เตรียมใจรับมาตรฐานการรักษาพยาบาลเดียวกันทั่วประเทศได้แล้วครับ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
เมษายน 26, 2024, 07:33:57 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เตรียมใจรับมาตรฐานการรักษาพยาบาลเดียวกันทั่วประเทศได้แล้วครับ  (อ่าน 1798 ครั้ง)
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1883
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13244


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« เมื่อ: ตุลาคม 23, 2012, 03:28:48 PM »

ในฐานะคนที่เคยทำงานด้านสาธารณสุขการแพทย์
ตอนนี้มีข่าวเกี่ยวกับระบบเบิกจ่ายยาสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ภายใต้การสนับสนุนของรัฐ
ซึ่งได้แก่ สปสช ประกันสังคมและข้าราชการ
ซึ่งทั้งสามรูปแบบนี้เคยมีรายละเอียดการจ่ายยารักษาโรคที่แตกต่างกันออกไป
แต่ตอนนี้มีการพยายามรวมทั้งสามระบบเข้าด้วยกันเพื่อให้เป็นมาตรฐานใหม่(ตามคำกล่าวอ้าง)
 ซึ่งก็มีวี่แววจะได้ผล เพราะมาตรฐานใหม่ที่ว่าคือมาตรฐานขั้นต่ำสุดนั่นเอง

งานนี้มีกลิ่นการเมืองไม่น้อย เพราะดูๆแล้วสาเหตุจริงๆก็คงไม่พ้นเค้กก้อนใหญ่คือเม็ดเงิน
ที่อยู่ในระบบประกันสังคมและกบข จึงมีการพยายามตัดแบ่งออกมาช่วยอุ้มนโยบาย 30 บาท
ที่เป็นนโยบายหาเสียงและยิ่งทำให้เห็นชัดเจนขึ้นว่ารัฐบาลแทบไม่เหลืองบประมาณ
บริหารประเทศมากเพียงพอแล้วจึงต้องมาตัดสวัสดิการอันพึงมีพึงได้รับของประชาชน

ให้ความสนใจกันนิดนึงนะครับ เพราะงานนี้ใครไม่เจอกับคนใกล้ตัว
ไม่มีทางรู้เลยว่ามาตรฐานการรักษาพยาบาลสุดห่วย
มันสามารถทำให้คนที่คุณรักจากไปก่อนเวลาอันควรได้
ข้างล่างนี้เป็นความคิดเห็นจากบุคคลากรด้านการแพทย์
ที่มีต่อคำสั่งกระทรวงการคลังฉบับนี้
ยาวหน่อยแต่ผมจะพยายามไฮไลท์จุดสำคัญๆไว้ครับ


อ้างถึง
คำสั่งกระทรวงการคลัง-เมื่อ “สาธารณสุข” กลายเป็น “สาธารณทุกข์
นพ. เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ (กรรมการแพทยสภา กรรมการแพทยสมาคม)

เมื่อต้นเดือนตุลาคม กระทรวงการคลังได้ออกคำสั่ง ๓ ฉบับ
เพื่อ ควบคุมค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากการรักษาพยาบาลของข้าราชการ ดังนี้

() กค ๐๔๒๒.๒/ว๑๑๑ เรื่องการให้ระบุเหตุผลการใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติเพื่อประกอบการเบิกจ่าย
() กค ๐๔๒๒.๒/ว๑๑๕ เรื่อง การลงทะเบียนในระบบเบิกจ่ายตรงผู้ป่วยนอกกับสถานพยาบาลของทางราชการกรณีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
() กค ๐๔๒๒.๒/ว๑๑๖ เรื่อง การห้ามเบิกค่ายากลูโคซามีนซัลเฟต

คำสั่งนี้แม้ไม่ได้ควบคุมค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากโครงการประชานิยมด้าน สาธารณสุขคือ

“หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า(๓๐ บาท)”โดยตรง

แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้มีความเกี่ยวพันกัน
เพราะรัฐต้องการลดมาตรฐานการรักษาลงมาให้เป็นระดับเดียวกัน
แต่เป็นระดับต่ำที่สุด ซึ่งมีผลทำให้รัฐเสียเงินน้อยลง
โดยอ้างว่าในเมื่อการรักษาประชาชนตามหลักประกันสุขภาพ
สามารถใช้ยาใน “บัญชียาหลักแห่งชาติ” ซึ่งเป็นยาส่วนใหญ่มีราคาต่ำที่สุด
และ/หรือผลิตในประเทศ
ดังนั้นยาที่ใช้สำหรับข้าราชการก็ต้องสามารถใช้ในระดับเดียวกันได้
เงินที่สามารถตัดลงมาได้ก็จะผันไปถมให้กับ โครงการที่ถมไม่มีวันเต็ม
อย่างระบบหลักประกันสุขภาพได้
อีกเหตุผลหนึ่งที่เมื่อนำไปอ้างต่อสาธารณะให้ดูชอบธรรมคือ
ที่ผ่านมาข้าราชการเป็นกลุ่มอภิสิทธิ์ชนที่มีค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลสูง
ที่สุดในจำนวน ๓ กองทุนหลัก

(ข้าราชการ ประกันสังคม และ ๓๐ บาท)

สอดรับการกับเคลื่อนไหวของกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง
ที่ออกข่าวมาตลอดว่า

“หลายมาตรฐาน ทั้ง ๆ ที่เป็นคนไทยเหมือนกัน”

จึงพยายามผลักดันให้มีคำสั่งเช่นนี้ออกมา
ดยเจตนาลืมที่จะกล่าวว่า การที่สิทธิในการรักษาไม่เหมือนกัน
ก็เพราะทั้ง ๓ กลุ่มนี้มีการร่วมจ่ายไม่เหมือนกัน

โดยกลุ่มประกันสังคมร่วมจ่ายโดยตรงด้วยการยอมถูกหักเงิน
กลุ่มข้าราชการร่วมจ่ายทางอ้อมด้วยค่าแรง(เงินเดือน)ที่น้อยกว่าภาคเอกชน
ส่วนกลุ่มหลังนั้นแม้รัฐจะพยายามให้ร่วมจ่าย ๓๐ บาท
ก็ยังมีการพยายามออกมาเคลื่อนไหวไม่ยอมจ่าย
โดยอ้างว่าได้ร่วมจ่ายด้วยภาษีมูลค่าเพิ่มไปแล้ว

ทั้ง ๆที่แท้จริงแล้วทั้ง ๓ กลุ่มนี้
ต่างก็ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเหมือน ๆ กันหมด
ที่แตกต่างกันเป็นอย่างมากอีกคือ
ข้าราชการและกลุ่มประกันสังคมเป็น ๒ กลุ่ม
ที่เลี่ยงภาษีได้ยากเพราะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
ผลที่ตามมาของคำสั่งนี้

() ประเทศไทยเข้าใกล้สู่ระบบการรักษามาตรฐานเดียวกัน
(แต่เป็นมาตรฐานในระดับต่ำ ที่สุด)
ไม่ว่าปัจเจกบุคคลนั้นจะมีสิทธิพื้นฐานต่างกันแค่ไหน
(อาจยกเว้นถ้าท่านเป็นบุคคลระดับ VIP ที่กฎระเบียบเอื้อมไปแตะไม่ได้)

ซึ่งจะคล้ายกับประเทศระบบสังคมนิยมนั่นเอง
นอกจากนี้ในอนาคตอันใกล้
จะมียาหลายตัวถูกจัดในหมวดยากำพร้า (orphan drug) มากขึ้น
เหตุเพราะบริษัทยาข้ามชาติเล็งเห็นว่า
หากนำเข้าประเทศไทยก็ไม่คุ้มค่า
เพราะมีการจำกัดการใช้ยาที่ควรจะเป็น first line drug
(ยาที่คุ้มราคาที่สุดเมื่อเทียบกับประสิทธิผลในการรักษาโรค)

โดยผู้เชี่ยวชาญของกระทรวงการคลัง
มิใช่โดยสภาวิชาชีพซึ่งรู้จริงและมีหน้าที่โดยตรง

อนึ่งคำสั่งนี้จะทำให้แพทย์ไม่กล้าสั่งใช้ยา
แม้ผู้ป่วยจะอ้างว่ายินดีจ่ายเงินเพิ่ม
เพราะหากเกิดปัญหารักษาแล้วไม่จ่ายเงิน
แพทย์จะกลายเป็นอาชญากรตัวยงที่DSIอาจรับเป็นคดีพิเศษ
และถูกฟ้องเรียกเงินคืนภายหลังได้
ฐานทำให้รัฐเสียหาย ทั้ง ๆ ที่แพทย์เชื่อมั่นโดยสุจริตใจว่า
ยานั้นมีคุณภาพคุ้มค่า เพื่อให้ผู้ป่วยหายโดยเร็ว
(แม้ว่าจะไม่ใช่ยาที่ถูกที่สุดที่ระบุไว้ในบัญชี ยาหลักแห่งชาติ)
หรือ หากแพทย์ไม่สั่งให้ แพทย์ก็อาจโดยฟ้องฐานก่อความเสียหาย
อันเนื่องมาจากการให้บริการสาธารณสุข
เพราะผู้ป่วยอาจอ้างต่อศาลได้ว่า
ตายหรือพิการเพราะแพทย์จ่ายยาช้าเกินไป
หรือไม่จ่ายยาที่ดีกว่า ซึ่งผิดไปจาก พรบ.วิชาชีพเวชกรรม
ที่กำหนดให้แพทย์ทุกคนรักษาผู้ป่วย
ในระดับดีเพื่อให้หายจากโรคโดยเร็ว
โดยไม่คำนึงถึงฐานะ เชื้อชาติ ศาสนา และแน่นอน

() ผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังรักษาไม่หาย เช่น

ความดันสูง อัมพฤกษ์อัมพาต ไตวาย ไขมันสูง เบาหวาน

จะแห่ไปลงทะเบียนกับสถานพยาบาลขนาดใหญ่ เช่น
ศิริราช รามา ราชวิถี หรือโรงเรียนแพทย์
เหตุเพราะเกรงว่าหากเกิดปัญหากะทันหัน
แล้วต้องเปลี่ยนสถานพยาบาล
จะต้องเสียเงินเองทั้ง ๆ ที่รับราชการมาตลอดชีวิต
ทำให้รพ.เหล่านี้เกิดสภาพ “เตี้ยอุ้มค่อม” หนักขึ้นไปอีก

ซึ่งสวนทางกับนโยบายกระทรวงสาธารณสุข
ที่พยายามผลักดันให้ไปรักษาใกล้บ้าน
แพทย์พยาบาลจะโดนฟ้องร้องหนักขึ้นไปอีก
เพราะก่อความเสียหายอันเนื่องมาจากการให้บริการสาธารณสุข
(รักษาไม่ทัน รอคิวนาน พูดจาไม่ดีเพราะเหนื่อยมาก ผิดพลาดเพราะอดนอน)
ซึ่งไปเข้าทางกลุ่มที่เรียกร้องให้ออก
พรบ.ฟ้องหมอแถมเงินด่วนได้
(แต่ตั้งชื่อหลอก ๆ ว่า คุ้มครองผู้เสียหาย)

() การสั่งห้ามจ่าย กลูโคซามีน โดยกระทรวงการคลัง
มองว่าเป็นอาหารเสริม(เหมือนพวกกรดอะมิโน ซุปไก่ รังนก)
แต่ราชวิทยาลัยทางการแพทย์และ อ.ย. บอกว่าเป็น ยา
เป็นเพียงยอดของภูเขาน้ำแข็ง
ทุกวันนี้มียาหลายตัวที่ออกสีเทา ๆ กล่าวคือ
มีข้อมูลทางวิชาการทั้งสนับสนุนและไม่สนับสนุน
แพทย์ที่ยังปฏิบัติงานในวิชาชีพจะทราบดีว่า
การอ้างเอาเหตุผลมาสนับสนุนหรือคัดค้านการรักษานั้น
เป็นเรื่องของปัจเจก คล้ายกับคนที่ทะเลาะกัน
ก็สามารถยกอ้างเหตุมาสนับสนุนการกระทำของตนให้ถูกได้ ทั้งนั้น

มีรายงานวิชาการว่ากลูโคซามีนรักษาหรือชะลออาการเสื่อมของข้อได้ในระยะแรก
โดยไม่ต้องไปเสี่ยงกับยากลุ่มNSAIDsที่มีราคาแพง
และกัดกระเพาะมากกว่า ขณะเดียวกันก็มีรายงานอ้างว่า
ยานี้ไม่ช่วยอะไร ยาสีเทาเหล่านี้แพทย์จะสั่งจ่ายให้เฉพาะราย
เช่นผู้ป่วยอาจต้องจ่ายเงินเองหากแพทย์คิดว่าไม่มีประโยชน์
แต่หากลองใช้ยาแล้วพบว่าได้ผลดีกับผู้ป่วย
แพทย์ก็จะสั่งให้โดยผู้ป่วยไม่ต้องร้องขอ
ส่วนค่ายาก็เป็นไปตามสิทธิของแต่ละคน
การที่กระทรวงการคลังออกทำคำสั่งเหล่านี้
โดยไปฟังตามที่ปรึกษาที่ตั้งขึ้นเอง
แทนที่จะให้เป็นไปตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญตัวจริง
แพทย์ที่ปฏิบัติงานคงต้องขอให้กระทรวงการคลัง
แต่งตั้งตัวแทนร่วมกับคณะที่ ปรึกษาของกระทรวง มาออกตรวจร่วมกัน
เพื่อคอยรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการงดจ่ายยาตัวนี้
และตัวอื่นที่อยู่ใต้ยอดภูเขาน้ำแข็ง
ซึ่งคงมีคำสั่งตามมาอีกหลายฉบับ

คำสั่งนี้นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นจุดหนึ่งของการรวมกองทุนสุขภาพทั้ง ๓ กองทุน

โดยลืมหรือแกล้งลืมว่า ทั้ง ๓ กลุ่มนี้มีที่มาของสิทธิการรักษา
ที่ต่างกันตามการร่วมจ่าย
ดังนั้นการกระทำเช่นนี้ก็ไม่ต่างกับการกระทำเลือกปฏิบัติ
ตามหลักรัฐศาสตร์ ที่ว่า

“การปฏิบัติต่อคนที่มีที่มาของสิทธิพื้นฐานที่ต่างกัน
ด้วยความเท่าเทียมกัน
การปฏิบัติเช่นนี้คือการปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียมกัน”

หากไม่เข้าใจก็ลองนึกภาพ ท่านนายกรัฐมนตรี
ท่านประธานาธิบดี เดินทางไปไหนมาไหนโดยปราศจากขบวนรถนำ
ปราศจากการปิดถนน ตลกร้ายที่บุคลากรทางการแพทย์ทราบดีคือ
หลายครั้งที่คนออกกฎหมายเหล่านี้เจ็บป่วย
ต่างก็เรียกร้องความไม่เท่าเทียมกัน เช่น

ห้องพิเศษ ยาพิเศษ คิวพิเศษ เครื่องมือพิเศษ
การดูแลเป็นพิเศษ

ไม่เชื่อลองไปเดินดูตามตึกสามัญของรพ.รัฐ
ว่าเคยเห็นผู้บริหาร ๓ กองทุนเหล่านี้ไปนอนร่วมกับ
ท่านตามตึกสามัญที่มีเตียงนับสี่ห้าสิบเตียงรวม กันหรือไม่
(ยังไม่นับรวมระเบียง ทางเดิน หน้าบันได หน้าลิฟท์ ที่พร้อมจะเป็นสถานที่เสริมเตียงผ้าใบ)

ไม่กี่วันนี้ เราได้เห็นภาพพยาบาลจำนวนมาก
ออกมาประท้วงให้ออกกฎระเบียบเหลียวแลผู้ปฏิบัติ งาน
(ผู้ให้บริการตามภาษากฎหมาย)บ้าง
แทนที่จะออกแต่คำสั่งเอาใจแต่ผู้ป่วย(ผู้รับบริการ)
อีกไม่นาน อาจได้เห็น กลุ่มข้าราชการจำนวนมาก
ออกมาประท้วงรัฐที่ทอดทิ้ง “หมาล่าเนื้อ”ยามชราเช่นพวกเขา

อย่างนี้ไม่เรียกว่า สาธารณทุกข์ (ทุกข์ทั้งผู้ให้และผู้รับการรักษา)ได้อย่างไร

เอวังก็มีด้วยประการ..ฉะนี้



ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าเราๆท่านๆต้องวางแผนประกันสุขภาพของตัวเองนะครับ
อย่าหวังพึ่งประกันสังคมและกบขเด็ดขาด(30 บาทไม่ต้องพูดถึง)
จริงๆแล้วควรต้องรวมตัวกันเรียกร้องให้
ประกันสังคมเป็นภาคสมัครใจของลูกจ้างด้วยซ้ำไป
เพราะจากคำสั่งกระทรวงการคลังฉบับนี้พวกคุณซึ่งเป็นลูกจ้างทั้งหลาย
กำลังถูกลดสิทธิ์ลงทั้งๆที่มีส่วนจ่ายเงินสมทบ

และจากนโยบายข้อนี้เองทำให้ผมยิ่งเชื่อมั่นในรัฐบาลนี้มากขึ้นไปอีกครับ
ว่าถ้าอยู่ครบ 8 ปี ไม่มีคนจนเหลืออยู่ในประเทศแน่(ตาย ่า หมด)

Credit    http://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=479186018770032&id=144717658883538

 cry2!!


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!