โทรศัพท์มือถือสั่งการ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 01, 2024, 06:54:47 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: โทรศัพท์มือถือสั่งการ  (อ่าน 4060 ครั้ง)
kusol-LSV team
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน352
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 601



« เมื่อ: เมษายน 27, 2008, 06:39:48 pm »

โทรศัพท์มือถือสั่งการเครื่องรดน้ำ ต้นไม้และให้อาหารปลาอัตโนมัติ ไอเดียเจ๋งชนะเลิศประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์ระดับประเทศ 

         เรื่องราวที่โลดแล่นอยู่ในหนังสือนิยายวิทยาศาสตร์หรือในภาพยนตร์ที่มีอุปกรณ์เครื่องใช้อัตโนมัติต่างๆ ทำหน้าที่เป็นแขนขาคอยทำงานแทนมนุษย์ใช่ว่าจะเป็นเพียงแค่จินตนาการ ครั้งหนึ่งเรื่องของโทรศัพท์มือถือที่ส่งอีเมลและใช้อินเทอร์เน็ตได้เป็นเรื่องที่หลายคนในอดีต คาดไม่ถึงว่าจะเป็นไปได้ หรือการที่เพียงแค่ตบมือครั้งเดียวไฟก็สว่างทั้งบ้าน รถยนต์เคลื่อนที่ได้โดยไม่ต้องเปลืองแรงขับเอง ก็เป็นเรื่องจริงที่มีผู้คิดค้นทำขึ้นมาแล้วทั้งนั้น เพราะในโลกแห่งความจริงบรรดานักวิทยาศาสตร์ต่างก็วิจัย ค้นคว้าอุปกรณ์เครื่องใช้ไฮเทคใหม่ๆ กันอย่างไม่หยุดยั้ง และสิ่งที่คิดค้นก็เป็นเรื่องใกล้ตัวเข้ามาทุกวัน
        เชื่อไหมว่าแม้แต่เด็ก ๆ ระดับมัธยมศึกษาในบ้านเรา ต่างก็มีไอเดียเจ๋งๆ ที่ใช้ความรู้พื้นฐานทางการเขียนโปรแกรมทดลองสร้างสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ขึ้นมาได้อย่างน่าทึ่ง เช่น นักเรียนโรงเรียนแสวงหาวิทยาคม จังหวัดอ่างทอง ได้ประดิษฐ์เครื่องกรอกน้ำอัตโนมัติ นักเรียนโรงเรียนเนินมะปรางศึกษาวิทยา จังหวัดพิษณุโลก คิดค้นผ้าม่านมหัศจรรย์เปิดด้วยเสียง ปิดด้วยแสงและเก้าอี้เคลื่อนที่เพื่อคนพิการนักเรียนโรงเรียนบ้านแหลมวิทยา จังหวัดเพชรบุรี จัดทำเครื่องชั่งอัตโนมัติและเครื่องอบแห้งอัตโนมัติ นักเรียนโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย จังหวัดนครราชสีมา คิดค้นเครื่องให้อาหารไก่ไข่อัตโนมัติเป็นต้น
       และที่จะต้องกล่าวถึงเป็นพิเศษ ก็คือ โครงงานคอมพิวเตอร์ เครื่องให้อาหารปลาและรดน้ำต้นไม้ผ่านโทรศัพท์มือถือ ของนายภัคชนม์ หุ่นสุวรรณ์ และนายวรสิทธิ์ เตชะวีระพงศ์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดสุทธิวราราม โดยมีอาจารย์พัชรี  เนตรน้อย เป็นที่ปรึกษา สามารถเข้าตากรรมการจนได้รางวัลชนะเลิศ จากการแข่งขันประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เนื่องในโอกาสวันสถาปนาของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ครบรอบ 32 ปี ในปี พ.ศ. 2547 ที่ผ่านมา สิ่งประดิษฐ์ที่ว่านี้ใช้ Parallel Port ในการควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ โดยใช้ซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นจากโปรแกรม Visual Basic 6.0 ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจวิธีการใช้ได้ง่ายกว่าซอฟต์แวร์เขียนด้วยภาษาซีที่รันในดอสโหมด ซึ่งโครงงานนี้แบ่งออกเป็นสามส่วน ได้แก่ ส่วนของวงจรควบคุม ส่วนเครื่องรดน้ำต้นไม้ และส่วนเครื่องให้อาหารปลา
        ในส่วนของวงจรควบคุม ประกอบด้วย ส่วนรับสัญญาน (input) จากโทรศัพท์มือถือ ซึ่งได้จากการสั่นของโทรศัพท์เมื่อมีสัญญานเข้ามา การสั่นจะสั่งให้วงจร ทำงาน และส่วนควบคุมการทำงาน (output)ของเครื่องให้อาหารปลาและเครื่องรดน้ำต้นไม้ โดยการเขียนโปรแกรมให้ซอฟต์แวร์ปล่อย Output มาให้กับ ICULN2003A และนำ IC เบอร์นี้ไปควบคุมเครื่องให้อาหารปลาและเครื่องรดน้ำต้นไม้อีก ทีหนึ่ง
        ส่วนของเครื่องรดน้ำต้นไม้ ใช้โซลินอยด์วาล์วเปิด-ปิดทางเดินของน้ำที่ไหลไปตามท่อซึ่งทำเป็นหัวฉีดเอาไว้และส่วนของเครื่องให้อาหารปลา ใช้มอเตอร์เกียร์ต่อกับดอกสว่าน ซึ่งอยู่ในท่อขนาดสามหุ่นและมีกรวยเก็บอาหารไว้ด้านบน เมื่อมอเตอร์หมุน เม็ดอาหารปลาก็จะถูกขับออกมาตามเกลียวของดอกสว่านที่กำลังหมุนอยู่
        โครงงานนี้ทำขึ้นมาเพื่อสนองความต้องการของคนที่ไม่ค่อยมีเวลาอยู่บ้าน โดยสามารถสั่งการผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือตั้งเวลาทำงานได้ เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์บวกกับความสามารถทางด้านอิเล็กทรอนิกส์และไอทีของเด็กไทยวัยใส ของเรา วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ก็ไม่ได้หรูหราซับซ้อนมากมาย เพียงแค่มีโทรศัพท์มือถือเก่าๆ รุ่นใดก็ได้ที่มีระบบสั่น แผ่นปรินต์ Ralay12V DC มอเตอร์เกียร์ โซลินอยด์วาล์ว ท่อ PVC พร้อมข้อต่อต่างๆ Connector เต้าเสียบ Adapter Micro Switch สายไฟ กรวย แท่นไม้ ฯลฯ ก็สามารถประดิษฐ์เจ้าอุปกรณ์อัตโนมัติที่ว่านี้ ได้แล้ว
        ภัคชนม์ หุ่นสุวรรณ์ (ดิว) เล่าว่า แรกเริ่มที่คิดโครงงานได้ตั้งโจทย์ให้ตัวเองว่าโครงงานที่ จะทำต้องทำงานเองได้อัตโนมัติ และทำงานเวลาที่ไม่มีคนอยู่บ้านได้ จึงนำความคิดมาปะติดปะต่อกัน อุปกรณ์ที่ใช้ก็ติดตั้งง่าย แค่กำหนดตำแหน่งที่จะเปิดรดน้ำต้นไม้ แล้ววางท่อสปริงเกอร์ไปเรื่อยๆ ตามแนวที่ต้นไม้ที่เราจะรด ส่วนเครื่องให้อาหารปลา ก็แค่เอาตัวเครื่องไปวางไว้บนตู้ปลาก็ทำงานได้ สิ่งที่ประทับใจจากโครงงานนี้ ก็คือได้ความรู้เพิ่มเป็นการได้ลองผิดลองถูก นำความคิดมาทำให้เป็นจริง
        น้องดิวแนะนำว่า “ก่อนคิดจะทำโครงงานคอมพิวเตอร์นั้น สิ่งแรกก็คือเราจะต้องมีพื้นฐานเบื้องต้นทางคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะการเขียนโปรแกรมเบื้องต้นและต้องรู้เรื่องอิเล็กทรอนิกส์ นิดหน่อย ผมอยากจะแนะนำให้ศึกษาเรื่องการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ก่อน การคิดโครงงานจะต้องดูจากสิ่งแวดล้อมครับ ส่วนใหญ่  โครงงานคอมพิวเตอร์จะช่วยอำนวยความสะดวกให้มนุษย์หรือทำงานแทนมนุษย์ อย่าเพิ่งไปปิดกั้นความคิดตัวเองว่าทำไม่ได้ถ้าเรายังไม่ลองทำ”
        วรสิทธิ์ เตชะวีระพงศ์ (บิ๊ก) ช่วยอธิบายว่าในการทำโครงงานเครื่องรดน้ำต้นไม้ฯ ได้ช่วยกันทำทุกขั้นตอน โดยใช้ชุมนุมคอมพิวเตอร์ของโรงเรียนเป็นสถานที่ทำงาน พวกฮาร์ดแวร์ก็ไปหา ซื้อตามร้านที่บ้านหม้อ  ค่าอุปกรณ์ที่ลงทุนไปทั้งหมดไม่ถึงหนึ่งพันบาท ถ้าไม่นับรวมคอมพิวเตอร์ ปัญหาในการทำงานถ้าไฟดับเครื่องจะใช้งานไม่ได้เลย เพราะเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า และช่วงแรกๆ ก็จะมีปัญหาใช้กับวินโดว์XP ไม่ได้ ตอนนี้ก็แก้ไขได้แล้ว “ผมพอใจกับผลงานนี้มาก ตอนนี้ทางโรงเรียนกำลังให้ผมกับเพื่อนขยายผล โดยการสร้างเครื่องรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติที่สวนหย่อมหน้าเสาธง”
        น้องบิ๊กเล่าว่า ตัวเองสนใจคอมพิวเตอร์มาตั้งแต่เรียนชั้นประถมแล้ว และสนใจหลายด้านทั้งด้านกราฟิกและการเขียนโปรแกรมโดยได้ฝึกฝนมาเรื่อยๆ สมัยที่เรียน ม. 3 ได้ เข้ามาร่วมกิจกรรมชุมนุมคอมพิวเตอร์ของโรงเรียน เป็นรุ่นแรก แล้วก็ทำผลงานมาเรื่อยๆ โดยเน้นด้านกราฟิกคอมพิวเตอร์ส่วนในอนาคตอยาก ทำงานด้านคอมพิวเตอร์ พร้อมกับฝากเอาไว้ว่า “จริงๆ แล้วคอมพิวเตอร์มีประโยชน์มาก แต่  ส่วนใหญ่เท่าที่เห็นเยาวชนจะเล่นเกมซะมากกว่า อยากให้เพื่อนๆ หันมาสนใจด้านอื่นๆ ของ คอมพิวเตอร์นอกเหนือจากการเล่นเกม เกมนี่ก็เล่นได้ถือว่าเป็นการพักผ่อนนันทนาการหลังจากการเรียน แต่ว่าจริงๆ แล้ว มีทักษะทางคอมพิวเตอร์อีกตั้งหลายอย่าง  เพราะถ้าเพื่อนๆ หันมาสนใจด้านนี้มากขึ้นจะช่วยสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวันและสร้างประโยชน์ให้ประเทศได้ครับ”
        ล่าสุดสิ่งประดิษฐ์นี้กำลังจะได้จดอนุสิทธิบัตรเป็นฝีมือของเด็กไทย วัยโจ๋ทั้งสองคน   แล้วจ้า เด็กไทยของเราก็เก่งไม่แพ้ใครเหมือนกัน เพื่อนๆ ว่ามั้ย

                                               โดย... ดุลยา มงคล


http://update.se-ed.com   Cheesy



บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!