การเพาะเห็ดฟาง
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 01, 2024, 06:09:00 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การเพาะเห็ดฟาง  (อ่าน 3554 ครั้ง)
คนเกษตร
วีไอพี
member
***

คะแนน41
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 45


« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2016, 12:57:10 pm »




การเพาะเห็ดฟาง

สภาพทั่วไป


          ในฤดูฝนมีเห็ดป่าออกมาจำนวนมาก ประชาชนจะเก็บเห็ดป่าจำนวนมากที่ไม่เป็นพิษนำมารับประทาน ในพื้นที่บางแห่งที่มีการทิ้งวัตถุดิบหรือของเหลือใช้ทางการเกษตรหรือเป็นผล พลายได้ เช่น เปลือกของหัวมันสำปะหลัง เปลือกของฝักถั่วเขียว เปลือกของฝักถั่วเหลือง พวกเศษฟาง พวกเศษที่เหลือจากการทำการสีเอาเมล็ดพืชออก ไม่ว่าจะเป็นทานตะวัน ซังข้าวโพดป่นที่ร่วงหล่นหรือแม้แต่ต้นข้าวโพดป่นที่ร่วงหล่น มีเห็ดฟางขึ้นเจริญเติบโตโดยใช้อินทรีย์วัตถุต่าง ๆ เป็นอาหารตามธรรมชาติ ฝนตกเป็นตัวให้ความชุ่มชื้นแก่วัตถุดิบ ก็อากาศชื้นเป็นการให้ความชื้นในอากาศ ตัวเชื้อเห็ดนั้นก็มาจากธรรมชาติ เห็ดที่ขึ้นในป่าเต็งรัง เห็ดที่ขึ้นจากป่าจะเป็นเห็ดที่ขึ้นมาจากรากของต้นพืช เห็ดพวกนี้เรียกกันว่าเป็นเห็ด เฮ็กโตไมคอร์ไรซ่าส์ จะต้องอาศัยฤดูกาลที่เหมาะสม การทำให้เห็ดที่รากพืชผลิตออกมาตามความต้องการ ในขณะนี้ยังไม่สามารถทำได้ ดังนั้นต้องรอตามฤดูกาล แต่ในกรณีของเห็ดที่ขึ้นกินย่อยเศษซากพืชต่าง ๆ ตัวอย่างเรื่องเปลือกมันสำปะหลัง มีทางที่จะพัฒนาก่อให้เกิดเป็นอาชีพเกษตร ถ้าปล่อยให้เป็นไปโดยธรรมชาติ เห็ดส่วนหนึ่งก็จะขึ้นอยู่บนกอง กองใหญ่ ๆ ข้างในก็ไม่ได้เอามาใช้ประโยชน์ อีกส่วนหนึ่งก็จะอยู่บนดินรอบ ๆ กอง ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสมก็จะมีเห็ดขึ้น ดังนั้นถ้าเปรียบเทียบกับปริมาณของเปลือกของหัวมันสำปะหลังทั้งหมดต่อจำนวน เห็ดที่ปล่อยให้เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ นับว่าน้อยเป็นการที่ไม่แน่นอนไม่รู้ว่าฝนจะตกเมื่อใด ตกพอเหมาะพอดีแล้วก็มีสปอร์ของเชื้อราจากที่อื่นปลิวมาหรือไม่ อย่างไร แต่ถ้าจะทำให้เป็นการเกษตรทำให้มีผลผลิตที่ค่อนข้างจะแน่นอนขึ้น มีความสม่ำเสมอสามารถใช้วิทยาการเข้าไปช่วยได้ การเพาะเห็ดถ้าเพาะบนดินเป็นงานขนาดเล็กไปก่อน ก็ลงทุนแต่น้อยแต่ว่าก็ได้เงินเร็ว ประมาณแค่ 7 – 10 วันก็สามารถเก็บเห็ดเอาไปขายได้ ส่วนที่มีรูปร่างหน้าตาไม่เหมาะสมต่อการขายก็เก็บเอาไว้กินเอง บริโภคในครอบครัว ทำแล้วขยับขยายเปลี่ยนแปลงพื้นที่ไป ปัญหาก็น้อย ราคาของเห็ดฟางก็มีดีทั่วประเทศไทย กิโลกรัมละประมาณ 40 - 50 บาท
 
ปัญหาในปัจจุบัน

          ในปัจจุบันนี้มีการสร้างความตื่นตัว อยากจะให้เกษตรกรได้เพาะเห็ดฟางในโรงเรือนมีการจัดอบรมของเอกชน มีการเก็บเงินถึง 3,000 บาท เรียนวันเดียวจบคือบรรยายในเอกสารแล้วก็พาไปดูในโรงเพาะเห็ด ต้องไตร่ตรองให้รอบคอบ เพราะว่าผู้ที่ได้รับการอบรมแล้วเมื่อนำไปปฏิบัติ สร้างโรงเรือน สร้างที่ต้มน้ำ ที่อบไอน้ำ ทำแบบที่ไปอบรมมา การลงทุนในการก่อสร้างต่าง ๆ ในปัจจุบัน แม้จะใช้วัสดุที่ราคาต่ำลงมาเพียงใด แต่ก็ยังลงทุนมากค่าใช้จ่ายระหว่างที่จะใช้เพาะเห็ดในโรงเรือนก็ยังมาก คือลงทุนในการเพาะเห็ดระบบโรงเรือนต้นทุนค่อนข้างจะสูง เพาะในครั้งแรกก็จะได้ผลผลิตเห็ดออกมาในระดับที่ค่อนข้างพอใจ หรือบางคนยังได้ไม่มากก็คิดที่จะทำให้ดีขึ้นในคราวต่อไป เพราะความรู้อาจจะยังไม่พอ แต่พอเริ่มปลูกไปไม่กี่รอบก็จะเริ่มมีปัญหา เมื่อเข้าไปทำงานในโรงเรือนที่ใช้เพาะเห็ดแล้วก็จะปรากฏว่าคัน การคันนี้ก็เกิดจากตัวไรซึ่งก็แสดงว่าการรักษาสภาพความสะอาด อนามัยสิ่งแวดล้อมภายในโรงเพาะเห็ดนั้นไม่ดี ต่อมาการเพาะได้ผลผลิตในเกณฑ์ที่ต่ำ นี่ก็เป็นปัญหาที่ว่าเกิดจากอะไรกันแน่ เกิดมีผู้ทำสูตรอาหารเสริมขายในราคาแพง บางคนขายในราคากิโลกรัมละ 50 บาท มันควรจะไม่เกิน 10 บาทต่อกิโลกรัม แพงและผลไม่คุ้มค่าเสียอีก เกษตรกรบางคนมีปัญหาหวังผลเกินความรู้พื้นฐานที่รู้เพียงแค่ไปอบรมมา จ่ายค่าอบรมไป 3,000 บาท บางคนมีความรู้ไม่มากแต่คิดว่ามีความรู้มากแล้ว ไม่แสวงหาความรู้ที่เป็นระบบที่เป็นพื้นฐานวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม ไม่ใจเย็นศึกษาวิธีการเพาะ ไม่ศึกษานิสัยของเห็ด ปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับเห็ดให้รู้ให้มากขึ้น ดังนั้นผลที่สุดเพาะเห็ดในโรงเรือน บางคนก็เหนื่อยก็ไม่คุ้ม แต่คิดผิดคิดว่าเป็นเรื่องของโชคไม่ดีที่ผลผลิตไม่ดี บางคนก็แก้ปัญหาโดยการบนเจ้าที่ ทำให้พวงมาลัยขายดีแต่เห็ดนั้นไม่ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น

แนวทางแก้ปัญหา


          เกษตรกรที่ต้องการจะเพาะเห็ดฟางด้วยเปลือกหัวมันสำปะหลัง ควรที่จะทำการศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ให้รอบคอบ ไม่โลภ ค่อย ๆ เริ่มต้นจากงานขนาดเล็กคือทำงานเล็กจะได้เข้าใจ รู้จักเห็ดดีขึ้น เมื่อเพาะขนาดเล็กจำนวนไม่มากยังสามารถทำกำไรได้ ค่อย ๆ ขยายใหญ่ขึ้น เวลาไปศึกษาไปดูงานที่ฟาร์มเห็ด ดูแล้วอย่าเลียนแบบงานของเขาเอามาใช้ทันทีเพราะบางครั้งน้ำก็ไม่เหมือนกัน วัตถุดิบก็ไม่เหมือนกัน เชื้อเห็ดก็คนละเจ้า มีปัจจัยที่แตกต่างกัน ดังนั้นเวลาไปดูงานที่ใดที่หนึ่งแล้วก็รับมาเชื่อทันทีทั้ง 100 % ต้องค่อยศึกษาค่อยทำไป คือ ต้องยอมเสียเวลาทำไปจากงานขนาดเล็กให้ค่อย ๆ ใหญ่ขึ้นและในระหว่างนั้นให้ศึกษาให้มากขึ้น ให้รู้จักการเพาะเห็ดฟางด้วยเปลือกของหัวมันสำปะหลัง ถ้ารู้ทั้งระบบก็จะทำให้ไม่ต้องลงทุนขนาดใหญ่เงินไปจม มีการลงทุนแล้วก็เกิดการเสียหายที่ทำแล้วไม่คุ้มค่าในงานหลายอย่าง เขาก็พูดกันว่านั้นก็เป็น NPL เช่น มีโกดังที่เป็น NPL , มีตึกมีห้องแถวที่เป็น NPL คือทรัพย์สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ไม่ควรที่จะให้มีการลงทุนทำโรงเพาะเห็ดแบบโรงเรือน แล้วภายหลังขาดทุนทำไม่ได้ ทิ้งเอาไว้เฉย ๆ ก็จะกลายเป็น NPL ของโรงเพาะเห็ดก็จะน่าเสียดาย ถ้าศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ในที่สุดก็จะแก้ปัญหาได้

เพาะเห็ดบนพื้นดินแบบง่าย ๆ

          ถ้ามาดูข้อมูลต้น ๆ การเพาะเห็ดฟางด้วยเปลือกของหัวมันสำปะหลัง ก็เริ่มต้นด้วยการเตรียมดิน ส่วนใหญ่ก็จะขุดดินตากย่อย แต่ถ้าดินร่วนซุยมาก ๆ เป็นดินทรายอยู่แล้วปาดพื้นให้เรียบก็พร้อมที่จะใช้ได้ เอาไม้มาตีเป็นกรอบ เป็นแม่พิมพ์กว้าง 1 ฟุต ยาวฟุตครึ่งหรือ 2 ฟุต สูง 1 ฟุตหรือจะรูปร่างแตกต่างจากนี้ก็ใช้ได้ทั้งนั้น วางบนพื้นดิน เอาวัตถุดิบคือเปลือกของหัวมันสำปะหลัง เอามาแช่หรือเอามาชุบน้ำให้เปียกแล้วเอามาในกรอบไม้ ใส่จนได้ระดับที่ต้องการเช่น ประมาณ 1 ฝ่ามือหรือประมาณ 1 คืบ แล้วก็กดให้แน่น จากนั้นก็ยกกรอบไม้ออก วางเลยไปประมาณ 1 ฟุต แล้วก็ทำกองต่อไปทำเหมือนกัน ทำอย่างนี้มากจนถึงระดับที่พอใจแล้ว ก็เอาเชื้อเอาอาหารเสริมมาใส่ โรยให้ทั้งบนกองและทั้งบนดินรอบ ๆ กอง รดน้ำอีกจนเพียงพอ น้ำสุดท้ายใช้ภูไมท์จำนวน 1 กก.ต่อน้ำ 5 ปีบ กวนให้ละลายแล้วก็รดลงไป สุดท้ายแล้วปิดด้วยผ้าพลาสติก เอาฟางคลุมทิ้งไว้ 3 วัน 3 คืน เส้นใยเห็ดฟางก็เจริญแผ่ไปทั่ว วันที่ 4 เปิดผ้าพลาสติกใช้น้ำรดลงไปตัดใยให้ยุบเพื่อเป็นการถ่ายเทอากาศแล้วปิด เหมือนเดิม บางคนอาจจะขึ้นโครงวันนี้หรือบางคนอาจจะขึ้นโครงมาตั้งแต่วันแรก ก็คลุมไว้ตามเดิม แล้วเปิดรดน้ำตามความจำเป็นดูความเหมาะสม ดูว่าดินแห้งหรือกองแห้งหรือไม่อย่างไร และถ่ายเทอากาศ ทำในวันที่ 5 และวันที่ 6 วันที่ 7 และวันต่อไป ประมาณวันที่ 7 ก็มีเห็ดให้เริ่มเก็บได้แล้ว เห็ดนี้ก็จะเก็บได้จนกระทั่งหมด อาจจะใช้เวลาแค่ 3 – 5 วัน แต่ถ้าทำกองค่อนข้างสูงก็อาจจะเก็บได้หลายวันขึ้น ย้ายที่ทำแปลงใหม่เพราะเห็ดออกน้อยจนไม่คุ้มค่าแรง เราก็โยกย้ายที่ทำแปลงใหม่ นี่คือข้อมูลสรุปของบทที่ 4 ที่เพาะเห็ดบนพื้นดินแบบง่าย ๆ ในขณะนี้มีข้อมูลที่จะทำการศึกษาต่อไปว่า จะทำให้ได้ผลผลิตมากกำไรมากเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง และจะได้นำมาอธิบายให้เข้าใจเพิ่มขึ้น

ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

          การเพาะเห็ดฟางให้ได้ผลผลิตมากหรือมีกำไรมาก เกี่ยวข้องอยู่กับสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบแวดล้อม นั่นก็คือดิน ซึ่งการเพาะเห็ดฟางต้องเพาะอยู่บนดิน น้ำซึ่งอาจจะมีสารที่เป็นผลบวก ที่เป็นผลลบเจือปนอยู่ในน้ำ รวมไปถึงความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ เกี่ยวข้องกับวัตถุดิบที่เอามาใช้ในการปลูกเห็ด ซึ่งจะทำให้ได้เส้นใยมากและเส้นใยก็จะแปรสภาพเป็นดอกเห็ดอีกครั้งหนึ่ง เกี่ยวข้องกับอาหารเสริม อาหารเสริมที่นำมาใช้อาจจะเป็นรำพวนข้าว ในการเพาะเห็ดบางรูปแบบ ใช้ผักตบชวาสับเป็นชิ้นเล็ก ในสมัยก่อนมีการใช้ไส้นุ่น ใช้กากเมล็ดฝ้ายหรือเศษฝ้ายที่ได้มาจากโรงงานปั่นฝ้าย หรืออาจจะเป็นเศษพืชอื่น ๆ ชิ้นเล็กที่ย่อยสลายง่าย เปียกน้ำง่ายและเห็ดชอบกิน เกี่ยวข้องกับอุณหภูมิ ถ้าฤดูแตกต่างหรืออุณหภูมิแตกต่างมาก การเจริญเติบโตของเส้นใยก็แตกต่างไป เช่น หน้าหนาวเส้นใยจะเจริญช้าโดยทั่วไป แต่ในหน้าร้อนอุณหภูมิสูงเส้นใยก็จะเจริญเติบโตรวดเร็วกว่า ขึ้นกับภูไมท์ซึ่งปัจจุบันนำมาใช้ในการเสริมสร้างให้เส้นใยเห็ดเจริญเติบโต ได้ดี มีจำหน่ายทั้งของแท้และมีผู้ทำปลอมเลียนแบบ มีผลมาจากการคลุมกองว่าคลุมดีแค่ไหน เก็บความชื้นได้ดีขนาดไหน และเมื่อถึงระยะจะต้องถ่ายเทอากาศได้มีการรดน้ำ มีการถ่ายเทอากาศได้ดีแค่ไหน วิธีการเก็บดอกเห็ดที่ทำให้ดอกเห็ดที่เหลือที่ไม่ได้เก็บกระทบกระเทือน ยังคงสามารถเจริญเติบโตเป็นดอกใหญ่ได้ต่อไป มีเรื่องของโรค ของแมลง ของศัตรูของเห็ดต่าง ๆ เหล่านี้เป็นองค์ประกอบเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำให้ได้ผลผลิตมากหรือน้อย กำไรมากหรือน้อยจะได้กล่าวถึงโดยละเอียดอีกต่อไป

ดิน

          เราควรจะต้องศึกษาสภาพของดินเพราะว่าจะเกี่ยวข้องกับการรดน้ำ ถ้าเป็นดินทรายจัด เมื่อรดน้ำ น้ำส่วนเกินก็จะระบายถ่ายเทไปอย่างรวดเร็ว ถ้าเป็นดินร่วน น้ำก็จะระบายถ่ายเทลงหน่อย ถ้าเป็นดินเหนียวน้ำซึมยากหากรดน้ำโดยที่น้ำขังอยู่ บริเวณนั้นเส้นใยเห็ดก็ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ จำเป็นจะต้องหาวิธีที่จัดการให้น้ำมีการระบายถ่ายเทได้ดี และเมื่อน้ำระเหยจากดินข้างล่างขึ้นมา ในสภาพนี้อาจจะใช้ผ้าพลาสติกคลุมที่จะช่วยเก็บความชื้นไว้ได้ จึงทำให้อาจจะไม่ต้องรดน้ำให้มากเกินไป หรือบ่อยเกินไป ดินนั้นเป็นดินที่ได้มีการปลูกพืชผักอะไรมาก่อนหน้านี้ ได้มีการใช้สารเคมีใดบ้าง เช่น ใช้ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าไร หรือใช้ยาฆ่าเชื้อรา เชื้อรากับเห็ดนั้นเป็นพี่น้องกัน สารเคมีที่มาฉีดพ่นฆ่าเชื้อราส่วนใหญ่ก็ฆ่าเชื้อเห็ดได้ทั้งนั้น เคยมีการฉีดยาฆ่าเชื้อราที่ดินบริเวณที่จะปลูกเห็ดหรือไม่ ถ้ามี การฉีดพ่นครั้งสุดท้ายนานเท่าไรแล้ว มีตกค้างอยู่มากแค่ไหน อาจจะมีผลกระทบไปถึงผลผลิตของเห็ดที่จะเจริญบนดินรอบ ๆ กองเห็ด ถ้าไม่ได้ระมัดระวังเรื่องนี้ ก็จะได้ผลผลิตเห็ดเฉพาะบนกอง บนดินนั้นจะไม่ได้เลย เพราะสารเคมีตกค้าง ถ้าสารเคมีตกค้างมาก ๆ ซึมเข้ามาที่กองแม้แต่เห็ดบนกองก็อาจจะไม่ได้ ดินที่เราปลูกเห็ดนั้นมีอินทรีย์วัตถุเจือปนอยู่มากน้อยแค่ไหน ถ้าเป็นดินที่กระด้างไปหมดมีแต่เนื้อดินมีแต่เนื้อทรายถ้าอย่างนั้นโอกาสของ การเกิดเห็ดบนดินรอบ ๆ กองก็ลดลง แต่ถ้ามีอินทรีย์วัตถุบนดิน เป็นดินดีที่มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยชีวภาพต่าง ๆ ในพื้นที่นั้นในการปลูกพืช และอินทรีย์วัตถุเหล่านั้นยังมีอยู่ในดิน เช่นนี้มีแนวโน้มที่ดินแปลงนี้จะให้ผลผลิตเห็ดมากขึ้น ดินแต่ละที่มีความเป็นกรดเป็นด่างไม่เท่ากัน ในพื้นที่เป็นบึงเก่าเป็นหนองน้ำเก่า มีการสลายตัวของอินทรีย์วัตถุ มีฮิวมิคแอซิด ตกค้างอยู่มาก หรือมีกรดตกค้างอยู่มาก เช่นที่ดินพรุเก่าเหล่านี้ เห็ดนั้นมีความต้องการ pH หรือความเป็นกรดเป็นด่างที่แตกต่างกัน ในกรณีของเห็ดฟางจะเจริญเติบโตดีที่สุดที่ pH 7.2 คือเลยเป็นกลางมานิดเดียว ถ้าดินบริเวณนั้นตรวจแล้วเป็นดินที่เป็นกรดมาก พยากรณ์ได้ว่าผลผลิตบนดินรอบกองจะต่ำ ถ้า pH ของดินที่นั่นมีปูนตกค้างมาก มีค่า pH เกิน 7.2 ไปมาก พยากรณ์ว่าจะได้ผลผลิตเห็ดรอบ ๆ กองนั้นน้อยลง ถ้าตรวจสอบแล้วปรากฏว่าดินมีความเป็นกรดสูงเราก็จัดการแก้ไข โดยการใส่ปูนมาร์ลหรือใส่โดโลไมท์หรือหินปูนฝุ่นเหล่านี้เพื่อแก้ไขให้ pH เป็นกลางหรือใกล้เป็นกลาง ผลผลิตของเห็ดบนดินรอบ ๆ กองก็จะสูงขึ้น

          ถ้าหากดินที่ใช้ปลูกเห็ดเป็นดินเปรี้ยวและเราต้องการที่จะใส่ปูน เราต้องจดเอาไว้ด้วยว่าพื้นที่นี้ค่า pH เท่านี้ใส่ปูนในอัตราเท่าไรจึงเหมาะสม แต่ถ้าใส่ปูนลงไปแล้วในครั้งนั้นได้ผลผลิตเห็ดที่ดี เราห้ามจำว่าพื้นตรงนั้นจะต้องใส่ปูนเท่านั้น ๆ ทุกครั้งไปในการปลูกเห็ดถ้าอย่างนี้เป็นสิ่งไม่ถูกต้อง เนื่องจากว่าเราใส่ปูนลงไปครั้งหนึ่งแล้ว พอปลูกเห็ดไปแล้ว ปูนนั้นไม่ได้สลายตัวหรือไม่ได้ถูกใช้ไปหมดจนกระทั่งดินกลับไปเปรี้ยวตาม เดิม แต่ว่าเมื่อใส่ปูนไปครั้งหนึ่งค่า pH ของดินนั้นสูงขึ้น และปูนใส่ไปครั้งหนึ่งจะอยู่ได้หลายปี ในครั้งต่อไปสมมติว่าอีกฤดูหนึ่งเราต้องการที่จะปลูกเห็ดลงไปในพื้นที่ บริเวณนั้นอีก แต่ไม่ต่อเนื่องกัน ไม่ให้ใช้ข้อมูลเก่า จะต้องตรวจวัด pH ของดิน ณ จุดนั้นว่ามี pH เท่าไรแล้ว สมมติว่ายังไม่ถึง 7.2 แต่ไม่เปรี้ยวเท่าเก่า ถ้าอย่างนั้นอัตราการใช้ของการใส่ปูนนั้นก็จะใส่น้อยลงกว่าที่ใส่ครั้งแรก สำหรับพื้นที่ใดหากเป็นดินเค็ม พื้นที่นั้นจะไม่เหมาะสมต่อการปลูกเห็ดฟาง ทั้งนี้เนื่องจากว่าเห็ดฟางนั้นแพ้ความเค็ม ไม่สามารถจะให้ผลผลิตที่ดีบนดินที่เค็มนั้นได้ สมมติว่าเค็มเพียงเล็กน้อยแล้วต้องการที่จะปลูกเห็ด เราอาจจะใช้แกลบโรยหนา ๆ บนดินบริเวณนั้นแล้วค่อยปลูกเห็ด แต่ก็ถือว่ายังไม่ดี เพราะเมื่อรดน้ำ น้ำไปต่อเชื่อมกับดินเค็มที่อยู่ข้างล่างน้ำก็จะเค็ม แล้วพอเกิดการระเหยที่ข้างบนน้ำเค็มข้างล่างก็จะเคลื่อนย้ายขึ้นมา แล้วทิ้งเกลือเอาไว้เห็ดก็ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ดีบนดินเค็มเหล่านั้นได้ อันนี้ต้องยอมรับความเป็นจริง พื้นที่ดินเค็มก็ไม่เหมาะที่จะเพาะเห็ดอยู่บนพื้นที่ดินเค็มนั้น ๆ ในเรื่องของการเตรียมดินถ้าเป็นดินที่ลักษณะที่ร่วนซุยอยู่แล้ว การขุดและตากไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ก็เพียงพอที่จะให้ดินนั้นเหมาะสมต่อการใช้ปลูกเห็ด ในสภาพของดินที่เหนียวจัดบางครั้งก็ต้องขุดและตาก และเมื่อเป็นดินเหนียวก็จะแข็งอยู่ก็ควรจะช่วยย่อยให้ดินที่แข็งที่เหนียว นั้นได้ร่วนลงเป็นก้อนเล็กก็จะสามารถที่จะปลูกเห็ดแล้วได้ผลผลิตที่ดีกว่า ปล่อยให้ดินเหนียวและก็แข็งอยู่เป็นก้อน ๆ ในสภาพที่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เช่นสมมติว่าเป็นดินลูกรังถ้าเป็นดินลูกรังแท้ ๆ เวลาที่ปลูกเห็ด เห็ดก็จะไม่ได้รับผลที่มีอยู่ในดินลูกรังนั้น แต่ว่าจะได้ผลผลิตเห็ดออกมาจากการย่อยสลายเศษพืชต่าง ๆ ที่วางอยู่บนคืออยู่บนดินนั้นเอง มีผู้สอบถามว่าถ้าจะปลูกเห็ดแต่ว่าจะใช้เป็นพื้นปูน ปลูกเห็ดบนพื้นปูนซีเมนต์จะมีผลดีผลเสียอย่างไรหรือไม่ ตอบได้ว่าเวลาเราผลิตเห็ดโดยที่ปลูกอยู่บนดินมันจะมีผลผลิต 2 ส่วน ส่วนหนึ่งก็คือเห็ดที่ขึ้นอยู่บนกอง เช่นในกรณีที่ใช้เปลือกของหัวมันสำปะหลังก็จะขึ้นอยู่บนกองของเปลือกมัน สำปะหลัง อีกส่วนหนึ่งนั้นก็จะขึ้นอยู่บนดินรอบ ๆ กอง ดินยังเป็นแหล่งที่จะให้เกิดมีการระเหยของน้ำในดินขึ้นมาสู่กอง แต่ถ้าเป็นพื้นซีเมนต์เราก็จะได้เห็ดเฉพาะบนกอง ส่วนพื้นซีเมนต์ไม่สามารถจะมีดอกเห็ดเกิดขึ้นได้ ส่วนน้ำที่จะซึมผ่านในเนื้อซีเมนต์ขึ้นมาก็ไม่มี ดั้งนั้นก็อาจจะต้องคอยโชยน้ำอยู่ที่พื้นซีเมนต์ให้พื้นซีเมนต์นั้นเปลียก ชื้น และมีการระเหยของน้ำขึ้นมาอยู่ที่กองของวัตถุดิบที่เราได้คลุมผ้าพลาสติกเอา ไว้ เมื่อเราขุดดินแล้วก็ตากเช่นนี้ โดยมากสภาพดินก็จะมีความเหมาะสมที่ดินที่ไม่เหมาะที่จะปลูกเห็ดก็คือดินที่ เพิ่งจะปลูกเห็ดรอบที่แล้วผ่านไป เพิ่งเสร็จใหม่ ๆ เมื่อปลูกเห็ดหมดไปรอบหนึ่งก็จะมีเส้นใยเห็ดเป็นจำนวนมากที่ตกค้างอยู่แถว นั้น จะเป็นอาหารของตัวไร จะเป็นอาหารของราเขียว ไตรโคเดอร์ม่า บริเวณนี้เป็นที่ไม่เหมาะจะปลูกต่อไป ควรจะปล่อยให้หญ้าขึ้นสักรอบหนึ่งก่อนหรือปลูกพืชอย่างอื่นไปรอบหนึ่งก่อน แล้วจึงค่อยกลับมาใช้พื้นที่นี้ปลูกเห็ดต่อไปได้อีก ถ้าปลูกซ้ำกันศัตรูก็จะระบาด ทั้งไร ทั้งราเขียว ไตรโคเดอร์ม่า ก็จะเข้าทำลายเห็ด แต่เมื่อพ้นไปหนึ่งฤดูกาลทั้งตัวไรและก็ราเขียวก็จะลดน้อยลงจนไม่มีผลกระทบ ต่อการผลิตเห็ดรุ่นต่อไป

น้ำ

          น้ำที่จะเอามาใช้ในการเพาะเห็ดควรจะเป็นน้ำที่สะอาด น้ำที่มีปัญหาถ้าน้ำมีกลิ่นเหม็น กลิ่นเหม็นอาจจะเป็นน้ำเกิดภาวะเน่าเสียจากอะไรก็ตามถือว่าเป็นน้ำไม่เหมาะ สม น้ำที่เน่าอาจจะเน่าเนื่องจากว่าสารอินทรีย์ต่าง ๆ ในคอกสัตว์ เช่นในช่วงที่มีฝนตกเกิดการชะล้างสารอินทรีย์ต่าง ๆ ในคอกสัตว์ลงไป หรือจากแหล่งอื่น ๆ น้ำที่บูดเน่าเสียหายก็จะปล่อยกลิ่นเหม็นออกมา เป็นพิษต่อเห็ดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก๊าซแอมโมเนีย หรือ NH 3 น้ำที่มีอินทรีย์วัตถุมากเกินไปจะทำให้เกิดขบวนการหมักบูดและเกิดกลิ่นที่ ไม่พึงประสงค์ ควรจะมีการบำบัดน้ำเสียก่อน ถ้าไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้ ถ้าจำเป็นต้องใช้น้ำนั้นจริง ๆ ก็หาวิธีที่จะทำให้น้ำนั้นกลับมาค่อนข้างสะอาดก่อน น้ำที่มีภาวะเป็นกรดเป็นด่างไม่เหมาะสมก็จะทำให้ผลผลิตของเห็ดนั้นลดลง เห็ดฟางชอบ pH ประมาณ 7.2 ถ้าน้ำเป็นกรดก็จะต่ำกว่า 7.0 ลงมาเหลือ 6.5 อาจจะกระทบกระเทือนไม่มาก แต่ถ้าต่ำลงมาจนถึง 6 ถึง 5 ถึง 4 อย่างนี้น้ำนั้นจะทำให้ผลผลิตของเห็ดนั้นต่ำลง ถ้าจำเป็นควรจะต้องดูให้เป็นน้ำที่กักบริเวณได้ แล้วหาวัสดุปูน เช่น โดโลไมท์หรือปูนมาร์ลหรือหินปูนฝุ่นหรือหินปูนบด หว่านลงไปในน้ำนั้นแล้วปล่อยให้เขาปรับสภาพให้เป็นกรดลดลง ถ้าขึ้นมาใกล้เป็นกลางก็เป็นสิ่งที่ดี หากพื้นที่ใดน้ำที่จะเอามาใช้รดเห็ดมีภาวะเป็นด่างคือเกิน 7.0 ขึ้นไปมาก เห็ดจะออกดอกได้น้อย เห็ดจะเจริญเติบโตไม่ดีควรจะต้องหาวิธีปรับน้ำนั้นให้กลับเข้ามาเป็นกลาง ในกรณีที่จำเป็นอาจจะใช้แหล่งน้ำที่เป็นกรดเอามาเจือผสม ถ้าเป็นสภาพที่เป็นด่างเพราะหินปูนมากเกินไป เราอาจจะดูแหล่งของกรดที่ราคาถูก แต่ถ้าต้องลงทุนถึงขนาดนี้โดยมาก เพาะเห็ดก็แทบจะไม่มีกำไรแล้ว หาแหล่งหาพื้นที่ที่จะปลูกเห็ดที่ดินก็ดีน้ำก็ดี ให้มีปัญหาน้อยที่สุด ปัญหาที่พบว่าอาจจะเกิดจากน้ำอีกพวกหนึ่งคือพวกสารพิษ สารพิษนี้บางครั้งก็ได้มาจากพวกสวนไร่นานั่นเอง เช่นมีการฉีดยาฆ่าหญ้า ฉีดยาฆ่าแมลง ฉีดยาป้องกันกำจัดเชื้อราเหล่านี้ ถ้ามีสารที่ป้องกันกำจัดเชื้อรา มีผลกระทบมาก เห็ดกับรานั้นใกล้เคียงกันที่สุด น้ำที่มียาฆ่าเชื้อราก็จะฆ่าเห็ดไปในตัว ถ้าเป็นน้ำที่มาจากน้ำประปา เป็นน้ำที่ใสแต่บังเอิญช่วงนั้นฝ่ายผลิตน้ำประปาใส่คลอรีนมามาก ผลผลิตเห็ดก็จะไม่ค่อยดีสมมติว่าจะต้องใช้น้ำที่ใส่คลอรีนมาแล้ว คลอรีนนั้นใส่ลงไปเพื่อฆ่าเชื้อ ดังนั้นควรที่จะหลีกเลี่ยง แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ จะต้องมีภาชนะ มีโอ่งสำหรับที่จะเอาน้ำใส่เอาไว้แล้วก็เปิดฝาโอ่งเพื่อให้แดดส่องลงไป ทิ้งให้แดดเผาอยู่ประมาณ 2 – 3 วัน คลอรีนส่วนที่เกินที่เหลืออยู่ก็จะระเหยหายไป คือจะลดลง น้ำที่มีการระบายมาจากโรงงานอาจจะเป็นน้ำที่อ้างว่าได้มีการบำบัดเรียบร้อย แล้ว บำบัดเรียบร้อยแล้วนี้ไม่แน่ว่าบำบัดในส่วนไหน น้ำที่บำบัดมาแล้วจากโรงงานโดยมากไม่นิยมที่จะเอามาใช้เพาะเห็ดโดยตรง น้ำนั้นควรจะมีสระน้ำ มีอ่างเก็บน้ำหรือเขาขุดเป็นบ่อน้ำขึ้นโดยเฉพาะ แล้วในอ่างในบ่อนั้นปลูกผักตบชวาหรือจอก เป็นพืชน้ำที่จะช่วยปรับสภาพน้ำให้กลับดียิ่งขึ้น น้ำที่ได้มีผักตบชวามีพืชน้ำขึ้นอาศัยอยู่ ส่วนมากก็จะได้มีการปรับสภาพจนเหมาะที่จะใช้ในการเพาะเห็ด วิธีตรวจสอบอย่างง่ายแบบที่ตรวจสอบความสกปรกของน้ำ ใช้น้ำนั้นลองมาเลี้ยงปลาหางนกยูง ใส่ปลาหางนกยูงลงไป ถ้าปลาหางนกยูงตายนี้แสดงว่าใช้ไม่ได้ ต้องเป็นน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาหางนกยูงได้ดี เป็นการตรวจสอบ โดยปรกติทั่วไปน้ำที่ใช้เพาะเห็ดก็ได้จากแหล่งแม่น้ำ ลำคลองหรือบึง บ่อ สระต่าง ๆ ที่มีปลาอาศัยอยู่ ถ้าปลาอาศัยอยู่ได้ก็ไม่น่าจะมีปัญหาสำหรับที่จะเอามีใช้เพาะเห็ด แต่ถ้าเป็นน้ำที่ใส ๆ นิ่ง ๆ ปลาก็ไม่มีอะไรก็ไม่มี และเมื่อไม่ได้ตรวจสอบเรื่องกรดด่างเรื่องสารพิษเรื่องอะไรต่าง ๆ การที่จะเอาน้ำมาเพาะเห็ดก็ไม่สามารถที่จะคาดหมายว่าจะได้ผลผลิตที่ดี ถ้าน้ำมีไม่ค่อยมากก็อาจจะเอาน้ำนั้นมาแล้วก็จับทำลายสารพิษต่าง ๆ เช่นใช้สเม็คไทต์หรือสเม็คโตทัฟฟ์หว่านใส่ลงไป แล้วก็ทิ้งให้เขาทำความสะอาดคือย่อยสลายหรือจับตรึงสารพิษต่าง ๆ เมื่อน้ำนั้นใสดีแล้วและตรวจสอบด้วยปลาหางนกยูงแล้ว ปรากฏว่าไม่มีพิษภัยใด ๆ น้ำนั้นก็จะใช้เพาะเห็ดได้ดี แต่อย่างไรก็ตามเรารู้ทฤษฎีต่าง ๆ แล้วก็ต้องคำนวณเป็นว่าต้องการน้ำจากแหล่งที่ต้นทุนในการผลิตต่ำที่สุด รู้ทฤษฎีไม่พอต้องคิดบัญชีเป็นด้วย ถ้าทำน้ำให้บริสุทธิ์ปลูกเห็ดได้ดีแต่ต้นทุนสูงเกินไปก็ไม่สามารถดำเนิน ธุรกิจได้

วัตถุดิบ

          วัตถุดิบในที่นี้ก็คือเปลือกของหัวมันสำปะหลัง ในปัจจุบันมีวัตถุดิบขายในสภาพที่แตกต่างกันมาก และเกษตรกรก็มีความเข้าใจในเรื่องของวัตถุดิบนี้แตกต่างกันไป ถ้าถามว่าวัตถุดิบแบบใดที่ดีที่สุดต้องตอบว่าเป็นเปลือกของหัวมันสำปะหลัง ที่มีออกมาใหม่ล่าสุด แล้วก็นำมาตากให้แห้ง ตากให้แห้งแล้วก็เก็บเอาไว้ ไม่โดนฝนชะล้างไม่เปียกไม่บูดไม่เน่า ถ้าได้เปลือกหัวมันมาใหม่ ๆ แล้วก็ตากให้แห้งให้เร็วที่สุดเท่าไรนั้นก็เป็นวัตถุดิบที่ดีที่สุด คือยังมีแป้งแทรกอยู่เป็นส่วนที่จะมาใช้ในการหมักสลายและก็เกิดเส้นใยเห็ด ได้ดีที่สุด แต่ถ้าได้เป็นเปลือกมันสำปะหลังชนิดที่กองเอาไว้แล้วถูกฝนตกล้างแล้วล้างอีก จนจืด อย่างนี้คุณค่าทางอาหารของเห็ดก็จะมีน้อยลง ในส่วนของแป้งก็จะไม่มีเหลือแต่เป็นเศษของเปลือกที่ย่อยสลายออกมาช้า ๆ ผลผลิตก็จะไม่ค่อยมากนักอาจจะต้องใช้อาหารเสริมช่วย ถ้าเป็นวัตถุดิบในฤดูฝน บางแห่งได้คุณภาพไม่ดีเลยเพราะว่าเปลือกหัวมันโดนฝน เป็นกองขนาดใหญ่ ๆ เกิดการหมักการบูดการเน่า เน่าเหม็น เหม็นเปรี้ยว ในกองนั้นเป็นวัตถุดิบที่เน่าเหม็นเปรี้ยว บางครั้งพวกเปลือกหัวมันที่เก่ากองเอาไว้นานโดนฝน ถูกเชื้อเห็ดชนิดอื่นขึ้นเช่น เห็ดขี้ม้าหรือเห็ดถั่วขึ้นแล้วก็ย่อยกินอาหารที่มีอยู่ในเปลือกหัวมันไป เป็นบางส่วน คือคุณภาพนั้นก็ลดลงตัวอาหารที่เห็ดฟางจะเอามาใช้นั้นก็น้อยลง เกษตรกรควรจะหาวิธีที่เหมาะสมในการที่จะเก็บรักษาวัตถุดิบนั้น วัตถุดิบถ้าเผื่อได้มาได้ของใหม่มาจะดีที่สุด ไม่บูด ไม่เน่า ไม่เก่า ไม่แก่ ไม่เก่าเก็บ ซื้อมาจากโรงงานเอามากองแล้วก็เอามาเกลี่ยในลานตาก ให้โดนแดดให้จัด แดดเปรี้ยง ๆ เกลี่ยให้บาง ๆ ให้แห้งเร็วต้องไม่ให้ถูกฝน ก็จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ต้องไม่ขนวัตถุดิบนั้นไกลจนเกินไป ถ้าขนมาจากที่ไกลค่าขนส่งก็จะมาก ต้นทุนก็จะแพง ในเรื่องการเรียกร้องที่จะได้เปลือกหัวมันที่ใหม่ที่สุด เราก็เพียงที่คิดว่าอยากจะได้ แต่ถ้าจำเป็น ไม่มี จำเป็นต้องใช้ก็ดูอย่าให้เก่าเกินไป อย่าให้ถูกย่อยสลายจนเกินไป เมื่อขนเปลือกหัวมันมาถึงพื้นที่ที่ฟาร์มแล้ว ควรจะต้องมีสถานที่เก็บ อาจจะเป็นยุ้งหรือไม่ก็มีผ้าคลุมกันฝน เพราะถ้ามากองเอาไว้ถ้าฝนตกแล้วก็เน่าแฉะ ผลผลิตที่พึงจะได้ดีก็มาสูญเสีย ถ้าขนมาวัตถุดิบมาถึงแล้วก็ยังชื้นอยู่ อย่างนั้นควรจะเกลี่ยออกตากแดด ตากให้แห้งสนิทเสียก่อนแล้วจะค่อยนำมาเก็บรักษาเอาไว้ ซึ่งก็เป็นเช่นเดียวกันกับเปลือกฝักถั่วเขียว เปลือกฝักถั่วเหลือง เราควรจะได้ของใหม่มา ตากแห้งเก็บเอาไว้ให้ดีอย่าให้โดนฝน ในอนาคตอาจจะมีการศึกษาเพิ่มขึ้นกันอีกหลายอย่าง เช่นในประเทศญี่ปุ่นเพาะเห็ด จะซื้อซังข้าวโพด วันหนึ่งซื้อไปจากประเทศไทย ซื้อต้นข้าวโพดที่ตากแห้ง ป่นให้ละเอียด ก็เอาไปเพาะเห็ดแต่ซังข้าวโพดป่น ต้นข้าวโพดป่น ประเทศไทยยังไม่ค่อยได้เอามาใช้ในการเพาะเห็ด ยังมีต้นข้าวฟ่างมีต้นทานตะวัน ต้นถั่วต่าง ๆ ถ้าตากแห้งแล้วเข้าเครื่องตีป่น ตีป่นเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย น่าที่จะเอามาเพาะเห็ดในรูปแบบเดียวกันนี้ได้ ท่านคงได้ยินได้ทราบมาบ้างว่าเขาใช้ถุงเห็ดที่เขาใช้เพาะในระบบถุงที่หมด อายุแล้ว เอาปลูกเห็ดในลักษณะที่คล้าย ๆ กัน ใช้พวกผักตบชวาสับ จะใช้ผักตบชวาแห้ง ผักตบชวาสดสับเป็นชิ้นเล็ก ก็เอามาใช้เป็นตัวอาหารเสริมช่วยทำให้ผลผลิตของเห็ดนั้นดีขึ้น ในลักษณะเช่นนี้จะไม่ค่อยใช้ผักตบชวาเพื่อเป็นวัตถุดิบโดยตรง ใช้ฐานะอาหารเสริม ในการที่จะเพาะเห็ดฟางให้ได้ผลดีนั้น อาหารเสริมก็เป็นส่วนที่มีความสำคัญ ในปัจจุบันนี้ในแง่มุมของอาหารเสริมจะมีทั้งที่เป็นเศษอินทรีย์วัตถุ และก็มีส่วนที่บอกว่าเป็นอาหารเสริมจากหินแร่ภูเขาไฟเช่น ภูไมท์

http://www.108kaset.com/


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!