ความผิดในความถูก
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความผิดในความถูก  (อ่าน 1154 ครั้ง)
kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน630
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2363


NightBaron


เว็บไซต์
« เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2010, 10:52:18 PM »



ความผิดในความถูก...ธรรมอุปมา...ของหลวงปู่ชา สุภทฺโท

๑. จะหลุดพ้นได้ต้องเริ่มจากการเห็นโทษ

ให้ เอาจิตพิจารณากายนี้ให้รู้จัก เมื่อรู้จักแล้วมันก็เป็นสิ่งไม่แน่นอน เป็นของไม่เที่ยงทั้งนั้น เมื่อเห็นเช่นนี้ จิตใจของเราก็จะเกิดความเบื่อหน่าย เบื่อหน่ายในใจในกายนี้ว่าไม่แน่นอน ไม่คงเส้นคงวา ก็อยากจะหาทางออก หาทางพ้นทุกข์

เปรียบประหนึ่งนกที่ อยู่ในกรง เห็นโทษว่าจะบินไปมาที่ไหนไม่ได้ ใจพะวักพะวนดิ้นรนจะออกจากกรงอันนั้น เบื่อกรง เบื่อที่อยู่ ถึงแม้ว่าจะให้อาหารให้กินอยู่ใจมันก็ยังไม่สบาย เพราะมันเบื่อกรงที่ขังมันไว้

จิตใจเราก็เหมือนกัน เมื่อเห็นโทษ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในรูปในนามนี้แล้ว มันก็จะพยายามพิจารณาให้ออกจากวัฏสงสารอันนั้น

๒. กราบพระ แต่ไม่เห็นพระ

คำ สอนของพระพุทธเจ้านั้นทำ คนให้หมดให้พระเกิดขึ้นมา ก็คือ ทำความผิดให้มันหมดไป ความถูกจึงจะเกิดขึ้นมา ทำความชั่วให้หมดไป ความดีก็จะเกิดขึ้นมา

อย่างบ้านของเรามันสกปรกไม่สะอาด ถ้าเราเอาไม้กวาดมากวาดแล้วก็เช็ดสกปรกออกมันก็สะอาดเพราะสกปรกมันหายไป

ถ้าความผิดยังไม่หมด ความถูกก็เกิดขึ้นไม่ได้ นี่ถ้าเราไม่ภาวนาเราก็ไม่รู้ความจริง

ธรรมะ ของพระพุทธเจ้ามีอำนาจมาก ถ้าทำความเปลี่ยนจิตใจไม่ได้ก็ไม่ใช่ธรรมะที่มีอำนาจ แต่ธรรมะนี้ทำปุถุชนสามัญชนให้เป็นอริยชนได้ เพราะธรรมะให้คนที่มีความเห็นผิด เกิดความเห็นถูกขึ้นมาได้

๓. เอาตนเองเป็นพยาน


ธรรมะ นี้เปรียบเหมือนผลไม้ที่เราไปบ้านญาติบ้านเพื่อน แล้วเขาเอาผลไม้ฝากเราหยิบผลไม้ไว้ในมือของเรา แต่เราก็ไม่รู้เปรี้ยว หวาน ฝาดอะไรต่างๆ คือจับผลไม้แล้วก็ยังไม่รู้รสของผลไม้ จะรู้รสก็ต้องเอามาทานขบเคี้ยว จึงจะรู้ว่ามันเปรี้ยว มันหวาน มีรสชาติต่างๆ ตามสัญญาของเรา

ธรรมะนี้ก็เหมือนกันฉันนั้น ทุกอย่างท่านให้เอาตนเองเป็นพยาน ไม่ต้องเอาคนอื่น เรื่องของคนอื่นตัดสินได้ยากลำบาก เพราะเป็นเรื่องของคนอื่น

ถ้าเป็นเรื่องของเราแล้วมันง่ายที่สุด เพราะความจริง มันอยู่กับเรามีเราเป็นพยาน

ธรรมะนี้เมื่อฟังแล้วก็ต้องเอามาภาวนาให้เป็นปริยัติศาสนา ปฏิบัติศาสนา ปฏิเวธศาสนา

ปริยัติ คือการเรียนรู้ รู้แล้วเอามาปฏิบัติตามก็เกิดความรู้ขึ้นมาตามความเป็นจริง ถ้าฟังเฉยๆ ก็รู้ด้วยสัญญา เอาไปพูดก็ตามสัญญา ไม่ได้พูดความจริงให้ฟัง นี่เราจึงยังเข้าไม่ถึงธรรมะ ไม่สอดส่องธรรมะ ใจยังไม่เป็นธรรมแต่พูดเป็นธรรมได้ ทำเป็นธรรมได้ นี่เรียกว่ายังไม่สมบูรณ์แบบ ตามทางพุทธศาสนา

๔. บรรลุความจริง คือ บรรลุธรรม


การ บรรลุธรรมะ การตรัสรู้ ถ้าเราคิดไปก็ดูเหมือนว่าเป็นของสูงเกินไป ไม่ควรจะเอามาพูดว่าเราบรรลุธรรมะ ความเป็นจริงก็คนเหมือนเรานี่แหละเสมอแล้วที่จะบรรลุธรรมะได้

บรรลุ ธรรม ก็คือ เข้าใจว่าอันนี้มันบาป คือ มันผิดไม่เกิดประโยชน์ตนและคนอื่นทั้งนั้น เข้าใจชัดเจนเช่นนี้ก็เรียกว่า เราบรรลุธรรมะ ซึ่งเป็นในทางที่ควรละ คือการรู้แจ้งธรรมะ

เช่นเราเดินไปท่าน้ำ จะบรรลุท่าน้ำหรือท่าเรือก็เมื่อไปถึงท่าน้ำท่าเรือนั่นเอง ถ้าขึ้นมาถึงศาลาเราก็เรียกว่า เราบรรลุศาลาแก้ว

ถ้า เรารู้จักความเป็นจริงที่ถูกต้อง ก็เรียกว่า เราบรรลุความจริง บรรลุธรรมะ เมื่อบรรลุธรรมะแล้วกิเลสทั้งหลายมันก็สร่างไป ลดไป เมื่อมีความเห็นชอบ ความเห็นผิดมันก็เลิกไปเป็นธรรมดา

๕. สำรวจที่ตนเอง

ความ อยากนั้นมันรู้ที่จิต เหมือนชาวประมงออกไปทอดแห พอได้ปลาก็รีบตะครุบ ปลามันก็กลัว คนกลัวปลาจะออกจากแห เมื่อเป็นอย่างนั้น ใจมันสับสน บังคับมันมาก เดี๋ยวปลามันก็ออกจากแห

โบราณจึงให้ค่อย ๆ คลำมันไป ทำไปเรื่อยๆ ขี้เกียจก็ทำ ขยันก็ทำ ทำไปมาก ๆ ถูกทางความสงบมันก็ระงับ

การ ปฏิบัติท่านก็ให้ไปเรื่อยๆ อย่าหยุด ขยันก็ทำ ขี้เกียจก็ทำ แต่ปฏิบัติเหมือนบุรุษสีไฟ เดี๋ยวหยุด เดี๋ยวทำ ใจร้อนก็ไม่สำเร็จเพราะใจมันร้อน

การภาวนาการปฏิบัติไม่ต้องคิดอะไร มาก ให้สำรวจที่ตนเอง ไม่ต้องไปสำรวจที่อื่น ถ้าเราเห็นตัวเรา เราก็เห็นคนอื่น เหมือนยาทันใจกับยาปวดหาย เพราะมันมีลักษณะรักษาโรคอันเดียวกัน คือยาแก้ปวด

คนที่ปฏิบัติกับคน เรียนนั้นชอบโทษกัน เหมือนกับการที่เราหงาย-คล่ำฝ่ามือ ซึ่งมันไม่ได้อยู่ที่ไหนหรอก มันอยู่ของมันตรงนั้นแหละ แต่เรามองไม่เห็น การเรียนแล้วไม่ปฏิบัติ เราก็จะไม่รู้ตามความเป็นจริง มันจะทำให้หลงไป

๖. เลือกที่ตรงจริต

การ พิจารณากรรมฐานให้เลือกดูว่าอะไรมันถูกจริตเรา เหมือนกับอาหารในสำรับกับข้าว เราเองพิจารณาเลือกว่าอะไรมันถูกกับธาตุกับขันธ์ของเรา เหมือนกับเราเลือกการพิจารณากรรมฐานว่าอะไรมันถูกกับเรา ลมเข้าออก หรือพิจารณาสังขาร หรือลมเข้าลมออก

การทำความเพียรให้ทำไปเรื่อยๆ เหมือนน้ำหยดในโอ่งเรื่อยไม่แห้ง สัตว์ที่อยู่ในโอ่งก็ไม่ตาย น้ำก็ไม่แห้ง

ถ้า เราพิจารณาธรรม เรื่องความไม่เที่ยง เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อเราเข้าใจก็เหมือนกับเราคลายเกลียวนอตไปทางซ้าย มันก็ไม่แน่นก็เลยทำให้เราไม่ยึดมั่นถือมั่นในอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

๗. ทุกข์เพราะไม่ยอมปล่อย

คนถ้าไม่ทุกข์ไม่ลืมตา ถ้ามันสุขมันดับสนิทขี้เกียจไปเลย

ทุกข์ มันแทงขึ้นมาให้มีความคิดมาก ให้ขยายตัวขึ้นมามาก ยิ่งมีความทุกข์มาก ทุกข์มันเกิดมาเพราะอะไรจะต้องดูมัน ไม่ใช่นั่งให้มันหมดทุกข์เฉย ๆ

บัด นี้ฉันหนักแล้วเพราะอะไร เพราะยกแก้วขึ้นมามันถึงหนัก ถ้าปล่อยมันเฉยๆ แก้วนี้มันไม่หนัก หนักก็ไม่ปรากฏกับเรา เพราะเราไม่ไปสัมพันธ์กับมันมันก็ไม่หนัก เรื่องทุกข์มันเป็นอย่างนั้น

แล้ว ทำไมมันถึงหนัก ทำไมมันถึงทุกข์ เพราะไปจับทุกข์มาไว้ แต่เราไม่เข้าใจว่าทุกข์ ว่าทุกข์นั้นจะเป็นของประเสริฐ ว่าทุกข์จะเป็นของดี ให้วางก็วางไม่ได้ ให้ปล่อยก็ปล่อยไม่ได้ ก็หนักอยู่อย่างนั้น ก็ทุกข์อยู่อย่างนั้น



ที่มา จากเทปพระธรรมเทศนาของหลวงปู่ชา หนังสือมรดกธรรม เล่มที่ ๑๓ เรื่อง ความผิดในความถูก
และhttp://www.dhammajak.net/

 


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: