เมี่ยง
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
มีนาคม 29, 2024, 06:47:39 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เมี่ยง  (อ่าน 11726 ครั้ง)
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1882
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13199


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2007, 08:13:26 AM »

หากินยากขึ้นทุกวัน นับวันจะสูญหายไปจากสังคมปัจจุบัน
เคดิตจาก http://www.manager.co.th/MetroLife/ViewNews.aspx?NewsID=4693392378090
คำว่า"เมี่ยง” หมายถึง ของกินชนิดหนึ่ง ซึ่งมีความหมายสองอย่าง
       
อย่างแรก "เมี่ยง" หมายถึง "ใบชา" ซึ่งปลูกกันตามภูเขาในภาคเหนือ เขานำมาหมักจนออกรสเปรี้ยวแกมฝาด เวลาจะกิน เขาก็นำใบเมี่ยง ซึ่งหมักจนได้ที่แล้ว มาวางแผ่ออก อาจจะซ้อนใบเมี่ยง 2 - 3 ชั้น เพื่อให้ได้ความหนาตามต้องการ แล้วก็วางเกลือเม็ดลงบนใบเมี่ยง กะให้ออกรสเค็มพอถูกปาก แล้วจึงจับใบเมี่ยงพับเข้าหากัน ห่อเป็นคำ หยิบใส่ปากเป็นอันเสร็จขบวนการ
        เมี่ยงอย่างนี้แหละ ที่พันตรีม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เขียนเล่าไว้ในหนังสือสี่แผ่นดินว่า
"....ตำหนักเจ้าดารา นับว่าแปลกกว่าที่อื่นทั้งสิ้น เพราะข้าหลวงนุ่งซิ่นไว้ผมมวย แต่งกายอย่างชาวเมืองเชียงใหม่ พูดภาษาเมืองเหนือทั้งตำหนัก และเป็นที่เดียวที่มีเมี่ยงแจกกันกินเป็นประจำ "
       
คนชาวเหนือครั้งกระโน้น นิยมอมเมี่ยงหลังกินข้าว หรืออมระหว่างมื้ออาหาร กันปากว่าง รสเปรี้ยวแกมฝาดของเมี่ยงทำให้ชุ่มคอดี ของที่เขาห่อในใบเมี่ยง เรียกว่า "ไส้เมี่ยง" ซึ่งดัดแปลงกันไปได้หลายตำรับ บางแห่งก็ใช้เนื้อมะพร้าวห้าว หั่นเป็นซี่ไม้ขีด แล้วนำไปคั่วหรือทอดให้กรอบ จึงผสมกับถั่วลิสงทอดหรือถั่วแปะยี่ ซึ่งบางแห่งเขาก็เรียกว่า ถั่วแปะหล่อ ถั่วที่จะใช้ทำไส้เมี่ยงนี้ จะต้องทอดให้กรอบดี แต่อย่าให้ถั่วไหม้เป็นอันขาด จึงโรยเกลือและน้ำตาลทราย เวลานำไส้ตำรานี้มาห่อใบเมี่ยง จะได้รสมันนิดหวานหน่อย และมีรสเค็มปะแล่ม ๆ อาจจะเป็นไส้เมี่ยงที่บรรดาข้าหลวงตำหนักพระราชชายาเจ้าดารารัศมีรับประทานกันก็เป็นได้ เพราะมันโอชะกว่าไส้เมี่ยงใส่เกลือเม็ด ที่ผู้คนระดับ "ฝุ่นเมือง"สมัยโน้นเขากินกัน
      ไส้เมี่ยงดังกล่าวข้างต้น ยังพอหากินได้ที่เมืองตาก เขาทอดมะพร้าว ถั่วลิสง และขิง คุลกน้ำตาลเกลือ ซึ่งเคี่ยวพอเหนียว เป็นของกินเอนกประสงค์ คือจะใช้เป็นไส้เมี่ยงก็ได้ หรือจะกินเป็นของกินเล่นก็ได้ แต่ที่วิเศษสุดคือกินไส้เมี่ยงนี้แกล้มเบียร์เย็น ๆ เขาว่ามัน"ผูกเสี่ยว"กันดีแท้ ๆ
       
การกินเมี่ยงแบบที่คนล้านนาสมัยโบราณเขากินกันนั้น ได้เห็นที่พม่าตอนบน โดยเฉพาะที่พุกาม สังเกตเห็นว่า ตามร้านเครื่องเขินแทบจะทุกแห่งในพุกาม จะมีโถเคลือบใส่ใบเมี่ยง และมีจานเคลือบใส่เครื่องเมี่ยง เช่น ขิงหั่น ถั่วลิสง และเกลือ ฉะนั้นพอจะพูดได้ว่า การกินเมี่ยงของพุกามกับของบ้านเราในภาคเหนือดูจะ "เครือกัน"
 อันที่จริงการกินเมี่ยงเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของพม่า เพราะผู้เขียนได้อ่านบทความของ Mi Mi Khaing เขียนไว้ถึงเรื่องการปรุงเมี่ยงสำหรับรับรองแขก เป็นบทความน่าสนใจจนถึงกับจะเก็บไว้เล่าในตอน "ม่านกินเมี่ยง"
       
แต่....เป็นเรื่องแปลกที่ไม่มีการกินเมี่ยงในวัฒนธรรมลาว ไม่ว่าจะเป็นเวียงจันทร์หรือหลวงพระบาง เพื่อนสาวชาวลาว ซึ่งเรียนร่วมชั้นกับผู้เขียน เคยยืนยันหนักแน่นว่า เขาไม่มีเมี่ยงแบบคนล้านนา
การกินเมี่ยงที่ใช้ใบชาหมักนั้น กำลังจะสูญไปจากวัฒนธรรมการกินอยู่ของไทยล้านนาแล้ว เพราะในยุคไฮเทคนี้ คนล้านนาไม่อมเมี่ยง เขามีหมากฝรั่งต่างรสต่างกลิ่นไว้อมเล่น เคี้ยวเล่น เพราะฉะนั้น ถ้าเอ่ยคำว่า "เมี่ยง" คนไทยยุคนี้จะนึกถึงความหมายที่สองของคำนี้
       
เมี่ยงตามความเข้าใจของคนปัจจุบัน คือของกินเล่น หรือของว่าง ซึ่งประกอบด้วยองค์สามคือ เครื่องเมี่ยง น้ำเมี่ยงและใบเมี่ยง เช่น เมี่ยงคำก็มีเครื่องเมี่ยงอันได้แก่ มะพร้าวคั่ว กุ้งแห้ง หัวหอม มะนาว ขิง และถั่วลิสง น้ำเมี่ยงคือน้ำตาลปี๊บ เคี่ยวกับเครื่องปรุงรสต่าง ๆ และใบเมี่ยงก็ได้แก่ ใบทองหลาง ใบชะพลู เป็นต้น
เมี่ยงอย่างที่เล่ามาเป็นของไทยแท้ที่คนชาติตะวันตกไม่มีกิน ส่วนบางชาติในเอเชียอาจจะมีเมี่ยงไว้กินเล่น เช่น คนญวนมี”แหนมเนือง” ซึ่งก็จัดเป็นอาหารประเภทเมี่ยงได้เหมือนกัน แต่คงจะไม่มีมากมายหลายตำรับเหมือนของไทย ซึ่งข้าพเจ้ารวบรวมไว้ได้กว่าครึ่งร้อยตำรับ
       ตำรับวิธีปรุงเมี่ยงมากมายอย่างนั้น ย่อมแสดงให้เห็นว่า เมี่ยงเป็นของกินที่สั่งสมมานมนานในวัฒนธรรมการกินอยู่ของคนไทย ดังจะเห็นได้จากพระราชนิพนธ์ “กายพ์เห่ชมเครื่องคาวหวาน” ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงนิพนธ์ไว้ดังนี้…
      “เมี่ยงคำน้ำลายสอ เมี่ยงสมอเมี่ยงปลาทู ข้าวคลุกคลุกไก่หมู น้ำพริกกลั้วทั่วโอชา”
เมี่ยงคำเป็นของกินคงกระพันชาตรี คืออยู่มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 เป็นอย่างน้อย เดี๋ยวนี้ผู้คนก็ยังนิยมกันอยู่ มิหนำซ้ำยังปรับปรุงรูปแบบให้ทันยุคสมัย คือใส่กระด้งใส่ถาด สำหรับนั่งล้อมวงกินก็ได้ ใส่ถุงพลาสติกขายตาม “ตลาดในห้างฯ” ให้ผู้คนซื้อไปกินที่บ้านก็ได้ หรือจะกินเมี่ยงเม็ดแบบอาหารมนุษย์อวกาศก็ได้อีก โดยผู้ปรุงจำหน่ายนำเครื่องเมี่ยงคลุกน้ำตาลปี๊บเคี่ยวกับน้ำปลา ได้รสเค็ม-หวาน-มัน แล้วจึงปั้นเป็นลูกกลอน บรรจุถุงให้ลูกค้าซื้อไปเคี้ยวเล่น
ส่วนเมี่ยงปลาทูนั้น คนก็ยังรู้จัก ยิ่งในยุคโลกาภิวัฒน์ ซึ่งปลาทูนึ่งไปเที่ยวได้ทุกภาคเพราะการขนส่งสะดวกมาก คนในเมืองไทยจึงกินเมี่ยงปลาทูกันทั่วไปหมด เนื่องด้วยเป็นของกินอร่อย เด็กกินได้ ผู้ใหญ่กินดี…
       
เมี่ยงสมอ…แปลก!!…คนส่วนมากคิดอย่างนั้น เพราะผลสมอเป็นอย่างไร ยังมีคนไม่รู้จักอีกมากมายในยุคนี้ ความจริงเมี่ยงสมอเป็นของกินที่ทำง่าย อร่อย และมีประโยชน์ เพราะสมอเป็นสมุนไพรที่มีคุณอย่างหนึ่ง คนไทยโบราณท่านฉลาดนัก รู้จักเอาของดี ๆ ในท้องถิ่นมาปรุงเป็นของกินที่อร่อยลิ้น โดยเฉพาะอาหารประเภทเมี่ยง ซึ่งควรจะกินแบบไทย
การกินแบบไทยนั้น สะท้อนให้เห็นลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของคนไทย คือชอบการสังสรรค์ ชอบสมาคม เราคนไทยนิยมทำอะไรเป็นกลุ่ม เป็นพวก ดูอย่างการลงแขกเกี่ยวข้าว การช่วยกัน “ปรุงเรือน” ของคนแต่ก่อน ตลอดจนการละเล่นพื้นบ้าน เช่น เพลงฉ่อย ลำตัด รำเหย่ย เต้นกำรำเคียว เพลงเรือ ฯลฯ. ล้วนแต่เป็นลักษณะของการเข้าหมูเข้าพวก
       
ฉะนั้นอาหารประเภทเมี่ยง จึงโอชะนัก ถ้าล้อมวงกินกันหลายคน หยิบกันคนละหมุบคนละหมับ อร่อยเขาหล่ะ…
       
ถ้าใครทำเมี่ยง แล้วนั่งกินคนเดียวตามลำพัง จะดูราวกับเป็นนกไร้ขน คนไร้เพื่อน เซ็งตายเลย ผิดพฤติกรรมของคนไทย เพราะอย่างนี้ยี่เอง คนไทยจึงมีตำรับทำเมี่ยงกินกว่าครึ่งร้อย สำหรับล้อมวงกินกันให้อร่อย


บันทึกการเข้า

winai4u-LSV team
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน673
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3025



« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2007, 09:47:12 AM »

วิธีปรุงเมี่ยงมากมายอย่างนั้น ย่อมแสดงให้เห็นว่า เมี่ยงเป็นของกินที่สั่งสมมานมนานในวัฒนธรรมการกินอยู่ของคนไทย ดังจะเห็นได้จากพระราชนิพนธ์ “กายพ์เห่ชมเครื่องคาวหวาน” ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงนิพนธ์ไว้ดังนี้…

“เมี่ยงคำน้ำลายสอ เมี่ยงสมอเมี่ยงปลาทู ข้าวคลุกคลุกไก่หมู น้ำพริกกลั้วทั่วโอชา”
Smiley


บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!