ลูกภูมิใจที่ได้เกิดมาเป็นลูกแม่ ....
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ลูกภูมิใจที่ได้เกิดมาเป็นลูกแม่ ....  (อ่าน 5801 ครั้ง)
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18656


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« เมื่อ: สิงหาคม 21, 2008, 06:00:46 PM »

อาจเลยวันแม่ไปนิดหน่อย ...ลองอ่านจดหมายที่คุณแม่ผมส่งมาให้ในวันนี้ดูนะครับ
..คุณแม่ผมปีนี้อายุ 72 ปีแล้ว ... ห่วงใยลูกๆเสมอมา มิได้ขาด ...วันนี้พวกเรากราบบนตักคุณแม่แล้วหรือยัง... ลูกรักแม่ครับ  Smiley ขอบคุณ


บันทึกการเข้า

ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18656


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 21, 2008, 06:05:13 PM »

แม่ผมส่งของมากล่องเบิ้อเริ่ม ..ท่านคงหนักน่าดูนะ กับวัย70กว่าที่ต้องยกกล่องไปฝากส่งที่ไปรษณีย์ ..

 
คุณแม่อุบล  เป็นคณแม่ของช่างเล็กๆ ในโอกาสที่ช่างเล็กๆได้กลับเยี่ยมบ้าน ได้สนทนาธรรมกับคุณแม่ ประกอบกับคุณแม่อุบลเป็นผู้หนึ่งที่ปฎิบัติธรรมะและใกล้ชิดกับพระศาสนา จึงเห็นดีด้วยที่จะนำสาระและเนื้อหาทั้งหมดที่มีอยู่ค่อยๆทะยอยลงในเว็บไซต์นี้ เพื่อจรรโลงและเผยแพร่ธรรมะได้อีกทางหนึ่ง..   Smiley

...ขออนุญาตินำกระทู้เก่าหลายปีแล้ว.. มาลงในเว็บบอร์ดนี้ ...เพราะเว็บบอร์ดเดิมข้อมูลสูญหายไปเยอะครับ ..ภาพอาจไม่ชัดนักเพราะระยะนั้นผมใช้กล้องsamsungตัวเล็กๆ .. ประสิทธิภาพต่ำ
บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18656


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: สิงหาคม 21, 2008, 06:06:25 PM »

ไม่มีไฟใดเสมอด้วยราคะ...
ไม่มีโทษใดเสมอด้วยโทสะ..
ไม่มีทุกข์ใดเสมอด้วยเบญจขันธ์...
ไม่มีสุขใดเสมอด้วยความสงบ.


..ห้องพระที่บ้าน อ.ปากพนังครับ   Smiley
บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18656


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: สิงหาคม 21, 2008, 06:08:03 PM »

ขุนเขาไม่สะเทือน เพราะแรงลมฉันใด
บัณฑิตก็ไม่หวั่นไหว เพราะนินทา หรือสรรเสริญ ฉันนั้น...


เว้นกรรมกิเลส
1.ไม่ทำร้ายร่างกายทำลายชีวิต
2.ไม่ลักทรัพย์
3.ไม่ประพฤติผิดทางเพศ
4.ไม่พูดโกหก

เว้นอคติ
1.ไม่ลำเอียงเพราะชอบ
2.ไม่ลำเอียงเพราะชัง
3.ไม่ลำเอียงเพราะขลาด
4.ไม่ลำเอียงเพราะเขลา

เว้นอบายมุข
1.ไม่เสพสุรายาเมา
2.ไม่เอาแต่เที่ยว
3.ไม่จ้องหาแต่รายการบันเทิง
4.ไม่เหลิงไปหาการพนัน
5.ไม่พัวพันสุมมิตรชั่ว
6.ไม่มัวจมในความเกียจคร้าน


..ถนนไปแหลมตะลุมพุก 2545
บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18656


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: สิงหาคม 21, 2008, 06:09:47 PM »

คนปอกลอก..มีแต่ขนเอาของเพื่อนไป มีลักษณะ4
1.คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว
2.ยอมเสียน้อย โดยหวังจะเอาให้มาก
3.ตัวมีภัย จึงมาช่วยทำกิจของเพื่อน
4.คบเพื่อน เพราะเห็นแก่ผลประโยชน์

คนดีแต่พูด...มีลักษณะ4
1.ดีแต่ยกของหมดแล้ว มาปราศรัย
2.ดีแต่อ้างของยังไม่มี มาปราศรัย
3.สงเคราะห์ด้วยสิ่งที่หาประโยชน์มิได้
4.เมื่อเพื่อนมีกิจ อ้างแต่เหตุขัดข้อง

คนหัวประจบ...มีลักษณะ4
1.จะทำชั่วก็เออออ
2.จะทำดีก็เออออ
3.ต่อหน้าสรรเสริญ
4.ลับหลังนินทา

คนชวนฉิบหาย ...มีลักษณะ4
1.คอยเป็นเพื่อนดื่มน้ำเมา
2.คอยเป็นเพื่อนเที่ยวกลางคืน
3.คอยเป็นเพื่อนเที่ยวดูการเล่น
4.คอยเป็นเพื่อนไปเล่นการพนัน


..แหลมตะลุมพุก
บันทึกการเข้า
watchareeya
member
*

คะแนน175
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 495



อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: ตุลาคม 05, 2008, 02:35:23 PM »

 ดีใจจัง ดีใจจัง ดีใจจัง ดีใจจัง ดีใจจัง...เพิ่งรู้นะเนี่ย...ว่าแม่คุณเล็กชื่อเดียวกับแม่คนที่บ้านครูอ้อยเลยค่ะ...แม่คุณเล็ก คุณแม่อุบล สุวรรณรัตน์ แม่คนที่บ้านครูอ้อย..คุณแม่อุบล โชติรัตน์ค่ะ.... ดีใจจัง ดีใจจัง ดีใจจัง ดีใจจัง ดีใจจัง ดีใจจัง ดีใจจัง เยี่ยมมาก เยี่ยมมาก เยี่ยมมาก เยี่ยมมาก
บันทึกการเข้า
watchareeya
member
*

คะแนน175
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 495



อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: ตุลาคม 05, 2008, 02:37:03 PM »

และที่สำคัญชอบบัวด้วย...อุบลแปลว่า ดอกบัวค่ะ....

บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18656


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: ตุลาคม 05, 2008, 04:09:56 PM »

... ผมกลับบ้านทีไร คุณแม่อุบล มักชวนไปปลูกต้นบัว .. ช่วยทะนุบำรุงหลายวัดในอ.ปากพนัง   กลับบ้านทีไรตัวดำทุกที  Grin HAPPY2!!

 UBMTHAI
UB=UBon = อุบล
M= Manus = มนัส   
THAI = ไท ..ไม่เป็นทาสของกลุ่มคนขายชาติ
   Cheesy Smiley

------------
นานาสาระเกี่ยวกับ อ.ปากพนัง

ปากพนัง' - 'อู่ข้าวอู่น้ำปักษ์ใต้' ล่องแม่น้ำเรียนรู้วิถีประมง
      
   

" แม่น้ำปากพนังถือเป็นเส้นทางประวัติศาสตร์ อันเนื่อง มาจากเมื่อ 100 ปีที่แล้วเมืองปากพนังเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำของ ทางภาคใต้ เป็นเมืองท่าใหญ่ ส่งออกข้าวไปยังประเทศ อังกฤษ สิงคโปร์ มาเลเซีย เศรษฐกิจของเมืองปากพนังครั้งนั้นคล่องตัวทีเดียว เพราะเป็นทั้งเมืองท่าการค้า เป็นชุมทางการ คมนาคมทางน้ำ ใครจะเดินทางไปอำเภอหัวไทร อำเภอเชียรใหญ่ หรืออำเภอชะอวดต้องผ่านเส้นทางนี้"

การ เดินทางท่องเที่ยว หากเราได้รับรู้ประวัติความ เป็นมาของสิ่งต่างๆ ก็เข้าทำนอง "ข้อมูลดีมีชัยไปกว่าครึ่ง"ทำให้สิ่งที่เราได้พบเห็นมีความน่าสนใจขึ้น ทั้งในแง่ความเป็นมา และคุณค่าของสิ่งเหล่านั้น
ปากพนัง วันนี้นอกจากการไปนั่งชายทะเลทางบ้าน ปลายทราย ซึ่งอยู่ปลายสุดของแหลมตะลุมพุก มีอาหารทะเลให้รับประทานกัน อิ่มหมีพีมันในราคาย่อมเยาว์แล้ว การ"ล่องแม่น้ำปากพนัง" เป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย สำหรับการพักผ่อที่นี่
ที่ว่าน่า สนใจเพราะไม่เพียงได้หย่อนอารมณ์กับบรรยากาศ โปร่งสบายของปากแม่น้ำ หากยังได้เห็นถึงวิถีการทำกิน ของคนถิ่นนี้ และธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ของลุ่มน้ำปากพนัง ซึ่งเป็นแหล่งหล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนในแถบนี้มานานนับร้อยปี
"แม่น้ำปาก พนังถือเป็นเส้นทางประวัติศาสตร์ อันเนื่อง มาจากเมื่อ 100 ปีที่แล้วเมืองปากพนังเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำของ ทางภาคใต้ เป็นเมืองท่าใหญ่ ส่งออกข้าวไปยังประเทศ อังกฤษ สิงคโปร์ มาเลเซีย เศรษฐกิจของเมืองปากพนังครั้งนั้นคล่องตัวทีเดียว เพราะเป็นทั้งเมืองท่าการค้า เป็นชุมทางการ คมนาคมทางน้ำ
ใครจะเดินทางไปอำเภอหัวไทร อำเภอเชียรใหญ่ หรืออำเภอชะอวดต้องผ่านเส้นทางนี้"
พระ ราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จประพาสปากพนัง วันที่ 8 กรกฎาคม 2448 บรรยาย ถึงสภาพเมืองปากพนังเมื่อ 100 ปีก่อน ว่า
"อำเภอปากพนังนี้ โดยทราบอยู่แล้วว่าเป็นที่สำคัญอย่างไร แต่เมื่อไปถึงที่ยังรู้สึกว่าตามที่คาดคะเนนั้นผิดไปเป็นอันมาก ไม่นึกว่าจะใหญ่โตมั่งคั่งถึงเพียงนี้ น้ำตื้นมีอยู่แต่ตอนปากน้ำประมาณสัก 200 เส้น เข้าไปข้างในน้ำลึกตลอด จนถึงหน้าโรงสีไฟ น้ำยังลึกถึง 3 วา
... ระหว่างหมู่บ้านคนไปถึงคลองบางจากเดินไปทางใน มีเรือลูกค้ามาแต่กลางเมืองแลร่อนพิบูลย์จอดอยู่หลายร้อยลำ ในลำน้ำนั้นมีเรือกำปั่นแขก สำเภอจีนค้าขาย ทอดอยู่กลางน้ำเกือบ 31 ลำ แต่เป็นเรือตรังกานูถึง 18 ลำ สินค้าอื่นไม่มีอื่นสำคัญเท่าเข้า มีปลา มีสุกร แต่ไม่มาก เรือเหล่านั้นมาแต่สิงคโปร์แลเมืองแขกโดยมาก...เงินผลประโยชน์แต่อำเภอเดียว นี้ น้อยกว่าเมืองสงขลาอยู่ 20,000 บาทเท่านั้น บรรดาเมืองท่าในแหลมมลายูฝั่งตะวันออก เห็นจะไม่มีแห่งใดดีเท่าปากพนัง...."
กระทั่ง รัฐบาลได้ดึงอำนาจการค้าข้าวกับต่างประเทศเข้าสู่ส่วนกลาง เมืองปากพนังจึงเริ่มซบเซาลง ประกอบกับประสบวาตภัยครั้งพายุเข้าที่แหลมตะลุมพุกทำให้เมืองอู่ข้าว ต้องล่มสลาย
"หลังน้ำท่วมจนถึงปี พ.ศ.2530 น้ำเค็มรุกล้ำเข้าไป ปลูกข้าวไม่ได้ ทำให้ประชาชนหันไปทำนากุ้ง นั่นเป็นยุคที่ 2 แต่ปัจจุบันยุคที่ 3 ชาวบ้านที่นี่เปลี่ยนจากทำนากุ้งไปทำสวนผสมกันแล้ว เพราะกุ้งกุลาดำขายรายได้ไม่ดี คนไม่ค่อยนิยมกิน"
กระนั้น ลุ่มน้ำปากพนังวันนี้ยังมีความอุดมสมบูรณ์สูง มีป่าโกงกางทั้งสองฝั่งเป็นระยะทาง 5 กิโลเมตร พื้นที่ประมาณ 35,000 ไร่ เป็นแหล่งอาหารสำคัญของนกนางแอ่น ซึ่งอยู่นอกเขตสัมปทาน
สำหรับ เส้นทางท่องเที่ยวนั้นจะล่องจากทิศใต้ไปเหนือ เริ่มตั้ง แต่พาไปชมประตูกั้นน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ ในโครงการพระราชดำริเพื่อการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนัง ซึ่งมองเห็นปล่อง โรงสีไฟเด่นเป็นสง่า สัญลักษณ์ของอดีตอันรุ่งเรืองเมื่อครั้งที่เมือง นี้ยังเป็นเมืองท่าค้าข้าว มีโรงสีทั้งหมด 14 โรง ปัจจุบันยัง เหลือปล่องโรงสีให้เห็นเพียง 4 ปล่อง
โรงสีแห่งนี้มีชื่อเรียกด้วยกัน 4 ชื่อ คือ โรงสี 8, โรงสีแม่ครู, โรงสีกิมกี่ และโรงสีกอบกาญจน์ จากโรงสีไฟ กินรีนาวา มุ่งหน้าสู่ปากแม่น้ำ ฟากฝั่งตะวันออก
เรียงราย ไปด้วยคอนโดฯนกนางแอ่น นั่น...โรงแรมศุภโชค เมื่อก่อนเปิดให้บริการในสนนราคาคืนละ 600-700 บาท ปัจจุบันงดรับแขกแล้ว เพราะกลายเป็นที่พักของนกนางแอ่น มีรังนกให้เก็บได้ทุก 3 เดือน
การจะ ปลูกคอนโดฯให้นกนางแอ่นเข้าไปทำรังนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ยิ่งถ้าเป็นยุคบุกเบิกที่นกนางแอ่นเข้ามาทำรัง ไม่นานนั้น บรรดาชาวบ้านที่หวังรวยจากการเก็บรังนกขาย ต้องคิดกันจนหัวแทบผุ เพื่อให้นกนางแอ่นยอมเข้าไปทำรัง
"อาคารทรงกระบอกเป็นทรงเอกลักษณ์ของ เมืองปากพนัง ถ้าเห็นอาคารไหนสร้างสูงสันนิษฐานได้เลยว่าเป็นคอนโดฯ นกนางแอ่น แต่ก็จะมีสร้างแค่ในตัวเมืองแถวๆ ตึก 3 ชั้น ถ้าห่างกว่านั้นจะไม่ค่อยสร้างกัน เพราะกลัวว่าสร้างแล้วนกไม่เข้า"
นอก จากคอนโดฯนกนางแอ่นที่มองเห็นชัดเจนจากฝั่งน้ำ เส้นทางล่องแม่น้ำปากพนังยังพาไปเห็นการดักปลาด้วย "ซั้ง"ซึ่งถ้าเป็นทางมหาชัยจะเรียกว่า "ป๋อง" ยังมีดักด้วย "ปาม"หน้าตาคล้าย "ยอ"ขนาดใหญ่มากจนต้องปักเสา 4 ต้นไว้เป็นหลัก แล้วติดรอกไว้ช่วยผ่อนแรงเวลาชักลากปลา รวมทั้ง อาชีพที่ควบคู่กับอาชีพประมงที่นี่ คือ โรงงานทำปลาป่น
แล้วยังมีชุมชนขนำกลางคลอง ที่ทำมาหากินด้วยการ เลี้ยงปลากะพง ปลาเก๋า เป็นส่วนใหญ่ มีรายได้ดีไม่น้อย
พ้น เขตชุมชนของเทศบาลปากพนังไปแล้วสองฝั่งน้ำ ปรากฏแนวป่าชายเลน มีต้นโกงกางเป็นระยะทาง 5 กิโลเมตร เป็นแหล่งของกุ้งหอยปูปลา ซึ่งเป็นอาหารของนกแอ่น โดยเฉพาะทางฝั่งขวานั้นยาวไปจนถึงปลายแหลมตะลุมพุก
เข้าเขตปากแม่น้ำ จะเห็นคนอีกอาชีพหนึ่งมากับเรือลำน้อย มีอุปกรณ์สำคัญคือ ไม้ไผ่ยาวคู่หนึ่ง ปลายไม้ไผ่จะผูกอวน เรียกว่า "เรือรุน" เรือเหล่านี้มักจะออกปฏิบัติการตอนเย็นๆ ล่องทวนกระแสน้ำช้าๆ ขณะที่ยื่นไม้ไผ่ลงน้ำ ค่อยๆ กวาดทุกสิ่งที่อยู่ใต้แม่น้ำ
ผลก็คือ บริเวณปากแม่น้ำซึ่งเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำนานา ชนิด เมื่อเจอปฏิบัติการของเรือรุน ถูกอวนกวาดเสียกระเจิง แม้แต่ในฤดูปลาวางไข่ ชาวบ้านแถบนั้นว่าเป็นเพราะเจ้าหน้าที่ไม่ค่อยเข้มงวดต่อการกวาดจับพวก ลักลอบดักปลาสัก
เท่าไร
ขวามือที่เห็นลิบๆ เป็นโลโก้ของเมืองปากพนัง "แหลมตะลุมพุก" ทรงพระจันทร์เสี้ยว ซึ่งเป็นจุดที่กั้นลมกั้นน้ำให้กับเรือน้อยใหญ่ในอ่าว อันเป็นที่มาของชื่อ "ปากพนัง"
อิ่มหนำแล้ว ลมเย็นๆ กับหนังท้องตึงๆ กว่าจะขึ้นฝั่ง ก็ได้งีบยาวหนึ่งอิ่มพอดี!
------------------
“เมื่อวันที่ ๘ เวลาเช้าสามโมงได้ลงเรือมาดไปปากพนัง ซึ่งอยู่ท้ายอ่าวแหลมตะลุมพุก ใช้เวลา ๓ ชั่วโมง หย่อนถึงปากพนัง แม่น้ำสักโตรางแม่น้ำเจ้าพระยา กรุงเทพฯ... บ้านเรือนทั้งสองฟากแน่นหนาเพราะมีพลเมืองถึง
๔๖,๐๐๐ เศษ มีจีนมาก...ได้ขึ้นลำน้ำหลายเลี้ยวจนถึงโรงสีไฟจีนโก๊ะหักหงี ซึ่งตั้งใหม่...อำเภอปากพนังนี้ แต่เมื่อไปถึงที่ยังรู้สึกว่าตามที่คาดคะเนนั้นผิดไปเป็นอันมากไม่นึกว่าจะ ใหญ่โตมั่งคั่งถึงเพียงนี้...บรรดาเมืองท่าในแหลมมาลายูตะวันออก เห็นจะไม่มีแห่งใดเท่าปากพนัง”

โรงสีไฟของโก๊ะหักหงี ปัจจุบันคือ อาณาบริเวณที่ตั้งประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ เป็นสิ่งยืนยันว่าบริเวณนี้พระพุทธเจ้าหลวงเคยเสด็จฯ มาแล้ว

 

รู้ไหม อะไร? : “รังใหญ่ ไข่ยาว ตามคม ขนมแปลก”

 

ลุ่มน้ำปากพนังมีเอกลักษณ์สำคัญที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ว่ามีรังนกนางแอ่นมากตามริมฝั่งน้ำและอ่าวปากพนัง ในแม่น้ำลำคลองอุดมสมบูรณ์ไปด้วยปลานานาชนิด มีไข่ปลาจำนวนมาก ส่วนผู้หญิงในย่านนี้ว่ากันว่า สวยแบบมองแล้วอาจบาดเจ็บได้เพราะ “สวยคม” คนในพื้นที่ก็ทำมาค้าขายคล่องมาช้านาน มีขนมชนิดหนึ่งไม่เหมือนที่อื่น เอาไปใช้ในงานทำบุญประเพณีสารทเดือนสิบ คือ “ขนมลา” วิถีชีวิตของชุมชน มีการตั้งบ้านเรือนของชุมชนลักษณะเป็นกลุ่มบ้านหนาแน่นแถบสองฟากฝั่งคลอง มีความสัมพันธ์กับทรัพยากรธรรมชาติอย่างใกล้ชิด ทำนาเป็นอาชีพหลักและออกหาปลาในคลอง ตกกุ้งแม่น้ำ (กุ้งแม่น้ำที่นี่เนื้อนิ่มตัวใหญ่อร่อยลิ้น) และผักพื้นบ้าน มาบริโภค และเหลือจึงขาย

 

ตรรกะแห่งการอยู่ภายใต้ดวงอาทิตย์

   

   

 

ชุมชนและสังคมจะดำรงอยู่ได้ถึงเมื่อไหร่? ส่วนหนึ่งคงมาจาก วัฏจักรธรรมชาติที่มอบสภาพความสมบูรณ์กลมกลืน ของทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมไว้ให้ตามกฎอายุขัย อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญคือทางที่คนในสังคมเลือกวิธีในการดำเนินชีวิตว่าจะอยู่กับทรัพยากรธรรมชาติอย่างพึ่งพาซึ่งกันและกัน หรือผลาญธรรมชาติไปเรื่อย ๆ จนหมดตัว

 

ลุ่มน้ำปากพนังก็ประสบกับปัญหาที่ว่านี้ด้วยทางที่วิ่งสวนกันของจำนวนประชากรและทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ต้นน้ำลดลงอย่างรวดเร็วทำให้ปริมาณน้ำจืดที่เคยดูดซับไว้ และทยอยปล่อยลงในแม่น้ำปากพนังและลำน้ำสาขาในช่วงฤดูแล้งลดลงจากเดิม ที่เคยมีน้ำจืดใช้ปีละ ๙ เดือน เหลือเพียง ๓ เดือน ส่งผลให้มีน้ำเค็ม รุกตัวไปในลำน้ำ พื้นที่เกษตรกรรมเสียหาย และพรุควนเคร็งเกิดดินที่เป็นกรดสูง มีน้ำเปรี้ยวลงสู่ลำน้ำ (น้ำ ๓ รส จืด – เค็ม – เปรี้ยว) นำไปสู่ประเด็นของความขัดแย้งแย่งชิงทรัพยากรในท้องถิ่น ผู้คนเริ่มไร้สุข

 

เคยได้ยินไหม?:ปากพนัง เมืองสนุก แหลมตะลมพุก กำลังจะเป็นวัง

พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับทราบปัญหาที่ราษฎรลุ่มน้ำปากพนังประสบอยู่ด้วยความห่วงใย จึงได้พระราชทานแนวพระราชดำริเพื่อการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังหลายครั้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๑ เรื่อยมาเป็นลำดับ ทั้งในด้านการวางระบบชลประทานการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรวม ทั้งการส่งเสริมพัฒนาอาชีพของราษฎรควบคู่กันไปโดยมีชื่อเรียกการพัฒนานี้ว่า “โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ”

โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นรูปแบบการพัฒนาพื้นที่แบบผสมผสาน บริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ร่วมกันระหว่างคนและระบบนิเวศน์อย่างเหมาะสม มีพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินงาน รวมทั้งสิ้นประมาณ ๑,๙๓๗,๕๐๐ ไร่ วัตถุประสงค์หลัก เพื่อเก็บกักน้ำจืดป้องกันน้ำเค็มจากทะเลที่จะไหลเข้าไปในแม่น้ำปากพนัง เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำออกจากพื้นที่อุทกภัยมีการแบ่งพื้นที่น้ำจืด – น้ำเค็ม อย่างชัดเจน เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างราษฎรนากุ้งและราษฎรนาข้าว ส่งเสริมพัฒนาอาชีพราษฎรรวมทั้งฟื้นฟูระบบนิเวศน์และสภาพแวดล้อมของลุ่มน้ำปากพนังให้ดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยได้เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๘ และจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ มีองค์ประกอบหลักของการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ดังนี้

 

·        ประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ เป็นนามพระราชทาน มีความหมายถึง แบ่งแยกน้ำจืดน้ำเค็มได้สำเร็จ

·        ระบบระบายน้ำหลัก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ

·        คันแบ่งน้ำจืด – น้ำเค็ม เพื่อแบ่งเขตการประกอบอาชีพ ระยะทาง ๙๑.๕ กิโลเมตร

·        ระบบชลประทานเพื่อพัฒนาพื้นที่เกษตรกรรม ๕๒๑,๐๐๐ ไร่

·        การพัฒนาประมง ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ปรับปรุงพื้นที่เลี้ยงกุ้ง

·        การพัฒนาอาชีพและส่งเสริมรายได้ทั้งในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร

·        การพัฒนาสิ่งแวดล้อม ติดตาม ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมและพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

 

หากว่าปัจจุบันเป็นตัวกำหนดอนาคต จากสิ่งที่เห็นและเป็นอยู่ ชีวิตสองฟากฝั่งปากพนังวันนี้ กำลังมุ่งสู่อนาคตด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ภาพของพลังพัฒนาจากภาครัฐและประชาชนที่ปรากฏเด่นอยู่ ณ ปัจจุบันก็ฉายสะท้อนให้เรามองเห็นเค้าโครงความสำเร็จในอนาคต เป็นภาพของความอยู่ดีมีสุขของผู้คนในทำเลแห่งความสุข ณ ลุ่มน้ำปากพนัง ลุ่มน้ำแห่งการพัฒนาเพื่อประโยชน์สุขจาก “พ่อผู้ให้” พ่อแห่งแผ่นดิน”

 

ที่มา : วารสาร อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๒ เดือนเมษายน – มิถุนายน ๒๕๔๖
-------------------

ประสบการณ์ประชาชน ในกระแสเขื่อน “บุก” ปักษ์ใต้

ปัญหาการเร่งการพัฒนาประเทศให้เจริญ เติบโตมั่งคั่ง โดยพยายามยึดและควบคุมฐานทรัพยากร ที่มีอยู่ให้ตอบสนองนโยบายที่เน้นพัฒนา เพียงเศรษฐกิจนั้นเอง ด้านหนึ่งทำให้นักลงทุน นักธุรกิจ นักการเมืองและข้าราชการผู้ฝักใฝ่นายทุนได้ผลประโยชน์มากมายต่อเนื่อง แต่กับชุมชน และประชาชนผู้ที่อยู่ พึ่งพิงและอาศัยอาศัยทรัพยากร กลับถูกกีดกันและถูกตัดสิทธิ์การเข้าถึงออกไป มากขึ้นทุกวัน

หลายครอบครัวต้องบ้านแตกสาแหรกขาด และอีกไม่น้อยกำลังจมอยู่ในภาวะติดหนี้ติดสินและต้องดิ้นรนสุดฤทธิ์เพื่อ เลี้ยงครอบครัว ทรัพยากรที่กล่าวถึง อาทิ ที่ดิน ป่า แร่ และน้ำ โดยเฉพาะ น้ำ ในสถานการณ์ที่กำลังถูกแปลงให้เป็นสินค้า และเป็นปัจจัยหลักของภาคเมืองและอุตสาหกรรม รัฐกำลังยึดและควบคุมการจัดการน้ำ แต่เพียงองค์กรเดียว โดยปฏิเสธการให้ชุมชน ประชาชนได้มีส่วนร่วม ซึ่งนอกจากจะลิดรอนสิทธิชุมชนแล้วยัง กำลังก้าวสู่กระบวนการจัดการที่ไม่ยั่งยืนอีกด้วย


ประตูอุทกวิภาชประสิทธิ์กั้นแม่น้ำปากพนัง

นอกจากนั้น ยังละเลยการรับฟัง การใส่ใจอย่างจริงจังกับปัญหาผลกระทบที่เกิดจากโครงการจัดการน้ำขนาดใหญ่ ของรัฐ อาทิ เขื่อน อ่าง (ขนาดยักษ์) และ ฝ่าย เป็นต้น ประสบการณ์ปัญหาผลกระทบจากโครงการของรัฐ อาทิ จากเขื่อนบางลาง จ.ยะลา เขื่อนเชี่ยวหลาน สุราษฎร์ธานี สร้างความเสียหายจำนวนมหาศาลแก่ชุมชน และประเทศชาติ

มาถึง โครงการลุ่มน้ำปากพนัง ที่ซึ่งผลกระทบนั้นเริ่มชัดเจน ว่าต้นทุนที่สูญเสียระบบนิเวศและวิถีชีวิตชาวบ้าน ในหลายๆ ด้านกับ ผลที่ได้รับนั้น ไม่คุ้มทุน ไม่คุ้มค่า ซึ่งสถานการณ์ ณ วันนี้เอง ฝ่ายชลประทาน ฝ่ายรัฐและหน่วยงานที่รับผิดก็เริ่มจะโอนอ่อนท่าที มองเห็นปัญหาร่วมกับภาคประชาชน ว่า โครงการลุ่มน้ำปากพนังมีผลกระทบจริงและต้องหามาตรการออกมาจัดการแก้ไข

ถึงอย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวของภาคประชาชนเกี่ยวกับแนวทางการจัดการน้ำ อย่างยั่งยืนและมีส่วนร่วม กลับไม่ได้หยุดนิ่ง แต่ได้พยายามนำบทบาทขบวนไปยื่นข้อเสนอเชิงนโยบายจนเป็นที่ยอมรับในสังคมมาก ขึ้น เช่น โครงการลุ่มน้ำปากพนังกำลังรอวัน เปิดประตูเขื่อนเพื่อศึกษาผลดีผลเสีย ในการนำไปสู่ แนวทางการเปิดเขื่อนถาวรต่อไป หรืออย่างน้อยก็ ยอมปรับรูปแบบการจัดการน้ำ ที่มีภาคประชาชนมาส่วนร่วมอย่างแท้จริงต่อไป


ตัวแทนชาวบ้าน
เขื่อนปากพนัง


ตัวแทนชาวบ้าน
คัดค้านเขื่อนลาไม


ตัวแทนชาวบ้าน
จากสุราษฎร์ธานี


ตัวแทนชาวบ้าน
เขื่อนเขาหลัก
เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันกระแสการสร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำ และฝ่ายขนาดใหญ่ๆ อันเป็นรูปแบการจัดการน้ำ ของรัฐกำลังปะทุขึ้นมากมายในพื้นที่ภาคใต้อีกระลอก ซึ่งในความเป็นจริงพื้นที่ภาคใต้ เป็นพื้นที่มีความแคบ ถูกขนาบด้วยทะเล 2 ด้าน และมีความลาดชันสูง ด้านประชาชนก็ทำกินเกือบทั้งหมดและเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของป่า และระบบนิเวศสูงมาก

แต่กระแส เช่น กรณีเขื่อนลาไม อ.ชะอวด นครศรีธรรมราช จากข้อมูลที่อ้าง กลับพบว่าที่นี่น้ำอาจจะท่วมถึง 7,000 ไร่ บนพื้นที่สวนยางของชาวบ้าน นอกจากนั้น ยังมี เขื่อนคลองกลาย อ.พระพรหม นครศรีธรรมราช เขื่อนเขาพระ อ.รัตภูมิ สงขลา เขื่อนคลองหัวช้าง อ.ตะโหมด พัทลุง เขื่อนลำชอน เขื่อนคลองซา อ.เมือง ตรัง หรืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ อาทิ อ่างเก็บน้ำคลองกระแดะ อ่างเก็บน้ำบ้านน้ำหัก อ่างเก็บน้ำบ้านน้ำคราม อ่างเก็บน้ำคลองพนม และอ่างเก็บน้ำแก่งกรุง จ.สุราษฎร์ธานี เป็นต้น

ข้อเสนอด้านประสบการณ์จากเวทีแลกเปลี่ยน เรียนรู้ การเคลื่อนไหวของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนในภาคใต้ไม่กี่วันที่ผ่านมา ณ ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเด็กและสตรี อ.ปากพนัง นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 14-16 กันยายน 2548

เป็นเวทีรับฟังความคิดเห็นในหมู่ชาวบ้านที่กำลังเผชิญสถานการณ์และได้รับผลกระทบจากเขื่อน ว่าใครเผชิญสถานการณ์อย่างไรและมีแนวทางต่อสู้อย่างไร อาทิ กรณีเขื่อนคลองกลาย บ้านกรุงชิง อ.พระพรหม นครศรีธรรมราช เล่าว่า “ปัญหาที่ในกระบวนการที่จะเข้ามาก่อสร้างเขื่อนนั้น ชาวบ้านไม่มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมเลย ทั้งๆ ที่ชาวบ้านเขามีสวนยางพารามาก่อนแล้ว”

ด้านตัวแทนจากเขื่อนเชี่ยวหลานกล่าวถึงประสบกาณ์ในอดีตว่า “กรณีเชี่ยวหลานในอดีต รัฐก็ไม่ให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมเหมือนกัน รัฐไม่ให้ข้อมูล ไม่ให้ข้อเท็จจริง ว่าขนาดเขื่อน ความสูง ระดับหรือปริมาณน้ำเป็นเท่าไหร่ อย่างไร เลยเป็นปัญหาให้ชาวบ้านลุกขึ้น ต่อสู้ คัดค้านกัน

ส่วนการเข้ามาก็มาพูดดีๆ จะให้โน้นให้นี่ เช่น รับปากว่าราคาผลผลิตเกษตรจะดี แต่เอาเข้าจริงๆ ที่ดิน ที่ทำกินก็ชดเชยให้ไม่สมราคา ไม่พอกิน คำสัญญาอะไรอื่นๆ อีก ว่าจะได้น้ำไปทำนาถึงวันนี้ ยังไม่เห็นน้ำไหลมาเลย โกหกทั้งนั้น

เรื่องให้จับฉลากที่ดินทำกินครอบครัวละ 20 ไร่ แบ่งเป็นบ้าน 1 ร่ ที่ทำกิน 19 ไร่ ไม่พอหรอก แต่ราษฎรในยุคนั้น หลายหมู่บ้านไม่มีใครได้เซ็นยินยอมหรอก เพราะว่าสถานการณ์บ้านเมืองไม่ดี ความคิดสมัยนั้น ต่อต้านยากกว่าสมัยนี้ เพราะชาวบ้านตัวเล็กสู้ไม่ไหวครับ

ปัจจุบันนี้และอนาคตที่ทำกิน 19 ไร่ ไม่พอกินแล้ว ไม่พอแบ่งให้ลูกๆ ที่ครอบครัวละ 4-5 คน บางคนได้เงินชดเชยมากก็ย้ายไปอยู่ในเมือง อยู่ไปอยู่มาอยู่ไม่ได้ ก็กลับบ้าน กลับมาก็หมดตัวแล้ว จากบทเรียนของชาวบ้านเขื่อนเชี่ยวหลาน จึงอยากบอกว่าพี่น้องปากพนังและประชาชนว่า อย่าให้ใครมาทำเขื่อนเลยมันลำบาก การมีเขื่อนทำให้มีผู้คนมาเสียชีวิตทุกๆ ปี ด้วย ปีละ 2-3 คน

เหตุการณ์ตอนนั้น การเข้ามาสำรวจไม่เคยบอกชาวบ้านเลย จนวันที่จะสร้างจึงได้บอก และถึงวันนี้ เขื่อนมันเปิดไม่ได้แล้ว มัน 20 ปีมาแล้ว ถ้าเปิดคงมีปัญหาอีกยาวนาน โดยเฉพาะจะลงไปในแม่น้ำอีกไม่ได้เลย เพราะน้ำมันจะมีแต่สนิมน้ำ และจนถึงวันนี้น้ำในเขื่อนยังเน่าอยู่เลย แต่กับเขื่อนปากพนังนั้น ยังเปิดได้ทัน เพราะยังไม่นาน ไม่กี่ปีเอง บวกกับสภาพที่นี่หลายแห่งมันไม่ใช่งคลองธรรมชาติ เพราะคลองธรรมชาติมันจะคดเคี้ยว แต่ที่นี่ที่ปากพนัง แค่มองก็รู้ว่า มีคลองที่ไม่ใช่คลองธรรมชาติด้วย”
ตัวแทนจากกรณีสร้างเขื่อนเขาหลัก กล่าวถึงปัญหาที่ค้นพบจากเขื่อนปากพนังว่า “ผลกระทบที่ชาวบ้านได้รับจากเขื่อนปากพนัง เห็นชัดเจนมาก ว่าอาชีพดั้งเดิมสูญเสีย อาชีพทำน้ำตาลจาก ทำเหล้าพื้นบ้าน หมดไปเลย ทำให้ชาวบ้านต้องอพยพออกไปหางานทำ นอกชุมชน ต่อมาก็เป็นปัญหาสังคมมากขึ้น

ระบบนิเวศต่างๆ สูญเสียหมด กุ้ง หอย ปู ปลาตายหมด ระบบน้ำที่ปลาเคยมาวางไข่หายไป ชาวบ้านได้รับผลกระทบมาก วันนี้จึงมาให้ชาวบ้านปากพนัง และชาวบ้านอื่นๆ มีกำลังใจต่อสู้ เพื่ออนุรักษ์ระบบธรรมชาติให้ลูกหลานให้ได้”

ตัวแทนจากอ่างเก็บน้ำลาไม อ.ชะอวดซึ่งเป็นต้นน้ำ แม่น้ำปากพนัง ย้อนประสบการณ์ถึงภาพลุ่มน้ำปากพนังในอดีตว่า “ผมมาเห็นสถานการณ์ปากพนังวันนี้ อยากบอกว่า แม่น้ำที่นี่แต่ก่อนปูปลา เยอะมาก ผมอยู่ต้นน้ำ เคยลงมาเที่ยวที่นี่เห็นภาพเหล่านั้น มีต้นโกงกาง ต้นจากมากมาย มีปลาอุดมสมบูรณ์มาก เอาแค่ขับรถออกมาจากเชียรใหญ่ ก็เห็นภาพความสมบูรณ์แล้ว ตามลำคลองต่างๆ มาวันนี้ แตกต่างมากมาย วันนี้ผมนั่งรถลงพื้นที่ทั้งวันวันนี้ ผมไม่เห็นปลาแม้แต่ตัวเดียวในลำคลองที่นี่ ภาพของวันนี้ผมเชื่อว่า ชลประทานได้เข้ามาสร้างความเสียหายให้กับญาติพี่น้องเรามากทีเดียว

ผมคิดว่า ชาวบ้านจนไม่ใช่เพราะอย่างอื่น แต่จนเพราะคนมันมาสร้างอ่าง สร้างเขื่อน นี่แหละ ชีวิตชาวบ้านที่เคยมีเงิน มีข้าวปลาอาหารเลี้ยงลูกและส่งลูกเรียนได้ ก็เพราะทรัพยากรนี่แหละ บางคนส่งลูกหลานเรียนได้ถึงระดับปริญญา ทำให้ลูกหลานเรามีการศึกษาสามารถกลับมาพัฒนาหมู่บ้านตัวเองได้ ส่วนคนที่ไปทำงานข้างนอก วันหนึ่งวันใดอยากกลับมาบ้าน ก็ยังเหลือที่ทำกิน ช่องทางทำกิน เหลือทรัพยากร ไว้ให้ลูกหลานได้ด้วย

ในด้านประสบการณ์การสร้างเขื่อนลาไม ก่อนมาสร้าง ก็แค่มาประชุมกับผู้ใหญ่บ้าน กำนัน และผู้ใหญ่บ้านส่วนใหญ่ก็ฝั่งตรงข้ามกับชาวบ้าน ชาวบ้านไม่เคยรู้เลย จนมาครั้งที่ 3 จึงได้รู้กัน โครงการจึงไม่เคยให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมตัดสินใจเลย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ส.จ. ประชุมกันเองตลอด

ส่วนการทำงานของรัฐเอง มาถึงก็พูดเรื่องเวนคืนที่ดินเลย ชาวบ้านไม่เคยรู้มาก่อน และมารู้ก็ทีหลังแล้ว แถมยังถูกหลอกให้เซ็นชื่ออีกด้วย”

น้ำเสียงเหล่านี้ล้วนเป็นปากคำสั้นๆ บางความรู้สึก ที่คัดสรรมานำเสนอ ให้รับรู้ว่า ในขณะที่บางส่วนได้รับน้ำ ได้ใช้น้ำอย่างฟุ่มเฟือย และได้ผลประโยชน์มากมายจากน้ำ กลับมีอีกกลุ่มที่สูญเสีย ทั้งทรัพยากรทำกิน วิถีชีวิต ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความสุขในครอบครัวในชุมชน และถูกบังคับให้เสียสละ ให้ไร้สิทธิ์ และในนามของส่วนรวมและการพัฒนา คนเหล่าไม่เคยได้รับอะไรตอบแทน


การขุดลอกคูคลองในลุ่มน้ำปากพนัง

วันนี้ คนที่ถูกกระทำ ถูกรอนสิทธิ์ได้ลุกขึ้นและกล้าที่จะทวงถามความยุติธรรมให้กับตนเองและชุมชน ในการจัดการทรัพยากร เช่น น้ำ และที่สำคัญกล้าเข้ามาขอมีส่วนร่วมกับรัฐ มีส่วนกำหนดทิศทางอนาคตตนเอง ที่ต้องพึ่งพาผูกพันกับทรัพยากร ซึ่งก็คือ น้ำอีกด้วย


ทีมงาน ThaiNGO
------------------------

    อ. ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช แห่งนี้นะคะ มีสถานที่ๆน่าสนใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวของวิถีชีวิต ผู้คน ธรรมชาติ และเรื่องราวของประวัติศาสตร์ที่ทรงคุณค่า และที่สำคัญนะคะ ที่นี่ยังมีสถานที่ท่องเที่ยว ในโครงการเปิดทองหลังพระ ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยอีกด้วยค่ะ ส่วนจะเป็นที่ไหนนั้น ถ้าอยากรู้ก็ตามน้อยกับน้องแนนมาเลยค่ะ

    วันนี้นะคะ โปรแกรมแรกที่หนูจะพาพี่น้อยมาเที่ยวนะคะ คือการล่องเรือชมแม่น้ำปากพนังค่ะ แล้ววันนี้นะคะ หนูนัดกับท่านรองนายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองปากพนังไว้นะคะ วันนี้อากาศดีมาก สงสัยท่านจะรออยู่ในเรือค่ะ

    เส้นทางที่เราจะล่องเรือไปเนี่ย เราจะพาท่านสู่แม่น้ำปากพนัง ล่องในสายน้ำประวัติศาสตร์ เข้าไปยังโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แล้วก็จะล่องสายน้ำเมื่ออดีต 102 ปีที่แล้ว ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสปากพนัง ท่านได้เสด็จมาเปิดโรงสีที่นี่ ซึ่งเมื่อร้อยกว่าปีนี่ก็ได้แสดงถึงความรุ่งเรืองของลุ่มน้ำปากพนัง เป็นแม่น้ำสายหลักของทางภาคใต้ที่เจริญที่สุดในช่วงนั้นก็ว่าได้ แล้วก็จะชม ร่องรอยของโรงสีซึ่งมีมาก จำนวนประมาณ 19 โรง ก็แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรือง ความอุดมสมบูรณ์ของอู่ข้าวอู่น้ำทางภาคใต้ในอดีต แล้วก็จะใช้เวลาในการล่องเรือ ที่เราออกทริปกันมาก็ประมาณ 3 ชั่วโมง

    การล่องเรือชมแม่น้ำปากพนังแห่งนี้นะคะ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ได้จัดขึ้น เพื่อให้นักท่องเที่ยว ตลอดจนผู้ที่สนใจโดยทั่วไป ได้ชมวิถีชีวิตของชาวปากพนังที่อาศัยอยู่ริมฝั่งน้ำของโครงการพัฒนาพื้นที่ ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และป่าชายเลน ตลอดจนได้ชมลำนำสายเก่า ที่สามารถที่จะเห็นโรงสีอายุนับร้อยปี ที่ตั้งเรียงรายอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ นับได้ว่าการล่องเรือชมแม่น้ำปากพนังนี้เป็นเสมือนกับการเดินทางย้อนเวลา ไปตามสายน้ำ เพื่อรำลึกถึงความเป็นดินแดนอู่ข้าว อู่น้ำของเมืองปากพนังด้วยละค่ะ

    ที่นี่ก็คือ เป็นคอนโดรังนกแอ่นค่ะ คนก็จะอาศัย 1 ชั้นหรือ 2 ชั้นด้านล่าง 4 – 5 ชั้นนี่สร้างให้นกแอ่นอยู่ค่ะ เราจะได้เก็บรังนกงัยคะ ที่นี่ถือว่าเป็นหนึ่งเดียวในเมืองไทย ที่มีชาวบ้านสร้างคอนโดให้นกแอ่นอยู่มากที่สุดในเมืองไทย

    ในอดีตครั้งแรกเมื่อ 80 กว่าปีนี้ นกมาอาศัยอยู่หลังแรกก็เป็นตึก 3 ชั้นตรงสี่แยกไฟแดง ใจกลางชุมชนหลังจากนั้นก็ค่อยขยายพันธุ์เข้ามาอยู่บ้านไม้ แล้วก็บ้านเล็ก ๆ ต่อไป ในเมื่อมีรายได้งอกงามขึ้นก็ก่อสร้างเป็นตึก เพื่อจะได้รับน้ำหนักได้แล้วก็ระดับชั้นที่สูงขึ้น อีกอย่างก็คือเพื่อความปลอดภัย เพราะของมันมีมูลค่า มีราคาเยอะ ถ้าเป็นบ้านไม้โอกาสที่จะปีนขึ้นไปขโมยก็มีสูง

    โดยปกติทั่วไปจะเรียกนกชนิดนี้กันว่านกนางแอ่น จริง ๆ แล้วไม่ใช่ ที่ปากพนังนี่เค้าเรียกนกแอ่น ไม่มีนาง ถ้านางแอ่นนี่จะเป็นสวัลโล แต่ที่นี่จะเป็นสวิสเลส เป็นนกแอ่น ไม่มีคำว่านางแอ่นค่ะ

    และการเก็บรังนกไปขาย ก็ต้องเก็บเป็นช่วงฤดูนะคะ ช่วงฟักไข่ ช่วงวางไข่ ก็จะไม่เก็บช่วงนั้น ให้เค้าได้ฟักเป็นตัว

    จุดนี้ หลังจากเราล่องเรือส.ภักดี ทราเวลทริปมา ประมาณ 2 ชั่วโมงนะครับ เราก็จะมาสู่จุดสะดือทะเล บริเวณอ่าวนครศรีธรรมราช หรืออ่าวปากพนัง

    สะดือทะเลนี่ก็หมายถึงว่า ในอดีตสมัยที่บริเวณวัดพระบรมธาตุ มีความเชื่อกันว่า จุดนั้นน่าจะเป็นหาดทรายแก้ว ซึ่งก็หมายถึงว่า ในจังหวัดนครศรีธรรมราชเนี่ย เราก็จะมีผืนน้ำไปถึงหาดทรายแก้ว บริเวณวัดพระบรมธาตุ ซึ่งถ้าย้อนดูตำนานนี่จะมีพระธนทกุมารและพระนางเขมชาลา สองพี่น้องได้ล่องเรือสำเภา แล้วก็นำพระธาตุ ผ่านจังหวัดนครศรีธรรมราช แล้วก็เรือสำเภาได้อับปางลง ณ บริเวณหาดทรายแก้ว ซึ่งปัจจุบันก็ได้สร้างเป็นวัดพระบรมธาตุ ซึ่งถ้านับจากจุดนั้น ห่างมาจากบริเวณที่เรานั่ง บริเวณสะดือทะเล ก็ร่วม 30 กิโลเมตร ก็คาดว่าน่าจะเป็นจุดที่ลึกที่สุดในอดีต ก็เลยใช้ชื่อว่าสะดือทะเล

    จุดนี้ก็เป็นอีก หนึ่งสถานที่ เป็นป่าชายเลนที่สมบูรณ์ที่สุดของเมืองไทยก็ว่าได้ สุดขวามือที่เรามองเห็นนั่น ก็คือปลายแหลมตะลุมพุก ซึ่งเมื่อปี 2505 เป็นจุดที่เกิดมหาวาตภัย ปลายแหลมตะลุมพุก คือมีพายุ แฮเรียสพัดผ่านเข้ามา แล้วก็คร่าชีวิตผู้คนที่อาศัยในหมู่บ้านตรงนี้ ไปร่วมนับหมื่นชีวิต

    วันนี้นะคะ สนุกแล้วก็ได้ความรู้อีกด้วย รู้สึกเต็มอิ่มมาก ๆ เลยค่ะ ต้องขอขอบคุณท่านรองมาก ๆ เลยนะคะ แต่ว่าเดี๋ยวน้องแนนเนี่ย เค้ามีโปรแกรมจะพาเที่ยวต่อ ไปไหนจ๊ะ

    เมื่อสักครู่นี้นะคะพี่น้อย เราเห็นโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริหรือป่าวคะ นั่นแหล่ะค่ะ แนนจะพาพี่น้อยไปเที่ยวที่นั่นแหล่ะค่ะ

    ทราบมาว่าที่นี่เป็นหนึ่งในโครงการเปิดทองหลังพระ ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หนึ่งใน 19 โครงการเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระองค์ท่านมีพระปรีชาสามารถแล้วก็มีพระอริยะภาพที่มองเห็นว่าการพัฒนา พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังเนี่ยจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน แล้วเราก็ได้รับเกียรติจากทาง ททท.ด้วยว่าให้เป็นโครงการหนึ่งใน 19 โครงการ ที่นี่เราจะเปิดให้ท่านได้ชมกันนะคะ

    อาคารนี้ เรียกว่าอาคารพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติ สร้างเพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี โดยมีมติคณะรัฐมนตรีให้ก่อสร้างโครงการนี้ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2538 ใช้วงเงินก่อสร้างทั้งสิ้นก็ประมาณ 15,800 ล้านบาท ทั้งระบบนะคะ ปัจจุบันนี้เสร็จ ร้อยเปอร์เซ็นต์แล้วค่ะ

    ในอดีตนะคะบริเวณที่ปากพนังแห่งนี้ มีปัญหาเรื่องของน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการที่น้ำเค็มรุกเข้าไปในแม่น้ำปากพนัง ทำให้ชาวบ้านใช้น้ำในการอุปโภค บริโภคไม่ได้ ปัญหาของดินเปรี้ยว และปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในทุกๆปี จนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานแนวพระราชดำริ ในการแก้ปัญหาและ พัฒนาพื้นที่ลุ่มแม่น้ำปากพนังขึ้น เพื่อช่วยเหลือราษฎร โดยพระองค์ทรงให้จัดสร้างประตูระบายน้ำ เพื่อป้องกันน้ำเค็มรุกล้ำและเก็บกักน้ำจืด พร้อมกับจัดระบบการกระจายน้ำ เพื่อการเพาะปลูกคะ

    นอกจากพิพิธภัณฑ์ ที่แสดงถึงความเป็นมาของโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง แห่งนี้แล้วนะค่ะ ที่นี่ยังมีสถานที่ๆที่น่าสนใจอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นอนุสรณ์สถานปล่องโรงสีไฟ ปล่องโรงสีไฟร้าง ประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ และพระตำหนักประทับแรมหรือที่ชาวบ้านที่นี่ เรียกกันว่า บ้านพ่อค่ะ

    ที่นี่นะคะ เรียกพระตำหนักประทับแรม ตั้งอยู่บริเวณหัวงานประตูอุทกวิภาชประสิทธิ ห่างจากตัวอำเภอเมืองก็ประมาณ 30 กิโลเมตรได้ อันนี้เป็นพระตำหนักที่ ประชาชนชาวไทยลุ่มน้ำปากพนังสร้างถวายในหลวงท่าน องค์ประกอบของพระตำหนัก จะมีทั้งหมด 13 ห้อง ที่หลัก ๆ ก็จะมีห้องบรรทมของในหลวงท่าน แล้วก็มีของพระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ จะมี 3 ห้องหลัก ๆ นอกนั้นก็จะเป็นห้องข้าราชบริพาร แล้วก็ท้องพระโรง
http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=66&post_id=10589
--------------------
บันทึกการเข้า
watchareeya
member
*

คะแนน175
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 495



อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: ตุลาคม 05, 2008, 04:30:17 PM »

มีอีกอย่างที่เหมือนกันคือ.....แม่อุบล สวยทั้ง 2 อุบลเลย...แต่ลูก......... ไม่หล่อเท่า..แต่ใจดี 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: