เมื่อผู้หญิงคนหนึ่งละทิ้งหน้าที่การงานไว้เบื้องหลัง เพื่อออกเดินทางเร่ร่อนสู่ประเทศโลกที่สาม ด้วยอุดมการณ์หวังผลักดันให้ผู้ป่วยยากไร้ทั่วโลกมีโอกาสได้เข้าถึงยาต้าน ไวรัสเอดส์
ชื่อยาต้านไวรัสเอดส์อย่าง AZT (Zidovudine) และ GPO-Vir ที่ เราคุ้นเคยกันดี จะมีใครรู้บ้างว่า ยานี้ได้รับการคิดค้นจากองค์การเภสัชกรรมของไทย โดยมีเภสัชกรหญิงผู้หนึ่งเป็นผู้ปิดทองหลังพระกับความสำเร็จนี้ คนที่ว่านี้ ก็คือ "ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์" เจ้าของฉายา "เภสัชกรยิปซี"
เภสัชกรหญิง ดร. กฤษณา ไกรสินธุ์ เกิด เกิดเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 มีพื้นเพเป็นชาวเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพี่น้อง 2 คน เติบโตในครอบครัวซึ่งบิดาและมารดาทำงานทางสาธารณสุขทั้งคู่ บิดาเป็นแพทย์และมารดาเป็นพยาบาล และนี่คือแรงบันดาลใจที่ทำให้ ดร. กฤษณาก้าวสู่เส้นทางสาธารณสุข
นวัยเยาว์ได้รับการศึกษาที่เกาะสมุยบ้านเกิด แล้วย้ายมาศึกษาระดับมัธยมศึกษา ณ โรงเรียนราชินี เมื่อจบก็เอ็นทรานซ์เข้าศึกษาต่อใน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จากนั้นจึงต่อปริญญาโท สาขาเภสัชวิเคราะห์ มหาวิทยาลัยสตรัชคไลด์ และปริญญาเอก สาขาเภสัชเคมี มหาวิทยาลัยบาธ ประเทศอังกฤษ
ภายหลังสำเร็จการศึกษา ดร. กฤษณาได้นำความรู้ที่เรียนเล่าเรียนกลับมาทำงานเป็น อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาเภสัชเคมี แต่ในขณะนั้นศาสตร์ด้านเภสัชเคมีไม่เป็นที่สนใจเท่าใดนักจึงเป็นอาจารย์อยู่ได้สักพักก็ลาออก มาทำงานที่สถาบันวิจัยและพัฒนาองค์การเภสัชกรรม เมื่อปี พ.ศ. 2532 เพราะอยากผลิตยาที่มีคุณภาพให้กับคนไทย โดยเป็นผู้ริเริ่มการวิจัยยาต้านเชื้อไวรัสเอดส์ในประเทศไทย จนสามารถผลิตยาสามัญชื่อ "ยาเอดส์" ได้เป็นครั้งแรกในประเทศกำลังพัฒนา และได้รับเลือกเป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ด้วยอายุเพียง 37 ปี
รงบันดาลใจสำคัญ ที่ทำให้ ดร. กฤษณา มุ่งมั่นในการพัฒนายาเอดส์นั้นก็เพราะ ความรู้สึกสงสารเมื่อต้องรับรู้เรื่องราวของเด็กๆ ที่ต้องติดเชื้อเอดส์จากแม่ โดยเฉพาะ ตั้งแต่ปีปี พ.ศ. 2535 ที่พบผู้ป่วยเอดส์ในไทยเพิ่มขึ้นมากเรื่อยๆ ทำให้เธอสงสารที่ผู้หญิงและเด็กต้องมารับเคราะห์จากการที่ส่วนใหญ่แม่ติด เชื่อมาจากสามี
ดร. กฤษณา ใช้เวลาคิดค้นคว้าตั้งแต่ พ.ศ. 2535 ผ่าอุปสรรคทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวัตถุดิบ แรงต้านจากบริษัทยา ในระยะแรกต้องอดทนทำโดยลำพัง แต่ก็ด้วยการสนับสนุนจากกระทรวงการต่างประเทศ คณะสื่อมวลชน กลุ่ม NGO ทั่วโลก รวมทั้งพันธมิตรต่างประเทศจำนวนมากที่คอยช่วยเหลือส่งข้อมูล จนในที่สุดสามารถผลิตยาสามัญ "ยาเอดส์" ได้ในปี พ.ศ. 2538 โดยยาตัวแรกที่ผลิตได้คือ ZIDOVUDINE หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า AZT คือยาที่ลดการติดเชื่อจากแม่สู่ลูก ซึ่งมีราคาเพียง7-8 บาท จากราคาท้องตลาดที่ แคปซูลละ 40 บาท หรือยาบางตัวที่บริษัทหนึ่งขายที่แคปซูลละ 284 บาทแต่ ดร. กฤษณา ทำให้เหลือเพียงแค่ 8 บาทเท่านั้น ดร. กฤษณาได้ริเริ่มผลิตยาอีกหลายชนิด และยาตัวที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักกันมากนั้นก็คือ GPO-VIR หรือยาต้านเอดส์สูตรคอกเทลล์ ซึ่งเป็นการรวมตัวยารักษาโรคเอดส์กว่า 3 ชนิดในเม็ดเดียวเป็นครั้งแรกในโลก ทำให้ผู้ป่วยเอดส์ในไทยไม่ต้องกินยาหลายชนิดช่วยลดค่าใช้จ่ายลง และเพิ่มจำนวนผู้ที่สามารถเข้าถึงยานี้ได้นับหมื่นคน
ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการช่วยเหลือประชาชนในประเทศด้อยพัฒนาทำให้ องค์การอนามัยโลกเชิญกฤษณาไปที่ทวีปแอฟริกา ทวีปที่มีผู้ป่วยเอดส์เป็นจำนวนมากโดยร้อยละ 90 ของผู้ติดเชื่อเอดส์ทั่วโลกอยู่ที่นี่ เพื่อช่วยเหลือด้านเภสัชกรรม คอยถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีวิธีผลิตยาไวรัสเอดส์ ในปี พ.ศ. 2542
ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ดร. กฤษณา เห็นว่าสถานการณ์ในไทยได้รับการช่วยเหลืออย่างเต็มที่ มีคนพร้อมที่จะสานต่อได้ จึงตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์การเภสัชกรรม และเดินทางไปช่วยคนที่แอฟริกาตามสัญญา ที่เคยมีการประกาศในที่ประชุมองค์การอนามัยโลก เป็นการไปแบบเด็ดเดี่ยวมาก ไม่มีใครเห็นด้วย ไม่มีผู้สนับสนุน ใช้ทุนส่วนตัว เสมือนน่าไปตายเอาดาบหน้า
ประเทศคองโก คือประเทศแรกที่ ดร. กฤษณา เดินทางไป และประสบความสำเร็จสามารถจัดตั้งโรงงานเภสัชกรรมแห่งแรกที่ใช้เวลาก่อสร้างร่วม 3 ปีจึงจะสำเร็จ และสามารถผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ ชื่อ AFRIVIR ในประเทศที่มีความขัดแย้งมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลกได้ในปี พ.ศ. 2548โดยมีส่วนผสมของตัวยาเหมือนยาที่ผลิตในประเทศไทยแต่ต่างกันก็ที่วัตถุ ดิบ การที่มีโรงงานและได้รับการถ่ายทอดที่ดีนี่เองทำให้คนในท้องถิ่นสามารถพึ่ง พาตัวเองได้อย่างยั่งยืน เสมือนเป็นการสอนคนตกปลาเพื่อหาเลี้ยงตนเอง ไม่ใช่แค่การนำยาไปบริจาคหรือจำหน่าย และเมื่อครั้งที่อยู่ที่ประเทษแทนซาเนีย ก็ได้วิจัยและผลิตยาที่ชื่อ "Thai-Tanzunate" เพื่อรักษาโรคมาลาเรีย ยาเหน็บทวาร "อาร์เตซูเนท" เพื่อ รักษาโรคมาลาเรียในเด็ก ซึ่งเป็นโรคระบาดในทวีปแอฟริกาเพื่อรักษามาลาเรีย นอกจากนี้ก็ได้เดินทางไปต่อเพื่อช่วยเหลือประเทศอื่นๆในทวีปแอฟริกาอีก ได้แก่ ประเทศอิริคเทอร์เรีย ประเทศเบนิน และประเทศไลบีเรีย
ตลอดเวลา 5 ปี ดร.กฤษณาเดินทางทำงานไปทั่วทวีปแอฟริกา นับเป็นการทำงานที่เร่ร่อน มีตารางการทำงานที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ บางวันทำงานประเทศหนึ่งตกกลางคืนก็ไปนอนที่ประเทศหนึ่ง นี่เองจึงเป็นที่มาของชื่อ เภสัชกรยิปซี อีกทั้งต้องพบทั้งอุปสรรค ภัยมืดต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการทะเลาะกับคนใหญ่คนโตของที่นั้น การถูกจี้ปล้น ถูกลอบทำร้ายด้วยระเบิดที่บ้านพักแต่โชคยังเข้าข้างคนดีที่ระเบิดนั้นพลาด เป้าเลยไปตกบ้านข้างๆแทน
จากการอุทิศตนทำงาน ดร. กฤษณา จนมีการนำไปตีพิมพ์เป็นส่วนหนึ่งของบทความลงในหนังสือพิมพ์ชื่อดังของ เยอรมันฉบับหนึ่ง ทำให้มีบุคคลชื่นชมในงานของเธอ และ ในปี พ.ศ. 2549ได้มีการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์สารคดี ความยาว 45 นาที เรื่อง อะไรต์ทีลีฟ - เอดส์เมดิเคชันออฟมิลเลียนส์ (A Right to Live - Aids Medication for Millions) จนได้รับรางวัลจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ 3รางวัล นอกจากนั้นอเมริกาก็ยังนำเอาไปสร้างเป็น ภาพยนตร์บอร์ดเวย์เรื่อง คอกเทลล์ ( Cocktail) เปิดแสดงในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550และในประเทศไทย ก็มีการสร้างเป็นละครเวทีเรื่อง นางฟ้านิรนาม บทละครชีวิตและงานของ "เภสัชกรยิปซี" สมญาที่ได้มาจาก นิตยสารคู่สร้างคู่สม ซึ่งแปลมาจาก Cocktail ละครบรอดเวย์ของอเมริกา เมื่อ 2 ปีก่อน โดยคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตลอดเวลากว่า 30 ปี ของการทำงานที่อุทิศชีวิตให้กับสังคม ทำให้ ดร.กฤษณา ได้รับรางวัลมากมาย อาทิ รางวัลนักวิทยาศาสตร์โลก (Global Scientist Award) ประจำปี พ.ศ. 2547 จากมูลนิธิเลตเต็น (Letten Foundation) ประเทศนอร์เวย์ ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์อีกนับไม่ถ้วน เช่น เป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ สาขาวิทยาศาสตร์ จาก Mauny Holly Oke College, USA และเภสัชศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมาศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยา ลัยสตราห์ไคลด์ ได้รับการยกย่องจากนิตยสารรีดเดอร์สไดเจสต์ ให้เป็นบุคคลแห่งปีของเอเชีย ประจำ ปี พ.ศ. 2551 ในฐานะที่เป็นบุคคลที่ทุ่มเททำงานอย่างมิรู้จักเหน็ดเหนื่อย เพื่อผลักดันให้ผู้ป่วยยากไร้ทั่วโลกมีโอกาสได้ใช้ยารักษาโรคเอดส์ รางวัลบุคคลดีเด่นของชาติ สาขาพัฒนาสังคม โดยคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี รางวัลแมกไซไซสาขาบริการ สาธารณะประจำปี พ.ศ. 2552 และที่สุดแห่งความภาคภูมิใจกับ รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นของโรงเรียนราชินีประจำปี เพราะโดยส่วนตัวดร.กฤษณา มีความภูมิใจในโรงเรียนแห่งนี้เสมอ ที่ที่ให้รู้จักเข้ากับคนได้ มีมนุษยสัมพันธ์ มีน้ำใจ เป็นหลาย ๆ ด้านมาประกอบกัน ไม่ใช่เพียงสอนให้เก่ง แต่เอาตัวไม่รอด
สำหรับชีวิตครอบครัว ดร.กฤษณา ไม่ได้สมรส ท่านอาศัยอยู่กับญาติในบางครั้ง เพราะส่วนแล้วจะทำงานอยู่ทวีปแอฟริกาเสียมากกว่า และนอกจากแอฟริกา ดร.กฤษณายังไปทำงานในประเทศจีน เป็นศาสตราจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยฮาบิน หรือประเทศบูรุนดี้ ที่เป็นประเทศที่จนที่สุดในโลก
และสุดท้ายนี่คือ หลักการทำงานของดร.กฤษณา ที่ยึดมั่น "เรา ควรทำวันนี้ให้เหมือนกับวันสุดท้ายของชีวิต เพราะนั้นแปลว่าเราต้องทำทุกอย่างให้ดีที่สุด เพราะไม่มีวันพรุ่งนี้ให้แก้ตัวอีกต่อไปแล้ว"
ข้อมูล
กฤษณา ไกรสินธุ์ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กฤษณา ไกรสินธุ์ นิตยสารคู่สร่างคู่สม ฉบับที่ 565 ประจำวันที่ 1-10 พฤษภาคม 2550
เจาะชีวิตฉายา 'เภสัชกรยิปซี 'ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์' 'บุคคลแห่งปีเอเชีย' นักสู้เอดส์ จาก เดลินิวส์ (ออนไลน์)วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2551
ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์
www.krisana.org