ความเป็นจริงในชีวิต
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
มีนาคม 29, 2024, 09:51:22 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความเป็นจริงในชีวิต  (อ่าน 5509 ครั้ง)
ROJ
member
*

คะแนน3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 248


อีเมล์
« เมื่อ: มกราคม 30, 2008, 09:14:51 AM »

                                                                            ความเป็นจริงในชีวิต

   ถามตัวเองหรือยัง ว่าเกิดมาทำไม มีชีวิตอยู่เพื่ออะไร สิ่งที่ดีที่สุดที่ควรทำคืออะไร และได้ทำสิ่งนั้นแล้วหรือยัง
   ใครเป็นคนทำให้คุณมีชีวิต ตอบแทนเขาบ้างหรือยัง
   อดีตผ่านไปแล้ว หวนกลับมาแก้ไขไม่ได้ อนาคตก็คดๆงอๆไม่เที่ยงแท้ มีแต่การทำดีในปัจจุบันเป็นสิ่งที่ยึดถือได้โดยแท้จริง เราทุกคนต่างมีอดีต อย่าเอาอดีตมาตอกย้ำเพื่อทำลายอนาคต
   อย่าเก็บอดีตมาทำร้ายตัวเองและผู้อื่น แต่จงหัดที่จะเรียนรู้จากมัน
   อนาคตที่สดใสมีรากฐานอยู่บนอดีตที่ถูกลืม คุณไม่สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ดี ถ้าหากไม่รู้จักปล่อยวางความผิดพลาดในอดีต และความปวดใจ
   เมื่อพิพาทกับคนรักให้จัดการกับสถานการณ์ในตอนนั้น อย่าขุดคุ้ยอดีตขึ้นมาทำร้ายกัน
   อดีตคือเรื่องที่เกิดขึ้นมาแล้ว แก้ไขอะไรก็ไม่ได้    ปัจจุบันคือความจริง อนาคตเป็นสิ่งไม่แน่นอน ฉะนั้นอย่าจับให้มั่นอย่าคั้นให้ตาย เพราะจะเสียใจไปตลอดชีวิต
   วันนี้สำคัญกว่าเมื่อวาน พรุ่งนี้ไม่ต้องพูดถึง เพราะมันยังไม่มา
   อดีตเป็นสิ่งมีค่า ถ้าเรียนรู้จากมัน
   อย่ารำพึงถึงความหลัง อย่ามัวหวังถึงอนาคต
   คิดถึงความหลัง  ท่านจะพบรังแห่งความเศร้าใจ
   ความโศกนำสิ่งล่วงแล้วคืนมาไม่ได้ ความโศกไม่อาจนำมาซึ่งความสุขในอนาคต
   อดีตเราลืมไม่ได้แต่เลิกคิดได้
   ชีวิตเรียนรู้ได้จากการย้อนระลึกถึง แต่ชีวิตเราต้องก้าวเดินไปข้างหน้า
   การก้าวไป สำคัญกว่าการก้าวถึง
   ทำตัวให้สบาย อย่าคิดมาก ถ้าไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายแล้ว อะไรๆมันก็ไม่สำคัญอย่างที่คิดไว้ทีแรกหรอก
   ไม่มีใครได้ทุกอย่างดังใจหวัง
   คนไม่เคยเสียใจ ไม่เคยผิดหวัง ไม่เคยเจ็บใจ ไม่มีในโลก
   ทำใจกับสิ่งต่างๆ ล่วงหน้าไว้บ้างก็ดี
   อย่าคิดว่าเป็นไปไม่ได้ อะไรก็เป็นไปได้ทั้งนั้น
   พอใจเท่าที่มีอยู่ เป็นความสุข
   ผู้ไม่มีอะไรให้กังวล สุขจริงหนอ
   จง... เข้มแข็งพอที่จะเผชิญหน้ากับความจริง
   การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก่อให้เกิดทุกข์
   ละทุกข์ทั้งปวงได้ เป็นความสุข
   อยากได้สุข เมื่อปฏิบัติถูกทางก็ย่อมได้สุข
   ทุกคนควรทำหน้าที่ของตนและไม่ควรประมาท
   บัณฑิต ไม่ควรท้อแท้
   โภคทรัพย์ มิใช่มีมาได้ด้วยเพียงคิดเอา
   จง... อ่อนแอพอที่จะรับรู้ว่าลำพังเรานั้นทำอะไรไม่ได้ทุกอย่าง
   ชีวิตนี้วิปริตผันแปร ไม่มีอะไรแน่นอน
   เรื่องบางเรื่อง...ชั่วชีวิตก็ลืมไม่ลง

   วันพรุ่งนี้  อยู่ไกล  ยังไม่เกิด             ช่างมันเถิด  อย่าร้อน  ไปก่อนไข้
วันวานนี้  ตายแล้ว   ให้ตายไป          อย่าเอาใจ  ไปข้อง  ทั้งสองวัน
ถ้าวันนี้   สดชื่น  ระรื่นจิต                 อย่าไปคิด  หน้า-หลัง  มาคลั่งฝัน
สิ่งที่แล้ว  แล้วไป  ให้แล้วกัน            สิ่งที่ฝัน  ยังไม่มา  อย่าอาวรณ์
 
   อดีตกาล ผ่านไป ไม่กลับหลัง                  อนาคต ก็ยัง มาไม่ถึง
ปัจจุบัน สำคัญ ควรคำนึง                        ตรองให้ซึ้ง คุณความดี มีหรือยัง
อย่าปล่อยให้ วันวาน ที่ผ่านพ้น                ทำให้เรา ทุกข์ทน จนหม่นไหม้
มัวครุ่นคิด อาจทำผิด ซ้ำลงไป                 ก็เพิ่มวัน เสียใจ ไปอีกวัน

   เขามีส่วน  เลวบ้าง  ช่างหัวเขา                จงเลือกเอา ส่วนที่ดี  เขามีอยู่
เป็นประโยชน์  โลกบ้าง  ยังน่าดู               ส่วนที่ชั่ว อย่าไปรู้  ของเขาเลย
จะหาคน  มีดี โดยส่วนเดียว                     อย่ามัวเที่ยว ค้นหา  สหายเอ๋ย
เหมือนเที่ยวหา หนวดเต่า ตายเปล่าเลย     ฝึกให้เคย มองแต่ดี มีคุณจริง ฯ


   จงจำไว้ว่ามีเวลาที่สำคัญที่สุดเวลาเดียว คือ ปัจจุบัน ช่วงขณะปัจจุบันเท่านั้นที่เป็นเวลาที่เราเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง บุคคลที่สำคัญที่สุดก็คือ คนที่เรากำลังติดต่ออยู่ คนที่อยู่ต่อหน้าเรา เพราะเราไม่รู้ว่าอนาคตเราจะมีโอกาสได้ติดต่อกับใครอีกหรือไม่ และภารกิจที่สำคัญที่สุดก็คือ การทำให้คนที่อยู่กับเราขณะนั้นๆมีความสุข เพราะนั่นเป็นภารกิจอย่างเดียวของชีวิต เราจะทำอย่างไรจึงจะสามารถอยู่กับปัจจุบัน อยู่กับคนรอบข้างเรา ช่วยลดความทุกข์และเพิ่มพูนความสุขให้กับชีวิตพวกเขาเหล่านั้น คำตอบก็คือ เราจะต้องฝึกสติ

   ความทุกข์สอนอะไรๆให้เราได้ดีกว่าความสุข คือสอนตรงกว่า มากกว่า รุนแรงกว่า ความสุขมีแต่ทำให้ลืมตัว เหลิงเจิ้ง ไม่ทันรู้ และไม่ค่อยสอนอะไร
   ผู้อื่นไม่ได้ทำจิตใจเราให้เศร้าหมองหรือผ่องแผ้ว เราเองเป็นผู้ทำจิตเราให้เศร้าหมอง ผู้อื่นช่วยไม่ได้ แม้พระพุทธเจ้าก็ช่วยไม่ได้ ท่านทรงเป็นผู้บอกทางให้เท่านั้น
   ลิขิตเป็นของฟ้า ชะตาเป็นของคน ชะตาดีหรือร้าย อยู่ที่การกระทำของตัวเรา
   ไม่ควรหวังในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
   คนที่คิดถึงความสำเร็จในวันหน้า ต้องเป็นคนที่กล้าเปลี่ยนแปลงตัวเองในวันนี้
   ความผิดพลาดมหันต์ที่สุดในชีวิตเรา คือ การยอมแพ้ตนเอง
   ศัตรูที่น่าสะพรึงกลัวที่สุดในชีวิตเรา คือ ตัวเราเอง
   ของขวัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตเรา คือ การให้ความรัก การให้อภัย และการให้โอกาส
   ความล้มละลายที่สุดในชีวิตเรา คือ ความสิ้นหวัง
   คนที่รู้จักจุดหมายปลายทางของตนเอง คือคนที่เดินทางไปได้ไกลที่สุด
   เมื่อคิดจะเดินไปข้างหน้า โปรดอย่ามองกลับหลังอย่างเสียดาย
   จงหวังในสิ่งที่ดีที่สุด และเตรียมพร้อมสำหรับสิ่งที่เลวร้ายที่สุด
   ความรักไม่ใช่งานเลี้ยง อย่าให้มีวันเลิกลา
   เจ็บครั้งแรกพอที่จะโทษคนอื่นได้ แต่เจ็บครั้งที่สองต้องโทษตัวเอง
   เปลี่ยนความผิดพลาดของเขา  เป็นบทเรียนที่ดีของเรา
   อย่าไว้ใจใครจนเกินไป จะจนใจเอง
   บางสิ่งของชีวิตไม่จำเป็นต้องจำถ้ามันทำให้เจ็บ  แต่บางสิ่งก็ควรจะเก็บถ้ามันเป็นความเจ็บที่น่าจำ
   อุปสรรคคือสิ่งที่น่าตกใจ ก็ต่อเมื่อคุณไม่ได้มองไปที่จุดหมายปลายทาง
   จงทำดี ให้มันดี ถึงแม้ผลงานออกมาไม่ดี ก็ถือว่าเราทำดีที่สุดแล้ว
   ทำดีในวันนี้ พรุ่งนี้จะดีของมันเอง
   คนเราเจอทั้งสุขและทุกข์ เพราะว่าทำทั้งดี ทำทั้งชั่ว
   ทุกสิ่งทุกอย่าง มันเป็นเช่นนั้นเอง
   อย่าใช้อารมณ์ แต่จงใช้ความคิด
   ไม่ว่าจะตกอยู่ในสถานการณ์อันเลวร้ายเพียงใด สุขุมเยือกเย็นเข้าไว้
   อย่ารู้ค่าสิ่งที่อยู่กับเรา ต่อเมื่อเราสูญเสียมันไปแล้ว
   คุณไม่ใช่พระเจ้า อย่าคิดซ่อมความรู้สึกที่เสียไปแล้ว แต่จงวางแผนที่จะดูแลไม่ให้มันเสีย
   อย่าอ่านข้อความที่มีประโยชน์อย่างผ่านๆ
   อย่ากลัวในสิ่งที่ตนสามารถสู้หรือเปลี่ยนแปลงมันได้
   จงเป็นฝ่ายให้มากกว่าฝ่ายรับ
   จง... ประหยัดสิ่งที่จำเป็นไว้
   ชีวิตไม่ใช่เกม พลาดแล้วเริ่มใหม่หรือกดโหลดใหม่ไม่ได้
   อย่ากล่าวคำว่าขอโทษบ่อยๆ เพราะมีอะไรดีๆตั้งหลายอย่าง ที่ทำแล้วไม่ต้องตามขอโทษ
   ใครจะวิจารณ์เรายังไงก็ช่างเขา ไม่ต้องไปเสียเวลาตอบโต้
   การเกิดขึ้นเพื่อเริ่มต้นไปสู่ความดับลง ท่านจะยึดถือหรือไม่ยึดถือ มันเป็นเรื่องของท่าน
   เรายืนอยู่บนสนามชีวิต ต้องต่อสู้อุปสรรคทุกรูปแบบ จนกว่าจะปิดฉากละครแห่งชีวิต ด้วยการตายลงไป
   บทเรียนในตำราเรียน กับบทเรียนในชีวิตจริง มันคงละอย่างกัน
   เสียเงินทอง เสียสิ่งของ เสียเวลา และก็เสียใจ เป็นการจ่ายค่าเทอมชีวิต
   เราสามารถตัดสินหนทางดำเนินชีวิตของเราเองได้ ดีหรือชั่ว อยู่ที่ตัวของเราเอง
   เหตุการณ์ความเป็นไปของทางโลก ไม่มีสิ้นสุด เราไม่สามารถจะติดตามได้ตลอดกาลเพราะอายุยังมีที่สิ้นสุด เราจะบ้ากับมันหรือไม่บ้ากับมัน มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น
   เพื่อมิให้เสียเวลา จงกลับมามองดูจิตใจของตนเอง ทำไมถึงซอกแซกสับส่ายถึงขนาดนั้น
   มันเคยตัว เพราะเราให้โอกาสมันมากเกินไป เพราะรักมันมาก จึงไม่กล้าขัดใจ นานๆไปอาจกลายเป็นโรควิกลจริตทางด้านจิตใจ
   การวิ่งไปตามความอยาก คือการฆ่าตนเองด้วยความพอใจ
   ยิ่งความโลภ โกรธ หลง ลดลงมากเท่าไร ความปลอดโปร่งยิ่งมีขึ้นมากเท่านั้น

   เราต้องเสี่ยงกับการหลั่งน้ำตาบ้าง  ถ้าเราปล่อยให้ความผูกพันก่อตัวขึ้น
   การถูกหักหลังเป็นสิ่งที่เจ็บปวด อย่าให้มันเกิด
   จงรู้ตัวอยู่เสมอว่าตอนนี้กำลังทำอะไร
   หาจุดหมายให้กับชีวิต
   เกิดเป็นคน อย่าวิตกกังวลกับสิ่งเล็กๆ น้อยๆ
   ความรักก็เหมือนลูกอม  อมแรกๆก็จะหวาน  อมไปนานๆก็ละลายหมด
   ผู้ชายยังไงก็คือผู้ชาย ผู้หญิงก็คือผู้หญิง
   อย่าพูดคำว่าไม่มาเป็นเราไม่รู้หรอก เพราะคุณก็ไม่รู้เรื่องของเขาเช่นกัน
   คนอ่อนแอเท่านั้นที่ให้อภัยใครไม่เป็น การให้อภัยเป็นคุณสมบัติของผู้ที่เข้มแข็ง
   บางครั้งปล่อยให้ความเงียบเป็นคำตอบบ้างก็ดีเหมือนกัน
   1 นาทีที่คุณโกรธเท่ากับคุณได้สูญเสีย 60 วินาที แห่งความสงบในจิตใจไปแล้ว

   คำพูดให้กำลังใจคนได้ ปลอบใจคนได้ ยุให้คนทะเลาะกันได้ ทำให้คนเสียความรู้สึกได้ เพราะฉะนั้นจงรู้ที่จะพูด
   หัดคุยกับตัวเองบ้าง แล้วจะรู้ว่ามีอะไรอีกมากที่คุณไม่รู้
   เมื่อทำหน้าที่ของลูกผู้ชายแล้ว อย่าเสียใจในภายหลัง
   จง รักคนที่รักคุณ
   อย่าไว้ใจใครเกินไป ไม่ได้สอนให้ระแวงไม่ไว้ใจใคร แต่ระวังไว้บ้างก็ดี
   จงทำวันนี้ให้ดีที่สุด เพื่อตัวเราเอง คนที่เรารัก และคนที่อยู่รอบกายเรา
   อย่าเสียใจกับสิ่งที่เลวร้ายหรือสูญเสียไปแล้ว เพราะมันกลับมาไม่ได้ แต่คุณสามารถทำมันขึ้นมาใหม่ หรือเรียนรู้จากมันได้
   การกู้หนี้ เป็นทุกข์ในโลก
   ทุกข์.. ย่อมไม่ตกถึงผู้หมดกังวล
   เมื่อหมดกังวล ทุกข์ก็ไม่มี                                                                     
   ควรกล่าวแต่วาจาที่ไม่ยังตนให้เดือดร้อน
   เปล่งวาจางามยังประโยชน์ให้สำเร็จ
   ไม่ควรพูดจนเกินกาล ไม่ควรนิ่งเสมอไป ควรกล่าววาจาที่ไม่ฟั่นเฝือ ควรกล่าวให้พอดีๆเมื่อถึงเวลา
   แม้ในมิตรก็ไม่ควรไว้ใจ
   ควรระแวงในศัตรู
   เพราะความไว้ใจภัยจึงตามมา
   ถึงคนคุ้นเคย ก็ไม่ควรวางใจ
   ไม่ควรไว้ใจ ในคนไม่คุ้นเคย
   เรื่องภายในย่อมสำคัญกว่าเรื่องภายนอกตน
   จงคิดก่อนที่จะทำและก่อนที่จะพูด
   ไม่มีอะไรเป็นของเรา  แม้แต่ตัวของเราเอง
   อย่าพยายามทำใจคนอื่นให้มาเหมือนกับใจเรา  เพราะเราก็ทำใจเราให้เหมือนใจคนอื่นไม่ได้เช่นกัน
   ควรแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ อย่าพยายามแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ
   ผู้ฉลาดในธรรม ยอมรับว่า “สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ซึ่งไม่มีอะไรที่น่าตกใจเลย เพราะเป็นเรื่องธรรมดา
   การตามใจตัวเองอยู่เสมอ เป็นทางตันในการดำเนินชีวิต
   เราต้องพยายามที่จะเข้าใจคนอื่น มากกว่าที่จะให้คนอื่นมาเข้าใจเรา
   เราอย่าเข้าใจว่ามีความทุกข์มากกว่าคนอื่น คนอื่นมีความทุกข์มากกว่าเราก็ยังมีอีกมากมาย
   แม้แต่ตัวของเราเองก็ยังไม่ได้ดังใจตัวเรา แล้วจะให้คนอื่นได้ดังใจเราได้อย่างไร
   เราไม่ได้ดังใจเขา แล้วจะให้เขาได้ดังใจเราได้อย่างไร
   ปรารถนาสิ่งใด อย่าพึงดีใจไว้ล่วงหน้า พลาดหวังสิ่งใด อย่าพึงเสียใจตามหลัง
   หากยึดถือมาก ให้ความสำคัญมันมาก ทุกข์ก็ย่อมมีมาก
หากยึดถือน้อย ให้ความสำคัญมันน้อย ทุกข์ก็ย่อมมีน้อย
   วันนี้ต้องดีกว่าวานนี้ พรุ่งนี้จะต้องดีกว่าวันนี้
   เรารักในสิ่งใด จะต้องจากในสิ่งนั้น ช้าหรือเร็วมันอีกเรื่องหนึ่ง
   ถ้าไม่อยากเสียใจ เมื่อจากกันไป ก็อย่าดีใจเมื่อตอนที่ได้มา
   ไม่มีตำราเล่มไหน ที่จะสอนเราทุกย่างก้าว ว่าวันนี้เราจะต้องเจออะไรบ้าง และจะต้องแก้ไขอย่างไร
   คนอื่นสามารถบังคับเราได้เป็นเพียงบางเวลา ส่วนใจของเรานั้น ไม่มีใครสามารถบังคับได้ นอกจากตัวของเราเท่านั้น
   วันนี้ เราตามใจของตนเอง ด้วยอำนาจแห่งความอยาก วันพรุ่งนี้ เราต้องหมดโอกาสที่จะสบายใจ
   วันนี้ เราไม่ตามใจตนเอง พรุ่งนี้ เราจะอยู่อย่างสบายใจ
   เมื่อตอนที่อยากได้ก็เป็นทุกข์  ขณะที่แสวงหาก็เป็นทุกข์ ได้มาแล้วกลัวฉิบหายไปก็เป็นทุกข์
   หากมีแล้วทำให้มีความสุข ก็ควรมี แต่หากมีแล้วทำให้มีความทุกข์ ไม่รู้จะมีไว้ทำพระแสงอะไร
   ทุกสิ่งทุกอย่างมันไม่เที่ยง เราไปยึดมั่นความไม่เที่ยงนั้นว่าความสุข
   ยิ่งเข้าถึงธรรมที่เป็นจริงมากเท่าใด ความเบาสบายใจก็ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น

   แม้ความสุขนั้นมันก็ไม่เที่ยง จะไปหวังเอาอะไรอีกเล่า
   พบกันก็เพื่อจากกัน ได้มาก็เพื่อจากไป
   มองทุกข์ให้เห็นทุกข์ จึงจะมีความสุข
   จงมีความพยายามในการทำหน้าที่ของตน
   ที่ควรช้า จงช้า ที่ควรเร่ง จงเร่ง
   ผลประโยชน์ทั้งปวง ตั้งอยู่ที่หลัก 2 ประการ คือการได้สิ่งที่ยังไม่ได้ และการรักษาสิ่งที่ได้มาแล้ว
   โภคะของใคร ไม่ว่าสตรีหรือบุรุษ ที่จะสำเร็จเพียงด้วยคิดเอา ย่อมไม่มี
   ทรัพย์สินย่อมพอกพูนขึ้นได้ เหมือนดังก่อจอมปลวก
   ค่อยๆ ตั้งตัว เหมือนค่อยๆ ก่อไฟจากกองน้อย
   ค่อยๆ เก็บรวบรวมทรัพย์ ดังปลวกก่อจอมปลวก
   จงเก็บรวบรวมทรัพย์สิน เหมือนผึ้งเที่ยวรวมน้ำหวานสร้างรัง
   พึงป้องกันภัยที่ยังมาไม่ถึง
   พึงระแวงสงสัยในสิ่งที่ควรระแวงสงสัย
   ฤกษ์ยามและดวงดาว จักช่วยอะไรได้
   เกิดเป็นคน ควรมีความหวังเรื่อยไป
   จงเตรียมการให้พร้อม สำหรับอนาคต
   ไม่พึงขวนขวายในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
   รู้ว่าอะไรเป็นประโยชน์แก่ชีวิตตน ก็ควรรีบลงมือทำ
   อันความหวังในผล ย่อมสำเร็จแก่ผู้ไม่ใจเร็วด่วนได้
   ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน
   ไม่พึงอาศัยผู้อื่นยังชีพ
   สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
   สรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนก้าวเดินไปสู่ความตาย
   ความอดทน ห้ามไว้ได้ซึ่งความผลุนผลัน
   อย่านิ่งนอนใจอยู่เลย ความตายขยับใกล้เข้ามาอีกก้าวหนึ่งแล้ว
   ความใจเร็วด่วนได้ จะทำให้เดือดร้อนยุ่งยาก
   คำพูดเมื่อพูดออกไปแล้วไม่สามารถเรียกกลับได้ ดังนั้น จงคิดก่อนที่จะพูด
   ทำอะไรก็ได้ให้ตัวเองมีความสุข แต่อย่าอยู่บนความทุกข์ของผู้อื่น
   เอาใจเขามาใส่ใจเรา
   ไว้ใจบุคคลที่สมควรไว้ใจ
   บางครั้ง...กำลังใจ นอกจากจะมีไว้ให้ใครๆแล้ว ก็ยังต้องเก็บไว้ให้กับตัวเราเองด้วย
   ความรักไม่ได้ทำให้เราตาบอดอย่างเดียว บางครั้งอาจทำให้ตาสว่างเลยก็ได้
   ให้อภัยแก่ตนเองและผู้อื่น
   กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญ หัดเติมให้คนอื่น แล้วเขาจะกลับมาเติมให้คุณเอง
   คิดให้รอบคอบ ก่อนที่จะให้เพื่อนต้องมีภาระในการรักษาความลับ
   เขาก็ตกอยู่ใต้อำนาจกิเลสเหมือนเรา ย่อมพลั้งเผลอไปบ้าง
   เขาก็มีราคะ โทสะ โมหะไม่น้อยไปกว่าเรา
   เขาโง่ในบางเรื่อง เหมือนที่เราโง่
   เขาก็ตามใจตัวเองในบางอย่าง เหมือนที่เราเคยกระทำ
   เขาก็มักจะกอบโกยและเอาเปรียบ เมื่อมีโอกาสเหมือนเรา
   เขาเป็นคนธรรมดา ที่ยึดมั่นถือมั่นอะไรต่างๆเหมือนเรา
   เขามีสิทธิที่จะเลือก  ตามพอใจของเขา
   เขาก็ทำอะไรด้วยความคิดชั่วแล่นและผลุนผลัน เหมือนเรา
   ต้องรู้จักตัดกังวล
   จงระวังสิ่งเล็กๆ น้อยๆ เช่น รอยรั่วเล็กๆ อาจจะทำให้เรือใหญ่ล่ม
   กรรมทั้งหลายที่เที่ยง ไม่มีในมนุษย์
   ความอยาก มีอารมณ์หาที่สุดมิได้เลย
   ผู้บริโภคกาม ย่อมปรารถนากามยิ่งขึ้นไป
   ความอิ่มด้วยกามทั้งหลาย ไม่มีในโลก
   ความอยาก ย่อมชักพาคนไปต่างๆนาๆ
   ไม่พึงเพลิดเพลินของเก่า ไม่พึงทำความพอใจในของใหม่ เมื่อสิ่งนั้นเสื่อมไป ก็ไม่พึงเศร้าโศก
   พูดอย่างใด ควรทำอย่างนั้น
   ในกาลไหนๆ ก็ไม่ควรกล่าววาจาไม่น่าพอใจ
   ระมัดระวังวาจา เป็นความดี
   คนไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก
   ไม่ควรขอสิ่งที่รู้ว่าเป็นที่รักของเขา
   สติจำเป็นในที่ทั้งปวง
   ได้สิ่งใด พึงพอใจในสิ่งนั้น
   ไม่พึงดูหมิ่นลาภของตน ไม่ควรเที่ยวปรารถนาลาภของผู้อื่น
   ผู้ไม่สันโดษด้วยภริยาของตน ย่อมซุกซนในหญิงแพศยา และประทุษร้ายภริยาของคนอื่น นั่นเป็นเหตุแห่งความเสื่อม
   แผ่นดินนี้ ไม่อาจทำให้เรียบเสมอกันทั้งหมดได้ฉันใด มนุษย์ทั้งหลายจะทำให้เหมือนกันหมดทุกคนก็ไม่ได้ฉันนั้น
   คนที่ถูกนินทาอย่างเดียว หรือ ได้รับการสรรเสริญอย่างเดียวไม่เคยมีมา แล้วจักไม่มีต่อไป ถึงในขณะนี้ก็ไม่มี
   คนเรานี้ ถ้ามีอันทำชั่วลงไป ก็อย่าพึงทำความชั่วนั้นซ้ำเข้าอีก
   สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม
   ธรรมนั่นแหละ ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
   พึงพินิจพิจารณาเรื่องราวต่างๆโดยรอบคอบ
   ภาวะของหญิง รู้ได้ยาก
   กาลเวลาย่อมกลืนกินทุกสรรพสิ่ง รวมทั้งตัวของมันเอง
   ความรู้จักประมาณตน ยังประโยชน์ให้สำเร็จทุกเมื่อ
   ความอดทน นำมาซึ่งประโยชน์สุข
   ชีวิต ไม่ถึงร้อยปีก็จะตาย
   วันและคืนย่อมผ่านไป
   จะตายก็ตายไปคนเดียว ไม่มีใครมาช่วยตายได้
   ชีวิตสิ้นสุดลงที่ความตาย
   เมื่อคนตายแล้วสมบัติสักนิดก็ไม่ติดไป
   ยิ่งวันผ่านไป ชีวิตก็ยิ่งใกล้ความตายไปทุกวัน
   วัยสิ้นไปตามคืนและวัน
   วันคืนเคลื่อนคล้อย อายุก็ยิ่งเหลือน้อยเข้าไปทุกที
   สักวันหนึ่ง ก็จะพรากจากกันไป
   เมื่อมาเกิด ก็ไม่มีใครอ้อนวอนมาเกิด เมื่อตายจากโลกนี้ ก็ไม่มีใครอนุญาตให้ไป
   แม่น้ำเต็มฝั่งไม่ไหลทวนขึ้นที่สูงฉันใด อายุของมนุษย์ทั้งหลายย่อมไม่เวียนกลับมาสู่วัยเด็กอีก ฉันนั้น
   จงเตือนตน ด้วยตนเอง
   สิ่งที่ทำลงไปแล้ว เอากลับคืนมาไม่ได้
   การระมัดระวังกาย ระมัดระวังใจ เป็นความดี
   ทำได้แล้วค่อยพูด  ทำไม่ได้อย่าพูด
   ถึงพูดดี ก็ไม่ควรพูดเกินเวลา
   ผู้ตกอยู่ในอำนาจแห่งจิต ย่อมเดือดร้อน
   ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี
   ไม่ควรเป็นคนรกโลก
   พึงรักษาจิตของตน เหมือนคนประคองบาตรที่เต็มด้วยน้ำมัน
   ผู้ประพฤติตามอำนาจของจิต ย่อมลำบาก
   จิตของเรามีธรรมชาติดิ้นรน กวัดแกว่ง รักษายาก ห้ามยาก
   จิตนั้นเห็นได้แสนยาก ละเอียดอ่อนยิ่งนัก มักตกไปหาอารมณ์ที่ใคร่
   เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
   บุคคลไม่พึงหาทรัพย์ด้วยการคดโกง
   ขยันการงาน ไม่ประมาท ฉลาดในวิธีจัดการ เลี้ยงชีวิตแต่พอดี ย่อมรักษาทรัพย์สมบัติให้คงอยู่ และเพิ่มพูนทวี
   ชนะตนนั่นแหละ เป็นดี
   ตระเตรียมตนให้ดีเสียก่อนแล้ว ต่อไปจะได้สิ่งอันเป็นที่รัก
   ฝึกตนได้แล้ว จึงไปฝึกคนอื่น
   จงเป็นผู้ตามรักษาตน อย่าให้ตนต้องเดือดร้อน
   ความผิดของตน มองเห็นได้ยาก
   ไฉนจึงดูถูกตัวเองเล่า
   ทำบาปเอง ย่อมเศร้าหมองเอง
   พึงขวนขวายในเป้าหมายของตน
   ชื่อว่าที่ลับ ไม่มีในโลกนี้
   กำหนดประโยชน์ที่หมายของตนเองให้แน่ชัด แล้วพึงขวนขวายแน่วแน่ในจุดหมายนั้น
   จงอยู่อย่างมีหลักยึดเหนี่ยวใจ อย่าเป็นคนไร้ที่พึ่ง
   ตนทำชั่วเอง ตนก็เศร้าหมองเอง ตนไม่ทำชั่ว ตนก็บริสุทธิ์เอง
   มัวพะวงอยู่ว่า นี่ของเราชอบ นี่ของเรารัก แล้วปล่อยปละละเลยตนเองเสีย คนอย่างนี้จะไม่ได้ประสบสิ่งที่ชอบสิ่งที่รักเลย
   โทษคนอื่นเที่ยวกระจายเหมือนโปรยแกลบ แต่โทษตนปิดไว้ เหมือนพรานนกเจ้าเล่ห์แฝงตัวบังกิ่งไม้
   ไม่ควรใส่ใจคำแสลงหูของผู้อื่น ไม่ควรแส่มองธุระที่เขาทำแล้วและยังไม่ได้ทำ ควรตั้งใจตรวจตราหน้าที่ของตนนี่แหละ ทั้งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ
   พึงตัดความโกรธด้วยความข่มใจ
   ความโกรธย่อมทำจิตให้กำเริบ
   พึงวิจัยเรื่องราวตลอดสายให้ถึงต้นตอ
   ผู้ให้สิ่งที่ชอบใจ ย่อมได้สิ่งที่ชอบใจ
   จงทำงานให้สมกับอาหารที่บริโภค
   อย่าปล่อยกาลเวลาให้ล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์
   มีใครบ้างที่รู้ว่าจะตายวันตายพรุ่ง
   เกิดเป็นคน ควรพยายามเรื่อยไป
   เมื่อต้องการความสุข ไม่พึงสิ้นความหวัง
   ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ ประเสริฐกว่า
   มัวรำพึงถึงความหลัง ก็มีแต่จะหดหาย มัวหวังวันข้างหน้า ก็มีแต่จะละลาย อันใดยังไม่มาถึง อันนั้นก็ยังไม่มี รู้อย่างนี้แล้ว เมื่อมีฉันทะเกิดขึ้น คนฉลาดที่ไหนจะปล่อยให้หายไปเปล่า
   ผู้ใดทำการโดยรู้ประมาณ ทราบชัดถึงกำลังของตน แล้วคิดการเตรียมไว้รอบคอบ ทั้งโดยแบบแผนทางตำรา ทั้งโดยการปรึกษาหารือ และโดยถ้อยคำที่ใช้พูดอย่างดี ผู้นั้นย่อมทำการสำเร็จ มีชัยอย่างไพบูลย์



                                                                         ทำได้มากมีความสุขในชีวิตมาก



บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!