ต้นกำเนิดของภาษาอังกฤษ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
เมษายน 29, 2024, 10:23:34 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ต้นกำเนิดของภาษาอังกฤษ  (อ่าน 7013 ครั้ง)
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1883
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13256


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2007, 02:15:49 PM »

                                                                  ต้นกำเนิดของภาษาอังกฤษ

เราอาจประหลาดใจว่าภาษาเกิดขึ้นมาได้อย่างไร? สำคัญมากที่เราต้องทราบ บังเอิญมีคำตอบง่าย ๆ คือเราไม่ทราบ มันเกิดมานานจนพูดได้ว่าไม่มีทางที่มนุษย์เราจะคาดคั้นเอาความลับนี้ออกมาจากอดีตที่เลือนลางได้ มนุษย์ในบรรพกาลมีความจำเป็นอย่างที่สุดที่จะสื่อข้อความกัน เตือนซึ่งกันและกันถึงภัยอันตราย แสดงออกซึ่งความต้องการและความอยากที่ทุกคนมีเหมือน ๆ กัน จะด้วยวิธีใดก็ตาม แต่ละกลุ่มชนก็ได้ตกลงว่าจะเรียกสิ่งโน้นสิ่งนี้ว่าอย่างไร แต่ด้วยวิธีใดนั้นเราก็ไม่ทราบ ทฤษฎีเกี่ยวกับกำเนิดของภาษานั้นมีมาก แต่ก็เป็นแค่การเดา ถึงแม้ว่าจะเป็นทฤษฎีที่น่าสนใจมากก็ตาม

อย่างไรก็ตาม มีรากศัพท์อยู่กลุ่มหนึ่งที่เป็นข้อยกเว้นของกฎนี้ ซึ่งเราทราบว่าทำไมคำจึงมีความหมายเช่นนั้น คำจำพวกนี้เป็นคำเลียนเสียง ( onomatopoeic ) ซึ่งเป็นคำเลียนเสียงตามธรรมชาติและรวมกันเป็นกลุ่มที่น่าสนใจและมีเสน่ห์ เมื่อเราบอกว่าสิงโต roar ( คำราม ) นั่นคือเราใช้รากศัพท์แล้ว เราเห็นได้ชัด ๆ ว่า roar นั้นเป็นความพยายามที่จะเลียนเสียงร้องของสิงโต ในลักษณะเดียวกัน ผึ้ง buzz, งู hiss, นก chirp, ลำธาร babble เป็นต้น

แต่รากศัพท์ที่เป็นคำเลียนเสียงเหล่านี้เป็นข้อยกเว้น ในกรณีอื่น ๆ เราไม่ทราบว่าทำไมเสียงต่าง ๆ ที่เปล่งออกมาเป็นลำดับนั้นจึงถูกเลือกให้มีความหมายเป็นอย่างหนึ่ง
สิ่งที่ชาวฝรั่งเศสได้ทำต่อภาษาละติน ( และภาษาอังกฤษ )

ในปี ค.ศ. 1066 ได้เกิดเหตุการณ์ซึ่งพรหมลิขิตได้กำหนดไว้ เพื่อเปลี่ยนรูปโฉมของภาษาอังกฤษตลอดไปชั่วกาลนาน ขุนนางชั้นสูงสุดแห่งแคว้นนอร์มังดี ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศส และเป็นที่รู้จักกันในนามว่า William the Conqueror ได้ข้ามช่องแคบและเอาชนะประเทศอังกฤษ พวกทหาร ขุนนาง และเจ้าหน้าที่ชาวฝรั่งเศสจากแคว้นนอร์มังดีและชนชาติรวมถึงผู้ที่ใช้ภาษาแองโกล-แซกซอน ก็อยู่เคียงบ่าเคียงไหล่กันในอังกฤษในสภาพคล้ายการพักรบที่อึดอัด

ชาวแองโกล-แซกซอน ยึดมั่นอยู่กับภาษาของเขาอย่างเหนียวแน่น ประชากรก็พูดภาษาเดิมอย่างไม่ยอมเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม จากสังคมระดับสูง คำศัพท์ภาษาฝรั่งเศสจำนวนมากได้ไหลหลั่งเข้าไปในภาษาแองโกล-แซกซอน นี่อาจจะเป็นการซึมซาบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของภาษาต่างชาติที่ภาษาใดภาษาหนึ่งได้ประสบมาในสมัยปัจจุบัน

เพื่อที่จะเห็นคุณค่าของความสำคัญทางภาษาของเหตุการณ์นี้ เราต้องคำนึงถึงบางสิ่งบางอย่างที่น่าสนใจมาก ใน ศตวรรษที่หนึ่งก่อนคริสต์กาล เมื่อโรมชนะฝรั่งเศส พวกฝรั่งเศสโบราณรวมทั้งพวก Franks ได้ยอมรับภาษาใหม่ พวกนี้ทิ้งภาษา Celt และภาษาเยอรมันโบราณของพวกเขาและรับเอาภาษาละตินเป็นภาษาพูด เนื่องจากภาษาละตินเป็นของใหม่สำรับพวกเขา ทำให้สะเพร่าเวลาพูด ออกเสียงเป็นเสียงเบาบ้าง ควบเสียงไปบ้าง และตัดคำให้สั้นลงบ้าง แทบจะไม่มีคำละตินคำไหนที่ไม่ถูกทำให้พิการโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง แต่ถึงแม้ว่าคำจะเปลี่ยนไป ปกติแล้วก็ยังสามารถเห็นรากละตินอยู่
รูปแบบหนึ่งที่ทำกันมากที่สุดในการออกเสียงเคล้ากันไปของคำละตินในภาษาฝรั่งเศสคือการตัดเสียงกระด้างที่อยู่กลางคำออกไป อาทิ คำภาษาฝรั่งเศสสำหรับคำว่า kingly ได้กลายเป็น royal ซึ่งเดิมทีมาจากคำละติน regal โดยมี ‘g’ ตรงกลางออกเสียงกระด้าง ดังนั้นเมื่อชาวแองโกล-แซกซอนเริ่มรับเอาคำภาษาฝรั่งเศสนั้น แท้จริงแล้วเขากำลังรับเอาคำละตินในรูปแบบของภาษาฝรั่งเศสต่างหาก

ในปีศตวรรษแห่ง ค.ศ. ที่ 15 ได้มีการฟื้นฟูทางอักษรศาสตร์และศิลปวิทยา การฟื้นฟูความสนใจในวัฒนธรรมโบราณของกรีกและละตินนี้ได้นำเอาคำศัพท์โดยตรงจากภาษาละตินเป็นจำนวนมากเข้ามาในภาษาอังกฤษ

ทีนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ก็คือ ภาษาอังกฤษได้ยืมคำภาษาฝรั่งเศสมาแล้ว และหลังจากนั้นในช่วงแห่งการฟื้นฟูทางอักษรศาสตร์และศิลปวิทยา และแทบจะต่อเนื่องกันมาโดยตลอด ภาษาอังกฤษก็ยืมคำศัพท์โดยตรงจากภาษาละตินอีก บ่อยครั้งที่ภาษาอังกฤษได้ยืมคำคำเดียวกันจากภาษาละตินซึ่งหลายศตวรรษก่อนก็ได้ยืมมาจากภาษาฝรั่งเศส ดังนั้น ในภาษาอังกฤษจึงมีคำมากมายที่เรียกว่า “doublets” ( คำคู่ ) ซึ่งหมายถึง คำสองคำที่ต่างกันแต่มาจากแหล่งเดียวกัน จงมาดูตัวอย่างของคำที่น่าสนใจเหล่านี้

จากภาษาละติน จากภาษาฝรั่งเศส
Regal เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ Royal เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์

Secure ปลอดภัย
Sure แน่นอน

Fragile อ่อนแอ
Frail อ่อนแอ

Decadence สลักหักพัง
Decay สลักหักพัง

Median (in the middle) อยู่ตรงกลาง
Mean (average) จำนวนเฉลี่ย

Redemption การไถ่ถอน
Ransom ค่าไถ่

Senior ผู้มีอาวุโส sire , sir ท่าน

Predatory สัตว์ที่กินสัตว์อื่นเป็นอาหาร
Prey เหยื่อ

Tincture ยาละลายแอลกอฮอล์
Taint ทำเปื้อน

การเปลี่ยนแปลงอีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจและพิสดารที่ภาษาฝรั่งเศสทำบ่อย ๆ กับคำละตินคือ การเปลี่ยนอักษร ‘c’ หรือ ‘k’ ที่มีเสียงกระด้างให้เป็น ‘ch’ โดยวิธีนี้เสียงของคำเปลี่ยนไปอย่างมากและมักทำให้ยากในการที่จะรู้ว่าเป็นคำอะไร บ่อยมากที่คำเหล่านี้ซึ่งภาษาฝรั่งเศสดัดแปลงมาจากภาษาละตินได้ถูกนำไปใช้ในภาษาอังกฤษ และคำเดียวกันนี้ในรูปแบบดั้งเดิมในภาษาละตินก็ถูกนำเข้ามาในภาษาอังกฤษเช่นกัน ปัจจุบันคำเหล่านี้มีอยู่ในภาษาอังกฤษในสองรูปแบบที่ต่างกันดังนี้

1. คำละตินดั้งเดิมที่มีอักษร ‘c’ หรือ ‘k’ ที่ออกเสียงกระด้าง

2. คำที่อักษร ‘c’ เปลี่ยนเป็นรูปแบบ ‘ch’ ของภาษาฝรั่งเศส

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของคำสองคำที่มาจากรากเดียวกัน

จากภาษาละติน
จากภาษาฝรั่งเศส

Trickery การเล่นเล่ห์เหลี่ยม
Treachery ทรยศ

Cattle ปศุสัตว์
Chattle ข้าวของส่วนตัวยกเว้นบ้านและที่ดิน

Canal คลอง
Channel ทางน้ำไหล

Cadence ( the way things fall)
Chance โอกาส

จังหวะในการพูดหรือดนตรี ( ลักษณะการ
Chute ทางลาด ทางน้ำตก

ตกของสิ่งของ)
Parachute ร่มชูชีพ

Captain ( the head man ) หัวหน้า
Chief หัวหน้า, achieve ได้รับความสำเร็จ

Incision รอยแหวะ
Chisel สิ่ว

Kirk โบสถ์
Church โบสถ์
รากและพยางค์ต่อท้ายคำ
เมื่อเราเริ่มที่จะสามารถรู้จักรากของคำ เราสามารถเพิ่มจำนวนคำศัพท์ได้อย่างมากมาย คำศัพท์ต่าง ๆ มากันเป็นกลุ่ม และเราสามารถรู้ได้ทันทีว่าเป็นรากรากเดียวที่เราเห็นอยู่ในหลาย ๆ คำที่แตกต่างกันแต่ก็มีความหมายสัมพันธ์กัน ภาษาอังกฤษได้ยืมคำมาจากหลายภาษาและเราจะรู้สึกในทันทีทันใดว่าเรารู้คำต่างภาษาหลายคำ

ภาษาอื่น ๆ ก็ได้ยืมคำจากภาษาอังกฤษไปใช้เหมือนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อเราได้ยินหรือเห็นภาษาต่างประเทศ ก็จะรู้สึกคุ้น ๆ กับหลาย ๆ คำ เป็นเรื่องสนุกที่รู้หลายภาษาและเดาความหมายของคำศัพท์ต่าง ๆ จากรากและจากการเปลี่ยนแปลงของรากนั้น ๆ เราอาจจะเติมหนึ่งหรือหลายพยางค์ไว้ข้างหน้าหรือหลังราก เมื่อทำเช่นนี้แล้ว คำก็ถูกเปลี่ยนไปในลักษณะที่สำคัญบางประการ โดยความหมายอาจเปลี่ยนไป เช่น คำ ‘press’ ซึ่งหมายความว่า ‘บีบ’ หรือ ‘เร่งเร้า’ อาจกลายเป็น

Express
แสดงความหมาย

Oppress
ทำให้เป็นภาระหนัก

Impress
ทำให้รู้สึก

Suppress
เหยียบให้แบน

Repress
ระงับ

Compress
อัดให้แน่น

Depress
ทำให้เศร้าโศก

วิธีการสร้างคำใหม่
ภาษาเป็นสิ่งที่มีชีวิตและเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ภาษาไม่อยู่นิ่งกับที่ แต่ปรับเปลี่ยนเสมอ คำบางคำก็กลายเป็นคำเก่าพ้นสมัยและหลุดหายไปจากภาษา บางคำก็มีความหมายเปลี่ยนไป

มีคำใหม่ ๆ เข้ามาเพิ่มอยู่ตลอดเวลา เมื่อมีการประดิษฐ์หรือการค้นพบใหม่เกิดขึ้น ก็จะต้องมีการสร้างคำใหม่ บางครั้งคำใหม่นั้นก็เป็นแค่ชื่อของผู้ประดิษฐ์ เช่น คำ ‘sandwich’ ก็มีเรื่องเล่ากันมาว่าคำนี้มาจาก Earl of Sandwich เขาว่าท่านเป็นผู้คิดอาหารชนิดนี้ขึ้นมาเพื่อว่าท่านจะได้ไม่ต้องลุกจากโต๊ะการพนันเพื่อไปรับประทานอาหาร

บางครั้งคำใหม่ก็เป็นคำที่ถูกยืมมาจากเทพนิยาย เช่น คำ vulcanize ( การทำยางโดยวิธีผสมกับกำมะถัน ) มาจากเทพเจ้าของพวกโรมัน เทพเจ้านี้ดูแลเรื่องไฟและงานหลอมโลหะนามว่า Vulcan

บางครั้งคำใหม่ประกอบด้วยอักษรตัวแรกของวลีที่อธิบายความหมายของคำใหม่ เช่น radar มาจาก radio detecting and ranging ( การสืบหาและตรวจระยะด้วยคลื่นวิทยุ )

คำ jeep ใช้อักษรแรกของคำรวมกับการเลียนเสียงรถใช้งานทั่วไป ( General Purpose Car) ซึ่งพัฒนาขึ้นมาสำหรับกองทัพสหรัฐ ฯ ในสงครามโลกครั้งที่สอง และเป็นที่เชื่อกันทั่วไปว่าชื่อนี้ได้มาจากเสียงของตัวแสดงซึ่งเป็นสัตว์ตลกตัวน้อย ๆ ชื่อ Eugene the Jeep คิดสร้างขึ้นมาโดยนักเขียนภาพการ์ตูนขบขันชื่อ E.C. Segar

บางครั้งคำใหม่ก็มาจากรากคำภาษาต่างประเทศคำที่น่าสนใจชนิดนี้คำหนึ่งคือคำว่า Anesthesia ( ยาสลบ ) โดย Dr. William T.S. Morton เป็นผู้ใช้ยาสลบเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1846 ที่โรงพยาบาลกลางของรัฐแมสซาชูเสตตส์ นายแพทย์ก้มตัวลงคุยกับคนป่วยของเขาซึ่งเป็นชายอายุ 20 ปี ที่ป่วยด้วยโรคเนื้องอกที่ขากรรไกร แล้วถามเขาว่า

“ คุณพร้อมสำหรับการผ่าตัดไหม? ”

“ พร้อมครับ ” เสียงตอบอันแผ่วเบา

ผู้ที่เฝ้าดูอยู่รอบ ๆ ต่างก็หัวเราะด้วยความยินดี การผ่าตัดได้กระทำเรียบร้อยไปแล้ว นายแพทย์ Morton ได้ค้นพบว่า ธาตุอีเทอร์ทำให้ไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด และเขาได้ให้ผู้ป่วยสูดหายใจธาตุอีเทอร์เข้าไปก่อนหน้าการผ่าตัด เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์มนุษย์ที่มีดได้ตัดเนื้อสด ๆ ที่ยังมีชีวิตและไม่มีความเจ็บปวดได้

เป็นโอกาสอันสำคัญโอกาสหนึ่งในประวัติศาสตร์ โลกซึ่งเบื่อหน่ายต่อความเจ็บปวดได้เห็นชัยชนะในทันท และรู้สึกปีติยินดี Oliver Wendell Holmes, Sr. นักเขียนและนายแพทย์ชาวอเมริกันได้ใช้โอกาสเพิ่มคำสองคำให้กับภาษาอังกฤษ เขาใช้พยางค์ “an” ซึ่งแปลว่า ปราศจาก ใส่ลงในหน้ารากคำกรีก “aisthesis” ซึ่งแปลว่า ความรู้สึก หรือ ความรู้สึกทางประสาท และสร้างคำว่า anesthesia ขึ้นมาซึ่งแปลว่า การสูญเสียความรู้สึกเจ็บ และคำ anesthetic ซึ่งแปลว่า ยาที่ก่อให้เกิดการสูญเสียความรู้สึกเจ็บ anesthetist หรือ anesthesiologist คือ นายแพทย์ผู้ชำนาญการใช้ยาสลบ

คำว่า esthete ซึ่งหมายความถึงบุคคลที่มีความรู้สึกสำหรับศิลปะและความงามมากเกินไป ก็เกี่ยวกับรากศัพท์ในภาษากรีก ‘esthetic’ ซึ่งหมายถึง ‘อย่างงดงาม’

                            Collocation : ต้นเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยเขียนและพูดภาษาอังกฤษกันไม่ได้มาตรฐาน
ในการเรียนการแต่งประโยคภาษาอังกฤษ พวกเราจะถูกสอนอยู่เพียง 2 ส่วนคือ คำศัพท์ (Vocabulary) และไวยากรณ์ (Grammar) แต่ความจริงแล้ว องค์ประกอบที่สำคัญในการแต่งประโยคภาษาอังกฤษ มี 3 ส่วน คือ
คำศัพท์ (Vocabulary)

+        
ไวยากรณ์ (Grammar)
                                     =    ประโยค (Sentence)
+        
Collocation
       
หากคุณเห็นองค์ประกอบ 3 ส่วนนี้แล้ว คุณคงจะเริ่มเข้าใจแล้วว่าทำไมพวกเราจึงแต่งประโยคภาษาอังกฤษกันไม่ได้หรือแต่งได้ไม่ดี แม้จะรู้ศัพท์และไวยากรณ์ นั่นเป็นเพราะว่า Collocations ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญถูกละเลยไม่ได้รับความสำคัญในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ทั้งๆ ที่ Collocations ถูกใช้ในการเขียนภาษาอังกฤษมากถึง 60-80% และถูกใช้ในการพูด 20-40%
Collocation คืออะไร
คำว่า Collocation มาจากคำภาษาอังกฤษ 2 คำ คือ col (to do something with something or someone) + location มีคำแปลภาษาไทยว่า "คำปรากฏร่วม" อธิบายความหมายให้ชัดเจนขึ้นก็คือ Collocation เป็นการเชื่อมคำ การจัดวางคำ หรือกลุ่มคำ (รวมทั้ง idioms) ที่จำเป็นต้องใช้ร่วมกันในประโยคต่างๆ ที่เจ้าของภาษานิยมใช้ และเห็นว่าถูกต้องตามมาตรฐาน ซึ่งคำที่ใช้ร่วมกันนั้น จะใช้คำอื่นแทนหรือสลับตำแหน่งกันไม่ได้ ถึงแม้ว่าคำที่จะใช้แทนจะมีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันก็ตาม
ตัวอย่างเช่น :
The cloth has fast colour. (ผ้าสีไม่ตก)
เราจะทราบกันโดยส่วนใหญ่ว่า fast แปลว่า "เร็ว"
คำว่า stable หรือ durable ซึ่งแปลว่า "ทนทาน" น่าจะใกล้เคียงกว่า
แต่เจ้าของภาษาไม่ใช้คำว่า stable colour หรือ durable colour
ดังนั้นจึงต้องใช้คำว่า fast colour เท่านั้น คำว่า fast colour เป็น collocation
It rains cats and dogs.(ฝนตกหนัก)
คำว่า cats and dogs เป็น collocation
เราไม่สามารถ เขียนเป็น dogs and cats หรือ cats and cows ได้
คำว่า strong กับ powerful มีความหมายใกล้เคียงกัน
แต่ภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า strong wind, strong competition
และ powerful machine, powerful engine, powerful weapon
เราไม่สามารถใช้ strong machine หรือ powerful wind ได้
ตัวอย่างคำทั้งหมดนี้เป็น collocations

จากตัวอย่างจะเห็นว่า Collocation นั้นไม่เกี่ยวกับหลักไวยากรณ์ เพราะบางกลุ่มคำถึงแม้จะวางสลับตำแหน่ง หรือใช้คำไม่ถูก ก็ไม่ผิดไวยากรณ์แต่ประการใด แต่การใช้ Collocation ผิด จะทำให้เจ้าของภาษาหรือผู้ที่รู้ภาษาอังกฤษมากๆ ทราบได้ทันทีว่า เราเป็นคนต่างชาติและใช้ภาษาอังกฤษไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งความไม่ได้มาตรฐานนี้จะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของตนเอง และองค์กรที่เราสังกัด ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ ทำให้คนที่ติดต่อกับเราเกิดความไม่มั่นใจว่าเราจะสามารถสื่อสารกับเขาเป็นภาษาอังกฤษด้วยความเข้าใจที่ตรงกันได้หรือไม่ เพราะการใช้ Collocation ผิดอาจทำให้ความหมายผิดไปด้วย
ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษได้จัดให้ Collocation เป็นสิ่งที่ยากที่สุดสิ่งหนึ่งสำหรับคนไทยและคนต่างชาติที่ศึกษาภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง และมีเพียง 2 วิธีเท่านั้น ที่ทำให้เราสามารถรู้ Collocations ได้มากๆ
ความสำคัญของ Collocation
 
Harold E. Palmer
ผู้แต่งหนังสือชื่อ "A Grammar of English Words" (1949)
ได้เขียนไว้ในคำนำหน้า iii-iv ว่า
"ข้อผิดพลาดส่วนใหญ่ในการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษของนักศึกษาต่างชาตินั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องคำศัพท์.... มีคำศัพท์ในภาษาอังกฤษที่ใช้บ่อยประมาณ 1,000 คำ ที่ไม่เคยก่อความยุ่งยากในการใช้แก่ผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ แต่กลับสร้างปัญหาให้กับนักศึกษาต่างชาติ และเป็นเครื่องกีดขวางไม่ให้นักศึกษาต่างชาติใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ คำศัพท์เหล่านี้ "ยาก" เนื่องจากสาเหตุหลายประการ ได้แก่
    1. คำศัพท์แต่ละคำทำหน้าที่ได้มากกว่า 1 ประเภท . . .
    2. คำศัพท์แต่ละคำอาจมี Collocations ได้มากมายหลายแบบ . . ."

Della Summers
บรรณาธิการอำนวยการของพจนานุกรม Longman Language Activator - The World's First Production Dictionary (1993, p.Cool
ได้กล่าวถึง Collocations ในพจนานุกรมเล่มนี้ว่า
"นักศึกษาจะแสดงความจำนงอยู่เสมอถึงความจำเป็นที่ต้องมีพจนานุกรมที่สามารถบอกพวกเขาได้ว่า ศัพท์คำใดที่ถูกต้องสำหรับข้อความนั้นๆ วลีใด หรือ Collocations ใดที่จะช่วยให้พวกเขาพัฒนาความสามารถในการสื่อสิ่งที่พวกเขาต้องการสื่อ"

A.P. Cowie, University of Leeds
ได้เขียนไว้ในบทนำของ Oxford Advanced Learner's Dictionary of Current English by A.S. Hornby, Fourth Edition (1995, p. vii ) ที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของ Collocations ไว้ว่า "เป็นเวลากว่า 40 ปีแล้ว ที่ Oxford University Press ได้จัดพิมพ์ Advanced Learner's Dictionary ของ A.S. Hornby ขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งนับเป็นผลงานบุกเบิกอันโดดเด่นที่เกิดจากการวิจัยอันละเอียดลึกซึ้งในแง่มุมต่างๆ ของการใช้ภาษาอังกฤษ รวมทั้งโครงสร้างประโยค และ Collocations อันเป็นที่รู้กันดีว่า สร้างความยากลำบากให้กับนักศึกษาชาวต่างชาติ"

พจนานุกรม "The Oxford Companion To The English Language" ปี 1992
ได้ระบุความสำคัญของ Collocations ไว้ในหน้า 231 - 232 ว่า "Collocations เป็นพื้นฐานของภาษา ที่ผู้ศึกษาจำเป็นต้องเรียนรู้ถึงความละเอียดอ่อนของมัน เพราะความผิดพลาดในการจัดเรียงคำในการเขียนภาษาอังกฤษจะเป็นเครื่องบ่งชี้ที่สำคัญถึงความเป็นคนต่างชาติ"


เนื่องจาก Collocations เป็นสิ่งที่ไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัวเหมือนไวยากรณ์ ผู้สอนภาษาอังกฤษจึงไม่สามารถสอน Collocations ได้ทั้งหมดในสถานศึกษา ดังนั้นหากคุณต้องการรู้ Collocations มากๆ จึงมีเพียง 2 วิธีเท่านั้น คือ
1. ท่องจำและฝึกฝนจนขึ้นใจ
เพราะภาษาเป็นเรื่องของการเลียนแบบ ดังนั้นการเขียนหรือพูดให้ได้อย่างเจ้าของภาษา คุณจะต้องหัดสังเกตกลุ่มคำ ดูว่าคำใดมักใช้คู่กับคำใด รวมทั้งสังเกตวิธีการวางตำแหน่งของคำที่เจ้าของภาษาใช้ ทั้งจากการอ่านมากๆ และฟังมากๆ แล้วหมั่นฝึกฝนใช้ Collocations เหล่านั้น ด้วยการเขียนมากๆ และพูดมากๆ จนเคยชินและชำนาญ วิธีนี้หากตั้งใจจริง และอดทนในการฝึกฝน คุณจะประสบความสำเร็จแน่นอน แต่คนส่วนใหญ่มักจะท้อเสียก่อน
2. มี English By Example  เป็นคู่มือ
พจนานุกรม English By Example   เป็นพจนานุกรม English Collocations ฉบับแรกของประเทศไทย ที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นคู่มือให้คนไทยที่ไม่มีโอกาสอ่าน เขียน พูด หรือพบเห็นตัวอย่างการใช้คำภาษาอังกฤษได้มากๆ สามารถเปิดค้นหาตัวอย่างประโยค หรือวลีที่ต้องการเขียนได้ นอกจากนี้ผู้ที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษในการทำงาน เมื่อเกิดข้อสงสัย ก็สามารถค้นหาคำศัพท์ที่ถูกต้องจากพจนานุกรมฉบับนี้ได้เช่นกัน

พจนานุกรม English By Example นี้รวบรวมคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ที่ถูกใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน หรือคำศัพท์ที่คนไทยมักใช้ผิดจำนวน 4,663 คำ คำศัพท์แต่ละคำมีตัวอย่างการใช้คำในรูปของวลีหรือประโยคในสถานการณ์ต่างๆ เป็นจำนวนมากและมากกว่าพจนานุกรมทั่วไปหลายเท่า ไม่ว่าจะเป็นพจนานุกรมอังกฤษ-อังกฤษ หรือ อังกฤษ-ไทย ซึ่งตัวอย่างมากมายเหล่านี้ มีข้อดีคือ คุณไม่ต้องเปิดพจนานุกรมหลายเล่มเพื่อหาตัวอย่างที่ต้องการเขียน เมื่อใดที่คุณนึกประโยคไม่ออก คุณเพียงเปิดไปที่คำศัพท์หลักที่ต้องการเขียน แล้วค้นหาตัวอย่างในพจนานุกรมเล่มนี้คัดลอกได้เลย หากตัวอย่างเป็นวลี คุณแค่หาประธาน กริยา หรือกรรมใส่ไปก็จะได้ประโยคที่ต้องการเขียน ทำให้การแต่งประโยคเป็นเรื่องง่าย ไม่ยากอย่างที่เคยประสบ นอกจากนี้ภาษาไทยที่แปลกำกับในแต่ละตัวอย่างยังช่วยให้คุณเข้าใจความหมายของตัวอย่างประโยคได้ถูกต้องอีกด้วย

คุณมีปัญหา 1 ใน 6 ข้อต่อไปนี้ ในการใช้ภาษาอังกฤษหรือไม่ ?
1. รู้ศัพท์ รู้ไวยากรณ์ แต่ยังแต่งเป็นประโยคได้ไม่ดี
2. นึกไม่ออกว่าจะใช้คำอะไรมาเชื่อมประโยค
3. ตอบ e-mail หรือตอบจดหมายภาษาอังกฤษแต่ละฉบับใช้เวลานานมาก
4. ไม่มั่นใจว่าเขียนได้ดี
5. ไม่แน่ใจว่าใช้คำศัพท์ได้ถูกต้อง บางครั้งมั่นใจว่าเขียนถูกแล้ว แต่ความจริงใช้ศัพท์ผิดมาตลอดโดยไม่รู้ตัว
6. แต่งประโยคได้ถูกหลักไวยากรณ์ แต่ขาดความเป็นธรรมชาติไม่เหมือนที่เจ้าของภาษาใช้
ไม่ใช่เรื่องแปลก ถ้าคุณกำลังประสบปัญหาเหล่านี้ เพราะคนไทยที่ศึกษาภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง จะประสบปัญหาเช่นนี้เกือบทุกคน  แล้วคุณจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร ?
เหตุใดจึงแต่งประโยคภาษาอังกฤษได้ไม่ดี และเขียนได้ไม่เหมือนเจ้าของภาษา ทั้งๆ ที่รู้ศัพท์และไวยากรณ์ ?
ที่เป็นเช่นนี้ เพราะการศึกษาภาษาอังกฤษในประเทศไทยตามหลักสูตรที่สอนในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ผู้สอนส่วนใหญ่จะเน้นให้พวกเราจดจำเฉพาะหลักไวยากรณ์ และข้อยกเว้นต่างๆ รวมทั้งฝึกให้ท่องจำศัพท์เป็นคำๆ โดยลืมนึกถึงความจริงที่ว่า คำศัพท์ในภาษาอังกฤษส่วนใหญ่จะถูกใช้เป็นคำๆ โดยลำพังไม่ได้
คำศัพท์แต่ละคำจะต้องมีศัพท์เฉพาะที่เจ้าของภาษากำหนดให้ใช้ร่วมกันเป็นกลุ่มคำในการผูกประโยค จึงจะเกิดความหมายที่ต้องการสื่อ จะใช้ศัพท์อื่นแทนไม่ได้ถึงแม้จะมีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน นอกจากนี้ศัพท์บางคำยังต้องจัดเรียงให้ถูกตำแหน่ง จะวางสลับกันไม่ได้ ภาษาอังกฤษเรียกกลุ่มคำที่ต้องใช้ร่วมกัน และการจัดเรียงคำในประโยคว่า "Collocation"
ดังนั้น การเน้นให้ท่องจำศัพท์เป็นคำๆ มากๆ อย่างที่เคยฝึกฝน จึงไม่ส่งผลในการเรียนภาษาอังกฤษมากเท่ากับฝึกให้จดจำศัพท์ที่ปรากฎเป็นกลุ่มคำ (Collocations) ศัพท์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไป มีเพียง 4,000 คำ แต่ Collocations หรือกลุ่มคำศัพท์ที่ใช้ร่วมกับศัพท์ 4,000 คำนี้ มีมากถึงเกือบ 100,000 Collocations และหากเรารู้ Collocations 100,000 Collocations ก็เท่ากับว่าเราสามารถแต่งประโยคที่ถูกต้องได้มากมายนับไม่ถ้วน
 Grin Tongue


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!