เทคนิคโฟโต้ชอป วิธีการสร้างรูปทรงบนก้อนเมฆ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
เมษายน 25, 2024, 01:37:36 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เทคนิคโฟโต้ชอป วิธีการสร้างรูปทรงบนก้อนเมฆ  (อ่าน 5183 ครั้ง)
ope3
วีไอพี
member
***

คะแนน39
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 139

ท้อได้แต่ห้ามถอย

ope172010@hotmail.com
อีเมล์
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2007, 12:04:21 PM »

เทคนิคโฟโต้ชอป วิธีการสร้างรูปทรงบนก้อนเมฆ


    สิ่งที่คุณต้องมี  Photoshop 7/CS/Cs2
สิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้ วิธีสร้างรูปทรงบนก้อนเมฆ
ใช้เวลา 1ชั่วโมง
  เราทั้งหลายต่างเคยจ้องมองไปบนท้องฟ้าแล้วจินตนาการให้เห็นใบหน้าหรือรูปทรงต่างๆ ที่เกิดจากกลุ่มก้อนเมฆ ในฉบับนี้เราจะใช้โปรแกรม Photoshop ในการเลียนแบบเอฟเฟ็คท์เดียวกันนี้ แต่เมฆจะมีรูปทรงเหมือนกับพญาอินทรีย์ที่กำลังโบยบินบนท้องฟ้า ดังนั้นคุณจึงจำเป็นต้องสร้างภาพนกอินทรีย์ที่กำลังบินและใช้ภาพเมฆอีกสักสองสามภาพที่ด้ทำการ copy แล้ว paste ภาพเมฆจริงๆ ลงบริเวณภาพผลลัพธ์เพื่อทำให้ภาพดูสมจริงยิ่งขึ้น

  คุณควรจะลองหาภาพถ่ายเมฆสวยๆ มาดูเสียก่อนเพื่อสร้างความคุ้นเคยว่าเมฆนั้นมีหน้าตาอย่างไร เพราะสิ่งที่สำคัญก็คือภาพผลลัพธ์ที่ออกมานั้นจะต้องดูสมจริงมากกว่าภาพเมฆปลอมๆ

  ในตอนแรก คุณจะทำการ 'ระบาย' รูปเมฆด้วยโปรแกรม Photoshop โดยใช้ขนาดแปรงและค่าความเข้มหลายๆ ค่าผสมกัน ถ้าจะให้ดีที่สุดควรใช้บอร์ดกราฟิกแบบสัมผัสและปากกา(Pressure sensitive graphic tablet and stylus) ในการวาดเพราะมันจะช่วยควบคุมความเข้มและขนาดของหัวแปรงผ่านน้ำหนักมือที่คุณกดปากกา แต่ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไร เพราะคุณสามารถวาดภาพด้วยเมาส์ให้สวยงามได้เช่นกันหากหมั่นปรับเปลี่ยนค่าความเข้มและขนาดของหัวแปรงขณะที่วาด

  หัวใจของงานนี้คือความแนบเนียน คุณต้องค่อยๆ สร้างภาพเมฆขึ้นมาอย่างช้าๆ เพื่อความสมจริง ถ้าจะให้พูดตรงๆ ก็คือ ถ้าคุณเป็นคนที่อดทนกับวิธีการนี้ไม่ได้ เทคนิคนี้อาจไม่เหมาะกับคุณ

  และพอถึงเวลาที่ต้อง copy และ paste ภาพเมฆของจริงลงไปในภาพ คุณสามารถใช้คำสั่ง Edit > Transform เพื่อให้เอฟเฟ็คท์นั้นออกมาสวยงาม และไม่ว่าจะใช้ออปชั่นใดก็ตามในคำสั่ง Edit > Transform นี้ จะเห็น bounding Box รอบๆ ภาพเมฆที่แปะลงไป และคุณก็สามารถเลื่อน bounding box นี้เพื่อปรับขนาดหรือเปลี่ยนแปลงรูปทรงของเมฆที่คุณแปะลงไปได้


 
 
1 เริ่มต้นวางโครงร่าง เปิดไฟล์ cloudsstart.jpg แล้วเปิดเลเยอร์ใหม่ขึ้นมา (Ctrl-Shift-N) จากนั้นวาดโครงร่างภาพนกอินทรีย์ลงในเลเยอร์ใหม่นี้ด้วยแปรงขนาดเล็ก ต่อไปก็เปิดเลเยอร์ใหม่อีกชั้นหนึ่งแล้วทำการเลือกอุปกรณ์ Brush และเลือกหัวแปรงแบบ Airbrush Soft Round 100 ขึ้นมา  2 เมฆชั้นแรก ใช้อุปกรณ์ Eyedropper ดึงตัวอย่างสีเทากลางจากก้อนเมฆที่มีอยู่ในภาพนั้น จากนั้นเลือกอุปกรณ์ Brush อีกครั้งหนึ่งแล้วลดค่า flow ของ Airbrush ให้เหลือ 50 เปอร์เซ็นต์ เสร็จแล้วให้ระบายสีในบริเวณรูปทรงนกอินทรีย์และพยายามระบายให้สีมีน้ำหนักต่างกันบ้าง 

 
 
3 CLOUDS LAYER MASK ตอนนี้ให้ลบเลเยอร์ภาพโครงร่างโดยลากเลเยอร์นั้นลงไอคอนถังขยะใน Layer palette แล้วทำ Layer Mask ในเลเยอร์เมฆด้วยคำสั่ง Layer > Layer Mask > Reveal All จากนั้นให้คลิกภาพ thumbnail ใน Layer Mask แล้วใช้คำสั่ง Filter > Render > Clouds เพื่อเพิ่มเอฟเฟ็คท์ลงไปใน Layer Mask นี้  4 เพิ่มความสว่าง เราจำเป็นต้องทำให้ส่วนที่สว่างที่สุดใน Mask นี้สว่างขึ้นอีก ให้ใช้คำสั่ง Image > Adjustment > Brightness and Contrast ทำการเพิ่มค่า Brightness เป็น +22 และ Contrast เป็น +35 และขณะที่ยังอยู่ใน Layer Mask นี้ให้ระบายสีขาวบริเวณกลางของรูปทรงนกอินทรีย์เพื่อทำให้มันสว่างยิ่งขึ้น 

 
 
5 เลือกแปรงใหม่ เปิดเลเยอร์ชั้นใหม่ (Ctrl-Shift-N) สำหรับระบายรายละเอียดเมฆเพิ่มอีกเล็กน้อย ให้เลือกอุปกรณ์แปรงจาก Toolbar และเลือกหัวแปรงแบบ Spatter ขนาด 46 พิกเซลจาก Brush Picker จากนั้นคลิกไอคอน Airbrush ที่อยู่ใน Options bar ปรับค่า Opacity เป็น 40 และ Flow เป็น 45 เปอร์ เซ็นต์  6 เพิ่มเมฆขนาดเล็ก เลือก Foreground swatch ให้เป็นสีน้ำเงิน-ขาวแล้วค่อยๆ ระบายแอร์บรัชรอบรูปทรงนกอินทรีย์เพื่อสร้างริ้วเมฆเส้นเล็กๆ ขึ้นมา เลือกใช้หัวแปรงหลายๆ ขนาดและทำให้บางที่มีเมฆหนาขึ้นด้วยการใช้เทคนิคนี้ทำทับเข้าไปอีกสักทีสองที 

 
 
7 แปะภาพเมฆลงไป เปิดไฟล์ภาพเมฆเพื่อทำการ copy ภาพบางส่วนโดยเลือกใช้อุปกรณ์ Lasso แล้ว Selectionบางส่วนของเมฆที่คุณคิดว่าเหมาะสม จากนั้นใช้คำสั่ง Edit > Copy แล้วกลับไปยังภาพหลักเลือกคำสั่ง Edit > Paste และปรับขนาดของเมฆด้วยคำสั่ง Edit > Transform > Scale  8 ปรับตำแหน่งและค่า BLENDING ย้ายตำแหน่งเมฆให้เหมาะสมด้วยอุปกรณ์ลูกศร (V) เปลี่ยนโหมด blending ให้กับเลเยอร์ที่เพิ่งแปะนี้เป็น Lighten ใน Layers palette จากนั้นเลือกอุปกรณ์ยางลบโดยเลือกหัวแปรงแบบนุ่มแล้วทำการลบบริเวณสีขาวรอบๆ เมฆที่เพิ่งแปะลงไปนี้ 

 
9 ขั้นตอนสุดท้าย LAYER OPACITY คุณสามารถเพิ่มเมฆลงไปกี่ก้อนก็ได้ตามต้องการด้วยวิธีที่กล่าวมานี้ วางตำแหน่งให้เหมาะสมแล้วปรับขนาดด้วยคำสั่ง Edit > Transform สุดท้ายให้ปรับค่า Opacity ของเมฆแต่ละเลเยอร์เพื่อเปลี่ยนแปลงความเข้มของเมฆแต่ละกลุ่ม จากนั่นใช้คำสั่ง Flatten แล้ว Save งานได้เลย 

 


บันทึกการเข้า

supoj007
member
*

คะแนน286
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1555



อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2007, 01:56:14 PM »

ท่าน OPE3 น่าจะลงรูปด้วยครับ..ผมคนหนึ่งแม้จะชอบ..โม้ แต่ก็ไม่ชอบอ่านอะไรเยอะๆ ถ้าเห็นข้อความเยอะๆ จะเว้นเลยไปก่อน Tongue  ลงห้องนี้นะถูกแล้ว... Cheesy Cheesy
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!