Class ของเครื่องเสียงเค้าแบ่งกันยังไง..................
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
เมษายน 19, 2024, 12:47:31 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: Class ของเครื่องเสียงเค้าแบ่งกันยังไง..................  (อ่าน 6378 ครั้ง)
BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« เมื่อ: มกราคม 30, 2007, 02:05:33 PM »

1.แบ่งตามชนิดไบอัสของ เอาท์พุททรานซิสเตอร์ ได้แก่ CLASS A,B,AB,C
2.แบ่งตามความคิดของผู้ออกแบบ ได้แก่
CLASS  H มีแหล่งจ่ายไฟ 2 แหล่ง ไฟสูงและไฟต่ำ ชุดไฟต่ำทำงานด้วย CLASS AB ชุดไฟสูงจะจ่ายไฟให้ชุดไฟต่ำอีกทีแบบแปรผันกับสัญญาณ
             หากสัญญาณมาแรง ชุดไฟสูงก็จะปรับแรงดังไฟเลี้ยงให้สูงตาม ทำให้สัญญาณไม่ขลิบ
CLASS  G เหมือน CLASS H แต่ หากสัญญาณจะขลิบ ชุดไฟสูงจะจ่ายไฟสูงให้เลย(เป็นสวิทช์ เปิด-ปิด ไฟสูง)
       
จุดประสงค์ของทั้ง 2 CLASS เพื่อที่ต้องการออกแบบวงจรขยายวัตต์สูง แต่ ทรานซิสเตอร์ไม่สามารถรับไฟสูงได้ และทำให้ลดความร้อน เพิ่มประสิทธิภาพ
(หมายถึงใช้กินไฟน้อย) เลยทำให้เกิด CLASS D

CLASS D เป็นการแปลงสัญญาณ Analog เป็น Digital และ ณ จุด output จะใช้ Coil+C ฟิลเตอร์ให้เป็น Analog อีกทีหนึ่ง เนื่องจาก Output ทำงาน
             แบบ Digital ทำให้ได้ประสิทธิภาพสูงเกินกว่า 90% หมายถึงถ้า amp ใช้กำลัง 100 w จะสามารถถ่ายทอดพลังงานให้แก่ลำโพงได้ถึง
             90 w สูญเสียภายในวงจรเพียง 10 w แต่เนื่องจาก จุด output ใช้ Coil+C ขวางลำโพงอยู่ ทำให้ Damping factor ต่ำ เสียงไม่สมจริง
             ในวงการเครื่องเสียงจึงไม่นิยมครับ

คงมี CLASS แปลก ๆ อื่น ๆ อีก โดยส่วนใหญ่ก็ไม่พ้นหลักการนี้ครับ แต่ส่วนมากจะเป็นประเภทวงจรมากกว่า ได้แก่ ประเภท X-circuit
ลืมอีก CLASS ครับ Super A ของ JVC คนไทยเอามาทำให้ชื่อว่า Dynamic CLASS A
หลักการคือ Bias แบบ CLASS AB แต่ ณ อีกเฟสสัญญาณ TR จะไม่หยุดนำกระแส (ไม่เหมือน CLASS AB) ที่ TR จะหยุดนำกระแสหากไม่ใช่ เฟส
ของตัวเอง แหมอธิบายยาก
หู!!! มันออกแบบได้ไงเนี่ย เก่งจริง ๆ จากการทดสอบทาง LAB เขารับรองว่า ได้เสียงสมจริงเหมือน CLASS A แต่กินไฟมากกว่า AB นิดหน่อย
แต่ที่ไม่ฮิตติดตลาด เพราะพวกไฮไฟไม่ยอมรับครับ

อ้อ ในหนังสือคงไม่มี CLASS Super A นะครับ ผมเรียนจบมานานแล้ว ทุกอย่างประทับไว้ในความทรงจำ .....ไม่รู้ลืม

Class H กินไฟมากกว่า AB นิดหน่อยครับ ผมยังไม่เคยเห็นวงจรเลย ที่ผมรู้ที่มาเหล่านี้มาจากวารสาร สเตอริโอสมัยเมื่อสามสิบปีก่อน ไว้ว่าง ๆ จะ หาหนังสือ scan ให้ดูกันครับ  ส่วน Class G ของแอมป์ Carver มีแหล่งจ่ายไฟถึง 3 ระดับ ตัวบางเฉียบ ไม่ใช้หม้อแปลง คาดว่า ใช้ Coil tab ไฟมาจากไฟบ้านเลย
โดยใช้ Triac ควบคุม ทำให้ amp model นี้สามารถส่งกำลังได้ 250 W. RMS และ 1200 W. peak

ในความเห็นผมนะครับ amp 300 w. RMS ต้องใช้ไฟไม่น้อยกว่า +/- 86 Volt หากต้องการ 1000 วัตต์ตามความเข้าใจของผม วงจรคงต้องใช้ไฟเลี้ยง
ไม่น้อยกว่า +/-100 Volt  (ที่โหลด 8 โอห์ม) Class AB คงไม่ไหว

แหม ผมทำหนังสือหายไปเล่มนึง เป็นวงจรขยายขนาด 800 W.(วัตต์ไม่โม้) ถ้าจำไม่ผิด ใช้ไฟ +/- 115 Volt เลยทีเดียว TR เรียงเป็นแผง

หากต้องการวัตต์สูงและใช้ไฟต่ำ ก็ต้องใช้ลำโพง 4 โอหม์ครับ ต่ำกว่านี้ไม่ดี เพราะความต้านทานของสายลำโพงเอาไปหมด แม้สายลำโพงจะสั้นๆก็ตาม

Class H จะใช้ไฟสองระดับ เป็น LO กับ HI สมมติว่า LO ใช้ไฟ 30 Volt  HI =100 Volt
เมื่อเปิดเพลงเบาๆ ทรานซิสเตอร์จะใช้ไฟ LO ยามใดที่สัญญาณพุ่งแรง จะมีวงจรตรวจจับสัญญาณ แล้วสั่งให้วงจรพิเศษดึงไฟ จากชุด HI
มาจ่ายให้กับชุด LO
เช่น สัญญาณขนาด 20 Volt ใช้ไฟชุด LO
      สัญญาณขนาด 35 Volt ไฟชุด HI จะจ่ายไฟให้มากกว่า 35 โวลท์นิดหน่อยครับ เหมือนกับเป็น Linear regulator แปรผันตามขนาด
สัญญาณเข้า

ไม่เหมือนกับวงจร Class G เพราะ Class นี้จะสวิทช์ไฟ HI จ่ายให้เลย ดังนั้น จากกรณีตัวอย่างที่สัญญาณขนาด 35 โวลท์ TR output
จะได้รับไฟตรงขนาด 100 Volt เลยทีเดียว
ซึ่งวงจรประเภทนี้จะเห็นตามวารสารต่าง ๆ มากเลยเพราะออกแบบง่ายกว่า เห็นใช้ ic op-amp ออกแบบเป็นวงจรเปรียบเทียบแรงดัน
ระหว่างแรงดันอ้างอิงกับสัญญาณเข้า แล้วไปสั่ง MOSFET switch ไฟสูงจ่ายให้ TR output เลย

หวังว่าคงจะเข้าใจนะครับ ถึงเหตุผลที่ทำไมต้องใช้แหล่งจ่ายไฟมากกว่า 1 แหล่ง
คราวนี้ผมวิเคราะห์ต่อ การที่ Class G สวิทช์ไฟแบบรวดเร็วเช่นนี้ จะทำให้ TR output ได้รับไฟเพิ่มขึ้นแบบกระโชกโฮกฮาก เป็นผลให้เกิด
ความเครียดระหว่างรอยต่อของขา B-E และการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ย่อมมีผล capacitance ระหว่างรอยต่อ B-E ด้วย จึงพออนุมานได้ว่า
ผลลัพธ์ของเสียงที่ได้จะไม่นิ่มนวล จึงเหมาะสำหรับงานกลางแจ้งมากกว่าฟังในบ้าน
แต่ยกเว้นสำหรับ Class H นะครับ เพราะออกแบบมาสำหรับฟังในบ้าน ท่านอาจจะสงสัยว่า amp เป็นร้อย ๆ วัตต์คงไม่มีใครฟังในบ้านหรอก
แปลกแต่จริงครับ เพราะว่า amp วัตต์สูงเวลาเปิดฟังดัง ๆ ในห้องฟังเพลง จะทำให้เสียงไม่เครียด
สมัยก่อน(ประมาณ 20 ปีก่อน) เมื่อทรานซิสเตอร์เปิดตัวมาต่อกรกับหลอด ด้วยกำลังที่สูงกว่า เกิดองค์กรไฮไฟขึ้นมาองค์กรหนึ่ง
ทดสอบและทดลองได้ผลดังนี้
- แอมป์ทรานซิสเตอร์ที่จะสามารถขึ้นทำเนียบระดับไฮไฟได้ จะต้องมีคุณสมบัติ คือ
        ต้องมีกำลังไม่น้อยกว่า 100 W. RMS ที่ 8 โอห์ม ที่ความถี่ 1 KHz ความเพี้ยนรวมไม่เกิน 0.1 %
       ในขณะที่แอมป์หลอด ไม่ระบุวัตต์ ระบุเพียงความเพี้ยนรวมไม่เกิน 5 %
ช่างแตกต่างกันเหลือเกินนะครับ แต่มันมีเหตุผล เพราะ อุปกรณ์ไบโพล่า มักจะให้ความเพี้ยนเชิงฮาร์มอนิคเป็นเลขคี่ ในขณะที่หลอดเป็นเลขคู่
และให้บังเอิญ เสียงเครืองดนตรีทุกชนิดก็จะให้ความถี่เชิงฮาร์มอนิคเป็นเลขคู่เสียด้วย
ดังนั้น แม้หลอดจะมีความเพี้ยนมากกว่า แต่หูมนุษย์ก็จะฟังไม่ค่อยออกครับ

 Grin Grin Grin Grin


บันทึกการเข้า

worathep-LSV team
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน712
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5066


รุ่งเรืองอิเล็กทรอนิกส์


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: มกราคม 31, 2007, 11:30:00 AM »

น้องเบนซ์จั่วหัวมี class c ด้วย ไม่เห็นอธิบายบ้างเลย      อิอิ อิอิ อิอิ


 Smiley Smiley Wink Wink Wink Roll Eyes Undecided Cool Angry Angry
บันทึกการเข้า

รับซ่อม TV-computer                    มี TV มือสองขาย  
รับสอนซ่อม-ประกอบคอมพิวเตอร์      มีจอมอนิเตอร์มือสองขาย
ซ่อม อัพเกรด ประกอบคอมฯ             มีคอมพิวเตอร์มือสองขาย
รับติดตั้ง วางระบบแลน อินเตอร์เน็ต
ราคาคุยกันได้ โทร 02-6934724
หลง สุรินทร์
วีไอพี
member
***

คะแนน96
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2441


ทีมงาน PS.SOUND


« ตอบ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2007, 05:12:07 AM »

จากทฤษฎีเขาจะแบ่งกันที่จุดคิวพอยช์ครับ-แบ่งกันที่การทำงานของTRเป็นกราฟการทำงานทั้งซีกบวกและลบ
บันทึกการเข้า

รับงานะบบ LAN Wireless ติดตั้ง CCTV ดูผ่านระบบออนไลน์ Remote ทำให้ได้ทั่วประเทศ
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!