lazada ทำไว้ ซึ่งก็ไม่แน่นอนว่าเอาชนะ Lazada ได้ ดังนั้น ซื้อต่อดีที่สุด

6. ผู้ค้าชาวจีนมีโอกาสเปิดตลาดใหม่

การร่วมมือครั้งนี้เหมือนเป็นการเปิดประตูการค้าให้ผู้ค้าและลูกค้าหน้าใหม่มาเจอกันเพิ่มโอกาสในการค้าและเพิ่มตัวเลือกให้กับผู้ซื้อมากยิ่งขึ้น เมื่อเศรษฐกิจและการค้าในจีนเริ่มชะลอตัวผู้ค้าจาก Taobao และ Tmall ยินดีอย่างยิ่งที่จะรับโอกาสในการเปิดตลาดใหม่ๆ กับลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ของพวกเขา ที่อาจสร้างรายได้ให้ได้อีกมหาศาล.

ปัจจุบัน Lazada จึงอยู่ในฐานะ “ผู้ได้ไปต่อ” โดยมีผู้ค้าออนไลน์ทั้งในและต่างประเทศกว่า 100,000 ร้านค้า และแบรนด์สินค้ากว่า 2,500 แบรนด์ ให้บริการแก่ผู้บริโภคกว่า 560 ล้านคนทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยทุกวันนี้ จำนวนคนเข้าเว็บไซต์ Lazada เฉลี่ยใน 1 ปี มากกว่าจำนวนคนเข้าตลาดนัดจตุจักรถึง 50 เท่า โทรศัพท์มือถือที่ Lazada ขายได้ทั้งหมดคือ 1.4 ล้านเครื่อง ซึ่งถ้านำมาต่อกันจะมีความสูงเท่ากับตึกใบหยก 2 ถึงสองร้อยตึก ส่วนรถส่งสินค้านั้น ภายใน 1 วันพบว่าวิ่งเป็นระยะทางเฉลี่ย 833,333 กิโลเมตร หรือเท่ากับระยะทางไป-กลับระหว่างโลกกับดวงจันทร์ ซึ่งไม่ใช่ตัวเลขที่น้อยเลย ในสถานการณ์ที่หลาย ๆ คนมองว่าแพลตฟอร์มดิจิทัลคือทางรอดของคนค้าขาย นี่จึงอาจเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ดีของการลงทุนพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับผู้ค้าและผู้ซื้อ ที่ลงทุนทำจริง และเติบโตได้จริง. เรียบเรียงจาก https://thumbsup.in.th/2017/08/lazada-ecommerce-alibaba/ https://www.google.com/search?newwindow=1&safe=active&client.. https://www.brandbuffet.in.th/2016/05/6-reasons-alibaba-acquired-lazada


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!