การปลูกข้าวน้ำน้อยใช้ต้นกล้าอ่อนที่อายุเพียง 8-12 วัน ปักดำ...ได้ข้าวมากกว่า1ตันต่อไร่
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
เมษายน 24, 2024, 01:17:30 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การปลูกข้าวน้ำน้อยใช้ต้นกล้าอ่อนที่อายุเพียง 8-12 วัน ปักดำ...ได้ข้าวมากกว่า1ตันต่อไร่  (อ่าน 4979 ครั้ง)
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18651


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« เมื่อ: ธันวาคม 18, 2012, 08:00:48 AM »

การปลูกข้าวน้ำน้อย (SRI: System of Rice Intensification) เป็นเทคนิคการปลูกข้าวที่ใช้ต้นกล้าน้อยลง ใช้น้ำน้อยลง แต่ให้ผลผลิตมากขึ้น เริ่มพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2526 ที่ประเทศมาดากัสกา ก่อนที่จะขยายไปยัง 34 ประเทศในโลก

การปลูกข้าวแบบดั้งเดิมชาวนาจะเตรียมแปลงเพาะกล้า หว่านเมล็ดพันธุ์ แล้วปล่อยให้ต้นกล้าอยู่ในแปลงจนมีอายุ 20 - 30 วัน แล้วจึงย้ายไปปักดำในนาข้าว การปักดำแต่ละกอจะใช้ต้นกล้า 6-7 ต้น พร้อมเว้นระยะห่างประมาณ 6 นิ้ว

เทียบกันแล้ว ข้าวน้ำน้อยใช้ต้นกล้าอ่อนที่อายุเพียง 8-12 วัน ปักดำกอละ 1 ต้น เว้นระยะห่าง 10 นิ้ว กล้าอ่อน 1 ต้น ปล่อยให้แตกกอตั้งแต่ปล้องที่ 1 และแต่ละปล้องจะแตกกอไปเรื่อย ๆ แบบทวีคูณ ทำให้กล้าอ่อนสามารถแตกกอได้มากสุดถึง 40 ต้น ขณะที่เทคนิคปักดำแบบเดิม ข้าวแตกกอมากที่สุดเพียง 25 ต้น

ที่สำคัญ นาข้าวน้ำน้อยไม่ต้องผันน้ำเข้านาให้ต้นข้าวแช่น้ำ แต่ปลูกปล่อยไว้จนน้ำแห้งดินแตกระแหง จึงผันใส่น้ำเข้าในนาข้าวอีกครั้ง

“หากทำนาแบบดั้งเดิมใช้น้ำ 3-5 พันลิตรต่อข้าวเปลือก 1 กิโลกรัม แต่การทำนาแบบเอสอาร์ไอใช้น้ำน้อยกว่าถึง 2 ใน 3 และยังช่วยลดค่าใช้จ่าย ทั้งค่าเมล็ดพันธุ์ข้าว จากปกติหน่วยราชการแนะนำให้ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าว 15 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรใช้จริง 25-40 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ระบบเอสอาร์ไอใช้เพียง 200 กรัมต่อไร่ การปลูกด้วยต้นกล้าต้นเดียวยังทำให้อากาศถ่ายเท ไม่หนาแน่นจนชื้นสร้างสภาพแวดล้อมเอื้อต่อโรคข้าวและแมลงศัตรูพืช ” ดร.ซาโลกีกล่าวและอ้างผลวิจัยยังพบด้วยว่า เทคนิคเอสอาร์ไอเพิ่มผลิตข้าวเป็น 2 เท่า

"ตอนอบรมครั้งแรก ชาวนาในร้อยเอ็ดไม่มั่นใจนัก แบ่งพื้นที่ปลูกเพียง 3 งานต่อไร่ แต่กลับได้ผลผลิตเท่ากับข้าวเกือบ 1 ไร่ที่ปลูกแบบเดิม ทำให้ชาวนาที่อยู่ใกล้เคียงสนใจและนำเทคนิคนี้ไปใช้ต่อ"

เทคนิคดังกล่าวยังนำไปทดลองใช้กับหลายประเทศในแถมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิเช่น ลาว กัมพูชา กระทั่งมีชาวนาหลายครอบครัวนำเทคนิคข้าวน้ำน้อยหรือเอสอาร์ไอไปใช้ แต่พื้นที่ปลูกข้าวเทคนิคน้ำน้อยในเวียดนาม ยังมีสัดส่วนเล็กน้อยเมื่อเทียบกับพื้นที่เพาะปลูกทั้งประเทศ

อย่างไรก็ดี เทคนิคปลูกข้าวน้ำน้อยในแต่ละประเทศอาจได้ผลผลิตต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมที่ต่างกัน เช่น สภาพดิน อุณหภูมิ ปุ๋ยและพันธุ์ข้าว


บันทึกการเข้า

ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18651


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: ธันวาคม 18, 2012, 08:05:14 AM »

รุ่งโรจน์ : ปลูกข้าวแบบ SRI ในพื้นที่ 2 ไร่ ปักต้นกล้าประมาณ 500 ต้น ได้ผลผลิตเฉลี่ย 720 กิโลกรัมต่อไร่ โดยต้นกล้า 1 ต้นแตกกอได้ถึง 40 ต้น ข้าวหนึ่งรวงมีเมล็ดข้าวประมาณ 230 เมล็ด (ข้าวที่ใช้ปุ๋ยเคมีจะมี 170-180 เมล็ดต่อหนึ่งรวง)

พ่อศิริชัย : ปลูกข้าวแบบ SRI ในพื้นที่ 1 งาน ปักต้นกล้าไปประมาณ 100 กว่าต้น ได้ผลผลิต 160 กิโลกรัม (4 กระสอบ) ต้นกล้า 1 ต้น แตกกอได้มากที่สุดถึง 44 ต้น (ข้าวอินทรีย์ทั่วไปจะแตกกอได้ 5-10 ต้นเท่านั้น)

ต้นข้าวที่ปลูกแบบ SRI ของทั้งสองคนเจริญเติบโตเร็วกว่าข้าวทั่วไป คือ ตั้งต้นได้ภายใน 3 วันหลังจากปักดำ นอกจากนี้ยังแตกเป็นกอใหญ่ ออกรวงเยอะ ลำต้นใหญ่ แข็งแรง บางต้นสูงกว่า 2 เมตร รากแผ่ขยายเป็นวงกว้างทำให้สามารถหาอาหารมาเลี้ยงลำต้นได้มากกว่า

ถึงตอนนี้พวกชาวบ้านเริ่มตื่นเต้นสนใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นในที่นาของ รุ่งโรจน์และพ่อศิริชัย หลายคนบอกกับพวกเขาว่า “ไม่น่าเชื่อ“

ชาวนาทั้งสองสรุปว่า วิธี SRI ให้ผลผลิตสูงอย่างเห็นได้ชัดจริง แม้ยังไม่มากถึง 1,200 กิโลกรัมต่อไร่ อย่างที่บันทึกเอาไว้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะดินในตำบลทมอไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์และไม่เรียบสม่ำเสมอ การทำนายังต้องพึ่งพาน้ำฝนเป็นหลัก ทำให้ไม่สามารถจัดการน้ำในนาได้ นอกจากนั้นเกษตรกรไม่มีเวลาดูแลนา-กำจัดวัชพืชได้เต็มที่ เพราะต้องทำนาอินทรีย์ควบคู่กันไปด้วย แต่ผลผลิตระดับ 700 กว่ากิโลกรัมถือว่าน่าจะพอให้ชาวนายิ้มออก และน่าจะถือเป็นความสำเร็จขั้นต้นสำหรับความพยายามที่จะต่อยอดการทำเกษตรแบบ อินทรีย์ ในแง่ของการเพิ่มผลผลิตโดยไม่ต้องเพิ่มค่าใช้จ่าย หรือใช้สารเคมีที่เป็นภัยต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม

“ถึงอย่างไรผมก็จะลองปลูกอีกรอบ” พ่อศิริชัยประกาศ “ทดลองดูว่าปลูกช่วงเวลาไหน ระยะห่างแค่ไหนถึงจะดีที่สุด เพราะมันไม่มีอะไรเสียหาย อย่างน้อยก็เป็นการคัดพันธุ์ข้าวไปในตัว” นอกเหนือจากชาวบ้านโดนเลงใต้ ขณะนี้ในประเทศไทยมีการทดลองปลูกข้าวแบบ SRI อย่างน้อยอีก 3 แห่ง คือที่ตำบลสำโรง อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ที่อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร และที่คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สำหรับอนุวัฒน์ จันทร์เขต หรือ “หนุ่ม” เจ้าหน้าที่ คปส. ซึ่งเป็นพี่เลี้ยงคอยช่วยรุ่งโรจน์และพ่อศิริชัยเก็บข้อมูลการทำนา SRI ได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า การปลูกข้าวต้นเดียวแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่นี่ เพราะที่นามีความสูงต่ำไม่สม่ำเสมอ มีปัญหาเรื่องน้ำ และเกษตรกรมีที่นามากทำให้ดูแลกำจัดวัชพืชได้ไม่ทั่วถึง เขาคิดว่าวิธีนี้น่าจะเหมาะกับคนที่มีที่นาเล็กๆ ขนาด 3-5 ไร่เท่านั้น

ถึงกระนั้นหนุ่มก็ยืนยันว่า คปส. จะเดินหน้าส่งเสริมการปลูกข้าวแบบ SRI ต่อไป เพราะการปลูกข้าวต้นเดียวนี้มีประโยชน์มหาศาลต่อการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าว ของชาวนา

“การ ปลูกข้าวทีละต้นทำให้เราเห็นได้ชัดว่าต้นไหนไม่ใช่ข้าวมะลิ 105 หรือเป็นข้าวเมล็ดลีบที่ปะปนมา เพราะดูจากเมล็ดข้าวเราไม่มีทางรู้ ต่อเมื่อข้าวแตกกอขึ้นมาเราถึงจะรู้ว่าเมล็ดข้าวนั้นเป็นพันธุ์อะไร ถ้าเป็นพันธุ์อื่นเราก็ถอนทิ้งไป เก็บแต่ต้นที่เป็นพันธุ์แท้เอาไว้ วิธีนี้จะช่วยลดปัญหาการปนเปื้อนของเมล็ดพันธุ์ข้าวลงได้มาก” หนุ่มอธิบาย

เขาบอกว่าในอนาคต คปส. จะตั้งธนาคารพันธุ์ข้าวเพื่อเก็บข้าวหอมมะลิพันธุ์แท้ที่มีคุณภาพดีไว้ให้ สมาชิก โดยยินดีจะรับซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวที่คัดมาจากแปลง SRI ของเกษตรกรในราคาที่สูงกว่าตลาดเล็กน้อย เพื่อเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรทดลองทำนาแนวใหม่นี้กันมากขึ้น

หน้านาปีนี้ นอกจากรุ่งโรจน์กับพ่อศิริชัยแล้ว สมาชิกกลุ่มเกษตรอินทรีย์อีกอย่างน้อยสองราย คือ มิตร บุญทวี และภาคภูมิ อินทร์แป้น ประกาศว่าจะหาแปลงนาที่เหมาะๆ เพื่อทดลองปลูกข้าวต้นเดียวดูบ้าง เรื่องที่ต้องทำงานหนักขึ้น ปรับเปลี่ยนความเชื่อความเคยชินในการทำนา หรือการถูกมองด้วยสายตาแปลกๆ จากเพื่อนบ้านนั้น พวกเขารับมือได้สบายๆ เพราะเคยผ่านมันมาหมดแล้ว เมื่อครั้งที่ตัดสินใจเปลี่ยนจากการทำนา “เคมี” มาเป็น “อินทรีย์”

บางทีชาวนากลุ่มนี้อาจเป็นผู้ค้นพบวิธีการปลูกข้าว SRI แบบไทยๆ ที่เหมาะสมกับเกษตรกรและนาข้าวในประเทศไทย--ทำให้วิธีการทำนาที่ “ฟังดูดีเกินกว่าจะเป็นจริง” นี้ได้รับการยอมรับแพร่หลายเหมือนอย่างที่ “เกษตรอินทรีย์” เคยทำสำเร็จมาแล้วก็เป็นได้ ที่ สำคัญ SRI อาจเป็นหนทางในการเพิ่มผลผลิตข้าวที่ชาวนามีโอกาสเป็นผู้ทดลอง และเลือกใช้เอง โดยไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีราคาแพงของบริษัทข้ามชาติ อย่างการดัดแปรพันธุกรรมที่กำลังจู่โจมประเทศเกษตรกรรมอย่างหนักอยู่ในวันนี้
http://www.108kaset.com/board/index.php?topic=1487
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!