สาคู ประโยชน์มากหลาย
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
เมษายน 26, 2024, 11:08:31 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สาคู ประโยชน์มากหลาย  (อ่าน 5316 ครั้ง)
แวมไพร์-LSVteam♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน912
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3712


..เรียนให้รู้เป็นครูเขา.Learning by doing


« เมื่อ: มีนาคม 14, 2008, 07:04:32 AM »

สาคู ประโยชน์มากหลาย





สาคูเป็นพืชที่มีอายุอยู่ได้หลายฤดูฝน ลักษณะใบคล้ายใบคล้า ต้นคล้ายต้นขิง สูง 60-180 ซม. ขึ้นอยู่เป็นกอ หัวเล็กยาว แผ่กว้างลึก อีกชนิดหนึ่งต้นและใบคล้ายพุทธรักษา หัวสั้นใหญ่ มีหัวน้อยอยู่ไม่ลึกอยู่ในตระกูลแมรันเตซี (Marantaceae) เป็นพืชเนื้ออ่อนมีอายุอยู่ได้ปลายฤดู มีหัวซึ่งเกิดจากลำต้นใต้ดินโดยหัวขยายตัวอยู่ใต้ระดับดิน หัวใหญ่ กลม ยาว ขนาดของหัว 2.5 ซม. ยาว 20-45 ซม. ใบเป็นชนิด แลนซิโอเลต (lanceolate) เหมือนใบคล้า ดอกสีขาว เป็นช่อแฝด เมล็ดสีแดงแต่ไม่ค่อยติดเมล็ด



แหล่งที่ปลูกสาคูมาก ได้แก่ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เช่น จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น เป็นต้น เมื่อแบ่งตามลักษณะของหัวจะมีอยู่ 2 ชนิด ชนิดหัวเล็กยาว แผ่กว้างและหยั่งลงในดินลึกเรียวเครโอล (creole) ชนิดหัวสั้นใหญ่ หัวไม่มาก หัวอยู่ไม่ลึก เรียกแบนานา (banana) ความจริงแล้วพืชที่มีชื่อภาษาอังกฤษว่า แอร์โรว์รูต ที่จัดเป็นพืชหัวยังมีอีก 2   ชนิด ชนิดแรกได้แก่ ควีนส์แลนด์ แอร์โรว์รูต (Queensland arrowroot) และมีชื่ออื่นอีก คือ ออสเตรเลียน แอร์โรว์รูต (Australian arrowroot) เอดิเบิล แคนนา (edible canna) เพอร์เพิล แอร์โรว์รูต (purple arrowroot) ไทยเราเรียกว่า  “สาคูจีน” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า แคนนา เอดูลิส (Canna edulis) เคอร์-กัล (Ker-Gawl) อยู่ในตระกูล แคนนาซีน (Cannacean)  เป็นพืชพวกเดียวกับพุทธรักษา มีลักษณะต้น ใบเหมือนพุทธรักษา แต่ดอกเล็กกว่า หัวคล้ายหัวข่า รับประทานได้เหมือนสาคูธรรมดาที่กล่าวข้างต้น



นอกจากสาคูที่กล่าวถึงข้างต้นแล้ว ยังมีสาคูอีกชนิดหนึ่งได้แก่ อีสต์ อินเดียน แอร์โรว์ รูต (East Indian arrowroot) มีชื่ออื่นอีก เช่น โพลิเนเชียน แอร์โรว์รูต (Polynesian arrowroot) ทัคคา (tacca) ฯลฯ ไทยเรียกว่า  “สาคูจีน” มี   ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ทัคคา เลออนโทเพทาลอยด์ แอล คุนทซ์ 9 Tacca leontopetaloides  (L) Kuntze) อยู่ในตระกูลทัค คาซี (Taccaceae)



สาคูขึ้นได้ในที่ที่มีฝน 1,500-2,000 มม. จึงควรปลูก   ในเวลาที่มีน้ำหรือสามารถให้น้ำ  ได้เพียงพอตลอดอายุการเจริญเติบโต สาคูชอบอากาศร้อนและชื้น ฤดูปลูกที่เหมาะสม ได้แก่ ฤดูฝน การปลูกและการเตรียมที่ สาคูชอบที่ที่มีการระบายน้ำดี ดินเป็นกรดน้อย ๆ ร่วนและลึก สามารถขึ้นได้ดีตั้งแต่ระดับน้ำทะเล จนถึงความสูงประมาณ 900 เมตร เตรียมดินโดยไถและพรวนดินให้ร่วนขุดหลุมลึก 10-15 ซม. ระยะหลุมห่างกัน 35-40 ซม. ปลูกเป็นแถวระยะระหว่างแถวประมาณ 75 ซม. โดยทั่วไปปลูกจากหัว โดยตัดเป็นท่อนสั้น ๆ ยาวประมาณ 5 ซม. บางทีก็รมควันหัวเสียก่อนเพื่อให้งอกเร็วขึ้น บางครั้งก็ปลูกด้วยหน่อ บางรายขุดเก็บหัวสาคูจากต้นแก่เท่านั้น ทิ้งต้นอ่อนที่เกิดจากหน่อให้เติบโตต่อไป ไม่ต้องปลูกใหม่ เริ่มปลูกเมื่อต้นฤดูฝน วางหัวที่เตรียมไว้ในหลุม ความลึกของหลุมประมาณ 10-15 ซม. กลบด้วยดิน ถ้าใช้ระยะปลูก 75-80 ซม. หัวที่ใช้เป็นพันธุ์ปลูกจะต้องมีน้ำหนักประมาณ 480-560 กก./ไร่
 
สาคูมีอายุประมาณ 10-11 เดือน สังเกตได้โดยใบเริ่มเหี่ยวตาย จึงเก็บโดยขุดและเก็บด้วยมือ ตัดแยกหัวออกจากต้นและใบ ผลผลิตของหัวสาคูมีประมาณ 2,000 กก./ไร่ เมื่อขุดขึ้นจากดินแล้ว จะเก็บหัวไว้ได้ไม่นาน จะต้องใช้ภายใน  2-7 วัน แป้งสาคูนับเป็นคาร์โบไฮเดรตที่บริสุทธิ์ ที่สุดในบรรดาคาร์โบไฮเดรตที่ได้จากธรรมชาติและ   มีความเหนียวสูงสุด การวิเคราะห์หัวสาคูประเภท “เครโอล” ประกอบด้วยความชื้นร้อยละ 69.1 เถ้าร้อยละ 1.4 ไขมันร้อยละ 0.1 เส้นใยร้อยละ 1.3 โปรตีนร้อยละ 1.0 แป้งร้อยละ 21.7 สำหรับหัวสาคูประเภท “แบนานา” ประกอบด้วยความชื้นร้อยละ 72.0 เถ้าร้อยละ 1.3 ไขมันร้อยละ 0.1 เส้นใยร้อยละ 0.6 โปรตีนร้อยละ 2.2 แป้งร้อยละ 19.4 แป้งสาคูประกอบด้วยเม็ดยาวรี ยาวประมาณ 15-70 ไมครอน




พวก แบนานา มีเม็ดแป้งใหญ่กว่าพวกเครโอล เล็กน้อย ส่วนใหญ่ใช้หัวทำแป้ง ซึ่งเป็นแป้งที่ย่อยง่ายมาก ส่งออกสู่ตลาดเป็นแป้งผง สีขาว เรียก “แป้งสาคู” นิยมใช้เป็นอาหารทารก และทำอาหารอย่างอื่น เช่น ขนมปัง ขนมต่าง ๆ แพทย์ให้คนป่วยด้วยโรค  ลำไส้รับประทานแป้งสาคู นอกจากนี้เราใช้แป้งสาคูทำ “ผงแบเรียม” (barium meals) และใช้ในอุตสาหกรรมยา ทำแป้งผัดหน้า ทำกาวและทำกระดาษที่ใช้กับคอม พิวเตอร์ หัวสาคูใช้เป็นอาหาร โดยต้มหรือเผาเสียก่อน หัวสดนำมาโม่จะได้แป้งสาคูใช้ทำขนม       ได้ดี
 
ใบและต้นสาคูใช้ในการบรรจุหีบห่อได้ กากที่เหลือจากการทำแป้งแล้วใช้เป็นอาหารสัตว์และทำปุ๋ย คนไทยต้มหรือนึ่งสาคูรับประทานเป็นของหวาน แต่ปริมาณสาคูที่ใช้เป็นของหวานมีไม่มากนัก.


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!