สิ่งแปลกปลอมในเฟรมภาพ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
เมษายน 29, 2024, 02:14:33 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สิ่งแปลกปลอมในเฟรมภาพ  (อ่าน 23744 ครั้ง)
e21fnw-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน863
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2225


สนับสนุนคนดีให้ปกครองบ้านเมือง


อีเมล์
« เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2009, 12:24:36 AM »

ได้รับไฟล์กลุ่มภาพมา

ดูแล้วสงสัย   เห็นจุดเล็ก ๆ สีขาวบ้าง ชมพูอ่อนบ้าง ฟ้าอ่อนบ้าง  กระจัดกระจาย

ตำแหน่งในแต่ละภาพก็ไม่ตรงกัน  มากบ้าง น้อยบ้าง บางจุดบางครั้งก็ใหญ่ เล็ก ต่างกันไม่ซ้ำกันเลย

ท่านใดเคยเห็นแบบนี้บ้าง  น่าจะเป็นที่อะไร  งง



บันทึกการเข้า

สมาธิมี  ปัญญาเกิด

bancha.2518
member
*

คะแนน42
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1066


ลูกสาว ครับ


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2009, 02:19:36 AM »

ฝุ่น ละอองน้ำที่จับอยู่หน้าเลนส์  ฉงน
บันทึกการเข้า
Nattawut-LSV Team
E23IUY
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3581


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2009, 07:44:33 AM »

พี่ลองเข้าไปดูในนี้สิครับ.........
อาการเหมือนกัน เป่ะ
แล้วพี่จะได้คำตอบ........
http://www.sudipan.net/phpBB2/viewtopic.php?t=19160&sid=eb37dcfc206da6a1dd70322d0567effb 
บันทึกการเข้า
e21fnw-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน863
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2225


สนับสนุนคนดีให้ปกครองบ้านเมือง


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2009, 08:30:05 AM »

เข้าใจแล้ว

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า

สมาธิมี  ปัญญาเกิด
TongTang-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน985
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3404



« ตอบ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2009, 10:52:36 AM »

เรียกว่าปรากฏการณ์ออร์บ (orb phenomenon) หรือผีขี้ฝุ่น  Tongue
โดยมากมักจะเกิดกับกล้องดิจิม่อนตัวเล็กสะมาก มาดูคำอธิบายเชิงวิชาการกัน  Huh?







Orb Zone
ผลพวงที่ตามมาของการมี “ระยะชัดลึก” คือมันจะทำให้ง่ายต่อการจับภาพวัตถุแปลกปลอมโดยเฉพาะฝุ่นละอองที่บังเอิญลอยผ่านมาหน
้าเลนส์ขณะถ่ายภาพ แม้ว่ากล้องจะจับภาพฝุ่นละอองเหล่านี้ได้แต่ภาพที่เกิดขึ้นนั้นเป็นภาพเบลอเพราะว่าม
ันลอยอยู่นอกระยะโฟกัส นักวิเคราะห์ภาพถ่ายเหนือธรรมชาติ เรียกพื้นที่นอกระยะโฟกัสนี้ว่า Orb Zone




Come At Night
Orb ส่วนใหญ่จะปรากฏให้เห็นในเวลากลางคืน นั่นไม่ใช่เพราะว่ามันคือดวงวิญญาณที่กลัวแสงอาทิตย์จะออกมาเพ่นพ่านเฉพาะ
หลังพระอาทิตย์ตกดิน แต่เป็นเพราะการถ่ายภาพในตอนกลางวันขาดปัจจัยสำคัญที่จะเอื้ออำนวยให้เกิดภาพลูกบอลส
ุกสว่างซึ่งมันคือ “แสงแฟลช” (Flash)
การถ่ายภาพตอนกลางวันนั้นนักถ่ายภาพส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้แฟลชเพราะปริมาณแสงจากดวงอาทิตย์มากเพียงพอต่อการบันทึกภาพ
ต่างกับการถ่ายภาพในตอนกลางคืนที่มีแสงน้อยจึงจำเป็นต้องใช้แฟลชช่วยในการถ่ายภาพ
แสงแฟลชจะไปกระทบกับฝุ่นละอองในอากาศที่ลอยอยู่ใกล้ๆแล้วสะท้อนกลับมายัง เลนส์เกิดเป็นภาพลูกบอลสุกสว่าง
แม้ว่าในตอนกลางวันจะมีฝุ่นละอองใน อากาศเช่นเดียวกัน แต่การถ่ายภาพในตอนกลางวันใช้ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดแสง
ซึ่งตำแหน่งของดวงอาทิตย์อยู่ห่างไกลจากกล้องดังนั้นเมื่อแสงอาทิตย์กระทบ กับฝุ่นละอองมันจะสะท้อนไปในทิศทางต่างๆ
นอกจากว่าบังเอิญเม็ดฝุ่นทำมุมสะท้อนแสงอาทิตย์เข้ามาหาเลนส์พอดิบพอดี ซึ่งกรณีนี้เกิดขึ้นยากมากๆ
ผิดกับแสงจากแฟลชที่อยู่ใกล้กับเลนส์ ทำให้มันสะท้อนกลับมาเข้าหน้าเลนส์ตามหลักฟิสิกส์ไม่ต้องอาศัยความบังเอิญ




ที่มา : คลิก

บันทึกการเข้า
TongTang-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน985
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3404



« ตอบ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2009, 11:00:15 AM »

ฟิสิกส์เบื้องหลัง "ภาพวงกลมจตุคามฯ"

บทความนี้ไขปริศนา รูปร่าง ขนาด และลวดลาย ใน "ภาพวงกลมจตุคาม" พร้อมให้ขั้นตอนที่สามารถทำได้เอง ;-)

ผู้เขียน: ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ


ที่มาของบันทึกนี้

    บันทึกนี้เกิดขึ้นเนื่องจากเหตุปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่

    * ในปัจจุบัน มีความสนใจเกี่ยวกับจตุคามฯ กันมาก และในบางแง่มุม จะมีปรากฏการณ์ที่มีแง่มุมทางวิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจ แต่การอธิบายยังขาดรายละเอียดที่สำคัญบางประการ เช่น กรณีภาพถ่ายวงกลมประหลาด ที่ตีความกันว่าเป็นภาพจตุคามฯ เป็นต้น


    * ราววันอังคารที่ 19 หรือพุธที่ 20 มิถุนายน 2550 ผมได้รับคำถามทางโทรศัพท์จากคุณบอย โพรดิวเซอร์ของรายการ "มันแปลกดีนะ" เกี่ยวกับภาพถ่ายวงกลมประหลาด โดยผมได้ชี้แจงไปตามมุมมองทางวิทยาศาสตร์ แต่ต่อมาปรากฏว่า มีข่าวในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับวันพฤหัสที่ 21 มิถุนายน 2550 ซึ่งกล่าวถึงการทดลองถ่ายภาพในรายการนี้ และอ้างคำอธิบายของผมประกอบไว้  [อย่างไรก็ดี คำอธิบายและคำศัพท์ที่ปรากฏใน นสพ. ไทยรัฐ มีความคลาดเคลื่อนไปจากหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งเกิดได้เป็นปกติในกระบวนการนำเสนอข่าวผ่านสื่อสารมวลชน ผมจึงต้องการ แก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องไว้ ณ ที่นี้]
    * เมื่อวันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน 2550 ผมได้รับการติดต่อจาก TITV โดยคุณพรรณประวีร์ (เจี๊ยบ) ให้ช่วยอธิบายและทำการทดลองสาธิตปรากฏการณ์ภาพวงกลมจตุคาม ต่อมาในวันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน 2550 ผมจึงได้เดินทางไปที่ TITV ในช่วง 1pm-3:30pm เพื่อให้สัมภาษณ์และทำการทดลองดังกล่าว โดยการสัมภาษณ์ได้ออกอากาศในวันเดียวกันในช่วงข่าวเวลาประมาณ 1 ทุ่มครึ่ง [อย่างไรก็ดี การนำเสนอผ่าน TV มีเวลาจำกัด ทำให้ขาดรายละเอียดที่สำคัญ ผมจึงให้รายละเอียดค่อนข้างมากไว้ในบันทึกนี้]

ความเข้าใจพื้นฐาน

    ในปัจจุบันพบว่า มีภาพถ่ายหลายภาพทีมีภาพวงกลมๆ สีขาว (หรือสีเทา) ปรากฏอยู่บนภาพ ในภาพถ่ายหนึ่งภาพ อาจมีภาพวงกลมนี้เพียงวงเดียว หรือหลายวง โดยในกรณีที่มีหลายวง แต่ละวงอาจจะมีขนาดพอๆ กัน หรือแตกต่างกันมากก็ได้

สำหรับวงกลมที่ค่อนข้างใหญ่พอสมควร หากขยายดูจะเห็น

    * รายละเอียดคล้ายภาพของผิวขรุขระ
    * อาจจะมีวงกลมซ้อนๆ กันอยู่ร่วมด้วยอีกหลายวง

ด้วยลักษณะเช่นนี้เองทำให้ผู้มีศรัทธาในจตุคามฯ ตีความว่า ภาพที่เห็นเป็นภาพที่เกิดจากฏิหาริย์ของจตุคามรามเทพ

    อย่างไรก็ดี หากเราดูภาพกว้างจะพบว่า ในต่างประเทศก็พบปรากฏการณ์วงแสงประหลาดนี้เช่นกัน โดยเรียกว่า ปรากฏการณ์ออร์บ (orb phenomenon) คำว่า ออร์บ (orb) หมายถึง วงกลมแต่ละวง และมีรากศัพท์มาจากภาษาละตินคือ orbis ซึ่งหมายถึง orbit (วงโคจร) ที่มีลักษณะเป็นวงนั่นเอง

ตัววงแสงออร์บ (orb) นี้ ฝรั่งยังมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น globes, globules, balls of light และ hovering round balls เป็นต้น


ในต่างประเทศก็มีการตีความปรากฏการณ์นี้ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่

กลุ่มแรก : เชื่อว่านี่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยสามารถอธิบาย & ทำให้ซ้ำให้เห็นจริงได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ กล่าวโดยย่อก็คือ ภาพที่เห็นเป็นแสงที่สะท้อนออกมาจากฝุ่น หรือละอองน้ำที่แขวนลอยอยู่ในอากาศ

กลุ่มที่สอง : บอกว่าแม้ภาพจำนวนหนึ่งจะอธิบายได้ด้วยวิทยาศาสตร์ แต่ก็มีภาพอีกจำนวนหนึ่งที่อธิบายไม่ได้ และเชื่อว่านี่คือ ภาพถ่ายของวิญญาณ ซึ่งมักจะปรากฏในสถานที่บางแห่งมากเป็นพิเศษ (เช่น ในบ้านผีสิง) หรือมักจะเกิดรอบๆ ตัวบางคน เพราะวิญญาณของคนที่ตายไปแล้วยังผูกพันอยู่กับคนๆ นี้มาก

 

บันทึกการเข้า
TongTang-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน985
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3404



« ตอบ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2009, 11:09:13 AM »

(ต่อ)


------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
 ในบันทึกนี้จะทดสอบและอธิบายปรากฏการณ์ออร์บตามแนวคิดของกลุ่มแรก (แนววิทยาศาสตร์) ดังต่อไปนี้
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

การทดลอง


อุปกรณ์และเงื่อนไขที่ต้องการ

   1. กล้องดิจิทัล (มีแฟลชอัตโนมัติ)
   2. แป้งฝุ่น เช่น แป้งโรยตัว และ/หรือ สเปรย์ฉีดพ่นน้ำ
   3. สถานที่มีฉากหลังเป็นสีเข้ม


    ในการทดลอง ให้โฟกัสภาพที่ฉากหลังระยะไกลออกไปแล้วทำให้เกิดฝุ่นแป้ง (หรือฉีดละอองน้ำ) บริเวณหน้ากล้อง ห่างประมาณ 1 ฟุต ลองถ่ายหลายๆ ภาพ จะเห็นว่าบางภาพมีภาพวงกลมประหลาดขนาดใหญ่ ลองซูมเข้าไปดู

ตัวอย่างภาพปรากฏที่ถ่ายทำที่ TITV


ภาพผงแป้ง (แป้งโรยตัวเด็กยี่ห้อหนึ่ง) ซ้าย : ภาพรวม  ขวา : ภาพขยาย

 




ภาพละอองน้ำจากที่ฉีดสเปรย์ ซ้าย : ภาพรวม  ขวา : ภาพขยาย

 




ทำไมจึงมีรูปเป็นวงกลมๆ?

    คำอธิบายอย่างง่ายๆ ก็คือ ผงฝุ่นและเม็ดน้ำมีขนาดเล็กมาก ซึ่งอาจคิดได้ว่าเป็นจุดกำเนิดแสง (point source) แต่ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ ภาพผงฝุ่น หรือเม็ดน้ำ ไม่โฟกัส


ในภาพข้างบนนี้ ภาพตรงกลางแสดงภาพของจุดที่โฟกัสชัดเจน ซึ่งจะปรากฏเป็นจุดคมชัดขนาดเล็ก ส่วนภาพบนและล่างไม่โฟกัสทำให้ภาพเบลอมีรูปร่างเป็นวงกลม (ภาษาทางทัศนศาสตร์เรียกว่า circle of confusion หรือ disc of confusion)


ภาพเคลื่อนไหวข้างบนนี้ แสดงรูปร่างและขนาดปรากฏของเม็ดฝุ่นที่ระยะต่างๆ


เส้นแนวดิ่งหน้า กล้องแสดงบริเวณที่ภาพโฟกัสชัดเจน (ภาษาวิชาการเรียกว่า depth of field หรือ depth of focus) เส้นแนวดิ่งนี้จริงๆ มีความหนาระดับดับหนึ่ง หมายความว่า หากวัตถุอยู่ในแถบความหนานี้ก็จะถ่ายภาพออกมาดูชัดเจนเหมือนกัน

    คุณอาจทดลองเอง ได้โดยใช้นิ้วมือแตะเม็ดฝุ่นที่มีรูปร่างไม่เป็นทรงกลม เช่น ฝุ่นแป้ง ฝุ่นเม็ดทราย หรือผงซีเมนต์ แล้วมองเข้าไปใกล้ๆ เรื่อยๆ จนภาพไม่ชัด เม็ดฝุ่นจะปรากฏเป็นขอบเบลอๆ คล้ายวงกลม



ลวดลายที่เกิดขึ้นมาอย่างไร?

    แล้วลวดลาย "วงกลม" หลายวง และภาพ "ผิวขรุขระ" มาจากไหน?

ฟิสิกส์เบื้องหลังคำตอบค่อนข้างซับซ้อน แต่สามารถเข้าใจง่ายๆ ได้จากสมบัติความเป็นคลื่นของแสง

    คลื่นทุกชนิด ไม่ว่าคลื่นน้ำ คลื่นเสียง คลื่นแสง หรือคลื่นใดๆ ก็ตาม สามารถเมื่อพบกับสิ่งกีดขวางในบางบริเวณ ก็จะสามารถเปลี่ยนทิศทางเฉไปจากเดิมได้ เรียกว่า การเลี้ยวเบน หรือ ดิฟแฟรกชัน (diffraction - ออกเสียงว่า ดิ๊ฟ-แฟร็ก-ชั่น)

สมมติว่าคุณยืนอยู่หน้าห้องๆ หนึ่ง ซึ่งเปิดประตูอยู่ และในห้องมีคนคุยกันอยู่เสียงดังพอสมควร แม้คุณจะอยู่ในตำแหน่งที่มองไม่เห็นคนที่คุยกันนั้น คุณก็อาจจะได้ยินเสียงคุยกันได้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเสียงสะท้อนจากผนังของอาคาร แต่อีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะเสียงสามารถเลี้ยวเบน (diffraction) อ้อมออกจากประตูมาเข้าหูคุณได้

    สำหรับแสง ลองพิจารณากรณีอุดมคติ (ideal case) เพื่อให้เข้าใจพื้นฐานกันก่อน

สมมติว่ามีแสงสีเดียว (monochromatic light) ตกกระทบ หรือสะท้อนออกจากอนุภาคทรงกลม (ภาพซ้าย) อนุภาคทรงกลมนี้อาจจะเป็นของแข็ง (เช่น ผงฝุ่น) หรือของเหลว (เช่น เม็ดน้ำฝน) แสงที่ตกกระทบจะเลี้ยวเบนออกจากแนวเดิมไปในทิศทางต่างๆ ไปตกกระทบฉากรับ


    ที่แต่ละตำแหน่งของฉาก จะมีแสงที่เดินทางมาจากทิศทางต่างๆ แสงเหล่านี้จะมารวมกันแบบคลื่น ซึ่งนักฟิสิกส์เรียกว่า การแทรกสอด (interference) ผลที่ได้คือ ภาพรวมของรูปแบบการแทรกสอดจะมีลักษณะเป็นจุดสว่างตรงกลาง และมีวงสว่าง-วงมืดสลับล้อมรอบอยู่ในระยะใกล้ๆ ส่วนที่ระยะไกลออกไปจะไม่มีแสงตกกระทบ

จากทฤษฎีและการทดลองจำนวนมากพบว่า

    * หากอนุภาคทรงกลมมีขนาดเล็ก (small particle - ภาพซ้าย) จะได้วงขนาดใหญ่ตรงกลาง ล้อมด้วยเส้นวงที่หนาจำนวนเส้นไม่มาก
    * หากอนุภาคทรงกลมมีขนาดใหญ่ (large particle - ภาพขวา) จะได้วงขนาดเล็กตรงกลาง ล้อมด้วยเส้นบางและถี่กว่า

 


ประเด็นที่น่าสนใจที่ตามมาก็คือ

จะเกิดอะไรขึ้นหากอนุภาคมีรูปทรงเรขาคณิตแบบอื่น?

ลองดูตัวอย่างรูปแบบการเลี้ยวเบนจากอนุภาครูปร่างต่างๆ

โดยสังเกตลักษณะสมมาตรของรูปแบบการเลี้ยวเบนกับสมมาตรของอนุภาค

เช่น อนุภาคสี่เหลี่ยมจะให้สมมาตรแบบสี่พับ (4-fold symmetry) ในภาพแรกซ้ายบนสุด เป็นต้น

   
 
     
 



จุดที่น่าสนใจไม่น้อยก็คือ หากพื้นผิวของอนุภาคมีลักษณะไม่ปกติ (เช่น ขรุขระ) รูปแบบการเลี้ยวเบนก็จะมีลวดลายตะปุ่มตะป่ำด้วยเช่นกัน



ลวดลายที่เกิดขึ้นนี้สามารถเทียบเคียงได้กับลวดลายของ "ผิวขรุขระ" บน "ภาพจตุคามฯ"


 
ที่มาของภาพ : http://www.rense.com/general49/Orb12.jpg


สังเกตลักษณะเด่นที่น่าสนใจ 2 อย่าง ได้แก่
หนึ่ง - วงกลมซ้อนๆ ในภาพมาจากรูปแบบการเลี้ยวเบนจากอนุภาคที่มีสัณฐานเป็น (หรือใกล้เคียง) ทรงกลม
สอง - รายละเอียดผิวขรุขระที่เกิดขึ้นในภาพ ซึ่งมาจากรูปร่างของอนุภาค
 

นอกจากลักษณะเด่นทั้งสองอย่างนี้แล้ว สำหรับภาพที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ เราอาจจะเห็นวงแสงโคโรนา (corona) รอบขอบภาพเป็นสีรุ้งอีกด้วย



 
เมื่อได้เห็นภาพตัวอย่าง & เข้าใจทฤษฎีพื้นฐานที่อยู่เบื้องหลังกันไปแล้ว
ถ้าเกิดคันไม้คันมือขึ้นมา ก็คว้าอุปกรณ์ที่จำเป็นไปลองกันได้เลย



ได้ผลอย่างไร ลองบันทึกภาพไว้ส่งมาให้ดูกันบ้างครับ ;-)



ที่มา : http://gotoknow.org/blog/science/105819

บันทึกการเข้า
Nattawut-LSV Team
E23IUY
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3581


อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2009, 02:20:37 PM »

ขอบคุณพี่ TongTang ครับ.......
อธิบายได้ละเอียดมากๆ เลย....
รูปนี้ในห้องพระของผม ก้อเป็นเหมือนกัน!!!!!!!
บันทึกการเข้า
bancha.2518
member
*

คะแนน42
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1066


ลูกสาว ครับ


อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2009, 04:27:24 AM »

เป็นงัยละ เลิกงมงายกันหรือยัง งมงายในสิ่งที่อธิบายไม่ได้ดีกว่า  เยี่ยมมาก
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!