คาถาดอกไม้สวรรค์(อิติปิโสรัตนมาลา108)
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คาถาดอกไม้สวรรค์(อิติปิโสรัตนมาลา108)  (อ่าน 5529 ครั้ง)
Nattawut-LSV Team
E23IUY
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3581


อีเมล์
« เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2009, 07:26:14 PM »

พระอิติปิโสรัตนมาลา ๑๐๘

(นำ) หันทะ มะยัง อะนุสสะระณะ ปาฐะ คาถาโย ภะณา มะเส ฯ

พระพุทธคุณ ๕๖

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ.

๑. อิ. อิฏโฐ สัพพัญญุตัญญานัง อิจฉันโต อาสะวักขะยัง

อิฏฐัง ธัมมัง อะนุปปัตโต อิทธิมันตัง นะมามิหัง

๒. ติ. ติณโณ โย วัฏฏะทุกขัมหา ติณณัง โลกานะมุตตะโม

ติสโส ภูมี อะติกกันโต ติณณะโอฆัง นะมามิหัง

๓. ปิ. ปิโย เทวะมะนุสสานัง ปิโยพรหมานะมุตตะโม

ปิโย นาคะสุปัณณานัง ปิณินทริยัง นะมามิหัง

๔. โส. โสกา วิรัตตะจิตโต โย โสภะนาโม สะเทวะเก

โสกัปปัตเต ปะโมเทนโต โสภะวัณณัง นะมามิหัง

๕. ภะ. ภะชิตา เยนะ สัทธัมมา ภัคคะปาเปนะ ตาทินา

ภะยะสัตเต ปะหาเสนโต ภะยะสันตัง นะมามิหัง

๖. คะ. คะมิโต เยนะ สัทธัมโม คะมาปิโต สะเทวะกัง

คัจฉะมาโน สิวัง รัมมัง คะตะธัมมัง นะมามิหัง

๗. วา. วานา นิกขะมิ โย ตัณหา วาจัง ภาสะติ อุตตะมัง

วานะ นิพพาปะ นัตถายะ วายะมันตัง นะมามิหัง

๘. อะ. อะนัสสา สะกะสัตตานัง อัสสาสัง เทติ โย ชิโน

อะนันตะคุณะสัมปันโน อันตะคามิง นะมามิหัง

๙. ระ. ระโต นิพพานะสัมปัตเต ระโต โย สัตตะโมจะเน

รัมมาเปตีธะ สัตเต โย ระณะจัตตัง นะมามิหัง

๑๐. หัง. หัญญะติ ปาปะเก ธัมเม หังสาเปติ ปะรัง ชะนัง

หังสะมานัง มะหาวีรัง หันตะปาปัง นะมามิหัง

๑๑. สัม. สังขะตาสังขะเต ธัมเม สัมมา เทเสสิ ปาณินัง

สังสารัง สังวิฆาเฏติ สัมพุทธันตัง นะมามิหัง

๑๒. มา. มาตาวะ ปาลิโต สัตเต มานะถัทเธ ปะมัททิโต

มานิโต เทวะสังเฆหิ มานะฆาฏัง นะมามิหัง

๑๓. สัม. สัญจะยัง ปาระมี สัมมา สัญจิตะวา สุขะมัตตะโน

สังขารานัง ขะยัง ทิสวา สันตะคามิง นะมามิหัง

๑๔. พุท. พุชฌิตวา จะตุสัจจานิ พุชฌาเปติ มะหาชะนัง

พุชฌาเปนตัง สิวัง มัคคัง พุทธะเสฏฐัง นะมามิหัง

๑๕. โธ. โธติ ราเค จะ โทเส จะ โธติ โมเห จะ ปาณินัง

โธตะเกลสัง มะหาปุญญัง โธตาสะวัง นะมามิหัง

๑๖. วิช. วิเวเจติ อะสัทธัมมา วิจิตะวา ธัมมะเทสะนัง

วิเวเก ฐิตะจิตโต โย วิทิตันตัง นะมามิหัง

๑๗. ชา. ชาติธัมโม ชะราธัมโม ชาติอันโต ปะกาสิโต

ชาติเสฏเฐนะ พุทเธนะ ชาติมุตตัง นะมามิหัง

๑๘. จะ. จะเยติ ปุญญะสัมภาเร จะเยติ สุขะสัมปะทัง

จะชันตัง ปาปะกัมมานิ จะชาเปนตัง นะมามิหัง

๑๙. ระ. ระมิตัง เยนะ นิพพานัง รักขิตา โลกะสัมปะทา

ระชะโทสาทิเกลเสหิ ระหิตันตัง นะมามิหัง

๒๐. ณะ. นะมิโตเยวะ พรหเมหิ นะระเทเวหิ สัพพะทา

นะทันโต สีหะนาทัง โย นะทันตัง ตัง นะมามิหัง

๒๑. สัม. สังขาเร ติวิเธ โลเก สัญชานาติ อะนิจจะโต

สัมมา นิพพานะสัมปัตติ สัมปันโน ตัง นะมามิหัง

๒๒.ปัน. ปะกะโต โพธิสัมภาเร ปะสัฏโฐ โย สะเทวะเก

ปัญญายะ อะสะโม โหติ ปะสันนัง ตัง นะมามิหัง

๒๓. โน. โน เทติ นิระยัง คันตุง โน จะ ปาปัง อะการะยิ

โน สะโม อัตถิ ปัญญายะ โนนะธัมมัง นะมามิหัง

๒๔. สุ. สุนทะโร วะระรูเปนะ สุสะโร ธัมมะภาสะเน

สุทุททะสัง ทิสาเปติ สุคะตันตัง นะมามิหัง

๒๕. คะ. คัจฉันโต โลกิยา ธัมมา คัจฉันโต อะมะตัง ปะทัง

คะโต โส สัตตะโมเจตุง คะตัญญาณัง นะมามิหัง

๒๖. โต. โตเสนโต วะระธัมเมนะ โตสัฏฐาเน สิเว วะเร

โตสัง อะกาสิ ชันตูนัง โตละจิตตัง นะมามิหัง

๒๗. โล. โลเภ ชะหะติ สัมพุทโธ โลกะเสฏโฐ คุณากะโร

โลเภ สัตเต ชะหาเปติ โลภะสันตัง นะมามิหัง

๒๘. กะ. กันโต โย สัพพะสัตตานัง กัตวา ทุกขักขะยัง ชิโน

กะเถนโต มะธุรัง ธัมมัง กะถาสัณหัง นะมามิหัง

๒๙. วิ. วินะยัง โย ปะกาเสติ วิทธังเสตวา ตะโย ภะเว

วิเสสัญญาณะสัมปันโน วิปปะสันนัง นะมามิหัง

๓๐. ทู. ทูเส สัตเต ปะหาเสนโต ทูรัฏฐาเน ปะกาสะติ

ทูรัง นิพพานะมาคัมมะ ทูสะหันตัง นะมามิหัง

๓๑. อะ. อันตัง ชาติชะราทีนัง อะกาสิ ทิปะทุตตะโม

อะเนกุสสาหะจิตเตนะ อัสสาเสนตัง นะมามิหัง

๓๒. นุต. นุเทติ ราคะจิตตานิ นุทาเปติ ปะรัง ชะนัง

นุนะ อัตถัง มะนุสสานัง นุสาสันตัง นะมามิหัง

๓๓. ตะ. ตะโนติ กุสะลัง กัมมัง ตะโนติ ธัมมะเทสะนัง

ตัณหายะ วิจะรันตานัง ตัณหาฆาฏัง นะมามิหัง

๓๔. โร. โรเสนโต เนวะ โกเปติ โรเสเหวะ นะ กุชฌะติ

โรคานัง ราคะอาทีนัง โรคะหันตัง นะมามิหัง

๓๕. ปุ. ปุณันตัง อัตตะโน ปาปัง ปุเรนตัง ทะสะปาระมี

ปุญญะวันตัสสะ ราชัสสะ ปุตตะภูตัง นะมามิหัง

๓๖. ริ. ริปุราคาทิภูตัง วะ ริทธิยา ปะฏิหัญญะติ

ริตตัง กัมมัง นะ กาเรตา ริยะวังสัง นะมามิหัง

๓๗. สะ. สัมปันโน วะระสีเลนะ สะมาธิปะวะโร ชิโน

สะยัมภูญาณะสัมปันโน สัณหะวาจัง นะมามิหัง

๓๘. ทัม. ทันโต โย สะกะจิตตานิ ทะมิตะวา สะเทวะกัง

ทะทันโต อะมะตัง เขมัง ทันตินทริยัง นะมามิหัง

๓๙. มะ. มะหุสสาเหนะ สัมพุทโธ มะหันตัง ญาณะมาคะมิ

มะหิตัง นะระเทเวหิ มะโนสุทธัง นะมามิหัง

๔๐. สา. สารัง เทตีธะ สัตตานัง สาเรติ อะมะตัง ปะทัง

สาระถี วิยะ สาเรติ สาระธัมมัง นะมามิหัง

๔๑. ระ. รัมมะตาริยะสัทธัมเม รัมมาเปติ สะสาวะกัง

รัมเม ฐาเน วะสาเปนตัง ระณะหันตัง นะมามิหัง

๔๒. ถิ. ถิโต โย วะระนิพพาเน ถิเร ฐาเน สะสาวะโก

ถิรัง ฐานัง ปะกาเสติ ถิตัง ธัมเม นะมามิหัง

๔๓. สัต. สัทธัมมัง เทสะยิตวานะ สันตะนิพพานะปาปะกัง

สะสาวะกัง สะมาหิตัง สันตะจิตตัง นะมามิหัง

๔๔. ถา. ถานัง นิพพานะสังขาตัง ถาเมนาธิคะโต มุนิ

ถาเน สัคคะสิเว สัตเต ถาเปนตัง ตัง นะมามิหัง

๔๕. เท. เทนโต โย สัคคะนิพพานัง เทวะมะนุสสะปาณินัง

เทนตัง ธัมมะวะรัง ทานัง เทวะเสฏฐัง นะมามิหัง

๔๖. วะ. วันตะราคัง วันตะโทสัง วันตะโมหัง อะนาสะวัง

วันทิตัง เทวะพรหเมหิ มะหิตันตัง นะมามิหัง

๔๗. มะ. มะหะตา วิริเยนาปิ มะหันตัง ปาระมิง อะกา

มะนุสสะเทวะพรหเมหิ มะหิตันตัง นะมามิหัง

๔๘. นุส. นุนะธัมมัง ปะกาเสนโต นุทะนัตถายะ ปาปะกัง

นุนะ ทุกขาธิปันนานัง นุทาปิตัง นะมามิหัง

๔๙. สา. สาวะกานังนุสาเสติ สาระธัมเม จะ ปาณินัง

สาระธัมมัง มะนุสสานัง สาสิตันตัง นะมามิหัง

๕๐. นัง. นันทันโต วะระสัทธัมเม นันทาเปติ มะหามุนิ

นันทะภูเตหิ เทเวหิ นันทะนียัง นะมามิหัง

๕๑. พุท. พุชฌิตาริยะสัจจานิ พุชฌาเปติ สะเทวะกัง

พุทธะญาเณหิ สัมปันนัง พุทธัง สัมมา นะมามิหัง

๕๒. โธ. โธวิตัพพัง มะหาวีโร โธวันโต มะละมัตตะโน

โธวิโต ปาณินัง ปาปัง โธตะเกลสัง นะมามิหัง

๕๓. ภะ. ภะยะมาปันนะสัตตานัง ภะยัง หาเปติ นายะโก

ภะเว สัพเพ อะติกกันโต ภะคะวันตัง นะมามิหัง

๕๔. คะ. คะหิโต เยนะ สัทธัมโม คะตัญญาเณนะ ปาณินัง

คะหะณิยัง วะรัง ธัมมัง คัณหาเปนตัง นะมามิหัง

๕๕. วา. วาปิตัง ปะวะรัง ธัมมัง วานะโมกขายะ ภิกขุนัง

วาสิตัง ปะวะเร ธัมเม วานะหันตัง นะมามิหัง

๕๖. ติ. ติณโณ โย สัพพะปาเปหิ ติณโณ สัคคา ปะติฏฐิโต

ติเร นิพพานะสังขาเต ติกขะญาณัง นะมามิหัง




ฉัปปัญญาสะ พุทธะคาถา พุทธะคุณา สุคัมภิรา

เอเตสะมานุภาเวนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา.




พระธรรมคุณ ๓๘

สวากขาโต ภะคะวาตา ธัมโม, สันทิฏฐิโก อะกาลิโก

เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วัญญูหีติ.




๑. สวาก. สวาคะตันตัง สิวัง รัมมัง สวานะยัง ธัมมะเทสิตัง

สวาหุเนยยัง ปุญญะเขตตัง สวาสะภันตัง นะมามิหัง

๒. ขา. ขาทันโต โย สัพพะปาปัง ขายิโต โย จะ มาธุโร

ขายันตัง ติวิธัง โลกัง ขายิตันตัง นะมามิหัง

๓. โต. โตเสนโต สัพพะสัตตานัง โตเสติ ธัมมะเทสะนัง

โตสะจิตตัง สะมิชฌันตัง โตสิตันตัง นะมามิหัง

๔. ภะ. ภัคคะราโค ภัคคะโทโส ภัคคะโมโห อนุตตะโร

ภัคคะกิเลสะสัตตานัง ภะคะวันตัง นะมามิหัง

๕. คะ. คัจฉันโต รัมมะเก สิเว คะมาปิโต สะเทวะเก

คัจฉันโต พรหมะจะริเย คัจฉันตันตัง นะมามิหัง

๖. วะ. วันตะราคัง วันตะโทสัง วันตะโมหัง วันตะปาปะกัง

วันตัง พาละมิจฉาทีนัง วันตะคันถัง นะมามิหัง

๗. ตา. ตาเรสิ สัพพะสัตตานัง ตาเรสิ โอริมังติรัง

ตาเรนตัง โอฆะสังสารัง ตาเรนตันตัง นะมามิหัง




๘. ธัม. ธะระมาเนปิ สัมพุทเธ ธัมมัง เทสัง นิรันตะรัง

ธะเรติ อะมังตัง ฐานัง ธะเรนตันตัง นะมามิหัง

๙. โม. โมหัญเญ ทะมันโต สัตเต โมหะชิเต อะการะยิ

โมหะชาเต ธัมมะจารี โมหะชิตัง นะมามิหัง

๑๐. สัน. สัพพะสัตตะตะโมนุโท สัพพะโสกะวินาสะโก

สัพพะสัตตะหิตักกะโร สัพพะสันตัง นะมามิหัง

๑๑. ทิฏ. ทิฏเฐ ธัมเม อะนุปปัตโต ทิฏฐิกังขาทะโย ลุโต

ทิฏฐี ทวาสัฏฐิ ฉินทันโต ทิฏฐะธัมมัง นะมามิหัง

๑๒. ฐิ. ฐิติสีละสะมาจาเร ฐิติเตระสะธุตังคะเก

ฐิติธัมเม ปะติฏฐาติ ฐิติปะทัง นะมามิหัง

๑๓. โก. โกกานัง ราคัง ปีเฬติ โกโธปิ ปะฏิหัญญะติ

โกกานัง ปูชิโต โลเก โกกานันตัง นะมามิหัง

๑๔. อะ. อัคโค เสฏโฐ วะระธัมโม อัคคะปัญโญ ปะพุชฌะติ

อัคคัง ธัมมัง สุนิปุณัง อัคคันตัง วะ นะมามิหัง

๑๕. กา. กาเรนโต โย สิวัง รัชชัง กาเรติ ธัมมะจาริเย

กาตัพพะสุสิกขากาเม กาเรนตันตัง นะมามิหัง

๑๖. ลิ. ลิโต โย สัพพะทุกขานิ ลิขิโต ปะฏิกัตตะเย

ลิมปิเตปิ สุวัณเณนะ ลิตันตังปิ นะมามิหัง

๑๗. โก. โก สะทิโสวะ ธัมเมนะ โก ธัมมัง อะภิปูชะยิ

โก วินทะติ ธัมมะระสัง โกสะลันตัง นะมามิหัง

๑๘. เอ. เอสะติ พุทธะวะจะนัง เอสะติ ธัมมะมุตตะมัง

เอสะติ สัคคะโมกขัญจะ เอสะตันนัง นะมามิหัง

๑๙. หิ. หิเน ฐาเน นะ ชายันเต หิเน โถเมติ สุคคะติง

หิเน โมหะสะมัง ชาลัง หินันตังปิ นะมามิหัง

๒๐. ปัส. ปะกะโต โพธิสัมภาเร ปะสัฏโฐ โย สะเทวะเก

ปัญญายะ นะ สะโม โหติ ปะสันโน ตัง นะมามิหัง

๒๑. สิ. สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา

สีเลนะ นิพพุติง ยันติ สีละธัมมัง นะมามิหัง

๒๒. โก. โก โส อัคคะปุญโญ พุทโธ โกธะชะหัง อะธิคัจฉะติ

โก ธัมมัญจะ วิชานาติ โกธะวันตัง นะมามิหัง

๒๓. โอ. โอภะโต สัพพะกิเลสัง โอภัญชิโต สัพพาสะวัง

โอภะโต ทิฏฐิชาลัญจะ โอภะตัง ตัง นะมามิหัง

๒๔. ปะ. ปัญญา ปะสัฏฐา โลกัสมิง ปัญญา นิพเพธะคามินี

ปัญญายะ นะ สะโม โหติ ปะสันโน ตัง นะมามิหัง

๒๕. นะ. นะรานะระหิตัง ธัมมัง นะระเทเวหิ ปูชิตัง

นะรานัง กามะปังเกหิ นะมิตันตัง นะมามิหัง

๒๖. ยิ. ยิชชะเต สัพพะสัตตานัง ยิชชะเต เทวะพรหมุนา

ยิชชิสสะเต จะ ปาณีหิ ยิฏฐันตัมปิ นะมามิหัง

๒๗. โก. โกปัง ชะหะติ ปาปะกัง โกธะโกธัญจะ นาสะติ

โกธัง ชะเหติ ธัมเมนะ โกธะนุทัง นะมามิหัง

๒๘. ปัจ. ปะปัญจาภิระตา ปะชา ปะชะหิตา ปาปะกา จะโย

ปัปโปติ โสติวิปุโล ปัชโชตันตัง นะมามิหัง

๒๙. จัต. จะริตวา พรหมะจะริยัง จัตตาสะโว วิสุชฌะติ

จะชาเปนตัง วะ ทาเนนะ จะชันตันตัง นะมามิหัง

๓๐. ตัง. ตะโนติ กุสะลัง กัมมัง ตะโนติ สัพพะวีริยัง

ตะโนติ สีละสะมาธิง ตะนันตังวะ นะมามิหัง

๓๑. เว. เวรานิปิ นะ พันธันติ เวรัง เตสูปะสัมมะติ

เวรัง เวเรนะ เวรานิ เวระสันตัง นะมามิหัง

๓๒. ทิ. ทีฆายุโก พะหุปุญโญ ทีฆะรัตตัง มะหัพพะโล

ทีฆะสุเขนะ ปุญเญนะ ทีฆะรัตตัง นะมามิหัง

๓๓. ตัพ. ตะโต ทุกขา ปะมุญจันโต ตะโต โมเจติ ปาณิโน

ตะโต ราคาทิเกลเสหิ ตะโต โมกขัง นะมามิหัง

๓๔. โพ. โพธิง วิชชา อุปาคะมิ โพเธติ มัคคะผะลานิ จะ

โพธิยา สัพพะธัมมานัง โพธิยันตัง นะมามิหัง

๓๕. วิญ. วิระติ สัพพะทุกขัสมา วิริเยเนวะ ทุลละภา

วิริยาตาปะสัมปันนา วิระตันตัง นะมามิหัง

๓๖. ญู. ญูตัญญาเณหิ สัมปันนัง ญูตะโยคะสะมัปปิตัง

ญูตัญญาณะทัสสะนัญจะ ญูตะโยคัง นะมามิหัง

๓๗. หี. หีสันติ สัพพะโทสานิ หีสันติ สัพพะภะยานิ จะ

หีสะโมหา ปะฏิสสะตา หีสันตันตัง นะมามิหัง

๓๘. ติ. ติณโณ โย วัฏฏะทุกขัมหา ติณณัง โลกานะมุตตะโม

ติสโส ภูมี อะติกกันโต ติณณะโอฆัง นะมามิหัง




อัฏฐัตติงสะ ธัมมะคาถา ธัมมะคุณา สุคัมภิรา

เอเตสะมานุภาเวนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา.




พระสังฆคุณ ๑๔

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆฯ




๑. สุ. สุทธะสีเลนะ สัมปันโน สุฏฐ โย ปะฏิปันนะโก

สุนทะโร สาสะนะกะโร สุนทะรันตัง นะมามิหัง

๒. ปะ. ปะฏิสัมภิทัปปัตโต โย ปะสัฏโฐ วะ อะนุตตะโร

ปัญญายะ อุตตะโร โลเก ปะสัฏฐันตัง นะมามิหัง

๓. ฏิ. ติตถะกะระชิโต สังโฆ ติตโถ ธีโรวะ สาสะเน

ติตถิโย พุทธวะจะเน ติตถันตังปิ นะมามิหัง

๔. ปัน. ปะสัฏโฐ ธัมมะคัมภีโร ปัญญะวา จะ อะวังกะโต

ปัสสันโต อัตถะธัมมัญจะ ปะสัฏฐังปิ นะมามิหัง

๕. โน. โน เจติ กุสะลัง กัมมัง โน จะ ปาปัง อะการะยิ

โนนะตัง พุชฌะติ ธัมมัง โนทิสันตัง นะมามิหัง

๖. ภะ. ภัคคะราโค ภัคคะโทโส ภัคคะโมโห จะ ปาณินัง

ภัญชะโก สัพพะเกลสานัง ภะคะวันตัง นะมามิหัง

๗. คะ. คัจฉันโต โลกิยัง ธัมมัง คัจฉันโต โลกุตตะรัมปิจะ

คะโตเยวะ กิเลเสหิ คะมิตันตัง นามาะมิหัง

๘. วะ. วัณเณติ กุสะลัง ธัมมัง วัณเณติ สีละสัมปะทัง

วัณเณติ สีละรักขิตัง วัณณิตันตัง นะมามิหัง

๙. โต. โตเสนโต เทวะมะนุสเส โตเสนโต ธัมมะเทสะยิ

โตเสติ ทุฏฐะจิตเตปิ โตเสนตันตัง นะมามิหัง

๑๐. สา. สาสะนัง สัมปะฏิจฉันโน สาสันโต สิวะคามินิง

สาสะนะมะนุสาสันโต สาสันตันตัง นะมามิหัง

๑๑. วะ. วันตะราคัง วันตะโทสัง วันตะโมหัง สุทิฏฐิกัง

วันตัญจะ สัพพะปาปานิ วันตะเกลสัง นะมามิหัง

๑๒. กะ. กะโรนโต สีละสะมาธิง กะโรนโต สาระมัตตะโน

กะโรนโต กัมมะฐานานิ กะโรนตันตัง นะมามิหัง

๑๓. สัง. สังสาเร สังสะรันตานัง สังสาระโต วิมุจจิ โส

สังสาระทุกขา โมเจสิ สังสุทธันตัง นะมามิหัง




๑๔. โฆ. โฆระทุกขักขะยัง กัตวา โฆสาเปติ สุรัง นะรัง

โฆสะยิ ปิฏะกัตตะยัง โฆสะกันตัง นะมามิหัง




จะตุททะสะ สังฆะคาถา สังฆะคุณา สุคัมภิรา

เอเตสะมานุภาเวนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา

ฉัปปัญญาสะ พุทธะคุณา ธัมมะคุณา อัฏฐะติงสะติ

สังฆคุณา จะ จุททะสะ อัฏฐตตะระสะเต อิเม

ทิเน ทิเน สะระเตปิ โสตถี โหนติ นิรันตะรันติ.

จบพระคาถาอิติปิโสรัตนมาลา ๑๐๘


อานุภาพแห่งรัตนมาลา
(1) - อิ จงหมั่นภาวนา ป้องกันศัสตรา ห่อนต้องอินทรีย์ ทำให้แคล้วคลาด
นิราศไพรี สิริย่อมมี แก่ผู้ภาวนา
(2) - ติ ถึงบทนี้ไซร้ หมั่นภาวนาไว้ กันภัยนานา ภูตผีปีศาจ มิอาจเข้ามา
ทั้งปอปทั้งห่า ไม่มาหลอกหลอน
(3) - ปิ ภาวนานึก สติตรองตรึก อย่าทำใจร้อน สารพัดเมตตา อย่าได้อาวรณ์
ครูแต่เก่าก่อน เคยได้ใช้มา
(4) - โส ภาวนาทุกวัน ตามกำลังวัน ป้องกันอันตราย ทุกข์ภัยพิบัติ สารพัดเหล่าร้าย
ศัตรูทั้งหลาย แคล้วคลาดห่างไกล
(5) - ภะ จงภาวนา กันโรคโรคา ไข้เจ็บทั้งหลาย ศัตรูมุ่งมาด มิอาจทำได้ พินาศยับไป
ด้วยพระคาถา
(6) - คะ ถ้าหมั่นภาวนา โรคภัยโรคา ไม่มาย่ำยี จะค่อยบรรเทา หากโรคเก่ามี
มิช้ากายี สิ้นทุกข์สุขา
(7) - วา บทนี้ดีล้ำ ภาวนาซ้ำๆ ป้องกันศัตรู เหล่าโจรอาธรรม์ พากันหนีอู้ ไม่คิดต่อสู้
ออกได้หายไป
( 8 ) - อะ ให้ภาวนา กันเสือช้างมา ทำร้ายรบกวน เป็นมหาจังงัง สิ้นทั้งชบวน 
จระเข้ประมวล สัตว์ร้ายนานา
(9) - ระ ภาวนาไว้ คุณคนคุณไสย สารพัดพาลา ใช้ป้องกันได้ มิให้เข้ามา
ถูกต้องกายา พินาศสูญไป
(10) - หัง ให้ภาวนา ในเมื่อเวลา เข้าสู่สงคราม ข้าศึกศัตรู ใจหู่ครั่นคร้าม
ไม่คิดพยายาม ทำร้ายเราแล
(11) - สัม ภาวนาตรึก ช่างดีพิลึก ท่านให้รำพัน เมื่อจะเข้าสู่ เหล่าศัตรูสรรพ์
หมดสิ้นด้วยกัน พ่ายแพ้ฤทธี
(12) - มา ภาวนาไว้ ถ้าหมั่นเสกไซร้ ทุกวันยิ่งดี แก้คนใจแข็ง มานะแรงมี
ใจอ่อนทันที ไม่เย่อไม่หยิ่ง
(13) - สัม สำหรับบทนี้ ตำรับกล่าวชี้ ว่าดีจริงจริง สำหรับเสกยา ปัญญาดียิ่ง
สุดจะหาสิ่ง ใดมาเปรียบปาน
(14) - พุท ภาวนาไป เสนียดจัญไร มิได้พ้องพาน อุปสรรคไรไร ก็ไม่คะคาน
แสนจะสำราญ ให้หมั่นภาวนา
(15) - โธ ภาวนาไว้ กันเสือช้างได้ ทั้งสุนัขหมา ใช้ป้องกันภัย สัตว์ร้ายนานา
ไม่อาจเข้ามา ย่ำยีบีทา
(16) - วิช สำหรับบทนี้ คุณาย่อมมี อดิเรกนานา กับพวกศัตรู เหล่าหมู่พาลา
ไม่อาจเข้ามา หลบหน้าหนีไป
(17) - ชา ภาวนากัน คุณไสยอนันต์ ทำมามิได้ จงหมั่นภาวนา อย่าได้สงสัย
อาจารย์กล่าวไว้ ดังได้อ้างมา
(18) - จะ บทนี้ดีล้น เสกทำน้ำมนต์ รดเกล้ากายา เสกมะกรูดส้มป่อย
ถ้อยความมีมา ใข้สระเกศา ถ้อยความสูญไป
(19) - ระ ภาวนานั้น ศัตรูอาธรรพ์ สรรพโพยภัย กันได้หลายอย่าง ทั้งเสนียดจัญไร
ภาวนาไว อย่าได้กังขา
(20) - ณะ บทนี้บทเอก มีคุณเอนก สุดจะพรรณนา ระงับดับโศก กันโรคผีห่า
อันจะมาคร่า ชนมายุไป
(21) - สัม สำหรับบทนี้ ท่านอาจารย์ชี้ แนะนำกล่าวไว้ ใช้เป็นเสน่ห์ สมคะเนดังใจ
อย่าได้สงสัย ดียิ่งนักหนา
(22) - ปัน บทนี้สามารถ กันภูติปีศาจ ไม่อาจเข้ามา หลอกหลอนเราได้ ท่านใช้ภาวนา
จงได้อุตส่า ท่องให้ขึ้นใจ
(23) - โน บทนี้ภาวนา ป้องกันฟ้าผ่า และช้างม้าร้าย มีจิตจำนง ประสงค์สิ่งใด
ลงของก็ได้ ใช้ตามปรารถนา
(24) - สุ ภาวนากัน คุณว่านยาอัน เขากระทำมา กับทั้งอาวุธ และเครื่องศัสตรา
แม้ถูกกายา ก็มิเป็นไร
อนึ่ง ถ้าแม้นว่า มีความปรารถนา บังคับเขาให้ อยู่ในโอวาท อนุศาสน์ไรไร
ภาวนาเรื่อยไป เขาจะเกรงกลัว
(25) - คะ ให้ทำน้ำมนตร์ บริกรรมพร่ำบ่น อย่าได้เมามัว ประพรมสินค้า จงอย่ายิ้มหัว
กำไรเกินตัว อย่ากลัวขาดทุน
(26) - โต ภาวนาเสก มีคุณอย่างเอก เข้าหาเจ้าขุน มูลนายพระยา เมตตาอุดหนุน
โปรดปรานการุณย์ เพราะคุณคาถา
(27) - โล ภาวนาเป่า ศัตรูทุกเหล่า แม้กริ้วโกรธา แต่พอได้เห็น เอ็นดูเมตตา
ปรานีนักหนา ดุจญาติของตน
(28) - กะ เอาข้าวสารมา แล้วภาวนา เสกให้หลายหน เสร็จแล้วซัดไป ไล่ผีบัดดล
หนีไปไกลพ้น ไม่มาราวี
(29) - วิ เสกขมิ้นและว่าน เสกข้าวรับประทาน อยู่คงอย่างดี อีกอย่างหนึ่งไซร้
ใช้ไล่ขับผี ภูตพรายไม่มี สิงสู่กายา
(30) - ทู ภาวนาบทนี้ เมตตาปรานี ไม่มีโทสา หญิงชายทั้งหลาย รักใคร่หนักหนา
ห่างภัยนานา สิ้นทุกข์สุขใส
(31) - อะ จงหมั่นตรองตรึก มั่นพินิจนึก ภาวนาไป ศัตรูเห็นหน้า เมตตารักใคร่
ภาวนาไว้ เป็นศุภมงคล
(32) - นุต บทนี้ดีเหลือ ให้ใช้ในเมื่อ ถึงความอับจน ป้องกันผู้ร้าย โรคภัยเบียดตน
พินาศปี้ป่น ไม่ทนรบกวน
(33) - ตะ ภาวนาเสก ปลุกตัวและเลข ว่านยาทั้งมวล อนึ่งใช้เสก เครื่องคาดก็ควร
เมื่อรณศึกล้วน เป็นสิริมงคล
(34) - โร ภาวนาใช้ ในยามครรไล จากด้าวถิ่นตน ทั้งใช้ปลุกเสก ซึ่งเครื่องคงทน
อย่าได้ฉงน แก้กันสรรพภัย
(35) - ปุ บทนี้ศักดิ์สิทธิ์ ภาวนากันพิษ สัตว์ร้ายทั้งหลาย ตะขาบแมลงป่อง
หากต้องเหล็กใน จงภาวนาไป พิษห่างบางเบา
(36) - ริ บทนี้ภาวนา รุ่งเรืองเดชา อำนาจแก่เรา ทั้งหญิงและชาย พอได้เห็นเข้า
ครั่นคร้ามไม่เบา เมื่อเข้าสมาคม
(37) - สะ ภาวนาทุกวัน หมู่เทพเทวัญ ชวนกันระดม พิทักษ์รักษา โดยเจตนารมณ์
มิให้ระทม เดือดเนื้อร้อนใจ
(38) - ทัม บทนี้ภาวนา สำหรับเสกผ้า โพกเศียรครรไล เจริญราศี สวัสดีมีชัย
เสกเจ็ดทีไซร้ แปลงรูปบัดดล
(39) - มะ อาจารย์กล่าวไว้ ให้เสกดอกไม้ ทัดหูของตน มีสง่าราศี สวัสดีมงคล
เสน่ห์เลิศล้น แก่คนทั่วไป
(40) - สา ภาวนาให้มั่น กันฝังอาถรรพ์ เวทมนตร์ทั้งหลาย อีกกันกระทำ มิให้ต้องกาย
อีกอาวุธร้าย เมื่อเข้ารณรงค์
(41) - ระ ใช้ภาวนา ป้องกันสัตว์ร้าย เสือช้างกลางดง ทั้งควายและวัว กระทิงตัวยุ่ง
ไม่กล้าอาจอง ตรงเข้าราวี
(42) - ถิ บทนี้กล้าหาญ เสกข้าวรับประทาน คงกระพันชาตรี ศัตรูหมู่ร้าย ไม่กล้าราวี
เป็นสง่าราศี ไม่มีศัตรู
(43) - สัต เมื่อจะใส่ยา จงได้ภาวนา ตามคำของครู ป้องกันโจรร้าย ไม่มีศัตรู
ที่จะมาขู่ ข่มเหงน้ำใจ
(44) - ถา ภาวนานึก เมื่อจะออกศึก สงครามใดใด แคล้วคลาดศัสตรา ไม่มาต้องได้
คุ้มครองกันภัย ได้ดีนักหนา
(45) - เท บทนี้ก็เอก สำหรับใช้เสก ธูปเทียนบุปผา บูชาเทพเจ้า พุทธธรรมสังฆา
จะมีสง่า ราศีผ่องใส
(46) - วะ บทนี้ยิ่งดี ใช้เสกมาลี สิบเก้าคาบไซร้ เอามาทัดหู คนดูรักใคร่ บูชาพระไซร้
ย่อมเป็นมงคล
(47) - มะ เมื่อลงนาวา ขับขี่ช้างม้า ยาตราจราดล หรือขึ้นเรือนใหม่ อย่าได้ฉงน
เสกสิบเก้าหน จะมีเดชา
(48) - นุส ภาวนาบ่น ประเสริฐเลิศล้น อย่าได้กังขา ชนช้างก็ดี หรือขี่อาชา
มีเดชแกล้วกล้า ไชยาสวัสดี
(49) - สา บทนี้ดีมาก เมื่อจะกินหมาก เสกสิบเจ็ดที ทั้งแป้งน้ำมัน จวงจันทร์มาลี
ทัดกรรณ์ก็ดี มีเสน่ห์ยิ่งยง
(50) - นัง บทนี้เลิศล้ำ เสกลูกประคำ สังวาลย์สวมองค์ ตะกรุดพิสมร สิบเก้าคาบตรง
มีเดชมั่นคง ราศีผ่องใส
(51) - พุท ภาวนาบทนี้ เมื่อจะจรลี สู่บ้านเมืองไกล ป้องกันสรรพเหตุ ภัยเภทใดใด
มีคุณยิ่งใหญ่ แก่ผู้ภาวนา
(52) - โธ บทนี้เป็นเอก สำหรับปลุกเสก เครื่องรางนานา ประสิทธิ์ทุกอย่าง อีกทั้งเงินตรา
จงเสกอย่าช้า เจ็ดทีบันดาล
(53) - ภะ บทนี้ดีล้นค่า ใช้เสกศัสตรา อาวุธคู่ตน นิราศผองภัย ไม่ต้องสกนธ์
เสกสิบเก้าหน ตนจะอาจหาญ
(54) - คะ บทนี้ภาวนา เมื่อจะเข้าหา สมณาจารย์ ท่านมีเมตตา กรุณาสงสาร
ล้วนมงคลการ ประเสริฐเลิศล้น
(55) - วา เข้าหาขุนนาง แม้ใจกระด้าง โอนอ่อนบัดดล จงได้ภาวนา ท่านเมตตาตน
กรุณาล้นพ้น อย่าแหนงแคลงใจ
(56) - ติ ภาวนาบทนี้ เหมือนดังมณี หาค่ามิได้ เจริญทุกวัน ป้องกันโรคภัย
ทุกข์โศกกษัย สูญหายสิ้นเอย



พระคาถานี้ถือว่าเป็นยอดทางเมตตาหาที่สุดมิได้ด้วยเป็นพุทธคุณบทเมตตาในพระคาถาอิติปิโสรัตนมาลา
เหล่าพระคณาจารย์ทั้งหลายหากจะหวังผลในทางเมตตามหานิยมต้องใช้กำกับเสมอ พระคาถานี้มีชื่อว่า “ดอกไม้สวรรค์” อุปเท่ห์นอกจากใช้เสกเครื่องหอมเสื้อผ้า ดอกไม้เพื่อผลทางเมตตามหานิยมแล้วยังสามารถใช้ในการเปลี่ยนสิ่งที่ร้ายๆที่ว่ามีอาถรรพ์แรงเจ้าที่เจ้าทางไม่ถูกกับเรา ทำให้เจ็บออดๆแอดๆ หาความสงบสุขมิได้ โบราณท่านให้ใช้วิธีแบบสันติ อาศัยคุณ พระคาถานี้ โดยให้จัดบายศรีปากชามหนึ่งคู่ เครื่องสังเวยต่างๆ มีหัวหมู กุ้งพล่าปลายำ เป็ดไก่ฯ แป้งกระเเจะ ผ้าแดง-ขาว น้ำมันหอม เหล้าหนึ่งขวด เงินกำนัลครู ๖ บาท ที่สำคัญต้องมี ขนมปลากริมไข่เต่า ขนมต้มแดง-ขนมตัมขาวด้วย ขันใส่ทรายข้าวตอกดอกไม้และเศษเงิน

พิธีกรรมก็ไม่มีอะไรมากเมื่อจะตั้งเครื่องบูชาให้ ใช้มนต์นี้เสกเครื่องเซ่นเสียก่อน ๙ จบ จากนั้น เสกกระเเจะเจิมอีก ๙ จบ เจิมตามเครื่องเซ่นต่างๆ ก่อนยกมาตั้งกลางแจ้ง จุ ดธูปเทียน อัญเชิญเทวดาผีสางนางไม้ทั้งหลาย มารับเครื่องสังเวย เมื่อเขากินเครื่องเซ่นแล้ว รักเราจะช่วยเหลือเราทุกอย่างไม่ทำอันตรายเลย หากเราหมั่นทำบุญตรวจน้ำให้เขาๆ จะยิ่งกลับอุดหนุนช่วยเหลือเรามากขึ้น เมื่อธูปบูชาหมดดอกให้สวดพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ขอบารมีให้ร่มเย็นเป็นสุขแล้ว สวดคาถาดอกไม้สวรรค์นี้ดังๆ แล้วหว่านทรายดอกไม้เงินรอบบริเวณเป็นเสร็จพิธี

ในสมัยโบราณท่านไม่นิยมแก้ปัญหาด้วยการขับไล่ซึ่งจะต้องเป็นวิธีที่เลือกหลังสุดเท่านั้น ผู้รู้คาถานี้หากนำไปใช้ก็จะแก้ปัญหาเกี่ยวกับที่ร้ายๆ อย่างได้ผลดี พระคาถาบทนี้ เป็นของโบราณแท้สืบทอดมาแต่ยุคอยุธยาเป็นอย่างน้อย อาจารย์ทดลองแล้วคาถาเมตตาบทอื่นๆ ที่ว่าดีขนาดไหนหากท่องบ่อยๆ จะเกิดลาภผลหลั่งไหลมาด้วยอำนาจโอปปาติกะที่ได้สดับมนต์นี้อำนวยผลให้ จัดเป็นคาถาขลังบทหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม การเรียนก็ไม่ยากจัดขันธ์ห้า (ตามฉบับที่ ๒๗) เงินกำนัลครู ๖ บาท ยกรับเอา ..........



ที่มา http://board.palungjit.com/ 


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: