เทคนิคการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น 1. เข้าใจและยอมรับธรรมชาติของอารมณ์
บุคคลแต่ละคนมีความรู้สึกและอารมณ์พื้นฐานของตนเองเช่นดีใจ เสียใจฯและมีการแสดงออกที่แตกต่างกันแต่ละคนจะมีอารมณ์และ ความรู้สึกที่ผันแปรต่างกันยากที่จะนำความรู้สึกดี-ชั่วของตัวเราเองไปตัดสินได้ การตัดสินความเหมาะสมขึ้นอยู่กับสถานการณ์เหตุผลวัยปัจจัยทางสังคม แลการกำหนดทางวัฒนธรรม
2. รับฟังทำความเข้าใจและให้เกียรติผู้อื่น
การยอมรับและเข้าใจในภาวะที่ผู้อื่นแสดงออกเป็นสิ่งที่จำเป็นในการสร้างความภูมิใจ ตนเองการรักษาหน้าความมั่นใจไว้ใจซึ่งกันและกันซึ่งจะมีผลต่อคุณภาพแลผลผลิตที่ที่บุคคล
มีต่อองค์กร
3. การแก้ไขความขัดแย้ง
ผู้มีความฉลาดทางอารมณ์สูงจะไม่ใช้วิธีการที่บั่นทอนความรู้สึกของผู้อื่น แต่ความสามารถในการจัดการกับอารมณ์ได้ดีจะช่วยให้ความรู้สึกของทังสองฝ่ายสงบลงได้ ให้โอกาสแต่ละคนได้แสดงอารม์ความรู้สึกรับฟังด้วยความเข้าใจเห็นใจยอมรับภาวะอารมณ์
ที่เกิดขึ้น จะส่งผลต่อการยอมรับตนเองการพัฒนาความคิดการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เพิ่มขวัญกำลังใจและร่วมมือกันปฏิบัติงาน
4. ในกรณีที่บุคคลแสดงภาวะอารมณ์ทางลบในระดับที่รุนแรง
เช่นเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายผู้บริหารและเพื่อนร่วมงานควรหามาตราการสร้างภาวะแวดล้อม ที่มีการดูแลเอาใจใส่ร่วมมือกันฟังปัญหาเพื่อยอมรับและหาทางแก้ไขหรือย้ายไปทำงาน
คนเดียว หาพนักงานที่กล้าแสดงออกและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีมาเป็นเพื่อนคุยกระตุ้นให้เขา มีโอกาสแสดงความคิดเห็นที่คนยอมรับฟัง
Creadit :
ศูนย์คอมพิวเตอร์โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี