ใครว่า.... การสร้างโครงงานเป็นเรื่องยาก ไม่จิ๊ง ไม่จริง
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
เมษายน 28, 2024, 04:43:51 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ใครว่า.... การสร้างโครงงานเป็นเรื่องยาก ไม่จิ๊ง ไม่จริง  (อ่าน 3526 ครั้ง)
BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« เมื่อ: มกราคม 29, 2007, 11:54:39 PM »

 Winkอย่ามองข้ามความปลอดภัย

เริ่มต้นกันตั้งแต่ตอนใส่อุปกรณ์ลงบนแผ่นวงจรพิมพ์กันเลย ความผิดพลาดอาจเกิดขึ้นได้ถ้าขาดความรอบคอบ หรือความระมัดระวัง ซึ่งข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นที่พบกันอยู่บ่อยๆ นั้นอันดับแรกก็คือ ใส่ตัวต้านทานผิดค่าจากที่ระบุไว้ในวงจร ซึ่งค่าของตัวต้านทานนั้นจะถูกแสดงไว้ด้วยแถบสีบนตัวของมันเอง และผู้สร้างจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของ แถบสีแต่ละสีบนตัวของมันให้ถ่องแท้เสียก่อน เพราะถ้าอ่านค่าสีผิดพลาด แล้วจะมีผลต่อโครงงานชิ้นนั้นแน่ๆ บางทีผลที่ได้อาจ จะน้อยนิดหรือไม่เกิดก็ได้ แต่บางทีก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์ราคาแพงๆอื่นๆ ที่ต่อรวมบนแผ่นวงจรพิมพ์เดียวกัน ก็ได้ หรือการทำงานของโครงงานนั้นผิดเพี้ยนไปเลย ถ้าจะให้ดีต่อโครงงานแล้วควรจะอ่านค่าสีของตัวต้านทานให้ถูกต้องตรงกับ ที่ระบุไว้ในวงจรก่อนที่จะใส่ลงบนแผ่นวงจรพิมพ์

     นอกจากการอ่านค่าสีให้ถูกต้องแม่นยำแล้ว ขนาดกำลังวัตต์ของตัวต้านทานก็ควรเลือกใช้ให้ตรงกับที่ระบุไว้ในวงจรด้วย นั่นคือไม่ควรใช้ขนาดตัวต้านทานที่กำลังวัตต์น้อยกว่าใส่แทนลงไป เช่นตัวต้านทานขนาด 1/4 วัตต์แทน 1/2 วัตต์หรือใหญ่กว่า ถ้าใช้ตัวต้านทานขนาดเล็กกว่าที่ระบุไว้ จะทำให้ตัวต้านทานทนกำลังงานที่เกิดขึ้นที่ตัวมันไม่ไหว ทำให้เกิดความร้อนมากขึ้นและไหม้ ในที่สุด แต่ในทางกลับกัน อาจใช้ตัวต้านทานขนาดวัตต์มากกว่าใส่แทนได้ แต่มีข้อเสียก็คือ ตัวโตและราคาแพงกว่านั่นเอง ทางที่ดีที่สุดก็คือใช้ให้ตรงกับที่ระบุไว้ในวงจรหรือรายการอุปกรณ์นั่นแหละ
   
       สำหรับอุปกรณ์ที่มีค่าระบุไว้ที่ตัวถัง คล้ายๆ กับตัวต้านทานอีกชนิดหนึ่งก็คือ ตัวเก็บประจุซึ่งมีอยู่มากมายหลายชนิด ส่วนใหญ่จะบอกค่าอยู่ในรูปของตัวเลข มีส่วนน้อยที่เป็นรหัสสี ตัวเก็บประจุแบบอิเล็กทรอไลติกจะบอกค่าและขั้วของมันมาให้เลย ที่ตัวถัง ซึ่งแน่นอนในชนิดที่ต้องอ่านค่าจากรหัสตัวเลขนั้นต้องมีความเข้าใจและอ่านให้ถูกต้องด้วย เช่นรหัสตัวเลขบนตัวเก็บประจุ ชนิดไมลาร์ 473 อ่านได้เท่ากับ 0.047 ไมโครฟารัด เป็นต้น
และในอุปกรณ์ที่มีขั้วทั้งหลายเช่น ทรานซิสเตอร์ IC ไดโอด หรือตัวเก็บประจุบางชนิด เป็นต้น ต้องใส่ให้ถูกขั้วของมันตาม วงจรที่ระบุไว้ด้วย
 
     นอกจากการใส่อุปกรณ์ชนิดต่างๆ ให้ถูกต้องตามวงจรของมันแล้วอีกขั้นตอนหนึ่งที่จะต้องระมัดระวังก็คือ การบัดกรี ไม่ใช่ว่าท่าบัดกรีไม่สวย หรือไม่เท่แล้วทำให้วงจรไม่ทำงานไม่เกี่ยวกันครับ จะตีลังกาบัดกรียังไงก็ได้ แต่ที่จะต้องระวังก็คือ สะเก็ดจากตะกั่วขณะที่บัดกรี เพราะว่าสะเก็ดตะกั่วชิ้นเล็กๆ นี่ครับ ก่อให้เกิดปัญหายุ่งยากแล้วมากมาย เนื่องจากสะเก็ดเหล่านี้ อาจจะกระเด็นไปตกลงระหว่างลายทองแดงด้วยกัน แล้วทำให้ลายทองแดงเกิดลัดวงจรขึ้น วงจรอาจทำงานผิดพลาดหรือเสียหาย ก็ได้ ดังนั้นควรระวังที่จุดนี้ด้วยเช่นกัน

  บางทีข้อผิดพลาดอาจเกิดขึ้นจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้ด้วยเช่นกันเช่นในอุปกรณ์บางชนิดนั้นซึ่งมีความเปราะบางมาก แม้แต่การสัมผัสจากมือของคนเราอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่อุปกรณ์นั้นได้เพราะว่าไฟฟ้าสถิตเพียงเล็กน้อยจากมือของเราที่ ไปสัมผัสโดนขาของมัน อุปกรณ์ที่ว่านี้คือ IC ซีมอสทั้งหลายโดยๆ ทั่วไปแล้วบริษัทผู้ผลิตผู้ขาย IC ประเภทนี้ จะเสียบบนโฟม ที่มีกระดาษฟอยล์อยู่แล้ว เพื่อป้องกันการเสียหายที่กล่าวมาจากข้างต้น และในการบัดกรี IC ประเภทซีมอสนี้ไม่ควรบัดกรีที่ขาของ มันโดยตรง ควรใช้ซ๊อกเก็ต IC บัดกรีลงไปก่อน แล้วค่อยเสียบ IC ลงไปทีหลัง
 
ประกอบเสร็จแล้วทำยังไงต่อดี !!

ง่ายจะตายไป ก็เสียบปลั๊กแล้วก็เปิดเครื่องไง ! ใจเย็นครับใจเย็น ก่อนจะเปิดเครื่องลองเช็คดูให้แน่ใจเสียก่อน ไม่เช่นนั้นอาจจะ ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ เช่นกลิ่นไหม้ตุๆ หรือควันไฟจากตัวต้านทานหรืออุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่ง ก่อนจะทำการเปิดเครื่องลองเช็คดู ก่อนว่า
 อุปกรณ์ทุกตัวบนแผ่นวงจรพิมพ์นั้นใส่ถูกต้องที่ระบุมาในวงจรหรือรูปการลงอุปกรณ์ ดูว่าขั้วอุปกรณ์ทุกตัวใส่ถูกต้องตาม ที่ระบุไว้แล้ว
 พลิกดูที่ข้างใต้แผ่นวงจรพิมพ์ที่ด้านลายทองแดงดูว่า มีลายทองแดงเส้นใดขาด หรือลัดวงจรถึงกันบ้าง ถ้ามีก็จักการให้ถูก ต้องเรียบร้อยซะก่อน โดยเฉพาะบริเวณลายทองแดงที่เป็นไฟเลี้ยงและกราวด์
 และถ้าให้ดีแล้วควรทำความสะอาดจุดบัดกรีทุกจุดให้สะอาดด้วยแอลกอฮอล์หรือทินเนอร์ และควรตัดขาของอุปกรณ์ที่โผล่ ยาวออกมาจากจุดบัดกรีมากเกินไปทิ้งไปซะ พร้อมกับใช้แปลงปัดเศษตะกั่วหรืออื่นๆ ที่อาจตกค้างอยู่ทิ้งไปด้วยซะเลย
 เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยในขั้นตอนนี้แล้วต่อไปเสียบปลั๊กแล้วเปิดสวิตซ์ถ้าทุกอย่างทำงานปกติคุณก็จะได้รับความภูมิใจอันเนื่อง จากผลงานของคุณ แต่ถ้ามันไม่ปกติละ แบบว่าพอเปิดสวิตซ์ปั๊บ โครงงานเสียงคนตรีของคุณอาจจะกลายสภาพเป็นเสียงระเบิดก็เป็น ได้หรือไม่ก็มีควันไฟสวยๆ พวยพุ่งออกมาหรือไม่ก็เงียบสนิท เมื่อเจอปัญหาเหล่านี้แล้วจะแก้ปัญหาอย่างไรละทีนี้
 โอ้โห้แฮ่ะ... งานนี้ชักส่ออาการหนักซะแล้วสิ แต่ถึงจะหนักอย่างไร มันก็ต้องมีวิธีแก้ไขอยู่แล้ว แต่ขั้นตอนแรกลองสำรวจ เครื่องของคุณตามวิธีการที่ว่ากันไว้ตั้งแต่ข้างต้นก่อน ถ้าอาการยังน่าเป็นห่วงเอาไว้ฉบับหน้าเราพูดถึงไม้ตายที่จะจัดการกับมัน รับรองคุณต้องชอบใจแน่เชียว
จากจุดใหญ่ไปหาจุดเล็ก
 
      ในการตรวจหาจุดเสียที่เกิดขึ้นบนเครื่องนั้น ไม่ควรที่จะตรวจโดยแบบสะเปะสะปะไร้หลักการ เพราะนอกจากจะเสียเวลาแล้ว อาจจะหาจุดเสียไม่เจอเลยก็ได้
ดังนั้น เมื่อมีความเข้าใจต่อการทำงานของวงจรส่วนต่างๆ จากบล็อกไดอะแกรมหรือวงจร แล้วก็ให้สันนิษฐานจากอาการที่เกิดขึ้นนั้น เป็นที่ส่วนหรือภาคใดของวงจร จากนั้นทำการตรวจเช็คเป็นภาคๆ ไป โดยไล่จากจุดใหญ่ไปหาจุดเล็ก ซึ่งวิธีนี้แสดงให้เห็นในรูปที่ 2 นี้ โดยใช้เครื่องมือวัดตรวจสอบต่างๆ ซึ่งได้แก่ มัลติเตอร์, ซิกแนลเจเนอเรเตอร์ , ออสซิลโลสโคป เป็นต้น แต่เครื่องมือที่นิยมใช้มากที่สุด ก็คือ มัลติมิเตอร์

มัลติมิเตอร์ เครื่องมือที่ขาดไม่ได้

      นอกจากจะเป็นเครื่องมือที่บรรดาช่างต่างๆ ก็นิยมใช้กันมากที่สุดแล้วประกอบกับราคาไม่โหดเกินไปนักที่ นักอิเล็กทรอนิกส์เราๆ ท่านๆ สามารถหามาไว้ในครอบครองได้ แถมใช้ง่ายและทนทานอีกต่างหาก
เทคนิคการใช้เครื่องมัลติมิเตอร์
 ในการใช้มัลติมิเตอร์ตรวจสอบหาจุดเสียต่างๆ ในวงจรนั้น จุดเริ่มต้นที่ควรจะตรวจสอบ อันดับแรกเลยก็คือ ไฟเลี้ยงวงจร ก่อนอื่นตรวจที่ภาคจ่ายไฟว่า มีไฟเลี้ยงออกมาตามที่ระบุหรือเปล่า จากนั้นให้ทำกาตรวจสอบดูไฟเลี้ยง ที่ขาของ IC ทุกตัว (ถ้ามี) ถ้าจุดใดไม่มีไฟเลี้ยงตามวงจรแสดงว่า ส่วนนั้นผิดปกติแน่นอน ข้อควรระวังในการตรวจแรงด้นนี้ ระวังปลายขั้วสายมิเตอร์ที่วัดแรงดันไปลัดวงจรขา IC เข้าด้วยกัน ซึ้งอาจจะทำให้การวัดผิดพลาด และ IC เสียหายได้ (อุปกรณ์อื่นๆ ก็เช่นกัน)
 ต่อมาให้ตรวจแรงดันที่ขาต่างๆ ของทรานซิสเตอร์ในเครื่องเสียง ซึ่งถ้าทรานซิสเตอร์ปกติจะได้ว่า ทรานซิสเตอร์ชนิด NPN นั้นแรงดันที่คอลเล็กเตอร์นั้น จะต้องเป็นบวกเมื่อเทียบกับขาอีมิตเตอร์ (ชนิด PNP จะได้เป็นลบ) ที่ขาเบสจะต้องมีแรงดันบวกประมาณ 0.6 โวลต์ เมื่อเทียบกับขาอีมิตเตอร์ (เป็นลบประมาณ 0.6 โวลต์ ในชนิด PNP)
 แต่ถ้าทรานซิสเตอร์อยู่ในสภาวะปกติคัตออฟหรือไม่ทำงาน แรงดันที่ขาเบสจะต้องน้อยกว่า 0.6 โวลต์ เมื่อเทียบกับขาอีมิตเตอร์สำหรับชนิด NPN ขณะที่ขาคอลเล็กเตอร์จะมีสถานะเทียบเท่าแรงกันไฟบวก
 เมื่อพบจุดผิดปกติที่จุดใด หรืออุปกรณ์ตัวใดให้ทำการตรวจสอบอุปกรณ์ทันที โดยการถอดออกมา แล้วใช้มัลติมิเตอร์ตรวจวัด
 
    บางครั้งบางทีนั้น ในวงจรบางประเภทการใช้มัลติมิเตอร์ตรวจสอบอาจจะยากลำบากอยู่สักหน่อย ซึ่งบางทีก็ต้องพึ่งเครื่องมือชนิดอื่นนั้น สามารถทำการตรวจสอบได้ง่ายกว่า เช่น ออสซิลโลสโคป แต่เครื่องมือชนิดนี้มีราคาแพงขึ้นตามการใช้งานไปด้วย ซึ่งออสซิลสโคปนี้สามารถตรวจสอบสัญญาณ เช่น สัญญาณเสียงสำหรับวงจรขยายเสียง , วัดระดับสัญญาณของแรงด้นได้ และที่สำคัญสามารถค้นหาจุดเสีย หรือตรวจสอบวงจรประเภทดิจิตอลได้สะดวก เพราะสามารถแสดงระดับของสัญญาณแต่ละประเภทออกมาได้ และสามารถหาความถี่ของสัญญาณต่างๆ ได้อีกด้วย ซึ่งมัลติมิเตอร์ไม่สามารถทำได้ในจุดนี้

เป็นไงครับ! กับหลักการเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ ซึ่งช่วยให้การสร้างโครงงานนั้น ไม่เป็นเรื่องน่ากลัวอย่างกับที่คิดเอาไว้ เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ถ้าสามารถทะลวงผ่านจุดนี้ไปได้จุดหนึ่งแล้ว นั่นแสดงว่า คุณขยับเข้าสู่การเป็นนักอิเล็กทรอนิกส์ อีกขั้นหนึ่งแล้ว


>>>ปิยตุลา อาภรณ์<<<


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!