พม่า : ประวัติศาสตร์ และ ชนชาติ โดย Somkiat สมเกียรติ อ่อนวิมล
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
เมษายน 29, 2024, 06:10:34 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พม่า : ประวัติศาสตร์ และ ชนชาติ โดย Somkiat สมเกียรติ อ่อนวิมล  (อ่าน 3893 ครั้ง)
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3004


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« เมื่อ: พฤศจิกายน 12, 2010, 09:20:32 AM »

พม่า : ประวัติศาสตร์ และ ชนชาติ
 
โดย   สมเกียรติ อ่อนวิมล
 

แต่เดิมชื่อประเทศพม่าเรียกว่า “Burma”  มาจากคำภาษาพม่า ว่า “Barma” ซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ในพม่า ในประวัติศาสตร์ไทย จึงเรียกชื่อประเทศว่า “พม่า” มาจนทุกวันนี้ คำว่า “Barma“ หรือ
“Burma” ก็เป็นภาษาถิ่นที่หมายถึงคำเป็นทางการว่า “Mrama” / “Mranma” หรือ “Myanmar”
ต่อมาในปี 1989 รัฐบาลพม่าประกาศให้เรียกชื่อประเทศเป็นทางการว่า “Myanmar”

 
ล่าสุด เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553 / ค.ศ. 2010 “สหภาพพม่า” หรือ “Union of Myanmar” เปลี่ยนชื่อเต็มของประเทศใหม่ตามกฎหมายใหม่อย่างเป็นทางการ เป็น “Republic of the Union of Myanmar” หรือ “สาธารณรัฐสหภาพพม่า”
และเปลี่ยนธงชาติใหม่ จากแบบเดิมที่ใช้มาตั้งแต่ปี 1974 นั้น มีพื้นสีแดง มีแถบสีน้ำเงินและดาวสีขาว 14 ดวง แทน 14 รัฐ ล้อมฟันเฟืองอุตสาหกรรมและรวงข้าว อยู่บนมุมซ้ายบน
สำหรับธงชาติใหม่ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีแถบแนวยาวขนานกัน
สีเหลือง สีเขียว และ สีแดง มีดาวสีขาวตรงกลาง 1 ดวง:
สีเหลือง คือความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวของชนในชาติ
สีเขียว หมายถึงสันติภาพ ความสงบสุข และความอุดมสมบูรณ์
และสีแดง แสดงถึงความกล้าหาญ มุ่งมั่น
ดาวสีขาวกลางผืนธงชาติ หมายถึงความสำคัญของการเป็นสหภาพ หรือ Union
การเติมคำว่า “Republic” หรือ “สาธารณรัฐ” นำหน้าชื่อเดิมของประเทศก็เพื่อระบุรูปแบบการปกครองแบบสาธารณรัฐ ให้ชัดเจนเป็นทางการ เพราะพม่าจบสิ้นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปตั้งแต่ถูกอังกฤษรุกรานและยึดเป็นอาณานิคม ตั้งแต่ปี 1885 แล้ว
อาณาจักรพุกาม เป็นราชอาณาจักรแรกเริ่มของแผ่นดินพม่า ล่มสลายเมื่อปี 1287 ทิ้งไว้เป็นมรดกแห่งประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรยุคแรก วัด และ เจดีย์อายุกว่า 1,000 ปี จำนวนกว่า 4,000 แห่ง ในอาณาบริเวณ 42 ตารางกิโลเมตร ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำอิระวดี ภาคกลางของประเทศ
พุกาม เป็นอาณาจักรแรกเริ่มของชนชาติพม่า ซึ่งเรียกในภาษาพม่าว่า “มราม่า” (Mrama)
หรือ “เมียน” (Mien) โดยได้ต่อสู้แย่งชิงอำนาจมาจากพวก “ปยุ” หรือ “พยู” (Pyu) ประมาณคริสศตวรรษที่ 9  ดังนั้นประวัติศาสตร์ของดินแดนที่ปัจจุบันเป็นประเทศพม่าจึงย้อนหลังได้ถึงสมัยก่อนพุกาม ครั้งที่พวก “พยู” เรืองอำนาจก่อนใครในแผ่นดิน ตั้งเมืองหลวงชื่อว่า “ศรีเกษตร” (Sri Ksetra) แปลว่า “ทุ่งนาแห่งโชคลาภ” (The Fortunate Field) ภาษาพม่าเรียกว่าเมือง “ปาย” (Pyay) แปลว่า “เมืองหลวง” เรียกในประวัติศาสตร์ไทยว่าเมือง “แปร”
อาณาจักรพยูเริ่มต้นในราว ศตวรรษที่ 7 ณ บริเวณ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำอิระวดี ตอนกลางของพม่า เวลาเดียวกันชนชาติมอญก็ตั้งอาณาจักรของตนเองในดินแดนตอนล่างของแม่น้ำอิระวดี และช่วงเวลานั้นก็เกิดแคว้นย่อยๆอีกหลายแคว้น
พงศาวดารพม่าบันทึกว่าเจ้าชายจากอินเดียมาก่อตั้งแค้วน “ตะโก้ง” (Tagaung) ทางภาคเหนือก่อตั้งขึ้นก่อนพวกพยูจะสร้างเมืองศรีเกษตรด้วยซ้ำไป แต่เมื่อปราศจากหลักฐานทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์การก่อตั้งอาณาจักรในแผ่นดินพม่าจึงเริ่มที่เมืองศรีเกษตร หรือ เมืองแปร ของพวกพยู ถือเป็นเชื้อสายต้นตระกูลพม่าแต่โบราณ พวกปยุมีอิทธิพลเหนือมอญ และพยายามแผ่ขยายอิทธิพลลงไปถึงแหลมมลายู จนกระทั่งศรีเกษตรแตกในปี ค.ศ. 94 ตามที่ระบุในพงศาวดาร แต่ศิลาจารึกที่ขุดพบในศตวรรษที่ 11 ระบุว่าศรีเกษตรแตกในปี 656 ซึ่งอาจตีความได้ว่าศรีเกษตรใช้เวลากว่า 500 ปี ค่อยๆเสื่อมสลายอำนาจลงไปอย่างช้าๆ ค่อยๆเปลี่ยนฐานอำนาจให้กับอาณาใหม่ที่มั่นคงทรงพลัง คือ....อาณาจักพุกาม
อาณาจักรพุกามรุ่งเรือง ยิ่งใหญ่ กว้างไกล โดยเฉพาะในสมัยของพระเจ้าอนุรุท (Anawrahta) ยึดได้เมืองสะเทิม (Thaton) ของพวกมอญ (Mon) พงศาวดารพม่ากล่าวถึงอิทธิพลของพุกามว่ามาถึงเมืองเชียงใหม่ และขยายอำนาจถึงอาณาจักรเขมร ซึ่งระบุว่าคือสุดเขตแดนตะวันออกเฉียงใต้ของอาณาจักรพุกาม
หม่อง ทิน อ่อง นักประวัติศาสตร์พม่าและอธิการบดีมหาวิทยาลัยย่างกุ้งยกย่องว่า:
“ความสำคัญอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้าอนุรุท คือ การรวบรวมชนชาติต่างๆกันให้เข้าเป็นชาติ เดียวกัน พระองค์ทรงรอบคอบมาก จนกระทั่งชาวพม่าของพระองค์มิอาจไปแสดงตนอยู่ เหนือชนชาติอื่นๆ ได้ แต่พระองค์ยังคงมีคารวะต่อพวกปยุซึ่งหมดความเจริญไปก่อนหน้า
นั้นไม่นาน”
 
การรวมชนเผ่าและเชื้อชาติต่างๆในพม่า ให้เป็นหนึ่งภายใต้ราชอาณาจักรเดียวกัน เป็นความสำเร็จของราชอาณาจักรพุกามแต่ก็เป็นปัญหาที่รุมเร้าและสั่นคลอนความมั่นคงของสหภาพพม่าในอีก 1,300 ปีต่อมา
Marco Polo นักเดินทางชาวเวนิส เล่าไว้ว่าพระจักรพรรดิกุบไลข่านแห่งเมืองจีนส่งกองทัพเข้าบุกทำลาย Mien หรือ พม่าในสมัยพุกาม ที่ไม่ยอมส่งเครื่องราชบรรณาการ จนพุกามแตกในปี 1287 แต่พวกมองโกลก็มิได้อยู่จัดระเบียบการปกครองให้พม่าเป็นเมืองขึ้นอย่างถาวรแต่อย่างใด จากนั้นพุกามก็แยกแตกเป็นแว่นแคว้นต่างๆ
แคว้นเหนือ ที่พุกาม อยู่ใต้อิทธิพลของพวกมองโกล
เหนือพุกามขึ้นไปเป็นแคว้นอังวะ
แคว้นยะไข่ หรือ อาระกัน (Arakan)ทางตะวันตกของภาคกลาง ติดบังคลาเทศปัจจุบัน
ใต้สุด พวกมอญกลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง ณ เมืองหลวง พะโค หรือ “หงสาวดี” (Bago) เป็น   ศูนย์อำนาจของชาวมอญยาวนานถึงเกือบ 200 ปี

หงสาวดีโบราณ
พะโค (Bago / Pegu) หรือ “หงสาวดี” (Hanthawady / Hamsavati) แปลว่าราชอาณาจักรของหงส์ ตั้งอยู่ห่างจากกรุงย่างกุ้งไปทางตะวันออกเฉียงเหนือเพียง 80 กิโลเมตร เป็นเมืองหลวงของชาวมอญ ระหว่างปี  1369-1539 แล้วกลับถูกราชวงศ์ตองอู(Toungoo) แห่งเมืองอังวะ (Ava) ยึดเป็นเมืองหลวงใหม่ของพม่าในช่วงเวลาต่อมาในช่วงปี 1539-1599 และ 1613-1634 หงสาวดีหลังมอญสิ้นอำนาจนี้เองคือฐานกำลังของกองทัพพม่าที่ยาตราเข้าทำสงครามกับกรุงศรีอยุธยา

หงสาวดีใหม่

หงสาวดี & CP
การเข้ามาล่าอาณานิคมพม่าโดยชาติตะวันตก โดยเฉพาะอังกฤษและฝรั่งเศส คือประวัติศาสตร์ที่ขมขื่นของชาวพม่า หลังชัยชนะของอังกฤษในสงครามอังกฤษกับพม่าครั้งที่สอง ยังผลให้หงสาวดีถูกยึดแล้วผนวกเข้าเป็นดินแดนในอาณานิคม ในปี 1852 พม่าที่แตกแยกแย่งชิงอำนาจกันเองระหว่างชนเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ต่างๆ อ่อนแอสิ้นพลังลง ตกเป็นทาสอาณานิคมของอังกฤษ
อังกฤษทำสงครามกับพม่า 3 ครั้ง ในช่วงปี 1824-1826, 1852-1853, และ 1885 เริ่มต้นด้วยสงครามทางเรือ ในภาคใต้ของพม่า เข้าโจมตีเมืองย่างกุ้ง ค่อยๆขยับขึ้นเหนือ จนในที่สุดยึดพม่าตอนบนได้จากพระเจ้าธีบอ (Thibaw) พม่ากลายเป็นจังหวัดหนึ่งของอังกฤษ (Province of British Burma) ที่ปกครองอาณานิคมอินเดียอยู่ในตอนนั้น พระเจ้าธีบอ (Thibaw) แห่งราชวงศ์คองบอง (Konbaung) เป็นพระองค์สุดท้ายของระบอบกษัตริย์ของพม่า ต่อจากนั้นพม่าก็สูญสิ้นเอกราชโดยบริบูรณ์
หากนับจากปี 1826 อันเป็นสิ้นสุดสงครามอังกฤษ-พม่า ครั้งที่ 1 จนถึงปี 1948 อันเป็นปีที่ได้รับเอกราช พม่าตกเป็นทาสอาณานิคมของอังกฤษ นาน 122 ปี โดยถูกปกครองเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมอินเดียถึงปี 1937 และเปลี่ยนสถานะเป็นประเทศอาณานิคมแยกออกจากอินเดียเป็นเอกเทศ จากปี 1937 ถึงปีเอกราช 1948
 
สาธารณรัฐสหภาพพม่า มีขนาดพื้นที่ 676,577 ตารางกิโลเมตร ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของอาเซียน
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกสุดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ประกอบกันเป็นเขตภูมิภาคอาเซียน
พรมแดนติดบังคลาเทศ อินเดีย จีน ลาว และไทย พื้นทีู่มิประเทศเป็นเทือกเขาโดยรอบทางด้านตะวันตกและด้านเหนือ ส่วนด้านตะวันออกเป็นที่ราบสูงและภูเขา เป็นแนวเทือกขเาทอดยาวต่อจากเทือกเขาหิมาลัย จากเหนือลงใต้ เป็น 3 แนวเขา ทางตะวันตก มี เทือกเขานาคา (Naga Hills), เทือกเขาชิน (Chin Hills), และ เทือกเขายะไข่ (Rahkine Yoma); ตอนกลาง มี เทือกเขาพะโค (Bago Yoma); แถบตะวันออก เป็นที่ราบสูงฉาน (Shan Plateau)
แม่นำ้สายสำคัญ ไหลขนานกันจากเหนือ ลงใต้ คือ แม่น้ำชินด์วิน (Chindwin), แม่น้ำสะโตง(Sittoung), แม่น้ำสาละวิน (Thanlwin), และ แม่น้ำอิรวดี (Ayeyarwady / Irrawaddy)
อิรวดี เป็นแม่น้ำสายสำคัญที่สุด มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัย ไหลผ่านใจกลางของประเทศ ความยาว 2,170 กิโลเมตร ลงสูทะเลอันดามัน อิระวดีเป็นทั้งทางนำน้ำแห่งเศรษฐกิจและการคมนาคม
เป็นทั้งแหล่งที่ตั้งศูนย์กลางทางการเมืองการปกครอง เมืองหลวงสำคัญในประวัติศาสตร์ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำอิรวดี คือเมืองอังวะ (Ava), อมรปุระ (Amarapura), แปร (Prome), พุกาม (Bagan), และ
มัณฑะเลย์ (Mandalay)
มัณฑะเลย์คือดินแดนแกนกลางของวัฒนธรรมพม่าแต่โบราณ เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยศิลปะและวัฒนธรรมแห่งชาติแห่งที่ 2 ของพม่า ศาสนาพุทธเจริญรุ่งเรืองในพม่ามาตั้งแต่สมัยโบราณ และวัดวาอารามในมัณฑะเลย์ก็แสดงออกซึ่งวัฒนธรรมแห่งพุทธศาสนาในพม่าที่ผ่านมาและหยั่งรากลึก
นานพร้อมๆกับประวัติศาสตร์พม่า นอกจากนั้นมัณฑะเลย์ปัจจุบันยังเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวภาคเหนือของพม่า เมืองหลวงของเขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region) สินค้าจากจีนหลั่งไหลเข้าพม่าผ่าน มัณฑะเลย์ นักท่องเที่ยวจากทั่วโลก หากมาพม่า ต้องมามัณฑะเลย์ด้วย การประชุมสำคัญของอาเซียน ส่วนใหญ่จะเลือกมัณฑะเลย์เป็นที่จัดประชุม หากไม่ไปที่ย่างกุ้ง โรงแรมชั้นหนึ่งแห่งแรกของมัณฑะเลย์ คือ Mandalay Hill Resort Hotel เป็นของนักลงทุนชาวไทย มัณฑะเลย์คือสเน่ห์แห่งศิลปะ และ วัฒนธรรมพม่า
 
ตามตัวเลขในปี 2008 พม่ามีประชากร  58,510,000 คน มากเป็นที่ 5 ของอาเซียน ประชากรส่วนใหญ่กว่า 80% นับถือศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท หรือ หินยาน เช่นเดียวกับในประเทศไทย  ลาว และ กัมพูชา ประชากรส่วนน้อยที่เหลือ นับถือศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาฮินดู
ศาสนาพุทธในพม่ามีต้นกำเหนิดยาวนานแต่ครั้งโบราณ และนับถือสืบต่อกันมาจนกลายเป็นวิถีชิวิตและวัฒนธรรมประจำชาติ ประจำหัวใจชาวพม่าทุกชุมชนหมู่บ้าน วัดในศาสนาพุทธ และเจดีย์ในวัด ตลอดจนเจดีย์ที่นิยมสร้างอุทิศแผ่บุญกุศลในพื้นที่นอกวัดมีกระจายอยู่ ทุกหนแห่ง ทั่วประเทศ

เจดีย์ชเวดากอง - ย่างกุ้ง
ที่สุดแห่งพระมหาเจดีย์ของพม่าคือเจดีย์ชเวดากอง บนเนินเขาสูง 58 เมตร องค์มหาเจดีย์ทองตั้งตระหง่านสูงเสียดฟ้าขึ้นไปอีก 98 เมตร ไม่ว่าจะอยู่จุดไหนของนครย่างกุ้ง ก็จะได้เห็น “ชเวดากอง”
“ชเว” (Shwe)  แปลว่า “ทองคำ” (Golden), “ดากอง” (Dagon) เป็นชื่อเดิมของเมือง มาจากคำภาษาบาลีว่า “ตีกุมภะ” (Tikhumba) แปลว่า “หม้อสามใบ” (Three Pots) หมายความว่าเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ระหว่างเนินเขาสามลูกที่มีลักษณะเหมือนหม้อสามใบล้อมรอบเมืองอยู่ ชเว-ดากอง จึงแปลว่า “เจดีย์ทองแห่งเมืองสามหม้อ”
ตามตำนาน เจดีย์ชเวดากองมีอายุถึง 2,500 ปี ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ก็อาจระบุได้ว่าชาวมอญเป็นผู้สร้างเจดีย์อันศักดิ์สิทธิ์นี้ในช่วงเวลาระหว่างคริสศตวรรษที่ 6 - 10 ยิ่งใหญ่ สง่างาม เป็นศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ ที่สุดของชาวพม่า แต่ก็มีบันทึกโบราณของพระสงฆ์ที่บอกว่ามีเจดีย์ชเวดากองถูกสร้างขึ้นก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จปรินิพพานเสียด้วยซ้ำไป เจดีย์ชเวดากอง บรรจุพระบรมเกษาของพระพุทธองค์ ที่ได้มาจากอินเดียสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งแคว้นมคธ พระมหาเจดีย์ทองแห่งเมืองดากอง ประดิษฐานเด่นอยู่กลางมหานคร ที่เป็นเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศ เป็นนครหลวง และหัวใจของเศรษฐกิจของชาติมายาวนาน
ชื่อเมือง “ดากอง” แต่ดั้งเดิม ที่แปลว่า “เมืองสามหม้อ”  ในปี ค.ศ. 1756 พระเจ้าอลองพญา ต้นราชวงศ์คองบอง ทรงให้เปลี่ยนชื่อเมืองหลวง “ดากอง” เป็น “ยางกอง” สะกดเป็นภาษาอังกฤษ ว่า
“Yangon” และออกเสียงแบบไทยว่า “ย่างกุ้ง” ในภาษาพม่าแปลว่าเมือง “ศัตรูพ่าย” หรือ “สิ้นศัตรู”
(The End of Enemies) ในโอกาสที่พระองค์ทรงปราบชนเชื้อชาติต่างๆได้และเริ่มกระบวนการรวมทุกชนเผ่าให้สมานสามัคคีรวมเป็นประเทศชาติเดียวกัน ในสมัยตกเป็นอาณานิคม ชาวอังกฤษเรียกชื่อเมืองว่า “Rangoon” จนกระทั่งรัฐบาลพม่ากลับมาใช้ชื่อ “Yangon” ตามเดิมอีกครั้งในปี 1989
Yangon หรือ ย่างกุ้ง เป็นศูนย์กลางการเมือง และ เศรษฐกิจ ของพม่า ต่อเนื่องมาแต่ก่อนสมัยอาณานิคม จนกระทั่งปัจจุบัน
320 กิโลเมตร ทางเหนือของกรุงย่างกุ้ง คือที่ตั้งเมืองหลวงใหม่ของพม่า ตั้งชื่อว่า
“เน ปิ ดอว์” “Nay Pyi Taw” แปลว่า “พระราชนิเวศน์” หรือ “เมืองของพระเจ้าแผ่นดิน” (“Abode of the Kings” | “Seat of the King”) การก่อสร้างเมืองหลวงใหม่ เนปิดอว์ เริ่มในปี 2002 บนเนื้อที่ 7,054 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 1 ล้านคน กระทรวงทบวงกรม และส่วนราชการต่างๆเริ่มทะยอยย้ายออกจากย่างกุ้งมาอยู่ที่ Nay Pyi Taw ตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน ปี 2005 ขณะที่การก่อสร้างยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ ทั้งอาคารที่สำคัญต่างๆ เช่นทำเนียบรัฐบาล และอาคารรัฐสภา โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระมหาเจดีย์องค์ใหม่ที่จะยิ่งใหญ่เฉกเช่นชเวดากอง หลายหน่วยงานของพม่า ยังคงอยู่ที่่ย่างกุ้ง ส่วนสถานฑูตต่างประเทศทั้งหมด ณ ปี 2010 ยังคงอยู่ที่ย่างกุ้ง แม้ว่ารัฐบาลพม่าได้จัดพื้นที่เป็นเขตพิเศษโดยเฉพาะไว้ให้แล้ว เนปิดอว์ จัดเป็นเขตเมืองหลวงพิเศษแยกต่างหากจากเขตการปกครองทั่วไป
ตำแหน่งที่ตั้งตรงใจกลางของประเทศ ใกล้กับเขตรัฐของชนเชื้อชาติกลุ่มน้อย รัฐฉาน (Shan), กะยา(Kayah) และ กะเหรียง (Karen)
ชนชาติ Bamar หรือ พม่า เป็นชนชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ที่สุด ปกครองประเทศมายาวนาน เป็นที่มาของชื่อประเทศ “พม่า” แต่กลุ่มชนชาติพันธุ์สำคัญอื่นๆก็อยู่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศ โดยกลุ่มใหญ่ๆก็จะได้เขตปกครองเป็น 7 รัฐ หรือ State คือ:
Kachin State - กะฉิ่น
Kayah State - กะยา
Kayin State - กะเหรียง
Chin State - ชิน
Mon State - มอญ
Rakhine State - ยะไข่
Shan State - ฉาน
รวมประชากรชนเชื้อชาติกลุ่มน้อย 13,295, 000 คน
Kachin - กะฉิ่น มีจำนวนประมาณ 1,200,000 คน อยู่ทางเหนือสุดของประเทศ ติดอินเดียและธิเบตของจีน อพยพมาจากจังหวัดยูนนานทางใต้ของจีน มีภาษาของตนเอง ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์
Kayah - กะยาอยู่บนพื้นเขาสูงทางภาคตะวันออก ติดประเทศไทย ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
มีจำนวนประมาณ150,000 คน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์
Kayin - กะเหรียง อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ ติดกับพรมแดนไทย ที่จังหวัดกาญจนบุรี แม่ฮ่องสอน และ จังหวัดตาก มีจำนวนประชากรราว 4,000,000 คน เป็นชนกลุ่มใหญ่อันดับสาม รองจากพวกเชื้อชาติพม่า และ ฉาน ส่วนใหญ่นักถือศาสนาพุทธ ประมาณ 20% นับถือศาสนาคริสต์
Chin - ชิน เป็นชาวเขาทางตะวันตก มีประมาณ 1,500,000 คน
Mon - มอญ อยู่ติดเขตแดนไทยทางภาคตะวันตก ที่จังหวัดกาญจนบุรี ชาวมอญ คือชนชาติผู้นำความเจริญและวัฒนธรรมศาสนาพุทธและภาษาเขียนมาสู่พม่าสมัยโบราณ และเชื่อว่าเป็นผู้สร้างเจดีย์ชเวดากอง ปัจจุบันมีจำนวนชาวมอญในพม่าราว 2,500,000 คน
Rakhine - ยะไข่ ติดพรมแดนอินเดีย ได้รับอิทธิพลศาสนาพุทธจากอินเดียโดยตรง มีภาษาของตนเอง จำนวนประชากรประมาณ 2,7000,000 คน
Shan - ฉาน  เป็นชนกลุ่มน้อยที่เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดในบรรดา 7 กลุ่ม ในพม่า และรัฐฉานก็เป็นรัฐขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุดในพม่าด้วย พื้นที่ติดจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอนของไทย
ประชากรประมาณ 4 ล้านคน ชนชาวฉานเป็นชาวไทยใหญ่กลุ่มหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่อพยพมากจากจังหวัดยูนนานของจีน จากนั้นบางส่วนก็มาตั้งถิ่นฐานในสยามแต่อดีตด้วย
ประชากรส่วนที่เหลือที่เป็นชาวพม่าดั้งเดิมก็จัดเป็นเขตการปกครองเรียกว่า “เขต” หรือ “Region” ที่เดิมเรียกว่า “Division” มีทั้งหมด  7 เขต รวมประชากร ชาติพันธุ์พม่า 34,630,400 คน ชนเชื้อชาติพม่า ต่อ กลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มน้อย คิดเป็นสัดส่วนได้ประมาณ 3 ต่อ 1 การหลอมรวมพลเมืองที่มาจากต่างเชื้อชาติ ต่างประวัติศาสตร์ ต่างสังคม ต่างภาษา ต่างประเพณี ต่างวัฒนธรรม เป็นภาระกิจอันสำคัญที่รัฐบาลพม่าหลังเอกราชต้องทำ เพื่อให้พม่า เป็นสาธารณรัฐที่เป็นสหภาพแห่งความสามัคคีกลมเกลียวกันอย่างกลมกลืน เมื่อพ้นจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษ พม่าก็ปกครองประเทศด้วยระบบการเมืองที่เป็นกระบวนการทดลองปรับเปลี่ยนรูปแบบไปตามความผันแปรของสภาวะการณ์ บางช่วงก็ทดลองให้มีการเลือกตั้งในครรลองประชาธิปไตย บางช่วงก็รวมศูนย์อำนาจที่ฝ่ายทหาร  บางช่วงก็ก็ใช้อุดมการณ์สังคมนิยม บางช่วงก็เกือบปิดประเทศพยายามจัดการปัญหาในประเทศในแบบที่ไม่รับการตรวจสอบจากสังคมโลก แต่พม่าก็ค่อยๆเคลื่อนย้ายเข้าสู่ระบบการเมืองที่มีรูปแบบและเนื้อหาของความเป็นประชาธิปไตยตามจังหวะเวลาที่เหมาะสมสำหรับสังคมที่ซับซ้อนของพม่าเอง
วันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1997 หลังจากได้รับเอกราช 49 ปี และหลังอาเซียนเกิดมาได้ 30 ปี สหภาพพม่าก็เดินหน้าเข้าร่วมประชาคมกับ “สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” พร้อมกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ถือเป็นสมาชิกอาเซียนลำดับที่ 9
แสดงความพร้อมของพม่าในการที่เปิดประตูสู่โลกของความร่วมมือระหว่างประเทศในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนแล้ว พม่าก็ได้เข้าร่วมกิจกรรมทุกอย่างในกระบวนการความร่วมมือในกรอบอาเซียน ทั้งการเมือง-ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
พม่าส่งตัวแทนเข้าร่วมการประชุมทุกระดับอย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่ระดับคณะทำงาน เจ้าหน้าที่อาวุโส รัฐมนตรี ไปจนถึงการประชุมสุดยอดอาเซียน
ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของเขตการค้าเสรีอาเซียน พม่าจัดอยู่ในกลุ่ม 4 รัฐสมาชิก ที่พัฒนาเศรษฐกิจช้ากว่ารัฐสมาชิกอื่น ได้แก่ กัมพูชา | Cambodia, ลาว | Lao, พม่า | Myanmar, และ
เวียดนาม | Vietnam เรียกว่ากลุ่ม CLMV (รวมอักษรนำหน้าชื่อทั้งสี่ประเทศ) ซึ่งอาเซียนจะให้ความยืดหยุ่นเป็นพิเศษแก่ประเทศ CLMV ในการ เตรียมความพร้อมที่จะปฏิบัติตามความตกลงทางเศรษฐกิจ แต่พม่าก็เริ่มลดอัตราภาษีศุลกากรตามความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนไปแล้วตั้งแต่ปี 2000 การเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนส่งผลกระทบเชิงสร้างสรรค์ต่อการพัฒนาประเทศพม่า ทั้งด้านการเมือง และเศรษฐกิจ การค้าระหว่างพม่ากับอาเซียนเพิ่มพูนขึ้นแล้ว อาเซียนคือตลาดส่งออกที่สำคัญของพม่า และพม่าเองก็เริ่มเปิดตลาดให้อาเซียนมากขึ้นแล้ว นอกเหนือจากการค้ากับไทยซึ่งมีมายาวนานก่อน กำเหนิดอาเซียนแล้ว สินค้าไทย กิจการโรงแรม ร้านค้า ร้านอาหารพบเห็นได้เป็นปรกติในประเทศพม่า
พม่ายังเป็นประเทศที่ระบบเศรษฐกิจโดยรวมเป็นเศรษฐกิจการเกษตร
การทำนาปลูกข้าวเป็นผลผลิตหลักของพม่า บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี แม่น้ำสะโตง แม่น้ำะวาย-มะริด เป็นพื้นที่ทำนาข้าว ปอกระเจา อ้อย และพืชผลอื่น, ในรัฐฉานมีการปลูกผักเป็นจำนวนมาก, ภาคกลางตอนบนมีอุตสาหกรรมน้ำมันและเหมืองแร่, มีเหมืองแร่สังกะสีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, เหมืองดีบุกในภาคตะวันออกเฉียงใต้, มีเพชรและหยกจำนวนมากที่เมืองมะริด
ป่าไม้ทั้งป่าสักและไม้อื่นๆมีอยู่อุดมสมบูรณ์ในพม่า โดยเฉพาะภาคเหนือ ส่วนภาคอุตสาหกรรมก็กำลังอยู่ในช่วงการค่อยๆพัฒนา
 
    รายได้ประชาชาติอาเซียน 2008
    (GDP per capita $US)
 
1. Singapore      37,629
2. Brunei            35,623
3. Malaysia           7,970
4. Thailand            4,117
5. Indonesia          2,237
6. Philippines        1,844
7. Vietnam             1,053
8. Lao                       918
9. Cambodia            756
10.Myanmar             465
 
[สถิติอาเซียน 2009]
 
พม่าจัดเป็นประเทศที่ยังพัฒนาน้อย ตามความหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจในโลกเศรษฐกิจแบบเสรีในปัจจุบัน ผลผลิตทางเศรษฐกิจโดยรวมของพม่า เป็นอันดับที่ 7 ในอาเซียน (ปี 2008 = $27,182 ล้าน)รายได้ต่อหัว ต่อปี ของประชาชนพม่าอยู่อันดับสุดท้ายของอาเซียน (ปี 2009 = $465)
 
สมเกียรติ อ่อนวิมล
10 พฤศจิกายน 2553


บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ

kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน630
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2363


NightBaron


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2010, 07:36:39 AM »

ขอบคุณครับ ได้ความรู้    ดีใจจัง  Cheesy
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!