กรมสรรพสามิตชี้แจงเพิ่มอัตราภาษีไบโอดีเซล เพื่อช่วยราคาปาล์มน้ำมัน..15/5/62
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
ตุลาคม 15, 2024, 09:25:43 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กรมสรรพสามิตชี้แจงเพิ่มอัตราภาษีไบโอดีเซล เพื่อช่วยราคาปาล์มน้ำมัน..15/5/62  (อ่าน 1671 ครั้ง)
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออนไลน์ ออนไลน์

กระทู้: 18933


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« เมื่อ: พฤษภาคม 16, 2019, 10:27:49 AM »

หากอ่านบทความไม่พอดีกับจอมือถือ ดูเนื้อหาและคลิปวีดีโอที่เกี่ยวข้อง> เว็บไซต์ใหม่ของพวกเรา w ww.ubmthai.com เวอร์ชั่นสมาร์ทโฟน >>คลิ๊ก!!    https://www.pohchae.com/2019/05/16/b20/



กรมสรรพสามิตชี้แจงเพิ่มพิกัดอัตราภาษีไบโอดีเซล ..15 พฤษภาคม 2562

กรมสรรพสามิตปรับเพิ่มอัตราภาษีน้ำมันดีเซล หวังกดดันให้ผู้บริโภคหันมาใช้น้ำมันไบโอดีเซลเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันปาล์มตกต่ำและสนับสนุนเกษตรกรผู้เพาะปลูกปาล์มน้ำมัน

วันนี้ (15 พ.ค.2562) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติปรับโครงสร้างภาษีน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ตามมติของคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) นายณัฐกร อุเทนสุต ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี กรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า กรมฯ ได้กำหนดอัตราภาษีน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว และอัตราภาษีที่รองรับการใช้น้ำมันไบโอดีเซลในอนาคต ซึ่งกระตุ้นให้มีการใช้น้ำมันปาล์มและมีส่วนช่วยเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มให้มากที่สุด

โดยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี 7 ปรับเพิ่ม 0.01 บาทต่อลิตร เป็น 5.99 บาทต่อลิตร, บี 10 มีอัตราภาษี 5.80 บาทต่อลิตร และบี 20 ปรับเพิ่ม 0.001 บาทต่อลิตร เป็น 5.153 บาทต่อลิตร นอกจากนี้ยังได้แบ่งช่วงปริมาณไบโอดีเซลที่ผสมในน้ำมันดีเซลทุกระดับตามความเหมาะสม อยู่ในช่วง 5-6 บาทต่อลิตร

นายณัฐกร ระบุอีกว่า โครงสร้างภาษีดังกล่าวมีผลทันที แต่ในอนาคตการจัดเก็บรายได้ภาษีของน้ำมันดีเซลจะปรับลดลงตามการใช้ที่ลดลง เพราะรัฐบาลสนับสนุนให้ผู้ผลิตน้ำมันหันมาใช้ไบโอดีเซลมากขึ้น ซึ่งจะมีส่วนผสมของน้ำมันปาล์มดิบ และเป็นการดูแลสิ่งแวดล้อม..

ข่าวโดยละเอียด

“สรรพสามิต” ปรับโครงสร้างภาษีน้ำมันไบโอดีเซลเพิ่มเป็น 6 พิกัดจากเดิมที่มีเพียง 2 พิกัด หวังสร้างความยืดหยุ่นตามปริมาณน้ำมันปาล์มในประเทศ พร้อมยังได้ปรับเพิ่มอัตราภาษีน้ำมันดีเซลหมุนเร็วประเภทต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับมติที่ประชุม กบง. ย้ำ อัตราภาษีที่เพิ่มขึ้นใหม่นี้ไม่มีผลต่อเงินภาษีดีเซลที่เก็บได้ปีละ 1.4 แสนล้านบาท

นางสดศรี พงศ์อุทัย รองอธิบดีกรมสรรพสามิต รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการพัฒนาและบริหารการจัดเก็บภาษี ในฐานะโฆษกกรมสรรพสามิต แถลงข่าว “การปรับภาษีน้ำมันไบโอดีเซล” ว่า กรมสรรพสามิตได้เพิ่มพิกัดภาษีดังกล่าวขึ้นเป็น 6 พิกัดจากเดิมที่เคยมีอยู่มีเพียง 2 พิกัดคือ น้ำมันไบโอดีเซล 7% (บี 7) และไบโอดีเซล 20% (บี 20)

สำหรับการปรับเพิ่มโครงสร้างภาษีใหม่เป็น 6 พิกัดในครั้งนี้จะประกอบไปด้วย 1. น้ำมันดีเซลที่มีไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันผสมอยู่ไม่เกิน 4% มีอัตราภาษี 6.440 บาทต่อลิตร, 2. น้ำมันดีเซลที่มีไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันผสมอยู่เกิน 4% แต่ไม่เกิน 7% มีอัตราภาษี 5.990 บาทต่อลิตร

3. น้ำมันดีเซลที่มีไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันผสมอยู่เกิน 7% แต่ไม่เกิน 9% มีอัตราภาษี 5.930 บาทต่อลิตร
4. น้ำมันดีเซลที่มีไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันผสมอยู่เกิน 9% แต่ไม่เกิน 14% มีอัตราภาษี 5.800 บาทต่อลิตร, 5. น้ำมันดีเซลที่มีไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันผสมอยู่เกิน 14% แต่ไม่เกิน 19% มีอัตราภาษี 5.480 บาทต่อลิตร, และ 6. น้ำมันดีเซลที่มีไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันผสมอยู่เกิน 19% แต่ไม่เกิน 24% มีอัตราภาษี 5.153 บาทต่อลิตร

นอกจากนี้ นางสดศรี ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า กรมสรรพสามิตยังได้ดำเนินการตามมติจากที่ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) โดยการกำหนดปรับเพิ่มอัตราภาษีน้ำมันดีเซลหมุนเร็วประเภทต่างๆ ได้แก่ น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี7 ปรับเพิ่ม 0.01 บาทต่อลิตร เป็น 5.99 บาทต่อลิตร, น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี10 มีอัตราภาษี 5.80 บาทต่อลิตร, น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 ปรับเพิ่ม 0.001 บาทต่อลิตร เป็น 5.153 บาทต่อลิตร

โดยอัตราภาษีที่เพิ่มขึ้นใหม่นี้จะไม่มีผลต่อเงินภาษีเก็บจากดีเซลที่เก็บได้ปีละ 1.4 แสนล้านบาท แต่เป็นการปัดเศษเพื่อให้สอดคล้องกับมติ กบง. อีกทั้ง การเก็บภาษีจะเป็นการจัดเก็บจากเนื้อน้ำมันดีเซล และไม่ใช่เป็นการจัดเก็บจากไบโอดีเซล

สำหรับวัตถุประสงค์ในการเปิดพิกัดน้ำมันดีเซลไว้ 6 พิกัดนั้น เพื่อความยืดหยุ่นที่จะนำไบโอดีเซลมาผสมกับดีเซล เนื่องจากบางช่วงเวลาการผลิตไบโอดีเซลที่ผลิตออกมาได้อาจจะมีปริมาณมาก-น้อยแตกต่างกัน มาก-น้อยต่างกันก็ได้ตามผลผลิตของปาล์มที่จะนำมาใช้เป็นส่วนปสมกับน้ำมันดีเซลเพื่อให้เป็นไบโอดีเซล ส่วนปริมาณไบโอดีเซลในปัจจุบันส่วนใหญ่จะอยู่ที่บี 7 ขณะที่ภาครัฐได้พยายามสนับสนุนให้มีการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่ที่ใช้บี 20 ออกมา

ปัจจุบันปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลอยู่ที่ 200,000 ล้านลิตร สามารถจัดเก็บรายได้ภาษีได้ 140,000 ล้านบาท ขณะที่ปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินอยู่ในระดับ 1 ใน 3 ของน้ำมันดีเซล ซึ่งจัดเก็บภาษีได้ 60,000 ล้านบาท.


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!