จะมีใครสักกี่คนที่ทราบว่าตัวละครหลายๆตัว แท้ที่จริงแล้วมีนามสกุลปรากฏในเรื่องด้วย เช่น
มานี มีนามสกุลว่า รักเผ่าไทย, ปิติ พิทักษ์ถิ่น, วีระ ประสงค์สุข, ดวงแก้ว ใจหวัง และชูใจ เลิศล้ำ
ภาพประกอบในเรื่องมีคนวาดทั้งหมด 3 ท่าน หนึ่งในนั้น คือ คุณเตรียม ชาชุมพร นักวาดการ์ตูนและนิยายภาพชื่อดังแห่งชัยพฤกษ์การ์ตูน ซึ่งได้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อเกือบสิบปีที่แล้ว ครูประจำชั้นที่ปรากฏในเรื่องมี 2 คน คือ คุณครูไพลิน เป็นครูประจำชั้นตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ปีที่ 3
อีกคน คือ คุณครูกมล เป็นครูประจำชั้นตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงปีที่ 6
แบบเรียนนี้ไม่ได้มีเฉพาะเรื่องราวของเด็กๆ เท่านั้นแต่ยังมีพระเอกกับนางเอกด้วย ซึ่งก็คือ เกษตรอำเภอที่ชื่อว่า "ทวีป" และคุณครู "ไพลิน" สองหนุ่มสาวพบกันครั้งแรกเมื่อคราวไฟไหม้ตลาด เด็กๆ เป็นตัวเชื่อมให้ได้รู้จักและแต่งงาน ทั้งคู่มีลูกสาวด้วยกัน 1 คน
โดยปกติแล้วหมากับแมวมักจะเป็นคู่อริกันเสมอ แต่ในแบบเรียนเล่มนี้ "เจ้าโต" กับ "สีเทา" หยอกเล่นกันด้วยความเป็นกันเองเหมือนไม่มีพรหมแดนแห่งความเป็นศัตรู
ครั้งหนึ่ง "ปิติ" เคยถูกสลากออมสินเป็นเงินจำนวน 1 หมื่นบาท ซึ่งเงินส่วนนี้เขาได้นำไปซื้อลูกม้าตัวใหม่และตั้งชื่อให้ว่า "เจ้านิล" ซึ่งทดแทนเจ้าแก่ที่ตายไป
นอกจากเนื้อเรื่องที่สนุกน่าติดตามแล้ว ในส่วนท้ายของแบบเรียนยังมีประมวลคำศัพท์ที่อธิบายที่เข้าใจง่ายและเหมาะสมสำหรับเด็ก ยกตัวอย่างเช่น
ภรรยา (พัน-ระ-ยา) หมายถึง ผู้หญิงที่อยู่กินกับผู้ชาย
ผัว หมายถึง ชายที่มีผู้หญิงอยู่กินด้วย
"เจ้าจ๋อ" ลิงของวีระเป็นลิงแสม ชอบถอนขนลูกไก่ และยังเกลียดกลิ่นกะปิ
วีระจัดเป็นเด็กที่ค่อนข้างอาภัพ พ่อของเขาเป็นทหารและตายในสนามรบตั้งแต่
วีระยังอยู่ในท้อง ส่วนแม่ของเขาก็ตรอมใจตายตามพ่อเขาไปหลังจากที่คลอดวีระได้ 15 วัน ชีวิตทั้งหมดของวีระจึงอยู่กับลุงตั้งแต่เกิด
"เพชร" มีบ้านเกิดอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี ส่วนบ้านเกิดของ "ดวงแก้ว"
อยู่ที่จังหวัดสุพรรณบุรี
บทบาทของ "จันทร" ที่คนส่วนใหญ่จำได้คือ เด็กหญิงที่มีขาพิการ แต่มีใครทราบบ้างว่าในตอนท้ายของเรื่อง เธอได้รับคัดเลือกให้ร้องเพลง"ความฝันอันสูงสุด" และยังอ่านทำนองเสนาะหน้าพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จนได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าให้แพทย์หลวง! รับตัวไปรับการผ่าตัดขาที่กรุงเทพฯ จนหายเป็นปกติ
ในงานกาชาดของจังหวัด ห้องของครูกมลนำขนมออกขายเพื่อเอากำไร โดยตั้งชื่อขนมเสียใหม่ ซึ่งแสดงถึงความช่างคิดของผู้ประพันธ์ดังนี้
กล้วยฉาบ ตั้งชื่อว่า เหรียญทองชวนลิ้ม
ข้าวเม่าหมี่ ตั้งชื่อว่า สาวน้อยเลือกคู่
ทองม้วน ตั้งชื่อว่า ม้วนเสื่อนางพญา
ทองหยอด ตั้งชื่อว่า น้ำค้างทอง
ถั่วอบเนย ตั้งชื่อว่า ถั่วอบโอชา
ขนมกง ตั้งชื่อว่า ล้อรถพระอาทิตย์
"ชูใจ" อยู่กับย่าและอามาตั้งแต่เล็ก โดยที่เธอไม่รู้รายละเอียดใดๆ เกี่ยวกับพ่อและแม่แท้ๆ ของเธอเลย ความจริงก็คือ พ่อของเธอเสียชีวิตตั้งแต่ชูใจอายุ 1 ขวบ ส่วนแม่ก็อาศัยอยู่ต่างประเทศ ในตอนท้ายของแบบเรียน แม่ของชูใจบินกลับมารับให้ชูใจไปอยู่ด้วยกัน แต่ชูใจเลือกที่จะอยู่กับย่า ซึ่งเลี้ยงตนมาตลอดตั้งเด็ก
นอกจากเรื่องที่ "เจ้าแก่" ตายจะเป็นตอนที่เรียกน้ำตาของเด็กๆ แล้ว
ยังมีตอนหนึ่งซึ่งเศร้าไม่แพ้กัน นั่นคือ "แม่จ๋า" เป็นตอนที่แม่ของ"เพชร"
ตายเพราะถูกงูกัด ขณะไปเก็บหน่อไม้
"มานะ" เป็นเด็กเรียนดี และเป็นคนเดียวในเรื่องที่ได้ไปเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาที่กรุงเทพฯ ส่วน "มานี" ตอนที่เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ได้รับคัดเลือกให้เป็นรองประธานนักเรียนของโรงเรียน