หัวข้อ: สุภาษิต เริ่มหัวข้อโดย: eskimo_bkk-LSV team♥ ที่ สิงหาคม 04, 2008, 12:56:45 pm สำนวน,สุภาษิต,คำคม
กงกำกงเกวียน - เวรสนองเวร,กรรมสนองกรรม กบในกะลาครอบ – ผู้มีความรู้และประสบการณ์น้อยแต่สำคัญตนว่ามีความรู้มาก กบเลือกนาย- ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนผู้บังคับบัญชาอยู่เรื่อยๆ กระเชอก้นรั่ว-สุรุ่ยสุร่าย,ไม่รู้จักเก็บหอมรอมริบ,ขาดการประหยัด กระดังงาลนไฟ-หญิงที่เคยแต่งงานหรือผ่านผู้ชายมาแล้ว ย่อมรู้จักชั้นเชิงทางปรนนิบัติและเอาอกเอาใจผู้ชายได้ดีกว่าผู้หญิงที่ยังไม่ได้แต่งงาน กระดี่ได้น้ำ-ใช้เปรียบเทียบ คนที่แสดงอาการดีอกดีใจตื่นเต้นจนตัวสั่น กระดูกร้องได้-ผลสะท้อนของฆาตกรรมที่ทำให้จับตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษได้ กระดูกอ่อน-ที่ยังไม่มีความจัดเจนในการต่อสู้ กระต่ายขาเดียว,กระต่ายสามขา-ยืนกรานไม่ยอมรับ กระต่ายตื่นตูม- ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการตื่นตกใจง่าย โดยไม่ทันสำรวจให้ถ่องแท้ก่อน กระต่ายหมายจันทร์ – ผู้ชายหมายปองผู้หญิงที่มีฐานะดีกว่า(หวังในสิ่งที่เกินตัว) กระโถนท้องพระโรง- ผู้ที่ใครๆก็ใช้ได้ หรือผู้ที่ใครๆก็รุมใช้อยู่คนเดียว กระหม่อมบาง- เจ็บป่วยง่าย กลมเป็นลูกมะนาว,กลิ้งเป็นลูกมะนาว- หลบหลีกไปได้คล่องแคล่วจนจับไม่ติด (มักใช้ในทางไม่ดี) กลับเนื้อกลับตัว- เลิกทำความชั่ว หันมาทำความดี กลับหน้ามือเป็นหลังมือ,พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ,กลับตาลปัตร- เปลี่ยนแปลงหรือทำให้ผิดไปจากเดิมอย่างตรงกันข้าม กล้านักมักบิ่น- กล้าเกินไปมักจะเป็นอันตราย กวนน้ำให้ขุ่น- ทำเรื่องราวที่สงบอยู่แล้วให้เกิดวุ่นวายขึ้นมา กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้- ลักษณะของการทำงานที่มีความลังเลใจ ทำให้แก้ปัญหาได้ไม่ทันท่วงที เมื่อได้อย่างหนึ่งแต่ต้องเสียอีกอย่างหนึ่งไป ดุจเอางากับถั่วมาคั่วพร้อมกัน กว่าจะคั่วจนถั่วสุก งาก็จะไหม้หมดไปก่อน ก่อแล้วต้องสาน- เริ่มอะไรแล้วต้องทำต่อให้เสร็จ กาหลงรัง- ผู้ที่ไปหลงติดอยู่ ณ บ้านใดบ้านหนึ่งแล้วไม่ยอมกลับบ้านของตน,ผู้เร่ร่อนไปไม่มีที่พักพิงเป็นหลักแหล่ง กำขี้ดีกว่ากำตด- ได้บ้างดีกว่าไม่ได้อะไรเลย กำแพงมีหู ประตูมีตา,กำแพงมีหูประตูมีช่อง- การที่จะพูดหรือทำอะไรให้ระมัดระวัง แม้จะเป็นความลับเพียงไรก็อาจมีคนล่วงรู้ได้ กิ่งก้อย – เล็ก กิ่งทองใบหยก- เหมาะสมกัน (ใช้แก่หญิงกับชายที่จะแต่งงานกัน) กิ้งก่าได้ทอง - ชอบโอ้อวดในสิ่งที่ตนมีเพื่อให้ผู้อื่นรู้หรือสนใจ กินตามน้ำ - รับของสมนาคุณที่เขาเอามาให้โดยไม่ได้เรียกร้อง กินที่ลับไขที่แจ้ง - เปิดเผยเรื่องที่ทำกันในที่ลับ กินน้ำตา – ร้องไห้, เศร้าโศก กินน้ำตาต่างข้าว – ร้องไห้เศร้าโศกจนไม่เป็นอันกิน กินน้ำใต้ศอก – จำต้องยอมเป็นรองเขา,ไม่เทียมหน้าเทียมตาเข้า กินน้ำพริกถ้วยเก่า – อยู่กับเมียคนเดิม กินน้ำพริกถ้วยเดียว – อยู่กับเมียคนเดียว กินน้ำไม่เผื่อแล้ง – มีอะไรใช้หมดทันทีไม่คิดถึงวันข้างหน้า กินน้ำเห็นปลิง – รู้สึกตะขิดตะขวงใจเหมือนจะกินน้ำเห็นปลิงอยู่ในน้ำก็กินไม่ลง กินบนเรือนขี้บนหลังคา- เนรคุณ,ไม่สำนึกถึงบุญคุณ กินบุญเก่า – ได้รับผลแห่งความดีที่ทำไว้แต่ปางก่อน กินปูนร้อนท้อง- ทำอาการมีพิรุธขึ้นเอง,แสดงอาการเดือดร้อนขึ้นเอง กินรังแตน – มีอารมณ์เสียหงุดหงิดบ่นว่าเกินกว่าเหตุ กินลมกินแร้ง – ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย กินเศษกินเลย – กินกำไร, เอาเพียงบางส่วนไว้เป็นของตน กินเหมือนหมูอยู่เหมือนหมา,กินอย่างหมู อยู่อย่างหมา – เละเทะไม่มีระเบียบ กินเหล็กกินไหล – ทนต่อความเหน็ดเหนื่อยหรือความเจ็บปวดได้อย่างผิดปรกติ กินอยู่กับปาก อยากอยู่กับท้อง –รู้ดีอยู่แล้วแสร้งทำเป็นไม่รู้ เก็บดอกไม้ร่วมต้น, เด็ดดอกไม้ร่วมต้น-เคยทำบุญกุศลร่วมกันมาแต่ชาติก่อน จึงมาอยู่ร่วมกันในชาตินี้ เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน –เก็บเล็กผสมน้อย,ทำอะไรที่ประกอบด้วยส่วนเล็กส่วนน้อย โน่นบ้างนี่บ้าง จนสำเร็จเป็นรูปร่างขึ้นมา เกลียดตัวกินไข่ - เกลียดตัวเขาแต่อยากได้ผลประโยชน์จากเขา เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง - เกลียดตัวเขาแต่อยากได้ผลประโยชน์จากเขา เกลือจิ้มเกลือ – ไม่ยอมเสียเปรียบกัน,แก้เผ็ดให้สาสมกัน เกลือเป็นหนอน – คนใกล้ชิดทรยศ เกี่ยวก้อย - อาการที่แสดงความคุ้นเคยสนิทสนมกัน เกี่ยวแฝกมุงป่า - ทำอะไรเกินกำลังความสามารถของตัว แกว่งตีนหาเสี้ยน,แกว่งเท้าหาเสี้ยน - รนหาเรื่องเดือดร้อน ไก่แก่แม่ปลาช่อน – หญิงค่อนข้างมีอายุที่มีมารยาและเล่ห์เหลี่ยมมาก และมีกิริยาจัดจ้าน ไก่บินไม่ตกดิน – บริเวณที่มีอาคารบ้านเรือนหนาแน่นแออัด ไก่รองบ่อน – ผู้ที่อยู่ในฐานะตัวสำรอง ซึ่งจะเรียกมาใช้เมื่อไรก็ได้ ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่ - ต่างฝ่ายต่างรู้ความลับซึ่งกันและกัน ไก่อ่อน,ไก่อ่อนสอนขัน – ผู้มีประสบการณ์น้อย ยังไม่รู้ทันเล่ห์เหลี่ยมของคน ไกลปืนเที่ยง - ไม่รู้อะไรเพราะอยู่ห่างไกลความเจริญ ขนทรายเข้าวัด - หาประโยชน์ให้ส่วนรวม ขนหน้าแข้งไม่ร่วง - ไม่กระทบกระเทือนถึงเดือดร้อน ขนมผสมน้ำยา - พอดีกัน จะว่าข้างไหนดีกว่ากันก็ไม่ได้ ขมเป็นยา - คำติมักเป็นประโยชน์ทำให้ได้คิด ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า - บังคับขืนใจให้ผู้อื่นทำตามที่ตนต้องการ ขมิ้นกับปูน - ชอบวิวาทกันอยู่เสมอเมื่ออยู่ใกล้กัน , ไม่ถูกกัน ขยายขี้เท่อ – แสดงให้เห็นความโง่เขลา ขว้างงูไม่พ้นคอ – ทำอะไรแล้วผลร้ายกลับสู่ตัวเอง ขวานผ่าซาก – โผงผางไม่เกรงใจใคร ของหายตะพายบาป – ของหายหรือเข้าใจว่าหายแล้วเที่ยวโทษผู้อื่น ข้ามน้ำข้ามทะเล, ข้ามน้ำข้ามท่า – ต้องฝ่าฟันอุปสรรคและความลำบากต่างๆกว่าจะได้ผลสำเร็จ ขายผ้าเอาหน้ารอด – ยอมเสียสละแม้แต่ของจำเป็นที่ตนมีอยู่ เพื่อรักษาชื่อเสียงของตนไว้, ทำให้สำเร็จลุล่วงไป เพื่อรักษาชื่อเสียงของตนไว้ ขายหน้าวันละห้าเบี้ย – ทำให้ต้องอับอายขายหน้าอยู่ทุกวัน ข้าวแดงแกงร้อน – บุญคุณ ข้าวใหม่ปลามัน - อะไรที่เป็นของใหม่ก็ถือดี , นิยมเรียกช่วงเวลาที่สามีภรรยาเพิ่งแต่งงานกันใหม่ ๆ ว่า "ข้าวใหม่ปลามัน" เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา – บอกหรือสอนแล้วไม่ได้ผล เข็นครกขึ้นเขา, เข็นครกขึ้นภูเขา – ทำงานที่ยากเกินกำลังความสามารถหรือสติปัญญาของตน ข้านอกเจ้าบ่าวนอกนาย – ผู้ที่กระทำหรือประพฤตินอกเหนือคำสั่ง หรือแบบอย่างขนบธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันมา ข้านอกเจ้าข้าวนอกหม้อ – จำนวนคนซึ่งมีจำนวนมาก ย่อมกระทำหรือประพฤตินอกออกไปจากคำสั่ง หรือแบบอย่างขนบธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันมามากเช่นกัน ข้าวเหลือเกลืออิ่ม – บ้านเมืองที่บริบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร ขิงก็รา ข่าก็แรง – ต่างก็จัดจ้านพอๆกัน, ต่างก็มีอารมณ์ร้อนพอๆกัน, ต่างไม่ยอมลดละกัน ขี่ช้างจับตั๊กแตน – ลงทุนมากแต่ได้ผลนิดหน่อย ขี้ก้อนใหญ่ให้เด็กเห็น – ทำสิ่งที่ไม่สมควรให้ผู้น้อยเห็น ขี้หดตดหาย – กลัวมาก ขุดดินกินหญ้า – ทำงานกระท้อมกระแท้มพอเลี้ยงตัวไปวันหนึ่งๆ ขึ้นต้นไม้สุดยอด – ขึ้นถึงตำแหน่งสูงสุดแล้ว ขุดด้วยปากถากด้วยตา – แสดงอาการเหยียดหยามทั้งด้วยวาจาและสายตา ขุดบ่อล่อปลา – ทำกลอุบายเพื่อให้ฝ่ายหนึ่งหลงเชื่อโดยหวังผลประโยชน์จากอีกฝ่ายหนึ่ง เข้าด้ายเข้าเข็ม – จวนจะสำเร็จ ถ้าทำผิดพลาดหรือมีอะไรมาขัดจังหวะแม้เพียงเล็กน้อยก็เสียการ เข้าตามตรอกออกตามประตู – ทำตามธรรมเนียมในเรื่องการสู่ขอ เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า – ให้มีความรอบคอบอย่าประมาท เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม – ประพฤติตนตาที่คนส่วนใหญ่ประพฤติกัน เข้ารกเข้าพง - พูดหรือทำไม่ถูกต้องกับเรื่องเพราะขาดความชำนาญในเรื่องนั้น เข้าหูซ้าย ทะลุหูขวา – บอกหรือสอนไม่ได้ผล เขียนเสือให้วัวกลัว – ทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียขวัญหรือเกรงขาม เขียนด้วยมือลบด้วยตีน – ยกย่องแล้วกลับทำลายในภายหลัง แขกไม่ได้รับเชิญ – คนหรือสัตว์ที่ไม่พึงปรารถนา ซึ่งเข้ามาทำให้เกิดความเสียหาย หรือเดือดร้อนรำคาญ แข่งเรือแข่งแพแข่งได้ แข่งบุญแข่งวาสนาแข่งไม่ได้ – รู้ประมาณความสามารถของตน ไม่อาจเอื้อมเกินตัว คดในข้องอในกระดูก – มีสันดานคดโกง คนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ – คนรักมีน้อย คนชังมีมาก คนละไม้คนละมือ – ต่างคนต่างช่วยกันทำ คนร้ายตายขุม – คนทำชั่วย่อมตกนรก คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ – จะพิจารณาคนหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ให้พิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ คมในฝัก – มีความรู้ความสามารถ แต่เมื่อยังไม่ถึงเวลาก็ไม่แสดงออกมาให้ปรากฏ คลื่นกระทบฝั่ง – เรื่องราวที่ครึกโครมขึ้นมา แล้วกลับเงียบหายไป คลื่นใต้น้ำ – เหตุการณ์ที่กรุ่นอยู่ภายใน แต่ภายนอกดูเสมือนสงบเรียบร้อย คลุมถุงชน – ลักษณะการแต่งงานที่ผู้ใหญ่จัดการให้ โดยที่เจ้าตัวไม่รู้จักคุ้นเคยหรือรักกันมาก่อน คว้าน้ำเหลว – ไม่ได้ผลตามต้องการ ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด - มีความรู้มาก แต่ไม่รู้จักใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์ คอทั่งสันหลังเหล็ก - แข็งแกร่ง, ทรหดอดทน คอหยักๆสักแต่ว่าคน - คนที่ประพฤติตัวไม่สมศักดิ์ศรีของความเป็นคน คอหอยกับลูกกระเดือก - เข้ากันได้ดี แยกกันไม่ออก คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก - ที่อยู่แม้จะคับแคบก็อยู่ได้ถ้าสบายใจ แต่ถ้าอึดอัดใจที่อยู่จะกว้างขวางใหญ่โตอย่างไรก็อยู่ไม่ได้ คางคกขึ้นวอ – คนมีฐานะต่ำต้อย พอได้ดิบได้ดีก็มักแสดงกิริยา อวดดีจนลืมตัว คาบลูกคาบดอก - อยู่ในระยะคับขัน กำลังจะได้หรือเสียก้ำกึ่งกัน คืบก็ทะเล ศอกก็ทะเล - ออกทะเลอย่าประมาททะเล เพราะอาจเกิดอันตรายได้ทุกเมื่อ โคแก่ชอบกินหญ้าอ่อน - ชายสูงอายุที่ชอบผู้หญิงรุ่นสาว งงเป็นไก่ตาแตก - งงมากจนทำอะไรไม่ถูก งมเข็มในมหาสมุทร - ค้นหาสิ่งที่ยากจะค้นหาได้, ทำกิจที่สำเร็จได้ยาก งอมพระราม - มีความทุกข์ยากลำบากเต็มที่ งานหลวงไม่ให้ขาด งานราษฎร์ไม่ให้เสีย, งานหลวงไม่ขาด งานราษฎร์ไม่เสีย - ทำงานไม่บกพร่องทั้งงานส่วนรวมและส่วนตัว งูกินหาง - เกี่ยวโยงกันจากหัวถึงหางโดยซัดกันเป็นทอดๆ เงาตามตัว - ผู้ที่ไปไหนไปด้วยกันแทบไม่คลาดกันเลย เงียบเป็นเป่าสาก - ลักษณะที่เงียบสนิท เงื้อง่าราคาแพง - จะทำอะไรก็ไม่กล้าตัดสินใจทำลงไป ดีแต่ทำท่าหรือวางท่าว่าจะทำเท่านั้น โง่แกมหยิ่ง - โง่แล้วยังอวดฉลาด, อวดดีทั้งๆที่โง่ โง่เง่าเต่าตุ่น - โง่ที่สุด เช่น เพราะโง่เง่าเต่าตุ่นพ่อคุณเอ๋ย ผู้ใดเลยจะประสงค์จำนงหมาย โง่แล้วอยากนอนเตียง - โง่แล้วไม่เจียมตัวว่าโง่ ไปทำสิ่งที่ตนไม่รู้ไม่เข้าใจ จมไม่ลง - เคยทำตัวใหญ่มาแล้วทำให้เล็กลงไม่ได้ จมูกมด - ที่ไหวตัวหรือรู้ตัวทันเหตุการณ์ จระเข้ขวางคลอง - ผู้ที่ชอบกันท่าหรือขัดขวางไม่ให้ผู้อื่นทำการอย่างใดอย่างหนึ่งได้สะดวกเหมือนจระเข้ที่ขึ้นมาขวางคลองทำให้เรือผ่านไปมาไม่สะดวก จระเข้คับคลอง - ผู้ที่ชอบวางตัวใหญ่โตเกินไปย่อมมีอุปสรรคในการดำรงตนในสังคม จับปลาสองมือ - หมายจะเอาให้ได้ทั้ง ๒ อย่าง, เสี่ยงทำการ ๒ อย่างพร้อมๆกัน ซึ่งอาจไม่สำเร็จทั้ง ๒ อย่าง จับเสือมือเปล่า – แสวงหาผลประโยชน์โดยตัวเองไม่ต้องลงทุน จับงูข้างหาง - ทำสิ่งที่เสี่ยงต่ออันตราย จับดำถลำแดง - มุ่งอย่างหนึ่งไปได้อีกอย่างหนึ่ง, มุ่งอย่างหนึ่งกลายไปเป็นอีกอย่างหนึ่ง จับได้ไล่ทัน - รู้เท่าทัน จับปูใส่กระด้ง - ยากที่จะทำให้อยู่นิ่งๆได้ จับเปาะ - ตรงเป้า จับมือใครดมไม่ได้ - หาตัวผู้กระทำผิดไม่ได้ จับมือถือแขน - ฉวยโอกาสล่วงเกินหญิง ด้วยการจับมือจับแขนในเชิงชู้สาว จับหลัก - นิ่งอยู่กับที่ จุดไต้ตำตอ - พูดหรือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งบัญเอิญไปโดนเอาเจ้าตัว หรือผู้ที่เป็นเจ้าของเรื่องนั้นเข้าโดยผู้พูดหรือผู้ทำไม่รู้ตัว เจ้าไม่มีศาลสมภารไม่มีวัด - ผู้ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ใจเร็วด่วนได้ - อยากได้เร็วๆโดยไม่คิดให้รอบคอบ ชักใบให้เรือเสีย - พูดหรือทำขวาง ๆ ให้การสนทนาหรือการทำงานเขวออกนอกเรื่องไป ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวมาปิด - ความชั่ว หรือความผิดร้ายแรงที่คนทั่วไปรู้จักกันทั่วแล้ว จะปิดยังไงก็ปิดไม่มิด ชิงสุกก่อนห่าม - ด่วนทำสิ่งที่ยังไม่สมควรแก่วัยหรือไม่ถึงเวลา ชักซุงตามขวาง - ทำอะไรที่ไม่ถูกวิธีย่อมได้รับความลำบาก; ขัดขวางผู้มีอำนาจย่อมได้รับความเดือดร้อน ชักตะพานแหงนเถ่อ - ตั้งใจทำอะไรแล้วไม่เป็นผลสำเร็จ ต้องคอยค้างอยู่ ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน - นำศัตรูเข้าบ้าน ชักใบให้เรือเสีย - พูดหรือทำขวางๆ ให้การสนทนาหรือการงานเขวออกนอกเรื่องไป ชักแม่น้ำทั้งห้า - พูดจาหว่านล้อมยกยอบุญคุณเพื่อขอสิ่งที่ประสงค์ เช่น เถ้าก็พูดจาหว่านล้อมด้วยคำยอ ชักเอาแม่น้ำทั้งห้าเข้ามาล่อ ชักหน้าไม่ถึงหลัง - มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์ - ปล่อยไปตามเรื่องตามราว ไม่เอาเป็นธุระ ช้าๆได้พร้าสองเล่มงาม - ค่อยๆคิด ค่อยๆทำแล้วจะสำเร็จผล ช้าเป็นการ นานเป็นคุณ - ค่อยๆ คิด ค่อยๆทำ ดีกว่าด่วนทำ ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวมาปิด - ความชั่วหรือความผิดร้ายแรงที่คนรู้ทั่วกันแล้ว จะปิดอย่างไรก็ไม่มิด ชายสามโบสถ์ - ผู้ที่บวชแล้วสึกถึง ๓ หน, ใช้พูดเป็นเชิงตำหนิว่า เป็นคนที่ไม่น่าคบ ชิงสุกก่อนห่าม - ทำสิ่งที่ยังไม่สมควรแก่วัยหรือยังไม่ถึงเวลา (มักหมายถึงการลักลอบได้เสียกันก่อนแต่งงาน), ใช้เป็นคำสอนหรือเตือนสติว่า อย่าชิงสุกก่อนห่าม ชี้ตาไม่กระพริบ - ดื้อมาก, สู้สายตาไม่ยอมแพ้, เช่น เหม่! ออนี่หนักหนา ชี้ตาไม่กระพริบเลย ว่าแล้วซิยังเฉยดื้อถือบุญ ชี้นกบนปลายไม้ - หวังในสิ่งที่อยู่ไกลตัว ชี้นกเป็นนก ชี้ไม้เป็นไม้ - ไม่ว่าผู้มีอำนาจจะว่าอย่างใด ผู้น้อยก็ต้องคล้อยตามไปอย่างนั้นเพราะกลัวหรือประจบ ชุบมือเปิบ - ฉวยประโยชน์จากคนอื่นโดยไม่ได้ลงทุนลงแรง เชื้อไม่ทิ้งแถว - เป็นไปตามเผ่าพันธุ์ ซื่อเหมือนแมวนอนหวด - ทำเป็นซื่อ ซื้อควายหน้านา ซื้อผ้าหน้าตรุษ, ซื้องัวหน้านา ซื้อผ้าหน้าหนาว - ซื้อของไม่คำนึงถึงกาลเวลา ย่อมได้ของแพง, ทำอะไรไม่เหมาะกับกาลเวลา ย่อมได้รับความเดือดร้อน ดอกพิกุลร่วง - เรียกอาการที่นิ่งไม่พูดว่า กลัวดอกพิกุลจะร่วง ดาบสองคม - มีทั้งคุณและโทษ, อาจดีอาจเสียก็ได้ ดาวล้อมเดือน - มีบริวารแวดล้อมมาก ดินพอกหางหมู - ที่คั่งค้างพอกพูนขึ้นเรื่อยๆ ดีดลูกคิด - คำนวณผลได้ผลเสียหรือกำไรขาดทุนอย่างละเอียด; ทำตอบแทนให้สาสม ดีดลูกคิดรางแก้ว - คิดถึงผลที่จะได้ทางเดียว ซื้อควายหน้านา ซื้อผ้าหน้าตรุษ - ซื้อของไม่คำนึงถึงกาลเวลา ของที่ถูกก็ต้องซื้อแพง , ทำอะไรไม่เหมาะกับกาลเวลา ดอกพิกุลร่วง - เรียกอาการที่นิ่งไม่พูดว่า กลัวดอกพิกุลจะร่วง ดาบสองคม - มีทั้งคุณและโทษ , อาจดีอาจเสียก็ได้ ดินพอกหางหมู - ที่คั่งค้างพอกพูนขึ้นเรื่อยๆ ดีดลูกคิด - คำนวณผลได้ผลเสียหรือกำไรขาดทุนอย่างละเอียด ดีดลูกคิดรางแก้ว - คิดผลที่จะได้ทางเดียว ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่, ดูวัวให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ - ให้รู้จักพิจารณาลักษณะบุคคลหรือผู้หญิงที่จะเลือกเป็นคู่ครอง ดูตาม้าตาเรือ - พิจารณาให้รอบคอบ เด็กเมื่อวานซืน - คำกล่าวเชิงดูหมิ่นหรือเชิงสั่งสอนว่า มีความรู้หรือมีประสบการณ์น้อย เด็กอมมือ - ผู้ไม่รู้ประสีประสา เด็ดดอกไม้ร่วมต้น, เก็บดอกไม้ร่วมต้น - เคยทำบุญกุศลร่วมกันมาแต่ชาติก่อน จึงมาอยู่ร่วมกันในชาตินี้ เด็ดดอกไม่ไว้ขั้ว, เด็ดดอกไม่ไว้ขั้ว เด็ดบัวไม่ไว้ใย, เด็ดบัวไม่ไว้ใย, เด็ดปลีไม่มีใย - ตัดขาด, ตัดญาติขาดมิตรกันเด็ดขาด เดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด - ประพฤติตามอย่างผู้ใหญ่ย่อมปลอดภัย ได้แกงเทน้ำพริก - ได้ใหม่ลืมเก่า ได้คืบจะเอาศอก - ต้องการได้มากกว่าที่ได้มาแล้ว ได้ดิบได้ดี - ได้ดี ตกกระได พลอยโจน - จำเป็นที่จะต้องยอมเข้าไปตกกระได พลอยโจน - จำเป็นที่จะต้องยอมเข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่มีทางเลี่ยง ตกใต้เถรเทวทัต - ตกนรกขุมต่ำสุด ตกนรกทั้งเป็น - ได้รับความลำบากแสนสาหัสเช่นคนที่ได้รับโทษทัณฑ์ในเรือนจำ ตกน้ำมัน - เรียกเสาหรือประตูเรือนที่มีน้ำมันซึมออกมาว่า เสาตกน้ำมัน หรือ ประตูตกน้ำมัน ตกน้ำไม่ว่าย - ไม่ช่วยตัวเอง ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ - ตกอยู่ในที่คับขันอย่างไรก็ไม่เป็นอันตราย, เป็นคำเปรียบเทียบ หมายความว่า ตกอยู่ที่ใดก็ไม่สูญหาย เช่น ของหลวงตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ ตกเป็นเบี้ยล่าง - ตกเป็นรองเขา, เสียเปรียบเขา ตกม้าตาย - แพ้เร็ว, ยุติเร็ว, เรียกเต็มว่า สามเพลงตกม้าตาย ตกล่องปล่องชิ้น - ตัดสินใจที่จะร่วมมือหรือร่วมชีวิตด้วย ตกหลุม, ตกหลุมพราง - ถูกลวงด้วยเล่ห์กลหรืออุบาย, เสียรู้, หลงกล ต้นร้ายปลายดี - ตอนแรกประพฤติตัวไม่ดี แต่ภายหลังกลับสำนึกตัวได้แล้วประพฤติดีตลอดไป,ตอนต้นไม่ดีไปดีเอาตอนหลัง ต้นวายปลายดก - ตอนต้นไม่ดีไปดีเอาตอนหลัง ตบตา - หลอกหรือลวงให้เข้าใจผิด ตบมือข้างเดียวไม่ดัง - ทำอะไรฝ่ายเดียวไม่เกิดผล ตบหัวกลางศาลา ขอขมาที่บ้าน,ตบหัวที่ศาลา ขอขมาที่บ้าน - ยอมรับผิดไม่สมกับความผิดที่ทำไว้ตักน้ำรดหัวตอ,ตักน้ำรดหัวสาก - แนะนำพร่ำสอนเท่าไรก็ไม่ได้ผล ตบหัวลูบหลัง - ทำหรือพูดให้กระทบกระเทือนใจในตอนแรกแล้วกลับทำหรือพูดเป็นการปลอบใจในตอนหลัง ตัดหางปล่อยวัด - ตัดขาดไม่เกี่ยวข้อง ไม่เอาเป็นธุระอีกต่อไป ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก,หน้าไหว้หลังหลอก - ต่อหน้าทำเป็นดี แต่พอลับหลังก็นินทาหรือหาทางทำร้าย ต้อนรับขับสู้ - ต้อนรับอย่างแข็งขัน ต้อนหมูเข้าเล้า - บังคับคนที่ไม่มีทางสู้ ตะบันน้ำกิน - แก่มากจนเคี้ยวของกินไม่ไหว ตะเภาเดียวกัน - พวกเดียวกัน,อย่างเดียวกัน ตักน้ำรดหัวตอ,ตักน้ำรดหัวสาก - แนะนำพร่ำสอนเท่าไรก็ไม่ได้ผล ตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา - ให้รู้จักฐานะของตนและเจียมตัว ตักบาตรอย่าถามพระ - จะให้อะไรแก่ผู้ที่เต็มใจรับอยู่แล้ว ไม่ควรถาม ตำข้าวสารกรอกหม้อ - หาเพียงแต่พอกินไปมื้อหนึ่ง ๆ , ทำให้พอเสร็จไปชั่วครั้งหนึ่ง ๆ ตัดช่องน้อยแต่พอตัว - เอาตัวรอดแต่ผู้เดียว ตัดเชือก - ตัดความสัมพันธ์ ไม่ยอมให้ความช่วยเหลืออีกต่อไป ตัดญาติขาดมิตร - ตัดขาดจากกัน ตัดเป็นตัดตาย - ตัดขาดจากกันอย่างเด็ดขาด ตัดไฟต้นลม,ตัดไฟแต่ต้นลม,ตัดไฟหัวลม - ตัดต้นเหตุเพื่อไม่ให้เหตุการณ์ลุกลามต่อไป ตัดหนามอย่าไว้หน่อ - ทำลายให้ถึงต้นตอ ตัดหัวคั่วแห้ง - ฆ่าให้ตายเพื่อให้หายแค้น ตัดหางปล่อยวัด - ตัดขาดไม่เกี่ยวข้อง, ไม่เอาเป็นธุระอีกต่อไป ตัวจักรใหญ่ - บุคคลซึ่งเป็นสมองหรือเป็นหัวหน้าในการดำเนินกิจการ ตัวตายตัวแทน - ผู้ที่รับช่วงทำงานติดต่อกันไปไม่ขาดตอน ตาเจ้าชู้ - ตาที่แสดงอาการกรุ้มกริ่มเป็นเชิงทอดไมตรีในทางชู้สาว ตาบอดคลำช้าง - คนที่รู้อะไรด้านเดียวหรือนัยเดียวแล้วเข้าใจว่าสิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น ตาบอดได้แว่น - ผู้ที่ได้สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ตาบอดสอดตาเห็น - อวดรู้ในเรื่องที่ตนไม่รู้ ตาเป็นมัน - อาการที่จับตามองจ้องดูสิ่งที่ต้องใจอย่างจดจ่อ ตาเป็นสับปะรด - มีพรรคพวกที่คอยสอดส่องเหตุการณ์ให้อยู่รอบข้าง ตาเฟื้องตาสลึง,ตาเล็กตาน้อย - ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอดไมตรีในทางชู้สาว ตาไม่มีแวว - ไม่รู้จักของดี ตาลุก,ตาลุกตาชัน - อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เช่นเมื่อเห็นเงิน ตามใจปากมากหนี้ - เห็นแก่กินย่อมสิ้นเปลืองมาก ตามใจปากลำบากท้อง - เห็นแก่กินมักจะเดือดร้อน ตามเพลง - สุดแต่จะเป็นไป,ตามเรื่องตามราว ตามยถากรรม - เป็นไปตามกรรม,สุดแต่จะเป็นไป ตามเรื่องตามราว - ปล่อยให้เป็นไปเอง,สุดแต่จะเป็นไป ตายประชดป่าช้า - แกล้งทำหรือพูดแดกดันประชดอีกฝ่ายหนึ่ง แต่ตัวเองกลับเป็นฝ่ายเสียหายจากการทำหรือพูดนั้น ตำข้าวสารกรอกหม้อ - หาเพียงแค่พอกินไปมื้อหนึ่งๆ,ทำพอให้เสร็จไปชั่วครั้งหนึ่งๆ ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ - ลงทุนไปโดยได้ผลประโยชน์ไม่คุ้มทุน, ใช้จ่ายทรัพย์ในทางที่ไม่เกิดประโยชน์,เสียทรัพยืไปโดยไม่ได้ประโยชน์อะไร ติเรือทั้งโกลน - ตำหนิสิ่งที่ยังทำไม่เสร็จหรือที่ยังไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ติดต้อยห้อยตาม - เดินตามไปติดๆ เช่น อุตส่าห์สู้ติดต้อยห้อยตาม ตีงูให้กากิน - ทำสิ่งใดๆไว้แล้ว แต่ผลไปตกแก่ผู้อื่น ตีงูให้หลังหัก - กระทำการสิ่งใดแก่ศัตรูโดยไม่เด็ดขาดจริงจัง ย่อมจะได้รับผลร้ายในภายหลัง ตีตนก่อนไข้,ตีตนตายก่อนไข้ - กังวลทุกข์ร้อนหรือหวาดกลัวในเรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้น ตีท้ายน้ำ - เข้าทำในตอนหลังหรือในระยะหลัง ตีปลาหน้าไซ - พูดหรือทำให้กิจการของผู้อื่นซึ่งกำลังดำเนินไปด้วยดีกลับเสียไป ตีป่าให้เสือกลัว - ขู่ให้กลัว ตีวัวกระทบคราด - โกรธคนหนึ่งแต่ทำอะไรเขาไม่ได้ไพล่ไปรังควาน อีกคนหนึ่งที่เกี่ยวข้องและตนสามารถทำได้ ตีหน้ายักษ์เถียงคำไม่ตกฟาก - พูดคำเถียงคำไม่หยุดปาก , เถียงโดยไม่ฟังเหตุผล ตีหน้ายักษ์,ใส่หน้ายักษ์ - ทำหน้าถมึงทึงแสดงอาการเรี้ยวกราดดุดัน ตีหลายหน้า - ตลบตะแลง,กลับกลอก ตีนถีบปากกัด - มานะพยายามทำงานทุกอย่างเพื่อปากท้อง โดยไม่คำนึงถึงความเหนื่อยยาก ตีนเท่าฝาหอย - เด็กทารก ตื่นแต่ดึก สึกแต่หนุ่ม - เร่งรัดทำการงานให้เหมาะสมแก่วัยและเวลาเต้นแร้งเต้นกา,เต้นแร้งเต้นแฉ่ง - แสดงอาการดีอกดีใจหรือสนุกสนานด้วยการกระโดดโลดเต้น เตี้ยอุ้มค่อม - คนที่มีฐานะต่ำต้อยหรือยากจน แต่รับภาระเลี้ยงดูคนที่มีฐานะเช่นตนอีก แตงเถาตาย - หญิงม่ายที่มีอายุมาก แตงร่มใบ - มีผิวเป็นนวลใยในวัยสาว ใต้ดิน - ไม่เปิดเผย,ไม่ถูกกฎหมาย ไต่ไม้ลำเดียว - กระทำการใดๆตามลำพังตัวคนเดียวโดยไม่พึ่งพาอาศัยผู้อื่น อาจพลาดพลั้งได้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่มีทางเลี่ยง ถ่มน้ำลายรดฟ้า - ประทุษร้ายสิ่งที่สูงกว่าตน ตัวเองยังได้รับผลร้าย ถวายหัว - ยอมเสี่ยงชีวิตเพื่อชาติ, เอาชีวิตเป็นเดิมพัน ,ทำจนสุดความสามารถ, ยอมสู้ตาย ถอดเขี้ยวถอดเล็บ - ละพยศ, ละความดุหรือร้ายกาจ, เลิกแสดงฤทธิ์อำนาจอีกต่อไป ถอนต้นก่นราก, ถอนรากถอนโคน - ทำลายให้ถึงต้นตอ, ทำลายให้สิ้นเสี้ยนหนาม ถอนหงอก - ไม่นับถือความเป็นผู้ใหญ่, พูดว่าให้เสียผู้ใหญ่ ถอยหลังเข้าคลอง - หวนกลับไปหาแบบเดิม ถ่านไฟเก่า - ชายหญิงที่เคยรักใคร่หรือเคยได้เสียกันมาก่อน แม้เลิกร้างกันไป เมื่อมาพบกันใหม่ย่อมรักใคร่หรือปลงใจกันได้ง่ายชึ้น ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น - ดูเหมือนรอบคอบถี่ถ้วน แต่ไม่รอบคอบถี่ถ้วนจริง, ประหยัดในสิ่งที่ไม่ควรประหยัด ไม่ประหยัดในสิ่งที่ควรประหยัด ถีบหัวส่ง - ไล่ไปให้พ้น, ไม่ไยดีอีกต่อไป ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง - ไม่เอามาใส่ใจว่าจะเป็นอย่างไร ถึงพริกถึงขิง - เผ็ดร้อนรุนแรง เถรตรง - ซื่อหรือตรงจนเกินไป, ไม่มีไหวพริบ, ไม่รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว, ไม่รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา เถรส่องบาตร - คนที่ทำอะไรตามเขาทั้งๆที่ไม่รู้เรื่องรู้ราว ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ - สิ่งที่มีอยู่หรือเกิดตามธรรมชาติ อันอาจนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ ทองแผ่นเดียวกัน - เกี่ยวดองกันโดยการแต่งงาน ทองไม่รู้ร้อน - เฉยเมย, ไม่กระตือรือร้น, ไม่สะดุ้งสะเทือน ท้องยุ้งพุงกระสอบ - คนกินจุ ทั้งขึ้นทั้งล่อง - มีความเกี่ยวข้องด้วยเสมอ ไม่พ้นไปได้ ท่าดีทีเหลว - มีท่าทางดี แต่ทำอะไรไม่ได้เรื่อง ท่านั้นท่านี้ - อย่างนั้นอย่างนี้, โยกโย้ ทางออก - ทางรอด, วิธีแก้ปัญหา ทำคุณบูชาโทษ - ทำคุณแต่กลับเป็นโทษ, ทำดีแต่กลับเป็นร้าย ทำนาบนหลังคน - หาผลประโยชน์ใส่ตนโดยขูดรีดผู้อื่น ทำนาออมกล้า ทำปลาออมเกลือ - ทำการสิ่งใดถ้ากลัวหมดเปลืองย่อมไม่ได้ผลสมบูรณ์ ทำบุญเอาหน้า, ทำบุญเอาหน้า ภาวนากันตาย - ทำบุญเพื่ออวดผู้อื่น ไม่ใช่ทำด้วยใจบริสุทธิ์ ที่เล่นทีจริง - แสร้งทำเล่นๆ หรือล้อหลอกเป็นการลองเชิง แต่เมื่อเห็นเขาเผลอตัวหรือไม่ว่าก็เอาจริง, เล่นก็ได้ จริงก็ได้ ที่เท่าแมวดิ้นตาย - ที่ดินหรือเนื้อที่เล็กน้อย ทุบหม้อข้าว - ตัดอาชีพ, ทำลายหนทางทำมาหากิน แทรกแผ่นดิน - หลีกหนีไปให้พ้น ไม่อยากให้ใครพบหน้าเพราะอับอาย นกรู้ - ผู้ที่มีไหวพริบรู้เท่าทันเหตุการณ์หรือภัยที่จะมาถึงตน นกสองหัว - คนที่ทำตัวฝักใฝ่เข้าด้วยทั้ง ๒ ฝ่ายที่ไม่เป็นมิตรกันโดยหวังประโยชน์เพื่อตน นอนกินบ้านกินเมือง - นอนตื่นสายด้วยความเกียจคร้าน นอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็น - ไม่รู้เรื่องราวที่เกิดขึ้น, ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ นั่งในหัวใจ - ทำถูกต้องตรงตามที่ผู้อื่นคิดไว้ น่าเกลียดน่าชัง - น่ารักน่าเอ็นดู(ใช้แก่เด็กเล็กๆ) นายว่าขี้ข้าพลอย - พลอยพูดผสมโรงติเตียนผู้อื่นตามนายไปด้วย น้ำขึ้นให้รีบตัก - มีโอกาสดีควรรีบทำ น้ำขุ่นไว้ใน น้ำใสไว้นอก - แม้จะไม่พอใจก็ยังแสดงสีหน้ายิ้มแย้ม น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ - อย่าขัดขวางผู้ที่มีอำนาจ(เป็นคำพดเชิงเตือนสติ) น้ำตาเช็ดหัวเข่า - เสียใจเพราะช้ำใจหรือต้องผิดหวังอย่างหนัก น้ำตาตกใน - เศร้าโศกเสียใจอย่างมาก แต่ไม่แสดงให้ปรากฏ น้ำตาลใกล้มด ใครจะอดได้ - ชายหญิงที่ใกล้ชิดกันมากย่อมห้ามใจไม่ให้รักกันได้ยาก น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรวเหรง - พูดมากแต่ได้เนื้อหาสาระน้อย น้ำท่วมปาก - พูดไม่ออกเพราะเกรงจะมีภัยแก่ตนหรือผู้อื่น น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า - พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน น้ำน้อยแพ้ไฟ - ฝ่ายข้างน้อยย่อมแพ้ฝ่ายข้างมาก น้ำบ่อน้อย - น้ำลาย น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า - การพึ่งพาอาศัยกัน น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา - ทีใครทีมัน น้ำเย็นปลาตาย - คำพูดที่ไพเราะอ่อนหวานทำให้ตายใจ อาจเป็นโทษเป็นภัยได้ น้ำร้อนปลาเป็น - คำพูดที่ตรงไปตรงมาฟังไม่ไพเราะ เป็นการเตือนให้ระวังตัว แต่ไม่เป็นพิษเป็นภัย น้ำลดตอผุด - เมื่อหมดอำนาจความชั่วที่ทำไว้ก็ปรากฏ น้ำสั่งฟ้า ปลาสั่งฝน, ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งหนอง - สั่งเสียเป็นครั้งสุดท้าย, ทำการอันใดที่เป็นสิ่งสำคัญเพื่อไว้อาลัยก่อนจากไป น้ำหนึ่งใจเดียวกัน - มีความเห็นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นิ้วไหนร้ายก็ตัดนิ้วนั้น - คนใดไม่ดี ก็ตัดออกไปจากหมู่คณะ เนื้อเต่ายำเต่า - นำเอาทรัพย์สินที่เป็นกำไรหรือดอกเบี้ยกลับไปลงทุนต่อไปอีกโดยไม่ต้องใช้ทุนเดิม เนื้อผ้า - ความจริง บนข้าวผี ตีข้าวพระ - ขอร้องให้ผีสางเทวดาหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือ โดยจะแก้บนเมื่อสำเร็จสมประสงค์แล้ว บนบานศาลกล่าว - ขอร้องให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือ บอกเล่าเก้าสิบ - บอกกล่าวให้รู้ บอกหนังสือสังฆราช, สอนหนังสือสังฆราช - สอนสิ่งที่เขารู้ดีอยู่แล้ว บัวไม่ช้ำ น้ำไม่ขุ่น, บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น - รู้จักผ่อนปรนเข้าหากัน มิให้กระทบกระเทือนใจกัน, รู้จักถนอมน้ำใจไม่ให้ขุ่นเคืองกัน บ้าหอบฟาง - บ้าสมบัติ เห็นอะไรๆเป็นของมีค่าจะเอาทั้งนั้น, อาการที่หอบหิ้วของพะรุงพะรัง บ้าห้าร้อยจำพวก - บ้ามากมายหลายประเภท บานปลาย - ขยายออกไปมากกว่าที่ตั้งใจไว้เดิม, ขยายเรื่องเล็กให้กลายเป็นเรื่องใหญ่โตออกไป ; ใช้เงินเกินกว่าที่ประมาณหรือกำหนดไว้ บ้านเคยอยู่ อู่เคยนอน - สถานที่ตนเคยอยู่อาศัยมาก่อน บ้านแตกสาแหรกขาด - เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครอบครัวหรือในบ้านเมืองอย่างร้ายแรงถึงทำให้ต้องกระจัดกระจายพลัดพรากกัน บ้านนอกขอกนา, บ้านนอกคอกนา - เขตแดนที่พ้นจากเมืองหลวงออกไป, เขตที่อยู่นอกตัวเมือง บ้านเมืองมีขื่อมีแป - บ้านเมืองหรือประเทศย่อมมีกฎหมายคุ้มครอง บุกป่าฝ่าดง - พยายามต่อสู้อุปสรรคต่างๆ บุญทำกรรมแต่ง - บุญหรือบาปที่ทำไว้ในชาติก่อนเป็นเหตุทำให้รูปร่างหน้าตาหรือชีวิตของคนเราในชาตินี้สวย งาม ดี ชั่ว บุญมาวาสนาส่ง, บุญมาวาสนาช่วย - เมื่อมีบุญ อำนาจวาสนาก็มาเอง เบี้ยต่อไส้ - เงินที่พอประทังชีวิตให้ยืนยาวไปได้ระยะหนึ่ง เบี้ยน้อยหอยน้อย - มีเงินน้อย, มีไม่มาก เบี้ยบ้ายรายทาง - เงินที่จะต้องใช้จ่ายหรือเสียไปเรื่อยๆ เป็นระยะๆ ในขณะทำธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จ แบกหน้า - จำใจกลับมาแสดงตัวหรือติดต่อกับผู้ที่ตนเคยทำไม่ดี ไม่ถูกต้อง หรือไม่เหมาะสมมาก่อนอีก ปล้นบ้านปล้นเมือง - โกงกินทรัพย์สมบัติของชาติ ปล่อยนกปล่อยกา, ปล่อยลูกนกลูกกา - ปล่อยให้เป็นอิสระ,ไม่เอาผิด, ปล่อยให้พ้นจากความผูกพัน ปล่อยปลาลงน้ำ, ปล่อยเสือเข้าป่า, ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ - ปล่อยศัตรูไปแล้วเขาจะไม่นึกถึงบุญคุณ ปล่อยเสือเข้าป่า, ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ - ปล่อยศัตรูไปอาจกลับมาทำร้ายภายหลังอีก ปลาข้องเดียวกัน - คนที่อยู่ร่วมกันหรือเป็นพวกเดียวกัน ปลาตกน้ำตัวโต - สิ่งที่เสียหรือสูญหายไปมักดูมีค่ามากเกินความเป็นจริง ปลาติดร่างแห - คนที่พลอยได้รับเคราะห์กรรมร่วมกับผู้อื่น ทั้งๆที่ไม่ได้มีส่วนพัวพันด้วย ปลาหมอตายเพราะปาก - คนที่พูดพล่อยจนได้รับอันตราย ปลาหมอแถกเหงือก - กระเสือกกระสนดิ้นรน ปลาใหญ่กินปลาเล็ก - ประเทศหรือคนที่มีอำนาจ หรือผู้ใหญ่ที่กดขี่ข่มเหงผู้อ่อนแอหรือผู้น้อย ปล้ำผีลุกปลุกผีนั่ง - พยายามทำให้มีเรื่องมีราวขึ้นมา ปลูกเรือนคล่อมตอ - กระทำสิ่งซึ่งล่วงล้ำ ก้าวก่าย หรือทับสิทธิของผู้อื่น จะโดยรู้เท่าถึงการณ์หรือไม่ก็ตาม ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่, ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน - ทำตามความพอใจของผู้ที่จะได้ผลโดยตรง ปลูกเรือนพอตัว หวีหัวพอเกล้า,ปลูกเรือนแต่พอตัว หวีหัวแต่พอเกล้า - ทำสิ่งใดๆให้พอสมควรกับฐานะของตน ปวดเศียรเวียนเกล้า - เดือดร้อนรำคาญใจเพราะมีเรื่องยุ่งยากมากจนแก้ไม่ทัน ปอกกล้วยเข้าปาก - ง่าย, สะดวก ปัญญาแค่หางอึ่ง - มีความรู้น้อย, โง่ ปัดสวะ - ทำอย่างขอไปที, ผลักให้พ้นหน้าที่ความรับผิดชอบของตนไป ปากปราศรัยใจเชือดคอ - พูดดีแต่ใจคิดร้าย ปากเป็นชักยนต์ - ว่ากล่าวสั่งสอนไม่รู้จักหยุด ปากไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม - ยังเป็นเด็ก ปากว่าตาขยิบ - พูดอย่างหนึ่งแต่ทำอีกอย่างหนึ่ง ปากว่ามือถึง - พอพูดก็ทำเลย ปากหวานก้นเปรี้ยว - พูดจาอ่อนหวานแต่ไม่จริงใจ ปิ้งปลาประชดแมว, หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว - ทำประชดหรือแดกดัน ซึ่งรังแต่จะเสียประโยชน์ ปิดควันไฟไม่มิด - ปิดเรื่องที่อื้อฉาวไปทั่วแล้วไม่สำเร็จ ปิดทองหลังพระ - ทำความดีแต่ไม่ได้รับการยกย่อง เพราะไม่มีใครเห็นคุณค่า ปิดประตูตีแมว - รังแกคนไม่มีทางสู้และไม่มีทางหนีไปได้ เป็ดขันประชันไก่ - ผู้ที่มีความรู้ความสามารถน้อยแต่อวดแสดงแข่งกับผู้ที่มีความรู้ความสามารถสูง เป็นกอบเป็นกำ - เป็นผลดี, เป็นชิ้นเป็นอัน เป็นเงาตามตัว - คอยติดตามอยู่ตลอดเวลา ; เพิ่มขึ้นหรือลดลงตามส่วน เป็นตั้งหน้า - คอยออกหน้าป้องกัน เป็นหุ่นให้เชิด - อยู่ในฐานะหรือตำแหน่งที่ต้องทำตามที่เขาสั่ง เป็นหูเป็นตา - ช่วยสดับตรับฟังและดูแลรักษาแทน แปดเหลี่ยมแปดคม, แปดเหลี่ยมสิบสองคม - มีเล่ห์เหลี่ยมมาก โปรดสัตว์ได้บาป, ทำคุณบูชาโทษ โปรดสัตว์ได้บาป - ทำดีแต่กลับได้ชั่ว ไปตายดาบหน้า, ไปตายเอาดาบหน้า - ยอมไปเผชิญกับความทุกข์และความลำบากข้างหน้า ไปวัดไปวาได้ - มีรูปร่างหน้าตาดีพอจะอวดเขาได้ ไปไหนมาสามวาสองศอก - ถามอย่างหนึ่งตอบไปอีกอย่างหนึ่ง ไปอย่างน้ำขุ่นๆ - พูดแก้ตัวหลบเลี่ยงไปอย่างข้างๆคูๆ ผ่อนสั้นผ่อนยาว - ประนีประนอมกัน, อะลุ้มอล่วยกัน ผ่อนหนักเป็นเบา - ลดความรุนแรงลง, ลดหย่อนลง ผักชีโรยหน้า - การทำความดีเพียงผิวเผิน ผัดวันประกันพรุ่ง - ขอเลื่อนเวลาออกไปครั้งแล้วครั้งเล่า ผัวหาบเมียคอน, ชายหาบหญิงคอน - ช่วยกันทำมาหากินทั้งผัวทั้งเมีย ผ้าขี้ริ้วห่อทอง - คนมั่งมีแต่งตัวซอมซ่อ ผิดนัก - ถ้าพลาดไป ผีเข้าผีออก - เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย, ไม่คงที่ ผีซ้ำด้ามพลอย - ถูกซ้ำเติมเมื่อพลาดพลั้งลงหรือเมื่อคราวเคราะห์ร้าย ผีถึงป่าช้า - ต้องยอมทำด้วยความจำใจหรือไม่มีทางเลือก ผีบ้านไม่ดี ผีป่าก็พลอย, ผีเรือนไม่ดี ผีป่าก็พลอย - คนในบ้านเป็นใจช่วยให้คนนอกบ้านเข้ามาทำความเสียหายได้ ผีไม่มีศาล - ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ผู้ชายพายเรือ - ผู้ชายทั่วไป ผู้หญิงยิงเรือ - ผู้หญิงทั่วไป เผอเรอกระเชอก้นรั่ว - เลินเล่อ ไม่ระวังดูแลให้รอบคอบ ก่อให้เกิดความเสียหาย แผ่นดินกลบหน้า - ตาย แผลเก่า - ความเจ็บช้ำที่ฝังใจอยู่ไม่รู้ลืม ฝนตกก็แช่ง ฝนแล้งก็ด่า - การทำอะไรๆ จะให้ถูกใจคนทั้งหมดนั้นเป็นไปไม่ได้ ฝนตกขี้หมูไหล, ฝนตกขี้หมูไหล คนจัญไรมาพบกัน - พลอยเหลวไหลไปด้วยกัน ฝนตกไม่ทั่วฟ้า - ให้หรือแจกจ่ายอะไรไม่ทั่วถึงกัน ฝนตกไม่มีเค้า - เรื่องที่เกิดขึ้นโดยไม่มีวี่แววหรือไม่ได้คาดคิดไว้ก่อน ฝนตกอย่าเชื่อดาว, ฝนตกอย่าเชื่อดาว มีเมียสาวอย่าเชื่อแม่ยาย - อย่าไว้วางใจใครหรืออะไรจนเกินไป ฝนทั่งให้เป็นเข็ม - เพียรพยายามสุดความสามารถจนกว่าจะสำเร็จผล ฝนสั่งฟ้า - ฝนที่ตกหนักตอนปลายฤดูฝน ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งหนอง - สั่งเสียเป็นครั้งสุดท้าย, ทำการอันใดที่เป็นสิ่งสำคัญเพื่อไว้อาลัยก่อนจากไป ฝ่าคมหอกคมดาบ - เสี่ยงภัยในสงคราม, เสี่ยงอันตรายจากอาวุธนานาชนิด ฝากเนื้อไว้กับเสือ, ฝากปลาไว้กับแมว - ฝากสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้กับคนที่ชอบสิ่งนั้น ย่อมสูญหายได้ง่าย, ไว้วางใจคนที่ไม่ควรไว้วางใจ ใฝ่ร้อนจะนอนเย็น ใฝ่เย็นจะดิ้นตาย - มุ่งหวังจะสบายต้องทำงาน ถ้าเกียจคร้านจะลำบากยากจน ใฝ่สูงจนเกินศักดิ์, ใฝ่สูงให้เกินศักดิ์ - หวังสิ่งที่เกินฐานะของตน พกนุ่น - ใจเบา พกหิน - ใจหนักแน่น พบไม้งามเมื่อขวานบิ่น, พบไม้งามเมื่อยามขวานบิ่น - พบหญิงสาวที่ต้องใจเมื่อแก่ พระมาลัยมาโปรด - ผู้ที่มาช่วยเหลือในยามที่กำลังตกทุกข์ได้ยากได้ทันท่วงที พระศุกร์เขาพระเสาร์แทรก - ความทุกข์ยากลำบากที่เกิดซ้อนๆเข้ามาในขณะเดียวกัน พระอิฐพระปูน - นิ่งเฉย, วางเฉย ไม่เดือดร้อน, ไม่รู้สึกยินดียินร้าย พร้างัดปากไม่ออก, พร้าคัดปากไม่ออก - นิ่ง, ไม่ค่อยพูด พรากลูกนกลูกกา, พรากลูกนกฉกลูกกา - ทำให้ลูกพลัดพรากจากพ่อแม่ พลั้งปากเสียศีล พลั้งตีนตกต้นไม้ - พูดหรือทำอะไรโดยไม่ระมัดระวังย่อมเกิดความเสียหาย พลิกแผ่นดิน - เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในระบบหรือวิธีการปกครองแผ่นดิน พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ, กลับหน้ามือเป็นหลังมือ - เปลี่ยนแปลงหรือทำให้ผิดไปจากเดิมอย่างตรงกันข้าม พอก้าวขาก็ลาโรง, พอยกขาก็ลาโรง - ชักช้าทำให้เสียการ พอแย้มปากก็เห็นไรฟัน, พออ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ - รู้ทันกัน พ่อแจ้แม่อู - พันทาง, ต่างพันธุ์กัน พ่อพวงมาลัย - ชายที่ปล่อยชีวิตตามสบาย ไม่ยอมตั้งตัวหรือทำการงานเป็นหลักฐาน พายเรือคนละที - ทำงานไม่ประสานกัน พายเรือทวนน้ำ - ทำด้วยความยากลำบาก พายเรือในหนอง, พายเรือในอ่าง - คิด ทำ หรือพูดวกวนกลับไปกลับมา พาลรีพาลขวาง - ชอบหาเรื่องทะเลาะวิวาท พาลีหลายหน้า - กลับกลอก,ไม่ซื่อสัตย์ พึ่งจมูกคนอื่นหายใจ, ยืมจมูกคนอื่นหายใจ, เอาจมูกผู้อื่นมาหายใจ - อาศัยผู้อื่นมักไม่สะดวก พึ่งลำแข้งตัวเอง, อาศัยลำแข้งตัวเอง - ช่วยตนเอง, พุ่งหอกเข้ารก - ทำพอให้เสร็จไปโดยไม่มีเป้าหมายหรือโดยไม่คำนึงว่าใครจะเดือดร้อน พูดคล่องเหมือนล่องน้ำ, พดคล่องเป็นล่องน้ำ - พูดไม่ติดขัด พูดดีเป็นศรีแก่ปาก - พูดดีเป็นที่นิยมชมชอบ พูดเป็นต่อยหอย - พูดฉอดๆไม่หยุดปาก พูดเป็นนัย - พูดอ้อมๆโดยไม่บอกเรื่องราวตรงๆ พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง - พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า พูดอย่างมะนาวไม่มีน้ำ - พูดห้วนๆ เพชรตัดเพชร - คนเก่งต่อเก่งมาสู้กัน เพชรร้าว - ที่ไม่บริสุทธิ์, ที่มีตำหนิ แพแตก - ลักษณะที่ครอบครัวแตกกระจัดกระจายแยกย้ายกันไป เพราะหัวหน้าครอบครัวหรือผู้เป็นหลักเป็นประธานประสบความวิบัติหรือเสียชีวิต แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร - การยอมแพ้ทำให้เรื่องสงบ การไม่ยอมแพ้ทำให้เรื่องไม่สงบ แพะรับบาป - คนที่รับเคราะห์กรรมแทนผู้อื่นที่ทำกรรมนั้น ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด - ฟังไม่ได้ความแจ่มชัด แล้วเอาไปพูดต่อหรือทำผิดๆพลาดๆ ฟ้าเคืองสันหลัง - เคราะห์กรรมหรือโทษทัณฑ์ร้ายแรงที่เกิดจากอำนาจเบื้องบนหรือผู้ปกครอง ฟ้าไม่กระเทือนสันหลัง - อำนาจเบื้องบนหรือผู้ปกครองยังไม่ลงโทษทัณฑ์ (ใช้ในสำนวนว่า ถ้าฟ้าไม่กระเทือนสันหลังก็ยังไม่รู้สึก) มดแดงเฝ้ามะม่วง, มดแดงแฝงพวงมะม่วง - ชายที่ปองรักหญิงบ้านใกล้หรือที่อยู่ใกล้กัน และคอยกีดกันไม่ให้ชายอื่นมารัก มะพร้าวตื่นดก, มะพร้าวตื่นดก ยาจกตื่นมี - เห่อหรือตื่นเต้นในสิ่งที่ตนไม่เคยมีไม่เคยได้จนเกินพอดี มาเหนือเมฆ - มีความคิดหรือชั้นเชิงเหนือผู้อื่น, มาหรือปรากฏขึ้นโดยไม่คาดหมาย ม้าดีดกระโหลก - มีกิริยากระโดกกระเดกลุกลนหรือไม่เรียบร้อย มากขี้ควายหลายขี้ช้าง - มากมายเสียเปล่า ใช้ประโยชน์ไม่ได้ มากหมอมากความ - หลายคนที่มีความเห็นแตกต่างกันเป็นหลายอย่างจนตกลงกันไม่ได้ มิตรจิตมิตรใจ - ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน มีตาแต่หามีแววไม่ - ดูแต่ไม่ลึกซึ้ง, เซ่อ มีทองเท่าหนวดกุ้ง นอนสะดุ้งจนเรือนไหว - มีสมบัติเพียงเล็กน้อยแต่กังวลจนนอนไม่หลับ มีเฟื้องมีสลึง - มีเงินเล็กน้อย มือถือสาก ปากถือศีล - มักแสดงตัวว่าเป็นคนมีศีลมีธรรม แต่กลับประพฤติชั่ว มือเป็นระวิง - อาการที่ใช้มือทำงานไม่ได้หยุด มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ - ไม่ช่วยแล้วยังขัดขวางการทำงานของผู้อื่น มือสั้นตีนสั้น - ขาดกำลังที่จะช่วยให้กิจการสำเร็จด้วยดี มือห่างตีนห่าง - สุรุ่ยสุร่าย, เลินเล่อ, สะเพร่า, ไม่ระมัดระวัง เมื่อพีเนื้อหอม เมื่อผอมเนื้อเหม็น - เวลารวยคนมาห้อมล้อม ประจบประแจง เวลาจนคนพากันหน่ายหนี แม่กระชังหน้าใหญ่, แม่หญิงแม่หญัง แม่กระชังหน้าใหญ่ - ผู้ที่ชอบแสดงตัวออกหน้าเป็นหัวเรือใหญ่ แม่สายบัวแต่งตัวค้าง - ผู้หญิงที่แต่งตัวคอยผู้มารับออกนอกบ้าน แต่เขาไม่มาตามนัด แม่สื่อแม่ชัก ไม่ได้ตัว เอาวัวพันหลัก - หญิงที่ไปติดต่อระหว่างชายหญิง แต่ไม่สำเร็จ ในที่สุดก็ตกเป็นภรรยาของชายนั้นแทน ไม่กี่อัฐ, ไม่กี่อัฐฬส - ราคาถูก ไม่ใช่ขี้ไก่ - ไม่เลว, มีอะไรดีเหมือนกัน ดูหมิ่นไม่ได้ ไม่ดูเงาหัว - ไม่รู้จักประมาณตน ไม่ดูตาม้าตาเรือ - ไม่พิจารณาให้รอบคอบ ไม่ได้เบี้ยออกข้าว - ไม่มีส่วนได้อะไรด้วยเลย, ไม่มีส่วนได้อะไรด้วยแล้วยังต้องเสียผลประโยชน์ไปอีก ไม่ได้เบี้ยเอาข้าว - ไม่ได้อย่างหนึ่งก็ต้องเอาอีกอย่างหนึ่ง, ไม่ยอมกลับมือเปล่า ไม่มีเงาหัว - เป็นลางว่าจะตายร้าย ไม่มีปี่มีกลอง, ไม่มีปี่มีขลุ่ย - ไม่มีเค้า ไม่มีมูลฝอยหมาไม่ขี้ - ไม่มีเหตุย่อมไม่มีผล ไม่รู้จักเสือเอาเรือเข้ามาจอด ไม่รู้จักมอดเอาไม้เข้ามาขวาง - ทำสิ่งที่ไม่รู้ว่าจะมีภัยแก่ตัว ไม่รู้จักหัวนอนปลายตีน - ไม่รู้ความเป็นมาหรือพื้นเพ ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ - ไม่รู้เรื่องราวที่เกิดขึ้น ไม่เห็นน้ำตัดกระบอก ไม่เห็นกระรกก่งหน้าไม้ - ด่วนทำไปทั้งๆที่ยังไม่ถึงเวลาอันสมควร ไม่เหลือบ่ากว่าแรง - ไม่เกินความสามารถที่จะทำได้ ไม้ใกล้ฝั่ง - แก่ใกล้จะตาย ไม้งามกระรอกเจาะ - หญิงสวยที่ไม่บริสุทธิ์ ไม้นอกกอ - คนที่ประพฤตินอกแบบแผนของวงศ์ตระกูล ไม้ป่าเดียวกัน - พวกเดียวกัน ไม้ร่มนกจับ - ผู้มีวาสนาดีย่อมมีคนมาพ่งบารมี ไม้ล้มเงาหาย - คนที่เคยมีวาสนาเมื่อตกต่ำลงผู้ที่มาพึ่งบารมีก็หายหน้าไป ไม้หลักปักขี้ควาย, ไม้หลักปักเลน - โลเล, ไม่แน่นอน ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก - อบรมสั่งสอนให้เด็กประพฤติดีได้ง่ายกว่าอบรมสั่งสอนผู้ใหญ่ ยกตนข่มท่าน - ยกย่องตัวเองและข่มผู้อื่น, พูดทับถมผู้อื่นแสดงให้เห็นว่าตัวเหนือกว่า ยกตัวขึ้นเหนือลม - ปัดความผิดให้พ้นตัว, ยกตัวเองให้พ้นผิด, ยกตนเหนือคนอื่น ยกภูเขาออกจากอก - โล่งอก, หมดวิตกกังวล, ปลเปลื้องภาระที่หนักอกหนักใจให้หมดไป ยกหางตัวเอง - ยกตนเองว่าดีว่าเก่ง ยศช้างขุนนางพระ - ยศที่ไม่สำคัญ ไม่จริงจัง และไม่สามารถให้คุณให้โทษแก่ใครได้ ยาหม้อใหญ่ - สิ่งที่น่าเบื่อ ยาวบั่นสั้นต่อ, รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ - รักจะอยู่ด้วยกันนานๆให้ตัดความคิดอาฆาตพยาบาทออกไป รักจะอยู่กันสั้นๆให้คิดอาฆาตพยาบาทเข้าไว้ ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว - ทำอย่างเดียวได้ผล ๒ อย่าง, ลงทุนครั้งเดียวได้ผลกำไร ๒ ทาง ยืนกระต่ายสามขา, ยืนกระต่ายขาเดียว - พูดยืนยันอยู่คำเดียว โดยไม่เปลี่ยนความคิดเดิม ยื่นแก้วให้วานร - เอาของมีค่าให้แก่คนที่ไม่รู้จักค่าของสิ่งนั้น ยื่นหมูยื่นแมว - แลกกันโดยต่างฝ่ายต่างให้และรับในเวลาเดียวกัน ยืมจมูกคนอื่นหายใจ, พึ่งจมูกคนอื่นหายใจ, เอาจมูกผู้อื่นมาหายใจ - อาศัยผู้อื่นทำงานให้มักไม่สะดวกเหมือนทำด้วยตนเอง ยุให้รำตำให้รั่ว - ยุให้แตกกัน ยุให้ผิดใจกัน แย่งกันเป็นศพมอญ - ยื้อแย่งกัน โยนกลอง - ปัดภาระหรือความรับผิดชอบไปให้คนอื่น รวบหัวรวบหาง - รวบรัดให้สั้น, ทำให้เสร็จโดยเร็ว; ฉวยโอกาสเมื่อมีช่องทาง ร้อนอาสน์ - มีเหตุหรือมีเรื่องเดือดร้อนทำให้อยู่เฉยไม่ได้ รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา - ใฝ่ดีจะมีความสุขเจริญ ใฝ่ชั่วจะได้รับความลำบาก รักพี่เสียดายน้อง - ลังเลใจ, ตัดสินใจไม่ถูกว่าจะเลือกอย่างไหนดี รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ, ยาวบั่นสั้นต่อ - รักจะอยู่ด้วยกันนานๆให้ตัดความคิดอาฆาตพยาบาทออกไป รักจะอยู่กันสั้นๆให้คิดอาฆาตพยาบาทเข้าไว้ ราชรถมาเกย - โชค ลาภ หรือยศตำแหน่ง มาถึงโดยไม่รู้ตัวหรือคาดฝันมาก่อน ราชสีห์สองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้, เสือสองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้, จระเข้สองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้ - คนที่มีอำนาจหรืออิทธิพลพอๆกันอยู่รวมกันไม่ได้ ราบเป็นหน้ากลอง - ราบเรียบ, หมดสิ้นหนาม รำชั่วโทษพากย์, รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง - ทำไม่ดีหรือทำผิดแล้วไม่รับผิด กลับโทษผู้อื่น รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง, รำชั่วโทษพากย์ - ทำไม่ดีหรือทำผิดแล้วไม่รับผิด กลับโทษผู้อื่น รีดเลือดกับปู - เคียวเข็ญหรือบีบบังคับเอากับผู้ที่ไม่มีจะให้ รื้อแต่หลังคาเขา หลังคาเราไม่รื้อ - คิดแต่จะเอาของผู้อื่นมาใช้ของตัวเก็บไว้, คิดแต่จะเอา ไม่คิดจะให้ รู้จักเก็บรู้จักเขี่ย - รู้จักสะสม, รู้จักหา รู้จักเก็บรู้จักงำ - รู้จักเก็บรักษาข้าวของ รู้เช่นเห็นชาติ - รู้กำพืด, รู้นิสัยสันดาน รู้น้อยพลอยรำคาญ, รู้มากยากนาน รู้น้อยพลอยรำคาญ - รู้น้อยไม่เข้าใจ ทำให้เกิดความรำคาญใจ รู้มากยากนาน, รู้มากยากนาน รู้น้อยพลอยรำคาญ - รู้มากเกินไปจนทำให้ยุ่งยากใจ รู้ยาวรู้สั้น - รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม - เรียนรู้ไว้ไม่หนักเรี่ยวหนักแรงหรือเสียหายอะไร รู้หลบเป็นปีกรู้หลีกเป็นหาง - รู้จักเอาตัวรอดหรือปรับตัวให้เข้ากับเหตุการณ์ รู้หาญรู้ขลาด - กล้าในที่ควรกล้า กลัวในที่ควรกลัว รู้อย่างเป็ด - รู้ไม่จริงสักอย่างเดียว เรียนผูกต้องเรียนแก้ - รู้วิธีทำก็ต้องรู้วิธีแก้ไข, รู้กลอุบายทุกทาง ทั้งทางก่อและทางแก้ เรือขาดหางเสือ - คนที่ขาดสติสัมปชัญญะ, ครอบครัวที่ขาดผู้ดูแลรับผิดชอบ, การงานที่ขาดหัวหน้า เรือล่มในหนองทองจะไปไหน - คนในเครือญาติแต่งงานกัน ทำให้ทรัพย์มรดกไม่ตกไปอยู่กับผู้อื่น เรือใหญ่คับคลอง - คนที่เคยรุ่งเรืองหรือเป็นใหญ่เป็นโต เมื่อตกต่ำลงก็วางตัวอย่างคนสามัญไม่ได้ ฤาษีเลี้ยงลิง - ผู้เลี้ยงเด็กซุกซนหรือปกครองคนหมู่มากที่ไม่อยู่ในระเบียบวินัยย่อมเดือดร้อนรำคาญ ลงเรือลำเดียวกัน - ทำงานร่วมกัน, ร่วมรับผลการกระทำด้วยกัน ลงหลักปักฐาน - ตั้งที่อยู่ทำมาหากินเป็นหลักเป็นแหล่ง ล้มมวย - สมยอมหรือทำให้สมยอมกันในทางที่ไม่สุจริต ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก - ดีแต่พูด แต่ทำไม่ได้ ลากหนามจุกช่อง - ยกเรื่องต่างๆมาอ้างป้องกันตัว, ขัดขวางไม่ให้คนอื่นได้รับประโยชน์ในเมื่อตนเองไม่ได้รับประโยชน์ด้วย ลำหักลำโค่น - ชั้นเชิงที่ใช้หักโค่นอีกฝ่ายหนึ่งอย่างรุนแรง ดุเดือด หรือโดยไม่ปรานีปราศรัย ลิงได้แก้ว, วานรได้แก้ว - ผู้ที่ไม่รู้คุณค่าของสิ่งมีค่าที่ได้มาหรือที่มีอยู่ ลิงตกต้นไม้ - ผู้เชี่ยวชาญในวิชาใดก็ตามอาจพลาดพลั้งในวิชานั้นก็ได้ ลิงนั่งแป้น - ผู้ที่เขายกให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญ แต่ไม่มีอำนาจอะไรจริงจัง ต้องทำตามที่เขาสั่ง ลิงล้างก้น - ผู้ที่ทำอะไรลวกๆพอให้เสร็จๆไป แต่ไม่เรียบร้อย ลิงหลอกเจ้า - ล้อหลอกผู้ใหญ่เวลาผู้ใหญ่เผลอ ลิ้นกระด้างคางแข็ง - ก้าวร้าวโต้เถียงไม่ลดละ ลิ้นกระดาษทราย น้ำลายเชลแล็ก - ประจบประแจง, สอพลอ ลิ้นกับฟัน - การกระทบกระทั่งกันบ้างแต่ไม่รุนแรงของคนที่ใกล้ชิดกัน ลิ้นตวัดถึงใบหู, ลิ้นตวัดถึงหู - ที่พูดจาตลบตะแลงเชื่อไม่ได้ ลิ้นตะกวด - ที่พูดจากลับกลอกเชื่อถือไม่ได้ ลิ้นไม่มีกระดูก - พูดสับปลับ กลับกลอกเอาแน่ไม่ได้ ลิ้นยาวถึงตาตุ่ม - ประจบสอพลอ ลิ้นสองแฉก - ที่พูดสับปลับเชื่อถือไม่ได้ ลูกไก่อยู่ในกำมือ - ผู้ที่ตกอยู่ภายใต้อำนาจ ไม่มีทางหนีหรือทางต่อสู้ ลูกขุนพลอยพยัก - ผู้ที่คอยว่าตามหรือเห็นด้วยกับผู้ใหญ่เป็นเชิงประจบสอพลอ ลูกผีลูกคน - หวังเป็นที่แน่นอนยังไม่ได้ ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น - ลูกย่อมไม่ต่างกับพ่อแม่มากนัก ลูกสมภารหลานเจ้าวัด - ลูกเจ้านาย, ลูกผู้มีอำนาจ ลูบหน้าปะจมูก - ทำอะไรเด็ดขาดจริงจังลงไปไม่ได้ เพราะเกรงจะไปกระทบกระเทือนพวกพ้อง เล็กพริกขี้หนู - เล็กแต่เก่งกล้าสามารถมาก, เล็กแต่มีพิษสง เล่นกับไฟ - ลองดีเสี่ยงกับสิ่งที่รู้ว่าจะเป็นอันตราย เล่นกับหมา หมาเลียปาก, เล่นกับสาก สากต่อยหัว - ลดตัวลงไปหรือวางตัวไม่เหมาะสมจึงถูกลามปาม เล่นเพลงยาว - ลอบมีจดหมายรักต่อกัน เลี้ยงช้างกินขี้ช้าง - หาผลประโยชน์โดยมิชอบจากงานที่ทำ เลี้ยงมาตั้งแต่ตีนเท่าฝาหอย - เลี้ยงดูมาตั้งแต่ยังเป็นทารก เลี้ยงลูกเสือลูกจระเข้ - บำรุงเลี้ยงดูลูกศัตรูหรือลูกคนพาลจะได้รับความเดือดร้อนในภายหลัง เลือกที่รักมักที่ชัง - ลำเอียง เลือกนักมักได้แร่ - เลือกมากมักจะได้ที่ไม่ดี เลือดก้อนเดียวตัดทิ้งได้ - ลูกคนเดียวตัดทิ้งได้ในเมื่อมีความประพฤติไม่เป็นที่พอใจพ่อแม่ เลือดข้นกว่าน้ำ - ญาติพี่น้องย่อมดีกว่าคนอื่น เลือดขึ้นหน้า - โกรธมากจนหน้าแดง, โมโห เลือดเข้าตา - ฮึดสู้โดยไม่เกรงกลัวเพราะไม่มีทางเลือกหรือเจ็บช้ำน้ำใจ เลือดในอก - ลูก แล่นใบบนบก - คิดทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ วัดรอยตีน, วัดรอยเท้า - ดูว่าพอสู้ได้หรือไม่, คอยเทียบตัวเองกับผู้ที่เหนือกว่าเพื่อชิงดีชิงเด่น วันพระไม่มีหนเดียว - วันหน้ายังมีโอกาส วัวลืมตีน - คนที่ได้ดีแล้วลืมฐานะเดิมของตน วัวหายล้อมคอก - ของหายแล้วจึงเริ่มป้องกัน, เรื่องเกิดขึ้นแล้วจึงคิดแก้ไข ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง - ตำหนิผู้อื่นเรื่องใดแล้วตนก็กลับทำในเรื่องนั้นเสียเอง ว่าสาดเสียเทเสีย - ว่าอย่างเจ็บแสบทำให้เสียหายอย่างรุนแรง ว่าอะไรว่าตามกัน - ปรองดองกัน, ไม่ขัดคอกัน ว่ายน้ำหาจระเข้ - เสี่ยงเข้าพบทั้งๆที่รู้ว่าจะเป็นอันตราย ว่าวติดลม - เพลินจนลืมตัว ว่าวเหลิงลม - เพลินจนลืมตัว ศรศิลป์ไม่กินกัน - ไม่ถูกกัน, ไม่ลงรอยกัน, ไม่ชอบกัน(ในกลอนรามเกียรติ์จะหมายความว่าทำอันตรายกันไม่ได้) ศิษย์คิดล้างครู - ศิษย์เนรคุณที่มุ่งคิดจะทำลายล้างครูบาอาจารย์ ศิษย์นอกครู - ศิษย์ที่ประพฤติไม่ตรงตามคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ ศิษย์มีครู - คนเก่งที่มีครูเก่ง ศึกเสือเหนือใต้ - สงคราม ศึกหน้านาง - การวิวาทหรือต่อสู้กันต่อหน้าหญิงที่ตนหมายปอง สร้างวิมานในอากาศ - ใฝ่ฝันถึงความมั่งมี, คิดคาดหรือหวังจะมีหรือเป็นอะไรอย่างเลิศลอย สวมหน้ากาก - แสดงทีท่าหรือกิริยาอาการที่มิได้เกิดจากนิสัยใจจริง, แสดงกิริยาท่าทีลวงให้เข้าใจผิด สวมหมวกหลายใบ - ดำรงตำแหน่งหลายตำแหน่งในเวลาเยวกัน สวยแต่รูป จูบไม่หอม - มีรูปร่างงาม แต่มีความประพฤติท่าทีวาจา และกิริยามารยาทไม่ดี สวรรค์ในอก นรกในใจ, สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ - ความสุขที่เกิดจากการทำความดี หรือความทุกข์ที่เกิดจากการทำความชั่ว ย่อมอยู่ในใจของผู้ทำเอง สองตาก็ไม่แล, สองตาก็ไม่อยากแล - คำที่แสดงอาการว่าไม่แยแสหรือตัดรอนไม่เป็นมิตรไมตรีกันอีกต่อไป สองฝักสองฝ่าย - ที่ทำตัวเข้าด้วยกันทั้ง ๒ ข้าง ซึ่งมักไม่เป็นมิตรกันโดยหวังประโยชน์เพื่อตน สองหน้า -ที่ทำตัวให้ทั้ง ๒ ฝ่ายเข้าใจผิดกัน โดยหวังประโยชน์เพื่อตน สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ - สอนสิ่งที่เขารู้ดีหรือที่เขาถนัดอยู่แล้ว สอนลูกให้เป็นโจร - ไม่ว่ากล่าวอบรมสั่งสอนให้ลูกเป็นคนดี เมื่อลูกไปลักขโมยของใครมาได้กลับชมเชยว่าเก่ง ในที่สุดลูกก็กลายเป็นโจร สอนหนังสือสังฆราช, บอกหนังสือสังฆราช - สอนสิ่งที่เขารู้ดีอยู่แล้ว สอบสวนทวนพยาน - สอบพยาน สะดุดขาตัวเอง - ทำผิดหลักเกณฑ์ที่ตนกำหนดไว้เอง สันหลังยาว, ขี้เกียจสันหลังยาว - เรียกคนเกียจคร้านเอาแต่นอนว่า ขี้เกียจสันหลังยาว สาดโคลน - ใส่ร้ายป้ายสี สาดน้ำรดกัน - กล่าวให้ร้ายซึ่งกันและกัน, ก่อให้เกิดความเสียหายแก่กันและกัน สายตัวแทบขาด - เหน็ดเหนื่อยเพราะทำงานหนักแทบไม่ได้พักผ่อน สาวศรีสาวใช้ - สาวใช้ สาวไส้ให้กากิน - นำความลับของฝ่ายตนไปเปิดเผยให้คนอื่นรู้เป็นการประจานตนหรือพรรคพวกของตน สิ้นเขี้ยวสิ้นเล็บ, หมดเขี้ยวหมดเล็บ - หมดอำนาจวาสนา, สิ้นฤทธิ์, หมดเขี้ยวหมดงา สิ้นตำรา - จนปัญญา, หมดทาง, หมดฝีมือ สิ้นประตู - ไม่มีทาง สิบเบี้ยใกล้มือ - ของเล็กน้อยที่จะได้แน่ๆควรเอาไว้ก่อน สิบพ่อค้าไม่เท่าพระยาเลี้ยง - พ่อค้าหลายคนเลี้ยงก็สู้ขุนนางผู้ใหญ่คนเดียวเลี้ยงไม่ได้ สีซอให้ควายฟัง - สั่งสอนแนะนำคนโง่มักไม่ได้ผล เสียเวลาเปล่า สุกก่อนห่าม - ที่ทำสิ่งที่ยังไม่สมควรแก่วัยหรือยังไม่ถึงเวลา สุกเอาเผากิน - อาการที่ทำลวกๆ, อาการที่ทำพอเสร็จไปคราวๆหนึ่ง สุดเสียงสังข์ - ที่ผายออกมาก สู้ยิบตา - สู้จนถึงที่สุด, สู้ไม่ถอย สู้เหมือนหมาจนตรอก - ฮึดสู้เพราะไม่มีทางหนี สูงชั่วนกเขาเหิน, สูงเท่านกเขาเหิน - สูงระดับที่นกเขาบิน สูงเทียมเมฆ - สูงมาก สูงสุดสอย, สูงสุดเอื้อม - สูงเกินกว่าที่จะสอยหรือเอื้อมได้ สูงเสียดฟ้า - สูงมากจนเสมือนว่าจดฟ้า เส้นผมบังภูเขา - เรื่องง่ายๆแต่คิดไม่ออกเห็น เหมือนมีอะไรมาบังอยู่ เสน่ห์ปลายจวัก - เสน่ห์ที่เกิดจากฝีมือปรุงอาหารให้โอชารส เสาหลัก - บุคคลที่สังคมยอมรับนับถือว่าเป็นหลักของบ้านเมืองในด้านสติปัญญาหรือ ด้านวิทยาการต่างๆ เสียการเสียงาน - ทำให้งานที่มุ่งหวังไว้บกพร่องหรือเสียหาย เสียกำซ้ำกอบ - เสียน้อยแล้วยังต้องเสียมากอีก เสียกำได้กอบ, เสียกำแล้วได้กอบ - เสียน้อยไปก่อนแล้วจะได้มากในภายหลัง เสียงานเสียการ - ทำงานที่มุ่งหวังไว้บกพร่องหรือเสียหาย เสียทองเท่าหัวไม่ยอมเสียผัวให้ใคร - ไม่ยอมยกสามีให้หญิงอื่นแม้จะแลกกับทรัพย์สินเงินทองจำนวนมากก็ตาม เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย - เสียเพียงเล็กน้อนไม่ยอมเสีย ทำให้ต้องเสียมากกว่าเดิม เสียงเท่าฟ้าหน้าเท่ากลอง - เสียงอึกทึกครึกโครมแสดงว่ามีความสนุกสนานร่าเริงเต็มที่, เสียงดังมาก เสียจนท่า ข้าจนทาง - จำเป็นต้องยอมเพื่อเอาตัวรอด เสือซ่อนเล็บ - ผู้ที่มีความเก่งกล้าสามารถแต่ไม่ยอมแสดงออกมาให้ปรากฏ, ผู้มีเล่ห์กลอยู่ในใจ, ผู้เก็บความรู้สึกไว้ได้ดี เสือเฒ่าจำศีล, เสือเฒ่าเจ้าเล่ห์ - ชายสูงอายุที่มีท่าทีสงบเสงี่ยมน่านับถือแต่เจ้ามารยามีเล่ห์เหลี่ยมมาก เสือติดจั่น - อาการที่เดินงุ่นง่านไปมาเหมือนเสือที่ติดอยู่ในจั่นหับ เสือทลายห้าง ช้างทลายโรง - คนที่แสดงกิริยาเอะอะตึงตัง เสือนอนกิน - คนที่ได้รับผลประโยชน์หรือผลกำไรโดยไม่ต้องลงทุนลงแรง เสือในร่างสมัน - คนร้ายที่แฝงมาในร่างของคนดี เสือรู้ - คนที่มีไหวพริบหรือฉลาดรู้จักเอาตัวรอด เสือลากหาง - คนที่ทำท่าทีเป็นเซื่องซึม เป็นกลอุบายให้ผู้อื่นตายใจแล้วเข้าทำการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่ทันให้รู้ตัว, คนที่ทำท่าอย่างสือลากหาง เพื่อขู่ให้กลัว เสือสิ้นตวัก, เสือสิ้นตวัก สุนัขจนตรอก - คนที่ฮึดสู้อย่างไม่คิดชีวิต ใส่ถ้อยร้อยความ - ใส่ความ, พูดหาเหตุหาเรื่อง ใส่สาแหรกแขวนไว้ - เลี้ยงดูอย่างพะเน้าพะนอไม่ต้องให้ทำอะไร ใส่หน้ากาก, สวมหน้ากาก - แสดงทีท่าหรือกิริยาอาการที่มิได้เกิดจากนิสัยใจจริง, แสดงกิริยาท่าทีลวงให้เข้าใจผิด ใส่หน้ายักษ์, ตีหน้ายักษ์ - ทำหน้าถมึงทึงแสดงอาการเกรี้ยวกราด ดุดัน ไส้เป็นน้ำเหลือง - อดอยากยากแค้น, ไม่มีอะไรกิน ไส้เป็นหนอน, เกลือเป็นหนอน - ญาติมิตร สามีภรรยา บุตรธิดา เพื่อนร่วมงาน หรือคนในบ้าน คิดคดทรยศ หงายท้อง, หงายหลัง - ผิดไปจากที่คาดหวังไว้อย่างมาก หงายบาตร - สังฆกรรมที่คณะสงฆ์ประกาสยกโทษให้แก่คฤหัสถ์ที่เคยถูกประกาศคว่ำบาตรมาแล้ว ด้วยการยอมรับบิณฑบาตรเหมือนเดิม หงิมๆหยิบชิ้นปลามัน - ลักษณะของบุคคลที่มีท่าทางหงิมๆแต่ความจริงเป็นคนฉลาด มีวิธีเลือกเอาดีๆไปได้ หญิงสามผัว - ผู้หญิงที่มีสามีถึง ๓ คน,ใช้พูดตำหนิเหยียดหยามว่าเป็นหญิงไม่ดี หนอนบ่อนไส้ - ฝ่ายตรงข้ามที่เข้ามาทำทีเป็นพวกเพื่อบ่อนทำลาย หนักแผ่นดิน - ไม่รู้คุณของแผ่นดินที่อาศัย,ทรยศต่อบ้านเมืองของตน,เสนียดสังคม หนักไม่เอา เบาไม่สู้ - ไม่มีความอดทนที่จะทำการงาน หนังหน้าไฟ - ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนก่อนผู้อื่น หนังหุ้มกระดูก - เรียกลักษณะของคนหรือสัตว์ที่ผอมมากจนมองเห็นแนวโครงกระดูก หน้าซื่อใจคด - มีสีหน้าดูซื่อๆแต่มีนิสัยคดโกง หน้าสิ่วหน้าขวาน - อยู่ในระยะอันตรายเพราะอีกฝ่ายหนึ่งกำลังโกรธหรือมีเหตุการณ์วิกฤติ หน้าไหว้หลังหลอก, ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก - ต่อหน้าทำเป็นดี แต่พอลับหลังก็นินทาหรือหาทางทำร้าย หนามยอกอก - คนหรือเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกเหมือนมีอะไรมาทิ่มแทงอยู่ในอกตลอดเวลา หนามแหลมไม่มีใครเสี้ยม, มะนาวกลมเกลี้ยงไม่มีใครกลึง - คนที่มีปฏิภาณไหวพริบตามธรรมชาติโดยไม่ต้องมีใครสอน หนีร้อนมาพึ่งเย็น - หนีจากที่มีความเดือดร้อนมาอาศัยอยู่ในที่ที่มีความสงบสุข หนีเสือปะจระเข้ - หนีภัยอันตรายอย่างหนึ่ง แล้วต้องพบภัยอันตราย อีกอย่างหนึ่ง หนุ่มทั้งแท่งมากินแตงเถาตาย - หนุ่มบริสุทธิ์ได้แม่ม่ายอายุมากเป็นภรรยา หนูตกถังข้าวสาร, ตกถังข้าวสาร - ผู้ชายที่มีฐานะไม่ค่อยดีได้แต่งงานกับผู้หญิงที่รุ่มรวย หมดเขี้ยวหมดงา, หมดเขี้ยวหมดเล็บ - หมดอำนาจวาสนา, สิ้นฤทธิ์, สิ้นเขี้ยวสิ้นเล็บ หมดตำรา, สิ้นตำรา - จนปัญญา, หมดทาง, หมดฝีมือ หมากัดไม่เห่า - คนที่ต่อสู้หรือตอบโต้โดยไม่เตือนล่วงหน้า หมากัดอย่ากัดตอบ - อย่าลดตัวลงไปต่อสู้หรือต่อปากต่อคำกับคนพาลหรือคนที่มีศักดิ์ต่ำกว่า หมาขี้ไม่มีใครยกหาง - คนที่ชอบยกตัวเอง, คนโอ้อวด หมาขี้เรื้อน - คนที่น่ารังเกียจ ไม่ควรคบหาสมาคมด้วย หมาถูกน้ำร้อน - คนที่มีความเดือดร้อน กระวนกระวายวิ่งพล่านไปหาที่พึ่งต่างๆเปรียบเหมือนหมาที่ถูกน้ำร้อนลวก ร้องเสียงดังวิ่งพล่านไปด้วยความเจ็บปวดทุรนทุราย หมาในรางหญ้า, หมาหวงราง - คนที่หวงแหนสิ่งที่ตนเองกินหรือใช้ไม่ได้ แต่ไม่ยอมให้คนอื่นกินหรือใช้ หมาบ้าพาลกระแชง - คนที่อาละวาดพาลหาเรื่องทำให้วุ่นวายทั่วไปหมด หมาลอบกัด - คนที่ลอบทำร้ายหรือกลั่นแกล้งผู้อื่นลับหลัง หมาไล่เนื้อ - คนที่รับใช้ผู้อื่นเมื่อเวลายังทำประโยชน์ให้ได้ ผู้เป็นนายก็เมตตาเลียงดู แต่เมื่อทำประโยชน์ไม่ได้แล้ว ผู้เป็นนายก็ทอดทิ้งไม่ไยดีหรือหาเรื่องลงโทษขับไล่ไสส่ง หมาสองราง - คนที่ทำตัวเข้าด้วยทั้ง ๒ ฝ่าย หมาหยอกไก่ - เรียกอาการที่ชายหยอกล้อหญิงในทำนองชู้สาวเป็นทีเล่นทีจริง หมาหวงก้าง - คนที่หวงของที่ตนไม่มีสิทธิ์, คนที่กันท่าคนอื่นในสิ่งที่ตนใช้ประโยชน์แล้วหรือใช้ประโยชน์ไม่ได้ หมาหวงราง, หมาในรางหญ้า - คนที่หวงแหนสิ่งที่ตนเองกินหรือใช้ไม่ได้ แต่ไม่ยอมให้คนอื่นกินหรือใช้ หมาหัวเน่า - คนซึ่งเป็นที่รังเกียจของคนอื่นจนไม่สามารถเขากับใครได้, คนที่ไม่มีใครรักหรือคบหา หมาหางด้วน - คนที่ทำอะไรผิดพลาดจนได้รับความอับอายแล้วชวนให้ผู้อื่นทำตามโดยยกย่องการกระทำนั้นว่าดี ควรเอาอย่าง หมาเห็นข้าวเปลือก - คนที่อยากได้สิ่งที่เป็นประโยชนืหรืออำนวยความสุขสำราญให้แก่ตน แต่สุดความสามารถที่จะเอามาใช้หรืออำนวยประโยชน์ให้แก่ตนได้ หมาเห่าใบตองแห้ง - คนที่ชอบพูดเอะอะแสดงว่าเก่ง แต่ไม่กล้าจริง หมาเห่าไม่กัด - คนที่ดีแต่ส่งเสียงเอะอะอวดเก่ง แต่ไม่ยอมต่อสู้หรือตอบโต้ หมายน้ำบ่อหน้า - มุ่งหวังจะได้สิ่งที่ยังมาไม่ถึง หมายมั่นปั้นมือ - มุ่งมั่นจะเอาหรือจะเป็นให้ได้ หมูเขาจะหามเอาคานเข้าไปสอด - คนที่เข้าไปขัดขวางขณะที่ผู้อื่นทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งกำลังจะสำเร็จ หมูในเล้า - สิ่งที่อยู่ในเงื้อมมือ หมูในอวย - สิ่งที่อยู่ในกำมือ หมูไปไก่มา - ลักษณะของการถ้อยทีถ้อยอาศัยกันด้วยการให้สิ่งของแลกเปลี่ยนหรือตอบแทนซึ่งกันและกัน หยิกแกมหยอก - เหน็บแนมทีเล่นทีจริง หยิกเล็บเจ็บเนื้อ - เมื่อกระทำความเดือดร้อนให้แก่คนใกล้ชิดก็จะมีผลกระทบถึงตัวผุ้กระทำหรือคนในพวกเดียวกันด้วย หยิบมือเดียว - จำนวนน้อยมาก หลงใหลได้ปลื้ม - ตื่นเต้นยินดีเมื่อตนเองหรือผู้อื่นได้ดิบได้ดี หลังฉาก - ที่ไม่แสดงให้ปรากฏเปิดเผย หลังยาว, ขี้เกียจสันหลังยาว - เรียกคนเกียจคร้านเแต่นอนว่า ขี้เกียจหลังยาว smiley4 หัวข้อ: Re: สุภาษิต เริ่มหัวข้อโดย: sirirrin ที่ มีนาคม 12, 2009, 07:39:58 pm (http://dl3.glitter-graphics.net/pub/188/188953qx64u5cqr1.gif) ขอบคุณนะคะพี่ชา เยอะแยะเลย wav!! |