น้ำมันทอดซ้ำ คนกินป่วยเรื้อรัง คนปรุงดมไอน้ำมันมะเร็งปอดเล่นงาน
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
เมษายน 29, 2024, 12:21:58 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: น้ำมันทอดซ้ำ คนกินป่วยเรื้อรัง คนปรุงดมไอน้ำมันมะเร็งปอดเล่นงาน  (อ่าน 2119 ครั้ง)
แวมไพร์-LSVteam♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน912
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3712


..เรียนให้รู้เป็นครูเขา.Learning by doing


« เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2008, 06:24:56 AM »

ชี้ น้ำมันทอดซ้ำสุดอันตราย คนกินก่อโรคเรื้อรังสารพัด ทั้งหัวใจ มะเร็ง ขณะที่ผู้ขายสูดดมไอน้ำมันส่งผลมะเร็งปอดถามหา พร้อมเผยคนไทยใช้น้ำมันพืชปีละ 8 แสนตัน แนะน้ำมันทอดซ้ำกลับมาทำไบโอดีเซลได้ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านลิตรต่อปี ด้านกรมวิทย์ จับมือ สสส.อปท.แจกชุดตรวจน้ำมันทอดซ้ำให้รู้กำหนดเวลาเปลี่ยนน้ำมัน 5 แสนชุด สุดเจ๋งไทยคิดเอง ราคาถูกชุดละ 20 บาท ตรวจง่ายใช้เวลาไม่เกิน 3 นาที รณรงค์ใหญ่โครงการ “ทำดีเพื่อแม่ 12 สิงหา”



วันที่ 21 ก.ค.ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีการแถลง “หยุดมหันตภัยน้ำมันทอดซ้ำ ถวายแม่ของแผ่นดิน ในโครงการ ทำดีเพื่อแม่ 12 สิงหา” โดย ภก.วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ อุบลราชธานี กล่าวว่า การบริโภคอาหารจากน้ำมันทอดซ้ำไม่เพียงแต่จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง ความดันโลหิต หลอดเลือดหัวใจเฉพาะผู้ทานเท่านั้น ผู้ขายก็มีอันตรายที่ต้องสูดดมไอน้ำมันทอดซ้ำก็มีอันตรายด้วยเช่นกัน โดยเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอด ซึ่งจากการตรวจสุขภาพแม่บ้านซึ่งปรุงอาหาร พบว่า เป็นมะเร็งปอดสูงมาก และมีการสืบสาเหตุ พบว่า มีการปรุงอาหารที่ใช้น้ำมันมาก โดยไม่มีประวัติว่ามีการสูบบุหรี่แต่อย่างใด ไต้หวันจึงได้ออกกฎหมายไม่ให้ใช้น้ำมันทอดซ้ำ เพื่อป้องกันสุขภาพของผู้ปรุงอาหารจากอันตรายของไอของน้ำมันทอดซ้ำ จำนวนผู้ป่วยจึงลดลงอย่างเห็นได้ชัด
       
       ภก.วรวิทย์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ โรคมะเร็งทางเดินอาหาร มีอัตราการเกิดมากขึ้นเป็นอันดับ 3 ทั้งในชายและหญิง ซึ่งสารโพลาร์ คือ ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดมะเร็ง กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จึงกำหนดให้น้ำมันทอดซ้ำ ต้องมีค่าสารโพลาร์ ไม่เกิน 25% ผู้ประกอบการอาหารที่ฝ่าฝืน จะมีโทษโทษปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
       
       “ทั้งนี้ หากจัดระบบการนำน้ำมันทอดซ้ำกลับมาผลิตไบโอดีเซลคาดว่า แต่ละปีมีน้ำมันทอดซ้ำประมาณ 8 แสนตัน ซึ่งสามารถนำมาผลิตเป็นไบโอดีเซลได้ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านลิตรต่อปี ที่สามารถนำมาผลิตเป็นไบโอดีเซลได้ ทั้งที่ปริมาณการใช้งานมีมากถึง 10% ของน้ำมันดีเซล”ภก.วรวิทย์ กล่าว
       
       ภก.วรวิทย์ กล่าวอีกว่า กรมวิทย์ได้พัฒนาชุดทดสอบน้ำมันทอดซ้ำ เพื่อให้ประชาชนทราบว่าจะเปลี่ยนน้ำมันทุกๆ กี่วัน อีกทั้งเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชนในราคาเพียง 20 บาท มีความแม่นยำถึง 99.2% จากที่เครื่องมือในต่างประเทศราคา 3 หมื่นบาท และต้องทดสอบขณะที่น้ำมันกำลังทอด ซึ่งไม่สะดวก แต่ชุดทดสอบนี้เพียงนำน้ำมันมาหยดเท่านั้น ซึ่งสามารถทดสอบได้ง่าย ใช้เวลาไม่เกิน 3 นาที นักเรียน หรืออาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) สามารถทำได้ ซึ่งเมื่อทดสอบหากเป็นน้ำมันทอดซ้ำจะมีสีชมพูซีด


“นอกจากนี้ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลในวันแม่แห่งชาตินี้ กรมฯร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)จึงได้จัดเตรียมชุดตรวจฯแจก
จ่ายไปยังทั่วประเทศกว่า 5 แสนชุด ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกว่า 7,583แห่ง จากการประมาณการว่ามีร้านค้าที่มีการทอดโดยใช้น้ำมันมากจำนวน 7 แสนถึง 1 ล้านแห่งทั่วประเทศ” ภก.วรวิทย์ กล่าว
       
       ด้าน รศ.ดร.วงศ์วิวัฒน์ ทัศนียกุล อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า อาหารในกลุ่มโปรตีนจะเปลี่ยนแปลงโมเลกุลได้มากกว่ากลุ่มอื่น ดังนั้นเมื่อถูกทอดด้วยน้ำมัน น้ำมันจะเกิดสารโพลาร์ได้ง่ายกว่า ซึ่งอาหารอันดับต้นๆ ที่ทำให้เกิดสารโพลาร์ได้ง่าย หากใช้น้ำมันที่ทอดติดต่อกันนานเกินควรได้แก่ ไก่ทอด หมูทอด ปลาทอด กล้วยแขก ปลาท่องโก๋ หากร่างกายได้รับติดต่อกันนานๆ จะสะสมทำให้เกิดโรคในที่สุด เทียบเท่าความเสี่ยงจากการสูบบุหรี่ หรือดื่มเหล้า
       
       “ในต่างประเทศ พบว่า ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงสัมพันธ์กับการทานอาหารทอดที่มาจากน้ำมันทอดซ้ำด้วย แม้ว่าในไทยยังไม่มีการวิจัยว่าไอน้ำมันทอดซ้ำส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร แต่คาดว่าจะมีลักษณะสอดคล้องกับงานวิจัยในต่างประเทศที่พบว่า ไอของน้ำมันที่ทอดซ้ำมีผลต่อการเป็นมะเร็งปอดด้วย นอกจากในตลาดแล้วห้องครัวที่ไม่มีระบบการระบายอากาศที่ดี เช่น ห้องครัวในคอนโดมิเนียม แฟลต ฯลฯ ก็อาจเกิดมลพิษในบ้าน และผู้ประกอบอากาศอาจเสี่ยงต่อไอน้ำมันที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง” รศ.ดร.วงศ์วิวัฒน์กล่าว
       
       รศ.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผจก.แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ กล่าวว่า การเก็บตัวอย่างสารโพลาร์ในน้ำมันทอดอาหารในเขต กทม.จำนวน 315 รายการ โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เดือน ต.ค.2550 - พ.ค.2551 พบ อาหารตกมาตรฐาน 47 รายการ หรือ 14.92% กลุ่มอาหารที่มีสารโพลาร์ในน้ำมันตกมาตรฐาน 5 อันดับแรก 1.ลูกชิ้น 26.66% 2.ไก่ทอด 18.60% 3.ปลาทอด 17.54% 4.นัทเก็ต 12.5% 5.หมูทอด 6.67% ซึ่งจะตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง น้ำมันทอดซ้ำที่เสื่อมคุณภาพ จะมีลักษณะหนืดข้นผิดปกติ มีสีดำ เกิดฟองมาก มีกลิ่นเหม็นไหม้ เกิดควันมากขณะทอด


โดย ผู้จัดการออนไลน์    


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!