ความรู้อย่างย่อ ของโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
เมษายน 24, 2024, 09:04:46 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความรู้อย่างย่อ ของโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ  (อ่าน 4230 ครั้ง)
winai4u-LSV team
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน673
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3025



« เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2007, 12:05:49 PM »

เครือข่ายดิจิตอล

GSM
ย่อมาจากคำว่า Global System for Mobile Communications (GSM) เป็นหนึ่งในระบบเซลลูล่าร์ดิจิตอลชั้นนำ GSM ใช้ TDMA แถบแคบ ซึ่งอนุญาตให้โทรได้ 8 สายพร้อมกันในช่องความถี่วิทยุเดียวกัน

GSM ถูกแนะนำให้รู้จักครั้งแรกในปี 1991 หลังจากนั้นในปี 1997 บริการ GSM ก็มีให้ใช้ในกว่า 100 ประเทศ โดยระบบนี้กลายเป็นมาตรฐานทั้งในยุโรปและเอเชีย

เครือข่าย GSM ได้รับการยกย่องว่าเป็นเทคโนโลยีเซลลูล่าร์ชั้นสูงที่สุด เป็นผู้นำในด้านบริการ "ดิจิตอล" หลายอย่าง ซึ่งรวมถึงบริการข้อความสั้น (SMS), การตั้งค่าผ่านอากาศ (OTA) และการระบุตำแหน่ง GSM ต้องขอบคุณเทคโนโลยี GSM นี้ที่มีการใช้ทั้งในอเมริกาและส่วนอื่นๆ ของโลก ระบบนี้จึงเป็นระบบที่เหมาะสมสำหรับการโรมทั่วโลก โทรศัพท์ GSM รุ่นใหม่หลายเครื่อง ถูกเรียกว่า "โทรศัพท์ทั่วโลก" เนื่องจากโทรศัพท์เหล่านี้เสมือนว่าสามารถใช้ได้ในทุกประเทศ ซิมการ์ด ("Subscriber Identification Module") แต่ละการ์ดจะมีหมายเลขไม่ซ้ำกัน และเป็นส่วนประกอบสำคัญของโทรศัพท์ GSM

สถานที่ซึ่งมีการใช้ GSM:
> GSM 900 (การรับส่งข้อมูลในแถบความถี่ 900 MHz) เป็นเครือข่ายดิจิตอลหลักในยุโรป นอกจากนั้นยังใช้ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกด้วย (ในประเทศไทย คือค่าย AIS)
> GSM 1800 (ส่งข้อมูลในแถบความถี่ 1800 MHz) ใช้ในยุโรปและเอเชีย แต่ไม่มีการนำมาใช้กว้างขวางเหมือน GSM 900 (ในประเทศไทยคือค่าย DTAC, True)
> GSM 1900 (ส่งข้อมูลในแถบความถี่ 1900 MHz) เป็นระบบ GSM หลักที่ใช้ในอเมริกาและแคนาดา(ในประเทศไทยคือค่าย Thai mobile)

TDMA
ย่อมาจากคำว่า Time Division Multiple Access (TDMA) ให้บริการดิจิตอลไร้สายโดยใช้การมัลติเพล็กซ์แบ่งตามเวลา (TDM) ความถี่วิทยุนั้นถูกแบ่งเป็นช่วงเวลา จากนั้นช่วงเวลาจะถูกจัดสรรให้กับสายต่างๆ ด้วยวิธีนี้ ความถี่เดี่ยวจะสามารถสนับสนุนช่องสัญญาณข้อมูลหลายช่องได้พร้อมกัน TDMA ใช้โดยเครือข่ายเซลลูล่าร์ดิจิตอล GSM

TDMA เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีเซลลูล่าร์ดิจิตอลที่เก่าแก่ที่สุด TDMA นอกจากนั้นยังได้รับการพิจารณาว่าเป็นเทคโนโลยีดิจิตอลที่มีความก้าวหน้าน้อยที่สุด มีผู้ใช้น้อยที่สุด เนื่องจากการขาดความยืดหยุ่น

TDMA เริ่มแรกใช้ในสหรัฐอเมริกา แต่ต่อมามีการใช้ในละตินอเมริกา นิวซีแลนด์ บางส่วนของรัสเซีย และเอเชียแปซิฟิก

CDMA
ย่อมาจากคำว่า Code-Division Multiple Access, เป็นเทคโนโลยีเซลลูล่าร์ดิจิตอลที่ใช้เทคนิคสเปรดสเป็กตรัม ไม่เหมือนกับระบบอื่นๆ ที่เป็นคู่แข่งซึ่งใช้ TDMA เช่น GSM แต่ CDMA ไม่กำหนดความถี่เฉพาะสำหรับผู้ใช้แต่ละคน แต่ทุกช่องสัญญาณจะใช้สป็กตรัมที่มีทั้งหมดจนเต็ม

การสนทนาส่วนบุคคลจะถูกเข้ารหัสไว้ด้วยกระบวนการดิจิตอลสุ่มหลอก การสนทนาหลายสายจะถูกส่งออกไปพร้อมกันโดยการส่งการสื่อสารทั้งหมดเป็นกลุ่มที่มีบิต
ผสมเข้าด้วยกัน และตั้งชื่อแต่ละกลุ่มตามการสื่อสารเฉพาะด้วยรหัสที่แตกต่างกัน ดังนั้น การสื่อสารแต่ละตัวสามารถถูกประกอบเข้าด้วยกันใหม่ตามลำดับที่ถูกต้องที่ปลายอีกด้านหนึ่ง โดยใช้กับรหัสเฉพาะที่แนบมากับกลุ่มต่างๆ ของบิต

CDMA เป็นเทคโนโลยีเซลลูล่าร์ดิจิตอลล่าสุดที่เป็นที่คุ้นเคยมากที่สุด ในอเมริกาเหนือ

PDC
ระบบเซลลูล่าร์ดิจิตอลส่วนบุคคล (PDC) เป็นหนึ่งในมาตรฐานไร้สายดิจิตอลสามอย่างหลักของโลก รองจาก GSM และ TDMA แม้ว่าจะมีการใช้ระบบ PDC เฉพาะในญี่ปุ่นในปัจจุบัน แต่ระบบนี้ก็เป็นมาตรฐานดิจิตอลที่ใหญ่ที่สุดอันดับสองของโลก โดยมีผู้ใช้บริการมากกว่า 48 ล้านคนในเดือนกรกฎาคม 2000 ในปัจจุบันผู้ให้บริการในภูมิภาคอื่นๆ ของโลกกำลังพิจารณาที่จะใช้ PDC เหมือนกับ GSM, PDC นั้นใช้เทคโนโลยี TDMA

GPRS
General Packet Radio Service (GPRS) เป็นขั้นตอนระหว่าง GSM และเครือข่ายเซลลูล่าร์ 3G GPRS ให้การรับส่งข้อมูลที่เร็วกว่า (9.6Kbits ถึง 115Kbits) ผ่านทางเครือข่าย GSM สิ่งทำให้ใช้ผู้ใช้สามารถทำการโทรออก และรับส่งข้อมูลได้ในเวลาเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมีโทรศัพท์มือถือที่ใช้ GPRS คุณจะสามารถทำการโทรออก และรับข้อความอีเมล์ได้พร้อมกัน

ประโยชน์หลักของ GPRS ก็คือสามารถจองแหล่งวิทยุไว้เฉพาะเมื่อมีข้อมูลส่งออกไป และจะลดการอาศัยองค์ประกอบเครือข่ายวงจรสวิตช์แบบดั้งเดิม

WCDMA
ย่อมาจาก CDMA แถบกว้าง ระบบนี้เป็นเทคโนโลยีไร้สายเคลื่อนที่ 3G ความเร็วสูง ที่มีความจุที่ให้ความเร็วข้อมูลที่สูงกว่า CDMA WCDMA สามารถมีความเร็วได้ถึง 2 Mbps สำหรับการรับส่งเสียง วิดีโอ ข้อมูล และภาพ WCDMA ถูกปรับเป็นมาตรฐานโดย ITU ภายใต้ชื่อ "IMT-2000 direct spread"

PCS
ย่อมาจากคำว่า Personal Communications Service (PCS) เป็นคำของคณะกรรมการสื่อสารของรัฐบาลกลาง (FCC) ที่ใช้เพื่ออธิบายชุดของเทคโนโลยีเซลลูล่าร์ดิจิตอลที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา PCS ทำงานบน CDMA (หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า IS-95), GSM และอินเตอร์เฟซทางอากาศ TDMA แถบอเมริกาเหนือ (หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า IS-136)

คุณสมบัติสามอย่างที่สำคัญที่สุดที่แบ่งแยกระบบ PCS คือ:
> เป็นระบบที่เป็นดิจิตอลอย่างสมบูรณ์
> ระบบนี้ทำงานในช่วงความถี่ 1900 MHz
> ระบบนี้สามารถใช้ระหว่างประเทศได้

PCS เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารเคลื่อนที่รุ่นที่สอง

เครือข่ายอนาล็อก
ีมีเครือข่ายอนาล็อกอยู่สามประเภท: AMPS, ETACS และ NMT

ส่วนมากแล้ว AMPS จะใช้มากในสหรัฐอเมริกา นอกจากนั้นยังมีใช้ในละตินอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ บางส่วนของรัสเซีย และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ETACS ใช้ในยุโรป และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

NMT ใช้ในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย และยุโรปบางประเทศ รวมทั้งบางส่วนของรัสเซีย ตะวันออกกลาง และเอเชีย

เซลลูล่าร์

คำว่า เซลลูล่าร์ หมายถึงระบบการสื่อสาร โดยเฉพาะบริการโทรศัพท์มือถือชั้นสูง (AMPS) ที่แบ่งเขตพื้นที่ออกเป็นส่วนๆ ที่เรียกว่าเซลล์ จุดประสงค์ของการแบ่งนี้ก็เพื่อทำให้การใช้จำนวนความถี่ที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพสูงสุด การเชื่อมต่อ หรือการสื่อสารแต่ะครั้ง จำเป็นต้องใช้ความถี่ที่เตรียมไว้โดยเฉพาะ และจำนวนรวมของความถี่ที่ใช้ได้ก็คือ 1,000

ในการสนับสนุนการสนทนาพร้อมกันมากกว่า 1,000 สาย ระบบเซลลูล่าร์ต้องจัดสรรหมายเลขชุดความถี่ไปยังแต่ละเซลล์ จากนั้น สองเซลล์สามารถใช้ความถี่เดียวกันสำหรับการสนทนาที่แตกต่างกัน โดยที่เซลล์นั้นต้องไม่ติดกัน

3G
3G เป็นข้อกำหนด ITU สำหรับเทคโนโลยีการสื่อสารเคลื่อนที่ยุคที่ 3 (เซลลูล่าร์อนาล็อกเป็นยุคแรก, PCS ดิจิตอลเป็นยุคที่ 2)

3G จะมีแบนด์วิธที่เพิ่มขึ้น สูงถึง 384 Kbps เมื่ออุปกรณ์อยู่กับที่หรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วของคนเดิน, 128 kbps ในรถยนต์ และ 2 Mbps ในการใช้งานที่คงที่ 3G จะทำงานบนอินเตอร์เฟสผ่านอากาศแบบไร้สาย เช่น GSM, TDMA และ CDMA อินเตอร์เฟสผ่านอากาศ EDGE ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะเพื่อให้ได้แบนด์วิธระดับ 3G

ITU
ITU ย่อมาจาก International Telecommunication Union เป็นองค์กรรัฐบาลระหว่างประเทศ โดยมีองค์กรสาธารณะและองค์กรส่วนตัวรวมตัวกันเพื่อพัฒนาระบบการสื่อสารโทรคมนาคม ITU ก่อตั้งขึ้นในปี 1865 และกลายเป็นตัวแทนของสหประชาชาติในปี 1947 มีหน้าที่รับผิดชอบในการใช้สนธิสัญญาระหว่างประเทศ, กฎระเบียบและมาตรฐานต่างๆ ในการควบคุมการสื่อสารโทรคมนาคม

Creadit : Sony Ericsson


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!