ปราสาทเขาพระวิหาร โบราณสถานมรดกวัฒนธรรม
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
พฤษภาคม 01, 2024, 07:35:52 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ปราสาทเขาพระวิหาร โบราณสถานมรดกวัฒนธรรม  (อ่าน 3367 ครั้ง)
แวมไพร์-LSVteam♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน912
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3712


..เรียนให้รู้เป็นครูเขา.Learning by doing


« เมื่อ: มีนาคม 12, 2008, 07:03:55 AM »

ปราสาทเขาพระวิหาร โบราณสถานมรดกวัฒนธรรม





นอกจากเป็นจุดหมายปลายทางของนักเดินทางที่หลงใหลสนใจในประวัติศาสตร์ศิลปะ เขาพระวิหาร สถานที่นี้ยังเป็นมรดกสำคัญทางวัฒนธรรมเป็นแหล่งรวบรวมความรู้หลากแขนงทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม โบราณคดี ฯลฯ อีกแห่งหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
 
เขาพระวิหารเป็นเขาสูงยอดหนึ่งตั้งอยู่ในแนวเทือกเขาพนมดงรัก เทือกเขานี้กั้นพรม แดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา บนเขาพระวิหารมีปราสาทหินขนาดใหญ่ที่มีความงามทั้งในรูปแบบ แผนผัง โครงสร้างทางสถาปัตยกรรม รวมทั้งลวดลายจำหลัก ฯลฯ
 
ในความโดดเด่นเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่กล่าวขาน เขมชาติ เทพไชย รองอธิบดีกรมศิลปากรให้ความรู้เล่าว่า ปราสาทหินแห่งนี้เป็นเทวสถาน     ที่รู้จักและเรียกกันทั่วไปว่า ปราสาทพระวิหาร หรือปราสาทเขาพระวิหาร โบราณสถานปราสาทพระวิหาร สถานที่นี้เป็นศาสนสถานแบบขอม สร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายแด่พระอิศวร    ดังปรากฏในศิลาจารึกซึ่งค้น  พบที่ปราสาทโดยเรียกเทวาลัยว่า ศรีศิขรีศวร แปลได้ว่าเจ้า  แห่งภูเขาสถานที่นี้ที่เป็นที่   กล่าวขาน ในความน่าสนใจนอกจากบอกเล่าประวัติศาสตร์ ปราสาทพระวิหารยังแสดงให้เห็นถึงการก่อสร้าง องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่มีความ   โดดเด่น
 
ปราสาทพระวิหารหันหน้าไปทางทิศเหนือประกอบด้วยบันได ทางเดิน ประตูซุ้มหรือโคปุระ ตลอดจนอาคารที่สร้างเป็นระยะทางบนลานหินต่างระดับ โดยปราสาทประธานตั้งอยู่บนสุดซึ่งจากเชิงเขาทาง ทิศเหนือไปยังยอดเขาทางทิศใต้มีความยาวกว่า 800 เมตร
 
สิ่งก่อสร้างที่ปราสาท พระวิหารมีความหมายต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ อย่างจากจารึกที่ปราสาทพระวิหารที่ได้มีการศึกษาอ่าน แปลและพิมพ์เผยแพร่ทำให้สันนิษฐานได้ว่าปราสาทที่ปรากฏมีการสร้าง   การบูรณปฏิสังขรณ์และสร้าง  เพิ่มเติม
 
“จารึกที่จารด้วยอักษรขอมโบราณ ภาษาสันสกฤตและเขมร ในจารึกหลักที่ 1   ระบุปี พ.ศ. 1580 ตรงกับสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ส่วนหลักที่สอง ตรงกับสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ระบุปี พ.ศ. 1664 ซึ่งไม่เพียงทำให้ทราบว่าไม่ได้สร้างเสร็จเพียงครั้งเดียว แต่ในจารึกยังแสดงให้เห็นว่าปีไหนเป็นการสร้างเพื่ออะไร”
 
นอกจากความหมายความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ในความงามของศิลปะสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่ปรากฏยังบอกเล่าถึงความเป็นโบราณสถานเขาพระวิหาร อย่างบันไดศิลาด้านหน้า จุดเริ่มต้นของปราสาทพระวิหารตั้งต้นจากลาดเขาทางทิศเหนือจำนวนร้อยกว่าขั้น บางขั้นสกัดลงบนหินพื้นหินภูเขาธรรมชาติ เหนือบันไดใหญ่ทำเป็นบันไดเล็กซึ่งสองข้างบันไดทำเป็นแท่นสำหรับตั้งรูปสิงห์ทวารบาล




ลานนาคราช ทางเดินที่ปูด้วยแผ่นศิลาขนาดใหญ่มุ่งตรงไปยังประตูซุ้มชั้นแรก สองข้างทางทำเป็นรูปพญานาคกำลังชูเศียรหันไปทางทิศเหนือซึ่งเศียรพญานาคเป็นที่นิยมในแบบศิลปะเขมรแบบบาปวน นอกจากนี้ยังมีประตูซุ้ม (โคปุระ) ต่าง ๆ ที่งดงามด้วยลวดลายจำหลักและรูปแบบการสร้าง
 
“เอกลักษณ์ความพิเศษของเขาพระวิหารมีทั้งในรูปแบบแผนผัง โครงสร้างทางสถาปัตยกรรม รวมทั้งการจำหลัก อย่างแผนผังมีความโดดเด่นทอดยาว มีโคปุระ สะพานนาค เสาเรียง ภาพ  จำหลัก ฯลฯ ซึ่งมีความสวยงาม มีความหลากหลาย อย่างประตูซุ้มชั้นที่ 2 มีขนาดความกว้างกว่าประตูชั้นแรก สร้างเป็นแผนผังรูปกากบาทมีมุข ทั้ง 4 หน้าบันและทับหลังประตูจำหลักภาพลวดลายซึ่งแต่ละซุ้มประตูจะมีภาพจำหลักงดงามหลายรูปแบบ”
 
ส่วนเทวาลัยหรือปราสาทประธาน ตามที่มีการศึกษาอธิบายให้เห็นว่าจากห้องใหญ่ทางด้านทิศเหนือซึ่งเชื่อมต่อกับระเบียงคดที่ล้อมรอบเทวาลัย ระเบียงเป็นรูปสี่เหลี่ยมมีผนังทึบอยู่ด้านนอก เจาะเป็นช่องประตูเฉพาะด้านทิศตะวันออกและ  ทิศตะวันตก ผนังด้านในของระเบียงเจาะเป็นช่องหน้าต่างหลายช่อง หลังคามุงด้วยศิลาทรายทั้งหมด และจากสิ่งก่อสร้างที่ปราสาทพระวิหาร




มีหลักฐานแสดงถึงวิวัฒนาการของเทคนิคการมุงหลังคาซึ่งมุงด้วยเครื่องไม้มาก่อน จากนั้นมุงด้วยอิฐและหิน
 
ขณะที่ภายในระเบียงคดมีลานตรงกลางเป็นที่ตั้งของเทวาลัยหรือปราสาทประธาน มีมุขยื่นออกไปทางทิศเหนือซึ่งเดิมคงมีศิวลึงค์ประดิษฐานอยู่ภายใน ซึ่งตัวปราสาทหักพังลงมาแล้ว คงเหลือแต่มุขด้านหน้าซึ่งมี ภาพสลักหน้าบันเป็นรูปพระ  ศิวนาฎราช
 
ภายนอกระเบียงคดทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก  มีอาคารขนาดใหญ่อีกสองหลัง ทิศตะวันออกเป็นอาคารสำหรับผู้มาเคารพบูชาเทวาลัย ขณะที่อาคารทางทิศตะวันตกอาจจะเป็นอาคารสำหรับนางฟ้อนรำประจำเทวาลัย ฯลฯ และส่วนหนึ่งนี้ คือ โบราณสถานที่มีความหมายความสำคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ 
 
เขาพระวิหารซึ่งมีโบราณสถานเก่าแก่แห่งนี้ที่ตั้งอยู่ชายแดนไทย-กัมพูชาด้านอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ  ยังคงเป็นจุดหมายของการเดินทางศึกษาศิลปะประวัติศาสตร์มรดกทางวัฒนธรรมของ มนุษยชาติ
 
และจากที่ได้รับรู้กันอย่าง กว้างขวางถึงการเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารให้เป็นมรดกโลก ท้ายที่สุดยูเนสโกจะมีความเห็นเป็นอย่างไรนั้นก็คงต้องติดตามกันต่อไป.





บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!