กสทชนอกจากจะทําให้มี3Gแล้วยังจะมีการเปลี่ยนแปลงของฟรีทีวี
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
พฤษภาคม 29, 2024, 03:15:34 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กสทชนอกจากจะทําให้มี3Gแล้วยังจะมีการเปลี่ยนแปลงของฟรีทีวี  (อ่าน 2555 ครั้ง)
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1884
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13358


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2010, 07:53:06 AM »

http://www.youtube.com/v/ruhLKJoOVFU?fs=en&fs=1&autoplay=1&loop=1=0xe1600f&color1=0xe1600f&color2=0xfebd01&border=1

กทช.เตรียมความพร้อม “ดิจิทัลทีวี”
 ตามข้อกำหนดอาเซียนเลิกอนาล็อกปี 2558
รอส่งไม้ต่อ กสทช. เคาะมาตรฐานระบบดิจิทัล
สำนัก งานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)
 ร่วมมือกับ กระทรวง MIC ประเทศญี่ปุ่น
และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดสัมมนาเรื่อง Digital Broadcasting
 ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมเปลี่ยนระบบแพร่ภาพโทรทัศน์จาก อนาล็อก เป็น ดิจิทัล
 ทั้งในภาคส่งสัญญาณและภาครับสัญญาณในประเทศไทย
ทั้งนี้ ในเวทีการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน
ได้มีข้อกำหนดร่วมกันว่าในปี 2015 หรือปี 2558
ทุกประเทศในกลุ่มอาเซียนจะยกเลิกแพร่ภาพโทรทัศน์ระบบอนาล็อก

นาย ประสิทธิ์ ประพิณมงคลการ ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)
 เปิดเผยว่า กทช.ได้ศึกษาข้อมูลและเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนระบบแพร่ภาพโทรทัศน์
จากอนาล็อกเป็นดิจิทัล ด้วยการจัดทำแผนแม่บทในการก้าวสู่
“ดิจิทัล บรอดคาสติ้ง”
ทั้งการศึกษาคุณลักษณะของมาตรฐานระบบดิจิทัลที่ใช้อยู่ในทั่วโลกขณะนี้
 ที่มีอยู่ 4 มาตรฐานหลักๆ คือ
 ATSC ของสหรัฐ,
 DVB-T ของยุโรป,
 ISCB-T ของญี่ปุ่น และ
 DMB-T ของประเทศจีน

พร้อมกำหนดกรอบเวลาการเปลี่ยนระบบ การกำกับดูแล
 และการให้ข้อมูลข่าวสารกับประชาชน
โดยมี ดร.พนา ทองมีอาคม กทช.
จะเป็นคณะกรรมการที่ศึกษาเรื่องดังกล่าว

ทั้งนี้ กทช. จะทำหน้าที่เพียงการศึกษา
 และจัดทำแผนแม่บทกำหนดกรอบเวลาในการทำงานเท่านั้น
 โดยจะรอให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
 เป็นผู้ตัดสินใจในการเลือกมาตรฐานระบบดิจิทัล
ว่าจะใช้ระบบใด
รวมทั้งการกำหนดเงื่อนไขประเภทใบอนุญาตของทีวีดิจิทัล ในอนาคต

อย่าง ไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงเครื่องรับทีวี ในครัวเรือนไทยทั่วประเทศ
 เป็นขั้นตอนที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดในกระบวนการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลทีวี
โดยเฉพาะในครัวเรือนที่เครื่องรับทีวียังเป็นระบบ อนาล็อก
จะต้องซื้อเครื่องมือ set top box มาติดตั้งเพิ่ม

 ซึ่งคาดว่าราคาน่าจะอยู่ที่ 1,000 บาทต่อกล่อง
 ในจำนวน 20 ล้านครัวเรือนไทย
อาจไม่สามารถติดตั้งชุดอุปกรณ์ เซต ท็อป บ๊อกซ์ ได้ทั้งหมด

ดัง นั้น ภาครัฐ และ กสทช.จำเป็นต้องกำหนดรูปแบบการสนับสนุนครัวเรือนไทยที่มีรายได้ต่ำ
และไม่ สามารถจ่ายเงินติดตั้งอุปกรณ์ เซต ท็อป บ๊อกซ์ ได้
โดยภาครัฐจะต้องติดตั้งให้ฟรี
โดยใช้เงินกองทุนสนับสนุนสื่อ ของ กสทช. เข้ามาช่วยเหลือ
 เพื่อให้ครัวเรือนไทยทั่วประเทศได้รับประโยชน์จากการแพร่ภาพดิจิทัลทีวี
เพราะถือเป็นระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ทุกคนควรได้รับประโยชน์

นาย ไพโรจน์ ปิ่นแก้ว ที่ปรึกษา บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)
 ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 กล่าวว่า
 ข้อดีของการเปลี่ยนระบบแพร่ภาพสู่ดิจิทัล
จะทำให้มีช่องรายการเพิ่มขึ้นได้ไม่ต่ำกว่า 40 ช่องรายการ
จากการใช้คลื่นความถี่ต่ำกว่าระบบอนาล็อก
 ทำให้ 1 คลื่นความถี่ของฟรีทีวี
สามารถแบ่งช่องสัญญาณเป็นช่องรายการต่างๆ ได้เพิ่ม 6-8 ช่อง
 อีกทั้งยังสามารถเลือกรับชมได้ผ่านเครื่องรับหลายประเภท
ทั้งทีวีดิจิทัล, อินเทอร์เน็ตทีวี และโทรศัพท์มือถือ

ด้านนายศรัณย์ วิรุตมวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ
 บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 กล่าวว่า
หลังการเปลี่ยนระบบสู่ดิจิทัล ทีวีแล้ว โครงสร้างอุตสาหกรรมทีวี จะเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน
 จากเดิมที่จะมี 3 องค์ประกอบ คือ
 ผู้ผลิตรายการ,
สถานีโทรทัศน์
 และผู้ชม

 แต่บริการทีวีดิจิทัล จะทำให้เกิดอีก 3 รูปแบบธุรกิจใหม่ คือ
 ผู้ให้บริการช่องรายการ (Channel Provider),
 ผู้ให้บริการร่วมส่งสัญญาณ (Multiplex Operator)
 และผู้ให้บริการโครงข่าย (Network Provider)
 ซึ่ง กสทช. จะต้องเป็นผู้กำหนดใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ดิจิทัล
ใน 3 รูปแบบดังกล่าวเพิ่มเติม



ผ่าน..ร่างกฎหมาย.กสทช.แล้ว จะเกิดอะไรกับองค์กรสื่อทั้งหลาย
 มีคำตอบจาก"สมเกียรติ TDRI - สุภิญญา คปส."
เขียนโดย ..ภัทราพร ตั๊นงาม ผู้สื่อข่าว สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย

ผ่าร่างกฎหมาย กสทช.สู่ยุคปฏิรูป'คลื่น'


ตั้งตารอคอยมากว่า 10 ปี ในที่สุดร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และ กำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ......ก็ผ่านการโหวตรับหลักการในวาระแรก ในที่ประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไปอย่างรวดเร็ว ด้วยคะแนนเสียง 245 เสียง โดยไม่มีฝ่ายค้านเข้าร่วมประชุม เมื่อวันที่ 24 มีนาคมที่ผ่านมา อันเป็นการประชุมในอาคารรัฐสภา ท่ามกลางการจัดวางสิ่งกีดขวาง และกำลังทหารตำรวจหลายกองร้อย โอบล้อมปิดกั้นพื้นที่บริเวณโดยรอบอาคาร เนื่องจากหวั่นผู้ชุมนุมเสื้อแดงที่เชิงสะพานผ่านฟ้าฯ จะยกพลปิดล้อมซ้ำรอยเดิม

ในการจัดทำร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ รัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ 1 ชุดจำนวน 45 คน ขึ้นมาพิจารณาร่าง และตั้งกรรมาธิการวิสามัญอีกคณะหนึ่ง เพื่อกำหนดประเด็นการแปรญัตติ เป็นคณะทำงานที่ต้องทุ่มเทเวลาศึกษาและอ่านร่างพ.ร.บ.นี้ทุกตัวอักษร โดยหนึ่งในสี่สิบห้าคนที่เป็นมันสมองสำคัญเรื่องนี้ คือ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ รองประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรร คลื่นความถี่ฯ นี้
ความพยายามจัดตั้งองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ที่ล้ม เหลวมาตลอดนับสิบปี วันนี้ได้เริ่มต้นใหม่นับหนึ่งในกระบวนการนิติบัญญัติแล้วนี้ มีรูปร่างหน้าตาเบื้องต้นเป็นอย่างไร เมื่อผ่านความเห็นชอบกระทั่งเป็นกฎหมายออกมาบังคับใช้ มีตัวองค์กรขึ้นมาได้จริงแล้ว ภารกิจหลักในการจัดสรรคลื่น แหล่งทรัพยากรในอากาศที่มีมูลค่ามหาศาลคืออะไร อุตสาหกรรมสื่อสาร โทรคมนาคม ในมิติใหม่จะมี"ตัวร่าง" เป็นอย่างไร ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ มีคำอรรถาธิบาย

***ผลหลังจาก พ.ร.บ.ผ่านสภา
สำหรับแผนระยะสั้น ก่อนที่จะมีการสรรหาและแต่งตั้ง กสทช. ในร่างดังกล่าวเขียนไว้ชัดเจนให้ กทช. (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) รักษาการไปก่อน แต่การประกอบกิจการวิทยุ-โทรทัศน์ให้เป็นไปตามกฎหมายการประกอบกิจการ และก่อนมีเลขาธิการ กสทช. ให้เลขาธิการ กทช.รักษาการไปก่อน เมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้ ให้โอนทรัพย์สิน สิทธิ หนี้สิน พนักงานและลูกจ้างของสำนักงาน กทช.ไปเป็นของสำนักงาน กสทช. และ ให้โอนทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ พนักงานและลูกจ้างที่สมัครใจของกองงาน กกช. กรมประชาสัมพันธ์ไปเป็นของสำนักงาน กสทช.

สำหรับงานภายนอก เช่น หน่วยงานราชการ ,กองทัพบก , บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ฯลฯ และ ผู้รับสัมปทานต่าง ๆ ก็ต้องแจ้งเหตุจำเป็นในการถือครอง โดยกรณีสัมปทาน ให้หน่วยงานรัฐที่ให้สัมปทาน แจ้งรายละเอียดต่อ กสทช. ส่วนผู้ที่ได้รับสัมปทาน เช่น สถานีโทรทัศน์ช่อง 3 นั้น สัมปทานหมดอายุในปี 2563 ก็ยังประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าจะครบอายุสัมปทาน เพราะรัฐสัมปทานไปก่อนที่กฎหมายฉบับนี้เกิด แต่ต้องเป็นสัมปทานที่ได้มาโดยชอบของกฎหมาย

ส่วนกรณีของผู้ที่ได้รับ การจัดสรรหรือใช้คลื่นความถี่โทรคมนาคม ก็ดำเนินการเหมือนกรณีผู้ได้รับจัดสรรหรือใช้คลื่นความถี่วิทยุ-โทรทัศน์ และ ให้รัฐวิสาหกิจ คือ บมจ.ทีโอที และ บมจ.กสท โทรคมนาคม ที่ให้สัมปทาน ต้องโอนรายได้จากสัมปทานที่ใช้คลื่นความถี่เข้ากระทรวงการคลัง โดยหัก 1.ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต (เฉพาะในส่วนสัมปทาน), 2. ค่าใช้จ่ายในการให้บริการอย่างทั่วถึง (เฉพาะในส่วนสัมปทาน), และ 3.ค่าใช้จ่ายในการบริหารสัมปทานตามที่กระทรวงการคลังกำหนดทั้งนี้ ให้มีระยะเวลาผ่อนผัน 1 ปี
นอกจากนี้ต้องทำแผนเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบทีวี ดิจิตอล และวิทยุดิจิตอล ซึ่งจะทำให้ถ้าทำแผนจัดสรรคลื่นความถี่แล้วเสร็จ สามารถจัดสรรคลื่นความถี่ได้ใหม่ เช่น คลื่นทีวีเพียงช่องเดียวอาจจัดสรรเพิ่มได้อีก 5 ช่อง เพราะฉะนั้นฟรีทีวีในปัจจุบันมี 6 ช่อง สามารถแยกย่อยเพิ่มเป็นฟรีทีวีได้อีก 30 ช่อง และสามารถแบ่งออกได้อีก 20 ช่อง เป็นทีวีความคมชัดสูงก็ได้

สำหรับแผนระยะยาว ต้องมีแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ เป็นหลักในการออกใบอนุญาต และจะต้องมีแผนแม่บทกิจการวิทยุ-โทรทัศน์ และ แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม เพราะฉะนั้นทั้งสองแผนต้องสอดคล้องกับแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายการจัดตั้งองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ

นอกจากนี้ ต้องจัดสรรคลื่นความถี่แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มภาคประชาชนในการบริการชุมชน 20% โดยไม่มีการหารายได้ และอีก 2 ส่วน คือ หน่วยงานราชการและภาครัฐ และ บริการเชิงพาณิชย์ ต้องใช้วิธีการประมูลคลื่นความถี่
"ระบบสัมปทานแบบวิ่งเต้นจะได้หมดไป ระบบเล่นเส้นเล่นสายหมดไป เอาเงินเข้าภาครัฐก้อนนี้จัดตั้งเป็นกองทุนเพื่อพัฒนากิจการวิทยุโทรทัศน์ ส่วนคลื่นภาคประชาชนใช้ไปให้บริการวิทยุชุมชน เช่น วิทยุชมชนในพื้นที่ และชุมชนตามกลุ่มความสนใจโดยไม่มีโฆษณา"

หลังจากนี้ ถ้ากฎหมายผ่านกระบวนการนิติบัญญัติได้ภายในสิ้นปีนี้แล้ว ต้องใช้เวลาพอสมควรในการจัดตั้ง กสทช. ให้แล้วเสร็จ คาดว่าจะเป็นกลางปี 2554 และกว่าจะจัดทำแผนคลื่นความถี่ต้องใช้เวลาอีก 1 ปี และ การออกใบอนุญาตต้องใช้เวลาอีก 1 ปี และในเวลาเดียวกันสัมปทานต่างๆ ก็คงหมดอายุไป กระบวนการทั้งหมดนี้จะค่อยเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบที่เป็นใบอนุญาตเต็มรูปแบบ มีการแข่งขันเสรีและเป็นธรรมมีการกระจายคลื่นความถี่ใช้กัน

"เป็น เรื่องยากที่จะทำให้เร็วในสังคมประชาธิปไตย เพราะแต่ละกลุ่มมีผลประโยชน์แตกต่างกันออกไป ที่ช้าเป็นเพราะช้ามา 10 ปีแล้วจากการออกแบบรอบที่แล้วทำให้ช้า รอบนี้แก้ปัญหาได้ก็ยังช้ากว่าความต้องการของคนอยู่"


**กระบวนเลือก กสทช. เริ่มกลางปีหน้า
ถ้า กฎหมายแล้วเสร็จปลายปี 2553 คือผ่านวาระแรกรับหลักการของสภาผู้แทนราษฎร (ผ่านแล้วเมื่อ 24 มีนาคม 2553) แล้วมาตั้งอนุกรรมาธิการพิจารณาร่างฯ ไปดูรายมาตรา จากนั้นเมื่อเปิดประชุมสภาสมัยที่สองช่วงปลายปี น่าจะเสนอกลับมาเข้าสภาเพื่อพิจารณาวาระ 2 และให้ความเห็นชอบเป็นวาระ 3 แล้วส่งให้วุฒิสภาไปพิจารณาอีก 3 วาระ เช่นกัน ถ้าไม่ขัดข้องและเห็นชอบได้ภายในสิ้นปี 2553 นี้ และลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายแล้ว ถัดจากนั้นกระบวนการสรรหาให้เลือก กสทช. ใช้ระยะเวลา 180 วัน ประมาณ 6 เดือน เชื่อว่าอีกประมาณครึ่งปีแรกของปี 2554 ก็จะได้ กสทช.

***หน่วยงานภายใต้ กสทช.
ประกอบ ด้วย 2 คณะ คือ คณะกรรมการกิจการการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท. คณะหนึ่ง และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค.อีกคณะหนึ่ง ซึ่งทั้งสองคณะดังกล่าวมาจากกรรมการ กสทช. ทั้งหมด ข้างละ 5 คน แต่ประธานกรรมการ ไม่ต้องลงมา ดังนั้น ใครมีความถนัดแต่ละด้านก็ถูกมอบหมายให้เข้ามารับผิดชอบ

***บทเรียนสององค์กรที่ผ่านมา
เป็น โจทย์ใหญ่ครั้งนี้ ( กทช. และ กสช.) ที่จะต้องแก้ให้ได้ จะดีจะชั่วยังไงต้องให้ได้คนมาก่อน เพราะฉะนั้นการออกแบบกระบวนการให้ได้คนมา เป็นเรื่องที่กรรมาธิการให้ความสำคัญสูงมาก แผนหนึ่งไม่สำเร็จต้องมีแผนสองและแผนสามรองรับ เพราะฉะนั้นค่อนข้างมั่นใจได้อยู่ว่าน่าจะเกิดได้จริงจะช้าไปบ้าง มีโอกาสช้าบ้าง แต่เชื่อว่าจะต้องเกิดแน่

***กสทช.จะไม่ยืดเยื้อเหมือนที่ผ่านมา
ไม่ น่าจะเหมือนกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นโจทย์ใหญ่ที่สุดข้อหนึ่งเลย คือ กฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่มีแผน B หรือ แผนสอง พอล่มมีโอกาสล่มง่ายเพราะกระบวนการกว่าจะได้มามันยาวและผลประโยชน์มันเยอะ คนที่ไม่อยากให้เกิดก็หาทางตัดตอนด้วยวิธีต่าง เช่น ฟ้องโน่น ฟ้องนี่ และมันล้มได้ทุกขั้นตอน เหมือนภาษาอังกฤษ weakest link (กำจัดจุดอ่อน) มีจุดอ่อนจุดไหนอยู่ก็แยงจุดนั้น ต่อให้โซ่ยาวหลายขั้นตอน ทุกขั้นตอนแข็งหมดมีจุดอ่อนนิดเดียว ก็พังทั้งกระบวนการ ที่ผ่านมาเป็นอย่างนั้น ที่ผ่านมาไม่อ่อนจุดเดียวแต่อ่อนหลายจุดด้วย


 ฉงน



บันทึกการเข้า

winai4u-LSV team
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน673
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3025



« ตอบ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2010, 08:45:39 AM »

ยากครับพี่ รัฐบาลเวียดนามอนุมัติ 5 บริษัทในประเทศดำเนิน 4G แล้ว แต่พี่ไทย กว่าจะทำอะไรเส็จ มันก็คงปลายยุค 4G พอดี
แล้วถ้าผ่านจริง ๆ ต้องดูราคา ด้วย ขนาด EDGE ก็แพงอยู่เมื่อเทียบกับความเร็ว ไม่รู้เพราะว่าต้องไปจ่ายค่าเสือนอนกิน หรือเปล่า เพราะว่า ต้องจ่ายค่าสำ รับประทาน อีกต่อหนึ่ง
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!