ตามหลักการแล้ว ดำ+น้ำเงิน จะได้ 13 เพราะ 10+3 ตามที่บอกมา แต่เวลาวัดจริงๆนั้นแหละครับมันจะไม่เป๊ะซะทีเดียว 11,12,13,หรือ14 นี้แหละครับ เพราะค่าคลาดเคลือนของมิตเตอร์บ้างของสายหัววัดบ้างก็ว่ากันไป การวัดได้ค่าความต้านทานขนาดนี้ถือว่าความต้านทานไม่มากแสดงว่าลวดเส้นใหญ่พอสมควร ถ้าเทียบกับมอเตอร์อบของเครื่องซักผ้าด้านอบขนาดกลางๆ ก็ 150-200 โอมแล้ว
ที่วัดมาถือว่าปกติครับ แต่ท้ายที่สุดแล้วก็ต้องลองเทสไฟชัวร์สุด เทสความต้านทานอันนั้นเป็นดาบแรก เมื่อผ่านดาบแรกก็ลงดาบ 2 คือเทสไฟครับ โดยทั่วไปผมจะได้เช็คมอเตอร์เครื่องซักผ้าบ่อย เจอบ้างครับที่แบบว่าวัดความต้านทานผ่านแต่เวลาประกอบลองไฟกลับหมุนไม่รอดซะง้าน จากประสบการณ์ของผมเองที่ผ่านๆมาลักษณะวัดแล้วผ่านแต่ลองไฟกลับไม่ผ่านเนี่ยประมาณ 5-10% พูดถึงก็ไม่มากเท่าไหร่ ไอมอเตอร์ที่ว่านี้เวลาเอาจับมาวัดตอนที่มันอุ่นๆร้อนๆความต้านทานจะวัดได้ว่าเสีย แต่พอมันเย็นแล้วความต้านต้านจะเปลี่ยนไปในลักษณะว่ามันปกติอ่ะครับ ส่วนมอเตอร์ปั้มน้ำได้ทำบ้างพอสมควร การเสียก็เหมือนๆกัน คราวนี้พูดถึงมอเตอร์ที่เสียบ้าง บางทีถ้าอยู่ในสภาพที่ออกจะใหม่ๆแต่มาช๊อตรอบซะแล้วผมก็ซ่อมเป็นบางลูกครับ คือที่มันช๊อตก็คือจะช๊อตในลักษณะขดรันไปแตะกับขดสตาทนั้นเอง ก็คือมอเตอร์มันมีขดนอกกับขดในไงครับ นั้นแหละครับคือขดนอกมันไปแตะกับขดชั้นในเป็นแค่ขดเดียวเท่านั้นที่แตะกันแต่บางทีก็ซ่อมได้บางทีก็ซ่อมไม่ได้ เวลาซ่อมผมจะตัดเส้นที่มันรวมกันออกไปก่อนครับ คือจากรูปที่ท่านjaaag เอามาลง หัวของ S+R คือ C ในส่วนนี้แหละครับผมจะตัดออกไปเส้นนึงแยกจากกันก่อนจากนั้นก็งัดขดที่น่าสงสัยแยกจากกันระหว่างขดในกับขดนอก แล้วก็วัดว่ามันยังช๊อตข้ามขดกันรึกเปล่าถ้าวัดแล้วไม่ข้ามขดก็ผ่าน มอเตอร์ปั้มน้ำก็เคยงัดแต่ลวดแข็งและพื้นที่มันงัดยาก โดยส่วนใหญ่จะช๊อตไม่หัวก็ท้ายของขดนี่แหละ การซ่อมในลักษณะนี้จะซ่อมสำหรับลูกค้าที่ไม่ค่อยชอบซ่อมแพง หรือบางทีอยู่ไกลๆออกไปมากๆขี้เกียจไปพันหรือไปซื้อใหม่ บางทีถ้าซ่อมไม่ได้คือมันช๊อตแบบลึกๆคือมันช๊อตในร่องของสเตเตอร์เลยทั้งๆที่เรารู้ว่ามันช๊อตขดไหนแต่ไม่สามารถไปงัดมันในรูนั้นได้ไงก็อดไป ....เมื่อซ่อมเจอที่ช๊อตก็เอาฉนวนมมากั้นมันไว้แล้วก็ดันกลับให้มันชิดกันเหมือนเดิมแล้วก็มัดจากนั้นก็อาบวานิชต่อไปก็อยู่ยาว ถ้าซ่อมไม่ได้ก็จะเสียเวลาเป็นชั่วโมงเหมือนกัน พูดถึงโอกาสซ่อมได้และซ่อมไม่ได้ของผม ขอบอกว่า 50 50 แง่ว อิอิอิ
พูดถึงมอเตอร์(จริงๆแล้วก็ทุกอย่างแหละรวมถึงจิตใจคน)ปัจจุบันเดี๋ยวนี้ใช้วัสดุคุณภาพต่ำลงทุกวันแล้วหล่ะ ก็ทำใจๆกันไปตามโลกที่หมุนไปโดยไม่หยุดตามความต้องการของคลื่นมวลชนที่ต้องการของราคาถูกแต่ความเป็นจริงมักจะสวนทางกับคุณภาพซึ่งเป็นเรื่องที่ช่างอย่างเราๆท่านๆรู้ๆกันอยู่ แต่ก็ต้องกล่ำกลืนฝืนทนกันไป(ก็จะให้ทำอย่างไรหล่ะตามกระแสสังคมหนิหน่า) เมื่อก่อนลวดที่พันมอเตอร์ใช้ลวดทองแดง แต่ปัจจุบันมีใช้ลวดอลุมิเนียมพันแทนลวดทองแดงกันมากขึ้นโดยเฉพาะมอเตอร์ของจีน(แดง) ผมไปเจอวันก่อนมอเตอร์ยังใหม่แต่เสียซะแล้ว ไปถามร้านขายมอเตอร์แบบว่าจะซื้อไปใส่ให้ลูกค้าแบบว่าจะเอาของดีๆๆหน่อย ก็มีแต่ลวดอลูมิเนียม ส่วนลวดทองแดงต้องรอก่อนน่ะ ไอช่างอย่างเรารอได้ครับ แต่ลูกค้าเราเค้ารอไม่ได้อาสิ เลยจัดไปตามอัตภาพ(ตามยะถากรรม) ก่อนจะกลับจากซื้ออะไหร่เจ้าของร้านแถมท้ายอีกว่า ไม่ใช่แต่มอเตอร์จีนอย่างเดียวน่ะเดี๋ยวนี้แบรนเกาหลีก็มีตามมาอย่างติดเหมือนกัน ที่ใช้ลวดอลูมิเนียม ในใจเลยสะอึกนิดนึง ยาวอีกแล้วงานนี้จบดีกว่าเน๊าะอิอิอิ