เทคโนโลยี่จอแสดงผล
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
เมษายน 30, 2024, 02:57:24 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เทคโนโลยี่จอแสดงผล  (อ่าน 2382 ครั้ง)
song bk
member
*

คะแนน3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 17


« เมื่อ: พฤศจิกายน 12, 2007, 08:17:33 PM »

 เทคโนโลยีจอแสดงผล ก้าวไปอย่างไม่หยุดยั้ง

ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้มีอุปกรณ์ทันสมัยออกมาให้ผู้ใช้ได้เลือกใช้งานกันหลากหลาย จนหากใครที่ไม่เคยเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ไฮเทคทั้งหลาย แทบจะไม่สามารถบอกได้เลยว่าชิ้นนี้และชิ้นนั้นแตกต่างกันอย่างไรตรงไหน และแบบไหนดีกว่า เหตุผลนี้เองที่ทำให้ผู้ใช้งานต้องตามติดตามเทคโนโลยีกันพอสมควร นอกจากจะเป็นความรู้ แล้วยังสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมกับงานและความ จำเป็นอีกด้วย
ผลิตภัณฑ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วอย่างเห็นได้ชัดเห็นจะเป็นกล้องดิจิตอลและโทรศัพท์มือถือ และยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อุปกรณ์เหล่านี้ทำเอาเราทั้งหลายแทบจะตามเทคโนโลยีไม่ทันกันทีเดียว อีกสิ่งหนึ่งที่ดูเหมือนใกล้ตัวและต้องพบเห็นกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็คือการเปลี่ยนแปลงของจอแสดงภาพ หลายๆ คนคงเริ่มสังเกตเห็นแล้วว่าจอแสดงผลยุคนี้ดูแบบบาง ทันสมัย และผู้คนก็เริ่มให้ความสนใจ จอแบบใหม่นี้ เนื่องจากราคาของจอ แสดงผลแบบบางนี้ลดต่ำลงมากกว่าสองสามปีที่ผ่านมา และจอเหล่านี้ก็มีให้พบ เห็นได้มากขึ้นตามร้านขายสินค้าไอทีทั่วไป
แต่ก็ใช่ว่าเทคโนโลยีจอแสดงผลจะมีอยู่แบบเดียว เมื่อถึงเวลาต้องเลือก ก็อาจทำให้เกิดความสับสนได้ว่า แบบไหนจะดีกว่ากัน ในบทความนี้จะพาท่านผู้อ่านไปทำความรู้จักเทคโนโลยีจอแสดงผลกัน สักหน่อยว่า ปัจจุบันมีแบบไหนให้ใช้กันบ้างแล้ว

แอลซีดี ผลึกเหลวยอดนิยม
จอแอลซีดี (Liquid Crystal Display, LCD) หรือจอผลึกเหลวนั้น เป็นเทคโนโลยีที่เราคุ้นเคยกันมากที่สุด ตัวจอมีหลักการทำงานซึ่งอาศัยการ เบี่ยงเบนของแสง ตามการควบคุมทิศทางของโพราไลเชชั่นของวัตถุที่กันระหว่างแหล่งกำเนิดแสงและแผ่นเคลือบสารเรืองแสง เมื่อต้องการให้มีแสงเกิดขึ้น ก็ป้อนแรงดันเข้าไปยังแผ่นเพลตที่มีคุณสมบัติบิดงอได้เมื่อได้รับแรงดันไฟฟ้า มีผลให้แสงจากแหล่งกำเนิดสามารถผ่านทะลุกระทบกับสารเรืองแสง จนสามารถแสดงแสงสีตามต้องการได้ การทำงานดังกล่าวก็จะเหมือนกับมู่ลี่ที่เราใช้กั้นแสงหน้าต่างบ้านนั่นเอง เมื่อปรับมู่ลี่ให้เปิดกว้างความเข้มแสงในห้องก็จะมากขึ้น ตามการ หมุนแผ่นกั้นให้เปิดมากน้อยตามความต้องการ
จอแอลซีดียังแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ แอลซีดีแบบพาสซีฟ และ แอลซีดีแบบแอคทีฟ ในแบบพาสซีฟนั้น ภาพหนึ่งจุด (1 พิกเซล) เกิดจากการตัดกันของเส้นกริดแนวตั้งและแนวนอน เซลล์ในแอลซีดี จะทำตัวเสมือนกับตัวเก็บประจุ หลังจากประจุไฟแล้วจะค่อยๆ ปล่อยแรงดันออกมา และจะกลับไปสู่สภาวะเดิมอย่างช้าๆ ด้วยเหตุนี้เองจอแบบนี้จึงไม่สามารถเปลี่ยนสถานะอย่างรวดเร็วได้ ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับการใช้งานกราฟิกที่มีการเคลื่อนไหวความเร็วสูง นอกจากนี้จอแบบพาสซีฟยังมีข้อเสียตรงที่มุมมอง ของภาพที่กว้างประมาณ 70-80 องศาเท่านั้น จึงอาจมองภาพไม่เห็น ถ้ายืนอยู่ริมมากๆ เราจะพบจอแบบนี้ได้ในอุปกรณ์ เช่น นาฬิกาข้อมือแบบดิจิตอล หน้าปัดเครื่องคิดเลข หน้าจอเครื่องแฟกซ์ เป็นต้น ส่วนจอแอลซีดีแบบแอคทีฟ หรือที่มักมี วงเล็บ (TFT) ตามหลัง TFT คือ Thin Film Transistor เป็นการใช้ทรานซิสเตอร์ในการขับเซลล์ของ แอลซีดี ทำให้สามารถตอบสนองต่อการใช้งานที่ต้องการความเร็วสูง และมุมมองที่กว้างถึง 180 องศา แอลซีดีแบบนี้มีใช้ในจอคอมพิวเตอร์ จอทีวีที่ติดตั้งภายในรถยนต์ และจอทีวีขนาดใหญ่ รวมถึงจอบนหน้าโทรศัพท์มือถือบางรุ่น

พลาสมา ภาพนุ่มสบายตา
จอพลาสมา หรือที่ใครต่อใครเรียกว่า PDP (Plasma Display Panel) นั้น เป็นจอแสดงผลที่ใครต่อใครใฝ่ฝันอยากได้เป็นเจ้าของ แต่ว่าราคาก็สูงพอดูเหมือนกัน เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่มีความยุ่งยากซับซ้อน แต่ก็ให้ภาพที่นุ่มนวลสบายตา การ ทำงานของจอแสดงผลแบบนี้จะทำให้ก๊าซที่บรรจุอยู่ภาย ในจุดแต่ละจุดแตกตัว เกิดเป็นรังสีอัลตราไวโอเลตไปกระตุ้นให้จอเรืองแสงทำงาน แต่จอพลาสมาใช้ไฟฟ้ามากเอาการอยู่เหมือนกันเมื่อเทียบกับการใช้งานจอแสดงผลแบบอื่นๆ โดยจะกินไฟประมาณ 700 วัตต์ต่อชั่วโมง เทียบเท่ากับการเสียบเตารีดทิ้งไว้หนึ่งชั่วโมง หากว่าดูกันทั้งวัน ก็แสดงว่า นอกจากมีเงินซื้อเครื่องแล้ว ยังต้องมีเงินจ่ายค่าไฟที่มากขึ้นด้วย จอภาพแบบนี้จะมีพบเห็นในจอทีวีขนาดใหญ่เท่านั้น

โอแอลอีดี จออินทรีย์เปล่งแสง
จอภาพแบบโอแอลอีดี (Organic Light-Emitting Diodes, OLED) เป็นจอภาพเทคโนโลยีใหม่ มีข้อดีตรงที่ความบางและเบาที่สร้างความโดดเด่นของเทคโนโลยีที่เข้ามาแข่งขันกับจอแอลซีดี ซึ่งนอกจากจะบางเบาแล้ว มันยังให้ความคมชัดของภาพและแสงที่ดีกว่าด้วย นอกจากนี้ยังใช้กำลังงานในการเปล่งแสงน้อยกว่า เท่ากับว่ามันสามารถนำไปใช้งานอย่างครอบคลุมทั้งในจอแสดงผลที่มีขนาดเล็กอย่างโทรศัพท์ มือถือ ตลอดถึงจอภาพที่มีขนาดใหญ่อย่างจอทีวีได้เลย การทำงานของจอโอแอลอีดีเป็นการทำให้เกิดการเปล่งแสงจากสารอินทรีย์อย่างเช่น ฟลูออเรสเซนส์ (Fluorescence) และฟอสเฟอเรสเซนส์ (Phosphorescence) เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน โดยจอแสดงผลแบบนี้จะมีสถาปัตยกรรมเช่นเดียวกับ จอแอลซีดี คือมีทั้งชนิดแอกทีฟและ พาสซีฟ ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานด้วยจอแสดงผลแบบโอแอลอีดีเกิดขึ้นมาก เช่น กล้องดิจิตอลของโกดัก โซนี่ หรือหน้าจอโทรศัพท์ของฟิลิปส์ แต่หลาย กระแสให้ความเห็นว่ายังคงต้องพัฒนาเทคโนโลยีนี้กันต่อไปเพื่อสร้างเป็นจอแสดงผลขนาดใหญ่ ส่วนขณะนี้ยังมีข้อจำกัดบางประการที่เกี่ยวข้องกับความไวต่อความชื้นและ ออกซิเจนที่ต้องก้าวข้ามไปให้ได้เสียก่อน

เอสอีดี เทคโนโลยีมาแรง
จอเอสอีดี (Surface conduction Electron-emitter Display, SED) กำลังเป็นที่จับตามองจากอุตสาหกรรมจอแสดงผลขนาดใหญ่ เทคโนโลยีนี้สร้างขึ้นด้วยความร่วมมือของบริษัทแคนนอนและโตชิบาที่ต้องการคุณสมบัติเด่นของจอแสดงผลแบบหลอดภาพ (หลอดรังสีแคโทด, CRT) และความบางเบาของจอแสดงผลแบบแอลซีดี ซึ่งสามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้ด้วยความก้าวหน้าของนาโนเทคโนโลยีที่สร้างตัวกำเนิดแสง โดยจะมีขั้วความต่างศักย์ไฟฟ้าอยู่ห่างกันในระยะนาโนเมตร เมื่อขั้วไฟฟ้าทั้งสองมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้อิเล็กตรอนกระโดดหลุดออกมา วิ่งไปที่ขั้วไฟฟ้าด้านหน้าและชนเข้ากับแผ่นเรืองแสงเกิดเป็นจุดสว่าง ในหนึ่งจุดหรือพิกเซลบนจอภาพจะประกอบด้วยสามจุดย่อยเพื่อแสดงเป็นจุดแสงสีแดง เขียวหรือน้ำเงิน ดังนั้นเราจะได้จอแสดงผลที่มีแสงสีสดใส และไม่เกิดความบิดเบี้ยวบนขอบจอภาพเหมือนกับจอแสดงผลแบบหลอดภาพ

ที่กล่าวมาเป็นชนิดและประเภทของจอแสดงผลที่เข้ามามีบทบาทต่อการใช้งาน ทั้งที่เป็นจอแสดงผลขนาดใหญ่อย่างจอทีวีและมอนิเตอร์ต่างๆ แล้ว ยังเอื้อประโยชน์ต่อการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความต้องการจอแสดงผลขนาดเล็กด้วย เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ มอนิเตอร์เกมบอย หน้าจอกล้องดิจิตอล เครื่องบันทึกภาพดิจิตอล ตลอดจนหน้าปัดนาฬิกา นับวันดูเหมือน อุปกรณ์ดังกล่าวจะมีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ เทคโนโลยีที่กล่าวมาคงจะได้รับการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งนั่นก็คงเป็นเรื่องที่ดีสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อความสะดวกสบายต่อการใช้ชีวิต และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่ามากขึ้น
                                                                                                             (ขอขอบคุณวรสารซัมซุง)


บันทึกการเข้า

Hooto cha-am
ซุปเปอร์ วีไอพี
member
*

คะแนน182
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 674



อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 12, 2007, 09:21:28 PM »

 Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy
บันทึกการเข้า
ronnachai
member
*

คะแนน14
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 506



อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 12, 2007, 09:41:29 PM »

ขอบคุณครับอยากได้ข้อมูลพอดีเลย Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy
บันทึกการเข้า

รณชัย พันธุ์วิกย์การ(ร้านช่างอ๊อดบริการ) 53 ม1.  ซ.สมบูรณ์2 ถ.เพชรเกษม 27 อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 โทร 074-422931 , 086-2893440
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!