นักวิชาการ สถาปัตย์จุฬาฯหนุนชาวต่างชาติซื้อที่ดินในไทย ชี้โอกาสใหม่ไม่ใช่ขายชาติ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
เมษายน 26, 2024, 02:10:34 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: นักวิชาการ สถาปัตย์จุฬาฯหนุนชาวต่างชาติซื้อที่ดินในไทย ชี้โอกาสใหม่ไม่ใช่ขายชาติ  (อ่าน 1043 ครั้ง)
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1883
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13244


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« เมื่อ: ธันวาคม 04, 2022, 01:18:45 PM »

เปิดมุมมอง”หน.ภาควิชา สถาปัตย์จุฬาฯ “
หนุนเปิดทางชาวต่างชาติซื้อที่ดินในไทย ชี้เป็นโอกาสใหม่ ไม่ใช่ขายชาติ
แนะควรเรียนรู้ถึงแนวทางดึงดูดการลงทุนจากเพื่อนบ้านทั่วโลก

(4 ธ.ค.)
รศ. ไตรรัตน์ จารุทัศน์ หัวหน้าภาควิชา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
นำเสนอมุมมองวิชาการผ่านเว็บไซต์ terrabkk ในหัวข้อ :
โอกาสใหม่ หรือ ขายชาติ เมื่อชาวต่างชาติซื้อที่ดินในประเทศไทย 
โดยระบุว่า ข้อเท็จจริงนั้น มีเกือบ 100 ประเทศทั่วโลก
ที่อนุญาตให้ต่างชาติมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ 
เริ่มจากการนำเสนอให้เห็นว่า ประเทศอื่น ๆ เป็นอย่างไรบ้าง โดยแบ่งเป็น

1.ประเทศที่ไม่มีข้อจำกัดในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน สำหรับชาวต่างชาติ เช่น
สเปน ฝรั่งเศส อิตาลี คอสตาริกา

2.ประเทศที่มีข้อตกลงการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน เช่น
โครเอเชีย ตุรกี และเกาหลีใต้
เปิดให้เฉพาะบางสัญชาติที่มีข้อตกลงการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน

อียิปต์อนุญาตสิทธิการเช่า 99 ปี   

ทั้งนี้ได้นำเสนอต่อไปให้เห็นถึงมาตรการเสริมของแต่ละประเทศ
เพื่อป้องกันราคาอสังหาริมทรัพย์ที่สูงขึ้น
หรือเพื่อเหตุผลความมั่นคง เช่น
สวิส
มีการจำกัดจำนวนชาวต่างชาติที่สามารถซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้ในแต่ละปี

สหราชอาณาจักรมีการเก็บภาษีกำไรจากการขายที่สูงกว่ามาก
ซึ่งเรียกเก็บจากกำไรที่ได้จากการขายบ้านในสหราชอาณาจักรโดยชาวต่างชาติ

ส่วนออสเตรเลีย
ปัจจุบันจำกัดเฉพาะประเภทอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อได้
ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเป็นโครงการก่อสร้างใหม่เท่านั้น
ผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายสามารถถูกตัดสินจำคุกหรือปรับจำนวนมาก

ศรีลังกา ให้ชาวต่างชาติได้รับอนุญาตให้ถือครองที่ดิน
แต่มีภาษีการโอน 100% สำหรับชาวต่างชาติในศรีลังกา

ด้านประเทศแคนาดา จังหวัดชายฝั่งตะวันออกอื่น ๆ รวมถึง
จังหวัดควิเบก ออนแทรีโอ และบริติชโคลัมเบียไม่มีข้อจำกัดในการเป็นเจ้าของในต่างประเทศ

ออสเตรเลีย ชาวต่างชาติ ที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในออสเตรเลียและบริษัทต่าง ๆ
สามารถซื้อการพัฒนาที่อยู่อาศัยได้ถึง 50% และได้รับอนุญาตให้ซื้ออสังหาริมทรัพย์
หรือที่ดินใหม่เพื่อสร้างอาคารได้ตราบเท่าที่การก่อสร้างเริ่มขึ้นภายใน 12 เดือน
นับจากวันที่ซื้อ สามารถซื้อทรัพย์สินที่เก่ากว่าได้
โดยมีเงื่อนไขว่าอย่างน้อย 50% ของราคาซื้อจะใช้ในการปรับปรุง   

นอกจากนี้ในรายงของ รศ. ไตรรัตน์ ยังระบุถึงข้อจำกัดอื่น ๆ
ในการซื้อที่ดินของต่างชาติ ประมาณ 40% ของ 195ประเทศ มีข้อจำกัด
ในการอนุญาตให้ชาวต่างชาติเป็นเจ้าของทรัพย์สิน เช่น
1.ที่ดินอยู่ห่างจากพรมแดนระหว่างประเทศ เช่น ปานามา
ที่ดินอยู่ห่างจากพรมแดนระหว่างประเทศไม่เกิน 6 ไมล์
เม็กซิโก  ชาวต่างชาติไม่ได้รับอนุญาตให้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ภายใน 62 ไมล์
จากชายแดนระหว่างประเทศหรือ 31 ไมล์จากชายฝั่ง
สเปน ที่ดินทางทหารและที่ดินใกล้พรมแดนระหว่างประเทศ

2.ทรัพย์สินริมน้ำบางแห่ง นิวซีแลนด์ ที่ดิน "อ่อนไหว" รวมถึงเขตสงวน เกาะที่ระบุ
และที่ดินและทะเลสาบทางประวัติศาสตร์หรือมรดก ปานามา การจำกัดที่ดินบนเกาะ ริมชายหาด 

สำหรับประเทศที่ชาวต่างชาติสามารถเป็นเจ้าของที่ดินได้ในเอเชีย มีดังนี้

1. มาเลเซีย เป็นที่เดียวที่ชาวต่างชาติสามารถเป็นเจ้าของที่ดินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้
อสังหาริมทรัพย์ประเภทเดียวที่ชาวต่างชาติไม่สามารถซื้อได้คือ
"อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นมรดก" หรืออสังหาริมทรัพย์เก่าแก่ในยุคอาณานิคม
ชาวต่างชาติสามารถขอที่พักอาศัยในมาเลเซียได้โดยการลงทุนผ่าน
My Second Home Program (MM2H) ซึ่งช่วยให้ชาวต่างชาติได้รับวีซ่า 10 ปี
โดยฝากเงินประมาณ 70,000 เหรียญสหรัฐ และเก็บไว้ในธนาคาร 

2.เกาหลีใต้ ไม่มีข้อจำกัดมากมายในการถือครองที่ดิน
การเปิดกว้างสำหรับการลงทุนจากต่างประเทศนี้ค่อนข้างสมเหตุสมผล
เมื่อพิจารณาถึงความเป็นสากลของเกาหลี ชาวต่างชาติเหล่านี้มักต้องการซื้ออสังหาริมทรัพย์ของตนเอง
สาธารณรัฐเกาหลีนั้นพิถีพิถันในการออกวีซ่าระยะยาว
ยกเว้นที่ เกาะเชจู เกาะเล็ก ๆ แห่งนี้ตั้งอยู่นอกชายฝั่งทางตอนใต้ของคาบสมุทรเกาหลี
เป็นเขตปกครองพิเศษที่อนุญาตให้ทุกคนเข้าชมได้โดยไม่ต้องมีวีซ่า
ในทำนองเดียวกัน เชจูยังมีใบอนุญาตผู้พำนักสำหรับนักลงทุนสำหรับทุกคน
ที่ต้องการลงทุนอสังหาริมทรัพย์มูลค่าประมาณ 430,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ
บนเกาะนี้ ใบอนุญาตผู้พำนักดังกล่าวสามารถนำไปสู่การถือสัญชาติเกาหลีได้ 

3. ไต้หวันเป็นประเทศพัฒนาแล้วที่มีข้อจำกัดในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินในต่างประเทศเพียงเล็กน้อย
การซื้ออสังหาริมทรัพย์ในไต้หวันไม่ได้ให้สิทธิ์ชาวต่างชาติในการพักอาศัยที่นั่นโดยอัตโนมัติ
ต่างจากประเทศมาเลเซีย,เกาหลีใต้ก่อนหน้านี้ซึ่งมีโปรแกรมการอยู่อาศัยสำหรับนักลงทุน
บางรูปแบบสำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ชาวต่างชาติจะต้องผ่านช่องทาง
การย้ายถิ่นฐานปกติเพื่ออาศัยอยู่ในไต้หวันอย่างถาวร
ชาวต่างชาติสามารถซื้อบ้านหรือที่ดินที่ยังไม่พัฒนาในไต้หวันได้ 

4. ญี่ปุ่น  ชาวต่างชาติสามารถซื้ออสังหาริมทรัพย์ในญี่ปุ่นได้
โดยไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับประเภทของอสังหาริมทรัพย์
ชาวต่างชาติสามารถเป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในชื่อตนเองได้
ทั้งนี้ชาวต่างชาตินั้นจะต้องมีงานทำ หรือทำธุรกิจ
หรือใช้วีซ่าประเภทใช้ชีวิตในญี่ปุ่นแบบเต็มเวลา 

5. สิงคโปร์ ชาวต่างชาติสามารถเป็นเจ้าของคอนโด บ้าน และที่ดินได้ตามกฎหมาย
สิงคโปร์เป็นหนึ่งในประเทศที่ง่ายที่สุดในเอเชียในการซื้อคอนโด
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าชาวต่างชาติจะได้รับอนุญาตให้เป็นเจ้าของบ้านหรือที่ดินในทางทฤษฎี
แต่จริง ๆ แล้วการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ประเภทนี้อาจเป็นเรื่องยาก
และมีราคาแพงอย่างเหลือเชื่อในทางปฏิบัติ
การจะถือครองที่ดินเป็นคนต่างด้าวนั้นต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการเสียก่อน
การอนุมัติดังกล่าวต้องมีการซื้อจำนวนมาก (คิดมูลค่าที่ดินมากกว่า 20 ล้านดอลลาร์)
และพิสูจน์ว่าการซื้อดังกล่าว “เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของสิงคโปร์”   

ในรายงานยังได้นำเสนอความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์
ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ 
ที่ได้ให้สัมภาษณ์ว่าภาพรวมการถือกรรมสิทธิ์คอนโดมิเนียมของชาวต่างชาติในไทย
ยังไม่ถึง 49% ตามสัดส่วนที่กฎหมายกำหนดไว้
โดยเฉพาะยูนิตที่มีราคาไม่เกิน 5 ล้านบาทมีไม่ถึง 10% ที่คนต่างชาติถือครองอยู่
ส่วนยูนิตที่ราคาเกิน 5 ล้านบาทขึ้นไป มีชาวต่างชาติถือครองอยู่ 20%
กลุ่มชาวต่างชาติประเภทที่ต้องการ Work from Thailand
ซึ่งคนกลุ่มนี้เป็น Skill Labor, High Technology
เราสามารถกำหนดให้กลุ่มคนเหล่านี้อยู่ในพื้นที่ทางยุทธศาสตร์ต่างๆ เช่น EEC
เพื่อขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้าได้เร็วกว่า

ปัจจุบันต่างชาติมีการถือครองโดยนอมินีอยู่แล้ว
ทำไมเราไม่ทำทุกอย่างให้อยู่บนโต๊ะ
อย่าไปทำใต้โต๊ะแบบผิดกติกา

บางครั้งการที่เราปฏิเสธความจริง ทำให้ความจริงหลบไปข้างล่าง
เป็นตลาดมืด
กลายเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย

ถ้าเรายกขึ้นมาบนดินเพื่อให้รัฐได้ภาษี ได้ค่าธรรมเนียม
ได้ทุกอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น   
รศ. ไตรรัตน์ ได้สรุปและคำแนะนำว่า

1.คำพูดที่ว่า“ให้ต่างชาติซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้...เป็นการขายชาติ”
นั้นถือเป็นการพูดที่ไม่ได้ศึกษารายละเอียดของเพื่อนบ้าน หรือ
กรณีศึกษาที่ประเทศอื่น ๆ เขาทำกัน
และเป็นแนวความคิดชาตินิยมยุคสงครามโลก(เก่ามาก) 
2.การเปิดให้ต่างชาติซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้ ภายใต้เงื่อนไขที่ประเทศนั้น ๆได้ประโยชน์
ไม่ว่าจะเป็นขอบเขตของพื้นที่ รูปแบบการถือครอง คุณสมบัติของคนที่มีสิทธิ์
หรือแม้กระทั่งการผูกรวมกันกับนโยบายส่งเสริมการลงทุน/การทำงาน
ถือเป็นสิ่งปกติที่ประเทศต่าง ๆทำกัน
3.เราต้องยอมรับว่า “ความสามารถในการแข่งขัน”ของประเทศไทย เริ่มน้อยลงไปเรื่อย ๆ
การมีสิทธิ์ในการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ถือเป็นจุดเด่นสำคัญประการหนึ่ง
(สิทธิ์ในการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ หมายถึง สิทธิ์ซื้อขายแบบFreehold
หรือสิทธิการเช่าระยะยาว Leasehold 60,90ปี) 4.ประเทศไทยเข้าสู่ภาวะ
”สังคมสูงวัยแบบสมบูรณ์”แล้ว(คือมีผู้สูงอายุ>20%)
จะทำให้ขาดแคลนคนทำงานทุกระดับ เพราะอีกด้านหนึ่งของสังคมสูงวัยคือ
วัยเด็ก วัยแรงงานลดลง การเชิญชวนให้ชาวต่างชาติที่มีความรู้
ความสามารถ มาทำงานถือเป็นนโยบายของประเทศที่ประสบปัญหา”สังคมสูงวัย”เขาทำกัน
เช่นประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ และกลุ่มประเทศยุโรป 
5.ผู้บริโภคในอนาคตคือผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุจากประเทศที่พัฒนาแล้ว
การเปิดรับผู้สูงอายุมาเกษียณอายุที่ประเทศไทยแลกกับ
การถือครองอสังหาริมทรัพย์เป็นเรื่องคู่กัน(ปัจจุบันไทยมีวีซ่าระยะยาว5+5ปี แต่ต้องแจ้ง ตม.ทุก 90 วัน)
ทั้ง ๆ ที่ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางของการเกษียณอายุ(Retirement Destination)
เพราะเรามีจุดเด่นเรื่อง การบริการทางการแพทย์ อาหาร อากาศ ค่าครองชีพ
มีจุดอ่อนที่สำคัญคือการถือครองกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์
หากเรามีกฏเกณฑ์ที่ชัดเจน เช่น พื้นที่เป้าหมาย รูปแบบและราคาของอสังหาริมทรัพย์
จะทำให้ประเทศไทยเป็นสวรรค์ของผู้สูงอายุที่เกษียณ
แล้วจะนำมาสู่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ ”สังคมสูงวัย”อีกมากมาย 
6.ธุรกิจ”สังคมสูงวัย” มีตั้งแต่การดูแลสุขภาพ อาหารการกิน การตกแต่งบ้าน
การท่องเที่ยว การประกันชีวิต เทคโนโลยีในการดูแลผู้สูงอายุ ฯลฯ
จะสามารถสร้างงาน สร้างโอกาสทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย
เพราะผู้สูงอายุกลุ่มที่สามารถเดินทางมาเกษียณที่ต่างประเทศได้นั้น
มักจะเป็นผู้สูงอายุที่มรายได้สูง มีระบบประกันสุขภาพ
มีบำเหน็จ-บำนาญชัดเจน สรุปคือมีกำลังซื้อสูง 
7.เราสามารถตั้งกองทุน “การอุดหนุนระหว่างกลุ่ม (Cross Subsidy)”
จากค่าธรรมเนียมการถือครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้สูงอายุต่างชาติ
มาเป็นกองทุนดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่เหล่านั้นได้
เป็นมาตรการที่สามารถลดความเหลื่อมล้ำในระดับพื้นที่ได้เป็นอย่างดี
8.อย่างไรก็ตามการค่อยๆเปิด ทดลองทำในบางพื้นที่
และบางประเภทของอสังหาริมทรัพย์ น่าจะเป็นสิ่งที่ต้องตัดสินใจเริ่มทำทันที ...
ขอขอบคุณ และขอสนับสนุน สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
ที่ศึกษามาอย่างดีและกล้านำเสนอเรื่องนี้
และขอให้กำลังใจทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการให้สำเร็จโดยเร็ว(อย่างรอบครอบ)
ก่อนที่ประเทศไทยจะอยู่ลำดับสุดท้ายการพัฒนา



โค๊ด:
https://mgronline.com/politics/detail/9650000115376


บันทึกการเข้า

ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18653


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: ธันวาคม 05, 2022, 08:04:50 AM »



https://www.pohchae.com/2022/12/05/foreigners-buy-land-in-thailand/
นักวิชาการ สถาปัตย์จุฬาฯหนุนให้ชาวต่างชาติซื้อที่ดินในไทยได้.. ชี้โอกาสใหม่ไม่ใช่ขายชาติ
#นักวิชาการ  #สถาปัตย์จุฬา  #หนุนให้ชาวต่างชาติซื้อที่ดินในไทยได้   #ขายชาติ

 THANK!!
 wav!!

บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1883
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13244


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: ธันวาคม 08, 2022, 11:50:08 AM »

ชูวิทย์ ซัด วิสัยทัศน์ ‘เจ้าสัวซีพี’ ต่างชาติซื้อที่ดีกว่ามาเที่ยวชั่วคราว
'ชูวิทย์' อัด 'เจ้าสัวซีพี' หัวสมองอันปราดเปรื่องคิดแต่เรื่องเงินทุน การผูกขาด
หลังออกแสดงความเห็นว่าให้ต่างชาติซื้อที่ดิน
ดีกว่ามาเที่ยวชั่วคราว ติงอย่ามองแต่เงินเป็นตัวตั้ง

วันที่ 3 ธ.ค. 2565 ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ อดีต ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ
และอดีตหัวหน้าพรรครักประเทศไทย โพสต์เฟซบุ๊กถึงประเด็นที่
ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์
แสดงมุมมองถึงกรณีที่รัฐบาลได้มีการออกเงื่อนไขดึงดูดต่างชาติให้เข้ามาลงทุน
โดยอนุญาตให้ซื้อที่ดินในประเทศไทยได้นั้นมองว่า
 เป็นการสร้างประโยชน์ เพราะต่างชาติเอาเงินมาลงทุน
ซึ่งดีกว่าการท่องเที่ยวที่มาแล้วกลับ โดยชูวิทย์ ระบุดังนี้

การขายที่ดินต่างชาติ คำตอบจากคนไทยคนหนึ่งถึงเจ้าสัวซีพี
เรียน “เจ้าสัวซีพี” ที่เคารพ

ผมฟังสิ่งที่เจ้าสัวพูดถึงชาวต่างชาติซื้อที่ดินดีกว่า
เข้ามาท่องเที่ยวแค่ชั่วครั้งชั่วคราว ขายที่ดินแล้วเขาเอากลับไปด้วยไม่ได้
บอกว่า “คนไทยหวังดีกับประเทศ แต่กลับทำให้ประเทศเสียหาย”
ผมขออนุญาตตอบแทนคนไทยอย่างผมว่า
“หัวสมองอันปราดเปรื่องของเจ้าสัวคิดแต่เรื่องเงินทุน การผูกขาดเท่านั้น”

การมาท่องเที่ยวชั่วคราว เป็นการได้น้อยจริง แต่ได้ยาวไปตลอดชาติ
เป็นการได้ทั้งระบบ ตั้งแต่ค่าที่พัก ค่าจับจ่ายใช้สอย ค่ากิน
ค่าเดินทาง และอื่นๆ อีกมากครบวงจร มีเงินกระจายไปอย่างทั่วถึง
เพราะการท่องเที่ยว มีรายได้มหาศาลไปจนถึง คนขายของข้างถนน

นักท่องเที่ยวไม่ได้ถูกบังคับให้กิน ให้ซื้อ
ให้ผูกขาดเหมือนที่เจ้าสัวทำทุกวันนี้
เพราะมาแค่ชั่วคราว มาแล้วไป

แต่หากที่ดินถูกผูกขาดจากทุนต่างชาติไปด้วย
ถือว่าเป็นระบบผูกขาดครบวงจร เป็นการกินทั้ง
“ห่วงโซ่อาหารของมนุษย์” ตามปัจจัยสี่ “ที่อยู่ อาหาร ยา เครื่องนุ่งห่ม”
ทั้งสี่ถูกทุนไทยครอบงำไปหมด เหลือสิ่งสุดท้าย
และสำคัญสุด คือ ที่ดินนั่นเอง

ส่วน 105 ล้านไร่ พื้นที่เพาะปลูก ขายไม่ได้หมดหรอกครับท่านเจ้าสัว
แต่ที่หมดคือ “ที่ในทำเลดีๆ” สิไม่ว่า

ทุนต่างชาติที่แข็งแรงกว่าอย่างจีน ไม่ไปซื้อที่ ห่วยๆ ที่ไม่มีค่าหรอครับ

หากเจ้าสัวจะซื้อที่ ทำไมไม่ไปซื้อแถวอีสานสัก 10,000 ไร่
มาพัฒนาสร้างวัด สร้างโรงเรียนให้ชุมชนล่ะครับ

ท่านคงไม่ทำ ก็เหมือนต่างชาติที่มีเงินทุนมากกว่าย่อมคัดเอา
 “ปลาตัวใหญ่” แล้วเหลือเศษก้างให้คนไทยไว้

พ่อค้า นายทุน คนมีเงิน คิดเหมือนกัน คือ “กำไร”
แต่ท่านคิดได้มากกว่าอีก คือ “คิดกำไรแล้ว ต้องผูกขาดด้วย”
แล้วใครจะทำได้ หากไม่ใช่ระดับเจ้าสัวอย่างท่าน

พ่อค้าธรรมดาทำไม่ได้หรอกครับ ทั้งต้นน้ำไปถึงปลายน้ำ
ท่านเอาหมด แล้วคนไทยก็ปฎิเสธไม่ซื้อไม่ได้
เพราะ “ทุนผูกขาด” ยังไงครับ

เรื่องกำไรนั้นเป็นปกติของพ่อค้าทุกคน
แต่จะกำไรก้าวกระโดด ต้องคิด “กินรวบผูกขาด”
ไม่ให้พ่อค้าคนอื่นทำได้ มีท่านทำได้เท่านั้น

หากไม่ใช่เพราะ “ท่านมีเงินทุนมหาศาล”
อันมาจากการกีดกันพ่อค้าคนอื่นไม่ให้มาแข่งขันในตลาด
เช่นเดียวกับพ่อค้าที่ดิน ไอ้ที่ดินมันไปไหนไม่ได้
แต่เงินที่ได้จากการขายที่ดินนี่สิ มันไปไหนก็ได้บนโลกใบนี้

หากต่างชาติซื้อที่ในทำเลที่ดี แล้วขายในราคาแพงเพื่อทำกำไร
และปั่นราคาสูงจนคนไทยซื้อไม่ไหว
คนที่ซื้อได้คือต่างชาติที่มีเงินเท่านั้น เงินที่ขายได้
เขาก็สามารถขนกลับไปประเทศเขาได้อยู่ดี

จากนั้นคนไทยจะต้องไปซื้อที่ไกลออกไปไกลออกไป
เพราะที่ในทำเลดีๆ เหมือน “เนื้อสเต็ก”
ที่ถูกต่างชาติเฉือนเอาส่วนเนื้อที่นุ่ม
หนึบ ติดมัน เอาไปกิน
ส่วนกระดูก โยนให้คนไทยเอาไปแทะ

อย่าไปยกตัวอย่างประเทศ “ดูไบ” เลยท่าน
เพราะระบบความแข็งแกร่งต่างกัน ที่ดินดูไบแพงมาก
คนดูไบเองรวย คนต่างชาติกลับเป็นคนที่มีทุนน้อยกว่า

คือเราเห็น “ต่างชาติ” เป็นเศรษฐี แต่ดูไบเห็นต่างชาติเป็นคนจนกว่าเขา
จะเหมือนกันยังไง เอาตัวอย่างที่เป็นความจริงกลับด้านมาเทียบมันไหวหรือ?

ลองส่องกระจกดูตัวท่านเถอะ ท่านลองถามคนขับรถท่านดูว่า
“ทำไมไม่ซื้อที่ดินซื้อบ้านแบบท่านล่ะ แล้วคนขับรถ
จะมีเงินไปซื้อได้แบบท่านไหมครับ?”

นอกจากนั้นท่านยังพร่ำว่า ต่างชาติมาซื้อบ้าน สร้างงาน
เช่น จ้างคนไทยมาดูแล เป็นคนใช้เฝ้าบ้าน
นี่ไง! ถึงบอกว่าท่านคิดได้แค่นี้ คนใช้เฝ้าบ้าน
มันจะได้เงินสักกี่มากน้อย?

แค่ 10,000-20,000 บาท โถ มันก็เหมือนการสร้างงาน
ของแม็คโคร โลตัส เซเว่น คนรวยคือท่าน
ส่วนขยายงาน คือ แคชเชียร์ คนยกสินค้า คนขับรถ
 มันสร้างงานให้คนแค่มีกินไปวันๆ หมดไปกับค่าเดินทาง ค่ากิน
ไม่เหลือเก็บออม แต่ที่รวยแล้วรวยเล่า
คือ เจ้าสัว หรือว่าไม่จริงก็บอกได้

แล้วดูต่างชาติอย่าง “จีนเทา” มาซื้อบ้านกันยกหมู่บ้าน
จัดปาร์ตี้ อยู่กันแบบไม่เกรงใจใคร เพราะเป็นเศรษฐี
รบกวนเพื่อนบ้าน โดยไม่มีใครกล้าห้าม เพราะความรวย

อย่าไปคิดว่าเป็นเรื่องเล็ก เมื่อทำขนาดระดับหมู่บ้านกว้านซื้อได้
 ต่อไปก็กว้านซื้อระดับทั้งถนน ทั้งตำบลได้ แม้แต่อเมริกาเองยังเจอ
“ไชน่าทาวน์” ขนาดเขามีระบบกฎหมายที่แข็งแกร่ง
ยังมีแก๊ง “มังกรจีน” ที่ต้องปราบปรามจนถึงขนาดต้องตั้ง
ตำรวจปราบจีนเทาดำ แล้วหากเจอ ยิ่งกว่าตู้ห่าว
ที่คนเดียวล่อที่ดินไป 1,000 ไร่ ในทำเลอย่างภูเก็ต สาทร
ได้ มีต่างชาติอย่างตู้ห่าวสัก 100 คน ก็ทำได้ 100,000 ไร่แล้ว

อย่าลืมนะครับ คนจีนมีประชากร 1,400 ล้านคน
เอาแค่คนรวย 10% ก็ 140 ล้านคนแล้ว
เอาแค่ 5 % ก็ยัง 70 ล้านคน
เท่าประชากรไทยทั้งประเทศ นี่เฉพาะคนรวยของคนจีน


หากจีนมาซื้อยกจังหวัด ประชากรจังหวัดหนึ่งของไทยแค่ 1 ล้านคน
 ทุนจีนมาซื้อสบายมากครับ
ต่อไป อาจมีเปลี่ยนชื่อจังหวัดไทยเป็น “จีนนคร”
และที่สำคัญเราไม่เคยแยกแยะ

แน่นอน มีจีนที่ดีๆ มากมาย ท่านก็มีเชื้อจีน บรรพบุรุษเดินทางข้ามน้ำ ข้ามทะเล
มาตั้งตัวที่ไทย แต่ใครจะตรวจสอบจีนได้ หากมี “จีนเทา” มาสัก 100,000 คน
จะทำความปั่นป่วนมากแค่ไหน?
ท่านต้องคำนึงถึงเศรษฐกิจระดับ “มหภาค”
ความหมายคือ “ภาพใหญ่” ไม่ใช่มองแต่ “เงิน“ เป็นตัวตั้งเท่านั้น

เมืองไทยยังไม่พร้อมหรอกครับท่านเจ้าสัว
กฎหมายอ่อนแอ เจ้าหน้าที่รัฐเห็นแก่เงิน เอาแค่
ตอนนี้ยังไม่ได้ให้ต่างชาติซื้อที่ดิน ก็มีวิธีการซื้อ
อย่างที่จีนซื้อยกหมู่บ้าน ยกชั้นคอนโด
ด้วยการตั้งบริษัทเช่าคนไทยเป็น
 “นอมินี หรือตัวแทน” ถือหุ้นใหญ่ แล้วโอนลอยหุ้นกลับ

ไล่ซื้อกันแทบหมดหมู่บ้าน คนขายดีใจขายได้หมด
แต่เคยสนใจหลังจากนี้ไหม เขาอยู่ร่วมกันแบบคนไทยได้ไง
การเอาเงินสดมาก็ผิด เพราะไม่รู้ต้นตอว่าเป็นเงินอะไร

อาจจะขายยามา เอามาจากการพนันออนไลน์
 แล้วคนไทยที่ทำมาหากินสุจริตจะเอาทุนไปสู้ได้ไง?
นี่เป็นระบบการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม
จะเป็น “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก”
ตามสไตล์เจ้าสัว ที่มักชอบ
กระทำ คือ คิดแต่เรื่องเงิน
 ไม่ได้คิดถึงความมั่นคงของสังคม

ท่านค้าขายจนร่ำรวยมากมายมหาศาลถึงทุกวันนี้
ท่านเคยเอาชนะด้วยการใช้ทุนที่มีมากกว่า
กันคู่แข่งออกจากตลาดไหมครับ!?

นั่นคือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น หากปล่อยให้ต่างชาติเข้ามา
หนักกว่าที่ว่า คือ คนไทยจะกลายเป็นคนต่างด้าว
เป็นตัวประหลาด ในแผ่นดินพ่อแผ่นดินแม่เสียเองครับ

แต่อย่างว่า คนอย่างเจ้าสัวซีพี บริษัทของท่านที่อ้างว่าเป็นบริษัทของคนไทย
มันไม่ใช่หรอกครับ บริษัทของท่านร่วมทุนกับต่างชาติ
จนเป็น “บริษัทข้ามชาติ” ไปแล้ว แต่นั่นมันแค่ “หุ้น” นะครับ
ไม่ใช่ “ที่ดิน” นี่ท่านจะเอาที่ดินไปขายด้วยหรือ?
แล้วต่อไปจะขายอะไรอีกครับ?

ที่มาจาก : เพจ "ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์"
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!