พ่อมหาอยู่ สุนทรธัย
ธันวาคม 14, 2024, 07:50:14 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พ่อมหาอยู่ สุนทรธัย  (อ่าน 4233 ครั้ง)
ปื้น ปากพนัง
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน173
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 531


« เมื่อ: กรกฎาคม 28, 2014, 07:43:05 am »



...ปี2520 ในขณะที่หลายฝ่ายต่างกำลังมองหาแนวทางเกษตร ที่น่าจะสามารถแก้ปัญหา อันสั่งสมมาจากการทำเกษตรเชิงเดี่ยวที่เน้นแค่ผลผลิต เพื่อการค้า คนทำงานในองค์กรพัฒนาเอกชนทางภาคอีสานก็ได้พบกับ "มหาอยู่ สุนทรธัย" ชาวนาสามัญชนผู้หนึ่ง ซึ่งมีแนวทางการทำเกษตรของตนเองที่น่าสนใจโดยขนานนามแนวทางเกษตรแบบนี้ว่า “เกษตรผสมผสาน” นั่นคือการทำหลายอย่างในพื้นที่เดียวกัน ไม่ได้ปลูกพืชเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเลี้ยงสัตว์อย่างหนึ่งอย่างใด เหมือนที่เกษตรกระแสหลักกำลังแห่ทำกันไปตามนโยบายส่งเสริมการเกษตรของภาครัฐในขณะนั้น

นอกจากที่นาปลูกข้าว บนพื้นที่ทำกินจำนวนประมาณ 60 ไร่ของมหาอยู่หลากหลายไปด้วยต้นไม้ต้นไร่ ตั้งแต่ระดับเรี่ยดินไล่ไปจนสูงแหงนคอตั้งบ่า มีทั้งพืชตระกูลถั่วเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน พืชผักสวนครัวอย่างพริกข่า ตะไคร้ มะกรูด มะนาว กะเพรา โหระพา แมงลัก ไม้ผลจำพวกกล้วย มะละกอ น้อยหน่า ขนุน มะพร้าว ฯลฯ หรือไม้ยืนต้นอื่นๆ เพื่อนำเนื้อไม้มาใช้สอย เช่น สะเดา สัก ไผ่ เหล่านี้ เป็นต้น แล้วยังเลี้ยงประดาสัตว์น้อยใหญ่ วัว หมู เป็ด ไก่ ปลา เพื่อเอื้อประโยชน์กันและกัน

มหาอยู่วางแผนการทำเกษตรไปพร้อมกับมองถึงระบบการขายผลผลิตด้วย เพราะยังอยู่ในยุคที่เกษตรกรมิอาจหลีกเลี่ยงการขายผลผลิตเพื่อนำเงินมาใช้สอยสิ่งของจำเป็น โดยเฉพาะชาวบ้านเกษตรกรที่มีลูกต้องเลี้ยงดูส่งเสียร่ำเรียนหนังสือ ครั้นคิดถึงการตลาด บทเรียนของเกษตรกรที่ไม่สามารถกำหนดราคาผลผลิตเองได้ ทำให้มหาอยู่คำนึงว่าทางออกคือเกษตรกร ต้องเป็นผู้ขายเองโดยไม่ผ่านผู้ค้าคนกลาง และการปลูกพืชหลายอย่างก็เป็นทางหนึ่งที่จะช่วยพยุงวิถีชีวิต ให้มีทางเลือก ยกตัวอย่างว่าหากปีนั้นข้าวราคาไม่ดีก็ยังมีเป็ดไก่ได้ขายไข่และยังได้ปุ๋ยใส่ต้นไม้ หรือเลี้ยงหมูเอาไว้ก็ได้ขายหากจำเป็น ทั้งยังได้ขี้หมูให้ปลากิน เรียกว่ามีแต่ได้ไม่มีเสีย เพราะข้าวที่เหลือก็เผื่อถึงหมู เป็ด ไก่ มูลสัตว์เหล่านี้ให้ปลา ปลาก็เอื้อกลับคืนเป็นอาหารและเป็นรายได้อีกที ปลาเป็นผู้ให้สุดท้ายโดยมีมูลเป็นตัวเชื่อมหมุนเวียนกันไปอย่างนี้ไม่สิ้นสุด หลักคิดนี้เกษตรกรอื่นๆสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมและวิถีวัฒนธรรมของตนเองได้ต่อไป


บันทึกการเข้า

ปื้น ปากพนัง
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน173
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 531


« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 28, 2014, 07:44:36 am »



ลักษณะการทำเกษตรและแนวคิดของมหาอยู่ ในช่วงเวลานั้นถือได้ว่าเป็นสิ่งใหม่สำหรับเกษตรกรรมทางภาคอีสานเลยทีเดียว ซึ่งหลังจากมีการเผยแพร่แนวทางเกษตรผสมผสานของมหาอยู่ออกสู่วงกว้าง ก็ปรากฏว่ามีชาวบ้านให้ความสนใจและกลับไปปรับเปลี่ยนการทำเกษตรของตัวเองกันไม่น้อย จึงพอจะกล่าวได้ว่า มหาอยู่ สุนทรธัช เป็นผู้บุกเบิกเกษตรผสมผสานแห่งภาคอีสาน

ก่อนที่มหาอยู่จะพบทางสายเกษตรของตนเอง ได้ผ่านการทำเกษตรตามแนวทางของพ่อแม่มาก่อน คือเกษตรแบบชาวบ้านอีสานทั่วไป ทำแค่พออยู่พอกินและไม่มีการจัดการอะไรมากนัก บางฤดูที่ฝนขาดช่วง พื้นดินภาคอีสานที่ไม่ใคร่อุ้มน้ำอยู่แล้วจึงยิ่งแห้งแล้ง ผลผลิตที่ได้ไม่ค่อยเต็มเม็ดเต็มหน่วย มหาอยู่ เล็งเห็นความยากลำบากของการทำเกษตรโดยไม่มีแหล่งน้ำของตนเอง จึงคิดหาวิธีให้มีน้ำอยู่ในพื้นที่ทำกินของตัวเอง เริ่มด้วยการใช้แรงกายและสองมือขุดสระทำฝายกั้นน้ำ ทำไปเรื่อยๆทีละเล็กทีละน้อยตามกำลังที่มี กระทั่งขยายใหญ่ออกไปอีกหลายสระจนสามารถเก็บน้ำใช้สอยได้ตลอดปี เมื่อมีน้ำ มีดิน จะปลูกต้นไม้อะไรก็งอกงาม สัตว์เลี้ยงหรือสัตวืที่อยู่ตามธรรมชาติอย่างพวกนก หนู กบ เขียด รวมทั้งหมู่แมลงต่างๆก็ได้มาอาศัย เกิดเป็นความหลากหลายทางชีวภาพที่สามารถพึ่งพิงกันเองได้ ซึ่งบรรยากาศเช่นนี้คงหาได้ยากในการทำเกษตรเชิงเดี่ยว มหาอยู่มักจะพูดเสมอว่าแนวทางปฏิบัติต่างๆล้วนมีที่มาจากคำสอนของพ่อแม่ ที่สอนให้ลูกหลานเคารพแม่คงคา แม่ธรณีและรุกขเทวดา คือ น้ำ ดิน และต้นไม้ใหญ่น้อยนั่นเอง แล้วนำแนวคิดเดิมมาปรับใช้กับความรู้ใหม่ที่ได้มา โดยช่วงที่มหาอยู่บวชเรียนอยู่ที่กรุงเทพฯ ได้มีโอกาสพบเห็นสวนผลไม้แถบฝั่งธนบุรี ปลูกพืชผลแบบยกร่อง ในท้องร่องเต็มไปด้วยน้ำและดินโคลน ใบไม้ร่วงโรยเน่าเปื่อยทับถมกันอยู่ในท้องร่อง ก็ลอกขึ้นมาเป็นปุ๋ยธรรมชาติได้อย่างดี
บันทึกการเข้า
ปื้น ปากพนัง
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน173
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 531


« ตอบ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 28, 2014, 07:45:30 am »




ทุกครั้งที่มีคนรุ่นหลังมาขอวิชาความรู้ มหาอยู่ก็ยังไม่เคยมีท่าทีเหน็ดเหนื่อยแต่อย่างใดที่จะพูดคุย หรือแม้แต่ต้องเดินทางไกลไปตามคำเชิญก็ตาม ความสุขสงบเช่นนี้คงจะมีที่มาจากครอบครัวอบอุ่น สภาพแวดล้อมที่ดี อาหารพอเพียงที่มีให้เลือกเก็บกิน ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นบำนาญแห่งชีวิตที่ มหาอยู่ มักจะบอกเสมอว่า ล้วนได้มาจากการออมน้ำ ออมดิน ออมต้นไม้ในเส้นทางสายเกษตรผสมผสานมาแต่ต้น

ปราชญ์ชาวบ้านอาวุโสของภาคอีสานที่มีความสุข
ครอบครัวอบอุ่นคือรากฐานของชีวิต

พ่อมหาอยู่ สุนทรธัย เป็นบุตรคนที่ 3 ของนายคำชู และนางเม็ง สุนทรธัย เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2463 ที่บ้านตะแบก ต.สลักได อ.เมือง จ.สุรินทร์ จบชั้น ป.4 จากโรงเรียนสุรวิทยาคม หลังจบแล้วได้มาช่วยพ่อแม่ทำนาอยู่ช่วงหนึ่ง แล้วจึงได้บวชเรียนที่วัดจุมพลสุทธาวาส จ.สุรินทร์ ต่อมาจึงย้ายไปอยู่ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์  กรุงเทพมหานคร จนสอบได้นักธรรมชั้นเอก และเปรียญธรรม 3 ประโยคในปี พ.ศ.2486 เมื่อกลับมาเยี่ยมโยมพ่อโยมแม่ที่จังหวัดสุรินทร์ พบว่าท่านชราภาพมากแล้ว ยังต้องลำบากตรากตรำทำงาน จึงเกิดความสงสารและได้ตัดสินใจสึกออกมาช่วยพ่อแม่ทำนา 4 ปี ต่อมาคือปี 2490 ญาติผู้ใหญ่จึงได้ไปสู่ขอคุณแม่สุมาลี บุตรสาวสมุหบัญชี อ.เมือง จ.สุรินทร์ ในขณะนั้นมาเป็นคู่ครอง และอยู่กินกันมาอย่างมีความสุข มีลูกสืบตระกูลด้วยกัน 5 คน โดยลูกๆ กลับมาอยู่ใกล้ๆ พ่อแม่หมด ปัจจุบันพ่อมหาอยู่ สุนทรธัย และครอบครัวอยู่บ้านเลขที่ 6 หมู่ที่ 4 บ้านตะแบก ต.สลักได อ.เมือง จ.สุรินทร์

พึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง : ทางรอดคนอีสาน
ต้องศรัทธาในแนวคิดการพึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง
ต้องออมน้ำ ออมดิน ออมต้นไม้ใหญ่ ออมเงิน และสั่งสมปัญญา
ต้องผสมผสานด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
1) ต้องศรัทธาในแนวคิดการพึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง  พ่อมหาอยู่ได้กล่าวย้ำทุกครั้งว่าหากจะพัฒนาอะไร ต้องเตรียมสิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้อง เช่น
จะปลูกพืชอะไร   ต้องเตรียมดิน
จะกินอะไร        ต้องเตรียมอาหาร
จะพัฒนาการ     ต้องเตรียมประชาชน
จะพัฒนาคน      ต้องเตรียมที่จิตใจ
จะพัฒนาใครเขา ต้องเตรียมที่ตัวเราก่อน
ดัง นั้นการที่ใครจะพัฒนาตนเองและครอบครัวให้พึ่งตนเองและพึ่งพากันเองได้จะ ต้องเตรียมความคิด และความศรัทธาในการพึ่งตนเองและพึ่งพากันเองก่อนเสมอ โดยเรียนรู้และเชื่อมโยงให้ครบ
2) ต้องออมน้ำ ออมดิน ออมต้นไม้ใหญ่ ออมเงิน และสั่งสมภูมิปัญญาในการแก้ปัญหา พ่อมหาอยู่ ได้อาศัยหลักคิดของบรรพบุรุษที่สร้างแนวคิดให้ลูกหลานรักและเคารพน้ำ ให้เป็นแม่คือ แม่คงคา รักและเคารพดินให้เป็นแม่คือ แม่ธรณี ยกให้ต้นไม้ใหญ่เป็นรุกขเทวดา รวมทั้งเรียนรู้เท่าทัน มีภูมิปัญญาในการแก้ปัญหาและออมเงิน มาสร้างทุนทางสิ่งแวดล้อม เหล่านี้เป็นบำนาญชีวิต ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
-ตลอด ชีวิตที่ผ่านมา พ่อมหาอยู่ ได้ประสบความแห้งแล้งมาตลอด ต้องเดินทางไปหาบน้ำจากที่ไกลๆ เพื่อหาน้ำมาใช้ เมื่อเกิดภาวะแห้งแล้งมากๆ จึงทำให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะสู้ความแห้งแล้ง และได้ตั้งปณิธานมุ่งมั่นขุดบ่อ ทำฝายกั้นน้ำ โดยใช้กำลังของตนเอง จนมีสระน้ำจำนวนมาก สามารถกักเก็บน้ำไว้ตลอดปี
-น้ำ เป็นที่มาของสิ่งมีชีวิตทั้งพืช สัตว์ และมนุษย์ การทำเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวจะไม่ได้ออมน้ำไว้ใช้เพราะเน้นว่าที่ดินทุกตารางนิ้วไว้ปลูกพืชเพื่อขาย เมื่อเกิดการแปรปรวนของปริมาณน้ำฝนเกษตรกรจึงทุกข์ยากมากและเป็นหนี้สิน เหมือนในปัจจุบัน เมื่อพ่อมหาอยู่ ขุดสระเก็บน้ำไว้ได้ สิ่งมีชีวิตต่างๆ ก็เริ่มกลับมาอยู่ด้วย ในเนื้อที่ 100 ไร่จึงมีทั้งกล้วย มะม่วง มะพร้าว ขนุน ไม้สัก ไม้สะเดา ไม้ไผ่ และต้นไม้หลากหลายพันธุ์นับร้อยชนิด รวมทั้งหมู เห็ด เป็ด ไก่ วัว ควาย และปลาอีกจำนวนมาก และในยามนี้ลูกหลานก็กลับมาร่วมชื่นชมและอยู่ปรนนิบัติคุณพ่อคุณแม่ การออมน้ำของพ่อมหาอยู่จึงได้สร้างชีวิตจำนวนมาก รวมทั้งชีวิตครอบครัวที่มีความสุข พึ่งตนเองได้
-ช่วง ที่บวชเรียนอยู่ที่กรุงเทพฯ ได้พบเห็นชาวสวนแถวๆ ฝั่งธนบุรีและนนทบุรี ปลูกพืชแบบยกร่อง มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นเต็มไปหมด เกิดความร่มรื่น ใบไม้ที่ร่วงผุ และเน่าเปื่อยเป็นปุ๋ย ขี้โคลนที่ลอกขึ้นมาจากท้องร่อง นำมากลบโคนต้นไม้ กลายเป็นปุ๋ยอย่างดี กลายเป็นการออมความอุดมสมบูรณ์ของดิน ช่วยให้ไม่มีรูรั่วไปซื้อปุ๋ยเคมี พ่อ มหาอยู่ได้ออมต้นไม้ใหญ่นับร้อยชนิด จำนวนหลายพันต้นทั้งผัก ผลไม้ และไม้ใช้สอย โดยระยะเริ่มต้นจะใช้กล้วยเป็นพืชพี่เลี้ยงและตามด้วยต้นไม้ใหญ่เหล่านี้ ผลของการออมต้นไม้ใหญ่ทำให้มีปัจจัย 4 ครบทั้งอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยาสมุนไพรรักษาโรค นอกจากนี้ยังทำให้สัตว์ต่างๆ เช่น นก งู กบ เขียด มีที่พักอาศัย และที่สำคัญต้นไม้ใหญ่เหล่านี้ได้กลายเป็นบำนาญชีวิต ที่ช่วยต่ออายุของผู้เฒ่า ทั้งสามีภรรยาให้มีความสุขทั้งกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ
-การเงินดี เป็นคาถาสำคัญที่พ่อมหาอยู่คอยบอกผู้มาเยือนว่า หากรู้จักออมเงิน นอกจากเงินจะกลายเป็นบำนาญชีวิตแก่ผู้ที่ออมมันไว้แล้ว เงินยังช่วยให้เราสามารถสร้างทุนทางสิ่งแวดล้อม เช่น จ้างรถแมคโครมาขุดสระออมน้ำ ใช้เงินซื้อที่ดินเพิ่ม เป็นการออมที่ดิน ซื้อต้นไม้พันธุ์ดีมาเปลี่ยนยอดพันธุ์พื้นเมืองให้ได้ผลผลิตดีไว้กิน ไว้แจกมีเหลือขายได้อีกด้วย และที่สำคัญยังสามารถเปลี่ยนเงินเป็นทุนทางปัญญา เช่น ใช้เป็นค่ารถให้สมาชิกมานั่งคุยกัน หรือไปศึกษาดูงาน เป็นต้น ดังนั้นพ่อมหาอยู่จึงได้พาเครือข่ายตั้งกลุ่มออมทรัพย์จนได้รับประกาศ เกียรติคุณ “ผู้นำกลุ่มสมาชิกที่ระดมเงินฝากโครงการออมทรัพย์วันละนิดเพื่อชีวิต สหกรณ์ดีเด่น”      ประจำปี  2531   จาก สหกรณ์การเกษตรเมืองสุรินทร์ จำกัด
บันทึกการเข้า
ปื้น ปากพนัง
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน173
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 531


« ตอบ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 28, 2014, 07:46:45 am »




พ่อมหาอยู่ อาศัยหลักการสร้างปัญญาไว้ 3 ทาง คือ
    ก) สุตมยปัญญา ได้แก่ ปัญญาเกิดจากการสดับ การเล่าเรียน
    ข) จินตามยปัญญา  ได้แก่ ปัญญาเกิดจากการพิจารณาเหตุผล
    ค) ภาวนามยปัญญา ได้แก่ ปัญญาเกิดจากการฝึกอบรมลงมือปฏิบัติ
    โดยวิธีสร้างปัญญาดังกล่าวร่วมกับการครองตนด้วยธรรมะข้ออื่นๆ อีกหลายข้อที่ยึดถือปฏิบัติอยู่เป็นนิตย์ทำให้พ่อมหาอยู่กลายเป็นผู้ทรง ภูมิปัญญา เป็นผู้เฒ่าที่มีคุณค่าและชราอย่างมีความสุข
3) ต้องผสมผสานด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ  ความหลากหลายทางชีวภาพช่วยให้เราลดรายจ่ายด้านอาหารการกินลงได้อย่างชัดเจน เพราะเราปลูกและเลี้ยงทุกอย่างที่ต้องกินและต้องใช้ เมื่อมีเหลือก็แจกญาติสนิทมิตรสหาย ทำให้รักใคร่และพึ่งพากันเองได้ เหลือกินเหลือใช้ เหลือแจกก็ขายช่วยให้มีรายได้เพิ่ม ปลดเปลื้องหนี้สินได้ และมีเงินออม ทั้งออมเงินในรูปของแม่ธรณี แม่คงคา แม่มัจฉา แม่โพสพ และรุกขเทวดา รวมความว่าความหลากหลายทางชีวภาพช่วยให้เศรษฐกิจดีขึ้น
ความ หลากหลายทางชีวภาพยังช่วยให้ระบบนิเวศน์ดีขึ้น เพราะใบไม้ของต้นไม้ชนิดหนึ่งย่อยสลายแล้วกลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ของอีกชนิด หนึ่ง การมีต้นไม้หลากหลายทำให้มีแมลงที่หลากหลายและควบคุมกันเอง มีสัตว์กินแมลง เช่น นก กบ เขียด มาอาศัยอยู่เพราะมีอาหารอุดมสมบูรณ์ ตามมาด้วยงู กระรอก กระแตมาอยู่ร่วมกันได้ เพิ่มปุ๋ยคอกแก่ต้นไม้ด้วย การเป็นอาหารของกันและกัน พร้อมควบคุมกันเองทำให้ห่วงโซ่อาหารครบวงจร เกิดความยั่งยืน รวมทั้งไม่ต้องซื้อปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า และสารเคมีฆ่าแมลง ช่วยให้พึ่งตนเอง และพึ่งพากันเองได้ นอก จากนั้นการใช้ไม้พันธุ์พื้นเมืองยังช่วยให้ได้ต้นไม้และสัตว์ที่ทนโรคทนแล้ง และเมื่อต้องการพันธุ์ดีก็นำกิ่งดีๆ มาติดตาต่อกิ่งหรือเปลี่ยนยอดได้



ความสุขที่สัมผัสได้  เมื่อถามถึงความสุขพ่อมหาอยู่ตอบทันทีว่าคือ
อารมณ์ดี    หมายถึง มีอยู่มีกิน ไม่มีหนี้ ครอบครัวมีสุข
อากาศดี     หมายถึง สิ่งแวดล้อมดีๆ
อาหารดี     หมายถึง อาหารพอเพียงครบทุกหมวดหมู่ สะอาด และปลอดภัยจากสารพิษ
สมุนไพรดี   หมายถึง มีสมุนไพรเป็นทั้งอาหารในชีวิตประจำวัน และเป็นยารักษาโรคอย่างพอเพียง
การเงินดี    หมายถึง ดูแลดีไม่มีรูรั่ว และออมเป็น

วิธีการได้มาซึ่งความสุข ใช้หลักการมีศีล คือ
สีเลนะ สุคะติง ยันติ (ศีลทำให้เกิดความสุขตลอดไป)
สีเลนะ โภคะสัมปะทา (ผู้มีศีลจะถึงพร้อมด้วยสมบัติ)
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ (ศีลทำให้ได้พระนิพพาน คือสงบจากกิเลส)
ตัสมา สีลัง วิโสธเย (ดังนั้นจงรักษาศีลให้บริสุทธิ์เถิด จะทำอะไรต้องใช้ศีลควบคุมตนเองและแนวทางโครงการเสมอ)

การขยายความคิดและเครือข่ายหนึ่งล้านครอบครัวในอีสาน ตลอด 40 ปีเศษ ของความสำเร็จที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พ่อมหาอยู่ได้ขยายความคิดออกไปอย่างกว้างขวาง โดยรับดูงานทั้งชาวบ้าน ผู้นำชาวบ้าน นักพัฒนาภาครัฐ นักพัฒนาภาคเอกชน นักวิชาการ นักธุรกิจ และสื่อมวลชนรวมทั้งผู้สนใจนับได้ไม่หวาดไม่ไหว และพ่อมหาอยู่ได้ปวราณาตัวที่จะรับใช้แผ่นดินไทยจนกว่าชีวิตจะหาไม่ให้ได้ หนึ่งล้านครอบครัวในภาคอีสานที่พึ่งตนเองและพึ่งพากันเองได้ถวายในหลวง โดยร่วมขบวนการใน 3 เครือข่ายใหญ่ๆ ดังนี้ คือ
    1. เครือข่ายภูมิปัญญาชาวบ้านและพหุภาคีภาคอีสาน
    2. เครือข่ายขุดสระตามทฤษฎีใหม่จังหวัดสุรินทร์
    3. เครือข่ายจัดสวัสดิการเร่งด่วน  เพื่อผู้ยากไร้ของกองทุนเพื่อสังคม
ซึ่งทั้ง 3 เวทีเครือข่ายจะพบพ่อมหาอยู่เสมอ รวมทั้งศูนย์เรียนรู้ของท่านยินดีต้อนรับผู้ดูงานที่สนใจ
ใน โอกาสนี้ลูกๆ ทุกคนขอเป็นกำลังใจและขอร่วมอุดมการณ์เป็นประชาสังคมที่เข้มแข็งพึ่งตนเอง และพึ่งพากันเองได้ เพื่อสร้างชาติไทย ศาสนา และพระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักยิ่งของพวกเราทุกคนตามเจตนารมย์ของพ่อมหา อยู่ สุนทรธัย สู่เครือข่ายหนึ่งล้านครอบครัวในภาคอีสานที่พึ่งตนเองและพึ่งพากันเองได้ อย่างสมดุล และมีความสุข
บันทึกการเข้า
ปื้น ปากพนัง
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน173
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 531


« ตอบ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 28, 2014, 07:47:43 am »




ความสำเร็จอยู่ที่การเตรียมตัว  พ่อมหาอยู่ได้ให้คาถาของความสำเร็จในปัจจุบันเพิ่มเติมจากอิทธิบาท 4 ว่าต้องวางแผน กล่าวคือ คนเราจะต้องเตรียมตัวดังนี้
    - เตรียมตัวก่อนตาย
    - เตรียมกายก่อนแต่ง
    - เตรียมน้ำก่อนแล้ง
    - เตรียมแรงก่อนทำงาน
    ซึ่งทั้งหมดนี้รวมเป็น “พ่อมหาอยู่ สุนทรธัย” ปราชญ์ชาวบ้านอาวุโสของภาคอีสานที่มีความสุข ซึ่งพวกเรารักและเคารพ



จุดเด่นของศูนย์เรียนรู้ของพ่อมหาอยู่ สุนทรธัย   
    1. เป็นพุทธเกษตรที่นำความรู้ทางพุทธศาสนามาประยุกต์กับการทำเกษตรผสมผสาน
    2. มีการออมน้ำ ออมความอุดมสมบูรณ์ของดิน การออมสัตว์ และออมต้นไม้ยืนต้นทั้งผัก ผลไม้ และไม้ไม้ใช้สอย
    3. มีการจัดการที่ชัดเจน
    4. มีรูปธรรมการมีความสุขในมิติต่างๆ

หลักสูตรดูงาน
    1. ดูงานเฉพาะของพ่อมหาอยู่  สุนทรธัย ใช้เวลา 3-6 ชั่วโมง
    2. ดูงานกลุ่มเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านใช้เวลา 3-5 วัน

ศูนย์เรียนรู้ของพ่อมหาอยู่ สุนทรธัย
    มีผู้มาศึกษาดูงานเป็นจำเดือนละ 10-15 คณะ โดยปี 2542 มีผู้มาศึกษาดูงาน 5000 คนเศษ รูปแบบการเกษตรผสมผสานในศูนย์เรียนรู้แห่งนี้เป็นประโยชน์อย่างมากต่อ เกษตรกรที่สนใจ แนวคิดการพึ่งตนเองเป็นหัวใจสำคัญต่อทุกคนที่มาเรียนรู้
กลุ่มต่างๆ ที่น่าจะได้มาศึกษาดูงาน  ได้แก่
    1. เกษตรกรที่สนใจทั้งชายและหญิง
    2. เด็กและเยาวชน
    3. ข้าราชการที่สนใจทฤษฎีใหม่
บันทึกการเข้า
ปื้น ปากพนัง
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน173
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 531


« ตอบ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 28, 2014, 07:54:37 am »

...ท่านเดินทางจากโลกนี้ไปด้วยอาการอันสงบในช่วงเช้าวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๐ ของพ่อมหาอยู่ สุนทรธัย ปราชญ์ชาวบ้านอาวุโสแห่งจังหวัดสุรินทร์ วัย ๘๘ ปี นับเป็นอีกหนึ่งความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับวงการเกษตรผสมผสานในประเทศไทย

 กว่า ๔๐ ปีที่ผ่านมา แนวคิดเกษตรกรรมยั่งยืนของมหาอยู่ได้เผยแพร่ไปในวงกว้าง ท่านได้ปวารณาตัวที่จะรับใช้แผ่นดินไทยจนกว่าชีวิตจะหาไม่ เพื่อให้หนึ่งล้านครอบครัวในภาคอีสานสามารถพึ่งตนเองและพึ่งพากันเองได้ถวาย ในหลวง โดยร่วมกับเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนภาคอีสานหลายแห่ง อาทิ เครือข่ายภูมิปัญญาชาวบ้านและพหุภาคีภาคอีสาน จัดตั้ง "มหาวิชชาลัยภูมิปัญญาไทอีสานคืนถิ่น" ขึ้นเพื่อเผยแพร่ไม่ให้ภูมิปัญญาพื้นถิ่นของชาวอีสานสูญหายไป
และนับเป็นเกียรติสำคัญยิ่งในชีวิต เมื่อมหาอยู่ สุนทรธัย ปราชญ์แห่งเกษตรกรรมยั่งยืน ได้เข้ารับพระราชทานโล่เชิดชูเกียรติจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราช กุมารี ในงานสมัชชาเกษตรกรรมทางเลือก ครั้งที่ ๓ ในฐานะผู้สร้างสรรค์เกษตรกรรมยั่งยืน.



มหาอยู่กับลูกสาวที่ลาออกจากครู มาดูแลสวนแทนพ่อ

จาก http://www.108kaset.com/index.php/topic,25
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!