ความรู้เกี่ยวกับเอกสารสิทธิที่ดิน
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
พฤษภาคม 01, 2024, 02:59:55 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความรู้เกี่ยวกับเอกสารสิทธิที่ดิน  (อ่าน 11126 ครั้ง)
แวมไพร์-LSVteam♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน912
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3712


..เรียนให้รู้เป็นครูเขา.Learning by doing


« เมื่อ: มีนาคม 28, 2008, 01:50:28 PM »

ความรู้เกี่ยวกับเอกสารสิทธิที่ดิน
ที่ดินมี นส.3 มี นส.3ก. มี นส.2 มีโฉนดที่ดิน โอยยย ทำไมเอกสารสิทธิเกี่ยวกับที่ดินมันมีมากมายอย่างนี้  แล้วคุณทราบกันไหมครับ ว่าเอกสารสิทธิแต่ละอย่างนั้นมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร วันนี้ลองมาดูกันนะครับ เผื่อใครที่มีหรือกำลังจะมีที่ดินของตนเองจะได้รู้ไว้ครับ

สาเหตุที่ต้องทราบไว้ก็เพราะว่า ที่ดินถือเป็นทรัพย์อันมีค่าจริงมั้ยครับ ใครๆก็อยากจะถือครองที่ดินกันทั้งนั้น คนรวยๆก็ซื้อที่ดินไว้เก็งกำไร นอกจากนั้นแล้วที่ดินยังมีประโยชน์อย่างอื่นอีก เช่น ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ใช้เพื่อการเกษตรกรรม การอุตสาหกรรม นอกจากนั้นยังอาจใช้เป็นหลักประกันต่างๆ บางครั้งที่ดินยังเป็นเครื่องแสดงฐานะทางสังคมอีกด้วย อย่างเช่นคำว่า ศักดินา ในสมัยก่อน คำว่า นา ก็คือที่นา ที่ดินนั่นเองนะครับ ส่วนคำว่าศักดิ ก็มาจาก ศักดิ์ศรี หมายความว่า ใช้ที่นาเป็นเครื่องบอกศักดิ์ในสังคมนั้นนั่นเอง

เอกสารสิทธิ์เกี่ยวกับที่ดินมีอยู่หลายประเภท ในที่นี้จะขอกล่าวแต่เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันที่เราอาจพบเจอได้เท่านั้นครับ ซึ่งก็มีดังนี้ครับ


- ส.ค. 1 คือ ใบแจ้งการครอบครองที่ดิน ซึ่งเป็นเพียงหลักฐานการแจ้งต่อเจ้าพนักงานว่า คุณกำลังครอบครองที่ดินแปลงใดอยู่ ไม่ใช่หนังสือแสดงกรรมสิทธิที่ดินแต่อย่างใด และไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิได้ แต่ใช้แสดงเจตนาว่าจะสละการครอบครองให้แก่ผู้รับโอนได้เท่านั้น ทั้งนี้ ส.ค.1 สามารถใช้เป็นหลักฐานในการขอออกโฉนดที่ดิน น.ส.3 หรือ น.ส.3ก. ได้ ก็ต่อเมื่อทางราชการมีการประกาศโครงการออกโฉนดที่ดินทั่วประเทศ หรือเมื่อมีการยื่นขอออกโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะราย

- น.ส. 2 คือ หนังสือแสดงความยินยอมให้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินเป็นการชั่วคราวจากทางราชการ ซึ่งผู้มีใบจับจองจะต้องจัดการทำประโยชน์ในที่ดินให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 75 ของที่ดินที่จัดให้ภายในสามปี โดยสิทธิดังกล่าวไม่สามารถโอนให้ผู้อื่นได้ ซึ่งเมื่อทำประโยชน์ตามเงื่อนไขข้างต้นครบกำหนดเวลาแล้ว จึงมีสิทธินำมาขอออกโฉนดที่ดิน น.ส.3 หรือ น.ส.3ก. ได้

- น.ส.3 คือ หนังสือคำรับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าได้ทำประโยชน์ในที่ดินแล้ว โดยได้มีการรังวัดและจัดทำแผนที่ของที่ดินแล้ว

- น.ส.3ก. คือ หนังสือคำรับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ว่า ได้ทำประโยชน์ในที่ดินนั้นแล้ว แต่ต่างจาก น.ส.3 ตรงที่ มีการรังวัดและจัดทำแผนที่ของที่ดินนั้นจากภาพระวางรูปถ่ายทางอากาศเรียบร้อยแล้ว

- โฉนดที่ดิน คือ หนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยมีความหมายรวมถึงโฉนดแผนที่ โฉนดตราจอง และตราจองที่มีการประทับตราว่า "ได้ทำประโยชน์แล้ว" ซึ่งออกให้ตามกฎหมายเก่า แต่ก็ถือว่ามีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ ผู้เป็นเจ้าของโฉนดที่ดิน จะมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นอย่างสมบูรณ์ สามารถใช้สิทธิในที่ดินได้เต็มที่ มีสิทธิในการจัดจำหน่าย รวมถึงสิทธิในการปกป้องและขัดขวางไม่ให้บุคคลอื่นเข้ามาละเมิดสิทธิของตนในที่ดินนั้นด้วย


โกวิท ทาตะรัตน์
www.bunditcenter.co m

เวบที่เกี่ยวข้องกัน
กดเลยครับ


บันทึกการเข้า

แวมไพร์-LSVteam♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน912
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3712


..เรียนให้รู้เป็นครูเขา.Learning by doing


« ตอบ #1 เมื่อ: มีนาคม 28, 2008, 01:59:10 PM »

หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส3,น.ส 3ก., และ น.ส 3ข.)

หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3,น.ส. 3 ก., และ น.ส .3ข.)   

      คือหนังสือรับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าได้ทำประโยชน์ในที่ดิน แล้ว แยกออก 3 ชนิดคือ

               น. ส .3   ออกให้แก่ผู้ครอบครองทั่วไป  ในพื้นที่ที่ไม่มีระวาง มีลักษณะเป็นแผนที่รูปลอย ไม่มีการกำหนดตำแหน่งที่แน่นอน  หรือออกในพื้นที่ที่ไม่มีรูปถ่ายทางอากาศ  นายอำเภอเป็นผู้ออก

                น.ส.3 ก   ออกใน ท้องที่ที่มีรูปถ่ายทางอากาศ  โดยมีการกำหนดตำแหน่งที่ดินในระวางรูปถ่ายทางอากาศ   นายอำเภอเป็นผู้ออกเอกสารให้

                น.ส.3 ข   ออกในท้องที่ที่ไม่มี ระวางรูปถ่ายทางอากาศ  และรัฐมนตรีได้ประกาศยกเลิกอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติการ   ตามประมวลกฏหมายที่ดินของหัวหน้าเขต   นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอแล้ว   (เจ้าพนักงานที่ดิน เป็นผู้ออก)


ที่มา กดเลยครับ
บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1883
ออนไลน์ ออนไลน์

กระทู้: 13275


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: มีนาคม 28, 2008, 03:27:17 PM »

ขอบพระคุณมากครับ ได้ความรู้ดีครับ มาช่วยต่อยอด ช่วยกันทำมาหากิน  Grin

Credit …. http://www.dol.go.th/index2.php

ความเป็นมาของการออกโฉนดที่ดิน
สมัยกรุงสุโขทัย
                  งานที่ดินในประเทศไทย ปรากฏเริ่มแรกตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ในรัชกาลของพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งทรงดำเนิน รัฐประศาสโนบายส่งเสริมเศรษฐกิจเกี่ยวกับการทำประโยชน์ในที่ด ิน เพื่อให้ได้พืชผลมาเป็นปัจจัยในการบริโภคและอุปโภคพอควรแก่ระดับการครองชีพใ นสมัยนั้น เมื่อราษฎรเข้าบุกเบิกหักร้างถางพงในที่ดินจนเพาะปลูกได้ผลได้ประโยชน์แล้วก ็โปรดให้ที่ดินนั้น ๆ เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ออกแรงออกทุนไป ดังปรากฏในหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่า "ฯลฯ สร้างป่าหมากป่าพลูทั่วเมืองทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าคาง (ขนุน) ก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้ใครสร้างได้ไว้แก่มัน ฯลฯ"

สมัยกรุงศรีอยุธยา
                   ได้จัดแบ่งองค์การบริหารออกเป็นรูปจตุสดมภ์ คือ เวียง วัง คลัง นา ประจำอยู่ส่วนกลาง การจัดเรื่องที่ดินขึ้นอยู่แก่กรมนาในแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) (พ.ศ. ๑๙๐๓) ตำแหน่งเสนาบดีกรมนามีชื่อเรียกว่า "ขุนเกษตราธิบดี"
•    ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. ๑๙๙๑) เรียกว่า "พระเกษตราธิบดี"
•    ในแผ่นดินพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. ๒๑๗๕) เรียกว่า "เจ้าพระยาพลเทพเสนาบดีศรีไชยนพรัตน์เกษตราธิบดี อภัยพิริยะปรากรมพาหุ" นามเจ้าพระยาพลเทพนี้ใช้อยู่จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
•    ในสมัยนี้ มีกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จซึ่งตราขึ้นใช้บังคับตั้งแต่แผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)  บทที่ ๓๕, ๔๒ และ ๔๓ เป็นแม่บทสำหรับดำเนินการ โดยกำหนดให้มีการจัดที่ดินซึ่งยังรกร้างเป็นทำเลเปล่าให้ราษฎร เข้าก่นสร้างให้มีประโยชน์ขึ้น 

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
สมัยรัชกาลที่ ๑ - ๒
               งานที่ดินยังคงยึดหลักการตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ
สมัยรัชกาลที่ ๓
               มีการออกหนังสือสำหรับที่บ้าน เพื่อระงับข้อพิพาทการรุกล้ำเขตกัน
สมัยรัชกาลที่ ๔
               มีการประกาศขายฝากและจำนำที่สวน ที่นา และมีการออกตราแดง ในเขตจังหวัดกรุงเก่า (พระนครศรีอยุธยาอ่างทอง ลพบุรีสุพรรณบุรี) เป็นหลักฐานแสดงว่ามีผู้มีชื่อเป็นเจ้าของและใช้ในการเก็บภาษีที่นา
สมัยรัชกาลที่ ๕
•   มีการออกหนังสือสำคัญชนิดต่างๆ เพิ่มขึ้นอีกหลายชนิด เช่น โฉนดสวน ใบตราจอง เพื่อประโยชน์ในการเก็บภาษีค่านา
•   ต ่อมามีปัญหาเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินสู่ศาลบ่อยขึ้น เพราะหนังสือสำคัญที่เจ้าหน้าที่ผู้เก็บภาษีอากรออกให้เจ้าของที่ดินยึดถือไ ว้นั้นไม่อาจระงับข้อพิพาทโต้แย้งได้ เนื่องจากมีข้อความไม่กระจ่างว่าผู้ใดมีสิทธิอยู่ในที่ดินเพียงใดอย่างใด พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประสบถึงความเดือดร้อนของราษฎรในกรณีดังกล่าว จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้กระทรวง เกษตรพาณิชยการจัดดำเนินงานเรื่องสิทธิในที่ดินให้รัดกุมขึ้น
•   ต ่อมากระทรวงเกษตรพาณิชยการยกเลิกไป ได้สถาปนากระทรวงเกษตราธิการขึ้นใหม่ โปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์มาดำรงตำแหน่งเสนาบดี เมื่อวันที่ ๒ กันยายน ร.ศ. ๑๑๘ (พ.ศ.๒๔๔๒) และโปรดเกล้าฯให้พระยาประชาชีพบริบาล(ผึ่ง ชูโต) เป็นข้าหลวงเกษตร ออกไปดำเนินการออกโฉนดที่ดิน โดยให้อยู่ในบังคับบัญชาของเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า
•   ข้าหลวงเกษตรพร้อมด้วยเจ้าพนักงานกรมแผนที่ได้เริ่มออกเดินสำรวจเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๐ (พ.ศ. ๒๔๔๔) โดยโปรดเกล้าพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ผู้ที่ถือโฉนดที่ดิน เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โฉนดที่ดินฉบับแรก เป็นของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ออกเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๐ (พ.ศ.๒๔๔๔) ที่ตำบลบ้านแป้ง อำเภอพระราชวัง จังหวัดกรุงเก่า (พระนครศรีอยุธยา) เนื้อที่ 89-1-52 ไร่
•   มีการออกโฉนดตราจอง เป็นหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินที่ได้ทำประโยชน์แล้ว ปัจจุบันยังคงมีอยู่ในเขตมณฑลพิษณุโลก คือ จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร อุตรดิตถ์ และสุโขทัย
•   จ ัดตั้งหอทะเบียนที่ดินแห่งแรก คือหอทะเบียนมณฑลกรุงเก่า ที่สภาคารราชประยูร ในพระราชวังบางปะอิน เมื่อวันที่ ยี่สิบสาม เดือนหก รัตนโกสินทรศก ๑๒๐ ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๔๔) และหลังจากได้มีการจัดตั้งหอทะเบียนขึ้นแล้ว ก็ได้มีการสถาปนากรมทะเบียนที่ดิน หรือกรมที่ดินปัจจุบันขึ้นในกระทรวงเกษตราธิการ เมื่อวันที่ สิบเจ็ด เดือนสิบเอ็ด รัตนโกสินทรศก ๑๒๐ ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๔ (การนับวันเดือนปีของปฏิทินก่อนปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ให้นับวันที่ ๑๓ เมษายน ของทุกปีเป็นวันขึ้นปีใหม่ ดังนั้นเดือนเมษายนจึงเป็นเดือนที่หนึ่งของปีปฏิทิน และเดือนมีนาคม จึงเป็นเดือนที่สิบสองของปีปฏิทิน จึงเห็นได้ว่าการจัดตั้งหอทะเบียนที่ดินนั้น ได้จัดตั้งขึ้นก่อนการจัดตั้งกรมที่ดิน)
•   ม ีการออกพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน ร.ศ.๑๒๗ (พ.ศ.๒๔๕๑) ซึ่งได้รวบรวมการดำเนินการเรื่องที่ดินแต่ดั้งเดิมหลายฉบับไว้เป็นฉบับเดียว และถือเป็นมูลฐานของกฎหมายเกี่ยวกับการออกโฉนดที่ดินต่อมา และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเป็นพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดินอีกหลายฉบับ ฉบับสุดท้ายคือพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๔๗๙ ซึ่งได้วิวัฒนาการ จนเป็นประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ใช้บังคับเกี่ยวกับการออกโฉนดที่ดินและหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินต่าง ๆ สืบมาจนถึงปัจจุบัน .........
การขออนุญาตจัดสรรที่ดินต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 โดยผู้ขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดิน  ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาแห่งท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่  พร้อมหลักฐาน และรายละเอียดดังต่อไปนี้
             1.  โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่มีชื่อผู้ขอใบอนุญาตทำการจัดสร รที่ดินเป็นผู้มีสิทธิในที่ดิน  โดยที่ดินนั้นต้องปลอดจากบุริมสิทธิใด ๆ เว้นแต่บุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
             2.  ในกรณีที่ดินที่ขอทำการจัดสรรที่ดินมีบุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือภาระการจำนองให้แสดงบันทึกความยินยอม ให้ทำการจัดสรรที่ดินของผู้ทรงบุริมสิทธิ  หรือผู้รับจำนอง  และจำนวนเงินที่ผู้ทรงบุริมสิทธิ หรือผู้รับจำนองจะได้รับชำระหนี้จากที่ดินแปลงย่อยแต่ละแปลง  และต้องระบุด้วยว่าที่ดินที่เป็นสาธารณูปโภคหรือที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะไม่ต้องรับภาระหนี้บุริมสิทธิหรือจำนองดังกล่าว
             3.  แผนผังแสดงจำนวนที่ดินแปลงย่อยที่จะขอจัดสรร และเนื้อที่โดยประมาณของที่ดินแต่ละแปลง
             4.  โครงการปรับปรุงที่ดินที่ขอจัดสรร การจัดให้มีสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะรวมทั้งการปรับปรุงอื่นตามควรแก่สภา พของท้องถิ่น  โดยแสดงแผนผัง  รายละเอียด  และรายการก่อสร้างประมาณการค่าก่อสร้างและกำหนดเวลาที่จะนำให้แล้วเสร็จในกร ณีที่ได้มีการปรับปรุงที่ดินที่ขอจัดสรรหรือได้จัดทำสาธารณูปโภค  หรือบริการสาธารณะแล้วเสร็จทั้งหมด  หรือบางส่วนก่อนขอทำการจัดสรรที่ดินให้แสดงแผนผังรายละเอียดและรายการก่อสร้ างที่ได้จัดทำแล้ว เสร็จนั้นด้วย
             5.  แผนงาน  โครงการ  และระยะเวลาการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค
             6.  วิธีการ  จำหน่ายที่ดินจัดสรร  และการชำระราคาหรือค่าตอบแทน
             7.  ภาระผูกผันต่าง ๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่ขอจัดสรรนั้น
             8.  แบบสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจัดสรร
             9.  ที่ตั้งสำนักงานของผู้ขอใบอนุญาตทำการจัดสรรที่ดิน
            10.  ชื่อธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด  ซึ่งจะเป็นผู้ค้ำประกันการจัดให้มีสาธารณูปโภค  หรือบริการสาธารณะ  หรือการปรับปรุงที่ดิน  และค้ำประกันการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ
            11.  การพิจารณาแผนผัง  โครงการ และวิธีการในการจัดสรรที่ดิน  ให้คณะกรรมการกระทำให้แล้วเสร็จภายในสี่สิบห้าวัน  นับแต่วันที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาได้รับคำขอ  ถ้าคณะกรรมการไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว  โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรให้ถือว่าคณะกรรมการได้ให้ความเห็นชอบ  แผนผัง  โครงการ  และวิธีการจัดสรรที่ดินนั้นแล้ว
            12.  ในกรณีที่คณะกรรมการไม่เห็นชอบหรือมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน  ผู้ขอมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง  ภายใน  30  วัน  นับแต่วันที่ทราบคำสั่ง
            13.  การออกใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน  ให้คณะกรรมการออกใบอนุญาตภายในกำหนด 7 วัน นับแต่
                   13.1  วันที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบให้ทำการจัดสรรที่ดิน
                   13.2  วันที่คณะกรรมการกลางให้ความเห็นชอบให้ทำการจัดสรร ในกรณีที่มีการอุทธรณ์ 
             14.  ในกรณีที่ที่ดินจัดสรรมีบุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์  หรือการจำนองติดอยู่  เมื่อได้ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินที่แบ่งแยกเป็นแ ปลงย่อยแล้ว  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดแจ้งบุริมสิทธิหรือการจำนองนั้นในโฉนดที่ดินหรือหนั งสือรับรองการทำประโยชน์ที่แบ่งแยกเป็นแปลงย่อยทุกฉบับ  พร้อมทั้งระบุจำนวนเงินที่ผู้ทรงบุริมสิทธิ หรือผู้รับจำนองจะได้รับชำระหนี้จากที่ดินแปลงย่อยแต่ละแปลงในสารบัญสำหรับจ ดทะเบียนด้วย  และให้ถือว่าที่ดินแปลงย่อยแต่ละแปลงเป็นประกันหนี้บุริมสิทธิ   หรือหนี้จำนองตามจำนวนเงินที่ได้ระบุไว้
                     ให้ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภค  และที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะปลอดจากบุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์  และภาระการจำนอง
            15.  อัตราค่าธรรมเนียม ตามกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2544
                    15.1  ใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน
                               (ก) จัดสรรที่ดินเป็นที่ประกอบเกษตรกรรม      ไร่ละ  100   บาท
                               (ข) จัดสรรที่ดินประเภทอื่น        ไร่ละ    250   บาท
                                     เศษของไร่คิดเป็นหนึ่งไร่
                    15.2  การโอนใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน   รายละ  3,000   บาท 
การขออนุญาตทำการค้าที่ดิน
ผู้ขออนุญาตทำการค้าที่ดินยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินที่ที่ดินตั้งอยู่ พร้อมหลักฐานและค่าธรรมเนียม ดังนี้
 
      1.  ผู้ขออนุญาต
            1.1  บุคคลธรรมดา
                   -  บัตรประจำตัว
                   -  สำเนาทะเบียนบ้าน
            1.2  นิติบุคคล  ได้แก่  บริษัทจำกัด  ห้างหุ้นส่วนจำกัด  ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือ นิติบุคคลอื่น
                   -  เอกสารก่อตั้งนิติบุคคล
                   -  หนังสือสำคัญการให้อำนาจทำการแทนนิติบุคคล
                   -  หนังสือบริคณห์สนธิ
                   -  บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น โดยแสดงสัญชาติและจำนวนหุ้นของผู้ถือหุ้นทุกคนที่นายทะเบียนพาณิชย์รับรองแล้วในปัจจุบัน
                   -  รายงานการประชุมของนิติบุคคล
                   -  บัตรประจำตัวของกรรมการ หรือผู้แทนนิติบุคคล
      2.  สำเนาโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ( น.ส.3   น.ส.3  ก.  น.ส. 3  ข. )
      3.  หลักฐานการได้มาของที่ดินที่ขออนุญาต
            -  สัญญาจะซื้อจะขาย
            -  สัญญาวางมัดจำ
            -  สัญญาซื้อขาย
      4. โครงการประกอบด้วย ชื่อผู้ขอทำการค้าที่ดิน ที่อยู่ หรือที่ตั้งของสำนักงานที่ดินที่ขอทำการค้าที่ดิน วิธีดำเนินการ การปรับปรุงที่ดิน
            การจัดให้มีสาธารณูปโภค การจัดให้มีบริการสาธารณะ วิธีการจำหน่าย และกำหนดการเริ่มต้นโครงการและเวลาสิ้นสุด
      5.  แผนผังของที่ดินที่จะขาย หรือแบ่งขาย และแผนผังสังเขปแสดงตำแหน่งของที่ดิน
      6.  ค่าธรรมเนียม
            -  ค่าคำขอรายละ  500  บาท
            -  ค่าอนุญาตไร่ละ  20  บาท เศษของไร่คิดเป็นหนึ่งไร่

ที่ดินที่จะออกโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้
1.  ที่ดินที่จะออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน
        คือ โฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์  (น.ส.3, น.ส. 3ก., น.ส. 3ข.)ได้ จะต้องเป็นที่ดินที่มีลักษณะตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง  ฉบับที่ 43  (พ.ศ. 2537) ข้อ 14 กล่าวคือ
•   จะต้องเป็นที่ดินที่ผู้มีสิทธิในที่ดินได้ครอบครองและทำประโยชน์แล้ว
•   ไม่เป็นที่ดินที่ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบที่ชายตลิ่ง ที่เลี้ยงสัตว์สาธารณประโยชน์
•   ไม่เป็นที่ดินซึ่งได้หวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่า อันเป็นสาธารณสมบัติ ของแผ่นดินพุทธศักราช  2478
•   ไม่เป็นที่ดินที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติสงวนและพัฒนาที่ดินเพื่อจัดให้แก่ประชาชน
•   ไม่เป็นที่ดินของรัฐที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติสงวนหรือหวงห้ามเพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน
•   ไม่เป็นที่ดินที่คณะรัฐมนตรีสงวนไว้เพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น 
2.  ที่ดินที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ จะออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินได้จะต้องอยู่ในเงื่อนไข ดังนี้
•   ที่เขา ที่ภูเขา และพื้นที่ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศหวงห้ามตาม มาตรา  9 (2)  แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
ผู้ครอบครองที่ดินจะต้องมีสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายที่ดิน
•   ที่เกาะ จะต้องมีหลักฐานการแจ้งการครอบครอง (ส.ค. 1 ) ใบจอง, ใบเหยียบย่ำ, น.ค. 3, ก.ส.น. 5  หรือเป็นที่ดินที่คณะกรรมการจัดที่ดิน    แห่งชาติได้อนุมัติให้จัดแก่ประชาชน หรือเป็นที่ดินซึ่งได้มีการจัดหาผลประโยชน์ตามมาตรา 10  และ  11  แห่งประมวลกฎหมายที่ดินโดย  คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติได้อนุมัติแล้ว
•   เขตป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติ พื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์ป่า พื้นที่ห้ามล่าสัตว์ป่า หรือพื้นที่ที่ได้จำแนกให้เป็นเขตป่าไม้ถาวร   จะต้องมีหลักฐานการแจ้งการครอบครอง (ส.ค. 1 ) หรือได้ออกใบจอง, ใบเหยียบย่ำ, ตราจอง ไว้ก่อนการสงวนหรือ    หวงห้ามที่ดิน
•   ที่ดินที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดินจะต้องมีหลักฐานการแจ้งการครอบครอง (ส.ค. 1), ใบแจ้งความประสงค์จะได้สิทธิในที่ดิน  ตามมาตรา  27  ตรี แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน หรือมีใบจอง, ใบเหยียบย่ำ หรือมีหลักฐาน น.ค. 3,  ก.ส.น. 5  ก่อนประกาศเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน
•   พื้นที่ที่มีความลาดชันโดยเฉลี่ยร้อยละ  35   ขึ้นไป ตามที่กำหนดไว้ในนโยบายป่าไม้ แห่งชาติ ผู้ครอบครองที่ดินจะต้องมีสิทธิครอบครองมาก่อน    การบังคับใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน  (ก่อน  1  ธันวาคม  2497)     หรือมีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย  เช่น มีหลักฐานการแจ้งการครอบครอง (ส.ค. 1)

การขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะราย
หลักฐานประกอบการขอออกโฉนดที่ดิน
          -  บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว  ชื่อสกุล (ถ้ามี)
          -  แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1)
          -  ใบรับแจ้งความประสงค์จะได้สิทธิในที่ดิน
          -  ใบจองหรือใบเหยียบย่ำ หรือตราจอง
          -  หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3, น.ส.3 ก.,น.ส.3 ข)     หรือใบสำคัญแสดงการนำที่ดินขึ้นทะเบียน   (แบบหมายเลข 3)
          -  ใบไต่สวนหรือใบนำ
          -  หนังสือแสดงการทำประโยชน์ ในกรณีที่ได้รับการจัดที่ดินในนิคมสร้างตนเองหรือสหกรณ์นิคม (น.ค.3 หรือ กสน.5)
          -  หลักฐานการเสียภาษีที่ดิน หรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง
 
___________________ ___________________ __
หลักฐานประกอบการขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์
          -  บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล (ถ้ามี)
          -  แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1)
          -  ใบรับแจ้งความประสงค์จะได้สิทธิในที่ดิน
          -  ใบจองหรือใบเหยียบย่ำ หรือตราจอง
          -  หนังสือแสดงการทำประโยชน์ ในกรณีที่ได้รับการจัดที่ดินในนิคมสร้างตนเองหรือสหกรณ์นิคม (น.ค.3 หรือ กสน.5)
          -  หลักฐานการเสียภาษีที่ดินหรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง
 
___________________ ___________________ __
ขั้นตอนการออกโฉนดที่ดินเฉพาะราย
1.   รับบัตรคิวจากประชาสัมพันธ์
2.   ชี้ระวางแผนที่
3.   รับคำขอ สอบสวน ชำระเงินค่าธรรมเนียม
4.   ฝ่ายรังวัดดำเนินการ นัดทำการรังวัด กำหนดตัวช่างรังวัด
5.   ค้นหารายชื่อเจ้าของที่ดินข้างเคียง และพิมพ์หมายข้างเคียง
6.   รับหมายแจ้งเจ้าของที่ดินข้างเคียง วางเงินมัดจำรังวัดรับหลักเขตที่ดิน
7.   ช่างรังวัดออกไปทำการรังวัด พิสูจน์สอบสวนการทำประโยชน์ที่ดิน
8.   คำนวณเนื้อที่ และเขียนรูปแผนที่โฉนดที่ดิน
9.   เจ้าพนักงานที่ดินประกาศการแจกโฉนดที่ดิน 30 วัน
10.   ประกาศแจกที่ดินให้ปิดในที่เปิดเผย ณ สำนักงานที่ดินท้องที่ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ หรือที่ว่าการกิ่งอำเภอท้องที่ ที่ทำการแขวงหรือที่ทำการกำนันท้องที่และในบริเวณที่ดินนั้นแห่งละหนึ่งฉบับ ในเขตเทศบาลให้ปิดไว้ ณ สำนักงานเทศบาลอีกหนึ่งฉบับ
11.   เสนอเรื่องขออนุมัติผู้ว่าราชการจังหวัด กรณีขอออกโฉนดที่ดินโดยมิได้แจ้งการครอบครอง
หรือกรณีเนื้อที่เกิน  50  ไร่ ตามมาตรา  59  ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
12.   ส่งเรื่องให้คณะกรรมการตามกฎกระทรวงฉบับที่  43  ตรวจสอบกรณีที่ดินอยู่ในเขตป่าไม้
13.   ประสานงานกับ ส.ป.ก.หรือผู้ปกครองนิคมฯ กรณีที่ดินอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินฯ นิคมสร้างตนเอง หรือสหกรณ์นิคม
14.   เสนอเจ้าพนักงานที่ดินลงนามออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ขอและแจ้งเจ้าของที่ดินมารับโฉนดที่ดิน
15.   แจกโฉนดที่ดินให้ผู้ขอ
 
___________________ ___________________ __
ขั้นตอนการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3, น.ส.3 ก., น.ส.3 ข)
1.   เจ้าของที่ดินนำเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ไปยื่นคำขอรังวัดออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์
2.   ชี้ตำแหน่งในระวางรูปถ่ายทางอากาศ ( ร.ว.10 ก ) พร้อมลงนามรับรอง
3.   ให้ถ้อยคำในการนัดรังวัด เพื่อ
-  กำหนดวันทำการพิสูจน์
-  กำหนดเงินค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียม
-  กำหนดสถานที่นัดพบ
4.   รับเจ้าหน้าที่ไปทำการพิสูจน์ตรวจสอบและปักหลัก จนเสร็จการ
5.   ลงนามในเอกสารต่าง ๆ
6.   รอรับหนังสือแจ้งให้ไปรับประกาศไปปิดประกาศ และนำหางประกาศมาคืนเจ้าหน้าที่
7.   รอรับหนังสือแจ้งให้ไปรับหนังสือรับรองการทำประโยชน์

ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย
ค่าธรรมเนียม
ค่าคำขอแปลงละ    5    บาท
ค่าประกาศแปลงละ    10  บาท
ค่าธรรมเนียมรังวัดเกี่ยวกับโฉนดที่ดินแปลงละ   40  บาท
ค่าธรรมเนียมการพิสูจน์สอบสวนเกี่ยวกับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แปลงละ    30  บาท
ค่าหลักเขตที่ดิน หลักละ    15  บาท
ค่าธรรมเนียมออกโฉนดที่ดิน 
     - ที่ดินเนื้อที่ไม่เกิน  20  ไร่ แปลงละ   50  บาท
     - ที่ดินเนื้อที่เกิน  20  ไร่ ส่วนที่เกินไร่  แปลงละ
         เศษของไร่ให้คิดเป็นหนึ่งไร่   2    บาท 
 
ค่าธรรมเนียมออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์
     - ที่ดินเนื้อที่ไม่เกิน  20  ไร่ แปลงละ   30  บาท
     - ที่ดินเนื้อที่เกิน  20  ไร่ ส่วนที่เกินไร่ แปลงละ         เศษของไร่ให้คิดเป็นหนึ่งไร่
   

 ค่าใช้จ่าย
-  ค่าพาหนะเดินทางให้แก่เจ้าพนักงาน พนักงานเจ้าหน้าที่และคนงาน ให้จ่ายเท่าที่จำเป็น และใช้จ่ายไปจริง
-  ค่าเบี้ยเลี้ยง ให้แก่เจ้าพนักงาน พนักงานเจ้าหน้าที่และค่าจ้างคนงาน ให้จ่ายเท่าที่จำเป็นตามระเบียบของทางราชการ    เท่าอัตราของทางราชการ
-  ค่าป่วยการให้แก่พนักงานผู้ปกครองท้องที่หรือผู้แทนที่ไปในการรังวัดคนหนึ่งวันละ  50  บาท
-  ค่าปิดประกาศให้แก่ผู้ปิดประกาศ แปลงละ  10  บาท

การออกโฉนดที่ดินตามโครงการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน
การออกโฉนดที่ดินตามโครงการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน    ดำเนินการได้ 2 วิธี คือ
•   การเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินที่มีการรังวัดปักหลักเขต (ตามมาตรา   58 และ   58 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน)
•   การเปลี่ยน น.ส. 3 ก. เป็นโฉนดที่ดิน
1. การเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินที่มีการรังวัดปักหลักเขต  (ตามมาตรา   58 และ   58 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน)
           การออกโฉนดที่ดินวิธีนี้ เป็นการออกโฉนดที่ดินที่กรมที่ดินส่งเจ้าหน้าที่จากกองหนังสือสำคัญ กรมที่ดิน ไปทำการเดินสำรวจเป็นหมู่บ้านหรือตำบล โดยประชาชนไม่ต้องมายื่นคำขอ โดยเจ้าของที่ดินหรือตัวแทนจะต้องนำพนักงานเจ้าหน้าที่ทำการรังวัดและปักหลักเขตเจ้าหน้าที่จะทำการสอบสวนสิทธิในที่ดิน พร้อมทั้งให้ลงชื่อในเอกสารการสอบสวน และลงชื่อรับรองเขตที่ดินข้างเคียง (กรณีที่ดินข้างเคียงออกโฉนดที่ดินในคราวเดียวกัน)    การเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินที่มีการรังวัดปักหลักเขต มี    2 ประเภทคือ
        1.1 การเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินโดยการสร้างระวางแผนที่ หรือเรียกว่า "การเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินภาคพื้นดิน" จะดำเนินการในพื้นที่หมู่บ้าน หรือพื้นที่ที่มีสิ่งปกคลุม เช่น ที่สวน ที่ไร่ ซึ่งไม่เห็นรายละเอียดในระวางแผนที่รูปถ่ายทางอากาศ
        1.2 การเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินโดยใช้ระวางแผนที่รูปถ่ายทางอากาศ เป็นการออกโฉนดที่ดินที่คล้ายกับข้อ   1.1 แต่ไม่ได้สร้างระวางแผนที่ โดยเจ้าหน้าที่จะนำระวางแผนที่รูปถ่ายทางอากาศไปทำการหมายหลักเขตและตำแหน่งที่ดินไว้ในระวางแผนที่ซึ่งจะดำเนินการในพื้นที่โล่ง เช่นที่นา
 
2. การเปลี่ยน น.ส. 3 ก. เป็นโฉนดที่ดิน
           เป็นการออกโฉนดที่ดินที่ไม่ต้องมีการรังวัดปักหลักเขต โดยจะดำเนินการเฉพาะที่ดินที่เป็นที่นา และมีหลักฐาน น.ส. 3 ก. เท่านั้นการออกโฉนดที่ดินวิธีนี้ เจ้าของที่ดินไม่ต้องมานำเดินสำรวจ พนักงานเจ้าหน้าที่จะทำการเปลี่ยน น.ส. 3 ก. ให้เป็นโฉนดที่ดินตามหลักวิชาแผนที่ โดยทำการออกโฉนดที่ดินตามชื่อที่ปรากฏใน น.ส. 3 ก. เมื่อดำเนินการเสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่จะประกาศกำหนดวันแจกโฉนดที่ดิน ซึ่งมีผลให้ น.ส. 3 ก. ถูกยกเลิกตั้งแต่วันกำหนดแจกโฉนดที่ดิน ผู้มีชื่อโฉนด/ทายาดต้องมารับโฉนดที่ดิน
 
3. ขั้นตอนการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินที่มีการรังวัดปักหลักเขต
1.   เจ้าหน้าที่จะไปประชุมนัดหมายการรังวัดและสอบสวนสิทธิ
2.   เจ้าของที่ดินไม่ต้องมายื่นคำขอ แต่ต้องเตรียมการดังนี้
o   นำหลักเขตไปปักตามมุมเขตที่ดินของตน
o   นำเจ้าหน้าที่เดินสำรวจฯ เพื่อทำการรังวัด
o   เตรียมเอกสารมอบให้เจ้าหน้าที่ เช่น หนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน (ส.ค. 1 น.ส.3. น.ส.3 ก. หรือ น.ส. 3 ข. (เป็นต้น) สำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน
o   ให้ถ้อยคำต่อเจ้าหน้าที่ และลงชื่อในแบบสอบถามการออกโฉนดที่ดิน
3.   เจ้าหน้าที่จะดำเนินการเป็นกลุ่มหมู่บ้านและตำบล และประกาศแจกโฉนดที่ดิน 30 วัน
4.   ประกาศแจกที่ดินให้ปิดในที่เปิดเผย ณ สำนักงานที่ดินท้องที่ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ หรือที่ว่าการกิ่งอำเภอท้องที่ 
ที่ทำการแขวงหรือที่ทำการกำนันท้องที่และในบริเวณที่ดินนั้นแห่งละหนึ่งฉบับ ในเขตเทศบาลให้ปิดไว้ ณ สำนักงานเทศบาลอีกหนึ่งฉบับ
5.   เจ้าหน้าที่นัดหมายการแจกโฉนดที่ดิน

4. ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการออกโฉนดที่ดินตามโครงการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน
•   การออกโฉนดที่ดินที่มีการรังวัดปักหลักเขต
- ค่าธรรมเนียมออกโฉนดที่ดิน เนื้อที่ไม่เกิน 20 ไร่ แปลงละ   50 บาท
   (เนื้อที่เกิน 20  ไร่ ส่วนที่เกิน ไร่ละ 2  บาท(เศษของไร่คิดเป็นหนึ่งไร่))   
- ค่าหลักเขตเหมาจ่าย แปลงละ(ไม่ว่าจะใช้หลักเขตกี่หลักก็ตาม)   60 บาท
- ค่ามอบอำนาจ หากมี จะต้องเสียค่ามอบอำนาจเพิ่มเรื่องละ   20 บาท
   อากรปิดในหนังสือมอบอำนาจเรื่องละ   30 บาท
•   การออกโฉนดที่ดินโดยวิธีการเปลี่ยน น.ส. 3 ก. เป็นโฉนดที่ดิน ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น

การขอออกใบแทนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน
     หลักฐานประกอบการขอออกใบแทน
                   1. กรณีโฉนดที่ดินชำรุด ถ้ามีหลักฐานตรวจสอบได้  คือ  มีตำแหน่งที่ดิน เลขที่โฉนดที่ดิน ชื่อและตราประจำตำแหน่งของผู้ว่าราชการจังหวัด และ/หรือชื่อและตราประจำตำแห น่ง ของเจ้าพนักงานที่ดินตามลักษณะของแบบโฉนดที่ดิน
                   2. กรณีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ชำรุด การตรวจสอบหลักฐานให้อนุโลมตามข้อ 1
 กรณีตามข้อ 1  และข้อ 2  จะต้องมีหลักฐานประกอบ คือ
                          - โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ชำรุด
                          - บัตรประจำตัวผู้ขอ
                          - ทะเบียนบ้าน
                          - หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล (ถ้ามี)
                   3. กรณีโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นอันตรายสูญหายหรือชำรุดไม่สามารถตรวจสอบ หลักฐานได้  นอกจากมีหลักฐานดังกล่าวข้างต้นแล้วจะต้องดำเนินการและมีหลักฐา นดังนี้ด้วย
                          3.1  ต้องนำพยานที่เชื่อถือได้และ/หรือรู้เห็นการสูญหายของโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์อย่างน้อย 2  คนไปให้เจ้าหน้าที่สอบสวนและพยานต้องนำบัตรประจำตัวไปแสดงด้วย
                          3.2  กรณีสูญหาย เนื่องจากการกระทำความผิดทางอาญา ให้นำหลักฐานการแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนไปประกอบคำขอด้วย
                          3.3  ถ้าเป็นกรณีศาลสั่งหรือเจ้าพนักงานตามกฎหมายขอให้ออกใบแทนให้นำคำสั่งหรือคำพิพากษาอันถึงที่สุด หรือหนังสือร้องขอไปด้วย
     ขั้นตอนการขอออกใบแทน 
1.   รับบัตรคิวจากประชาสัมพันธ์
2.   เจ้าหน้าที่รับคำขอและสอบสวน
3.   ตรวจสอบหลักฐาน ตรวจหนังสือมอบอำนาจ และพิจารณาสั่งการ
4.   ลงบัญชีรับทำการ
5.   ตรวจอายัด
6.   เขียนใบสั่ง ใบเสร็จและรับเงินค่าธรรมเนียมคำขอ
7.   พิมพ์ประกาศ กรณีโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นอันตรายหรือสูญหาย
8.   เจ้าของที่ดินรับประกาศและนำเจ้าหน้าที่ไปปิดประกาศ
9.   ประกาศแจกที่ดินให้ปิดในที่เปิดเผย ณ สำนักงานที่ดินท้องที่ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ หรือที่ว่าการกิ่งอำเภอท้องที่ ที่ทำการแขวงหรือที่ทำการกำนันท้องที่และในบริเวณที่ดินนั้นแห่งละหนึ่งฉบับ ในเขตเทศบาลให้ปิดไว้ ณ สำนักงานเทศบาลอีกหนึ่งฉบับ
10.   ประกาศครบกำหนด 30 วัน ไม่มีผู้โต้แย้งคัดค้าน เบิกแบบพิมพ์ดำเนินการสร้างใบแทน
11.   เสนอเจ้าพนักงานที่ดินพิจารณาลงนามในใบแทน และแจ้งเจ้าของที่ดินมารับใบแทน
12.   แจกใบแทนให้เจ้าของที่ดิน
     ค่าธรรมเนียมการออกใบแทน
1.   ค่าคำขอแปลงละ 5 บาท
2.   ค่าประกาศแปลงละ 10 บาท (กรณีที่ต้องมีการประกาศ)
3.   ค่าปิดประกาศให้แก่ผู้ปิดประกาศ แปลงละ 10 บาท
4.   ค่าออกใบแทนโฉนดที่ดินฉบับละ 50 บาท
5.   ค่าออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ฉบับละ 50 บาท
6.   ค่ามอบอำนาจ กรณีที่มีการมอบอำนาจ เรื่องละ 20 บาท
7.   ค่าอากรแสตมป์ปิดใบมอบอำนาจ ฉบับละ 30 บาท
8.   ค่าคำขอแปลงละ 5 บาท
9.   ค่าประกาศแปลงละ 10 บาท (กรณีที่ต้องมีการประกาศ)
10.   ค่าปิดประกาศให้แก่ผู้ปิดประกาศ แปลงละ 10 บาท
11.   ค่าออกใบแทนโฉนดที่ดินฉบับละ 50 บาท
12.   ค่าออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ฉบับละ 50 บาท
13.   ค่ามอบอำนาจ กรณีที่มีการมอบอำนาจ เรื่องละ 20 บาท
14.   ค่าอากรแสตมป์ปิดใบมอบอำนาจ ฉบับละ 30 บาท

  "ที่สาธารณประโยชน์"  ห มายถึงที่ดินที่ทางราชการได้จัดให้หรือสงวนไว้เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน ์ร่วมกันตามสภาพแห่งพื้นที่นั้น หรือที่ดินที่ประชาชนได้ใช้หรือเคยใช้ประโยชน์ร่วมกันมาก่อนไม่ว่าปัจจุบันจ ะยังใช้อยู่หรือเลิกใช้แล้วก็ตาม เช่น ที่ทำเลเลี้ยงสัตว์ ป่าช้าฝังและเผาศพ ห้วย หนอง ที่ชายตลิ่ง ทางหลวง ทะเลสาบเป็นต้น ตามกฎหมายถือว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ผู้ใดจะเข้ายึดถือครอบครองเพื่อประโยชน์แต่เฉพาะตนนั้นไม่ได้เว้นแต่จะได้รั บอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามที่ระเบียบและกฎหมายกำหนดไว้ หากฝ่าฝืนจะมีความผิดและได้รับโทษตามประมวลกฎหมายที่ดินหรือกฎหมายอื่นที่กำ หนดไว้โดยเฉพาะ
                  พนักงานเจ้าหน้าที่จะอนุญาตให้บุคคลได้ใช้ประโยชน์ในที่สาธารณะเพื่อประโยชน์แห่งตนได้ ก็เฉพาะกรณีที่มีระเบียบและกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะเท่านั้นเช่น  การอนุญาตขุดดินลูกรังหรือการอนุญาตดูดทราย  เป็นต้น
 
การรังวัดเพื่อออกหนังสือสำหรับที่หลวง
                        การรังวัดเพื่อออกหนังสือสำหรับที่หลวง มีวัตถุประสงค์พอสรุปได้ 5 ประการ คือ
1.   เพื่อกำหนดขอบเขตหรือแนวเขต ปักหลักเขตที่ดิน ปักหลักเขตที่สาธารณประโยชน์ และปักแผ่นป้ายชื่อที่สาธารณประโยชน์
2.   เพื่อให้ทราบตำแหน่งที่ตั้ง ขนาดรูปร่าง และเนื้อที่ดินที่ถูกต้องของที่สาธารณประโยชน์ต่าง ๆ
3.   เพื่อป้องกันการบุกรุก เข้าทำประโยชน์โดยไม่ถูกกฎหมายและลดข้อพิพาทเรื่องแนวเขตที่ดิน
4.   เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการคุ้มครอง และดูแลรักษาให้คงอยู่เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมตลอด โดยมุ่งหวังให้ประชาชนเกิดความสำนึกใน การช่วยดูแลรักษาที่สาธารณประโยชน์
5.   เพื่อออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงไว้เป็นหลักฐาน
 
ประชาชนกับการมีส่วนร่วมในการรังวัดออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง
             การรังวัดออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงให้ถูกต้อง ตามสภาพและขอบเขตที่แท้จริงตรงตามวัตถุประสงค์ และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยรวม จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชนในท้องที่ ช่วยให้ข้อมูลและอำนวยความสะดวกต่อการรังวัด ได้แก่
•   ระวังชี้แนวเขตที่ดินข้างเคียงที่มีแนวเขตติดต่อกับที่สาธารณประโยชน์อย่างถูกต้อง ไม่นำรังวัดรุกล้ำที่สาธารณประโยชน์
•   ใ ห้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการใช้ประโยชน์ ขอบเขต และแนวเขตที่สาธารณประโยชน์ที่ถูกต้องและข้อมูลเกี่ยวกับการบุกรุกเข้าทำประ โยชน์ หรือการลุกล้ำแนวเขตที่สาธารณประโยชน์
•   สอดส่องดูแลไม่ให้เกิดการทุจริต เพื่อหาประโยชน์จากที่สาธารณประโยชน์ของเจ้าหน้าที่หรือผู้ไม่หวังดี
•   ให้ข้อคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการป้องกันดูแลรักษา และยุติข้อพิพาทต่าง ๆ ตามโอกาสและความเหมาะสม
"ที่สาธารณประโยชน์"  ห มายถึงที่ดินที่ทางราชการได้จัดให้หรือสงวนไว้เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน ์ร่วมกันตามสภาพแห่งพื้นที่นั้น หรือที่ดินที่ประชาชนได้ใช้หรือเคยใช้ประโยชน์ร่วมกันมาก่อนไม่ว่าปัจจุบันจ ะยังใช้อยู่หรือเลิกใช้แล้วก็ตาม เช่น ที่ทำเลเลี้ยงสัตว์ ป่าช้าฝังและเผาศพ ห้วย หนอง ที่ชายตลิ่ง ทางหลวง ทะเลสาบเป็นต้น ตามกฎหมายถือว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ผู้ใดจะเข้ายึดถือครอบครองเพื่อประโยชน์แต่เฉพาะตนนั้นไม่ได้เว้นแต่จะได้รั บอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามที่ระเบียบและกฎหมายกำหนดไว้ หากฝ่าฝืนจะมีความผิดและได้รับโทษตามประมวลกฎหมายที่ดินหรือกฎหมายอื่นที่กำ หนดไว้โดยเฉพาะ
                  พนักงานเจ้าหน้าที่จะอนุญาตให้บุคคลได้ใช้ประโยชน์ในที่สาธารณะเพื่อประโยชน์แห่งตนได้ ก็เฉพาะกรณีที่มีระเบียบและกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะเท่านั้นเช่น  การอนุญาตขุดดินลูกรังหรือการอนุญาตดูดทราย  เป็นต้น
 
การรังวัดเพื่อออกหนังสือสำหรับที่หลวง
                        การรังวัดเพื่อออกหนังสือสำหรับที่หลวง มีวัตถุประสงค์พอสรุปได้ 5 ประการ คือ
1.   เพื่อกำหนดขอบเขตหรือแนวเขต ปักหลักเขตที่ดิน ปักหลักเขตที่สาธารณประโยชน์ และปักแผ่นป้ายชื่อที่สาธารณประโยชน์
2.   เพื่อให้ทราบตำแหน่งที่ตั้ง ขนาดรูปร่าง และเนื้อที่ดินที่ถูกต้องของที่สาธารณประโยชน์ต่าง ๆ
3.   เพื่อป้องกันการบุกรุก เข้าทำประโยชน์โดยไม่ถูกกฎหมายและลดข้อพิพาทเรื่องแนวเขตที่ดิน
4.   เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการคุ้มครอง และดูแลรักษาให้คงอยู่เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมตลอด โดยมุ่งหวังให้ประชาชนเกิดความสำนึกใน การช่วยดูแลรักษาที่สาธารณประโยชน์
5.   เพื่อออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงไว้เป็นหลักฐาน
 
ประชาชนกับการมีส่วนร่วมในการรังวัดออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง
             การรังวัดออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงให้ถูกต้อง ตามสภาพและขอบเขตที่แท้จริงตรงตามวัตถุประสงค์ และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยรวม จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชนในท้องที่ ช่วยให้ข้อมูลและอำนวยความสะดวกต่อการรังวัด ได้แก่
•   ระวังชี้แนวเขตที่ดินข้างเคียงที่มีแนวเขตติดต่อกับที่สาธารณประโยชน์อย่างถูกต้อง ไม่นำรังวัดรุกล้ำที่สาธารณประโยชน์
•   ใ ห้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการใช้ประโยชน์ ขอบเขต และแนวเขตที่สาธารณประโยชน์ที่ถูกต้องและข้อมูลเกี่ยวกับการบุกรุกเข้าทำประ โยชน์ หรือการลุกล้ำแนวเขตที่สาธารณประโยชน์
•   สอดส่องดูแลไม่ให้เกิดการทุจริต เพื่อหาประโยชน์จากที่สาธารณประโยชน์ของเจ้าหน้าที่หรือผู้ไม่หวังดี
•   ให้ข้อคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการป้องกันดูแลรักษา และยุติข้อพิพาทต่าง ๆ ตามโอกาสและความเหมาะสม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!