โรคภัยที่มากับคอมพิวเตอร์
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
มีนาคม 29, 2024, 04:55:24 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: โรคภัยที่มากับคอมพิวเตอร์  (อ่าน 1647 ครั้ง)
srithaimax ♥1,510
ซุปเปอร์ วีไอพี
member
*

คะแนน262
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 585

ลูกอีสาน หลานย่าโม


อีเมล์
« เมื่อ: ธันวาคม 26, 2009, 06:53:25 AM »

กลับมาพบกันอีกฉบับ กับเรื่องราวเกี่ยวกับโรคภัยที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานคอมพิวเตอร์ หรือที่คนส่วนใหญ่มักเรียกกันว่า “โรคคอมพิวเตอร์” 
   
ความเจ็บป่วยอันเกิดจากการใช้งานคอมพิวเตอร์ มักเกิดขึ้นกับอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อย่างที่ได้กล่าวไว้เมื่อฉบับก่อน ตัวอย่างเช่น คอ หลัง สมอง ไหล่ รวมทั้งสายตา ซึ่งอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น มักจะเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาการใช้งานค่อนข้างนาน และส่วนมากผู้ใช้งานบ่อย ๆ เองก็ไม่รู้ตัวว่ามีอาการผิดปกติเกิดขึ้นแล้ว
   
ยังมีโรคภัยที่อาจเกิดขึ้น อันเป็นผลจากการใช้งานคอม พิวเตอร์นาน ๆ บ่อย ๆ ดังต่อไปนี้
   
มือ คนส่วนมากใช้คอมพิวเตอร์ก็ต้องเป็นอวัยวะมือเป็นหลัก  ที่จะคอย กด คลิก เลื่อน พิมพ์งาน ซึ่งหากใช้มือใน   การพิมพ์งานมาก ๆ ก็อาจเกิด   อาการเมื่อยนิ้วเมื่อยมือได้ แต่การใช้งานคอมพิวเตอร์มีอีก  2 ลักษณะที่อาจเป็นปัญหาจากการใช้งานได้ นั่นคือ ข้อมือข้างที่ถนัดที่มักใช้เมาส์ มีการขยับข้อมือมาก จนบางครั้งเกิดการอักเสบของพังผืดบริเวณข้อมือ ทำให้มีอาการบวมไปกดเส้นประสาทที่วิ่งผ่านใต้พังผืดบริเวณของข้อ จนเกิดอาการชานิ้วหรือฝ่ามือได้ ทางการแพทย์เรียกภาวะนี้ว่า carpal tunnel syndrome
   
การรักษาภาวะนี้ที่สำคัญคือ การลดการใช้งานข้อมือลงให้ลดการอักเสบยุบบวม แต่หากไม่ดีขึ้นอาจต้องรักษาด้วยการฉีดยาหรือผ่าตัด อีกปัญหาหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นกับมือข้างถนัดที่ใช้เมาส์คือ การอักเสบของเส้นเอ็นของนิ้วชี้ที่ใช้คลิกเมาส์เนื่องจากการใช้มากเกินไป การรักษาก็ต้องพักหรือลดการใช้งานให้น้อยลง ในกรณีของการใช้จอยสติ๊กหรือเครื่องกดในการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ก็อาจมีการอักเสบของเส้นเอ็นหรือข้อนิ้วอื่นในมือได้เช่นเดียวกัน
   
โรคกระเพาะอาหาร อาจสงสัยว่า การใช้งานคอมพิวเตอร์มีความเกี่ยวข้องกับโรคกระเพาะอาหารได้อย่างไร ต้องอธิบายว่า เพราะในปัจจุบันมีการใช้งานคอมพิวเตอร์กันมาก โดยเฉพาะส่วนของอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีใช้กันอย่างแพร่หลายแทบทุกเครื่องต้องมีการใช้งาน ซึ่งประโยชน์ของการใช้งานก็จะทำให้ได้รับข้อมูลข่าวสาร และใช้ติดต่อสื่อสารกันอย่างกว้างขวางเสมือนกับเป็นการย่อโลกลงมา แต่ในขณะเดียวกัน การใช้อินเทอร์เน็ตก็มักจะทำให้ผู้ใช้เพลิดเพลินจนเลยเวลารับประทานอาหาร นั่นทำให้รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา จนอาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร และมีอาการปวดท้องจากโรคกระเพาะอาหารได้ รู้อย่างนี้แล้วก็อย่าลืมมื้ออาหารของแต่ละวันกันด้วย
   
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ นี่ก็เป็นอีกโรคหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ที่นั่งทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานหลายชั่วโมงได้ และเป็นเหตุให้ไม่ได้ไปปัสสาวะหรือกลั้นปัสสาวะเอาไว้ กะว่ารอจนทำงานเสร็จค่อยไปปัสสาวะโดยเฉพาะในผู้หญิง การกลั้นปัสสาวะไว้นาน ๆ จะทำให้มีโอกาสที่เชื้อโรคบริเวณปากช่องคลอดจะเข้าไปในท่อปัสสาวะทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อของกระเพาะปัสสาวะทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อย เวลาปัสสาวะจะมีอาการแสบขัด บางรายถึงกับลุกลามเป็นกรวยไตอักเสบ มีอาการมีไข้ ปวดหลังได้ ดังนั้นในระหว่างที่ใช้คอมพิวเตอร์ ถ้ารู้สึกปวดปัสสาวะควรไปห้องน้ำทันที ไม่ควรรอ
   
โรคขาดอาหาร การเล่นเครื่องคอมพิวเตอร์นานๆ โดยเฉพาะกลุ่มผู้เล่นเป็นเด็กที่กำลังเจริญเติบโต อาจถึงทำให้เกิดภาวะขาดอาหารได้ เนื่องจากไม่สนใจการรับประทานอาหาร ไม่อยากอาหาร หรือหากทานอาหารก็จะทานอาหาร ที่หาง่ายทำง่าย เช่น บะหมี่ปรุงสำเร็จ ที่ทำให้ร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็น จนส่งผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกายได้
   
ปวดหลัง  หลาย ๆ คนที่นั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์นาน ๆ จะรู้สึกปวดหลัง ทั้ง หลังส่วนบนและหลังส่วนล่าง ทั้งนี้เนื่องจากการนั่งในท่า เดิมเป็นเวลานาน โดยไม่ได้ขยับเปลี่ยนท่า กล้ามเนื้อหลังตั้งแต่ บ่า สะบัก และกล้ามเนื้อสองข้างของกระดูกสันหลัง   จะต้องมีการหดเกร็งตัวเพื่อรักษาร่างกายให้อยู่ในท่าเดิมตลอดเวลา
   
ในความเป็นจริงแล้ว ปกติเวลานั่งในท่าเดิมระยะหนึ่งจะรู้สึกปวดเมื่อย แล้วก็มักจะขยับตัวเปลี่ยนท่าเอง  แต่ในระหว่างการใช้คอมพิวเตอร์ คนส่วนใหญ่มักจะให้ความสนใจและมีสมาธิกับสิ่งที่อยู่ในจอมอนิเตอร์ จนละเลยความรู้สึกปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อหลัง กระทั่งไม่ได้เปลี่ยนอิริยาบถของร่างกาย กว่าจะรู้ตัว กล้ามเนื้อหลัง  ก็มีการเกร็งตัวเป็นเวลานานจนรู้สึกปวดมากแล้ว การแก้ไขคือ พยายามเปลี่ยนอิริยาบถ เปลี่ยนท่านั่งบ่อย ๆ ในระหว่างการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์
   
การขาดการออกกำลังกาย การใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นประจำจนติด เช่น ติดการใช้อินเทอร์เน็ต ติดเกมคอมพิวเตอร์ ทำให้ใช้เวลาในแต่ละวันนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์หลาย ๆ ชั่วโมง จนบางครั้งไม่มีเวลาหรือไม่มีความคิดที่จะออกกำลังกาย
   
การขาดการออกกำลังกาย ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง กล้ามเนื้อในร่างกายขาดการฝึกฝนใช้งาน ทำให้กล้ามเนื้อหดลีบ ขาดความคล่องตัว ดังที่มีคนทำนายไว้ว่า มนุษย์เราในอนาคตจะมีลักษณะหัวโต เพราะใช้สมองมาก แต่ตัวลีบ เพราะขาดการออกกำลังกาย จะมีแต่นิ้วที่ยาวแต่แข็งแรงไม่มากเพราะใช้แต่คอมพิวเตอร์ ภูมิคุ้มกันของร่างกายก็จะอ่อนแอลง ทำให้ติดเชื้อโรคได้ง่าย เป็นหวัด เจ็บคอบ่อย ๆ จากการติดเชื้อทางเดินหายใจ เพราะนั่งใช้คอมพิวเตอร์อยู่แต่ในห้องที่ใช้เครื่องปรับอากาศเกือบตลอดเวลา ไม่ค่อยออกไปสัมผัสกับแสงแดดและอากาศบริสุทธิ์
   
ที่กล่าวมาแล้วเป็นเพียงตัวอย่างของโรคที่เกิดขึ้นได้จากการใช้คอมพิวเตอร์และจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ซึ่งเป็นกิจวัตรที่คนจำนวนไม่น้อยทำในแต่ละวัน โรคที่มากับการใช้คอมพิวเตอร์ก็จะเป็นปัญหาที่พบได้มากขึ้นตามไปด้วย แต่ส่วนมากเป็นโรคหรือภาวะที่หลีกเลี่ยงหรือป้องกันได้เมื่อทราบและมีการปฏิบัติที่ถูกต้อง
   
จึงควรหันมาใส่ใจตนเองให้มากขึ้น เมื่อต้องมีการใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
   
ฝากข่าวประชาสัมพันธ์กิจกรรมสำหรับผู้ที่มีภาวะเข่าเสื่อม ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ขอเชิญเข้าร่วมงาน “วัน 1,000 เข่า” ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 17 มกราคม 2553 ณ ห้องประชุมอรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ภายในงานพบกับทีมแพทย์ พยาบาล เภสัชกร และโภชนากร ที่จะมาให้ความรู้เรื่องการดูแลเข่า ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-2201-1688, 0-2201-1584.

ผศ.นพ.กิตติ โตเต็มชัยการ
อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล


บันทึกการเข้า

คิดดี  ทำดี   ย่อมได้รับสิ่งดีๆ
Suchat  sriwicha  โทร D tac  0869486776  6หมู่3 บ้านน้ำบ่า(สระวัด)  ต.ดอนตะหนิน อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา 30120
....ผมไม่รู้ทุกเรื่อง.....

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!