ตัวเหนี่ยวนำขดลวดวงแหวนค่าความเหนี่ยวนำหาได้จากความสัมพันธ์
L = (u N^2 A)/l
เมื่อ u เป็นค่าอำนาจการเรียงตัวของสนามแม่เหล็กในโมเลกุลของวัสดุ ที่ใช้ทำแกน มีหน่วยเป็น วีเบอร์ต่อแอมแปร์-เมตร หรือแอมแปร์ต่อตารางเมตร
N เป็นจำนวนรอบที่พันรอบแกน มีหน่วยเป็น รอบ
A เป็นพื้นที่หน้าตัดขวางของแกนขดลวด มีหน่วยเป็น ตารางเมตร
l เป็นเส้นรอบวงของวงแหวนมีหน่วยเป็ เมตร
ถ้าป้อนไฟฟ้ากระแสสลับที่มีความถี่สูงกว่าที่จะทำให้มีอำนาจแม่เหล็กสูงสุดได้แรงเคลื่อนไฟฟ้าต่อต้าน
กับแรงเคลื่อนไฟฟ้าเดิม จะคงมีอยู่ตลอดทำให้ตัวเหนี่ยวนำมีความต้านทานต่อกระแสไฟฟ้าสลับ ตามความ
สัมพันธ์
Xl = 2 pi f L
เมื่อ Xl เป็นความต้านทานต่อกระแสไฟฟ้าสลับ มีหน่วยเป็นโอห์ม
pi เป็นค่าคงที่ = 3.14
f เป็นความถี่ของไฟฟ้ากระแสสลับ มีหน่วยเป็น เฮิร์ต
L เป็นค่าความเหนี่ยวนำตนเอง มีหน่วยเป็น เฮนรี่
ถ้าความถี่ของไฟฟ้ากระแสสลับสูงขึ้นแรงเคลื่อนไฟฟ้าต่อต้านจะมีค่ามากเพราะถ้าเวลายาว ออกไปแรงเคลื่อนไฟฟ้าต่านต้านจะลดลง ตามการลดลงของการเปลี่ยนแปลงของอำนาจแม่เหล็ก นั่นคือทำให้ตัวเหนี่ยวนำมีความต้านทานต่อไฟฟ้ากระแสสลับมากขึ้น
มากกว่านี้ต้องที่นี่
http://einstein.sc.mahidol.ac.th/~withoon/SCPY154/SCPY154.htm