พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
มีนาคม 28, 2024, 08:29:44 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ  (อ่าน 4395 ครั้ง)
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3004


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« เมื่อ: พฤศจิกายน 29, 2009, 10:50:20 AM »



ในปัจจุบันปริมาณการใช้พลาสติกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ทั้งนี้มีสาเหตุเนื่องมาจากพลาสติกเป็นพลาสติกที่มีสมบัติเด่นมากมายจึงเป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย แต่เนื่องจากพลาสติกมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้เป็นระยะเวลานานนับร้อยๆปี จึงก่อให้เกิดปัญหาขยะพลา

ในปัจจุบันปริมาณการใช้พลาสติกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน  ทั้งนี้มีสาเหตุเนื่องมาจากพลาสติกเป็นพลาสติกที่มีสมบัติเด่นมากมายจึงเป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย  แต่เนื่องจากพลาสติกมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้เป็นระยะเวลานานนับร้อยๆปี  จึงก่อให้เกิดปัญหาขยะพลาสติกขึ้นส่งผลโดยตรงต่อสภาพแวดล้อม


           สาเหตุที่พลาสติกที่สังเคราะห์จากพอลิเมอร์สังเคราะห์ไม่สามารถถูกย่อยสลายได้มี 2 ประการคือ


           1.    พลาสติกที่ผลิตจากสารพอลิเมอร์สังเคราะห์มีน้ำหนักโมเลกุลสูงมาก  ทำให้มีความทนทานต่อการย่อยสลายโดยเชื้อจุลินทรีย์


           2.    พลาสติกที่ผลิตจากสารพอลิเมอร์สังเคราะห์มีสมบัติไม่ชอบน้ำ  (hydrophobic) มีลักษณะไม่เป็นรูพรึนและมีพื้นที่ผิวน้อย  ส่งผลให้เอนไซม์ที่ปลดปล่อยออกมาจากจุลินทรีย์ซึมผ่านตัวกลางที่เป็นน้ำไปสัมผัสกับผิวของพลาสติกน้อยลง  จึงเป็นการยากที่จะทำให้พลาสติกย่อยสลายได้





           เนื่องมาจากพลาสติกที่ผลิตสารพอลิเมอร์สังเคราะห์ไม่สามารถถูกย่อยสลายได้ดังที่กล่าวไปแล้ว  ดังนั้นด้วยความตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก  ในหลายประเทศจึงมีความตื่นตัวด้านพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ  (Biodegradable plastics) ทั้งด้านนโยบาย  การวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมและการสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อเร่งรัดให้เกิดการทดแทนพลาสติกสังเคราะห์จากพอลิเมอร์สังเคราะห์  เช่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน  สหรัฐอเมริกา  ได้พยายามทำการวิจัยพลาสติกที่ย่อยสลายทางชีวภาพ  และมีการนำมาใช้ในทางการค้าแล้ว  ซึ่งขณะนี้ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง


           ในอนาคตการใช้งานพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพได้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการค้นพบและพัฒนากระบวนการผลิตใหม่ๆ  ทำให้พลาสติกมีราคาต่ำลงและมีสมบัติต่างๆดีขึ้น  มีกฎข้อบังคับรวมถึงการที่มีค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะที่สูงขึ้น  ทำให้บริษัทต่างๆผลิตพลาสติกที่ย่อยสลายได้ที่มีสมบัติหลากหลายแตกต่างกัน  บางครั้งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไม่เกิดการย่อยสลายผ่านกระบวนการทางชีวภาพอย่างแท้จริง  เพื่อควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว  ปัจจุบันมีหลายองค์กรทั่วโลกได้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์ย่อยสลายได้ทางชีวภาพขึ้น


พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ


           คำจำกัดความของพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ตาม ASTM D6400-99 หมายถึงพลาสติกที่ย่อยสลายได้อันเนื่องมาจากการทำงานของจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในธรรมชาติ  เช่น  แบคทีเรีย  ราและสาหร่าย


           พลาสติกย่อยสลายได้ชีวภาพเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ด้วยกระบวนการทางชีวภาพ  ซึ่งสามารถแบ่งตามวัตถุดิบที่ใช้ได้ออกเป็น 2 ประเภท  คือพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพที่ผลิตจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี  (petroleum-based biodegradable plastics) และพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพที่ผลิตจากวัตถุดิบมวลชีวภาพ (bio-based biodegradable plastics) ซึ่งปัจจุบันเป็นพลาสติกที่ได้รับความสนใจมากเนื่องจากผลิตจากพืช  หรือวัตถุดิบที่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้  (renewable resources) โดยอาศัยกระบวนการหมัก (fermentation) ซึ่งใช้พลังงานต่ำ  สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติเมื่อฝั่งกลบภายหลังการใช้งาน  ด้วยคุณลักษณะและคุณสมบัติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ  ตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงการกำจัดนี้เองที่ทำให้พลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้กลายเป็นวัสดุแห่งอนาคต  ซึ่งหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้ตระหนักถึงประโยชน์ของพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพจึงเริ่มนำมาใช้และวางจำหน่ายในประเทศไทย


แนวโน้มการใช้และการผลิตพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ


           จากกระแสอนุรักษ์ธรรมชาติและความตระหนักต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะปัญหาภาวะโลกร้อนที่ทั่วโลกกำลังเผชิญร่วมกัน  ส่งผลให้ความต้องการผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพในตลาดโลกมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นมาก  โดยมีปริมาณความต้องการใช้ทั่วโลก  ในปี 2550-2551  สูงถึง  500,000  ตันต่อปีและมีอัตราการเจริญเติบโตถึงร้อยละ  70 เทียบกับปี  2548  โดยเฉพาะตลาดสำคัญซึ่งมีปริมาณการใช้พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพขยายตัวอย่างต่อเนื่อง  ทั้งนี้คาดการว่า  ตลาดสหภาพยุโรปมีแนวโน้มปริมาณการใช้พลาสติกชีวภาพ  40,000-50,000 ตันต่อปี  (ขยายตัวร้อยละ 20) ส่วนสหรัฐฯมีปริมาณความต้องการใช้  70,000-80,000 ตันต่อปี (ขยายตัวร้อยละ 16) และตลาดญี่ปุ่นมีปริมาณความต้องากรใช้ 15,000 ตันต่อปี (ขยายตัวร้อยละ 100)




ภาพที่ 1 : รูปแสดงแนวโน้มการผลิตพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพของโลก


           สำหรับประเทศไทย มีความพร้อมในด้านวัตถุดิบสำหรับการผลิตพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ  แต่การพัฒนาวัสดุพอลิเมอร์ย่อยสลายได้ยังอยู่ในระดับบุกเบิกและการเริ่มสร้างเทคโนโลยีใหม่  ขณะนี้มีนักวิจัยในหลายมหาวิทยาลับทั่วประเทศไทยให้ความสนใจและกำลังศึกษาวิจัยด้านนี้ทั้งเรื่องของเทคโนโลยีการเตรียมวัตถุดิบทางการเกษตรรวมทั้งงานวิจัยทางด้านเทคโนโลยีทางชีวภาพ และเทคโนโลยีในการผลิตและการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์  ขณะเดียวกันมีผู้ประกอบการหลายรายของไทยหันมาลงทุนในอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพบ้างแล้วแต่ยังคงนำ  เข้าเม็ดพลาสติกชีวภาพจากต่างประเทศทำให้ต้นทุนสูงกว่าพลาสติกทั่วไป 3-4 เท่า ผู้บริโภคจึงมีอยู่ในวงจำกัด


           ดังนั้นหากประเทศไทยมีการตื่นตัวและได้รับการสนับสนุนจากทุกองค์กรทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้  เทคโนโลยีตลอดจนนวัตกรรมของประเทศซึ่งจะนำไปสู่การสนับสนุนให้เกิดธุรกิจการค้าที่ทันต่อกระแสโลกและสอดคล้องกับนโยบายและแนวทางการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม


           โครงการวิทยาศาสตร์ชีวภาพ  กรมวิทยาศาสตร์บริการเห็นความสำคัญของแนวโน้มการใช้พลาสติกย่อมสลายได้ทางชีวภาพ   จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาห้องปฏิบัติการทดลองพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพให้มีความสามารถในการให้บริการทดสอบบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกที่ทำย่อยสลายได้ทางชีวภาพตามมาตรฐานสากล   เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมในอนาคตให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของประเทศคู่ค้า เช่น ประเทศญี่ปุ่นและกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป


เอกสารอ้างอิง


           1.      ธนาวดี   ลี้จากภัย. พลาสติกย่อยสลายได้เพื่อสิ่งแวดล้อม.     ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   กระทรวงวิทยาศาสตร์.2549.


           2.    พลาสติกชีวภาพตลาดโลกร้อนแรงตามกระแสโลกร้อน.   [ออนไลน์]. [อ้างถึงวันที่ 2 กรรกฏาคม 2551] เข้าถึงได้จาก ; http://www.positioningmag.com/prmews/prmews.aspx?id= 67160.

ขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือ กรมวิทยาศาสตร์บริการ กับ วิชาการดอทคอม


http://www.dss.go.th/dssweb/index.html


ขอขอบคุณผู้เขียน :สุภัตรา  เจริญเกษมวิทย์ , อรวรรณ  ศรีคุ้มวงษ์




บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!