สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว|มิตรประเทศที่ดีของไทยและอาเซียน และ ประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ [2
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
เมษายน 16, 2024, 02:30:23 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว|มิตรประเทศที่ดีของไทยและอาเซียน และ ประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ [2  (อ่าน 3355 ครั้ง)
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3004


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« เมื่อ: มีนาคม 23, 2011, 10:30:25 AM »



 

เวียงจันทน์...ศูนย์กลางการเมืองการปกครองอาณาจักรล้านช้างของชนชาติลาวทั้งหมด ทั้งประเทศ ย้ายจากเชียงทอง หรือหลวงพระบาง มาอยู่ที่เวียงจันทน์ นับแต่ปี พ.ศ. 2103 ประวัติศาสตร์ลาวเดินทางมาได้ 941 ปีแห่งราชอาณาจักรอันรุ่งเรืองถึงปี พ.ศ. 2241 / ค.ศ. 1698 การแก่งแย่งชิงอำนาจระหว่างกัน ตามหัวเมืองใหญ่ ยังผลให้ ในที่สุด อาณาจักรล้านช้างอันกว้างใหญ่ไพศาล แตกออกเป็นสามอาณาจักร

อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ตอนกลาง

อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง ทางเหนือ

อาณาจักรจำปาศักดิ์ ภาคใต้สุด"

 

อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์

อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทร์เมื่อได้อำนาจ ก็ตกอยู่ท่ามกลางการแก่งแย่งชิงอำนาจภายใน และแรงกดดันศึกสงครามกับภายนอก โดยเฉพาะ พม่า และ ไทย อีกทั้งอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบางที่รอจังหวะชิงอำนาจคืนมาอีกด้วย สิลา วีระวงส์ นักประวัติศาสตร์ลาวบันทึกว่า

“ประเทศลาว กับ ประเทศไทย ซึ่งตั้งแต่โบราณเรียกว่า  กรุงศรีศัตนาคนหุต กับ กรุงศรีอยุธยา นั้น ได้เป็นบ้านพี่เมืองน้องผูกสัมพันธไมตรีกันมามิได้ขาด ครั้งมาถึงสมัยของพระเจ้าศิริบุญสารเป็นพระเจ้าแผ่นดินนครเวียงจันทน์ ความสัมพันธ์ของประเทศทั้งสองได้ห่างเหินไป ทั้งนี้ก็เพราะเหตุว่า ทางฝ่ายกรุงศรีอยุธยาอันมีพระเจ้าเอกทัศ เป็นพระเจ้าแผ่นดินนั้น ได้ถูกพม่าเข้ามารุกรานย่ำยีตีพระนครศรีอยุธยาให้แตกย่อยยับไป โดยการเอาไฟเผาพระนครเสียจนเป็นเถ้าถ่านไป พระเจ้าเอกทัศและพระบรมวงศานุวงศ์สิ้นพระชนม์......

.......พระยาตากสิน....ตั้งตัวขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2310-2311....พระเจ้าตากสินได้ตั้งนครหลวงอยู่ที่เมืองธนบุรี”

เวียงจันทน์ถูกกองทัพไทย นำโดยเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก บุกเข้าตีในปี  พ.ศ. 2321/ ค.ศ. 1778

ด้วยความร่วมมือจากอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง อาณาจักล้านช้างเวียงจันทร์จึงตกเป็นเมืองขึ้นของไทยในปี พ.ศ. 2321 เวลาเดียวกัน อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบางก็ถูกไทยบังคับเป็นเป็นมืองขึ้นด้วย

 

อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง

"อาณาจักรล้านช้างที่นครหลวงพระบางแยกตัวเป็นอิสระจากอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ในปี พ.ศ. 2250 คงความเป็นเอกราชมาได้ 71 ปี  ที่ต้องมาเสียเอกราชให้แก่ไทยในปี 2321 นั้นก็ด้วยความอ่อนแอของอำนาจราชอาณาจักร ที่ไม่ยอมร่วมมือกับเวียงจันทน์รบกับไทย หากแต่กลับมาช่วยไทยรบกับเวียงจันทน์ ยังผลให้ไทยฉวยโอกาสเข้าปกครองหลวงพระบางเป็นเมืองขึ้นได้พร้อมๆกับที่ได้ครองเมืองเวียงจันทน์ โดยฝ่ายไทยยังคงให้พระเจ้าสุริยวงศ์ เป็นเจ้านครหลวงพระบางต่อไปจนสวรรคต ในปี 2334 เป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์สุดท้ายของอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง"

 

อาณาจักรจำปาศักดิ์

"อาณาจักรที่สามทางใต้สุดคือ อาณาจักรจำปาศักดิ์ ที่แยกตัวเป็นอิสระจากอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ในปี พ.ศ. 2257 / ค.ศ. 1714 เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร เป็นกษัตริย์พระองค์ในยุคที่จำปาศักดิ์ประกาศอิสรภาพนี้ อาณาจักรจำปาศักดิ์ แบ่งเขตแยกออกจากอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ที่ฝั่งขวาแม่น้ำโขง

นับจากเมืองมุกดาหารลงมา ชนเขตเมืองสุวรรณภูมิ ทุ่งกุลาร้องไห้  แม่น้ำยังทางใต้ของเมืองนครพนม  ไปถึงแม่น้ำชี เหนือเมืองยโสธร เป็นเขตแดน

จำปาศักดิ์แต่โบราณหลายพันปีก่อนนี้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรฟูนัน ของชนชาติเจนละ เมืองหลวงชื่อ

“สะมะพู” หรือ “สัมโบ” หรือที่ชาวลาวเรียกว่า “เสียมโบก” ตั้งอยู่ในที่ปัจจุบันคือแขวงจำปาศักดิ์ แขวงจำปาศักดิ์ ปัจจุบัน อยู่ห่างจากเวียงจันทน์ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 500 กิโลเมตร บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขง

วัดภู และแหล่งตั้งถิ่นฐานสมัยโบราณในภูมิทัศน์วัฒนธรรมจำปาศักดิ์ เป็นมรดกทางศิลปะสถาปัตย์และวัฒนธรรมที่สร้างในยุครุ่งเรืองของจำปาสักดิ์ ตกทอดมาถึงชาวลาวรุ่นปัจจุบัน กษัตริย์ทรวรมันผู้ครองนครสะมะพูแคว้นจำปาทรงสร้างไว้ ในประมาณช่วงปี ค.ศ. 390-400 เพื่อให้เป็นเทวสถานสักการะพระศิวะในศาสนาฮินดู

พื้นที่ภูมิทัศน์ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมวัดภูโดยรวมประกอบด้วย

ภูเขาทางตะวันตก

แม่น้ำโขงทางตะวันออก

ระหว่างกลางก็คือ กลุ่มปราสาทวัดภู สถูปเจดีย์ต่างๆ อ่างหรือถังเก็บนำ้ ช่องทางส่งน้ำ แหล่งเหมืองหิน

ระบบการจัดการทุ่งเกษตรโบราณ แหล่งที่ตั้งถิ่นฐานชุมชนโบราณ และถนนสายโบราณที่มุ่งสู่นครวัด

 

องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO ประกาศเมื่อปี ค.ศ. 2001ให้ วัดภู และแหล่งตั้งถิ่นฐานสมัยโบราณในภูมิทัศน์วัฒนธรรมจำปาศักดิ์ เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม

นับเป็นมรดกโลกแห่งที่สองของลาว UNESCO อธิบายถึงวัดภูและอาณาบริเวณรอบๆว่า:

"The Champasak cultural landscape, including the Vat Phou Temple complex, is a remarkably well-preserved planned landscape more than 1,000 years old. It was shaped to express the Hindu vision of the relationship between nature and humanity, using an axis from mountain top to river bank to lay out a geometric pattern of temples, shrines and waterworks extending over some 10 km. Two planned cities on the banks of the Mekong River are also part of the site, as well as Phou Kao mountain. The whole represents a development ranging from the 5th to 15th centuries, mainly associated with the Khmer Empire. The Temple Complex of Vat Phou bears exceptional testimony to the cultures of South-East Asia, and in particular to the Khmer Empire, which dominated the region in the 10th-14th centuries. It is an outstanding example of the integration of symbolic landscape of great spiritual significance to its natural surroundings."

“พื้นที่ทั้งหมดเป็นภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม ทั้งตัวปราสาทหิน ที่ปัจจุบันเรียกว่าวัดภู และอาณาบริเวณที่ตั้งถิ่นฐานชุมชนโบราณ ซึ่งมีอายุกว่า 1,000 ปี ว่าแสดงออกถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ตามแนวคิดในศาสนาฮินดู การวางผังเมืองลากเส้นจากยอดเขา มาถึงฝั่งแม่น้ำ เป็นฐานลากเส้นทำแบบแผนในการสร้างปราสาทวัดภู และวิหารหลังอื่นๆโดยรอบ มีการสร้างระบบส่งน้ำยาวกว่า 10 กิโลเมตร สร้างเมืองสองเมืองตามแนวชายฝั่งแม่น้ำโขง เป็นกระบวนการสร้างเมืองทั้งระบบที่ใช้เวลาจากศตวรรษที่ 5 ถึง ศตวรรษที่ 15 ในสมัยอาณาจักรขอมรุ่งเรือง ตัวปราสาทวัดภูแสดงถึงความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมของในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่แผ่ไพศาลในศตวรรษที่ 10 ถึง ศตวรรษที่ 14 เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของการบูรณาการเชิงสัญญลักษณ์ระหว่างภูมิทัศน์อันมีความสำคัญต่อจิตวิญญาณ เข้ากับธรรมชาติแวดล้อม”

 

"The origins of the site lie before AD 600, at least at the city of Shrestrapura, where archaeological research has produced evidence of 300 years before Angkorian times . The development of the site as a whole, however, was intimately bound up with the origin, development and zenith of the Khmer Empire between the 7th and 12th centuries.......... ...

.....The last major developments to the Champasak cultural landscape were in the 13th century, just before the collapse of the Khmer Empire."

"ต้นกำเนิดแต่แรกเริ่มนั้น มีหลักฐานภูมิทัศน์และการสร้างเมืองตามแผนผังเริ่มก่อน ค.ศ. 600 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ได้มีการขุดพบซากเมืองเศรษฐาบุระ ที่เกิดก่อนยุคพระนครของขอมโบราณถึง 300 ปี

แต่การพัฒนาพื้นที่วัดภูและชุมชนโดยรอบ เกิดตามมาในสมัยอาณาจักรขอมระหว่างคริสศตวรรษที่ 7 ถึง คริสศตวรรษที่ 12 พื้นที่วัดภู จำปาศักดิ์มีการพัฒนาต่อมาในช่วงสำคัญสมัยหลังสุดราว ศตวรรษที่ 13 ไม่นาน ก่อนการล่มสลายของอาณาจักขอม"

 

"Vat Phou itself, in contrast to what it represented in the first millennium, was converted to Theravada Buddhism and remains a local centre of worship today. Essentially, however, the area reverted to secondary forest, which covered most of it when the first Europeans arrived in the 19th century. An annual Vat Phou Festival demonstrates the continuing place of the site in the lives of the local community.”

"วัดภูเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูมานานกว่าพันปีแล้วจึงเปลี่ยนมาเป็นพุทธศาสนสถาน ต่อมาก็ถูกทอดทิ้งให้กาลเวลาและธรรมชาติป่าเขาเขาครอบคลุมจนหายไปจากวิถีชัวิตของจำปาศักดิ์ จนกระทั่งนักสำรวจชาวยุโรปเดินทางมาพบในศตวรรษที่ 19 ปัจจุบันงานฉลองวัดภู มรดกโลก จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี" "

 

ผ่านยุคโบาณมาถึงสมัยอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งอาณาจักรจำปาศักดิ์ประกาศเอกราชไม่ขึ้นต่อเวียงจันทน์ในปี 2257 / ค.ศ. 1714 อาณาจักรจำปาศักดิ์คงอิสรภาพได้เพียง 64 ปี แล้วก็ตกเป็นเมืองขึ้นของสยามในปี พ.ศ. 2321 แม่ทัพไทยก็กวาดต้อนเอาครอบครัวชาวลาวเวียงจันทน์ กับทั้งพระราชบุตรพระราชธิดา วงศานุวงศ์ ขุนนาง ท้าวพระยา พ่อค้า เศรษฐี คหบดี ชาวเวียงจันทน์ ทั้งพระแก้ว พระบาง ลงไปกรุงเทพฯ อาณาจักรลาวทั้ง 3 ...มีอันต้องเสียเอกราชให้แก่ไทยลงพร้อมกัน....เพราะไม่สามัคคีปรองดองกัน มัวแต่อิจฉาบังเบียดเคียดแค้นกันเองระหว่างเจ้านายลาว ด้วยประการดังนี้ ช่วงปี พ.ศ. 2321-2322 สยามได้ลาวทั้งหมดสามอาณาจักร คือ

อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง และ อาณาจักรจำปาศักดิ์ เป็นเมืองขึ้น ศิลา วีระวงส์ นักประวัติศาสตร์ลาวบันทึกว่า:

“แม่ทัพไทยก็กวาดต้อนเอาครอบครัวชาวลาวเวียงจันทน์ กับทั้งพระราชบุตรพระราชธิดา วงศานุวงศ์ ขุนนาง ท้าวพระยา พ่อค้า เศรษฐี คหบดี ชาวเวียงจันทน์ ทั้งพระแก้ว พระบาง ลงไปกรุงเทพฯ”

“อาณาจักรลาวทั้ง 3 ...มีอันต้องเสียเอกราชให้แก่ไทยลงพร้อมกัน....เพราะไม่สามัคคีปรองดองกัน มัวแต่อิจฉาบังเบียดเคียดแค้นกันเองระหว่างเจ้านายลาว ด้วยประการดังนี้”

ไทยปกครองลาวอยู่ 114 ปี จาก พ.ศ. 2322 ถึง พ.ศ. 2436 คราวที่เวียงจันทน์แข็งข้อพยายามกอบกู้เอกราช ไทยก็ส่งทัพไปทำลายเวียงจันทน์ กวาดต้อนผู้คน ทำลายเชื้อพระวงศ์เวียงจันทน์จนสิ้น

พระบาง ซึ่งถือว่าเป็นของล้านช้างตั้งแต่อัญเชิญมาจากอาณาจักรขอม เมื่อปี พ.ศ.1902 นั้น ในสมัยรชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระราชทานกลับคืนให้แก่ลาว พระบางปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ พิพิธภัณฑ์เมืองหลวงพระบาง

พระแก้ว ซึ่งแต่เดิมเป็นพระพุทธรูปเมืองเชียงแสนของไทย ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานครจนทุกวันนี้

ฝรั่งเศสซึ่งขยายอาณานิคมเข้ามาอยู่ในอินโดจีนช่วงที่ไทยปกครองลาวมีความประสงค์จะได้ดินแดนลาวเข้าอยู่ในอาณานิคมด้วย จึงได้ทำอนุสัญญาเมืองหลวงพระบาง ในปี พ.ศ. 2429 ตั้งสถานกงสุลที่หลวงพระบางและขอให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยคุ้มครองชาวฝรั่งเศสในหลวงพระบางด้วย จากนั้นก็เข้ายึดครองแขวง 12 จุไท และเมืองซ่อน ต่อมาในปี พ.ศ.2436 / ค.ศ. 1893 ก็ได้ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงทั้งหมดไปจากไทย เป็นอันสิ้นสุดอำนาจไทยฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และเริ่มยุคอำนาจฝรั่งเศส เหนือลาว ส่วนดินแดนลาวฝั่งขวาแม่น้ำโขง ยังคงอยู่ในปกครองของไทยต่อมาจนปัจจุบัน ซึ่งในตอนนั้นแบ่งเป็นสามมณฑล

มณฑลลาวพวน ฝั่งขวาแม่น้ำโขง ประกอบด้วยเมืองทั้งหลายทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง คือ หนองคาย, โพนพิสัย, ท่าอุเทน, นครพนม, มุกดาหาร, สกลนคร, หนองหาน, กมุทาสัย (หนองบัวลำภ ูปัจจุบัน), ขอนแก่น, ชนบท, หล่มสัก และ ชัยบุรี

มณฑลลาวกาว ประกอบด้วย จำปาศักดิ์, อุบล, เขมราฐ, ยโสธร, สุวรรณภูมิ, ศรีสะเกษ, สุรินทร์, สังขะ, ขุขุนธ์, กมลาไสย, กาฬสินธุ์, ภูแล่นช้าง และ มหาสารคาม"

มณฑลลาวกลาง ประกอบด้วย นครราชสีมา, พิมาย, ปักธงชัย, จันทึก, นางรอง, บุรีรัมย์, ประโคนชัย, พุทไธสง, รัตนบุรี, ชัยภูมิ, ภูเขียว, เกษตรสมบูรณ์ และ จตุรัส

ในความพยายามทวงดินแดนลาวคืนมาจากฝรั่งเศส ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยทำสงครามกับฝรั่งเศสในปี 1940-1941 และเปิดการเจรจากันที่กรุงโตเกียวเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 ยังผลให้ไทยได้จำปาศักดิ์ และไชยบุรี คืนมาจากลาว และได้พระตะบองคืนมาจากเขมร ช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นยึดลาวได้อยู่สี่เดือน และออกจากลาวไปในเดือนสิงหาคม 1945 เมื่อญี่ปุ่นเป็นผู้แพ้สงคราม ฝรั่งเศสกลายมาเป็นฝ่ายชะสงคราม กลับมาครองอินโดจีนอีก บังคับให้ไทยจำยอมต้องคืนดินแดน จำปาศักดิ์ ไชยบุรี และพระตะบอง กลับให้ลาวและเขมร ในครอบครองของฝรั่งเศสตามเดิม

 

 

“แผ่นดินลาวของเรา และประชาชนคนลาวทั้งหลายเป็นเช่นเดียวกันกับนาทุ่งหนึ่ง ที่ฝรั่งเศสกับไทย ต่างคนต่างก็อ้างว่าตนเป็นเจ้าของ แล้วก็เกิดการแย่งชิงแบ่งปันกันอยู่ตลอดมา ทั้งนี้ ก็เพราะประชาชนลาวที่เป็นลูกหลานที่ได้รับมรดกมา คือแผ่นดินลาวทั้งหมดนี้ มาจากบรรพบุรุษที่เกิดแตกแยกกัน และแย่งชิงนากันมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1779 (พ.ศ.2322) เป็นต้นมา แผ่นดินลาวที่กว้างใหญ่ไพศาล จึงถูกแบ่งแยกออกเป็นผืนเล็กผืนใหญ่  ประชาชนที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินลาว ก็ถูกแบ่งแยกไปตามหน้าดินและถูกเอาไปรวมกับชาติอื่นก็มีเป็นอันมาก ด้วยประการดังนี้”" "สิลา วีระวงส์ นักปราชญ์ชาวลาว สรุปบทเรียนจากประวัติศาสตร์ว่า:

“แผ่นดินลาวของเรา และประชาชนคนลาวทั้งหลายเป็นเช่นเดียวกันกับนาทุ่งหนึ่ง ที่ฝรั่งเศสกับไทย ต่างคนต่างก็อ้างว่าตนเป็นเจ้าของ แล้วก็เกิดการแย่งชิงแบ่งปันกันอยู่ตลอดมา ทั้งนี้ ก็เพราะประชาชนลาวที่เป็นลูกหลานที่ได้รับมรดกมา คือแผ่นดินลาวทั้งหมดนี้ มาจากบรรพบุรุษที่เกิดแตกแยกกัน และแย่งชิงนากันมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1779 (พ.ศ.2322) เป็นต้นมา แผ่นดินลาวที่กว้างใหญ่ไพศาล จึงถูกแบ่งแยกออกเป็นผืนเล็กผืนใหญ่  ประชาชนที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินลาว ก็ถูกแบ่งแยกไปตามหน้าดินและถูกเอาไปรวมกับชาติอื่นก็มีเป็นอันมาก ด้วยประการดังนี้”

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในสหัสวรรษใหม่ เขียวขจี สดใส อุดมสมบูรณ์ด้วยความงามของธรรมชาติที่วัฒนธรรมสังคมลาวอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน สงบ ร่มเย็น

ธรรมชาติลาว ลาวปัจจุบันมีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร ขนาดโดยเปรียบเทียบเป็นอันดับที่ 7 ของอาเซียน

-------------------------------------------------------------

ASEAN Land Area / km2

Indonesia 1,860,360 km2

Myanmar     676,577 km2

Thailand      513,120 km2

Vietnam       331,212 km2

Malaysia      330,252 km2

Philippines   300,000 km2

Lao              236,800 km2

Cambodia    181,035 km2

Brunei              5,765 km2

Singapore          710 km2

ASEAN Total   4,435,830 km2

                                    [ข้อมูล: ACIF 2009]

-------------------------------------------------------------

พรมแดน - ทิศใต้ติดกัมพูชา 541 กิโลเมตร ติดภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นแนวยาว 1,754 กิโลเมตร - ทิศเหนือติดพม่า 235 กิโลเมตร และติดจีน 423 กิโลเมตร พรมแดนตะวันออกเฉียงเหนือและเหนือ มีเวียดนามกั้นทางออกสู่ทะเล เป็นแนวยาว 2,130 กิโลเมตร เป็นรัฐสมาชิกอาเซียนประเทศเดียวที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล แต่การเป็นสมาชิกอาเซียนในปัจจุบัน การพัฒนาระบบเชื่อมโยงอาเซียนด้วยถนน และ ทางรถไฟ นอกเหนือจากการคมนาคมขนส่งทางอากาศที่สะดวกรวดเร็วแล้ว การไม่ทางออกสู่ทะเลจะไม่เป็นอุปสรรคทางเศรษฐกิจหรือการเดินทางไปมาหาสู่กันในอาเซียนอีกต่อไป

ภูมิประเทศโดยส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและภูเขา เขาภูเบีย สูงที่สุด 2,817 เมตรเหนือระดับนำ้ทะเล ที่ตำ่สุด คือแม่น้ำโขง 70 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล มีพื้นที่ราบเพื่อการทำนาและการเกษตรได้เพียง 4% ของพื้นที่ประเทศทั้งหมด พื้นที่ชลประทานมีประมาณ 1,750 ตารางกิโลเมตร การทำนาข้าวบนแผ่นดินที่ปัจจุบันเรียกว่าประเทศลาวนั้นมีมานานกว่า 6,000 ปี นักโบราณคดีเชื่อว่าลาวอยู่ใกล้กับต้นกำเนิดนาข้าวเหนียวของมนุษย์ในสมัยโบราณด้วย 80%ของพื้นที่การเกษตรของลาวเป็นที่นา ลาวเป็นประเทศที่ผลิตและบริโภคข้าวเหนียวต่อสัดส่วนประชากร สูงที่สุดในโลก ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรและป่าไม้ของลาว ในปี 2004 ระบุว่า ลาวผลิตข้าวทั้งหมดได้ 2,528,904 ตัน ในพื้นที่ทำนา  7,703 ตารางกิโลเมตร เท่ากับ 3.25% ของพื้นที่ประเทศทั้งหมด

ลาวผลิตข้าวได้พอเพียงสำหรับการบริโภคในประเทศโดยไม่ต้องนำเข้าจากไทยมาตั้งแต่ปี 2001 แล้ว ด้วยพื้นที่ราบสำหรับทำนามีจำกัด การปลูกพืชเศรษฐกิจในที่สูงจึงเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งของเกษตรกร กาแฟ ปลูกกันมาในเมืองปากเซ และ ปากซอง เขตที่ราบสูง Bolaven แขวงจำปาศักดิ์ เมืองปากซอง เหนือ ปากเซไปเพียง 50 กิโลเมตร อยู่ในที่สูง 1,000-1,350 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ถือเป็นศูนย์กลางหารผลิตกาแฟที่มีชื่อเสียงระดับโลกของลาว ประชากรประมาณ 5,000 ครัวเรือนที่ปากซองทำไร่กาแฟ บริษัทกาแฟของลาวเอง และนักลงทุนจากต่างชาติ กำลังเข้ามาพัมนาอุตสาหกรรมไร่กาแฟส่งออกกันมากขึ้น ในปี 2010 บริษัท Outspan Bolovens Limited ของสิงคโปร ลงนามในสัญญาทำไร่กาแฟขนาด 30 ตารางกิโลเมตร ซึ่งจะให้ผลผลิตกาแฟปีละ 7,500 ตัน ทั้งประเทศ ลาวผลิตกาแฟได้ปีละประมาณ 15,000 -20,000 ตัน กาแฟเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญอันดับ 5 ของลาว สินค้าหรือผลิตผลส่งออกอันดับ 1 ของลาวคือกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำเหนือเขื่อนต่างๆ ของลาว ซึ่งส่วนใหญ่ขายข้ามพรมแดนผ่านสายส่งไฟฟ้าให้กับประเทศไทย นอกจากนั้นก็มี สิ่งทอ, เสื้อผ้าสำเร็จรูป, ไม้ซุง และ ผลิตภัณฑ์จากไม้ และ กาแฟ

ประเทศคู่ค้าที่สำคัญของลาว คือ ไทย เวียดนาม และจีน

-------------------------------------------------------------

ผลิตภัณฑ์มวลรวมอาเซียน 2008 GDP / $US ล้าน

1. Indonesia   511,174

2. Thailand     273,729

3. Malaysia     222,057

4. Singapore   182,103

5. Philippines  166,773

6. Vietnam         90,701

7. Myanmar       27,182

8. Brunei           14,147

9. Cambodia     11,082

Lao                5,289

[ข้อมูล: ACIF 2009]

-------------------------------------------------------------

รายได้ประชาชาติอาเซียน 2008

GDP per capita

 

1. Singapore      37,629

2. Brunei            35,623

3. Malaysia           7,970

4. Thailand            4,117

5. Indonesia          2,237

6. Philippines        1,844

7. Vietnam             1,053

8. Lao                       918

9. Cambodia            756

10.Myanmar             465

 [ข้อมูล: ACIF 2009]

-------------------------------------------------------------

ขนาดเศรษฐกิจและระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ ของลาว นั้นอาเซียนจัดให้อยู่ในกลุ่ม CLMV   ที่ย่อมาจาก Cambodia Lao Myanmar Vietnam ที่พัฒนาน้อยและช้ากว่าสมาชิกอาเซียนชาติอื่น โดยรัฐสมาชิกอาเซียนอีก 6 ประเทศจะมีนโยบายผ่อนปรนและช่วยเหลือเป็นพิเศษ เพื่อให้ได้โอกาสพัฒนาเศรษฐกิจให้ขึ้นมาใกล้เคียงกันโดยเร็วที่สุด ผลิตภัณฑ์มวลรวมเศรษฐกิจในประเทศของลาว ปี 2008  เท่ากับ $5,289 ล้าน ต่ำที่สุดในอาเซียน รายได้ประชาชาติ เท่ากับ $ 918 ต่อคน ต่อปี เป็นอันดับ 8 ของอาเซียน ดีกว่ากัมพูชา และพม่า

 

-------------------------------------------------------------

ASEAN Population 2008

 

Indonesia   228,523,000

Philippines   90,457,000

Vietnam        86,160,000

Thailand        66,482,000

Myanmar        58,510,000

Malaysia         27,863,000

Cambodia       14,656,000

Lao                   5,763,000

Singapore         4,839,000

Brunei                  397,000

ASEAN Total  583,651,000

[ข้อมูล: ACIF 2009]

-------------------------------------------------------------

แม้จะเป็นประเทศขนาดเล็กโดยพื้นที่ แต่ลาวก็มีจำนวนประชากรน้อย เพียง 5,763,000 คน จึงไม่มีปัญหาเรื่องการผลิตอาหารเลี้ยงคนในประเทศ ซึ่งลาวทำได้อย่างพอเพียง และไม่มีปัญหาเรื่องที่ดินทำกิน ซึ่งรัฐบาลก็จัดสรรให้ตามระบบเศรษบกิจแบบสังคมนิยม ที่มีความยืดหยุ่นในโลกยุคโลกาภิวัตน์ทุนนิยมเสรี

ที่เปิดรับการค้าการลงทุนและการบริหารจัดการจากต่างประเทศอย่างค่อยเป็นค่อยไป

 

แม่น้ำโขง คือสายน้ำหลักของลาว หล่อเลี้ยงชีวิตเศรษฐกิจ หล่อหลอมสังคมและวัฒนธรรมของลาวมาเนิ่นนาน แม่น้ำโขงมีต้นกำเนิดอยู่ที่ราบสูงทิเบต ในประเทศจีน เช่นดียวกับแม่น้ำ แยงซี และแม่น้ำสาละวิน แม่น้ำโขงไหลลงทางตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านจังหวัดยูนนาน  ออกจากจีน แม่น้ำโขงไหลเป็นพรมแดนลาวและพม่า เป็นระทางยาว 100 กิโลเมตร มุ่งทิศตะวันตกเฉียงใต้ เป็นเส้นแบ่งพรมแดน ลาว-ไทย ช่วงสั้นๆ จากนั้นก็เลี้ยวสู่ทิศตะวันออกไหลเข้าแผ่นดินลาว และหักลงใต้เป็นระยะทางประมาณ 400 กิโลเมตร แล้วกลับมาทำหน้าที่เส้นแบ่งพรมแดน ตะวันออกของไทย กับ ลาว อีก 850 กิโลเมตร ไปบรรจบกับแม่น้ำมูล ก่อนที่จะไหลเข้าเขตกัมพูชา และต่อไปเวียดนามสู่ทะเลจีนใต้ แม่น้ำโขงทั้งสาย ยาวประมาณ 4,800 - 4,900 กิโลเมตร กิโลเมตร ยาวเป็นอันดับ 10 ของโลก และ เป็นอันดับ 7 ของเอเชีย

ลาว  ไทย กัมพูชา และ เวียดนาม อยู่ในพื้นที่ลุมแม่น้ำโขงตอนล่าง ลาวอาศัยที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงนี้เป็นแหล่งเกษตรกรรมหลักของประเทศ ด้วยความห่วงใยในความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติแวดล้อมที่อาจสูญเสียโดยการตัดไ้ทำลายป่า การทำการเกษตรแบบเลื่อนลอย และสภาวะภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลง

รัฐบาลลาวประกาศนโยบายอนุรักษ์ธรรมชาติโดยให้พื้นที่ 21% ของประเทศเป็นป่าอนุรักษ์

อาเซียนประกาศรับรองเขตอนุรักษ์ป่าน้ำฮา (Nam Ha National Protected Area) ของลาว เป็นอุทยานมรดกอาเซียน (ASEAN Heritage Park) เขตอนุรักษ์ป่าน้ำฮา มีขนาดพื้นที่ 2,224 ตารางกิโลเมตร

ตามรายงานของศูนย์อาเซียนว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (ASEAN Center for Biodiversity) ในพื้นที่ป่าน้ำฮา มีพืช 2,000 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ 37 ชนิด นก 228 ชนิด

ประชาชนพลเมืองลาว 68% เป็นชนชาติลาวพื้นเมืองแต่ดั้งเดิม ที่เหลือเป็นชาวเขาเผ่าต่างๆ นอกจากนั้นมีชาวลาวประมาณ 500,000 คนอพยพหนีภัยการเมืองไปอยู่ในยุโรป อเมริกา แคนาดา อาร์เจนติน่า บราซิล ญี่ปุ่น สิงคโปร์  และเอเชียใต้ ตามสถิติทางการรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ในปี 2005 คนลาวอพยพเฉพาะในสหรัฐอเมริกา มีมากถึง 200,000 คน ยังไม่รวมชาวม้งอพยพ

ภาษาลาว หนังสือภาษาลาวหลายๆเล่ม  ป้าย เสียงพูดจากรายการโทรทัศน์ คอนเสิร์ต ฯลฯ

หนังสือ  ป้าย ภาษาลาว ลาวมีภาษาพูดและเขียนเป็นของชนชาติตนเอง ในตระกูลภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาไทย ซึ่งทั้งสองภาษาก็ได้รับอิทธิพลจากภาษาบาลี สันสกฤติ ภาษามอญ และภาษาขแมร์

ศาสนาพุทธ คือหัวใจของสังคม และวัฒนธรรม ลาว ศานาพุทธคือวิถีชีวิตของชาวลาว

วัดคือศูนย์กลางของวิถีชีวิตชุมชน พระธาตุหลวงแห่งนครเวียงจันทน์ คือศูย์รวมแห่งความสงบงดงาม และคุณธรรมความดีของชาวลาว ทุกหนแห่งในประเทศลาว ศาสนาพุทธแผ่ไพศาลทั่วอาณาจักร

ลาวปัจจุันปกครองประเทศในระบอบสาธารณรัฐสังคมนิยม เปลี่ยนชื่อประเทศจากราชอาณาจักรลาว

มาเป็น “สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว”สถาปนาโดย “พรรคประชาชนปฏิวัติลาว” ที่ยึดอำนาจมาได้จากรัฐบาลประชาธิปไตยอันมีเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนาเป็นประมุข เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา เป็นกษัตริย์ลาวพระองค์สุดท้าย (ครองราชย์ 2502-2518) เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา ยอมสละราชสมบัติ ให้กับความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในยุคคอมมูนิสต์ขึ้นสู่อำนาจ โดยพรรคประชาชนปฏิวัติลาวประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 / ค.ศ. 1975 ลาวปัจจุบันปกครองด้วยระบอบและอุดมการณ์สังคมนิยมคอมมูนิสต์ อันเป็นอิทธิพลจากต้นกำเนิดปรัชญาการเมืองโดยนักปรัชญาชาวเยอรมัน ชื่อ Karl Marx

ลาวได้เป็นประธานอาเซียน และจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 10 ที่นครหลวงเวียงจันทน์ ระหว่างวันที่ 29-30 พฤศจิกายน 2004 ในฐานะประเทศเจ้าภาพ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวกำหนดแนวคิดหลัก (theme) ของการประชุมว่า “Advancing a Secure and Dynamic ASEAN Family through Greater Solidarity, Economic Integration and Social Progress” (“ทำให้ครอบครัวอาเซียนก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและทรงพลวัตร โดยความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างยิ่งใหญ่กว่า ด้วยการบูรณาการทางเศรษฐกิจ และด้วยความก้าวหน้าทางสังคม”) ปีที่ลาวเป็นประธานอาเซียนมีเหตุการณ์ท้าทายสามัคคีภาพของอาเซียนหลายเรื่อง ตั้งแต่เรื่องการก่อการร้ายระหว่างประเทศ ที่เพิ่งเกิดขึ้นอย่างรุนแรงที่สหรัฐอเมริกาในวันที่ 11 เดือนกันยายน ปี 2001 (เหตุการณ์ 9/11) และส่งผลกระทบต่อเนื่องมา 3 ปีให้หลัง เรื่องราคาน้ำมันที่พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ ไปจนถึงเรื่องการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสไข้หวัดนก ลาวจึงพยายามผนึกกำลังอาเซียนให้แน่นแฟ้นกว่าเดิมเพื่อการเดินไปสู่เป้า หมายที่วางไว้เป็นวิสัยทัศน์ ปี 2020 ร่วมกันของอาเซียน การเชื่อมโยงบูรณาการอาเซียนให้รวมกันเป็นประชาคมหนึ่งเดียวกันถือเป็นวาระเร่งด่วน และสำคัญทั้งระยะเฉพาะหน้าและระยะยาว ลาวประสบความสำเร็จในการผลักดัน “แผนปฏิบัติการเวียงจันทน์” (Vientiane Action Plan - VAP) เป็นเครื่องมือสร้างประชาคมมอาเซียน ที่มีเป้าหมายในตอนนั้นว่าจะต้องเกิดขึ้นให้ได้ในปี 2020 อันเป็นปีเป้าหมายของวิสัยทัศน์อาเซียน ซึ่งต่อมาก็มีการปรับร่นระยะเวลามา 5 ปี เป็นปี 2015 หรือ พ.ศ. 2558

ลาวพยายามให้อาเซียนลดช่องว่างทางการพัฒนาเศรษบกิจระหว่างรัฐสมาชิกอาเซียนที่พัฒนามากกว่า คือ Brunei - Indonesia - Malaysia - Philippines - Singapore และ ไทย กับกลุ่มรัฐสมาชิกที่พัฒนาน้อยและช้ากว่าที่เรียกว่า “CLMV” หมายถึงCambodia Lao Myanmar Vietnam เพื่อให้มีความร่วมมือช่วยเหลือประเทศ CLMV ให้มากขึ้น

ในช่วงปีที่ลาวเป็นประธานอาเซียน ความร่วมมือระหว่างอาเซียน กับประเทศคู่เจรจาสามประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ หรือที่เรียกว่า ASEAN+3 มีมากขึ้น จนมีความตกลงให้จัดการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit - EAS) และการประชุมสุดยอดอาเซียน-รัสเซียครั้งแรกที่ Malaysia ในปี 2005

นอกจากนั้นยังได้มีความร่วมมือกับอินเดียมากขึ้น

ในฐานะประธานอาเซียนและเจ้าภาพการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 10 อันเป็นครั้งแรกของลาว

รัฐบาลลาวสร้างถนนใหม่สายหนึ่ง ตั้งชื่อว่า “ถนนอาเซียน" และสร้างบ้านพักรับรองผู้นำอาเซียนจากทั้ง 9 ประเทศ ที่มาร่วมประชุมสุดยอด ด้วย เป็นการสร้างหมู่บ้านขึ้นใหม่ทั้งหมด เป็นการพิเศษอย่างที่สุด

ลาวคือสมาชิกที่แข็งขันของอาเซียน ประชาชนชาวลาวตื่นตัว และตระหนักรับรู้เรื่องอาเซียนเป็นอย่างสูง

กระทรวงศึกษาธิการปรับหลักสูตรการเรียนในระดับโรงเรียน เพิ่มตำรา และหลักสูตรเรื่องอาเซียน กับลาวอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างพลเมืองรุ่นใหม่ที่พร้อมจะเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียนอย่างแท้จริง

 

นี่คือ.........สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว



___________________ _______

 บันทึกโดย  สมเกียรติ อ่อนวิมล

___________________ _______

 

 

 

 



บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!