ขั้นตอนและบทที่ต้องท่องจำใช้ในพิธีบวชแบบธรรมยุต (เอสาหัง)
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ขั้นตอนและบทที่ต้องท่องจำใช้ในพิธีบวชแบบธรรมยุต (เอสาหัง)  (อ่าน 5681 ครั้ง)
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1882
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13199


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« เมื่อ: กรกฎาคม 07, 2010, 06:33:48 PM »

<a href="http://www.dhammathai.org/sounds/banphacha/02.wma" target="_blank">http://www.dhammathai.org/sounds/banphacha/02.wma</a>

รับผ้าไตรอุ้มประนมมือแล้วเดินเข้าไปในที่ประชุมสงฆ์ในพิธี (สังฆนิบาต)
 แล้ววางผ้าไตรไว้ข้างตัวด้านซ้าย
 รับเครื่องสักการะถวายพระอุปัชฌาย์
กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง
 แล้วอุ้มผ้าไตรประนมมือยืนขึ้นเปล่งวาจาคำมคธ
ขอบรรพชาว่า

เอสาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ
ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ
ละเภยยาหัง ภันเต
ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง
ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง
ทุติยัมปาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ
ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ
ละเภยยาหัง ภันเต
ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง
ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง
ตะติยัมปาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ
ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ
ละเภยยาหัง ภันเต
ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง
*ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง
อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา
ปัพพาเชถะ มัง ภันเต อะนุกัมปัง อุปาทายะ
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา
ปัพพาเชถะ มัง ภันเต อะนุกัมปัง อุปาทายะ
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา
ปัพพาเชถะ มัง ภันเต อะนุกัมปัง อุปาทายะ
*หมายเหตุ ถ้าบวชเป็นสามเณรให้ละคำว่า ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง ออก
พระอุปัชฌาย์รับเอาผ้าไตรจากผู้บวชวางไว้ตรงหน้าตัก ให้โอวาทและบอก ตะ จะปัญจะกะ กัมมัฏฐาน
 แล้วให้ว่าตามไปทีละบท โดยอนุโลม (ไปข้างหน้า) และปฏิโลม (ทวนกลับ) ดังนี้
เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ (อนุโลม)
ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา (ปฏิโลม)
พระอุปัชฌาย์ชักอังสะออกจากไตรมาสวมให้ผู้บวช แล้วสั่งให้ออกไปครองผ้าครบไตรจีวรตามระเบียบ
 ครั้นเสร็จแล้วเข้าไปหาพระอาจารย์ รับเครื่องสักการะถวายท่านแล้วกราบ ๓ ครั้ง นั่งคุกเข่าเปล่งวาจาขอสรณะและศีลดังนี้
อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ
(พระอาจารย์กล่าวคำนมัสการให้ผู้บรรพชาว่าตามดังนี้)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
พระอุปัชฌาย์จะกล่าวว่า เอวัง วะเทหิ หรือ ยะมะหัง วะทามิ ตัง วะเทหิ
ให้รับว่า อามะ ภันเต แล้วท่านจะว่านำสรณคมน์ก็ให้ว่าตามดังนี้
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
พอจบแล้วทางพระอุปัชฌาย์จะบอกว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง ก็ให้รับว่า อามะ ภันเต
ต่อจากนั้นก็สมาทานสิกขาบท ๑๐ ประการโดยว่าตามท่านไปเรื่อยๆ ดังนี้
ปาณาติปาตา เวรมณี
อทินนาทานา เวรมณี ิ
อะพรหมจริยา เวรมณี
มุสาวาทา เวรมณี
สุราเมรยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวรมณี
วิกาละโภชนา เวรมณี
นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสนา เวรมณี
มาลาคันธะวิเลปะนะธารณะมัณฑนะวิภูสะนัฏฐานา เวรมณี
อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวรมณี
ชาตะรูปะ ระชะตะ ปฏิคคหณา เวรมณี
(และกล่าว ๓ ครั้งว่า)
อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สมาทิยามิ (เสร็จแล้วรับบาตรอุ้ม เข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ในที่ประชุมสงฆ์
 วางไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการะถวายท่านแล้วกราบ ๓ ครั้ง นั่งคุกเข่าประนมมือกล่าวดังนี้)
อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ
อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ (ตรงนี้ว่า ๓ ครั้ง)
พระอุปัชฌาย์จะกล่าวว่า โอปายิกัง ปะฏิรูปัง ปาสาทิเกนะ สัมปาเทหิ ให้รับว่า สาธุ ภันเต ทุกครั้งไป
อัชชะตัคเคทานิ เถโร มัยหัง ภาโร อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร (กล่าวตรงนี้ ๓ ครั้ง เสร็จแล้วกราบลง ๓ ครั้ง)
พระอาจาย์จะเอาสายคล้องตัวผู้บวช บอกบาตรและจีวรก็ให้ผู้บวชรับว่า อามะ ภันเต ๔ ครั้งดังนี้
อะยันเต ปัตโต   (รับว่า) อามะ ภันเต
อะยัง สังฆาฏิ   (รับว่า) อามะ ภันเต
อะยัง อุตตะราสังโค   (รับว่า) อามะ ภันเต
อะยัง อันตะระวาสะโก   (รับว่า) อามะ ภันเต
จากนั้นพระอาจารย์ท่านจะบอกให้ออกไปข้างนอกว่า คัจฉะ อะมุมหิ โอกาเส ติฏฐาหิ
 ผู้บวชก็ถอยออกไปยืนอยู่ในที่ที่กำหนดไว้ (ส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณทางเข้าโบสถ์)
 ต่อจากนี้พระอาจารย์จะสวดถามอันตรายิกธรรม ให้รับ นัตถิ ภันเต ๕ ครั้ง
และต่อด้วย อามะ ภันเต อีก ๘ ครั้งดังต่อไปนี้
 
พระจะถามว่า   ผู้บวชกล่าวรับว่า
กุฏฐัง   นัตถิ ภันเต
คัณโฑ   นัตถิ ภันเต
กิลาโส   นัตถิ ภันเต
โสโส   นัตถิ ภันเต
อะปะมาโร   นัตถิ ภันเต
มะนุสโสสิ๊   อามะ ภันเต
ปุริโสสิ๊   อามะ ภันเต
ภุชิสโสสิ๊   อามะ ภันเต
อะนะโณสิ๊   อามะ ภันเต
นะสิ๊ ราชะภะโฏ   อามะ ภันเต
อะนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ   อามะ ภันเต
ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ๊   อามะ ภันเต
ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง   อามะ ภันเต
กินนาโมสิ   อะหัง ภันเต ...*(ชื่อพระใหม่) นามะ
โก นามะ เต อุปัชฌาโย   อุปัชฌาโย เม ภันเต อายัสสะมา...
   *(ชื่อพระอุปัชฌาย์) นามะ
*หมายเหตุ ผู้บวชจะต้องทราบชื่อทางพระที่พระตั้งให้ใหม่ก่อนวันบวชและต้องจำชื่อพระ อุปัชฌาย์ให้ได้ด้วย
เสร็จแล้วกลับเข้ามาข้างในที่ประชุมสงฆ์ กราบลงตรงหน้าพระอุปัชฌาย์ ๓ ครั้ง นั่งคุกเข่าประนมมือเปล่งวาจาขออุปสมบทดังนี้
สังฆัมภันเต อุปะสัมปะทัง ยาจามิ
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ
ทุติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ
ตะติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ
ถ้ากล่าวพร้อมกันให้เปลี่ยนคำว่า ยาจามิ เป็น ยาจามะ และเปลี่ยน มัง เป็น โน
ต่อมาพระอาจารย์สวดสมมติตนถามอันตรายิกธรรม ผู้บวชก็รับว่า นัตถิ ภันเต ๕ ครั้ง
 และ อามะ ภันเต ๘ ครั้ง บอกชื่อพระใหม่ของตัวเอง
และชื่อพระอุปัชฌาย์แบบที่ผ่านมาอย่างละหนึ่งครั้ง เสร็จแล้วก็นั่งฟังพระสวดกรรมวาจาอุปสมบทไปจนจบ
 พอจบแล้วท่านก็จะเอาบาตรออกจากตัว ให้กราบลง ๓ ครั้ง
 นั่งพับเพียบฟังพระอุปัชฌาย์บอกอนุศาสน์ไปจนจบ แล้วก็กล่าวรับว่า อามะ ภันเต
 เสร็จพิธีก็กราบ ๓ ครั้ง ถ้ามีเครื่องไทยทานก็ให้รับไทยทานถวายพระอันดับ
 เวลากรวดน้ำก็ให้ตั้งใจรำลึกถึงผู้มีพระคุณอุทิศส่วนกุศลแด่ท่าน
 ขั้นตอนต่อไปก็นั่งฟังพระท่านอนุโมทนาต่อไปจนจบเป็นอันเสร็จพิธี

................... ................... ................... ................... ......

ธรรมยุติ นิกาย

ธรรมยุติ เป็นนิกายหนึ่งของพระสงฆ์ในประเทศไทย
เป็นฝ่าย วิปัสสนาธุระ ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3
 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยพระวชิรญาณเถระ
 ( เจ้าฟ้ามงกุฏ : พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 )
 และใน รัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 ทรงมีพระบรมราชโองการ ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติ
ลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ขึ้น
เป็นครั้งแรกในประเทศไทย
พระราชบัญญัติฉบับนี้มีชื่อว่า ?
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ รศ.121?
มีสาระสำคัญคือได้ยกสถานะคณะธรรมยุติ
 ให้เป็นนิกายอย่างถูกต้องตามกฎหมาย


ผู้ก่อตั้ง
นิกายธรรมยุติตั้งขึ้น โดยพระวชิรญาณเถระ
 ( เจ้าฟ้ามงกุฏ : พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ขณะดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้ามงกุฏ )
ขณะที่ผนวชอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี
ได้ทรงศรัทธาเลื่อมใสในจริยาวัตรของพระมอญ
ชื่อ ซาย ฉายา พุทฺธวํโส
 จึงได้ทรงอุปสมบทใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2372
ได้ตั้งคณะธรรมยุติขึ้นในปี พ.ศ. 2376
แล้วเสด็จมาประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร
 และตั้งเป็นศูนย์กลางของคณะธรรมยุติ


จุดประสงค์การก่อตั้ง
นิกายธรรมยุติ ตั้งขึ้นมาเพื่อปฏิรูป
และฟื้นฟูด้านวัตรปฏิบัติของสงฆ์
ให้มีความถูกต้องและเข้มงวดตามพุทธบัญญัติ
ให้พระภิกษุสงฆ์มีวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดถูกต้องตามพระวินัยปฏิบัติในสิ่ง ที่ถูกต้องดีงาม
 ศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างเข้าใจแจ่มแจ้ง
 เป็นการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในส่วนที่บกพร่อง
ของพระสงฆ์ไทยที่มีมาแต่โบราณ
ให้สมบูรณ์ทั้งพระวินัยปิฎกและพระสุตตันตปิฎก
 ซึ่งเป็นการสืบต่ออายุของพระพุทธศาสนา
ให้เจริญรุ่งเรืองอย่างบริบูรณ์ขึ้นใน ประเทศไทย


ธรรมเนียมและแบบแผนของธรรมยุตินิกาย
ระเบียบแบบแผนในด้านการปฏิรูป
ทางพระพุทธศาสนาของธรรมยุตินิกาย
โดยพระวชิรญาณเถระ
 ( เจ้าฟ้ามงกุฏ : พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4)

ทรงตั้งธรรมเนียมนมัสการพระเช้าค่ำ
 ที่เรียกว่าทำวัตรเช้า ทำวัตรค่ำ เป็นประจำ
 และทรงพระราชนิพนธ์บทสวดเป็นภาษาบาลี เป็นคาถา
 เป็น จุณณิยบท ซึ่งใช้แพร่หลายมาจนถึงปัจจุบันนี้
 มีการรักษาศีลอุโบสถ
 และแสดงพระธรรมเทศนาเวลาเก้าโมงเช้าและบ่ายสามโมงเย็น
 ในวันธรรมสวนะและวันอุโบสถ เดือนละ 4 ครั้ง
ทรงปฏิรูปการเทศน์และการอธิบายธรรม
ทรงเริ่มการเทศนาด้วยฝีพระโอษฐ์
ชวนให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายและเกิดศรัทธา
 ไม่โปรดเขียนหนังสือไว้เทศน์นอกจากนี้ยังทรงฝึกหัดศิษย์ให้ปฏิบัติตาม
 ทรงอธิบายเพื่อให้คนเข้าใจในเนื้อหาของหลักธรรม
 เผยแพร่หลักธรรมสู่ราษฎร
อธิบายหลักอันยุ่งยากซับซ้อน
 คณะสงฆ์ธรรมยุติได้เพิ่มบทสวดมนต์ภาษาไทยลงไป
ทำให้คนนิยมฟังเป็นอันมาก
ทรงกำหนดวันมาฆบูชาเป็นวันสำคัญทางศาสนา
เพิ่มขึ้นจากวันวิสาขบูชา ทรงพระราชนิพนธ์คำบูชา
 และวางระเบียบให้เดินเวียนเทียน
และสดับพระธรรมเทศนา
ทรงชักนำให้บำเพ็ญกุศลตามเทศกาลต่าง ๆ เช่น
 ถวายสลากภัตร ตักบาตรน้ำผึ้ง ถวายผ้าจำนำพรรษา
ทรงแก้ไขการรับผ้ากฐินให้ถูกต้องตามพุทธบัญญัติ
 คือเริ่มแต่การซัก ตัด เย็บ ย้อม ให้เสร็จภายในวันเดียวกัน
ทรงแก้ไขการขอบรรพชา
และการสวดกรรมวาจาในอุปสมบทกรรมให้ถูกต้องยิ่งขึ้น
 เช่น ระบุนามอุปสัมปทา และนามอุปัชฌายะ
 ซึ่งเป็นภาษาบาลีในกรรมวาจา การออกเสียง
 อักษรบาลี ทรงให้ถือหลักการออกเสียงให้ถูกฐานกรณ์
ของอักขระตามหลักบาลีไวยากรณ์
ทรงวางระเบียบการครองผ้า
 คือการนุ่งห่มของภิกษุสามเณร
 ให้ปฏิบัติไปตามหลักเสริยวัตรในพระวินัยเพื่อให้สุภาพเรียบร้อย
 (เดิมพระธรรมยุติครองจีวรห่มแหวก
แต่ตอนปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
 ได้เปลี่ยนมาห่มคลุม (ห่มหนีบ)
ตามแบบพระสงฆ์มหานิกาย
ครั้นถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เสวยราชย์ จึงได้กลับมาห่มแหวกตามเดิม)
ทรงวางระเบียบการกราบไหว้ของพระภิกษุสามเณร
 และระเบียบอาจารยะมารยาท
 ต้องวางตัวให้น่าเลื่อมใสศรัทธา
 สังวรในกิริยามารยาทและขนบธรรมเนียม
ทรงให้พระสงฆ์ธรรมยุติ ศึกษาพระปริยัติธรรมให้แตกฉาน
 สามารถแสดงธรรมเทศนา สั่งสอน
สามารถแยกระหว่างความเชื่อที่มีเหตุผล
 และความเชื่อในสิ่งที่ไม่สามารถอธิบายได้
 การศึกษาในด้านวิปัสสนาธุระ
ไม่ใช่รับรู้เฉพาะสมถะวิธีอันเป็นเบื้องต้น
 แต่ให้รับรู้ไปถึงขั้นวิปัสสนากรรมฐาน
การปฏิบัติตามพระวินัย ทรงให้ถือหลักว่าสิ่งใดที่สงสัย
และน่ารังเกียจไม่ควรกระทำโดยเด็ดขาด
 พึงเคารพพระวินัยอย่างเคร่งครัด
ทรงเห็นความสำคัญในการศึกษาหา ความรู้สาขาอื่น ๆ
 ของพระสงฆ์ จึงทรงอนุญาตให้พระสงฆ์
เข้าศึกษาภาษาอังกฤษกับ
หมอแคสเวล (Reverend Jesse Caswell) ตามความสนใจ
 ทำให้มีการสืบสานการเข้าศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
ของพระสงฆ์มาจนถึงปัจจุบัน

................... ................... ................... ................... .....

คำ ขานนาค MP3 แบบ เอสาหัง


 ขอบคุณ




บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: