สมาธิ ทางสงบ ถอดจิต แนวคำสอนสมเด็จโต
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สมาธิ ทางสงบ ถอดจิต แนวคำสอนสมเด็จโต  (อ่าน 11306 ครั้ง)
kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน630
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2363


NightBaron


เว็บไซต์
« เมื่อ: ตุลาคม 29, 2010, 08:18:29 AM »



พระราชดำรัสคุณธรรมสี่ประการ
" การรักษาอิสรภาพและความเป็นไทยให้ดำรงมั่นคงยืนยาวไป ถือว่าเป็นกรณียกิจอันสำคัญสูงสุด นอกจากต้องอาศัยการบริหารประเทศที่ฉลาดสามารถ และสุจริตเป็นธรรมแล้ว ยังต้องอาศัยความร่วมมือสนับสนุนจากประชาชนทั้งประเทศด้วย คือประชาชนแต่ละคนจะต้องขวนขวายสร้างสรรค์ประโยชน์ และดำรงอยู่ในคุณธรรมอันสมควรแก่ฐานะของตน คุณธรรมที่ทุกคนควรจะศึกษาและน้อมนำมาปฏิบัติมีอยู่สี่ประการ

ประการแรก คือการรักษาความสัจ ความจริงใจต่อตัวเอง ที่จะประพฤติปฏิบัติ แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม
ประการที่สอง คือการรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจ ความดีนั้น
ประการที่สาม คือการอดทน อดกลั้น และอดออมที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริต ไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด
ประการที่สี่ คือการรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริตและรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตน เพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง

คุณธรรมสี่ประการนี้ ถ้าแต่ละคนพยายามปลูกฝังและบำรุงให้เจริญงอกงามขึ้นโดยทั่วกันแล้ว จะช่วยให้ประเทศชาติบังเกิดความสุข ความร่มเย็น และมีโอกาสที่จะปรับปรุงพัฒนาให้มั่นคงก้าวหน้าต่อไปดังประสงค์ "

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า งานเฉลิมสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ 200 ปี ณ พลับพลาพิธีท้องสนามหลวง วันจันทร์ที่ 5 เมษายน พุทธศักราช 2525


ถวายกุศล

หนังสือเล่มนี้ ผู้เขียน เขียนขึ้นมาจากประสบการณ์ของการอ่าน เรียน ฟังรู้และปฏิบัติและเก็บประสบการณ์จากการอบรมสั่งสอนตามแนวคำสอนของครูอุปัชฌาย์อาจารย์ทุกๆพระองค์ ทุกๆท่าน ท่านที่ได้กรุณาถ่ายทอดแก่ผู้เขียน

ส่วนใดที่เป็นความดีที่เป็นกุศล ผู้เขียนขอถวายแด่ครู อุปัชฌาย์ อาจารย์ทุกๆพระองค์ ทุกๆท่าน

ส่วนใดที่มีผิดตกบกพร่องล้วนอาจเกิดขึ้น เพราะผู้เขียนเรียนแล้วไม่จำ หรือยังรู้ไม่ถ่องแท้จากบทเรียนผู้เขียนขอน้อมรับความผิดแต่ผู้เดียว และขอขอบคุณคณะผู้ร่วมจัดพิมพ์ ฝ่ายโรงพิมพ์ ฝ่ายเผยแพร่ และคณะฝ่ายวิชาการทุกท่าน ณ โอกาสนี้ด้วย

กุศลจากการเผยแพร่ หนังสือนี้ ขออุทิศ แด่ผู้ให้กำเนิด ผู้เลี้ยงดูมา ผู้อุปถัมภ์ตลอดจนเจ้ากรรมนายเวรทุกท่านด้วยเทอญ ฯ

แสง อรุณกุศล

__________________


บันทึกการเข้า

kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน630
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2363


NightBaron


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2010, 08:18:51 AM »

บทนำ

ทุกวันนี้ มนุษย์เราเกือบจะเรียกได้ว่า อยู่ในยุคแห่งกลียุคอย่างแท้จริง จะเห็นได้จากภาวะสังคมที่วุ่นวายยิ่งขึ้นทุกๆวัน บรรยากาศในสังคมโลกมนุษย์จึงทวีความตึงเครียดยิ่งขึ้น โดยเฉพาะคนที่อยู่ในป่าคอนกรีตกำลังถูกบรรยากาศดังกล่าวบีบรัดให้เสียสุขภาพทางจิตอย่างใหญ่หลวง

คณะผู้จัดทำได้เล็งเห็นความสำคัญในอันที่จะต้องช่วยกันแก้ไขภาวะอันเลวร้ายนี้ให้ดีขึ้นด้วยการหาวิธีการอย่างง่ายๆ เพื่อแนะนำทางปฏิบัติให้จิตสงบ รักษาผ่อนคลายความตึงเครียดของจิตและเป็นจุดแห่งการฝึกจิตให้เกิดสมาธิ ก่อเกิดปัญญา ก่อเกิดพลังภายในกายช่วยเสริมสร้างซ่อมแซมให้ผู้ปฏิบัติมีร่างกายแข็งแรง มีพลานามัยสุขสมบูรณ์สืบต่อไป

ในขณะเดียวกัน ผู้หวังการฝึกสมาธิสูงขึ้นก็จะได้ศึกษาเรื่องการถอดจิตอีกเรื่องหนึ่งเพื่อจะได้เข้าใจเรื่องการพิจารณา กายในกาย จิตในจิต วิญญาณในวิญญาณ ให้รู้ซึ้งเข้าใจมากขึ้น อันจะมีผลต่อเนื่อง เข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรม วัฏฏะสงสาร วิญญาณมีจริงหรือไม่

สุดท้าย ศึกษาเรื่องผลพลอยได้จากการฝึกสมาธิด้วย อันจะเป็นการเพิ่มพูนความรู้อีกแนวหนึ่ง ซึ่งท่านสามารถพิสูจน์ได้ด้วยการทดลองปฏิบัติ

หนังสือนี้ไม่ใช้เป็นเพียงทฤษฎี แต่เป็นหนังสือภาคปฏิบัติที่ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ดีด้วยตนเอง โดยปราศจากอันตราย เพราะเขียนด้วยภาษาง่ายๆเป็นไปตามขั้นตอนของการปฏิบัติตลอดเล่ม จึงหวังว่า หนังสือนี้จะช่วยให้ท่านฝึกจิตให้สงบได้อย่างแท้จริง

หลักการอ่านหนังสือเล่มนี้

ขอให้อ่านตลอดตามลำดับให้จบเล่มเที่ยวหนึ่งก่อนแล้วจึงอ่านอีกเที่ยวจนเข้าใจความหมายของแต่ละขั้นตอนเพื่อเป็นแผนที่ประกอบการเดินทาง ให้รู้ว่าที่ใดมีหลุมมีบ่ออันอาจจะทำให้เกิดอันตรายได้ แล้วปฏิบัติตามลำดับ ไม่กระโดดข้ามขั้นตอน ก็จะได้ปฏิบัติดำเนินไปด้วยดี
__________________
บันทึกการเข้า
kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน630
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2363


NightBaron


เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2010, 08:19:38 AM »

ตักเตือนตน

ตนเตือนตน ของตนให้พ้นผิด

ตนเตือนจิตตนได้ ใครจะเหมือน

ตนเตือนตนไม่ได้ ใครจะเตือน

ตนแชเชือน เตือนตนให้พ้นภัย

สลัดความชั่วได้ เป็นผล

ประกอบชอบแก่ตน แน่วไว้

ใจบริสุทธิ์ปราศมูล ทินโทษ

ดังฟอกผ้าขาวให้ เพื่อย้อม สีสวย

(ของเก่า)

จากสุภาษิตและคำพังเพยของไทย

__________________
บันทึกการเข้า
kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน630
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2363


NightBaron


เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2010, 08:19:58 AM »

หน้า1

หยุดพิจารณา

ด่วนตัดสินใจ โง่เขลาเบาปัญญา

ไม่เอาอะไรเสียเลย เกิดมาไร้ค่า

…………………………………………

เชื่อมั่นตัวเองมากเกินไปเกิดอัตรายึดมั่นถือตน

จะมองไม่เห็นความคิดเห็นคนอื่น

ทำให้เกิดช่องว่างได้ง่าย

…………………………………………..

ศรัทธาแก่กล้าจัดเกินไปโดยไม่ใช้สติปัญญาพิจารณา

จะลุ่มหลงเชื่ออย่างงมงายไร้เหตุผล ทำให้เสียการได้

………………………………………….

ขอเชิญท่านหยุดพิจารณากับเรา แล้วเดินไปสู่

“ทางสงบ”



หน้า2

ท่านเครียดมาทั้งวัน มาพักผ่อนกับทางสงบสักวันละ 10 นาที

พิจารณาก่อนนอน

ก่อนหลับ ก่อนนอน ให้กราบบนหมอน 5ครั้ง

ด้วยกราบระลึกถึง พระพุทธ 1 พระธรรม 1

พระสงฆ์ 1 บิดามารดา 1 ครูอุปัชฌาย์อาจารย์และผู้มี

พระคุณทุกๆท่าน 1

แล้วรวมจิตนั่งสงบครู่หนึ่ง นึกพิจารณาทบทวน

ย้อนหลังตั้งแต่เช้าถึงก่อนนอนว่า ท่านทำผิดศีลข้อไหน

บ้าง และบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมหรือยัง

ขอให้ท่านพิจารณาทบทวนแล้วปรับปรุงตนเอง

สู่ทางดีสมกับที่เขาเรียกมนุษย์ว่า “ สัตว์ประเสริฐ”
__________________
บันทึกการเข้า
kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน630
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2363


NightBaron


เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2010, 08:21:19 AM »

หน้า3

ภาคโลกียวิสัย

เพื่อฆราวาส สามัญชน ที่ยังอยู่ในโลกียะ

และเป็นพื้นฐานของการฝึกจิตให้สูงขึ้น

วิธีฝึกสมาธินี้เป็นวิธีง่ายๆ ที่ไม่เร้นลับซับซ้อน

เป็นวิธีที่เหมาะกับทุกเพศ ทุกวัย

ช่วยรักษาให้ร่างกาย และจิตใจมีสุขภาพพลานามัยดี

เพียงแต่ท่าน

“ ศรัทธาเชื่อมั่น จริงใจ หมั่นฝึกฝนตน”

การฝึกสมาธินี้ได้ประโยชน์ทั้งการพัฒนาร่างกาย

และพัฒนาจิตใจดังต่อไปนี้


หน้า4

ประโยชน์จากสมาธิเพื่อพัฒนาร่างกาย

โครงสร้างอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายคนเรานั้น พอจะแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ คือเส้นประสาท กล้ามเนื้อ และกระดูก

อวัยวะเหล่านี้แบ่งวงจรการทำงานหลักๆ ดังนี้

1. การหายใจและการย่อยอาหาร เพื่อดูดซึมไป หล่อเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย

2.การโคจรหมุนเวียนของมวลสาร ที่ถูกดูดซึม เข้าไปในร่างกาย

3.การขับถ่ายของเสียที่ร่างกายไม่ต้องการออกไป

การทำงานของร่างกายเรานั้น ไม่ว่าจะคิดคำนึงหรือเคลื่อนไหวก็ต้องสิ้นเปลืองอาหารที่กินเข้าไปและเผาผลาญอากาศดี คือออกซิเจนให้เกิดพลังงาน

การที่เราต้องกินอาหารเพื่อย่อย และดูดซึมไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายนั้น แม้เราไม่กินอาหารหลายวันหรืออดน้ำเป็นวัน เรายังมีชีวิตอยู่ได้
__________________
บันทึกการเข้า
kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน630
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2363


NightBaron


เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2010, 08:22:02 AM »

หน้า5

แต่ถ้าเราอดกลั้นไม่หายใจ ไม่ถึง10 นาที เราก็ต้องตาย

คนเรานั้น ตั้งแต่เกิดมาร้องอุแว้ๆ ก็ต้องการลมหายใจ จะเห็นได้ว่าคนเราเมื่อเริ่มมีชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาจนคลอดออกมา ก็ต้องการอากาศหล่อเลี้ยง ร่างกาย แสดงว่ามนุษย์ สัตว์หรือสิ่งมีชีวิตตราบเท่าที่ยังมีชีวิตอยู่ก็จำเป็นต้องการลมหายใจ ถ้าขาดลมหายใจก็ไม่มีชีวิตอยู่ แม้ลมหายใจเข้าไปหล่อเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ ร่างกายของคน สัตว์และพืช ก็จะเกิดอาการเจ็บป่วยหรือไม่เจริญเติบโตตามปรกติ

ดังนั้น ลมหายใจจึงมีความสำคัญ มีค่ามหาศาลเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิตอย่างยิ่ง ถ้าเราฝึกให้ร่างกายเรามีการหายใจดูด อากาศดีเข้าไปหล่อเลี้ยง ร่างกายอย่างเต็มที่สมบูรณ์ และฝึกหัดให้อวัยวะภายในมีการบีบรัดผลักดันให้เลือดที่ตกค้างอยู่ในส่วนต่างๆให้มีการหมุนเวียนดีขึ้น ก็จะผลักดันถ่ายเทอากาศเสียออกมามากด้วย การหายใจนี้ก็จะได้ใช้เป็นประโยชน์ในการฝึกสมาธิต่อไป

หน้า6

ประโยชน์จากสมาธิเพื่อพัฒนาร่างกายมีมากมาย เช่น

1. คลายความตึงเครียดของประสาท

การฝึกสมาธิเป็นการฝึกให้จิตใจสงบระงับจากความวิตก กังวล ทำจิตใจให้เป็นหนึ่ง ตั้งมั่นมีสติไม่คิดฟุ้งซาน จิตใจละจากความพยาบาทอาฆาตมาดร้าย เมื่อนั้น ร่างกายเราก็จะแข็งแรงไม่เจ็บป่วย

สมองและประสาทส่วนต่างๆก็ได้รับการพักผ่อน จากความสงบนั้น คลายความตึงเครียดจากการที่ต้องทำ งานหนักอยู่ตลอดเวลา หัวใจก็ไม่ต้องสูบฉีดโลหิตมาก เป็นการให้โอกาสแก่อวัยวะที่สำคัญเหล่า นี้ได้พักฟื้นบ้างและยืดอายุการทำงานต่อไปได้นาน ไม่เสื่อมสลายก่อนอายุขัยของการเป็นคนที่เกิดมาใช้กรรม ทำให้ไม่เป็นโรคปวดหัวข้างเดียว มึนศีรษะ โรคประสาท โรคนอน

ไม่หลับ โรคหืดหอบ โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูงโรคกระเพาะอาหาร โรคปวดท้องเพราะประสาทเครียดโรคท้องผูก เป็นต้น

__________________
บันทึกการเข้า
kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน630
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2363


NightBaron


เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2010, 08:22:41 AM »

หน้า7

2. มีสติสัมปชัญญะ คือเมื่อฝึกสมาธิแล้ว จะทำให้มีอารมณ์ เยือกเย็นสุขุม มีสติกำกับให้รู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา การปฏิบัติงาน มีความรับผิดชอบต่อการงานสูง สามารถแก้ปัญหาการงานและปัญหาชีวิตได้อย่างถูกวิธี เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดเสียหายต่องาน จึงทำให้เป็นคนที่มีประสิทธิภาพในการทำงาน

ขณะเดียวกัน ไม่เป็นคนเผอเรอ เหม่อลอย สติเลื่อนไหลไม่อยู่กับตัว เป็นการพัฒนาบุคลิกภาพของคนให้มีจิตใจสบาย สงบ เป็นปรกติสุข หน้าตาผ่องใส มีความสง่างาม น่าคบหาสมาคม

3.มีจิตใจที่เข้มแข็งหนักแน่นไม่ลังเลสงสัย

คือ สามารถสงบจากความคิดที่ฟุ้งซ่านด้วยความคิดที่เป็นหนึ่งที่จะวิเคราะห์พิจารณาความเหมาะสมของงาน ทำให้มีเป้าหมายที่แน่นอนจึงเกิดความมุ่งมั่นเพียรพยายามที่จะทำงานให้สำเร็จอย่างแน่วแน่ ด้วยความว่องไว กระฉับกระเฉง และเมื่อพบปะปัญหาเฉพาะหน้า ก็สามารถมีสติยั้งคิดด้วยอาการที่ไม่ตื่นตระหนกตกใจ จึงทำให้สามารถแก้ไขเหตุการณ์คับขันจากร้ายให้เป็นดีได้


หน้า8

ประโยชน์ของสมาธิเพื่อพัฒนาจิตใจ

การเกิดเป็นคนนั้นเป็น “ ทุกข์ ” ความทุกข์เกิดขึ้น โดยไม่เว้นกับคนรวยหรือคนจน คนมียศฐาบรรดาศักดิ์ หรือชนชั้นกรรมาชีพ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องหา “ ทางสงบ ” มาเป็นโอสถระงับและรักษาตนให้พ้น “ ทุกข์ ”

“ ความทุกข์ ” เกิดขึ้นเพราะคนเราไม่มีคำว่า “ พอ ” อันการพอนั้นจะเกิดขึ้นต่อเมื่อคนๆ นั้นรู้จักวางตัวไว้ในทาง “ สายกลาง ” แต่จิตใจคนเรานั้นส่วนมากจะเต็มไปด้วยความยึดถืออย่างตาบอด ในความทะยาน อยากได้อย่างเห็นแก่ตัว จึงยากที่จะเกิดคำว่า “ พอ ”

คำว่า “ พอ ”จะเกิดขึ้นต่อเมื่อคนเรารู้จัก “ หยุด ” ท่านจะค้นพบสัจจะแห่งความจริง รู้จักควบคุมอารมณ์ ขัดเกลาความคิดให้ใสสะอาด ไม่ให้อิจฉาริษยา พยาบาท และอยากได้ของคนอื่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ย่อมลดละค่อยๆ เบาบาง ท่านย่อมมีความสุขบนรากฐานของการที่รู้จัก “ พอกิน พอใช้ พออยู่ ”
__________________
บันทึกการเข้า
kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน630
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2363


NightBaron


เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2010, 08:25:47 AM »

หน้า9

แต่การหยุดของคนเรานั้นยากมาก นอกเสียจากท่านได้ควบคุมจิตให้สงบระงับไม่กระวนกระวาย จิตเป็นสมาธิ ท่านจึงจะมีการ “ หยุด ” แล้วท่านก็จะพบ “ ทางสงบ ” ส่งผลให้ท่านเกิดปัญญาสังวรเห็น เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นการลดละกิเลส และค้ำจุนเพื่อนมนุษยชาติด้วยกัน

โลกทุกวันนี้ถ้าทุกคนมีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาแล้ว ย่อมสามารถควบคุมอารมณ์แห่งโลภ โกรธ หลง ได้อย่างแน่นอน

สังคมปัจจุบันเราสามารถแบ่งได้เป็นสองสาย

สายหนึ่ง โลกียะ มีตัวโกรธเป็นกิเลสที่ร้ายที่สุด ถ้าท่านเผลอสติเมื่อใด โกรธง่าย โมโหร้ายมาก เท่าใดแล้ว ท่านยิ่งจะมีโอกาสเป็นพวกของปิศาจ ซึ่งเป็นฝ่ายอธรรมมากขึ้น และยิ่งเดินเข้าใกล้ปากเหวที่จะตกสู่ห้วงนรกอันมืดมนไร้สติที่มองเห็นธรรมแห่งการทำความดีหรือยับยั้งใจในการกระทำความชั่ว ตัวโกรธก็จะบันดาลให้ก่อกรรมชั่วได้นานาประการ สายนี้จึง

หน้า10

จำเป็นต้องการการฝึกสมาธิให้มีสติรู้สึกตัวอยู่เสมอ ที่จะควบคุมอารมณ์โกรธไม่ให้เกิดขึ้น

สายสอง โลกุตระ มีตัวหลงเป็นกิเลสที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลงยึดในภพ ในชาติสกุล ลาภ ยศ ติฉินนินทา สรรเสริญ พยาบาท กามฉันทะ และในการตัดกิเลสนี้ก็ต้องมีสมาธิเป็นพื้นฐานเช่นกัน คือเมื่อจิตพบทางสงบแล้ว จึงใช้ช่วงเวลาสงบ ซึ่งเปรียบเสมือนกิเลสที่เป็นคลื่นลมในทะเลแห่ง ความคิดของเรานั้นนิ่งสงบไปชั่วขณะหนึ่งจะเกิดภาวะผิวน้ำทะเลนิ่งเรียบเงียบสงบคล้ายแผ่นกระจกเงาพร้อมที่จะสะท้อนความจริงแห่งสัจจะ ได้ ก็จะใช้บทปลงอสุภะปลงสังขารจนรู้แจ้งเห็นจริงตามกฎแห่งอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และทุกข์ของการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เห็นภัยแห่งวัฎฏะสงสาร เมื่อนั้น ท่านก็จะเดินทางสู่มรรคผล นิพพาน

ทั้งโลกียะ และโลกุตระนั้น มาดแม้นผู้ใดเคยลิ้มรสทางสงบแล้ว ท่านจะพบว่าแม้เงินล้านก็จะหาซื้อทางสงบไม่ได้ เพราะทางสงบคือความสุขสุดยอดที่ต้องปฏิบัติด้วยการควบคุมจิต ให้เป็นสมาธิจึงจะได้ประสบ

................... ................... ....

หน้า11

ด้วยตนเอง และทางสงบเท่านั้น ที่จะช่วยยกระดับจิตของท่านให้สูงขึ้นพ้นจากการเกาะกินของตัว โลภ โกรธ หลง และเป็นการซ่อมสร้างให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรงด้วย

ดังนั้น จึงขอเชิญท่านที่มุ่งหาความสุขอันแท้จริง เดินทางไปกับเราไปสู่ทางสงบ ณ บัดนี้

วิธีที่จะปฏิบัติต่อไปนี้ เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดซึ่งท่านเพียงแต่อ่านหนังสือออก และปฏิบัติตามก็จะได้ผลแน่นอน

ซึ่งไม่มีอันตรายหรือผลร้ายกับผู้ปฏิบัติแต่อย่างไร


หน้า12

คำบูชาพระรัตนตรัย

ก่อนการปฏิบัติกรรมฐาน

พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ปฏิปัตติบูชายะ

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา

พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์ บริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย ได้ตรัสรู้ถูกถ้วนดีแล้ว

อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ ข้าพเจ้าขอบูชา ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้

(กราบหนึ่งครั้ง)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม

พระธรรมคือศาสนา อันพระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงไว้ดีแล้ว

อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ธัมมังอะภิปูชะยามิ
__________________
__________________


หน้า13

ข้าพเจ้าขอบูชา ซึ่งพระธรรมเจ้านั้นด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้

(กราบหนึ่งครั้ง)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

หมู่พระสงฆ์ผู้เชื่อฟังคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว

อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ ข้าพเจ้าขอบูชา ซึ่งหมู่
พระสงฆ์เจ้านั้นด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้

(กราบหนึ่งครั้ง)

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

หน้า14

ศีลเบื้องต้นที่ต้องจดจำ

กายกรรม 3 คือ

1. ห้ามฆ่าคนหรือสัตว์ด้วยมือของตนเอง หรือสั่งคนอื่นฆ่า

2. ห้ามทำการลักทรัพย์ด้วยมือของตนเอง หรือ สั่งคนอื่นลักทรัพย์แทนตน

3. ห้ามทำชู้ด้วยคู่เมียคู่ผัวเขา

วจีกรรม 4 คือ

1. ห้ามกล่าวคำเท็จ

2.ห้ามกล่าวคำเพ้อเจ้อ

3.ห้ามกล่าวคำนินทา

4.ห้ามกล่าวคำหยาบช้า

มโนกรรม 3 คือ

1.ห้ามมีจิตอิจฉาริษยาเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน

2.ห้ามมีใจพยาบาท อาฆาต เบียดเบียน ผู้อื่น

3.ห้ามเห็นคนอื่นเป็นคนไม่ดีทั้งหมด
__________________


หน้า15

( กรรมทั้ง10 อย่างนี้ คือศีลเบื้องต้นอันเป็นข้อเตือนสติไม่ให้กระทำในสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายทั้งกาย วาจา และใจควรแก่การสังวรของมนุษย์ชาติทุกขณะจิตผู้มีศีลหรือรับศีลแล้ว ต้องไม่พยายามละเมิดและเมื่อทำผิดศีลแล้วจะต้องรู้จักสำนึกผิด เกิดความละอายเกรงกลัวต่อบาป มีความอดทนเพียรพยายามที่จะใช้สติพิจารณารู้เท่าทันกิเลส ไม่ให้กระทำกรรมชั่วร้ายเหล่านี้ และไม่คอยจับผิดผู้อื่น เพื่อเป็นการชำระล้างให้มนุษย์ผู้นั้นสะอาดและบริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา และใจ ปราศจากมลทินอันเป็นอุปสรรคกีดขวางกั้นจิต ในการเจริญสมาธิเพื่อยกระดับจิตให้สูงขึ้น

เนื่องจาก การสำรวมในศีล คือการสำรวมกาย วาจา ใจ ให้งดเว้นจากการคึกคะนอง คิดฟุ้งซ่าน และจิตใจว้าวุ่น จึงเกิดความสงบเป็นพื้นฐานเบื้องต้นดังที่ว่า

“ ศีลที่บุคคลรักษาดีแล้ว ย่อมเป็นรากฐานที่ดีของการปฏิบัติสมาธิ” )

หมายเหตุ ในวงเล็บไม่ต้องสวด



หน้า16

คำขอขมาโทษต่อพระรัตนตรัย

กายกรรม 3 วจีกรรม 4 มโนกรรม 3 กรรมทั้ง 10 อย่างนี้

กรรมอันหนึ่งอันใดที่ข้าพเจ้าอาจจะได้มีความสบประมาทพลาดพลั้ง ต่อหน้าก็ดี ลับหลังก็ดี ต่อพระรัตนตรัย ทั้ง กาย วาจา และใจ

ขอพระรัตนตรัยจงอโหสิกรรมนั้นให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเทอญฯ

พุทธัง วันทามิ ภันเต (กราบ)

ธัมมัง วันทามิ ภันเต (กราบ)

สังฆัง วันทามิ ภันเต (กราบ)

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
__________________
บันทึกการเข้า
kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน630
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2363


NightBaron


เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2010, 08:29:00 AM »

หน้า17

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

อุกาสะ อุกาสะ ข้าพเจ้าจะขอถือสัตย์รับศีลต่อองค์พระโพธิญาณ จะขอรับเอาพระสมาธิมาเป็นธงชัย จะระลึกถึงพระพายมาเป็นอารมณ์ กายอย่างหนึ่ง วาจาอย่างหนึ่ง มโนอย่างหนึ่ง จะไม่ให้เป็นกรรมแก่สัตว์และมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยข้าพเจ้าจะไม่นิยมไปด้วยมูตรและคูถ สัมผัสถูกต้องรูปเสียงกลิ่นรสโภชนาหาร น้ำฉันและน้ำใช้ พระให้พิจารณาเป็นของปฏิกูล
เปื่อยเน่าไปทั้งสิ้น เครื่องไม่จีรังนี้ เป็นของพระยามัจจุราชที่ได้หล่อหลอมรูปนี้มาตั้งแต่อเนกชาติ รูปนี้แตกดับไป จะขอวางซากอสุภะนี้ไว้เหนือพื้นพระปฐพี ส่วนนามธรรมของพระนี้ ขอให้แม่พระธรณีจงมาช่วยแบกหามอุดหนุนค้ำจุนข้ามส่งองค์พระพาย จะเสด็จเข้าไปในโลกใหญ่ ขอให้เป็นสุขอยู่ในห้องพระนิพพาน นิพพานะปัจจะโยโหตุ


หน้า18

บทแผ่เมตตา

หมู่สัตว์ทั่วทั้ง พรหมโลก เทวโลก มนุษย์โลก นรกโลก และทั่วทุกอบายภูมิทุกรูปทุกนามจงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรซึ่งกันและกันเลย

ขอให้ทุกรูปทุกนามจงมีแต่ความ สุขกาย สุขใจ อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

ขอให้ทุกรูปทุกนามจงมีแต่ความสบายกาย สบายใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยพิบัติทั้งหลายนั้นเทอญฯ

(ขอให้ภาวนาสม่ำเสมอ ทุกโอกาสที่อำนวย จนฝั่งแน่นติดใจประทับอยู่ในความทรงจำเกิดความเคยชินจนเป็นนิสัย ฝึกจนรู้สึกว่า แม้ไม่ได้ภาวนา ใจก็ยังแผ่เมตตาอยู่ จะทำให้ท่านพ้นจากจิตใจพยาบาทอาฆาต มีแต่นิสัยที่อ่อนโยน มีจิตใจโอบอ้อมอารี มีใจกว้าง ไม่เห็นแก่ตัว ไปไหนก็จะมีแต่คนเอ็นดูและเมตตา ทั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็ปราณีช่วยคุ้มครองภัยด้วย)
__________________


หน้า20

มอบตัวเป็นศิษย์

ท่านที่สนใจในการเรียนกรรมฐานนั้น ควรที่จะมอบตัวเป็นศิษย์แด่ครูอาจารย์ผู้อบรม ในการมอบตัวนี้ไม่ต้องการอามิสบูชา คือลาภสักการะแม้แต่ ดอกไม้ ธูป เทียน และสิ่งของทั้งปวง ขอเพียงแต่ท่านตั้งจิตแน่วแน่ด้วยใจจริง ที่มีศรัทธาต่อแนวทางตามหนังสือนี้

(ตั้งใจให้ดี) ระลึกถึงสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) พรหมรังสี

พนมมือสวดมนต์ไหว้พระก่อนแล้ว น้อมนำ จิตใจกล่าวเป็นวาจาต่อหน้าพระพุทธรูปดังนี้

“ พนมนิ้วต่างธูปเทียนเหนือเศียรนี้

น้อมศีรษะอัญชุลีแทนบัวขาว

ใต้แสงธรรมล้ำพิสุทธิ์ผุดผ่องพราว

ประนมกรจรดเกล้าภาวนา

ขอถวายกายใจไว้เป็นศิษย์

ยึดพระพุทธด้วยจิตศรัทธากล้า

หน้า21

ยึดพระธรรมคำสอนชี้มรรคา

ปฏิปทาพระสงฆ์ผู้ส่งทาง

ขอให้ครูอบรมบ่มนิสัย

นำศิษย์ให้รู้คิดทำจิตว่าง

ลดกิเลสภายในให้เบาบาง

ใจสว่างทางสงบพบนิพพาน ”

การมอบตัวนี้ มีประโยชน์ในการปฏิบัติจิตเรียนกรรมฐานคือ

1. เกิดความเชื่อมั่นตัวเองมากขึ้นที่มีครูอาจารย์เป็นที่พึ่งทางใจ และปราศจากความลังเลสงสัยในการเรียนกรรมฐาน

2. ลดความยึดมั่นถือตน เพื่อมิให้เป็นคนดื้อด้าน จะได้สงบกาย สงบใจ พร้อมที่จะรับคำบรรยายของครูอาจารย์ด้วยความเคารพยำเกรงเป็นการเพิ่มความศรัทธา

3. สายสัมพันธ์แห่งธรรมนี้ ครูอาจารย์ย่อมสงเคราะห์ให้ท่านแจ้งในอริยมรรคอริยผล ตามควรแก่อัธยาศัย และปกป้องคุ้มครองให้พ้นจากภัยอันตรายทั้งปวง
__________________

หน้า22

บทอธิษฐานก่อนปฏิบัติฝึกสมาธิ

ขอน้อมระลึกถึงพระคุณของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) พรหมรังสี ( ด้วยคาถา ธัมมังอรณัง ) ผู้ประพันธ์พระคาถาอาราธนาบารมี คุณพระศรีรัตนตรัยบทนี้

พุทธังบังข้างซ้าย ธัมมังบังข้างขวา

สังฆังบังกายา อรหันต์บังเกศา

อะหังพุทโธ ธามะนะโม

พุทธายะ นะมะพะทะ

มะอะ อุ อุอะมะ

อะมะอะ สาธุฯ

ขอบารมีคุณพระศรีรัตนตรัย คุณบิดามารดา คุณครูอุปัชฌาย์อาจารย์และผู้มีพระคุณทุกท่าน เจ้าที่ เจ้าทาง เจ้าเขาเจ้าป่า เจ้าเรือน และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โปรดช่วยคุ้มครองให้ตัวข้าพเจ้าพ้นจากภัยพิบัติอันตรายทั้งปวง และโปรดส่งเสริมให้สติปัญญาของข้าพเจ้าเจริญยิ่งๆขึ้น



หน้า23

(แล้วแผ่เมตตาตามบทแผ่เมตตาหลังบทสวดมนต์)

(ระหว่างกล่าวคำอธิษฐานคาถาบทนี้ ขอให้จินตนาการ น้อมนำ จิตใจไปตามความหมายของบทคาถาคือ

ได้เห็น บารมีพระพุทธกำลังเข้าบังข้างซ้าย ของร่างกาย

บารมีพระธรรมกำลังเข้าบังข้างขวาของร่างกาย

บารมีพระสงฆ์กำลังครอบคลุมบังทั้งร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดทั่วทั้งร่างกายของเราลงมา

บารมีพระอรหันต์บังเกศาอยู่ที่ผมเรา

จากนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้า 5 พระองค์

ธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ บังหน้า บังหลัง)

คาถาบทนี้ ยังเหมาะกับการใช้ทุกวันก่อนออกจากบ้านก่อนเดินทาง และภาวนาไปจนเกิดความเคยชิน ก็จะฝังแน่นในใจ
__________________

หน้า24

บทแผ่เมตตาหลังจากฝึกปฏิบัติสมาธิจิตแล้ว

ในขณะจิต “ นิ่ง ” จิตใจของผู้ปฏิบัติจะไม่มีอคติจิตใจเกิดกุศล ดังนั้น หลังจากการปฏิบัติจิตแล้ว ควรกล่าวอธิษฐานดังนี้

“ ด้วยกุศลผลบุญ ที่ข้าพเจ้าได้ทำจิตสงบไปชั่วขณะหนึ่งนี้

ขอถวายกุศลนี้แด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกโพธิเจ้าทุกๆพระองค์ พระอรหันต์ทุกๆพระองค์ พระโพธิสัตว์ทุกๆพระองค์ เทพ พรหม ผู้สำเร็จทุกท่าน บิดามารดา ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ ญาติมิตร เพื่อนสาราสัตว์น้อยใหญ่ เจ้ากรรมนายเวร

ขอบารมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากลโลก จงช่วยปกป้องคุ้มครองมวลมนุษย์ทั้งโลกให้รอดพ้นจากภัยพิบัติทั้งหลาย ผลร้ายที่จะเกิดแก่ประเทศไทย จงกลายเป็นผลดี

และโปรดแผ่พลังจิต แผ่บารมี ช่วยให้ข้าพเจ้าเกิดปัญญาเห็นธรรมด้วยเทอญ ”

หน้า25

ข้อควรปฏิบัติก่อนปฏิบัติฝึกสมาธิ

ข้อความต่อไปนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ท่าน ต้องจำและปฏิบัติในระหว่างการปฏิบัติเดินสู่ทางสงบ และจะชนะกิเลสเบื้องต้นด้วยความเพียร และความอดทน

1) ต้องนอนให้เพียงพอ คือร่างกายต้องได้รับการพักผ่อนพอสมควร แต่ไม่นอนมากเกินไป เมื่อตื่นแล้ว ไม่ควรนอนต่ออีกโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม่ควรนอนกลางวัน เพราะการนอนมากจะทำให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้มง่วงเหงาหาวนอนอยู่ตลอด ไม่มีเรี่ยวแรง

2) พยายามหาโอกาส อาบน้ำ หรือ เช็คตัวชำระร่างกาย เพื่อให้ร่างกายสะอาด จะช่วยเสริมให้จิตใจสดชื่น

3) หาเครื่องแต่งตัวและสถานที่ที่เหมาะสม ถ้าเป็นไปได้ควรหาเครื่องแต่งกายสีขาวที่ไม่คับแคบไว้
__________________

หน้า26

ใส่ในระหว่างปฏิบัติจิต เพื่อให้หายใจสะดวก เลือดลมเดินหมุนเวียนได้คล่อง

และหาสถานที่ที่เหมาะสมแก่การฝึกจิต คือเรียบง่าย เงียบ อากาศถ่ายเทสะดวก ร่มเย็นพอสมควร

สองประการนี้ เป็นการช่วยสนับสนุน ให้จิตใจสะอาดสบายตา สงบได้สมาธิเร็ว

4) ข้อควรระวังเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร

4.1 หลังจากรับประทานอาหาร แล้วต้องรอให้ผ่านพ้นไปครึ่งชั่วโมง เป็นอย่างน้อยจึงจะนั่งสมาธิได้ มิฉะนั้นแล้วจะทำให้ท่านเป็นโรคกระเพาะอาหาร เพราะหลังจากรับประทานอาหารแล้ว เลือดจะนำธาตุไฟมารวมกลุ่มที่กระเพาะอาหาร มากขึ้นเพื่อย่อยอาหาร ในเวลาเดียวกัน ถ้าเราเข้านั่งฝึกสมาธิ เลือดจะถูกดึงขึ้นเลี้ยงสมองมากขึ้นทันทีที่เราใช้ความคิด จึงทำให้ทั้งกระเพาะอาหารขาดธาตุไฟย่อยอาหาร จะทำให้อาหารไม่ย่อยหรือย่อยได้ไม่ดี จึงเป็นโรคกระเพาะได้ง่าย

หน้า27

ขณะเดียวกัน สมองก็ขาดเลือดมาหล่อเลี้ยง จึงเกิดอาการง่วงเหงาหาวนอน นั่งไม่ได้สติ จิตไม่สงบ

4.2 ควรที่จะมีเวลา รับประทาน อาหารที่แน่นอน และรับประทานอาหารพอสมควร

บางท่านรับประทานอาหารเดี๋ยว 3 มื้อ เดี๋ยว 2 มื้อ เดี๋ยว 1 มื้อ จะเป็นโรคกระเพาะอาหารได้ง่าย ควรที่จะรับประทานเป็นที่แน่นอนว่า จะรับประทานวันละกี่มื้อและควรจะต้องรับประทานให้ตรงตามเวลาทุกวันด้วย โดยเฉพาะสมณเพศแล้วป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารมาก อาการหนักถึงขั้นเข้าโรงพยาบาลและเสียชีวิตได้

เพราะว่า " เมื่อถึงเวลารับประทานอาหาร อวัยวะภายในก็จะทำการส่งน้ำย่อย น้ำดี และกรดในกระเพาะอาหารก็จะรวมตัวกันเพื่อย่อยอาหาร ถ้าไม่มีอาหาร น้ำย่อยน้ำกรดเหล่านั้น ก็จะย่อยเนื้อหนังของกระเพาะอาหารและลำไส้ถึงขั้นทะลุได้

อนึ่ง ควรที่จะรับประทานอาหารพอเหมาะ เพื่อให้ร่างกายโปร่งสบายเพราะถ้ามากไป ก็จะทำให้แน่นอึดอัด ง่วงนอน น้อยไปก็ทำให้หิวง่ายจิตใจฟุ้งซ่าน
__________________


หน้า28

4.3 สำหรับท่านที่มุ่งหวังโลกุตระควรที่จะงดเว้นหรือหลีกเลี่ยงอาหารบางประเภท

ควรงดเว้นอาหารรสจัดทั้งหลาย ที่จะกระตุ้นกามตัณหา จำพวกพริก ผักกุยช่าน และดอก (ไม้กวาด) กระเทียม หัวหอม และรับประทานอาหารเนื้อสัตว์ให้น้อยลง แต่ก็ควรจะรับประทานอาหารโปรตีนพวกถั่ว ถั่วเหลืองเพิ่มเติม ถ้าเป็นไปได้ ควรรับประทานอาหารมังสวิรัติก็จะดี

4.4 ควรงดเว้นสิ่งเสพติดและมึนเมา ตั้งแต่ยาเสพติดทั้งหลายจนเหล้า บุหรี่หมากพลู ยานัดถุ์ ตลอดจนชา กาแฟที่จะทำให้เกิดความรู้สึกว่า ขาดเสียมิได้เมื่อนึกอยากขึ้นมา เพราะจะทำให้เกิดความหงุดหงิดอารมณ์เสีย

5) ขอให้ท่านดื่มน้ำ 1 แก้ว ก่อนเวลาปฏิบัติจิตและหลังออกจากสมาธิอีก 1 แก้ว เพื่อเสริมให้ร่างกายสดชื่น น้ำนั้นควรที่จะเป็นน้ำอุ่นหรือน้ำสะอาดที่ไม่มีความเย็นด้วย เช่น ไม่ควรแช่เย็น หรือ ใส่น้ำแข็ง

หน้า29

6) รักษาความสนใจไว้ให้ดีด้วยการปฏิบัติจิตให้สม่ำเสมอทุกๆวัน และเป็นเวลาเดียวกันได้ยิ่งดี ต้องไม่มีการนัดกับใครทั้งก่อนและหลังเวลาที่จะฝึกปฏิบัติจิต เพราะจะทำให้เราเกิดความกังวล

7) ถ้าจิตรีบเร่ง " อยาก " ได้แล้วท่านจะไม่ได้ เพราะตัว “ อยาก “ คือกิเลสที่ทำให้ประสาทตื่นเต้นเครียด เป็นการบีบรัดให้ประสาท มึนชา ไม่ทำงานอย่างที่เราหวังได้

* ขอให้ท่านวางตัวเป็นกลางในการปฏิบัติ ด้วยการประคองความเพียรไม่ให้หย่อนเกินไป และไม่ตึงเกินไป เดินไปเรื่อยๆ ค่อยเป็นค่อยไปด้วยความอดทนไม่ท้อแท้

* ถ้านั่งแล้วรู้สึกเวียนหัว ด้วยสาเหตุใดก็ตาม มีอาการปวดเสียวหัวใจ หายใจเหนื่อย ปลายมือปลายเท้า เย็น ซีด มีเหงื่อเย็นๆ ซึมออกมานั้น คงจะมีเหตุจากการที่เลือดขึ้นไปหล่อเลี้ยงสมองน้อย อาจจะเป็นเหตุให้เป็นลมหมดสติได้
บันทึกการเข้า
kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน630
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2363


NightBaron


เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2010, 08:31:40 AM »

หน้า 30

ท่านไม่ต้องตกใจ ขอให้ค่อยๆถอนออกจากการฝึกสมาธิแล้วนอนราบกับพื้นทำใจให้สบาย ปล่อยให้เลือดเข้าไปหล่อเลี้ยงสมองสักครู่ นอนนานประมาณ 5 นาที ร่างกายก็จะหายเป็นปรกติ

Cool วิธีการถอนออกจากการปฏิบัติจิตทุกครั้ง

ขอให้ค่อยๆ คลายออกจากสมาธิ ด้วยการหายใจตามปรกติช้าๆ 10 ครั้ง แล้วถอนหายใจลึกๆ ช้าๆ ตามแบบการฝึกลมปราณ (หน้า 79 ) สัก 10 ครั้ง ให้โล่งอก และตื่นจากภวังค์แล้วค่อยๆขยับร่างกายให้เคลื่อนไหวเล็กน้อย ถอนฝ่ามือที่ซ้อนกันอยู่นั้นออกแล้วมาวางบนหัวเข่า ลืมตาขึ้นเล็กน้อย มองลาดต่ำใกล้ตัวใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างคลึง เบาๆ ช้าๆ ที่ตาสักครู่แล้วจึงลืมตาขึ้นเต็มที่ และถูฝ่ามืออีกครั้งจนร้อนแล้วนวดคลึงตั้งแต่ขมับ ท้ายทอยลงมาต้นคอ ไหล่ แขน หน้าอก หน้าท้อง เอว หลัง ต้นขา แล้วจึงค่อยๆยืดขาออกกระดิกปลายเท้าให้ยืดออกพักหนึ่งจนรู้สึกหายจากอาการชาแข็งกระด้าง

หน้า31

ปรับเช่นนี้ จนจิตใจและร่างกายคืนสู่สภาพปรกติ รับรู้สิ่งแวดล้อมเต็มที่แล้วจึงลุกขึ้นจากที่นั่ง

แม้จะมีคนรีบด่วนมาเรียก ก็ขอให้ท่านใจเย็นๆ ค่อยๆ ขานรับ ค่อยๆ คลายออกจากสมาธิเพื่อให้พ้นจากการสะดุ้งหวาดกลัว อันเป็นเหตุให้สะเทือนกายทิพย์

เมื่อถอนออกจากการปฏิบัติสมาธิแล้ว ไม่ให้รีบถอดเสื้อผึ่งลมหรือรีบไปล้างหน้าอาบน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นหวัด เพราะขณะที่นั่งฝึกสมาธิจนจิตสงบธาตุทั้ง4 เสมออยู่นั้น ต่อมเหงื่อและรูขุมขนทั่วร่างกายจะเปิดกว้างกว่าปรกติเพื่อขับเหงื่อ เมื่อออกจากสมาธิแล้ว เช็คเหงื่อให้แห้งและรอจนกว่า ร่างกาย ปรับอุณหภูมิให้เสมอกับอากาศแวดล้อมก่อน จึงควรจะไปล้างหน้าอาบน้ำได้

9) เดินจงกรมหลังจากฝึกปฏิบัติสมาธิแล้วทุกครั้ง ขอให้ท่านเดินจงกรมอย่างน้อย 15 นาที เพื่อ
__________________

หน้า32

เป็นการบริหารร่างกายให้เลือดลมที่คั่ง ค้างตาม เอ็นตามข้อเดินสะดวกโดยเฉพาะอย่างยิ่งขาจะได้ไม่เสียสุขภาพด้วย

10) บูชาและน้อมระลึกถึงพระรัตนตรัย ตามบทสวดมนต์ข้างต้น
( หน้า 12 ) เพื่อส่งเสริมเกื้อกูลให้ผู้ปฏิบัติสมาธิเกิดความเลื่อมใสศรัทธาบารมีพระรัตนตรัยที่ภาวนาเป็นการสนับสนุนเสริมพื้นฐานของจิตไม่ให้หดหู่ เกิดความหนักแน่น กล้าหาญ เข้มแข็ง สงบ พร้อมที่จะเริ่มต้นฝึกปฏิบัติจิตต่อไป

และอธิษฐานตามบทก่อนปฏิบัติฝึกสมาธิ


หน้า33

คำเตือนขณะปฏิบัติสมาธิ

เพื่อไม่ให้ตกใจขณะปฏิบัติสมาธิ จะต้องพยายามควบคุมอารมณ์ไม่ให้ตกใจจนเกิดความกลัว ถ้าเกิดตกใจจากเหตุใดๆก็ตาม ห้ามลุกขึ้นจากที่นั่งอย่างเด็ดขาด

ถ้านั่งหลับตาอยู่พบเห็นเป็นนามธรรมคือ พวกวิญญาณแล้ว ให้ตั้งจิตถามไปว่าท่านเป็นใคร มาจากไหน ต้องการอะไร ถ้าวิญญาณนั้นมาดี ก็จะได้รับคำตอบ ถ้าวิญญาณนั้นมาร้ายคือมาเป็นมารผจญหรือว่าเป็นภาพอุปาทานที่ลวงตา หรือว่าเสียงอุปาทานที่ลวงหูจากความคิดจิตใต้สำนึก หรือว่านิมิตที่น่าหวาดกลัวตื่นเต้น ขอให้ท่านวางจิตใจให้นิ่งๆ ระลึกถึงพระรัตนตรัยครูบาอาจารย์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทำใจดีสู้เสือ และอุทิศกุศลให้อโหสิกรรม แล้ววิญญาณหรือรูปเหล่านั้นก็จะหายไปในที่สุด
__________________

หน้า34

แต่ถ้าเป็นการตกใจเพราะเหตุอื่น เช่นเสียงดังหรือจิตใจตกภวังค์ สะดุ้งทำให้ตกใจ ให้ค่อยๆลืมตาขึ้น เมื่อพบว่าเหตุนั้นแม้จะถึงขั้นคอขาดบาดตายก็ต้องทำจิตใจให้สบายก่อนแล้วค่อยลุกจากที่ได้

การปรับจิตหลังภาวะตกใจ ในสภาวะที่จิตใจสงบอยู่ในสมาธิที่นิ่งนั้น ทะเลแห่งความนึกคิดของเรานั้น จะนิ่งเรียบเงียบสงัด ผิวน้ำเรียบเสมอตกอยู่ในภวังค์แห่งความว่างเปล่า

เพียงสะดุ้งหวาดกลัวจากเหตุใดก็ตาม เสียงดังที่แทรกขึ้นในท่ามกลางความเงียบนั้น จะทำให้ตกใจเหมือนใครเอาก้อนหินปาลงในน้ำอันนิ่งเงียบนั้น หินยิ่งก้อนใหญ่ เสียงยิ่งดัง ยิ่งจะทำให้ผิวน้ำแตกกระจายกระเซ็นแผ่ซ่านเป็นวงคลื่นออกเป็นระลอกๆ มากขึ้น จากศูนย์กลางที่หินปาลงไป และจะสงบลงอีกครั้งด้วยการปรับจิตให้สงบคืนสู่สภาพปรกติ ผิวน้ำทะเล แห่งความคิดของเราก็คืนสู่สภาพเรียบเงียบอีกครั้ง และเมื่อเราตกใจในระหว่างฝึกสมาธินั้น หัวใจจะเต้นแรงผิดปรกติ และปวดเสียวเป็นระยะๆ หน้าจะซีด นิ้วหัวแม่มือ

หน้า35

ที่จรดชนกันนั้น พอเกิดการตกใจก็จะถูกสลัดออก ขอให้กดจรดชนกันใหม่ และค่อยๆหลับตาลง ถอนหายใจลึกๆ ช้าๆ ประมาณ 5 ครั้ง แล้วเริ่มต้นตั้งจิตใจส่งไปที่กึ่งกลางระหว่างคิ้วใหม่ หายใจเข้าว่า “ พุท ” หายใจออกว่า “ โธ ”ปฏิบัติเช่นนี้อยู่ประมาณ 15 นาที หรือนานกว่านี้ จนหัวใจที่เต้นแรงผิดปรกตินั้นคืนเข้าสู่ภาวะปกติ ความกลัวก็หายไป แล้วจึงค่อยๆคลายออกจากการฝึกสมาธิได้

ภาวะตกใจ เรียกว่า กายทิพย์สะเทือน

ภาวะตกใจแล้วลุกขึ้นวิ่งหนีจากที่นั่ง เรียกว่า กายทิพย์ถูกสะเทือนถึงขั้นแตกกระจาย

ภาวะปรับจิตให้หายตกใจ เพื่อรักษากายทิพย์สะเทือน เรียกว่า ปรับธาตุของกายทิพย์ที่สั่นสะเทือนนั้นให้นิ่งและคืนสู่สภาพปรกติ

อย่าลืมหลักการปรับจิตหลังภาวะตกใจนี้ มีความสำคัญต่อผู้ที่จะฝึกจิตมาก เพราะหลักการนี้ จะทำให้ท่านพ้นจากการเสียสติเพราะนั่งสมาธิ
__________________

หน้า36

อาการของคนที่ป่วยเพราะกายทิพย์สะเทือน

1 ) คนที่ป่วยชนิดเบาๆ คือหลังตกใจแล้ว ไม่ได้สมานกายทิพย์ จะมีอาการเบื่อหน่ายชีวิต เมื่อยๆ ชาๆ ไม่ค่อยมีจิตใจจะทำงาน และพอตกบ่ายก็จะมีอาการง่วงเหงาหาวนอน มึนศีรษะ ปวดหัวเล็กน้อยจนปวดหัวมาก

วิธีรักษา

พยายามหาเวลานั่งสมาธิให้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนบ่ายที่ง่วงนอนไม่ควรไปนอน แต่ไปนั่งฝึกสมาธิปฏิบัติเช่นนี้ 7 วัน ก็จะหายเป็นปกติ

2) คนที่ป่วยอาการหนัก อาการของคนที่ป่วยหนักนี้ คือ หลังตกใจแล้ว กายทิพย์ที่ถูกสะเทือนจนแตกกระจาย จะมีอาการควบคุมสติไม่อยู่ เช่น จิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัวเหม่อลอย หรือพูดจาไม่สมประกอบ บางขณะไร้สติอย่างที่เรียกว่า คนบ้านั้นเอง


หน้า37

วิธีรักษาขั้นต้น

การพอกกายทิพย์เพื่อรักษากายทิพย์ที่ถูกสะเทือน ถึงขั้นแตกกระจาย เป็นวิธีรวมจิตที่แตกแยกกระจายให้สมานคืนรูปเดิม

หาพี่เลี้ยงใจเย็นๆ มีมหาเมตตา พูดจาดีๆ มาช่วยควบคุมให้เขาปฏิบัติสมาธิจิตเริ่มต้นใหม่ด้วย การเพ่งพระพุทธรูปเป็นนิมิตดังนี้คือ

หาห้องสะอาดปราศจากความรุงรัง ที่ฝาห้องติดผ้าขาวหรือกระดาษขาว และตั้งพระพุทธรูปองค์ไม่ใหญ่นัก ประมาณหน้าตัก 5 นิ้วก็พอ ตั้งสูงประมาณพอดี กับระดับสายตาของผู้ที่จะปฏิบัติฝึกสมาธิจิต แล้วแนะนำคนไข้นั่งในท่าสมาธิ ( ตามบทในการนั่งสมาธิ ) ห่างจากองค์พระพุทธรูปพอสมควร แล้วให้คนไข้เพ่งไปที่พระพุทธรูปนั้นจนจำภาพได้ และให้ปิดหนังตาลง พยายามให้นึกเห็นภาพ พระพุทธรูป นั้นอีกจนกว่าภาพพระจะชัดเป็นรูปสมบูรณ์แต่พอภาพหายไปให้ลืมตาใหม่
__________________

หน้า38

เพ่งแล้วหลับตาอีก ปฏิบัติหมุนเวียนเช่นนี้จนกว่าหลับตาเห็นพระพุทธรูป

สำหรับคนไข้ที่ไม่มีสติของตัวเองเลยนั้น ขอให้เขานั่งอยู่กับที่เพ่งองค์พระพุทธรูปไปเรื่อยๆ เมื่อยก็พักสายตาแล้วก็เพ่งไปอีก จนกว่าจะจำภาพได้

จากการที่หลับ ตาแล้วจำภาพพระพุทธรูปได้นั้น เรียกว่า “เริ่มมีสติรู้สึกตัว ควบคุมตัวเองได้แล้ว ”เป็นการรักษาขั้นต้น

จากนั้นให้ฝึกด้วยวิธีพอกกายทิพย์

หน้า39

วิธีรักษาขั้นสูง

การพอกกายทิพย์ให้สมบูรณ์ เมื่อการรักษาขั้นต้นนั้นจะมีความรู้สึกว่า " หลับตาจำพระพุทธรูปได้ " แต่พระพุทธรูปนั้นจะยังเลือนลางลอยอยู่เบื้องหน้าแล้วเราก็ค่อยๆ ส่งความรู้สึกนึกคิดเพ่งส่งเข้าไปที่พระพุทธรูปเหมือนเก็บรวบรวมเอาสรรพความคิด สรรพกำลังในร่างกายรวมตัวเป็นธนูพลัง ยิงออกจากคันธนูคือ ร่างกายเราไปที่เป้า คือพระพุทธรูป ฝึกเช่นนี้ครั้งแล้วครั้งเล่าภาพพระพุทธรูปจะค่อยๆชัดขึ้นจนเห็นทุกสัดส่วนชัดเหมือนเห็นด้วยการลืมตา เพ่งต่อไปอีก
__________________

หน้า40

พระพุทธรูปจะค่อยๆเปล่งแสงสว่างจนเป็นวงกลมล้อมรอบพระพุทธรูปที่เราเรียกกันว่าดวงจิตหรือดวงแก้ว แรกๆตรงกลางดวงแก้วยังมีพระพุทธรูปอยู่ เมื่อฝึกขึ้นไปอีกชั้น พระพุทธรูปจะหายไป คงเหลือแต่ดวงแก้วหรือดวงจิตอย่างเดียว และเมื่อเพ่งไปอีก ดวงแก้วนั้นก็จะกลมและสว่างจนเรารู้สึกเกิดความปีติสงบสุข

นั่นละ “ ท่านหายเป็นปกติแล้ว ”

ระหว่างฝึกนั้นให้หลับตาตลอด แต่ถ้าภาพพระพุทธรูปจับไม่อยู่หายไป ก็ลืมตาขึ้นมาเพ่งจับภาพพระพุทธรูปใหม่อีกครั้งแล้วดำเนินตามวิธีข้างต้นอีก

( หมายเหตุ การฝึกนี้จะต้องไม่เกร็งบีบประสาท ถ้ามีอาการมึนชาหรือปวดขมับให้ดูวิธีการคลายความตรึงเครียดในบทที่3 )

วิธีการพอกกายทิพย์ให้สมบูรณ์นี้ ก็คือการดึงเก็บรวบรวมเอามวลสาร ของอะตอมในโมเลกุลซึ่งเป็นส่วนละอียดที่สุดของส่วนประกอบดวงจิตที่เหมือนดวงแก้วที่แตกกระจายออกไปนั้นมารวมตัวสมานกันอีก ครั้งพระพุทธรูปที่เราเพ่งนั้นเป็นนิมิตหรือศูนย์กลางของ

หน้า41

การเพ่ง เมื่อการเพ่งจับนิมิตจน จิตรวมเป็นหนึ่งก็จะเกิดอำนาจดึงดูด เหมือนแม่เหล็ก ยิ่งส่งความนึกคิดเข้าไปในองค์พระพุทธรูปมากเท่าใดแล้วเหมือนเสริมพลังให้กับแม่เหล็ก อำนาจแม่เหล็กที่ศูนย์กลาง คือ พระพุทธรูปจะยิ่งเพิ่มพลังดึงดูดมากขึ้น จึงเกิดกำลังทวีคูณ ดึงดูด เก็บรวบรวมชิ้นส่วนอันละเอียดของดวงจิต ( ดวงแก้ว)ที่แตกซ่านกระจายนั้นรวมตัวเข้าเป็นวงกลม (ดวงแก้ว) ที่สมบูรณ์ (ใหม่ๆดวงแก้วอาจจะไม่ค่อยสว่างและไม่ค่อยกลมด้วย)

สุดท้าย อำนาจดึงดูดสูงยิ่งขึ้นๆ เศษส่วนต่างๆของดวงแก้วก็จะติดแน่นสมานจนไม่มีรอยตำหนิ
__________________
บันทึกการเข้า
kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน630
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2363


NightBaron


เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2010, 08:34:09 AM »

หน้า42

วิธีพอกกายทิพย์นี้ ไม่ใช่มีไว้สำหรับรักษาคนเสียสติเท่านั้น แต่ยังมีไว้สำหรับช่วยเหลือรักษาคนที่กายทิพย์แตก เพราะป่วยเป็นโรคประสาทขนาดหนักถึงขั้นเสียสติ และพวกเกจิอาจารย์ที่ถูกฝ่ายตรงข้ามทำลายฝังรูปฝังรอย หรือว่าปล่อยไสยคุณมาทำลายด้วยมีอาการคือเหมือนคนป่วยหนักใกล้จะตาย อ่อนเพลียและหายใจติดขัด ขอให้เขาระลึกถึงครูบาอาจารย์ทันที และขอน้ำพระพุทธมนต์หน้าหิ้งพระนำมาอาบและดื่มจากนั้นอาการจะค่อยยังชั่ว แล้วให้รีบปฏิบัติตามวิธีพอกกายทิพย์นี้ เขาก็จะพ้นจากการเสียสติ หรือวายชนม์ก่อนอายุขัยได้อย่างดี

หน้า43

เวลาที่เหมาะสมกับการฝึกสมาธิ
สำหรับท่านที่เริ่มฝึกใหม่ๆควรที่จะเริ่มกำหนดเวลาตั้งแต่ 5 นาที เป็นจุดเริ่มต้นและค่อยๆเพิ่มขึ้นเป็น10 , 20 และ 30 นาที เป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุด ไม่ควรฝึกให้มากกว่านี้ เพราะจิตยังไม่คุ้นเคย จะทำให้เกิดความอึดอัดและปวดเมื่อยได้ง่ายต้องค่อยเป็นค่อยไปเหมือนดัดไม้ ให้ค่อยๆดัด จะได้ผลในไม่ช้า ถ้ารีบด่วนหักโหมจะดัดไม่ได้ พาลจะพาให้เสีย คือทำให้ไม้หัก เหมือนจิตที่ถูกดัดเช่นกัน
สำหรับผู้ฝึกจนเกิดความชำนาญแล้วจะนั่งเข้าฌานเป็นเวลาหลายๆชั่วโมงก็ได้ตามแต่กำลังจะศรัทธาและเวลาจะอำนวยให้
เวลาที่เหมาะสมแก่การปฏิบัติจิตในวันหนึ่งคือ
ตอนเช้า
หลังจากตื่นนอนชำระร่างกายแล้ว ส่วนสมณเพศควรจะปฏิบัติหลังจากทำวัตรเช้า(ตี 4 )แล้วสำหรับ
__________________

หน้า44

ท่านที่ต้องออกทำงานนั้น ควรกำหนดเวลาแต่น้อยหรือเป็นเวลาที่ไม่ขัดกับเวลาที่จะต้องออกงาน จะได้ไม่เกิดความกังวล
เหตุที่ว่าตอนเช้าดีนั้น เพราะว่า เวลากลางคืนนอนเต็มที่แล้ว เช้าตื่นขึ้นมาย่อมมีจิตใจสดชื่น ไม่อ่อนเพลีย จึงเสริมให้การนั่งสมาธิสงบและเข้าที่ได้เร็วก็จะส่งเสริมให้มีสุขภาพจิตสมบูรณ์
สำหรับท่านที่มีเวลาและสถานที่เหมาะเช่น รุ่งอรุณที่ริมฝั่งทะเล หรือ บนเขาที่มองไปเห็นขอบฟ้ากว้างเขาเขียว ยิ่งถ้ามีพระอาทิตย์ขึ้นตอนเช้าๆที่มีแสงอ่อนๆหรือเป็นดวงยิ่งดี จะได้เป็นนิมิตแห่งการฝึกสมาธิบรรยากาศที่มีลมโชย พัดผ่าน ปะทะกับร่างกาย จะทำให้เย็นสบาย จิตใจสดชื่น ร่าเริงใจ สิ่งเหล่านี้ย่อมเป็นสิ่งสนับสนุนให้จิตสงบ และเป็นการได้สมาธิเร็วยิ่งขึ้น
แต่ถ้าคนที่ฝึกใหม่ๆ ควรจะหาเสื้อผ้าหนาคุมกันความหนาวเย็นตอนเช้ามืด และถ้าน้าค้างลงควรจะหาหมวกใส่ เป็นการป้องกันเป็นไข้หวัด

หน้า45

ตอนเย็น
ควรจะเป็นเวลาก่อนนอน หลังจากสวดมนต์ไหว้พระแล้ว หลังจากปฏิบัติจิตแล้วจะช่วยให้นอนได้อย่างสบาย มีสติ ไม่กระสับกระส่าย และตื่นได้ตามกำหนดเวลาที่เราตั้งเป้าหมายไว้ในใจ
เวลาปฏิบัติจิตนั้น ถ้าสามารถทำได้วันละ 2 ครั้งก็จะควบคุมอารมณ์ต่อเนื่องได้ดีมาก
เช้า ก็สร้างอารมณ์ที่ดีก่อนที่จะออกไปต่อสู้ กับการงาน
เย็น ก็คลายความเมื่อยล้าและนอนได้สงบ หลับสนิท
สำหรับท่านที่มีเวลาว่าง ควรจะฝึกวันละหลายๆครั้ง เป็นการอบรมบ่มนิสัยจิตให้เกิดความเคยชินให้เกิดความสงบง่ายขึ้นกว่าทุกครั้งที่เข้าฝึกสมาธิ
__________________

หน้า46

สำหรับท่านที่มุ่งหวังโลกุตระ ควรจะฝึกตลอดสมํ่าเสมอ มีการเปลี่ยนอิริยาบถบ้างเมื่อเกิดความจำเป็นเท่านั้น เพราะเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถครั้งหนึ่ง เหมือนต้องตั้งต้นครั้งหนึ่ง ในขณะต้องทำกิจวัตรประจำวันหรือทำงานนั้น ก็รักษาอารมณ์แห่งการมีสติสมาธิเสมอก็จะเป็นการดีมาก เพื่อให้อารมณ์สงบสืบทอดต่อเนื่องจนกระทั่งเข้านอนก็พยายามให้นอนอย่างมีสติด้วย


หน้า47

ฝึกสมาธิด้วยอิริยาบถที่เหมาะสมกับท่าน
วิธีฝึกสมาธิให้จิตสงบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอานาปานสติที่มุ่งในการฝึก ด้วยลมหายใจนี้มีจุดเด่นและคุณวิเศษยอดเยี่ยมสืบทอดมานานแล้ว ด้วยวิธีนี้สามารถป้องกันและรักษาโรคภัยไข้เจ็บทั้งกายและใจ เป็นการเสริมสร้างให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง โดยเน้นหนักในการฝึกลมหายใจเข้าออก
ในการฝึกหายใจเข้าออกให้จิตสงบนี้ มีอยู่หลายอิริยาบถต่างๆ กัน โดยปรกติการออกกำลังบริหารร่างกายและการฝึกหายใจเข้าออกให้เกิดสมาธิมีอิริยาบถหลักอยู่ 4 อย่าง
วิธีแรก “ เดิน ” ก็คือการบริหารท่อนล่างของร่างกายระหว่างเดินนั้น จิตใจย่อมเคลื่อนไหวสั่นคลอน ไปกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย จิตจึงไม่นิ่งเท่าที่ควร
__________________

หน้า48

วิธีที่สอง “ หยุด ” ก็คือยืนอยู่กับที่ จิตใจต้องคอยพะวงควบคุมการทรงตัวของร่างกาย และรับรู้สิ่งแวดล้อมมากจนจิตไม่ค่อยสงบ
วิธีที่สาม “ นอน ” กล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกาย ได้หย่อนยานคลายจากการเหนี่ยวรัดดึง เมือนอนแล้ว เลือดจะคั่งอยู่ที่สมอง เกิดความง่วงเหงาหาวนอน จิตเคลิ้มหลับง่าย หาสติได้ยาก
วิธีที่สี “ นั่ง ” เป็นท่าที่เหมาะสมกับการฝึกจิตคือ กล้ามเนื้อของร่างกายได้ยึดรั้งให้อยู่ในท่าที่มั่นคงโดยธรรมชาติ จิตใจไม่ต้องพะวงเป็นห่วงอยู่กับกายเนื้อมากนักจึงทำให้จิตสงบนิ่งได้เร็วกว่าท่าอื่น
ดังนั้น วิธีฝึกสมาธิส่วนมากจึงนิยมใช้ท่านั่ง เรียกกันทั่วไปว่า “ นั่งสมาธิ ”
แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ปฏิบัติฝึกจิตก็สามารถที่จะเปลี่ยนอิริยาบถเมื่อเกิดความจำเป็นจริงๆเข้า จะได้เป็นการฝึกจิตอย่างต่อเนื่อง หรือ ตามสภาพสังขารตนที่จะทนอยู่ได้ในอิริยาบถนั้นๆ

หน้า49
การฝึกนี้ ไม่จำเป็นต้องใช้ท่าใดท่าหนึ่ง อย่างตายตัว เพื่อปฏิบัติจิต
ควรพิจารณา ท่าที่มั่นคงและสบายตามความเหมาะสมกับสังขารของตนและเลือกท่าที่จะช่วยสนับสนุนให้การปฏิบัติจิตของเราสงบได้เร็วและดี
พยายามอย่าฝืนอารมณ์ ฝืนสังขารที่จะทนอยู่กับท่าฝึกสมาธิที่คิดว่าตนชอบแต่ด้วยความไม่เหมาะสมจากเหตุต่างๆ จึงทำให้ออกจากการปฏิบัติจิตแล้วแทนที่จะสงบกาย สบายใจ กลับทำให้เกิดอารมณ์หงุดหงิดหัวเสีย พาลพาให้เสียสุขภาพกายและจิต
ผู้มีสมาธิดีแล้ว ย่อมสามารถควบคุมรักษาอารมณ์ให้ดีอยู่ในสมาธิ ได้ทุกอิริยาบถไม่ว่าจะตื่นหรือนอน
โรคประสาทเสื่อม อ่อนเพลีย โรคหัวใจ ควรที่จะใช้ท่านั่งสับกับท่าเดินจงกรม และมีการออกกำลังกายเบาๆ อย่างพอเหมาะสมด้วย
โรคกระเพาะอาหารย้อยหย่อนยาน
โรคกระเพาะอาหารเป็นแผล โรคมดลูกหย่อนควรจะใช้ท่านอนตะแคงข้างขวา
__________________


หน้า50

โรคนอนไม่หลับ ใช้ท่านั่งและสลับกับท่านอนและควรจะมีการออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ เพื่อให้ประสาทคลายความตึงเครียด สนับสนุนให้นอนหลับได้สนิท
โรคปอด โรควัณโรค ห้ามหายใจแรงและหายใจกระแทก ควรหายใจแบบช้าๆยาวๆ พักหายใจสักครู่หนึ่ง ให้อากาศที่หายใจเข้าไปนั้นหมุนเวียนอยู่ ภายในร่างกายสักพักหนึ่ง แล้วจึงค่อยๆปล่อยลมหายใจออกมา วิธีนี้ ปอดก็จะได้ทำงานน้อยลงอาการเจ็บปวดก็จะบรรเทา โรคก็จะหายเร็วขึ้นกว่าปรกติ
โรคนี้ควรจะใช้ท่านอนตะแคงข้าง และเมื่อร่างกายแข็งแรงขึ้น แล้วก็สลับกับท่านั่งขัดสมาธิแบบธรรมชาติบ้าง แล้วผสมด้วยการเดินจงกรมบ้าง จะได้ทำให้ร่างกายปลอดโปร่ง และข้อห้ามสำหรับโรคนี้ คือ ห้ามออกกำลังกายหักโหม
โรคความดันโลหิตสูง ควรที่จะใช้ท่านอนตะแคงข้างสลับกับการเดินจงกรมการฝึกปฏิบัติไม่ควรให้เหนื่อยเกินไป เพราะจะทำให้ความดันเพิ่มสูงขึ้นได้

หน้า51
โรคความดันโลหิตตํ่า ควรใช้ท่าเดินจงกรม เพื่อออกกำลังกายพอเหมาะกระตุ้นหัวใจสูบฉีดโลหิตดีขึ้น เมื่อเดินพอสมควรแล้ว สลับกับท่านอนราบขนานกับพื้นก็จะดี แต่ทั้งนี้ ต้องพิจารณาความเหมาะสมตามสถานการณ์ด้วย


บันทึกการเข้า
kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน630
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2363


NightBaron


เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2010, 08:37:43 AM »

หน้า53

1. ท่านั่งขัดสมาธิชั้นเดียว
คือนั่งอกผายไหล่ผึ่งศีรษะตรง คางหดและกดลงเล็กน้อย อยู่ในอิริยาบถที่ไม่เกร็ง จะได้ไม่เครียด เริ่มต้นด้วยนั่งเท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย(วางมือบนฝ่าเท้า) ให้หัวแม่มือจรดชนกันเบาๆเพื่อให้เลือดที่หมุนเวียนนำธาตุไฟ ถ่ายเท เดินได้สะดวก และเมื่อฝึกสมาธิปรับธาตุทั้ง 4 เสมอแล้ว หัวแม่มือที่จรดชนกันนั้นจะดูดเข้าหากันคล้ายมีกระแสแม่เหล็กดูดกันอยู่ ไม่ต้องตกใจ
ข้อดี เป็นอิริยาบถง่ายๆ และใช้ฝึกกันทั่วไป นั่งทนได้นาน ทั้งยังเป็นท่านั่งที่มั่นคงพอสมควรที่ไม่สั่นคลอนง่าย
ข้อเสีย หัวเข่านั่งแนบติดกับพื้นเพียงข้างเดียวหัวเข่าข้างขวาไม่ติดพื้น นั่งใหม่ๆจึงรู้สึกว่าร่างกายเอียงขวา ท่านก็ต้องค่อยๆพยุงร่างให้นั่งตรง ก็จะแก้อุปสรรคนี้ได้ และนั่งทรงตัวได้มั่นคงเทียบเท่าท่านั่งขัดสมาธิสองชั้น
ขาขวาที่พับทับบนขาซ้ายนั้นเหน็บชาง่าย
__________________


หน้า54
2 ท่านั่งขัดสมาธิสองชั้น (ขัดสมาธิเพชร)
คือนั่งและวางตัวทุกอย่างเหมือนท่าขัดสมาธิชั้นเดียว ต่างกันเพียงแต่เอาฝ่าเท้าซ้ายที่ถูกทับติดอยู่กับพื้นนั้นสอดขึ้นมาขัดในซอกพับของเข่าขวา มีลักษณะโคนขาทั้งสองข้างไขว้ประสานกันเป็นรูปหางนกนางแอ่น
ข้อดี หัวเข่าทั้งสองข้างแนบติดกับพื้น สามารถนั่งได้ตัวตรงไม่โยกโคลงเคลง เอนเอียง เสียการทรงตัว ระหว่างปฏิบัติ เป็นท่านั่งได้มั่นคงไม่สั่นคลอน
ข้อเสีย คือ ผู้ที่ไม่เคยฝึกนั่งขัดสมาธิท่านี้แล้ว เพียงเดี๋ยวเดียวที่เข้านั่งได้ที่ ก็เกิดอาการปวดขัดข้อเท้าทั้งสองข้าง และเท้าทั้งสองข้างเกิดอาการเหน็บชาได้ง่าย เป็นการทรมานสร้างความเจ็บปวดให้เกิดการกังวลกับจิตในขณะปฏิบัติสมาธิมาก จะต้องรีบคลายออกจากการนั่ง

................... ................... ..........

หน้า55

3 ท่านั่งขัดสมาธิแบบธรรมชาติ
คือนั่งและวางตัวเหมือนท่านั่งขัดสมาธิชั้นเดียวต่างกันตรงที่ไม่ต้องยกขาขวาขึ้นไปพาดบนขาซ้าย แต่พับขาขัดชิดลำตัว วางไว้บนพื้นติดขาซ้าย
ข้อดี เป็นการนั่งแบบธรรมชาติธรรมดา สามัญขาไม่เมื่อยชาได้ง่าย
ข้อเสีย เมื่อขาทั้งสองข้างไม่ขัดกันเลย จึงทำให้ร่างกายไม่ดึงรัดอยู่ในท่าที่มั่นคง จิตใจก็ต้องพะวงที่จะใช้สติกำกับให้ร่างกายนั่งทรงตัวให้ตรง จึงทำให้เกิดสมาธิได้ยาก
_______________

หน้า56

4 ท่านั่งพิงฝาเหยียดเท้า
เป็นท่านั่งที่นั่งสบาย คือเอาหลังพิงฝาบ้านหรือฝาห้องยึดตัวให้ตรง แล้วเหยียดขาออกไปนาบติดกับพื้น ขากับลำตัวนั่งแล้วเกิดเป็นมุมฉาก มือทั้งสองข้างซ้อนกันเหมือนท่านั่งขัดสมาธิชั้นเดียวแล้ววางไว้บนตัก
ข้อดี เป็นท่าที่เหมาะสมกับคนแก่ และท่านที่ทุพลภาพ ไม่สมประกอบ ก็สามารถที่จะใช้ท่านั่งนี้กำหนดจิตได้
ข้อเสีย การนั่งวิธีนี้ไม่มีหลักคํ้ายันให้ตัวตรงได้ดี ร่างกายจะคอยเลื่อนไหลลงมาเป็นท่านอน ทำให้จิตต้องคอยควบคุมให้ร่างนั่งตรง และเป็นท่าที่มีโอกาสง่วงนอนมากจึงเสียสมาธิได้ง่าย


หน้า57

5 ท่านั่งบนเก้าอี้ แล้วทอดขาลงเหยียบพื้น
เป็นท่าที่นั่งบนม้านั่งที่มีพนักพิงสูงพอ ประมาณที่จะพิงได้สบายหรืออาจจะมีที่เท้าแขน เมื่อนั่งแล้วให้ทอดขาลงมา เท้าจะต้องเหยียดลงมาตั้งฉากเหยียบถึงพื้นพอดี ถ้าเก้าอี้สูงเกินไป จะต้องหาม้านั่งเล็กๆมารองให้เท้าเหยียบ เท้าทั้งสองข้างกางออกเป็นการช่วยการทรงตัวของร่างกาย ส่วนฝ่ามือก็ยังคงวางมือขวาทับมือซ้าย หัวนิ้วแม่มือชนกันแล้ววางบนตัก หลับตาภาวนาบริกรรมกำกับตามแบบนั่งขัดสมาธิ
ข้อดี คือ เหมาะกับผู้ที่มีอาการปวดขา ปวดหัวเข่า และคนที่มีรูปร่างใหญ่ที่ไม่สามารถนั่งขัดสมาธิได้
ข้อเสีย ท่านที่สุขภาพขาไม่ดี นั่งทรงตัวไม่ดีจำเป็นต้องนั่งพิงเก้าอี้ จึงทำให้ง่วงนอนได้ง่าย ทำให้สติคลายออกจากการมีสมาธิได้ง่าย ถ้าเป็นไปได้ ควรจะพยายามนั่งแล้วไม่พิงพนักเก้าอี้ นอกเสียจากจำเป็นจริงๆ

หน้า58

6 ท่าเดินจงกรม
การเดินจงกรมเป็นวิธีฝึกสมาธิแบบหนึ่ง และเป็นวิธีออกกำลังบริหารร่างกายด้วย
ความดีของการเดินจงกรม
1. หลังจากการปฏิบัติจิตแล้ว เลือดลมจะขัดตามข้อตามเอ็นต่างๆ และเหน็บชาท่านควรจะเดินจงกรมเพื่อคลายเส้นเอ็นให้เลือดลมเดินได้สะดวก ซึ่งเป็นวิธีออกกำลังกายที่จะระบาย และขับโรคออกไปด้วย ช่วยไม่ให้เสียสุขภาพทั้งขาและกล้ามเนื้อส่วนต่างๆจะได้ไม่เป็นอัมพาตและเป็นการเสริมให้สุขภาพสมบูรณ์มีโรคภัยไข้เจ็บน้อยด้วย
2 .หลังจากรับประทานอาหารแล้ว ไม่ควรเข้านั่งสมาธิ ควรที่จะเดินจงกรมอย่างน้อย 15-30 นาที เพื่อช่วยให้อาหารที่รับประทานเข้าไปแล้วนั้น ย่อยง่าย ไม่ให้เกิดอาการอืดเฟ้อ แน่น เรอเปรี้ยว
3 .เป็นผู้อดทนต่อการทำงาน และเดินทางไกล คือ เมื่อท่านฝึกเดินจงกรมบ่อยๆ สมํ่าเสมอ จะเกิดความเคยชินจนเป็นนิสัยเพื่อฝึกให้หัวใจได้ทำงาน สูบฉีด

หน้า59
โลหิตอย่างสมํ่าเสมอไม่เป็นโรคหัวใจ และโรคความดันโลหิตสูงและตํ่า เป็นผลให้การเดินทาง หรือ ทำงานไม่เหนื่อยง่าย และช่วยลดไขมันในร่างกายไม่ให้อ้วนเกินควรด้วย
4. เกิดความเพียร สร้างความอดทนให้กับผู้ปฏิบัติจิต เพราะเมื่อนั่งสมาธิในอิริยาบถอื่นใดแล้ว อาจจะเกิดอาการเมื่อยขบที่ทนอยู่ไม่ได้นานก็ควรที่จะใช้การเดินจงกรมภาวนาสลับกับการนั่งบำเพ็ญจิต จะช่วยสงบได้ผลไวกว่าปรกติ และเมื่อได้สมาธิจากการเดินจงกรมภาวนาจะเป็นอารมณ์ที่อยู่ได้นาน ไม่เสื่อมง่าย
5.เมื่อฝึกเดินจงกรมภาวนาสมํ่าเสมอ เป็นการฝึกให้มีสมาธิแบบลืมตา จึงมีผลฝึกให้มีสมาธิในระหว่างเดินและระหว่างทำงานอีกทางหนึ่ง
สถานที่ที่เหมาะสมกับการเดินจงกรม
สถานที่ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเดินจงกรม คือสนามหญ้า และโดยเฉพาะอย่างยิ่งยามเช้าที่นํ้าค้างประพรมบนใบหญ้า ยิ่งเป็นการดี เพราะนํ้าค้างตาม
__________________

หน้า60
ใบหญ้านั้นเป็นธาตุนํ้าบริสุทธิ์ของธรรมชาติ เมื่อเท้าเราก้าวสัมผัสนํ้าค้างบนใบหญ้า ธาตุนํ้าค้างนั้นจะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการปรับธาตุทั้ง 4 คือ ดิน นํ้า ลม ไฟ ในร่างกายเราให้เสมอกันอันเป็นเหตุสำคัญที่จะลดการเจ็บป่วย
(ถ้าหาสถานที่อย่างนี้ไม่ได้ ที่ไหนๆก็ฝึกเดินได้)
วิธีปฏิบัติ
เป็นไปตามขั้นตอนดังนี้
1. ยืนในท่าสงบ อกผายไหล่ผึ่ง มือประสานกันโดยมือขวาทับมือซ้ายอยู่บริเวณเอวด้านหลัง นิ้วหัวแม่มือชนกัน เพื่อให้เลือดที่หมุนเวียนนำธาตุไฟในร่างกายถ่ายเทได้ดี
ระหว่างเดินจงกรมนั้น จะต้องใช้สติกำหนดรับรู้การก้าวเท้า ก้าวเท้าซ้ายก็รู้ ก้าวเท้าขวาก็รู้ ยืนหยุดอยู่กับที่ก็รู้ว่ายืนอยู่
2. เดินก้าวแบบธรรมดา โดยเท้าอยู่ในลักษณะตรงไม่งอ ปลายเกร็งลาดตํ่ากว่าส้นเท้า เหยียดให้เต็มที่



หน้า61
เพื่อให้เส้นเอ็นคลาย แล้วใช้ปลายเท้าชี้ลงแตะพื้นก่อนส้นเท้า พร้อมกับสูดลมหายใจเข้าปอด กำหนดจิตว่า " พุท " สายตารวมเพ่งไปที่หัวแม่เท้าซ้าย
ก้าวเท้าขวาออกไปข้างหน้าพอสมควร โดยเท้าอยู่ในลักษณะเช่นเดียวกับการก้าวเท้าซ้ายพร้อมกับระบายลมหายใจออก กำหนดจิตว่า " โธ " สายตารวมเพ่งไปที่หัวแม่เท้าขวา
การเดินวิธีนี้เดินก้าวไปข้างหน้าแบบธรรมดา
3. เดินก้าวแบบจัดขาเดินในเส้นตรง วิธีนี้เหมาะกับคนที่ขาแข็งแรงเดินสะดวก วิธีการเดินและการวางมือนั้นเหมือน ข้อ 2 ต่างกันเพียงแต่ว่า เมื่อยกเท้าออกไปนั้นขณะที่เท้ากำลังจะเหยียบ ลงดินถึงพื้นนั้น ปกติเราจะใช้ฝ่าเท้าด้านนอกตัวสัมผัสพื้นก่อนแต่วิธีนี้จะพยายามใช้ฝ่าเท้าด้านในสัมผัสพื้น และเหยียบลงไปตามเส้นตรงกับเท้าที่ก้าวเหยียบไปก่อนแล้ว คือ เดินเป็นเส้นตรงตลอดทาง ถึงที่เลี้ยวก็ยืนหยุดแล้วเลี้ยวเดินต่อไป
__________________
บันทึกการเข้า
kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน630
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2363


NightBaron


เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2010, 08:40:36 AM »

หน้า62
ข้อสังเกต ระยะเท้าก้าวออกไปนั้น ก้าวตามความถนัด เพราะวิธีนี้ ต้องเดินแบบใช้สมาธิ สติ สูงกว่าวิธีแรก เพื่อการทรงตัวและจัดขาเดินให้เป็นเส้นตรง
ข้อเสีย คนที่ขาไม่แข็งแรง หรือคนมีอายุไม่ควรใช้เดินวิธีนี้ ระวังจะพาให้หกล้มได้ง่าย
4 .ก้าวเท้าเช่นนี้สลับไปเรื่อยๆ ก้าวเท้าควรจะก้าวยาวพอดี อย่าให้ยาวเกินไป สั้นเกินไป อย่าให้ช้านัก อย่าให้เร็วนัก ควรใช้เวลาอย่างน้อย ประมาณ 15-30 นาที
5. การเดินจงกรมนี้ จะเดินในวงแคบหรือ วงกว้างก็ได้ แล้วแต่สถานที่จะอำนวยให้
เมื่อเดินไปถึงปลายสุดทางที่จะเลี้ยวนั้น ต้องยืนนิ่งก่อนกำหนดจิตรู้ว่า ยืน แล้วจึงหันตัวเดินต่อไป ระหว่างหันตัว ก็ให้กำหนดจิตรู้ว่า กำลังหันตัวอยู่
................... ................... .
หน้า63
7 ท่ายืน
ยืนในท่าทางสงบ เท้าทั้งสองข้างยืนห่างกันประมาณ 1 คืบ ปลายเท้ากางออกเล็กน้อย ยืดตัวตรงหลังไม่ค้อมงอ คางหดและกดลงเล็กน้อย ยืนอยู่ในท่าสงบสบายไม่ตึงเครียด สายตามองทอดตํ่าลงที่พื้นห่างจากลำตัวไม่ควรเกิน 1 ก้าว ส่วนฝ่ามือนั้นให้ใช้นิ้วประสานกันวางไว้หน้าท้อง นิ้วหัวแม่มือชนกัน วิธีบริกรรมภาวนากำกับนั้น เหมือนวิธีภาวนาทั่วไป ต่างกันที่ลืมตาขึ้นเล็กน้อย
ข้อดี เป็นการเปลี่ยนอิริยาบถอีกแบบหนึ่ง เพื่อฝึกสมาธิให้ต่อเนื่อง และเหมาะอย่างยิ่งในการยืนปลงสังขาร และสรรพธรรม เช่น ปลงสิ่งทั้งหลายจนเห็นความจริงแห่งอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ล้วนไม่เที่ยงแท้
ข้อเสีย ท่ายืนนี้ยืนอยู่ไม่ได้นาน เมื่อยล้าได้ง่าย จิตต้องคอยพะวงการทรงตัวให้ยืนอยู่ให้ได้ ทำให้ความเพียรเสื่อมถอยได้ง่ายกว่าการเดินจงกรม และไม่เหมาะสมกับท่านที่มีร่างกายไม่แข็งแรงเพราะในขณะยืนนั้น
__________________

หน้า64
เลือดจะคั่งค้างอยู่ในส่วนท่อนล่างของร่างกายมาก จึงทำให้เลือดขึ้นไปเลี้ยงสมองน้อยกว่าปรกติ ยืนนานๆเข้าจะเกิดอาการเวียนหัว มึนศีรษะ เมื่อมีอาการเช่นนี้ควรรีบงดเว้นการปฏิบัติ แล้วลงนั่งพักผ่อนก่อนที่จะเป็นลม หกล้มหัวฟาดพื้นได้ จึงเป็นข้อควรระวังสำหรับท่านที่สุขภาพไม่แข็งแรง




หน้า65

8 ท่านอนสีหไสยาสน์
นอนด้วยท่าทางสงบ นอนตะแคงขวาเพื่อไม่ให้บีบทับหัวใจมากเกินไป มือขวาวางหงายไว้บนหมอนข้างแก้มขวา มือซ้ายวางราบไปตามลำตัว ขาขวาวางเหยียดไปแบบธรรมชาติไม่ต้องเกร็งให้ตรงเกินไป โคนขาซ้ายทับขาขวาอย่างพอเหมาะ เข่าซ้ายพับงอเล็กน้อย ปลายเท้าซ้ายวางลาดตํ่าไว้หลังเท้าขวา เป็นการช่วยพยุงร่างให้ทรงตัวในท่านอนได้นาน
ส่วนการกำหนดบริกรรมลมหายใจนั้น กำหนดเหมือนบทเดิม จนกว่าจะหลับไป หรือว่าบริกรรมเพื่อพักชั่วคราว และเมื่อตื่นขึ้นมาก็ต้องมีสติกำหนดบริกรรมกำกับลมหายใจอีกจนกว่าจะลุกขึ้น เพื่อเปลี่ยนอิริยาบถใหม่
ท่านที่เป็นโรคกระเพาะอาหารย้อยหย่อนยาน ควรนอนท่าตะแคงข้างขวา เพื่อไม่ให้กระเพาะอาหารย้อยถ่วงลงมามากกว่าเดิม และเมื่อฝึกสมาธิก็พยายามขับลมหายใจลงสู่เบื้องตํ่าเป็นการบีบรัดและเร่งให้กล้ามเนื้อนั้นมีกำลัง กระเพาะอาหารก็จะค่อยๆคืนสู่ตำแหน่งเดิม
ข้อดี เป็นท่าที่เหมาะสมกับคนแก่ หรือท่านที่เจ็บป่วย หรือมีร่างกายอ้วนมากจนไม่เหมาะกับการที่จะใช้ท่าอื่นเพื่อการฝึกปฏิบัติจิต
เป็นท่านอนที่มีสติอยู่ได้นานกว่าท่านอนหงาย
ข้อเสีย ท่านอนทุกท่า เมื่อวางตัวนอนแล้วศีรษะจะอยู่ในลักษณะระดับลาดใกล้เคียงกับลำตัวที่นอนขนานกับพื้นหรือเตียง เลือดจึงไหลขึ้นไปคั่งอยู่ที่สมองมากกว่าปรกติ เดี๋ยวเดียวที่เข้านอนได้ที่ ส่วนมากก็จะหลับ
บางครั้งจะหลับก่อนที่จะได้สมาธิที่สมบูรณ์
__________________

หน้า66

9 ท่านอนหงาย
ท่านี้เหมาะกับคนที่มีร่างกาย อ้วน หรือไม่สะดวกในการใช้ท่าฝึกสมาธิท่าอื่น
ในขณะเดียวกัน ท่านอนทุกท่าเป็นอิริยาบถของการเตรียมตัวหลับนอน ดังนั้น จึงเป็นการฝึกสมาธิก่อนนอนโดยปริยาย แม้ว่าจะฝึกจิตยังไม่ทันหลับ สติความระลึกรู้ก็จะดับไปพร้อมกับนอนหลับสนิท
................... ...............
หน้า67

ท่านอนหงายรักษาโรคปวดหลัง ท่านี้เหมาะกับคนที่ปวดหลัง คือนอนหงายเหยียดตรงไปบนพื้นหรือพื้นห้องที่ไม่มีฟูกหรือที่นอนอ่อนนิ่มรองรับอยู่ แล้วเอาผ้าบางๆพับให้เป็นเส้นหนาพอควร ความหนาของผ้านี้อาจจะใช้ความหนาไม่เท่ากันทุกคน ขอให้พิจารณารองแล้วนอนไม่อึดอัดเกินไปก็ใช้ได้ ผ้าที่พับนั้น เมื่อพับแล้วต้องยาวกว่าความกว้างของแผ่นหลังท่านเล็กน้อย พับแล้วจึงนำผ้านั้นสอดขวางกับลำตัววางไว้อยู่ใต้บั้นเอวพอดี
ส่วนฝ่ามือนั้นให้นิ้วประสานกัน นิ้วหัวแม่มือจรดชนกันวางอยู่ที่หน้าท้อง ไม่ควรวางไว้หน้าอก เพราะธาตุไฟที่ถ่ายเทผ่านฝ่ามือ จะเผาผลาญอวัยวะภายในอก เช่น ตับ ปอด หัวใจ ทำให้ตื่นขึ้นมาเหมือนคนมีไข้ และจะมีอาการหิวนํ้า
ส่วนลมหายใจนั้นก็กำหนดบริกรรมกำกับเหมือนทุกท่าของการปฏิบัติ
ถ้าอากาศเย็นควรหาผ้าคลุมร่างให้อบอุ่นไว้ด้วย
ข้อดี ท่านอนทุกท่าที่นอนแล้วภาวนาปฏิบัติจิตนั้นเป็นการฝึกแบบเก็บเล็กผสมน้อยก่อนนอนหลับ แม้จะเพียงวันละ 5 นาทีก็ยังดี และเป็นผลพลอยได้ คือ จะหลับได้สบายอย่างมีสติด้วย
ข้อเสีย มีเวลาน้อยมากที่จะภาวนาให้เกิดสมาธิเพราะหลับก่อน แต่ก็ยังเป็นประโยชน์แก่คนที่นอนหลับยากที่จะใช้เวลาก่อนนอนหลับนั้น ภาวนาจนกว่าจะหลับสนิทไปเป็นการแก้ไขการทรมานกระสับกระส่าย ไม่เกิดอาการกระวนกระวายก่อนหลับนอน
__________________

หน้า69

สมาธิรักษาโรคนอนไม่หลับ

ข้อแนะนำสะกดตนเองให้นอนหลับ

คนที่คิดมากเกิดความกังวลใจ ห่วงนั้น ห่วงนี่ ห่วงลูก ห่วงหลาน ห่วงสมบัติ หรือห่วงว่าจะไม่มีกินคิดแล้วไม่หยุดยั้งชั่งใจให้สงบบ้าง จึงเกิดเป็นโรคประสาทอ่อน หรือโรคประสาทมากๆ นั้น ส่วนมากจะมีอาการอย่างหนึ่ง คือนอนไม่หลับ อันเป็นทุกข์อย่างยิ่งจึงควรปฏิบัติดังนี้

9.1 อย่านอนหลับกลางวัน กลางวันถ้าเกิดอาการง่วงนอน พยายามอย่าไปนอนหลับหรือนั่งพักผ่อน ควรจะหางานทำที่ต้องใช้กำลังกายบ้าง หรือว่า เดินให้หายง่วง อาจจะใช้ท่าเดินจงกรมเดินไปแผ่เมตตาไปตามทุกลมหายใจ จะช่วยให้จิตใจสบายปลอดโปร่งคลายความหงุดหงิดได้

9.2 กลางคืนอย่านอนหลับหัวคํ่าเกินไป ให้นอนหัวคํ่าที่สุดประมาณ 21.00 น. หรือว่าดึกกว่านี้หน่อยเวลานอนจะได้นอนหลับทีเดียวจนถึงเช้า

9.3 ทำจิตใจให้มีอารมณ์สบายๆ ก่อนนอน สวดมนต์ไหว้พระ แผ่เมตตา ระลึกถึงกุศล ความดีที่เคยทำมา แล้วอุทิศผลบุญเหล่านั้นให้กับผู้มีพระคุณทุกท่าน และเจ้ากรรมนายเวร แล้ววางอารมณ์ทุกอย่างลืมเสียให้หมด เช่น ดีใจจนตื่นเต้น เสียใจจนเศร้าโศก ความอาฆาตมาดร้ายพยาบาท หรือว่า ความคิดที่ว่าทำอย่างไรจึงจะได้มีสมบัติมากๆ เป็นต้น

9.4 สะกดใจให้สงบอยู่กับที่ นอนในท่าที่รู้สึกว่าสบายหลับตาแล้วภาวนาหายใจเข้าว่า “พุท ”หายใจออกว่า “โธ ”หรือสวดมนต์ในใจบทใดบทหนึ่งก็ได้ส่วนจิตใจนั้นต้องส่งความรู้สึกทั้งหมด ไปตามคำภาวนาหรือบทสวดมนต์นั้นๆ ไปเรื่อยๆ ภาวนาจนกว่าจิตใจ จะสงบและหลับไป

9.5 ปล่อยใจวางภาระทุกอย่าง นอนในท่าที่รู้สึกสบาย หลับตาแล้วระลึกถึงกุศลความดีที่ได้ทำมา แล้วอุทิศให้ผู้มีพระคุณทุกท่าน และเจ้ากรรมนายเวรแล้วภาวนาแผ่เมตตาไป จนจิตใจสงบหลับไปในที่สุดระหว่างภาวนาแผ่เมตตานั้น จิตใจจะต้องน้อมนำไปตามความหมายของบทแผ่เมตตา

ถ้ายังไม่หลับ ให้ระลึกว่า กายเรานี้สักแต่ว่ากายเป็นเพียงก้อนธาตุก้อนหนึ่งที่วิญญาณเราอาศัยอยู่ เพื่อใช้กรรม รอเวลาให้หมดวาระตามอายุขัยที่มีอยู่ หรือตามกรรมที่กระทำไว้ในอดีต ที่จะส่งผลมาปัจจุบันชาติให้เราอาจจะตายเมื่อใดก็ได้ บางทีเดี๋ยวก็อาจจะตาย
ร่างนี้พร้อมแล้วที่จะแตกดับไป กายนี้พร้อมแล้วที่จะแปรธาตุสลายไปสู่ธาตุเดิมคือ ดิน นํ้า ลม ไฟ ที่อยู่ตามธรรมชาติ ไม่เป็นแก่นสารสาระอะไรที่เราจะมายึดมั่นถือมั่นให้ทุกข์กาย ทุกข์ทั้งใจ เราไม่มีอะไรที่จะยึด เราไม่มีอะไรที่จะหลง เมื่อนั้นเราจึงไม่มีทุกข์ใดๆ ที่จะมาทำให้เราต้องกังวลจนนอนไม่หลับ คิดไปภาวนาไปเรื่อยๆ แล้วทำใจสบายๆ ไม่เครียดแบบเอาจริงเอาจัง ทำใจให้ได้ว่า การนอนหลับของเราก็คือ การตายแบบหนึ่งที่เราปล่อยใจ วางภาวะทุกอย่างเตรียมพร้อมแล้วที่จะตาย เพราะทุกอย่างของคนเรานั้น สิ้นสุดที่ “ ตาย ”
__________________

หน้า72

10 ท่าฝึกสมาธิแบบอิสระ

เป็นการฝึกปฏิบัติสมาธิจิตที่ไม่จำกัดท่าฝึกสถานที่เพียงแต่มีเวลาชั่วขณะหนึ่ง หรือว่า ยามที่ไม่ต้องใช้ความคิดท่านก็หาโอกาสนั้นที่จะภาวนาได้แม้จะไม่หลับตาก็ภาวนาได้ เช่น ขณะนั่งรถ เดินทาง หรือว่า นั่งซักเสื้อผ้า เก็บกวาด ทำความสะอาด ท่านเพียงแต่ภาวนา “ พุท ” “ โธ ”ควบคุมอารมณ์ให้สงบ ก็เป็นการฝึกจิตให้สงบอย่างเบื้องต้นที่ดีแล้วแม้จะเป็นระยะเวลาสั้น

ท่าอิสระอีกแบบหนึ่ง

เป็นวิธีฝึกสมาธิปฏิบัติจิต ที่เหมาะสำหรับท่านที่ไม่มีเวลาว่างจริงๆ เพียงแต่ท่านใช้เวลาให้จิตสงบครั้งละ 5 นาที

เมื่อท่านเมื่อยล้าจากการงาน การใช้สายตา ประสาทเครียด มึนศีรษะ หรือกำลังโมโหอยู่ ขอให้ท่านนั่งหรือนอนในอิริยาบถที่สบาย หลับตานึกถึง พระพุทธเจ้า หายใจเข้าท่องว่า “ พุท ” หายใจออกท่องว่า “ โธ ” เมื่อครบกำหนดเพียงประมาณครู่หนึ่งหรือ 5 นาที แล้วออกจากสมาธิ ร่างกายก็จะรู้สึกสดชื่นขึ้น พร้อมที่จะทำงานต่อไป ตาก็ได้พักสายตาคลายความเมื่อยล้าของประสาทตา ประสาทต่างๆ ก็คลายความเครียดลงสมองก็จะปลอดโปร่ง ความโมโหโทโสก็หยุดชะงักลงเกิดสติยั้งคิดทันก่อนที่จะทำอะไรผิดพลาดไปได้

นี่ละ “ อานิสงส์ของสมาธิเพื่อชีวิตประจำวัน ”


หน้า74
การฝึกสมาธิที่ดี

ต้องเน้นหนักทั้งการออกกำลังบริหารกายที่พอเหมาะและการพัฒนาจิตใจอย่างสมํ่าเสมอ

“ ท่ามกลางความสับสนวุ่นวายของสังคม
ท่านสามารถอยู่อย่างสงบกาย สงบใจ
ท่านก็คือยอดคนที่มีสมาธิอันยอดเยี่ยม ”
บันทึกการเข้า
kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน630
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2363


NightBaron


เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2010, 08:45:45 AM »

หน้า75

รักษาอารมณ์ให้ดีก่อนปฏิบัติฝึกสมาธิจิต

ถ้าท่านเป็นคนเจ้าโทสะ โมโหร้าย ด้วยเหตุที่เอาแต่ใจตัวก็ตามหรือภาวะแวดล้อมเป็นเหตุก็ตาม ที่ทำให้ท่านไม่พอใจ

ในขณะที่จิตใจปั่นป่วนนั้น ธาตุภายในร่างกายก็พลอยปั่นป่วนด้วยเป็นเหตุให้การปฏิบัติสมาธิจิตสงบได้ยาก

ท่านควร นิ่งเงียบ หยุดโมโหโทโสสักครู่แล้วพิจารณาว่า โมโหแล้วจะได้มีอะไรดีขึ้นเพราะโมโหแล้วมีแต่ทำให้สุขภาพกายและจิตเสื่อมท่านก็จะหยุด พ้นจากกิเลสเหล่านี้ที่คอยเกาะกุมอยู่เหนือเรา คอยบัญชาเราแล้วท่านก็จะรักษาอารมณ์ให้สงบลงมา มีจิตใจสงบสดชื่น ร่าเริงทุกครั้งก่อนที่จะเข้าปฏิบัติ

ท่านต้องไม่ใช่ฝึกเพราะถูกบีบบังคับ หรือจำใจที่จะต้องฝึก แต่ฝึกเพราะความสมัครใจที่หวังความสงบและหลุดพ้นจากวัฏสงสาร ด้วยใจที่สมัครเข้าฝึก


หน้า76

นี้เอง จึงทำให้ท่านไม่เกิดความท้อแท้ เบื่อหน่ายรังเกียจที่จะเข้าฝึกครั้งต่อไป

เริ่มต้นฝึกด้วยความตั้งใจ วางจิตใจ ร่างกายให้อยู่ในอารมณ์สบายๆ ตัดความกังวลทั้งหมดวางไว้นอกกาย เช่นกังวลเรื่องที่อยู่อาศัย งาน การเรียน หมู่คณะครอบครัวและญาติ สำหรับผู้มุ่งหวังโลกุตระแล้วไม่ควรกังวลถึงเรื่องตระกูล ชื่อ เสียง ลาภ เกียรติ ยศ สรรเสริญ ที่ตนเคยมีอยู่และห่วงกลัวว่าจะไม่ได้ในอนาคต ห่วงการเดินทาง ห่วงการเจ็บป่วย ห่วงเรื่องอิทธิฤทธิ์ ควรตัดความกังวลเหล่านี้ออกจากใจชั่วขณะหนึ่งที่ปฏิบัติไม่คิดถึงเรื่องในอดีตแม้ลมหายใจที่ผ่านไปและไม่คิดถึงเรื่องอนาคตแม้ลมหายใจที่ยังมาไม่ถึง แต่ให้คิดถึงภาวะปัจจุบันคือ

“ ภาวะที่กำลังฝึกปฏิบัติสมาธิจิตให้สงบอยู่ ”
__________________

หน้า77

ฝึกสมาธิควรสนใจฝึกลมปราณ

ท่านที่จะฝึกปฏิบัติสมาธิจิตนั้น ก็ควรจะศึกษาวิธีฝึกลมปราณด้วย เพื่อประโยชน์ในการฝึกต่อไป เพราะฝึกสมาธิกับฝึกลมปราณต่างกันเพียงเล็กน้อย

คือ เริ่มต้นเหมือนกันที่ “ ต้องทำใจให้สงบก่อน ”

แล้วจึงไปแยกทางดังต่อไปนี้ แต่ผลจากการปฏิบัติยังคงมีหลายสิ่งหลายอย่างเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมา

ฝึกปฏิบัติสมาธิจิตนั้น

เน้นหนักในด้านความสงบ

โดยหายใจตามปรกติแล้วไปเน้นการฝึกจิตให้สงบเพื่อเป็นพื้นฐานในการอบรมจิตให้รวมเป็นหนึ่ง สืบเนื่องจนถึงขั้นวิปัสสนา

หน้า78

ฝึกลมปราณเน้นหนักในด้านสร้างกำลังภายใน

โดยเน้นไปบริหารลม หายใจที่เข้าออก ให้หายใจ ลึกๆ ช้าๆ ต่อเนื่องจนจิตสงบเป็นพื้นฐานการสร้างกำลังภายใน เพื่อรักษาร่างกายให้แข็งแรง และรักษาโรคที่เกิดกับร่างกายบางชนิดได้

ฝึกสมาธิและฝึกลมปราณจนถึงจุดหนึ่ง เหมือนกับจะสงบจนคล้ายตกอยู่ในภวังค์ มีตัวตนเหมือนไม่มีความนึกคิดเหมือนไม่มี

ถ้าจะพิจารณาสภาวธรรมคือ วิปัสสนา หรือว่าการใช้อำนาจจิตก็ต้องฝึกให้ได้สมาธิขั้นกลาง ไม่ตกสู่ภวังค์แล้วใช้สติพิจารณาสภาวธรรมนั้นๆส่วนเรื่องการใช้อำนาจจิตก็ใช้ภาวะจิตนี้ ส่งกระแสอำนาจจิตไปตามที่ต้องการ

แต่ถ้าจะเดินลมปราณก็ต้องไม่ให้จิตตกภวังค์เช่นกันแล้วส่งความนึกคิดไปจับที่กองลมหายใจ ให้ไปลงที่จุด “ ตั้งช้าง ” หรือนำพาลมปราณเดินทั่วกายต่อไป
__________________

หน้า79

ฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน

วิธีการฝึกลมปราณนี้ เป็นวิธีฝึกการหายใจให้เกิดความเคยชิน และสืบเนื่องจนเป็นนิสัยที่ดีของการหายใจ เพื่อใช้นำการหายใจในการฝึกปฏิบัติสมาธิจิตทุกๆครั้ง และหลังจากออกจากสมาธิแล้ว
อนึ่งเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในระหว่างฝึก “ลมปราณ ” พร้อมทั้งข้อปฏิบัติระหว่างฝึกนั้นมีส่วนคล้ายคลึงกับเหตุที่จะเกิดขึ้นในระหว่างฝึกปฏิบัติจิตด้วย

ส่วนท่าฝึกใช้ร่วมกันได้
ด้วยเหตุนี้ จึงได้เขียนรวมไว้ในที่นี้
ฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน

ก่อนอื่น ใจเย็นๆ นั่งลงหายใจตามปรกติก่อน สัก 1 หรือ 2 นาที ถ้าเหนื่อยมาจากงาน หรือเพิ่ง


หน้า80

เดินทางมาถึง นั่งพักสักครู่ก่อน เพื่อให้ใจสงบลงพร้อมที่จะฝึกต่อไป

จากนี้ เลือกท่าฝึกที่เหมาะสมกับสังขารท่านท่าใดท่าหนึ่ง

โดยปกติคนเราจะหายใจช่วงสั้นและตื้น

ไม่ได้ใช้ความสามารถของปอดที่สามารถขยาย และหดอย่างเต็มที่ จึงทำให้ปอดไม่ได้หายใจเอาอากาศดีเข้าและขับอากาศเสียออกจากร่างกายอย่างเต็มที่ ปอดจึงไม่สามารถฟอกโลหิตให้สดใสสมบูรณ์ดีเท่าที่ควรเป็นผลให้ร่างกายเจ็บป่วยได้ง่าย

การฝึก “ ลมปราณ ” ต่อไปนี้จะช่วยป้องกันและรักษาท่านหายจากโรคภัยไข้เจ็บได้

ฝึกลมปราณก็ต้องอาศัยการฝึกจิตให้สงบก่อน

การฝึกนี้ไม่ต้องใจร้อนรีบเร่ง ไม่ฝืนสังขารและฝืนจิตใจ ทำใจสบายๆ ค่อยๆฝึก และฝึกจนจิตรวมเป็นหนึ่ง จึงจะเป็นพื้นฐานที่ดีของการฝึกลมปราณต่อไป
__________________

หน้า81

1. ทำใจให้สงบแล้วค่อยๆหลับลง หุบปากแล้วใช้ปลายลิ้นคํ้า แตะเพียงเบาๆที่เพดาน

2. หายใจตามปรกติวิสัยจนกว่าจะสงบ รวมจิตเป็นหนึ่งก่อน แล้วจึงหายใจเข้าค่อยๆ ลึกขึ้นด้วย วิธีถอนหายใจลึกเข้าๆจนสุดแรงดูดลม ลมหายใจนั้นจากหยาบให้ค่อยๆปรับให้ละเอียดมากขึ้น จากการหายใจตื้นให้ค่อยๆ ลึกจากการหายใจช่วงสั้นให้ค่อยๆเป็นช่วงยาวขึ้น ค่อยๆเพิ่มขึ้นทีละขั้นอย่างช้าๆ ตามลำดับ

แล้วค่อยๆผลักดันนำส่งลมหายใจที่ดูดเข้ามานั้นให้ตำลงๆ จนกว่าจะเลยสะดือลงไป 3 นิ้วเป็นตำแหน่งที่ตั้งของจุด “ ตั้งช้าง ”
การนำล่องลมหายใจให้ตำนี้ ไม่ควรจงใจใช้แรงบีบเกร็งกล้ามเนื้อให้ดันลมหายใจตำลงไป แต่เป็นการทำงานที่เรียกว่าจิตสำนึกว่า ความรู้สึกของจิตใจไปจับที่กองลม จึงสมมุติว่าเห็นกองลมที่หายใจเข้านั้นเป็นกลุ่มลมสีขาวกำลังถูกนำผ่านรูจมูก ผ่านหลอดลม ผ่านปอดแล้วผ่านช่องท้องและลงตํ่าจนถึงท้องน้อย ซึ่ง


หน้า82

ที่ตั้งของจุด “ ตั้งช้าง ”เมื่อลมหายใจถึงจุด “ ตั้งช้าง ” แล้วค่อยๆ ปล่อยลมหายใจออก ช่วงที่ลมหายใจเข้าและออก จะต้องฝึกให้ใช้ระยะเวลายาวเท่าๆกัน จิตใจก็จะค่อยๆสงบลงมา

การหายใจเข้าออกตามวิธีนี้ จะต้องเป็นลักษณะธรรมชาติ หายใจไม่มีเสียง ไม่ใจร้อนรีบเร่ง การหายใจเป็นไปอย่างมั่นคง เชื่องช้า ต่อเนื่องไม่ขาดช่วง ละเอียดนิ่มนวล ลึก ยาว

ลักษณะการฝึกการหายใจที่ถูกต้อง คือหายใจแล้วไม่รู้สึกลำบากและเหนื่อย ประสาทผ่อนคลายความตึงเครียด จิตใจสงบว่างเปล่า จึงเป็นการถูกต้อง

3. เมื่อฝึกลมหายใจแบบนี้ผ่านไประยะหนึ่งจะ รู้สึกว่าลมหายใจเข้านั้น มีกระแสลมพัดจากเบื้องบนลงสู่เบื้องตำจนถึงจุด “ ตั้งช้าง ” เหตุที่รู้สึกว่ามีกระแสลมนั้นก็เพราะว่าเวลาถอนหายใจเข้านั้น กล้ามเนื้อซี่โครงจะหดตัวดึงกระดูกซี่โครงให้ยกขึ้นและบานออก ทรวงอกจะพอกโตขึ้นช้าๆ ท้องน้อยก็จะค่อยๆหดเข้าช่วงนี้ปอดก็จะขยายพองตัวออกดูดอากาศดีเข้าเต็ม

บันทึกการเข้า
kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน630
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2363


NightBaron


เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2010, 04:33:27 PM »

หน้า83

ปอดจึงขยายตัวพองโตตั้งแต่ใต้ขั้วปอดลงมาจนถึงปลายกีบของปอด และที่ใต้ปอดนั้นมี “ กระบังลม ” ที่มีโครงสร้างคล้ายพังผืดกั้นขวางระหว่างทรวงอก กับ ช่องท้อง เมื่อปอดขยายตัว ก็จะผลักดันให้กระบังลมหดตัวขยับลดตำลงมา พอตอนที่ปอดคลายลมหายใจออกนั้น กล้ามเนื้อซี่โครง และกระบังลมจะคลายตัวออกก็จะแฟบลงท้องน้อยก็จะพองคืนสู่สภาพปรกติ

การหายใจเข้าและออกเช่นนี้ จึงเกิดการบีบรัดและผ่อนคลายของอวัยวะภายในทรวงอก และที่ช่องท้องเป็นการเพิ่มการเคลื่อนไหวภายในมากขึ้น จึงรู้สึกว่าเป็นกระแสลมวิ่งตามลมหายใจที่เรียกว่า “ กระแสพัดพาภายในร่างกาย ”นั้น การเคลื่อนไหวเช่นนี้จึงเป็นการบริหารภายในร่างกาย

กำลังภายในเคลื่อนไหวภายในร่างกาย

หลังจากฝึก ลมปราณ หรือ ฝึก สมาธิ ไปได้ระยะหนึ่งแล้ว ท่านอาจจะรู้สึกว่าท้องน้อยที่เป็นที่ตั้งของจุด " ตั้งช้าง " มีกลุ่มความร้อนเกิดขึ้น


หน้า84

ระยะเวลาที่ฝึกแล้วจะเกิดกลุ่มความร้อนนี้ใช้เวลาไม่เท่ากันทุกคน ต้องแล้วแต่ความสมบูรณ์ของสังขารและความพร้อมของจิตใจที่ได้ฝึกมาถูกต้อง เข้าหลักได้ดี เพียงใดก็จะเกิดผลเร็วเพียงนั้น บางท่านฝึกไปในทางจิตสงบ หลายท่านตั้งแต่เริ่มฝึกใหม่ๆ จนถึงขั้นจิตสงบอาจจะไม่มีกลุ่มความร้อนนี้เกิดขึ้นก็ได้

กลุ่มความร้อนนี้เราเรียกกันว่า “ กลุ่มกระแสกำลังภายใน ” เป็นพลังงานที่เกิดจากการฝึก ลมปราณ

กลุ่ม ความร้อนนี้เมื่อเกิดขึ้นใหม่ๆ อาจจะเกิดขึ้นชั่วครู่หนึ่งหรือเกิดความรู้สึกเพียงบางครั้งบางคราวของการ ฝึก แต่เมื่อใดที่เราจับจุดที่จะเกิดความสำเร็จนี้ได้แล้ว เมื่อคราวใดที่เกิด “ กลุ่มความร้อน ”นี้แล้วใจเย็นๆ อย่าเพิ่งลุกจากที่ ไม่ตื่นเต้นดีใจ ไม่เสียใจ ที่เพิ่งจะสำเร็จ ทำใจสบายๆ วางตัวเป็นกลาง คงฝึกลมปราณธรรมดาต่อไป โดยไม่ต้องเพิ่มแรงบีบรัดกดดันหรือว่า เกร็งบีบประสาท ไม่ช้า กลุ่มความร้อนนั้นก็จะร้อนมากพอสมควรที่เรียกว่า “ ไออุ่น ” (แต่ไม่ใช่รู้สึกว่าความร้อนมากจนกระวนกระวาย)

................... ..

หน้า85
วิธีนำส่ง “ กลุ่มไออุ่น ” ให้พัดพาโคจรไปทั่วร่างกาย

“ กลุ่มไออุ่น ” นี้เมื่อเกิดขึ้นแล้ว อาจจะมีโอกาสโคจรไปตามร่างกายเอง โดยเราไม่ต้องนำพาก็ได้ แต่เขียนไว้เป็นลักษณะแผนที่ การเดินทาง ของกลุ่มไออุ่น เพื่อว่าถ้าเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นที่ใดและจุดใดแล้ว ควรที่ทำอย่างไรต่อไป จะได้ไม่ต้องตกใจ ถ้าประสบกับเหตุการณ์นั้นๆ

เมื่อเกิด “ กลุ่มไออุ่น ” ที่จุด “ ตั้งช้าง ” แล้วยังคงฝึกลมปราณไปตามปรกติ

ตั้งสมมุติฐานจินตนาการว่า เมื่อฝึกลมปราณจนกระแสกำลังภายในทับถม เสริม เพิ่มเติม ที่กลุ่ม ไออุ่น มากขึ้นๆ กลุ่มไออุ่นก็เพิ่มจำนวนหนาแน่นรวมกลุ่มใหญ่มากขึ้นหนักขึ้น (ทั้งนี้เป็นเพียงความรู้สึกเท่านั้นไม่ใช่แสร้งออกแรงบีบรัดบังคับกล้าม เนื้อ)หลังจากนั้นจึงรวบรวมความสนใจเพื่อใช้เสริมความรู้สึกมากขึ้น จะมีอาการคล้ายๆกับ กำลังถ่ายอุจจาระอยู่ และเมื่อฝึกไปๆอาจจะรู้สึกว่ากำลังถ่ายออกมาจริงๆ ขอให้อั้นกลั้นไว้


หน้า86

ก่อนฝึกต่ออีกระยะหนึ่ง “ กลุ่มไออุ่น ” ก็จะไหลผ่านจุด “ ฝีเย็บ ” (ตำแหน่งนี้อยู่ระหว่างช่องถ่ายเบากับทวารหนัก) มีข้อสังเกต คือ มีกลุ่มไออุ่นไหลผ่านต่อเนื่องหรือเหมือนกระแสไฟฟ้าไหลกระโดด ข้ามทวารหนัก อยู่ตลอด เวลาไปสู่จุดก้นกบ (ตำแหน่งนี้อยู่ที่ปลายสุดของกระดูกสันหลัง) เมื่อกลุ่มไออุ่น รวมถึงจุดก้นกบแล้ว ก็จินตนาการต่อว่า นำกลุ่มไออุ่น ส่งต่อขึ้นไปกระดูกสันหลัง (การนำส่งช่วงนี้ จะรู้สึกว่า มีอาการหดช่องทวารหนักขึ้นไป) กระแสกลุ่มไออุ่นก็จะผลักดันขึ้นสันหลังเอง (โดยไม่ต้องแสร้งชักนำ)

ระหว่างที่ไออุ่น ยังเคลื่อนไหวโคจรไปสู่ทั่วร่างกายนั้น ก็ยังคงหายใจฝึกลมปราณเสริมทับถมให้กับจุด “ ตั้งช้าง ” ต่อไป เหมือนกับว่า เรากรอกนํ้าเติมใส่ที่กรวยอยู่ตลอดเวลา เป็นการผลักดันนํ้าที่ไหลไปก่อน และนํา(กลุ่มไออุ่น) นั้นก็จะไหลไปตามท่อ คือ ผ่านตามจุดต่างๆของร่างกาย “ กลุ่มไออุ่น ” ก็ไหลขึ้นตามกระดูกสันหลัง ผ่าน “ จุดบั้นเอว ” ผ่านขึ้นไปที่ “ จุดคอพับ ” (จุดนี้อยู่ระหว่างกระดูกสันหลังช่วงระหว่าง
__________________

   
หน้า87

กระดูกต้นคอต่อกับไหล่พอดี สังเกตได้จากเวลาพับคอ จะมีกระดูกนูนขึ้นมาตรงจุดนั้น ) ขึ้นผ่าน “ จุดท้ายทอย ” (จุดที่กระดูกคอต่อกับหัวกะโหลก) ขึ้นไปสู่จุดกระหม่อม (ตรงกลางของหัวกะโหลกตำแหน่งนี้สังเกตได้จากตอนที่เด็กยังอ่อนๆอยู่ กลางกระหม่อมนั้น จะผุดขึ้นลงตามกระแสผลักดันของเลือดที่หัวใจสูบฉีดขึ้นมา หล่อเลี้ยงจุดนั้น) จากนั้น ก็เคลื่อนผ่านกระหม่อม มายัง “ จุดหน้าผาก ” (กึ่งกลางระหว่างคิ้ว) ลงสู่ “ จุดลิ้นไก่ ” (จุดนี้อยู่รอยต่อระหว่างโคนลิ้นกับลิ้นไก่ที่เพดานปาก )และไหลผ่านลงมา “จุดกึ่งกลางของกระดูกหน้าอก ” (อยู่กึ่งกลางของกระดูกไหปลาร้าหรือเรียกว่าใต้จุดคอหอย)ลงสู่จุดกลางอก (จุดผ่ากลางระหว่างหัวนมทั้งสองข้าง) ผ่านสะดือและลงสู่ “ จุดตั้งช้าง ” อีกครั้ง โคจรหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลาที่นั่งฝึกอยู่

ยังมีอีกกระแสหนึ่ง เรียกว่า “ กระแสขวาง ”หรือเรียกว่า “ กระแสเข็มขัดรัดเอว” ฝึกลมปราณไปพักหนึ่งแล้ว อาจจะเกิดกระแสขวางนี้ขึ้นมาเมื่อใดก็ได้ คือเมื่อเริ่มมี “ กลุ่มไออุ่น ” นั้น บางครั้งไม่วิ่งขึ้นสู่ศีรษะ


หน้า88

แต่ กลับจะวิ่งเป็นแนวขวางบั้นเอว ครบรอบเป็นลักษณะ เข็มขัด ซึ่งบางครั้งก็จะวิ่งอ้อมจากซ้ายไปขวา บางครั้ง ก็จะวิ่งจากขวาไปซ้ายอย่างมีระเบียบโดยประมาณวิ่งรอบครั้งละ36 รอบ

และเมื่อฝึกไปอีกระยะหนึ่ง กระแสไออุ่นก็จะกระจายไปทั่วถึงปลายเท้า ปลายมือ

การเคลื่อนโคจรของไออุ่นนี้ อาจจะเคลื่อนโคจรผ่านไปทีละจุด และอาจจะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งจึงสามารถผ่านอีกจุดหนึ่งจนถึงขั้นโคจรครบ ทุกจุดทั่วกายบางท่านฝึกเป็นปีๆ จึงจะสามารถโคจรครบรอบกาย

ในระหว่างที่ “ กลุ่มไออุ่น ” จากลมปราณกำลังโคจรผ่านจุดต่างๆ ของร่างกาย อยู่นั้น เกิดมีความจำเป็นต้องออกจากสมาธิในขณะที่ไออุ่นยังโคจรไม่ครบรอบใดรอบหนึ่ง ก็ค่อยๆ คลายออกสมาธิได้

และเมื่อเสร็จธุระแล้ว ควรหาโอกาสฝึกต่ออีกในระยะเวลาที่ใกล้เคียงได้ยิ่งดีซึ่งก็เท่ากับเริ่มต้นใหม่ เพื่อเดินลมปราณให้คล่องสะดวก
__________________

หน้า89
ฝึกลมปราณที่ไหนก็ได้

การฝึกลมปราณนี้ก็คล้ายกับการฝึกสมาธิ ซึ่งฝึกจนคล่องตังแล้ว ชำนาญในการเจริญก็สามารถฝึกได้ในทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะนั่งรถเดินทางหรือยามที่ว่าง

ต่างกันเพียงแต่ฝึกสมาธิทั่วไป ไม่ได้เน้นหนักให้หายใจลึก
แต่ฝึกลมปราณ เน้นหนักให้หายใจลึกๆ ด้วยใจที่เป็นสมาธิ

พอมีจังหวะ 5-10 นาที เราก็สามารถเดินลมปราณ โดยไม่จำเป็นต้องหลับตาเพียงแต่ค่อยๆ ถอนหายใจให้ลึกตามแบบฝึกลมปราณด้วยสมาธิ อันจดจ่อกับลมหายใจเข้าออก

เมื่อฝึกจนคล่องตัวแล้ว เวลาอากาศหนาวๆ เราก็เดินลมปราณสักครู่หนึ่ง ก็จะเพิ่มความอบอุ่นในร่างกายขึ้น ทำให้ร่างกายแข็งแรงไม่เป็นหวัดได้ง่ายด้วย

การฝึกลมปราณอยู่เสมอ ยังเป็นการรักษาโรคปวดเมื่อยตามเอ็นตามข้อ


หน้า90
“ มีดดาบจะคมต้องหมั่นฝน
คนจะฉลาดต้องหมั่นเรียน
ฌานจะแก่กล้าต้องหมั่นฝึก ”

................... .


หน้า91

วิธีแก้ไขอาการที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างฝึกลมปราณและฝึกสมาธิ

1. อาการเจ็บท้องน้อย แน่นหน้าอก

ท่านที่ฝึกใหม่ๆนั้น ปฏิบัติแล้วรู้สึกว่าปวดเสียวหน้าอกเกร็งหน้าท้อง แต่พอผ่านพ้นการปฏิบัติ 3 ครั้งแล้วท่านจะรู้สึกว่าปฏิบัติแล้วโล่งอก ร่างกายสดชื่น

ขณะเดียวกัน ระหว่างหายใจเข้าออกนั้น จิตใจรีบเร่งใช้แรงบีบประสาทเกร็งกล้ามเนื้อเบ่งอกอย่างแรง เมื่อหายใจเข้ารวมทั้งเกร็งกล้ามเนื้อท้องน้อยตึงอย่างกับหน้ากลองแล้ว จะเกิดอาการแน่นหน้าอกปวดชายโครงทั้งสองข้าง ศีรษะมึนชา เหน็ดเหนื่อยง่าย

วิธีแก้ไข ขอให้ท่านผ่อนคลายการบีบเกร็งกล้ามเนื้อ หายใจตามปรกติสักครู่หนึ่ง ก็จะหายจากอาการปวด และรอจนกว่าหายจากอาการเครียดทางประสาทก่อนจึงปฏิบัติต่อไป


หน้า92

ต้อง เข้าใจว่า การฝึกลมปราณนี้ มีพื้นฐานจากการฝึกสมาธิให้ใจสงบ และใช้กระแสความนึกคิดเป็นสื่อชักนำอากาศเข้าออกอย่างมีระเบียบ ไม่ได้ใช้แรง(กำลังคน ) ชักดึงลาก โดยมีสูตรว่า ใช้กระแสจิตแห่งความนึกคิดชักนำลมหายใจ โดยให้กระแสจิตแห่งความนึกคิด ผสม ผสานกลมกลืน ร่วมกับลมหายใจกรอกเติมสู่จุด “ ตั้งช้าง ”

2. เหงื่อออก

ระหว่างที่ฝึกสมาธิเริ่มเข้าสู่ความสงบ หรือ ระหว่างฝึกลมปราณ กระแส “ กลุ่มไออุ่น ” โคจรนั้นธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ในร่างกายได้ปรับจนเริ่มเสมอกันและจะขับเหงื่อออกมา หลายท่านจึงรู้สึกเหงื่อออก เริ่มตั้งแต่กระดูกสันหลังขึ้นไปจนถึงศีรษะ ถ้าฝึกจนครบรอบการโคจรการหมุนเวียนของลมปราณหลายรอบแล้ว จะมีเหงื่อออกท่วมทั่วตัวและในการฝึกจิตให้สงบ ก็อาจจะมีเหงื่อออกเหมือนกัน ร่างกายจะรู้สึกอบอุ่นสบาย มีไออุ่นระเหยออกรอบตัว จนรู้สึกตัวเบาเย็นสบาย นี้ เป็นการปรับธาตุจนสามารถขับโรคออกได้ เมื่อออกจากการฝึก
บันทึกการเข้า
kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน630
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2363


NightBaron


เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2010, 04:36:54 PM »

หน้า93

ปฏิบัติ จิตแล้ว ต้องเช็ดเหงื่อทั่วตัวให้แห้ง รอจนกว่าอุณหภูมิร่างกายปรับคืนสู่สภาพปรกติ กลมกลืนกับอากาศภายนอกก่อน จึงจะออกไปสัมผัสต้องลมได้ มิฉะนั้นจะเป็นไข้หวัดได้ง่ายๆ

3. เกิดอาการเคลื่อนไหวของร่างกาย

บางท่านฝึกสมาธิถึงขั้นสงบจุดหนึ่ง จะเหมือนกับการฝึกลมปราณ เมื่อสงบถึงจุดอิ่มตัวจุดหนึ่งที่เรียกว่า “ท่าม กลางความสงบจะเกิดอาการเคลื่อนไหวท่ามกลางการเคลื่อนไหวยังมีจิตสงบที่มี สมาธิ ” เลือดลมจะเดินผ่านจุดต่างๆตามเอ็น ตามข้อ ในร่างกายเกิดอาการเนื้อเต้น เอ็นกระตุก

“ ท่านที่ฝึกแนวสมาธิเพื่อจิต” จะเกิดอาการโยกซ้าย โยกขวา หรือ โยกหน้า โยกหลัง การหายใจก็จะแรงขึ้นและหยาบ ขอให้ท่านทำใจสบายๆตามอาการไปเรื่อยๆ แล้วหลังจากเกิดอาการประมาณ 15-30 ครั้ง หรือนานกว่านี้ อาการก็จะหายไปเอง แต่ถ้าท่านเบื่อหน่ายกับอาการเขย่าเช่นนี้ ขอให้ท่านพิจารณาจนรู้ถ่องแท้กับอาการนี้ ว่ามีอาการกระทำ

หน้า94

อย่าง ไรแล้วจึงเริ่มสะกดตัวให้อยู่ในท่าปรกติได้ด้วยการใช้สติค่อยๆ ควบคุมลมหายใจให้สงบละเอียดลงมาอาการโยกย้ายของร่างกายก็จะหยุดลงได้

“ ท่านที่ฝึกแนวลมปราณ ” นั้น จากการที่นำส่งกระแสพลังลมปราณทับถมเติมที่จุด “ ตั้งช้าง ” ตลอดเวลา จึงเป็นการเพิ่มแรงกระตุ้นให้ร่างกายเคลื่อนไหวมากขึ้น บางครั้งสั่นโยกรุนแรงถึงกับกางแขนออกว่าเป็นท่ามวยจีนแบบต่างๆอย่างมี ระเบียบ การเคลื่อนไหวจะสัมพันธ์ กับลมหายใจที่เข้าออก ซึ่งการเคลื่อนไหวเองโดยที่เราไม่ได้จงใจหรือแกล้งให้ร่ายรำ การเคลื่อนไหวอย่างนี้จะเป็นอยู่ประมาณ 36 วัน อาจจะมีเสียงกระดูกลั่นไปทั่วร่างกาย แล้วร่างกายก็จะค่อยๆกลับคืนสู่ความสงบอีกครั้ง เวลานั้น จะรู้สึกว่า ตัวเบา เหมือนนกพร้อมที่จะบิน และเมื่อเดินทางจะก้าวไวคล่องเหมือนวิ่งอย่างไม่เหนื่อย

ในระหว่างเกิดการเคลื่อนไหวอยู่นั้น ไม่ต้องตกใจ ยังคงทำใจให้สงบ (สำหรับฝึกแนวจิตสงบ ) และ
................... ...........

หน้า95

ยังคงนำส่งพลังลมหายใจเข้าสู่จุด “ ตั้งช้าง ” ต่อไป ที่เรียกว่า ท่ามกลางการเคลื่อนไหวยังมีสมาธิอยู่

อาการเคลื่อนไหวนี้ เกิดขึ้นเมื่อใดหรือว่าจะหยุดเมื่อใด หรือว่าเคลื่อนไหวท่าใดนั้น จะเกิดไม่เหมือนกันทุกคน แต่เขียนไว้เพื่อเตือนสติไม่ให้ตกใจถ้ามีอาการอย่างนี้เกิดขึ้น

หลังจากเกิดอาการเคลื่อนไหวสั่นโยกแล้ว จิตใจจะไม่ค่อยปรกติ คือ ใจสั่นหายใจแรง ควรที่จะเข้าสมาธิปรับจิตใจสบายแล้ว จึงค่อยคลายออกจากสมาธิจะได้ไม่สะเทือนกายทิพย์

4. รักษาอาการช้ำใน

บางท่านที่เคยพลัดตกหกล้ม หรือถูกตีช้ำในที่ใดที่หนึ่ง เลือดก็จะคั่งค้างเป็นก้อนอยู่ที่จุดนั้น เวลาอากาศเปลี่ยนแปลงจะมีอาการเจ็บปวดมากตรงจุดนั้น (คนหนุ่มสาวอาการอาจจะยังไม่กำเริบส่วนมากจะมาเป็นตอนที่มีอายุมากขึ้น หรือว่าสังขารเสื่อมลง ) แต่เมื่อฝึกลมปราณ

หน้า96

เดิน ทั่วผ่านไปยังจุดที่ช้ำในนั้น ก็จะพยายามทำลายเลือดคั่งค้างก้อนนั้น จึงเกิดอาการปวดมากกว่าเก่าอยู่พักหนึ่ง เป็นการพยายามเดินผ่านของลมปราณ และแล้ว เมื่อผ่านไปได้ ก็จะเป็นการรักษาให้ท่านหายขาดจากโรคช้ำใน

5. เกิดอาการตัวพองโตและเบาอยากจะลอย

เมื่อฝึกสมาธิหรือฝึกลมปราณจนจิตสงบ อาจจะมีความรู้สึกว่า ตัวเองกำลังพองโตๆ มากขึ้น จนตัวโต ยันตึก และกำลังพองจนเกือบจะระเบิดออก หรือบางทีรู้สึกว่า ตัวเองเบาอย่างไร้น้ำหนัก กำลังลอยขึ้นจากที่นั่งจนร่างอยู่ไม่ติดที่ และจะลอยออกไปนอกบ้าน ขอให้ท่านทำใจสบายๆ ไม่ต้องตกใจ เพราะที่จริงแล้วร่างท่านไม่ได้พอง ไม่ได้ลอยเลย เพียงแต่ว่า ภาวะนั้น จิตเริ่มสงบ และธาตุทั้ง 4 เริ่มปรับตัวจนรวมตัวเสมอกัน ลมหายใจก็จะละเอียดเหมือนไม่ปรากฏ จิตของท่านได้ตกภวังค์สติไม่อยู่กับตัว ตามระลึกไม่ทันกับความสงบนั้น สติคลายออกจากสมาธิชั่วแวบหนึ่ง

หน้า97

ไม่ได้จับอยู่กับตัว จึงเกิดอาการอุปาทานรู้สึกเป็นอาการเหล่านี้ได้

6. วิธีปรับถ่ายเทธาตุไฟให้หายปวดหัวตัวร้อนเป็นไข้

บางท่านรู้สึกว่า หัวแม่มือที่จรดชนกันอยู่นั้นร้อนมากจนรู้สึกว่าคล้ายจะลุกเป็นไฟ และ ศีรษะก็ร้อน ประสาทตึงเครียด ปวดขมับ แม้ว่าจะพยายามปลงตกข่มเวทนาว่า กายนี้สักแต่กาย จะเจ็บจะปวดก็เรื่องของกายจิตใจไม่เจ็บปวด ไม่สนใจ ด้วยขันติ ความอดทนอย่างเต็มที่แล้ว อาการธาตุไฟยังคงกำเริบโชติช่วงร้อนไปทั่วสรรพางค์กาย ยังปวดหัวไม่หายแทบจะระเบิดอยู่ให้ปฏิบัติตามวิธีแก้อาการดังนี้

วิธีแก้ไข

ค่อยๆ ถอยออกจากสมาธิอย่างช้าๆ และคลายความนึกคิด ที่รวมจิตใจ ให้เป็นหนึ่ง ที่ตั้งความรู้สึกอยู่ที่ศีรษะนั้นออก เรียกว่า

“ ไม่คิดอะไรอีกที่จะรวมจิต ” แล้วค่อยๆลืมตาขึ้นมองราดต่ำลงที่พื้น หายใจให้สบายๆตามปรกติก่อน แล้วค่อยๆถอนหายใจลึกๆ

หน้า98

ช้าๆ และคลายมือที่ซ้อนกันนั้นออกมากุมที่หัวเข่าทั้งสองข้าง พอหายใจเข้า ก็เอาจิตใจไปจับที่กองลมที่ดูดเข้ามาแล้วผลัก แผ่ซ่านคลายออก ไปทั่วทั้งตัวพร้อมกับลมหายใจที่ปล่อยออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเน้นหนักในการคลายออกทางฝ่ามื้อทั้งสองข้าง ก็จะรู้สึกว่า “ มีลมร้อนวิ่งออกทางปลายนิ้ว ”

นี่คือ “ การคลายธาตุไฟออกจากร่างกาย ”

ปฏิบัติอย่างนี้ประมาณ 15-30 นาที ก็หายปวดหัว และตัวไม่ร้อนเป็นไข้อีก

7. อาการคัน

ระหว่างฝึก เมื่อธาตุปรับตัวหรือปรับจนเริ่มจะเสมอนั้น จะมีอาการคันเหมือนแมลงตอมหรือปลาตอด สร้างความรำคาญรบกวนสมาธิ ท่านไม่ต้องกลัว และไม่สนใจอาการนั้น สักประเดี๋ยวก็จะหายไปเอง

8. เกิดอาการท้องเสีย

บางท่านที่ฝึกลมปราณแล้ว อาจจะมีอาการท้องเสีย ท้องร่วง ให้ย้ายความสนใจจากที่จุด “ ตั้งช้าง ” เคลื่อนย้ายลงไปที่ปลายหัวแม่เท้าข้างใดข้างหนึ่ง เมื่อ
__________________

หน้า99

ดึงความสนใจไปที่หัวแม่เท้าแล้ว อาการท้องเสียก็จะหายได้

ทั้งนี้ด้วยเหตุว่า การตั้งจุดอยู่ที่จุด “ ตั้งช้าง ” นั้นบางท่านเกิดการบีบรัดทางประสาทรู้สึกว่า เครียดหรือว่าเป็นการบีบรัดลำไส้มากไป เมื่อย้ายความสนใจไปที่จุดอื่นเสีย ก็ทำให้อาการท้องเสียหายได้

9. อาการกลืนน้ำลาย

ระหว่างฝึกสมาธิหรือว่าฝึกลมปราณใหม่ๆ ที่จิตยังไม่สงบ อาจจะมีน้ำลายออกมามากพอสมควร ควรที่จะค่อยๆ กลืนเข้าไปอย่างช้าๆ ไม่ต้องบ้วนทิ้ง เพื่อจะได้ช่วยเป็นน้ำย่อยอาหารด้วย และเมื่อจิตสงบแล้วจะรู้สึกว่า น้ำลายนั้นไม่ไหลออกมาอีก จนเราไม่ต้องคอยพะวงกลืนน้ำลาย แต่พอจิตคลายออกจากสมาธิเมื่อใด น้ำลายก็จะเริ่มไหลท่วมทั่วปากอีก

เป็นที่น่าสังเกต ดังนี้

หน้า100

ข้าขอปฏิญาณกับตัวข้าเองว่า

“ ด้วยเจตนาอันแน่วแน่ไม่เสื่อมถอยของข้า

ขอให้ข้าสำเร็จลุล่วงสู่ทางสงบเร็ววัน ”

คิดดีแล้ว
ตั้งใจมั่นคงแล้ว
เป็นการดำริชอบแล้ว
ก็เริ่มต้นลงมือปฏิบัติต่อไป
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: