แรมบัส400กับ266ใส่ร่วมกันได้ไหมครับ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
เมษายน 19, 2024, 03:17:26 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: แรมบัส400กับ266ใส่ร่วมกันได้ไหมครับ  (อ่าน 14595 ครั้ง)
Liang
member
*

คะแนน16
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 399


« เมื่อ: ตุลาคม 24, 2007, 05:58:52 AM »

       คือตอนแรกเครื่องของผมใช้แรม256MBบัส400   เพื่อนผมให้แรมเก่าๆมาเป็น128 บัส266  ผมลองใส่ดูเช็คแรมเห็น384M.
แต่อยากทราบว่ามันจะทำให้เครื่องอืดกว่าเดิมหรือเร็วกว่าเดิมครับ   มันจะมีผลเสียมั้ย   


บันทึกการเข้า

MyLove73
Full Member
member
**

คะแนน15
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 339

แบ่งปันน้ำใจ ใครๆก็รัก


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: ตุลาคม 24, 2007, 01:09:46 PM »

     ผมใช้512บัส400 กับ128บัส266 แต่เครี่องผมบัส266นะครับ ผมก็อยากรู้เหมือนกัน
  แต่ผมใช้มาปีกว่าก็ไม่มีปัญหา หรือพี่ๆคนไหนที่มีความรู้ช่วยแนะนำด้วยครับ ฮิๆพลอยด้วยคน Grin
บันทึกการเข้า

winai4u-LSV team
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน673
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3025



« ตอบ #2 เมื่อ: ตุลาคม 24, 2007, 02:48:28 PM »

     ผมใช้512บัส400 กับ128บัส266 แต่เครี่องผมบัส266นะครับ ผมก็อยากรู้เหมือนกัน
  แต่ผมใช้มาปีกว่าก็ไม่มีปัญหา หรือพี่ๆคนไหนที่มีความรู้ช่วยแนะนำด้วยครับ ฮิๆพลอยด้วยคน Grin
ถ้า Chipset มันเข้ากันได้ มันก็จะกลายเป็น 640 เมก วิ่งที่บัส 266 ครับ
บันทึกการเข้า
MyLove73
Full Member
member
**

คะแนน15
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 339

แบ่งปันน้ำใจ ใครๆก็รัก


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: ตุลาคม 24, 2007, 07:25:29 PM »

     ผมใช้512บัส400 กับ128บัส266 แต่เครี่องผมบัส266นะครับ ผมก็อยากรู้เหมือนกัน
  แต่ผมใช้มาปีกว่าก็ไม่มีปัญหา หรือพี่ๆคนไหนที่มีความรู้ช่วยแนะนำด้วยครับ ฮิๆพลอยด้วยคน Grin
ถ้า Chipset มันเข้ากันได้ มันก็จะกลายเป็น 640 เมก วิ่งที่บัส 266 ครับ

     ขอโทษทีครับเมื่อกี้ผิดพลาดหน่อย งั้นผมขอถามพี่  หน่อยครับ แรมผมก็เท่ากับ640 ตามที่พี่บอก แต่ความเร็วคอมมันจะเพิ่มขึ้นหรอเปล่าครับ หรือว่าเอาแรมบัส400ใส่ไป
ก็เท่านั้น  หรือทำให้เครื่องผมเจ้งเร็วขึ้น ขอคำตอบรบกวนอีกครั้งครับ ขอบคุณมากๆ
     
บันทึกการเข้า

พรเทพ-LSV team♥
รับติดตั้งจานดาวเทียม ลาดพร้าว บางกะปิ
Senior Member
member
*

คะแนน1453
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 12091

091-091-9196 ID LINE : tv59


เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: ตุลาคม 24, 2007, 07:33:16 PM »

วิ่งที่บัส 266 ครับ


ก็ตอบไปแล้วว่า วิ่งที่บัส 266 ไง Shocked

***โดยหลักการ แรม ไม่ควรเร็วกว่า CPU
***เพราะถ้าแรมเร็วกว่า CPU
***CPUก็จะทำงานไม่ได้(ทำไม่ทัน) จะทำให้เครื่องรีสตาร์ครับ  Tongue
บันทึกการเข้า

winai4u-LSV team
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน673
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3025



« ตอบ #5 เมื่อ: ตุลาคม 24, 2007, 09:38:18 PM »

RAM นั้นย่อมาจาก Random Access Memory ถ้าจะแปลตรงตัวก็คือ หน่วยความจำที่สามารถเข้าถึงแบบสุ่มได้ การเข้าถึงแบบสุ่มนี่ก็คือการที่เราสามารถเข้าถึงข้อมูลใดๆ ที่เราต้องการจะอ่านหรือเขียนข้อมูลในตำแหน่งไหนก็ได้ในหน่วยความจำ แล้วมันมีการเข้าถึงข้อมูลแบบที่ไม่เป็น Random Access มั้ย
คำตอบก็คือมี เช่นการเขียนแผ่น DVD ของเรานั่นไง เวลาเราไรท์แผ่น DVD หรือ CD นั้นเราจะทำการไรท์จากด้านในสุดของแผ่นไล่ไปเรื่อยๆจนถึงขอบของแผ่น ไม่ได้เขียนตรงโน้นทีตรงนี้ที แต่ก็มีแผ่น DVD อีกแบบหนึ่งคือแผ่น DVD-RAM ซึ่งถ้าเรามีไดรฟ์ที่รองรับ เราก็จะสามารถใช้แผ่น DVD-RAM เหมือนกับเป็น HDD อันนึงเลย พูดถึงก็เริ่มอยากได้แล้วสิ HDD จะเต็มแล้ว

ต่อมาเราก็มาพูดถึงหน้าที่ของ RAM
RAM ทำหน้าที่เป็น หน่วยความจำ ให้กับ CPU เพื่อให้ CPU ใช้ในการทำงาน ถ้าจะเปรียบให้เห็นภาพง่ายๆ RAM ก็เหมือนกับโต๊ะทำงานของเรา เวลาเรานั่งทำงาน เราก็ต้องทำงานบนโต๊ะทำงานทีนี้ถ้าโต๊ะเราตัวใหญ่ๆเราก็จะสามารถทำงานได้หลายอย่าง แต่ถ้าโต๊ะเราตัวเล็กนิดเดียว เราก็จะทำงานได้ไม่กี่อย่างโต๊ะก็เต็มแล้ว
ทีนี้ถ้าจะให้เห็นภาพ RAM ง่ายๆเราก็จะเปรียบโต๊ะว่าเป็น RAM นั่นเอง ถ้าโต๊ะเราตัวใหญ่ก็คือ RAM เยอะ เราก็จะสามารถทำงานได้เยอะโดยไม่ติดขัด แต่ถ้าโต๊ะเราตัวเล็กนิดเดียว หรือก็คือ RAM มีน้อย เวลาเราทำงานไปได้สักพักพองานเริ่มกองจนเต็มโต๊ะเราก็จะทำอะไรไม่ได้เลย
ดังนั้น RAM จึงเรียกได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากชิ้นหนึ่งไม่แพ้อุปกรณ์อย่างอื่นเลยทีเดียว สมัยก่อนเวลาอ่านสเปคคอมมันจะมีเขียนว่า Memory 256 MB ไรประมาณนี้ ยังสงสัยเลยว่ามันจะมีทำไมเจ้า Memory เล็กๆแค่นี้ HDD มีเป็น GB เลยไมไม่ใช้นะ  แต่ก็อย่างว่านั่นมันตอนสมัยก่อนโน้น
จำได้ว่าตอนซื้อคอมเครื่องนี้
ยังไม่รู้หน้าที่ของแรมก็เลยไม่ได้เน้นอะไรมาก ผลก็คือ ใช้เครื่องนี้ได้ไม่นานก็เริ่มอืด (ตอนนั้นซื้อมา 256 MB)

ต่อมารู้หน้าที่ของ RAM ก็มานั่งคิดว่าทำไมเราไม่หาข้อมูลให้ดีกว่านี้
หลังจากหน้าที่ของ RAM แล้วเราก็มาดูที่ชนิดของ RAM ที่ใช้อยู่ทั่วๆไปกัน ในตอนนี้ RAM ที่ใช้อยู่ทั่วไปในตลาดจะเป็น DDR2 ซึ่งเป็น RAM ที่พัฒนาต่อมาจาก DDR SD-RAM อีกต่อ และตอนนี้ก็เริ่มมี DDR3 ซึ่งก็เป็นตัวที่พัฒนามาจาก DDR2 เข้ามาบ้างแล้วแต่ราคายังแพงบรม 1GiBหรือ 2GiB นี่แหละราคาเหยียบหมื่นได้ ซึ่งถือว่ายังเป็นของใหม่อยู่ราคามันเลยยังสูงอยู่มาก และที่สำคัญ RAM แต่ละชนิดไม่สามารถใช้แทนกันเองได้ เนื่องจากมันมีจำนวน pin ไม่เท่ากัน

ต่อจากชนิดทีนี้เราก็จะมาทำความรู้จักกับตัวแรมเมื่อเราไปซื้อกัน โดยเมื่อเวลาเราซื้อ RAM นั้นจะมีตัวที่บอกสเปคของแรมที่สำคัญๆอยู่ สามตัวคือ

1. ขนาดความจุของแรม : ก็ตรงตัวเลยเป็นขนาดความจุของแรม อ้อ และก็สำหรับในการบอกขนาดความจุของแรมนั้น RAM เป็นอุปกรณ์หน่วยความจำที่เรียกได้ว่าเพียงชนิดเดียวก็ได้ที่อ้างอิงในหน่วย MiB หรือ GiB เลย ไม่เหมือนกับอุปกรณ์อื่นๆที่จะอ้างอิงเป็น MB หรือ GB ทำให้ตัว OS ของเราจะเห็น RAM เต็มขนาดที่เราซื้อมาไม่ต้องมานั่งคูณ Factor ให้ปวดหัว

2. ความเร็ว Bus ของ RAM : เป็นค่าความเร็ว Bus ของ RAM ที่ใช้ติดต่อส่งข้อมูลกับ Memory Controler ตัวนี้เป็นค่าสำคัญที่บอกถึงความเร็วในการส่งข้อมูลของ RAM และเนื่องจาก RAM ที่ใช้ทั่วไปเป็นแรมแบบ DDR ดังนั้น จึงใช้หลักการเดียวกับ CPU ที่เคยบอกไปแล้วก็คือจะบอกเป็น ความเร็ว Bus เสมือน เช่น DDR2 Bus 800 MHz นั้นจริงๆแล้วมีความเร็ว Bus 400 MHz แต่ว่าเป็น DDR ซึ่งในแต่ละ Clock Cycle นั้นส่งข้อมูลสองครั้งดังนั้น RAM อันนี้จะเหมือนกับว่ามีความเร็ว Bus 800 MHz เมื่อส่งข้อมูลแบบธรรมดา และอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญ RAM นั้นจะมี Data Bus 64 bits ดังนั้น ถ้า RAM เป็น DDR2 800 MHz นั้นจะมี Bandwidth ในการส่งข้อมูลเท่ากับ 64/8*800,000,000 = 6400,000,000 Byte/second หรือ 6.4 GBps ดังนั้น ในบางครั้งทางผู้ผลิตจะบอกความเร็วแรมเป็น Bandwidth เช่น DDR2 PC-6400 ซึ่งก็คือ DDR2 800MHz นั่นเอง

3. ค่า Latency : ค่า Latency เป็นตัวเลขบอกถึง Latency ของตัวแรม โดย Latency ที่ทางผู้ผลิตบอกมามักจะมีสี่ค่า ในบางครั้งจะเรียกว่าค่า CL เขียนเป็นตัวเลขและใช้ - เป็นตัวคั่น เช่น 4-4-4-12 เป็นต้น โดยค่าแต่ละค่านั้นบอกถึงจำนวน Clock cycle ของเม็ดแรมในการทำงานต่างๆ ซึ่งไม่จำเป็นต้องจำก็ได้ว่าแต่ละตัวหมายถึงอะไร แต่เราจะบอกเอาไว้เผื่อไว้ก่อน
ตัวแรก tCAS = จำนวน clock cycle ที่ตัวแรมใช้ในการ access column of data หนึ่ง และอันที่จริง ค่า CL นั้นแท้จริงหมายถึงค่านี้ดังนั้นบางครั้งผู้ผลิตบอกค่า CL มาแค่ค่าเดียวก็คือค่านี้นี่แหละ
ตัวที่สอง tRCD = จำนวน clock cycle ที่ตัวแรมจะเสียไประหว่างหลังจากแรม access row of data กับ access column of data
ตัวที่สาม tRP (tRAS Precharge) = จำนวน clock cycle ที่ตัวแรมใช้ในการเลิกติดต่อกับ row ที่เปิดไว้และทำการติดต่อกับ row ถัดไป
ตัวที่สี่ tRAS = จำนวน clock cycle น้อยที่สุดที่ตัวแรมใช้ตั้งแต่เมื่อมีการติดต่อขอข้อมูลกับ row of data ไปจนถึงเริ่ม precharge command
อ้อทางผู้ผลิตอาจมีการเรียงที่ไม่เหมือนกันดังนั้นบางครั้งเราอาจจะเห็นเป็น 4-4-12-4 ก็ได้ ซึ่งค่า latency นั้นมีค่ายิ่งน้อยยิ่งดี สำหรับค่า latancy ทั้งหลายนั้นก็มีผลกับความเร็วอยู่บ้างพอสมควร แต่ก็ไม่มากเท่ากับ Bus ยกตัวอย่างก็เมื่อตอนที่ DDR2 เริ่มเป็นที่นิยมในตลาดนั้น ได้มีบางเวปทำการทดสอบระหว่าง RAM DDR เทพที่มี ค่า Bus 400 กับ CL ต่ำๆ กับ DDR2 ที่มีค่า Bus 533 ละมั้งกับ CL ที่สูงกว่า ในการทดสอบนี้บางการทดสอบ DDR นั้นชนะด้วยซ้ำไปเพราะเป็นผลมาจาก CL ที่ต่ำกว่าพอสมควรนั่นเอง
ใน DDR 1,2,3 นั้น DDR จะมีความเร็ว Bus ที่น้อยที่สุดแต่ก็จะมีค่า Latency น้อยที่สุดด้วย ส่วน DDR3 นั้นถึงแม้จะมี Bus ที่มากที่สุดแต่มันก็มี Latency ที่สูงสุดด้วยเช่นกัน

และจากองค์ประกอบที่แตกต่างกันสามอย่างนี่เองที่ทำให้ RAM มีราคาแตกต่างกันไปในแต่ละรุ่น แน่นอน ความจุต่างกันก็ต้องมีราคาไม่เท่ากัน ความเร็ว Bus ต่างกันก็มีราคาไม่เท่ากัน แม้กระทั่งมีความจุเท่ากันมี Bus เท่ากันแต่มี CL ที่ต่างกัน ก็มีราคาแตกต่างกันไปอีก ผู้ผลิต RAM ชั้นนำนั้น มักจะมี RAM รุ่นธงของตัวเอง คือ มีความเร็ว Bus ที่สูงและมี CL ที่ต่ำเมื่อเทียบกับทั่วๆไป ซึ่งมีราคาที่สูงกว่า RAM ทั่วๆไปมากทั้งๆที่ CL ต่างกันแค่ 1 หรือ 2 เท่านั้น ซึ่งเราจะใช้แรมรุ่นไหนตัวไหนก็แล้วแต่ความเหมาะสมของงานและก็กำลังทรัพย์

สำหรับเรื่องที่มักเป็นที่สงสัยกันบ่อยเกี่ยวกับ RAM ก็คือเรื่อง Dual Channel
Dual Channel คือการที่เรานำ RAM สองอันที่มีคุณสมบัติคล้ายๆกัน มาใส่พร้อมกันเป็นคู่ๆ ทำให้ตัว RAM ทำตัวเสมือนมี Data Bus เพิ่มขึ้นสองเท่า เพื่อเพิ่ม Bandwidth ของ data ที่ส่งไปยัง Memory Controler นั่นเอง ถ้าจะพูดให้ง่ายๆมันก็คล้ายๆกับการทำ RAID 0 ของ RAM นั่นเอง ซึ่งในทางทฤษฏีนั้น Bandwidth นั้นจะเพิ่มเป็นสองเท่าแต่ในทางปฎิบัติ Dual Channel นั้นจะเพิ่ม Memory Bandwidth และประสิทธิภาพของ RAM ได้เพียง 20-30% เท่านั้น แล้วถ้าถามว่าจำเป็นไหมที่ต้องใส่ RAM แบบ Dual Channel คำตอบก็คือ ไม่จำเป็นเลย เพียงแต่ถ้าเราทำ Dual Channel มันก็จะทำให้ระบบของเราทำงานได้เร็วยิ่งขึ้น ในบางครั้งเราไปถามตามร้านในพันทิพ ร้านเค้ามักจะบอกว่า เนี่ยมันต้องซื้อเป็นคู่ ต้องใส่เป็นคู่ให้เหมือนกัน ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เราไม่จำเป็นต้องใส่ให้เหมือนกันก็ได้ เพียงแต่ว่าเราจะไม่สามารถใช้ความสามารถของ Dual Channel ได้ก็แค่นั้น ไม่ได้ถึงกับทำให้ระบบไม่ทำงาน ดังนั้นขอให้เพื่อนๆทำความเข้าใจกันใหม่ด้วยละกัน

และกระทู้สาระนี้ก็มาถึงเรื่องสุดท้ายคือ เราจะ RAM เท่าไรกันดี อันนี้ก็ต้องตอบด้วยคำตอบ(บอกปัด)ยอดนิยม มันก็แล้วแต่งานที่เราทำ ถ้าทำงานโหดๆอย่างตัดต่อวีดีโอ มีงบเท่าไรก็จัดไปเลย

แต่ถ้าแค่ดูหนังฟังเพลงเล่นเกมส์แล้วละก็ เราขอแนะนำที่ 2 GiB ขึ้นไปละกันเพราะว่า โปรแกรมเดี่ยวนี้มีแนวโน้มที่ใช้หน่วยความจำเพิ่มขึ้นเร็วมาก ถ้าเราซื้อแค่ 1 GiB อาจจะอยู่ได้ไม่นาน แรมก็คงไม่พอซะแล้ว ซึ่งกว่าจะถึงเวลานั้น DDR3 อาจจะมาตีตลาดแทนที่ DDR2 ซึ่งก็จะทำให้แรม DDR2 นั้นมีราคาที่สูงขึ้นมาก เหมือนกับที่เกิดขึ้นกับ DDR ตอนนี้

คุยเรื่อง RAM มาก็นานละ คิดว่าไม่น่าจะมีเรื่องอะไรตกค้างแล้ว งั้นเราขอจบเรื่อง RAM ไว้แค่นี้ละกัน เรื่องหน้าคิดว่าคงเป็น Mainboard แหละ ไม่น่าจะเป็นเรื่องอื่นแล้ว

เครดิต CP32 Board มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์


บันทึกการเข้า
MyLove73
Full Member
member
**

คะแนน15
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 339

แบ่งปันน้ำใจ ใครๆก็รัก


อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: ตุลาคม 25, 2007, 12:13:58 PM »

     ขอบคุณพี่ winai4u มากครับได้ความรู้เยอะเลย ขอให้วงการนี้ก้าวหน้าตอ่ไป  Smiley
บันทึกการเข้า

saksith
member
*

คะแนน5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 374


Tom_3027@hotmail.com
อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: ตุลาคม 28, 2007, 07:24:54 PM »

ใส่ขนาดไหนลงไปต่างกัน มันก็จะวิ่งที่ค่าต่ำสุดครับ ทั้งแรม การ์ดจอ
บันทึกการเข้า
Liang
member
*

คะแนน16
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 399


« ตอบ #8 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2007, 05:20:57 AM »

    ขอบคุณครับสำหรับทุกคำตอบ
บันทึกการเข้า
TOMXO
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #9 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2007, 02:33:04 PM »

ขอร่วมแจม (ขอบคุณด้วยครับ) เก็บความรู้มาหลายกระทู้ล่ะครับท่านฯ   Tongue
บันทึกการเข้า
dus
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 43


อีเมล์
« ตอบ #10 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2007, 10:49:56 PM »

ใส่รวมกันได้ แต่มันจะวิ่งตัวทีบ้สต่ำสุด
บันทึกการเข้า
rama2
member
*

คะแนน3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 120


« ตอบ #11 เมื่อ: ตุลาคม 30, 2007, 08:34:56 PM »

RAM นั้นย่อมาจาก Random Access Memory ถ้าจะแปลตรงตัวก็คือ หน่วยความจำที่สามารถเข้าถึงแบบสุ่มได้ การเข้าถึงแบบสุ่มนี่ก็คือการที่เราสามารถเข้าถึงข้อมูลใดๆ ที่เราต้องการจะอ่านหรือเขียนข้อมูลในตำแหน่งไหนก็ได้ในหน่วยความจำ แล้วมันมีการเข้าถึงข้อมูลแบบที่ไม่เป็น Random Access มั้ย
คำตอบก็คือมี เช่นการเขียนแผ่น DVD ของเรานั่นไง เวลาเราไรท์แผ่น DVD หรือ CD นั้นเราจะทำการไรท์จากด้านในสุดของแผ่นไล่ไปเรื่อยๆจนถึงขอบของแผ่น ไม่ได้เขียนตรงโน้นทีตรงนี้ที แต่ก็มีแผ่น DVD อีกแบบหนึ่งคือแผ่น DVD-RAM ซึ่งถ้าเรามีไดรฟ์ที่รองรับ เราก็จะสามารถใช้แผ่น DVD-RAM เหมือนกับเป็น HDD อันนึงเลย พูดถึงก็เริ่มอยากได้แล้วสิ HDD จะเต็มแล้ว

ต่อมาเราก็มาพูดถึงหน้าที่ของ RAM
RAM ทำหน้าที่เป็น หน่วยความจำ ให้กับ CPU เพื่อให้ CPU ใช้ในการทำงาน ถ้าจะเปรียบให้เห็นภาพง่ายๆ RAM ก็เหมือนกับโต๊ะทำงานของเรา เวลาเรานั่งทำงาน เราก็ต้องทำงานบนโต๊ะทำงานทีนี้ถ้าโต๊ะเราตัวใหญ่ๆเราก็จะสามารถทำงานได้หลายอย่าง แต่ถ้าโต๊ะเราตัวเล็กนิดเดียว เราก็จะทำงานได้ไม่กี่อย่างโต๊ะก็เต็มแล้ว
ทีนี้ถ้าจะให้เห็นภาพ RAM ง่ายๆเราก็จะเปรียบโต๊ะว่าเป็น RAM นั่นเอง ถ้าโต๊ะเราตัวใหญ่ก็คือ RAM เยอะ เราก็จะสามารถทำงานได้เยอะโดยไม่ติดขัด แต่ถ้าโต๊ะเราตัวเล็กนิดเดียว หรือก็คือ RAM มีน้อย เวลาเราทำงานไปได้สักพักพองานเริ่มกองจนเต็มโต๊ะเราก็จะทำอะไรไม่ได้เลย
ดังนั้น RAM จึงเรียกได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากชิ้นหนึ่งไม่แพ้อุปกรณ์อย่างอื่นเลยทีเดียว สมัยก่อนเวลาอ่านสเปคคอมมันจะมีเขียนว่า Memory 256 MB ไรประมาณนี้ ยังสงสัยเลยว่ามันจะมีทำไมเจ้า Memory เล็กๆแค่นี้ HDD มีเป็น GB เลยไมไม่ใช้นะ  แต่ก็อย่างว่านั่นมันตอนสมัยก่อนโน้น
จำได้ว่าตอนซื้อคอมเครื่องนี้
ยังไม่รู้หน้าที่ของแรมก็เลยไม่ได้เน้นอะไรมาก ผลก็คือ ใช้เครื่องนี้ได้ไม่นานก็เริ่มอืด (ตอนนั้นซื้อมา 256 MB)

ต่อมารู้หน้าที่ของ RAM ก็มานั่งคิดว่าทำไมเราไม่หาข้อมูลให้ดีกว่านี้
หลังจากหน้าที่ของ RAM แล้วเราก็มาดูที่ชนิดของ RAM ที่ใช้อยู่ทั่วๆไปกัน ในตอนนี้ RAM ที่ใช้อยู่ทั่วไปในตลาดจะเป็น DDR2 ซึ่งเป็น RAM ที่พัฒนาต่อมาจาก DDR SD-RAM อีกต่อ และตอนนี้ก็เริ่มมี DDR3 ซึ่งก็เป็นตัวที่พัฒนามาจาก DDR2 เข้ามาบ้างแล้วแต่ราคายังแพงบรม 1GiBหรือ 2GiB นี่แหละราคาเหยียบหมื่นได้ ซึ่งถือว่ายังเป็นของใหม่อยู่ราคามันเลยยังสูงอยู่มาก และที่สำคัญ RAM แต่ละชนิดไม่สามารถใช้แทนกันเองได้ เนื่องจากมันมีจำนวน pin ไม่เท่ากัน

ต่อจากชนิดทีนี้เราก็จะมาทำความรู้จักกับตัวแรมเมื่อเราไปซื้อกัน โดยเมื่อเวลาเราซื้อ RAM นั้นจะมีตัวที่บอกสเปคของแรมที่สำคัญๆอยู่ สามตัวคือ

1. ขนาดความจุของแรม : ก็ตรงตัวเลยเป็นขนาดความจุของแรม อ้อ และก็สำหรับในการบอกขนาดความจุของแรมนั้น RAM เป็นอุปกรณ์หน่วยความจำที่เรียกได้ว่าเพียงชนิดเดียวก็ได้ที่อ้างอิงในหน่วย MiB หรือ GiB เลย ไม่เหมือนกับอุปกรณ์อื่นๆที่จะอ้างอิงเป็น MB หรือ GB ทำให้ตัว OS ของเราจะเห็น RAM เต็มขนาดที่เราซื้อมาไม่ต้องมานั่งคูณ Factor ให้ปวดหัว

2. ความเร็ว Bus ของ RAM : เป็นค่าความเร็ว Bus ของ RAM ที่ใช้ติดต่อส่งข้อมูลกับ Memory Controler ตัวนี้เป็นค่าสำคัญที่บอกถึงความเร็วในการส่งข้อมูลของ RAM และเนื่องจาก RAM ที่ใช้ทั่วไปเป็นแรมแบบ DDR ดังนั้น จึงใช้หลักการเดียวกับ CPU ที่เคยบอกไปแล้วก็คือจะบอกเป็น ความเร็ว Bus เสมือน เช่น DDR2 Bus 800 MHz นั้นจริงๆแล้วมีความเร็ว Bus 400 MHz แต่ว่าเป็น DDR ซึ่งในแต่ละ Clock Cycle นั้นส่งข้อมูลสองครั้งดังนั้น RAM อันนี้จะเหมือนกับว่ามีความเร็ว Bus 800 MHz เมื่อส่งข้อมูลแบบธรรมดา และอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญ RAM นั้นจะมี Data Bus 64 bits ดังนั้น ถ้า RAM เป็น DDR2 800 MHz นั้นจะมี Bandwidth ในการส่งข้อมูลเท่ากับ 64/8*800,000,000 = 6400,000,000 Byte/second หรือ 6.4 GBps ดังนั้น ในบางครั้งทางผู้ผลิตจะบอกความเร็วแรมเป็น Bandwidth เช่น DDR2 PC-6400 ซึ่งก็คือ DDR2 800MHz นั่นเอง

3. ค่า Latency : ค่า Latency เป็นตัวเลขบอกถึง Latency ของตัวแรม โดย Latency ที่ทางผู้ผลิตบอกมามักจะมีสี่ค่า ในบางครั้งจะเรียกว่าค่า CL เขียนเป็นตัวเลขและใช้ - เป็นตัวคั่น เช่น 4-4-4-12 เป็นต้น โดยค่าแต่ละค่านั้นบอกถึงจำนวน Clock cycle ของเม็ดแรมในการทำงานต่างๆ ซึ่งไม่จำเป็นต้องจำก็ได้ว่าแต่ละตัวหมายถึงอะไร แต่เราจะบอกเอาไว้เผื่อไว้ก่อน
ตัวแรก tCAS = จำนวน clock cycle ที่ตัวแรมใช้ในการ access column of data หนึ่ง และอันที่จริง ค่า CL นั้นแท้จริงหมายถึงค่านี้ดังนั้นบางครั้งผู้ผลิตบอกค่า CL มาแค่ค่าเดียวก็คือค่านี้นี่แหละ
ตัวที่สอง tRCD = จำนวน clock cycle ที่ตัวแรมจะเสียไประหว่างหลังจากแรม access row of data กับ access column of data
ตัวที่สาม tRP (tRAS Precharge) = จำนวน clock cycle ที่ตัวแรมใช้ในการเลิกติดต่อกับ row ที่เปิดไว้และทำการติดต่อกับ row ถัดไป
ตัวที่สี่ tRAS = จำนวน clock cycle น้อยที่สุดที่ตัวแรมใช้ตั้งแต่เมื่อมีการติดต่อขอข้อมูลกับ row of data ไปจนถึงเริ่ม precharge command
อ้อทางผู้ผลิตอาจมีการเรียงที่ไม่เหมือนกันดังนั้นบางครั้งเราอาจจะเห็นเป็น 4-4-12-4 ก็ได้ ซึ่งค่า latency นั้นมีค่ายิ่งน้อยยิ่งดี สำหรับค่า latancy ทั้งหลายนั้นก็มีผลกับความเร็วอยู่บ้างพอสมควร แต่ก็ไม่มากเท่ากับ Bus ยกตัวอย่างก็เมื่อตอนที่ DDR2 เริ่มเป็นที่นิยมในตลาดนั้น ได้มีบางเวปทำการทดสอบระหว่าง RAM DDR เทพที่มี ค่า Bus 400 กับ CL ต่ำๆ กับ DDR2 ที่มีค่า Bus 533 ละมั้งกับ CL ที่สูงกว่า ในการทดสอบนี้บางการทดสอบ DDR นั้นชนะด้วยซ้ำไปเพราะเป็นผลมาจาก CL ที่ต่ำกว่าพอสมควรนั่นเอง
ใน DDR 1,2,3 นั้น DDR จะมีความเร็ว Bus ที่น้อยที่สุดแต่ก็จะมีค่า Latency น้อยที่สุดด้วย ส่วน DDR3 นั้นถึงแม้จะมี Bus ที่มากที่สุดแต่มันก็มี Latency ที่สูงสุดด้วยเช่นกัน

และจากองค์ประกอบที่แตกต่างกันสามอย่างนี่เองที่ทำให้ RAM มีราคาแตกต่างกันไปในแต่ละรุ่น แน่นอน ความจุต่างกันก็ต้องมีราคาไม่เท่ากัน ความเร็ว Bus ต่างกันก็มีราคาไม่เท่ากัน แม้กระทั่งมีความจุเท่ากันมี Bus เท่ากันแต่มี CL ที่ต่างกัน ก็มีราคาแตกต่างกันไปอีก ผู้ผลิต RAM ชั้นนำนั้น มักจะมี RAM รุ่นธงของตัวเอง คือ มีความเร็ว Bus ที่สูงและมี CL ที่ต่ำเมื่อเทียบกับทั่วๆไป ซึ่งมีราคาที่สูงกว่า RAM ทั่วๆไปมากทั้งๆที่ CL ต่างกันแค่ 1 หรือ 2 เท่านั้น ซึ่งเราจะใช้แรมรุ่นไหนตัวไหนก็แล้วแต่ความเหมาะสมของงานและก็กำลังทรัพย์

สำหรับเรื่องที่มักเป็นที่สงสัยกันบ่อยเกี่ยวกับ RAM ก็คือเรื่อง Dual Channel
Dual Channel คือการที่เรานำ RAM สองอันที่มีคุณสมบัติคล้ายๆกัน มาใส่พร้อมกันเป็นคู่ๆ ทำให้ตัว RAM ทำตัวเสมือนมี Data Bus เพิ่มขึ้นสองเท่า เพื่อเพิ่ม Bandwidth ของ data ที่ส่งไปยัง Memory Controler นั่นเอง ถ้าจะพูดให้ง่ายๆมันก็คล้ายๆกับการทำ RAID 0 ของ RAM นั่นเอง ซึ่งในทางทฤษฏีนั้น Bandwidth นั้นจะเพิ่มเป็นสองเท่าแต่ในทางปฎิบัติ Dual Channel นั้นจะเพิ่ม Memory Bandwidth และประสิทธิภาพของ RAM ได้เพียง 20-30% เท่านั้น แล้วถ้าถามว่าจำเป็นไหมที่ต้องใส่ RAM แบบ Dual Channel คำตอบก็คือ ไม่จำเป็นเลย เพียงแต่ถ้าเราทำ Dual Channel มันก็จะทำให้ระบบของเราทำงานได้เร็วยิ่งขึ้น ในบางครั้งเราไปถามตามร้านในพันทิพ ร้านเค้ามักจะบอกว่า เนี่ยมันต้องซื้อเป็นคู่ ต้องใส่เป็นคู่ให้เหมือนกัน ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เราไม่จำเป็นต้องใส่ให้เหมือนกันก็ได้ เพียงแต่ว่าเราจะไม่สามารถใช้ความสามารถของ Dual Channel ได้ก็แค่นั้น ไม่ได้ถึงกับทำให้ระบบไม่ทำงาน ดังนั้นขอให้เพื่อนๆทำความเข้าใจกันใหม่ด้วยละกัน

และกระทู้สาระนี้ก็มาถึงเรื่องสุดท้ายคือ เราจะ RAM เท่าไรกันดี อันนี้ก็ต้องตอบด้วยคำตอบ(บอกปัด)ยอดนิยม มันก็แล้วแต่งานที่เราทำ ถ้าทำงานโหดๆอย่างตัดต่อวีดีโอ มีงบเท่าไรก็จัดไปเลย

แต่ถ้าแค่ดูหนังฟังเพลงเล่นเกมส์แล้วละก็ เราขอแนะนำที่ 2 GiB ขึ้นไปละกันเพราะว่า โปรแกรมเดี่ยวนี้มีแนวโน้มที่ใช้หน่วยความจำเพิ่มขึ้นเร็วมาก ถ้าเราซื้อแค่ 1 GiB อาจจะอยู่ได้ไม่นาน แรมก็คงไม่พอซะแล้ว ซึ่งกว่าจะถึงเวลานั้น DDR3 อาจจะมาตีตลาดแทนที่ DDR2 ซึ่งก็จะทำให้แรม DDR2 นั้นมีราคาที่สูงขึ้นมาก เหมือนกับที่เกิดขึ้นกับ DDR ตอนนี้

คุยเรื่อง RAM มาก็นานละ คิดว่าไม่น่าจะมีเรื่องอะไรตกค้างแล้ว งั้นเราขอจบเรื่อง RAM ไว้แค่นี้ละกัน เรื่องหน้าคิดว่าคงเป็น Mainboard แหละ ไม่น่าจะเป็นเรื่องอื่นแล้ว

เครดิต CP32 Board มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์




ว๊าวๆๆๆๆ    Cheesy
บันทึกการเข้า
พรเทพ-LSV team♥
รับติดตั้งจานดาวเทียม ลาดพร้าว บางกะปิ
Senior Member
member
*

คะแนน1453
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 12091

091-091-9196 ID LINE : tv59


เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: ตุลาคม 30, 2007, 08:39:44 PM »

ว๊าวๆๆๆๆ    Cheesy

ลากมาทำไหม?  Angry Angry Angry Angry Angry
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!