โลกกำลังเปลี่ยนแปลงด้วยอัตราเร่ง
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
เมษายน 30, 2024, 01:14:37 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: โลกกำลังเปลี่ยนแปลงด้วยอัตราเร่ง  (อ่าน 1765 ครั้ง)
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3004


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« เมื่อ: มีนาคม 15, 2010, 07:51:15 PM »

การเปลี่ยนแปลงของโลกเราในขณะนี้มีการเปลี่ยนแปลงด้วยอัตราเร่ง จนทำให้ประชาชนของบางประเทศที่มีความรู้ไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลง ใช้เวลาส่วนใหญ่กับการต่อต้านกับการหลั่งไหลของคลื่นที่ถาโถมเข้ามาทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการต่อต้านการเชื่อมต่อของโลกที่ทำให้เกิดโลกาภิวัฒน์ (Globalization) โดยพวกเข้าเชื่อว่าการต่อต้านของเขาจะสามารถต้านทานระเบียบโลกใหม่ได้ โดยพวกเขาลืมคิดไปว่าการเปลี่ยนแปลงของโลกเป็นเรื่องปกติที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วตลอดเวลา เพียงแต่จะปรับตัวอย่างไร ? ......  อยู่กับมันอย่างไร ?


 ความรู้ของประชาชนในชาติ มีความสำคัญยิ่ง ณ เวลานี้ ถ้าจะเปรียบเทียบกับอดีต ก็คือ คนในอดีตเชื่อและคิดว่า พวกเขามีความรู้ ที่ถูกต้องว่าโลกแบน แต่แท้ที่จริง ความรู้ใหม่ ที่ถูกค้นพบในช่วงเวลาต่อมานั้นผิดถนัดเพราะแท้ที่จริงนั้นโลกเรากลม

           เมื่อ30 ปีก่อน มีผู้คนมากมายเคยหัวเราะขบขัน ในความคิดของผู้บริหารประเทศฟินแลนด์  ว่าในอนาคตผู้คนในโลกจะมีการใช้อุปกรณ์พกพาที่สามารถพูดคุยได้กันทั่วโลก จนทำให้รัฐบาลฟินแลนด์ ตัดสินใจตั้งศูนย์วิจัย และโรงงานผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่ NOKIA ขึ้น และขณะนี้มีผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลกกว่า 1พันล้านราย

           จากเวลานี้ไป เทคโนโลยีสื่อสารจะทำให้ความรู้เชื่อมต่อกับผู้คน เป็นลักษณะเครือข่าย อีกทั้งยังเชื่อมต่อกับองค์กรโดยสมบูรณ์ตลอดเวลา (Always on) จนทำให้โลกมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ด้วยความเร่ง ด้วยปรากฏการณ์ดังกล่าว ทำให้  Sir John Rose  ซึ่งเป็น CEO ของบริษัท โรส์-รอยซ์ (Rolls-Royce) ได้กล่าวว่า ต่อไปยุคเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) จะทำให้คำว่า ประเทศด้อยพัฒนา  (Underdeveloped Country), ประเทศกำลังพัฒนา (Developing Country), ประเทศที่พัฒนาแล้ว (Developed Country) ต้องเปลี่ยนเป็น ประเทศที่ฉลาด (Smart Country), ประเทศที่ฉลาดกว่า (Smarter Country), และประเทศที่ฉลาดที่สุด (Smartest Country) มาแทน

           เมื่อความสามารถในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตนั้นมีความง่ายขึ้น สะดวกขึ้น รวดเร็วขึ้น จึงทำให้มีผลกระทบต่อการมีชีวิตอยู่ของมวลมนุษย์ เกิดการร่วมมือกันอย่างกว้างขวาง มีการร่วมกันสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ โดยพวกเขาเหล่านั้นไม่เคยเห็นหน้ากันเลยด้วยซ้ำไป เกิดชุมชนออนไลน์ ทำให้เกิดเศรษฐกิจยุคดิจิตอลซึ่งถือว่าเป็นระบบเศรษฐกิจใหม่ ยกตัวอย่างเช่น amazon.com ได้สร้างธุรกิจใหม่ขึ้น โดยที่ไม่มีร้านอย่างเป็นตัวตน
           มีอีกหลายตัวอย่างที่จะยกให้เพื่อนๆได้เห็น เช่น You Tube ก็เป็นอีกบริษัทนึ่งที่กำเนิดขึ้น เพื่อให้คนชุมชนออนไลน์สามารถที่จะแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกันโดยการแลกเปลี่ยนวีดีโอคลิปบนเว็บของ You Tube จนมีหลายครั้งที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติในหลายประเทศ
           และขณะนี้ผู้คนบนชุมชนออนไลน์สามารถร่วมกันสร้างสารานุกรมออนไลน์ที่เรียกว่า Wikipedia ซึ่งขณะนี้ Wikipedia มีขนาดใหญ่กว่า encyclopedia ด้วยซ้ำไป ซึ่งเว็บเหล่านี้มีผู้คนเข้าถึงนับพันล้านคน การเกิดขึ้นของเศรษฐกิจยุคดิจิตอลนี้ ทำให้รูปแบบของการทำธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง

           เมื่อมองย้อนไปในธุรกิจแบบเดิมๆ ซึ่งมีแนวความคิดในการสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นโดยคนภายในองค์กร เพื่อปกป้องทรัพย์สินทางปัญญานั้น เริ่มเป็นความคิดที่ไม่สามารถทำให้ประสบความสำเร็จได้อีกต่อไปเนื่องจากอิทธิพลของการร่วมมือกันของชุมชนออนไลน์ สามารถที่จะสร้างนวัตกรรมหรือทรัพย์สินทางปัญญาได้รวดเร็วและดีกว่าองค์กรที่ใช้บุคลากรภายในเท่านั้น นั่นคือแนวคิดตัวแบบธุรกิจใหม่ดังกล่าวนั้นสามารถทำลายตัวแบบธุรกิจเก่าได้อย่างถอนรากถอนโคน



ตัวแบบธุรกิจใหม่ดังกล่าวมีองค์ประกอบหลักสี่องค์ประกอบคือ การเปิดกว้าง (Openness) การเชื่อมต่อระหว่างกันและกัน (Peering) การใช้ทรัพยากรร่วมกัน (Sharing) และการสร้างความร่วมมือกันข้ามโลก (Acting globally)

           ตัวอย่างที่น่าสนใจที่สร้างโอกาสให้กับผู้คนที่ไม่เคยได้รับโอกาสนั้นมาก่อนเนื่องจากการใช้องค์ประกอบทั้งสี่นั้นคือ ผู้คนทั่วโลกจากประเทศที่ด้อยพัฒนาหรือกำลังพัฒนา สามารถที่จะเข้าถึงสถาบันการศึกษามารตฐานสากลในระดับ MIT ก็ได้เกิดขึ้นแล้ว ปัจจุบันนี้ผู้คนสามารถเข้าถึงหลักสูตรผ่านอินเตอร์เนทของ MIT โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เพียงแต่ connect เข้าสู่เวบไซต์ ocw.mit.edu และกด enter  ก็สามารถเข้าถึงมหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้ โดยจะพบข้อความว่า “Welcome to MIT’s OpenCourseWare: a free and open educational resource (OER) for educators, students, and self-learners around the world. MIT OpenCourseWare (MIT OCW) supports MIT’s mission to advance knowledge and education, and serve the world in the 21st century.” โดยสามารถ download ตำราอิเล็กทรอนิกส์และแบบฝึกหัดของวิชาต่างๆที่สนใจและยังเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในฟอร์รั่มของวิชาได้อีกด้วย ในตัวอย่างนี้จะเห็นอย่างชัดเจนว่าหลักการของการเปิดกว้าง (Openness) ได้เกิดขึ้นแล้ว ส่วนในประเทศไทยก็เริ่มมีหลายมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนผ่านระบบ Online ในระดับปริญญาโทและในหลายสาขาวิชาเช่น MSIT และ MBA ซึ่งตัวผู้เขียนเองก็เป็นหนึ่งในอาจารย์ที่สอนอยู่

           การเชื่อมต่อระหว่างกันและการสื่อสารระหว่างกัน (Peering) เพื่อร่วมสร้างนวัตกรรมใหม่ก็ได้เกิดขึ้นอย่างชัดเจนแล้วเช่นกัน ตัวอย่างคือโปรแกรม Linux ได้ถูกร่วมสร้างขึ้นจากชุมชนออนไลน์ เริ่มตั้งแต่ปี 1991 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของ www โดยมีเด็กหนุ่มนักโปรแกรมคอมพิวเตอร์คนหนึ่งจาก Helsinki  มีชื่อว่า Linus Torvalds ได้สร้างระบบปฎิบัติการอย่างง่ายขึ้นที่เขาเรียกมันว่า Linux โดยเขาได้ post โปรแกรม Linux ไว้บนเว็บไซต์ของเขา เพื่อให้โปรแกรมเมอร์ทั่วโลกที่สนใจเข้ามาร่วมพัฒนาจนปัจจุบัน Linux ได้ถูกนำไปใช้องค์กรใหญ่ๆทั่วโลก ยกตัวอย่างเช่น BMW, IBM, Motorola, Philips, และ Sony เป็นต้น

           การใช้ทรัพยากรร่วมกัน (Sharing) ก็ได้เกิดขึ้นอย่างชัดเจนแล้วเช่นกัน เนื่องจากนวัตกรรมดิจิตอลก่อให้เกิดความง่ายในการร่วมใช้ทรัพยากร อีกทั้งสามารถที่จะสร้างมันซ้ำขึ้นอย่างง่ายดาย ถึงขนาดที่มันสามารถสร้างผลกระทบอย่างรุนแรงต่อวงการเพลงและภาพยนต์อย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เช่นในกรณีของ Napster ได้ทำลายผลกำไรในวงการดนตรีจนแทบสิ้นเนื้อประดาตัว

           ตัวอย่างที่น่าสนใจอีกตัวอย่างหนึ่งซึ่งแสดงถึงพลังแห่งการใช้ทรัพยากรร่วมกันในลักษณะ Peer-to-peer sharing คือการใช้โปรแกรมของ Skype ในการติดต่อสื่อสารโดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ด้วยการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมต้องคิดตัวแบบทางธุรกิจใหม่ เนื่องจากในอนาคตอันใกล้ ผู้ให้บริการระบบสื่อสารโทรคมนาคมจะไม่สามารถที่จะได้รับผลกำไรจากการสื่อสารพื้นฐานอีกต่อไป ถึงขนาดที่ CEO ของ Skype กล่าวว่าข้อจำกัดของโปรแกรม Skype คือ Sky หรือท้องฟ้านั่นเอง นั่นหมายความว่าไม่มีข้อจำกัดใดๆต่อไปอีกในโลกนี้ ถ้ามนุษย์ยังมีจินตนาการที่จะสร้างนวัตกรรมใหม่อยู่ตลอดเวลา ซึ่งในขณะนี้มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเข้าไปลงทะเบียนในเว็บไซต์ของ Skype ภายในสองปีถึง 100 ล้านคนแล้ว และบริษัท Skype ได้ถูกซื้อโดย Ebay เป็นจำนวนเงินสูงถึง 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯในเดือนกันยายนปี 2005 จนถึงขนาดที่ผู้บริหารองค์กรโทรคมนาคมแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (FCC) ได้กล่าวว่า “การจ่ายเงินเพื่อการสื่อสารข้ามโลกได้จบลงแล้ว ต่อไปนี้โลกจะเปลี่ยนไปอย่างที่เราไม่เคยคาดคิดมาก่อน”
           ส่วนการสร้างความร่วมมือกันระดับโลก (Acting globally) ได้เกิดขึ้นอย่างชัดเจนแล้วเช่นกัน ตัวอย่างที่ดีที่ถูกยกขึ้นอย่างมากมายได้ถูกเขียนไว้ในหนังสือ The world is flat โดย Thomas Friedman ได้กล่าวถึงการที่ประเทศสหรัฐอเมริการและหลายๆประเทศในตะวันตก สามารถที่จะจ้างบริษัทในทวีปเอเชียเช่น จีน อินเดีย เกาหลีใต้ ในการให้บริการด้านต่างๆมากมาย เช่น call center เป็นต้น

           การเชื่อมต่อของโลกทำให้ธุรกิจต่างๆได้เปลี่ยนมาเป็นระบบเปิด และขยายตัวไปทั่วโลกมากขึ้น คำถามที่สำคัญคือ ประเทศกำลังพัฒนาจะปรับตัวอย่างไร เพื่อรองรับการขยายตัวของกระแสโลกาภิวัฒน์ของโลก คำตอบคือต้องสร้างแรงงานเปรื่องปัญญาหรือที่เรียกว่า Knowledge worker และต้องผลิตสินค้าและบริการที่หลากหลายส่งออกไปทั่วโลกนั่นเอง

           จะเห็นได้ชัดเจนว่า การเชื่อมต่อโลกเข้าด้วยกันนี้ทำให้ขณะนี้โลกหันมาใช้วิธีการ Share ความรู้กันมากขึ้น จนทำให้องค์กรที่ทำวิจัยแบบปิดลับ โดยไม่มีการทำงานวิจัยร่วมกับองค์กรอื่นเริ่มหายตายจากไป เช่น ห้องวิจัยของ IBM, Intel, AT&T เป็นต้น องค์กรที่ไหวตัวกับการเปลี่ยนแปลงนี้ทัน ก็เริ่มกระจายความรู้สู่องค์กรที่เขาจับมือด้วย ทำให้ความรู้แตกตัวออก และพัฒนาได้อย่างรวดเร็วด้วยอัตราเร่ง จึงทำให้องค์กรที่ปรับตัวทันมีความได้เปรียบองค์กรอื่น ความรู้ที่ถ่ายทอดอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดแนวคิดใหม่คือ “การทำงานที่ฉลาดกว่าผู้อื่นย่อมดีกว่า การทำงานที่มีมูลค่าถูกกว่า และต้องทำงานหนักกว่า”  จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ประเทศที่มีแนวคิดในลักษณะนี้ สามารถผลักดันธุรกิจท้องถิ่นของตน สู่ธุรกิจระดับโลกได้

           ตัวอย่างเช่นประเทศสวีเดน มีความเชื่อว่าการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีนั้น จะทำให้พวกเขาค้นพบโอกาสใหม่บนโลกใบนี้ ผลคือ สามารถผลักดัน บริษัท SAAB, IKEA, VOLVO และ ERICSSON สู่ตลาดโลกได้อย่างน่าทึ่ง ทั้งๆที่ประเทศสวีเดนเป็นประเทศเล็กๆในยุโรปและมีประชากรเพียงไม่กี่ล้านคน

           ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าเยาวชนของประเทศ ในแถบเอเชีย ติดอันดับ Top Ten ด้านความสามารถทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นเยาวชนจากประเทศจีน, เกาหลี, อินเดีย, และสิงคโปร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิงคโปร์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นเกาะอัจฉริยะ  (Intelligent Island)  เนื่องจากไม่มีทรัพยากร ไม่มีพืชพรรณเศรษฐกิจ นั่นคือพวกเขาต้องเอาชนะด้วยความรู้และปัญญาเท่านั้น

           สิงคโปร์มุ่งกับการจัดการกับแหล่งทรัพยากรนอกประเทศเพราะสิงคโปร์ไม่มีทรัพยากรมากนัก และเตรียม Knowledge Worker  เพื่อรับกับสังคมโลกใหม่ให้ได้ นั่นคือต้องทำให้เกิดสังคมที่สามารถทำงานได้ตลอดเวลาในขณะเคลื่อนที่ (Mobile Worker) เพราะพวกเขาเชื่อว่าการที่องค์กร หรือประเทศทำงานกับคนที่มีกรอบความคิดและความรู้เดียวกัน จะทำให้ประเทศเขาหยุดชงัก การพัฒนาทันที  พวกเขาจึงต้องออกไปร่วมมือและแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้เชี่ยวชาญภายนอก

           ในภูมิภาคเอเชีย ประเทศจีนและอินเดียได้มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และเป็นที่อิจฉาของประเทศอื่นๆ ในโลก จีนได้ก้าวขึ้นมาติดอันดับหนึ่งในห้า ในการจัดอันดับ  GDP ของโลก ขณะที่อินเดียก็กำลังขยับใกล้เข้ามาติดๆ และจากการคาดคะเนของนักเศรษฐศาสตร์หลายท่าน ศตวรรษที่ 21 อาจจะเป็นจุดเปลี่ยนของเศรษฐกิจโลกครั้งยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่ง 

           ตามที่ได้กล่าวแล้วว่าการเชื่อมต่อของโลกทำให้ธุรกิจต่างๆได้เปลี่ยนมาเป็นระบบเปิด และขยายตัวไปทั่วโลกมากขึ้น คำถามที่สำคัญคือ ประเทศกำลังพัฒนาจะปรับตัวอย่างไร เพื่อรองรับการขยายตัวของกระแสโลกาภิวัฒน์ของโลก คำตอบคือต้องสร้างแรงงานเปรื่องปัญญาหรือที่เรียกว่า Knowledge worker และต้องผลิตสินค้าและบริการที่หลากหลายส่งออกไปทั่วโลกนั่นเอง

           บริษัทที่เกิดใหม่ที่เคยเป็นบริษัทเล็กๆมาก่อนเช่น Dell, Google, eBay, Wikipedia และ Amazon  ก็เติบโตอย่างรวดเร็ว และไม่สามารถต้านทานการเติบโตของพวกเขาได้ เพราะปัญญาและความรู้นั่นเอง

           โลกใหม่จะเป็นโลกแห่งความรู้ โดยมนุษย์จะมีเครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์ข้อมูล บนอินเตอร์เนท โดย Berners-Lee นักคอมพิวเตอร์ผู้ชาญฉลาด ซึ่งเป็นผู้คิดค้นระบบ World Wide Webแห่ง MIT ได้คาดไว้ว่า อีกไม่กี่ปีข้างหน้า เราจะมีระบบ Semantic Web ซึ่งจะช่วยให้มนุษย์สามารถที่จะหาข้อมูลที่เขาต้องการจาก  Web ได้อย่างรวดเร็ว และตามความความต้องการ อีกทั้งยังช่วยวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล จนได้ความรู้ใหม่ๆ เพิ่มพูนขึ้นอย่างรวดเร็ว

           หลังจากเกิดเหตุการ 911 ทำให้สหรัฐฯเข้าใจว่ากำลังรบที่เกรียงไกรก็มิอาจต้านทางกองกำลังที่มองไม่เห็นได้ (Virtual Military Organization) รัฐบาลสหรัฐฯจึงมอบหมายให้กองทัพคิดที่จะจัดตั้งกองบัญชาการ Cyber (Cyber Command) เพื่อตอบโต้ภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงของโลกในรูปแบบ Social Network ที่อาศัย Cyber Space เป็นตัวเชื่อมโยงการสั่งการ และแน่นอน กองทัพที่รู้ทันการเปลี่ยนแปลงนี้ก็กำลังคิดวางวิสัยทัศน์ใหม่เพื่อการเปลี่ยนโครงสร้างของกองทัพ (Transformation) เพื่อการป้องกันประเทศในโลกเครือข่ายเช่นกัน และที่สำคัญ ขณะนี้มีการเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อการร้ายหลายกลุ่มเชื่อมโยงเครือข่ายกันใน Cyber Space อย่างชัดเจน

           ผู้เขียนอยากให้ท่านผู้อ่านที่อ่านบทความนี้และจดจำความคิดเห็นของตนเองทั้ง เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยเอาไว้ และผู้เขียนจะกลับมาคุยกับท่านในปี 2020 ว่าการเปลี่ยนแปลงของโลกได้บังคับให้ประเทศของเราปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ต่อไปอย่างไรในโลกที่ก้าวไปอย่างรวดเร็วเกินกว่าจะคาดเดารูปแบบความภัยคุก คามในอนาคต!... วิสัยทัศน์ ความรู้และปัญญาของคนในชาติจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะปกป้องประเทศของเรา



พ.อ.รศ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
settapong_m@hotmail.com
ประจำกรมข่าวทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย
กรรมการกำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ ภายใต้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)


บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ

nismo
member
*

คะแนน13
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 175


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: มีนาคม 16, 2010, 11:12:14 PM »

โลกเค้าไปถึงไหนแล้ววว  ความถี่บ้านเรายังโดนจำกัด ดองงงไว้ทามมายยยย   งง     งง 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!