LM3914 ภาคปฏิบัติ................................
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
พฤษภาคม 12, 2024, 08:35:53 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: LM3914 ภาคปฏิบัติ................................  (อ่าน 19613 ครั้ง)
BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« เมื่อ: พฤษภาคม 14, 2007, 09:08:19 PM »

วงจรนี้ที่จริงผมเจอมาจากสนามบิน เครื่องบินบังคับ จริงๆแล้ววงจรเดิม มันหักอยู่เพราะเครื่องบินตก

แล้วเค้าทิ้งเลย ผมเลยรื้อเอาอุปกรณ์ออกมา แล้วมาลงแผ่นปริ้นท์ใหม่

อาการเสียที่ตรวจซ่อมง่ายๆคือ เสียบขั้วแบตแล้ว หลอด LED ไม่มีปฏิกิริยาใดๆ ซึ่งตัวเสียก็คือไอซี LM3914

แล้ววงจรที่ใช้ LM3914 ส่วนใหญ่ตัวเสียจะเป็นไอซีเท่านั้น แต่.....ไม่ต้องห่วงครับ ราคาไอซีตัวนี้ถูกมากๆ ไม่ถึง 10 บาท

และเพื่อเป็นการดี ควรใช้ Socket IC จะดีกว่าครับ จะได้เปลี่ยนตัวไอซีง่ายๆ


บันทึกการเข้า

BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 14, 2007, 09:14:43 PM »

รูป b2 ด้านบนให้หันด้านหลอด LED ทางเดียวกันทั้งหมด แล้วบัดกรีเฉพาะขา GND ทั้ง 6 ดวงเข้าด้วยกัน

รูป b3 ถอดไอซีตัวเสียออก แล้วใส่ Socket IC ลงไปแทน เพื่อความสะดวก

รูป b4 บัดกรีสายไฟจากตัวไอซีเข้ากับหลอด LED ทีละดวง
บันทึกการเข้า
BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 14, 2007, 09:19:45 PM »

รูปโดยรวมของวงจร Battery Checker...........
บันทึกการเข้า
BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 14, 2007, 09:25:41 PM »

ยึดวงจรด้วยกาวซิลิโคน วงจรมันพอดีกับกล่องเลยครับ...............................

>>>รายละเอียดเกี่ยวกับ LM3914 .PDF<<<
บันทึกการเข้า
EMOSECTION
Full Member
member
**

คะแนน20
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 453


เรียนให้รู้ ดูให้จำ ทำให้เป็น


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2007, 11:25:50 AM »

  Sad หลอด LED มันไล่เป็นสเตป หรือ เรียงกันไปกลับครับ  Roll Eyes
บันทึกการเข้า

สิ่งที่ดีที่สุด คือการให้ แต่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ คือการเห็นแก่ตัว
(ปัญหาทุกอย่าง มีทางแก้เสมอ อยู่ที่เราจะแก้มันด้วยวิธีใหน แต่สุดปัญญาทน สุดท้ายต้อง วิชามาร)
noi3535-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน565
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1706



อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2007, 11:54:34 AM »

  Sad หลอด LED มันไล่เป็นสเตป หรือ เรียงกันไปกลับครับ  Roll Eyes
    ลองดูก็ได้ครับ ว่ามันเปลี่ยน จากบาร์เป็น ดอท หรือป่าว ให้ลอยขา 9 ของไอซีออก แล้วดูว่ามันเป็นแบบอะไรอยู่ แล้วก็บัดกรีขา9ลงไปดูซิว่าเปลี่ยนไปหรือป่าว ตามหลักต้องเปลี่ยนทุกวงจรตั้งแต่เจอมาครับ Smiley Smiley
บันทึกการเข้า

884-200-9496      ชื่อบัญชี นายนพดล  รอดภัย
      ไทย พาณิชย์ สาขาย่อยบิ๊กซีเพชรบุรี       ออมทรัพย์
   086-3119516 -ทรูมูฟ  088-2356231-ดีแทค
   083-5565916-ดีแทค
m077531424
member
*

คะแนน4
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 433


อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2007, 05:37:57 PM »

ของผมคับพี่ๆ
ไม่มีกล้องคับถาพไม่ชัดโทดทีคับ
ว่างๆๆก็เล่นเครื่องบินคับผมใช้วัดไฟก่อนขึ้นบินสำหรับเครื่องบินน้ำมัน
บันทึกการเข้า
BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2007, 07:00:42 PM »

วงจรนี้เลย ที่ผมเจอที่สนามบิน สภาพวงจรแตกเพราะเครื่องบินตก ผมเลยขอเค้ามา เพราะเสียดาย

 Grin Grin Grin Grin
บันทึกการเข้า
BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2007, 07:16:30 PM »

................... ..... Lips Sealed Tongue
บันทึกการเข้า
Nimit( Un )
member
*

คะแนน442
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3479


« ตอบ #9 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2007, 07:39:46 PM »

 Sad  ถ้าเรานำวงจรไปขับกับหลอด LED ขนาดใหญ่  ประมาณ 10 mm.(ใช่หรือเปล่า ไม่แน่ใจที่ขนาด)  ต่อกันเลยได้รึเปล่า
(ท่าทางจะสวยดี)
ว่าแต่ว่า  เจ้า LED  ขนาดที่ว่ากินไฟเท่าไร  เหมือน 5 mm หรือเปล่า(ยังไม่เคยเอามาศึกษาซักที)
 Cheesy
บันทึกการเข้า
m077531424
member
*

คะแนน4
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 433


อีเมล์
« ตอบ #10 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2007, 07:47:18 PM »

ไม่ทราบว่างบเท่าไรคับในการทำคับเพราะตอนนั้นผมซื่อมาในราคา450บาทคับผมคิดว่าน้าจะแพงมากๆๆคับแต่ทำไม่เป็นเลยต้องใช้ตัวนี้ประมาณ2ปีคับ
บันทึกการเข้า
BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« ตอบ #11 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2007, 07:51:47 PM »

ที่เห็นๆอยู่ มี 3 ขนาดนะครับ

ขนาดเล็ก 3 mm.
ขนาดกลาง 5 mm.
ขนาดใหญ่เท่าหลอดไฟฉาย 10 mm.

ส่วนเรื่องการกินกระแส ผมไม่แน่ใจเช่นกันครับ...................รู้แต่ว่า สีแต่ละสีก็กินไฟไม่เท่ากัน ถึงขนาดจะเท่ากันก็ตาม
บันทึกการเข้า
BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« ตอบ #12 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2007, 07:58:28 PM »

ไม่ทราบว่างบเท่าไรคับในการทำคับเพราะตอนนั้นผมซื่อมาในราคา450บาทคับผมคิดว่าน้าจะแพงมากๆๆคับแต่ทำไม่เป็นเลยต้องใช้ตัวนี้ประมาณ2ปีคับ

โถ่...ท่าน ทำเอง ไม่เกิน 50 บาท ................... ........... Grin Grin Grin Grin
บันทึกการเข้า
BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« ตอบ #13 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2007, 08:04:02 PM »

แรงดันตกคร่อม LED ขณะทำงานโดยปรกติ 1-2 V 15 mA
- ที่แรงดัน 12 V R=E/I
R= (12V-2V)/15mA
= 666.66 โอมห์ หรือหาค่าที่ท้องตลาดมีขาย
w= VR*IR =10V*15mA =0.15W
...ใช้ R= 666 โอมห์ 0.5 W(เผื่อค่า Safety Factor)

- ที่แรงดัน 6 V R=E/I
R= (6V-2V)/15mA
= 266.66 โอมห์
W= VR*IR =4*15mA =0.06W
...ใช้ R= 266.66โอมห์ 1/4W (เผื่อค่าSafety Factor)
บันทึกการเข้า
m077531424
member
*

คะแนน4
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 433


อีเมล์
« ตอบ #14 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2007, 08:08:17 PM »

ขอนอกเรื่องนิดนึงคับ
การทำPCBแบบ Spray นัฐพงษ์ Kontact 20 Spray Positive กระป๋องเล็ก 300 กว่าบาท
ไม่ทราบว่ามีใครเคยใช้บ้างคับแล้วคุณภาพเป็นยังไงคับ
บันทึกการเข้า
BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« ตอบ #15 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2007, 08:12:12 PM »

LED ย่อจาก  Light  emiiting diodes  มีให้เห็นได้ทั่วไปในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  บางครั้งคุณเห็นได้ในนาฬิกาดิจิตอล  

รีโมทคอนโทล  หน้าปัดอุปกรณ์ไฟฟ้า โทรทัศน์จัมโบ้   หรือแม้แต่ไฟจราจรตามสี่แยกเป็นต้น

ที่จริงแล้วหลอด  LED  คือหลอดไฟขนาดเล็ก  แต่มีหลักการทำงานแตกต่างจากหลอดไฟมีไส้  เพราะว่าไม่มีการเผาไส้หลอด  ด้ง

นั้น หลอด  LED  จึงไม่เกิดความร้อน  แสงสว่างเกิดขึ้นจากการเคลื่อนของอิเล็กตรอนภายในสารกึ่งตัวนำ  ซึ่งเป็นวัสดุแบบเดียวกับ

ที่ใช้ในการทำทรานซิสเตอร์

ส่วนใหญ่หลอด  LED  ใช้สาร  อลูมิเนียมกัลเลียม อาร์เซไนล์  ( alumnium-gallium-arsenide ) ย่อเป็น  AlGaAs  

เป็นสารกึ่งตัวนำ ถ้ายังไม่ได้ใส่สารเจือปน  พันธะในอะตอมจะเกาะกันอย่างแข็งแรง  ไม่มีอิเล็กตรอนอิสระ  (  ประจุไฟฟ้าลบ)

หรือมีอยู่น้อย  

ดังนั้นมันจึงไม่ค่อยจะนำกระแส   แต่เมื่อทำการโดป  โดยการเติมสารเจือปน  ทำให้ความสมดุลของวัสดุเปลี่ยนไป  

      เมื่อเราใส่สารเจือปนแล้วทำให้อิเล็กตรอนอิสระในสารกึ่งตัวนำเพิ่มขึ้น   เรียกว่าสารประกอบชนิด  N    ส่วนสารกึ่งตัวนำที่ใส่

สารเจือปนแล้ว มีประจุไฟฟ้าบวกหรือมีหลุมและ โฮลเพิ่มขึ้น   เรียกว่าสารประกอบชนิด  P    โฮล (hole) ในภาษาอังกฤษมีความ

หมายว่าหลุม  โดยเปรียบอิเล็กตรอนอิสระได้กับลูกหิน และปรจุบวกเป็นหลุมหรือโฮล ที่ลูกหินจะไหลมาตกนั่นเอง

      ไดโอดเกิดจากการนำสารกึ่งตัวนำชนิด  N  ติดเข้ากับสารกึ่งตัวนำชนิด  P   เชื่อมสายไฟเข้ากับขั้วไฟฟ้าทั้งสอง    เมื่อยังไม่มี

การให้แรงดันไฟฟ้า  อิเล็กตรอนอิสระจาก  N  จะเคลื่อนที่ข้ามรอยต่อไปที่ P   เกิดโซนดีพลีชั่น (depletion)  ขึ้น  โซนนี้เปรียบ

เทียบได้กับกำแพงป้องกันการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน ถ้าโซนนี้มีขนาดใหญ่ขึ้น การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนอิสระจะยากขึ้น  

และอาจทำให้อิเล็กตรอนหยุดการเคลื่อนที่ได้  อย่างไรก็ตามถ้าควบคุมให้โซนนี้เล็กลง การเคลื่อนที่ก็จะง่ายขึ้น  

อิเล็กตรอนอิสระจาก  N  เคลื่อนที่ข้ามรอยต่อไปลงหลุมที่ P   ทำให้เกิดโซนดีพลีชั่น เป็นฉนวนกั้นการไหลของอิเล็กตรอน

บันทึกการเข้า
BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« ตอบ #16 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2007, 08:15:15 PM »

เพื่อจะทำให้อิเล็กตรอนสามารถเคลื่อนที่ผ่านโซนนี้ได้ง่ายขึ้น  เราต้องทำให้โซนนี้แคบลง  โดยการต่อขั้ว  N 

ของไดโอดเข้ากับขั้วลบของแบตเตอรี่   และขั้วบวกเข้ากับขั้ว P   ทำให้อิเล็กตรอนอิสระใน N ถูกดันด้วยแรงดันทางไฟฟ้า 

ส่วนโฮลขั้ว P  จะถูกดันด้วยแรงทางไฟฟ้าเช่นเดียวกัน    ถ้าเราให้แรงดันทางไฟฟ้ามากพอ โซนนี้จะแคบจนหายไป 

และอิเล็กตรอนอิสระสามารถเคลื่อนที่ผ่านรอยต่อได้อย่างง่ายดาย  เหมือนกับไม่มีแรงเสียดทาน หรือความต้านทาน

เมื่อต่อขั้วลบของแบตเข้ากับ N  และขั้วบวกเข้ากับ P  ทำให้อิเล็กตรอนอิสระสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ 

เหมือนกับไม่มีความต้านทาน

บันทึกการเข้า
BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« ตอบ #17 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2007, 08:19:44 PM »

ในทางกลับกัน  ถ้าคุณต่อขั้วลบเข้ากับ P  และขั้วบวกเข้ากับ N   การไหลของอิเล็กตรอนจะเป็นไปได้ยาก

เพราะการเคลื่อนที่เป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม  โซนดีพลีชั่นจะหนาขึ้น  เป็นกำแพงกั้นการไหลของกระแสไฟฟ้า


เมื่อต่อขั้วบวกของแบตเข้ากับ N  และขั้วลบเข้ากับ P โซนดีพลีชั่นมีขนาดกว้างขึ้น   อิเล็กตรอนและโฮลไม่สามารถเคลื่อนที่

ได้อย่างอิสระ


ขอบคุณ >>>ฟิสิกส์ราชมงคล<<< สำหรับข้อมูลมาเผยแพร่เพื่อน พี่ๆมากครับ
บันทึกการเข้า
BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« ตอบ #18 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2007, 08:27:38 PM »

ไดโอดให้แสงได้อย่างไร

     แสงเกิดขึ้นจากพลังงานที่ปลดปล่อยจากอะตอม   แสงเป็นโฟตรอนที่มีพลังงานและโมเมนตัม  ดังนั้นจึงเป็นอนุภาคชนิดหนึ่ง 

แต่ว่าน่าแปลกที่นักวิทยาศาสตร์บอกว่าไม่มีมวล

      ภายในอะตอม อิเล็กตรอนโคจรรอบนิวเคลียส  และมีวงโคจรหลายวง  แต่ละวงมีพลังงานแตกต่างกัน   

วงนอกมีพลังงานมากกว่าวงใน  ถ้าอะตอมได้รับพลังงานจากภายนอก  อิเล็กตรอนจะกระโดดจากวงโคจรในออกสู่วงโคจรนอก 

ในทางกลับกัน   ถ้าอิเล็กตรอนกระโดดจากวงโคจรนอกเข้าสู่วงโคจรใน  มันจะปลดปล่อยพลังงานออกมา 

และพลังงานนี้ก็คือแสงนั้นเอง

     ขณะที่อิเล็กตรอนเคลื่อนที่ผ่านรอยต่อไปที่โฮลของสาร  P  อิเล็กตรอนจะตกจากวงโคจรสูง หรือแถบนำไฟฟ้า 

ไปสู่วงโคจรต่ำหรือแถบวาเลนซ์    มันจะปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปของโฟตรอน   ปรากฎการณ์นี้เกิดขึ้นกับไดโอดทุกชนิด   

แต่คุณสามารถเห็นแสงได้ก็ต่อเมื่อ  ความถี่ของพลังงานอยู่ในช่วงความถี่ที่ตามองเห็นได้   ดังเช่นไดโอดที่ทำจากซิลิคอน 

ซึ่งมีช่วงของแถบพลังงานแคบ  ทำให้ได้โฟตรอนความถี่ต่ำ  เป็นความถี่ที่ตามองเห็นได้  อย่างไรก็ตาม

ความถี่ที่ตามองไม่เห็นก็มีประโยชน์ไม่น้อย ยกตัวอย่างเช่น  ช่วงอินฟาเรด สามารถนำไปใช้ในเครื่องควบคุมระยะไกล

หรือรีโมทคอนโทรล เป็นต้น

visible  light-emitting  dioded (VLEDS) หรือหลอด LED  ที่ให้กำเนิดแสงในช่วงที่ตามองเห็น   

บันทึกการเข้า
BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« ตอบ #19 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2007, 08:29:36 PM »

เมื่อไดโอดให้แสงออกมาแล้ว  ถ้าเราไม่ควบคุมทิศทาง แสงจะกระจัดกระจาย  และวิ่งออกมาอย่างไม่เป็นระเบียบ 

ทำให้ความเข้มของแสงน้อยลง ดังนั้นในหลอด LED  เราจะใช้พลาสติกหุ้ม  และเอียงให้แสงสามารถสะท้อนออกไปยัง

ตำแหน่งที่ต้องการได้

ข้อได้เปรียบ

    หลอด LED  ได้เปรียบหลอดมีไส้  อย่างแรกคือ   มันไม่ต้องใช้การเผาไหม้ของไส้หลอด  จึงมีอายุใช้งานนานกว่า   

การใช้พลาสติกหุ้มช่วยให้มีความทนทาน  และง่ายต่อการประกอบลงในแผ่นวงจรไฟฟ้า

    ข้อได้เปรียบสูงสุดคือ ประสิทธิภาพที่สูง  ในหลอดมีไส้  แสงที่ได้ออกมาเกิดจากการเผาไส้หลอดให้ร้อนจนแดง 

แน่นอนพลังงานที่สูญเสียจากการเผาไหม้นั้นมากมาย ส่วนหลอด  LED   แทบไม่มีความร้อนเกิดขึ้นออกมาเลย   

พลังงานส่วนใหญ่เปลี่ยนไปเป็นแสงทั้งหมด

    แต่ก่อนหลอด LED  มีราคาสูงมาก  ปัจจุบันราคาตกลงมาจนเหลือราคาต่ออันไม่กี่บาท 

ทำให้เราสามารถประยุกต์หลอด LED  ไปใช้งานได้อย่างมากมายและหลากหลาย  ในอนาคตมันจะเป็นสิ่งที่จำเป็น

สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ขาดเสียไม่ได้

ควบคุมทิศทางของแสงในหลอด LED



บันทึกการเข้า
Nimit( Un )
member
*

คะแนน442
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3479


« ตอบ #20 เมื่อ: พฤษภาคม 16, 2007, 07:13:31 AM »

 Winkขอบคุณน้อง BENQ  มากที่นำข้อมูลมาความรู้ Wink
 Cheesy Cheesy
บันทึกการเข้า
worathep-LSV team
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน712
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5066


รุ่งเรืองอิเล็กทรอนิกส์


อีเมล์
« ตอบ #21 เมื่อ: พฤษภาคม 16, 2007, 09:05:33 AM »

บางทีเรารู้ทฤษฎีไว้บ้าง ก็จะช่วยงานซ่อมเราง่ายขึ้นเยอะเลยนะครับ
ขอบคุณน้อง เบนซ์ มากครับ  Smiley Cheesy Cheesy Smiley
บันทึกการเข้า

รับซ่อม TV-computer                    มี TV มือสองขาย  
รับสอนซ่อม-ประกอบคอมพิวเตอร์      มีจอมอนิเตอร์มือสองขาย
ซ่อม อัพเกรด ประกอบคอมฯ             มีคอมพิวเตอร์มือสองขาย
รับติดตั้ง วางระบบแลน อินเตอร์เน็ต
ราคาคุยกันได้ โทร 02-6934724
pramas intapibul
member
*

คะแนน3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 84


อีเมล์
« ตอบ #22 เมื่อ: พฤษภาคม 16, 2007, 09:33:29 AM »

ท่านBenQ  (แล้ววงจรที่ใช้ LM3914 ส่วนใหญ่ตัวเสียจะเป็นไอซีเท่านั้น แต่.....ไม่ต้องห่วงครับ ราคาไอซีตัวนี้ถูกมากๆ ไม่ถึง 10 บาท)  ท่านได้จากร้านใดครับ  จะได้ไปหาบ้างครับ  ขอบคุณมากครับ
บันทึกการเข้า
BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« ตอบ #23 เมื่อ: พฤษภาคม 16, 2007, 06:25:54 PM »

ร้านนัฐพงศ์ เชลล์แอนด์ เซอร์วิส ครับ............................. Tongue
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!