แอร์ Wall Type Mitsubushi Econo 9,000 BTU ปี 2010
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
พฤษภาคม 15, 2024, 02:02:22 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: แอร์ Wall Type Mitsubushi Econo 9,000 BTU ปี 2010  (อ่าน 17611 ครั้ง)
Experience
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 23


« เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2010, 09:54:41 AM »

1.การใช้ Potential Relay เบอร์ 3ARR3A3A เบอร์ 3ARR3A4A ใช้กับแอร์ขนาดกี่ BTU ครับ?
2.Capacitor-Star 88-108 ไมโครฟารัล 220 โวลล์ 88-108 ไมโครฟารัล 330 โวลล์ ใช้ต่างกันอย่าง ไรแทนกันได้ไหมครับ?
3.แอร์มิตซูบิชิ อีโคโน Wall Type  thank29000 BTU ต่อเพิ่มเป็นวงจร CSR ได้ไหมครับ?
 ขอบคุณ


บันทึกการเข้า

b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3004


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2010, 06:55:22 PM »

โพเทนเชี่ยนรีเลย์คงต้องดูเองมันมีมากหลายเบอร์
http://www.kulthorn.co.th/product/air_refrige/others/Brand/relay/
แคปสตาร์ทต่างโวล์ท ขึ้นอยู่กับแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ใช้งาน ถ้าเอาแรงเคลื่อนต่ำกว่าที่
ใช้งานไม่ทน ส่วนค่าUF ใช้ไม่คงที่เพราะสตาร์ทมอเตอร์ไม่จำเป็นต้องใช้ค่าตายตัว
ข้อ3ไม่เข้าใจ ในเมื่อคอมเพรสเซ่อร์ก็ต่อเป็นแบบ CSR อยู่แล้ว จะเอาอะไรไปเพิ่ม?
บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ
Experience
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 23


« ตอบ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2010, 09:52:47 AM »

ขอบคุณครับพี่ b.chaiyasith
ข้อ3 พิมพ์ผิดครับ ขอแนะนำด้วยครับ
จะถามว่าแอร์มิตซู ขนาด 9000 Btu ECONO จะต่อเพิ่มให้เป็นวงจร CSR ได้ไหมครับ?
และอุปกรณ์ที่ใช้ต่อ potential + Capacitor-Star ต้องใช้ขนาดเท่าไรครับ
บันทึกการเข้า
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3004


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2010, 10:18:22 AM »

ต่อใช้โพเทนเชี่ยนรีเลยได้ถ้าคอมพ์สตาร์ทออกตัวยาก
-ใช้แคปรันตัวเดิม
-แคปสตาร์ท 46-108Uf
-โพเทนเชี่ยนรีเลย ขนาด 3/4แรงม้าA3 ก็ใช้ได้
โดยทั่วไปโรตารี่ไม่ใช้ Cheesy
บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ
Experience
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 23


« ตอบ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2010, 11:15:09 AM »

ขอบคุณครับ พี่b.chaiyasith
บันทึกการเข้า
Experience
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 23


« ตอบ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2010, 12:11:25 PM »

ถามต่อครับ พี่ b.chaiyasith 
วิธีการเช็ค potential relay เสียหรือไม่เช็คอย่างไรครับ

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
hs5gui
member
*

คะแนน10
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 51


« ตอบ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2010, 04:00:32 PM »

       PSC Motor เป็นมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ชนิด Permanent Split Capacitor ซึ่งจะใช้งานกับสภาวะความดันน้ำยาสมดุลย์เท่านั้นเช่น ตู้เย็น ตู้น้ำดื่ม และแอร์บ้าน  อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ชนิดนี้คือ Overload และ Run Capacitor
       CSCR หรือ CSR Motor เป็นมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ชนิด Capacitor Start And Capacitor Run ซึ่งจะต่างจากแบบ CSIR ตรงที่มี Run Capacitor เพิ่มเข้ามาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของมอเตอร์ให้สูงขึ้นทำให้กินไฟน้อยลง นิยมใช้งานกับสภาวะความดันน้ำยาไม่สมดุลย์ เช่น ตู้แช่ชนิดต่างๆ และส่วนมากจะมีแรงม้าไม่เกิน 3 Hp. อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ชนิดนี้คือ Overload และ Current relay, Start Capacitor, Run Capacitor หรือ Potential relay, Start capacitor และ Run Capacitor หรือ PTC Relay, Start Capacitor และ Run Capacitor
บันทึกการเข้า
hs5gui
member
*

คะแนน10
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 51


« ตอบ #7 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2010, 04:02:00 PM »

•   อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับมอเตอร์คอมเพรสเซอร์
1. คาปาซิเตอร์ (CAPACITOR)  มีใช้อยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ
1.1 Run Capacitor ปกติแล้วจะต่อคร่อมอยู่ระหว่างขดลวดสตาร์ทกับขดลวดเมนซึ่งประโยชน์ที่คอมเพรสเซอร์จะได้รับจากการที่ใช้ Run Capacitor คือทำให้ประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น กินไฟน้อยลง , Power Factor สูงขึ้น และลดการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า เป็นต้น
วิธีสังเกตุ Run Capacitor
- ตัวถัง (Case) จะปิดสนิทเป็นเนื้อเดียวกัน อาจมีทั้งที่เป็นเหล็กหรือพลาสติก
- ค่าของประจุ (Capacitance) จะมีค่าไม่สูง เช่น 2,3,4… จนถึง 60 MFD และมีค่าพิกัดแรงดันใช้งาน (Rate Voltage) สูงเพราะต้องต่ออยู่ตลอดเวลาขณะที่คอมเพรสเซอร์ทำงาน ตัวอย่างเช่น ขนาด 15 MFD 440 VAC, 50 MFD 370 VAC เป็นต้น สำหรับค่า 440 VAC และ 370 VAC ที่เห็นคือค่าของแรงเคลื่อนไฟฟ้า ในขณะที่มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ทำงานซึ่งขึ้นอยู่กับการออกแบบมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ ขนาดของ Run Capacitor บริษัทผู้ผลิตคอมเพรสเซอร์จะเป็นผู้กำหนด
ข้อควรระวัง
1.   ถ้าต้องมีการเปลี่ยน Run Capacitor ใหม่ควรใช้ค่าเท่าเดิมตามที่บริษัทผู้ผลิตกำหนดมา แต่ถ้าหาค่าเดิมไม่ได้จริงๆ ก็ให้ใช้ค่าดังข้อกำหนดต่อไปนี้
ค่า Capacitance ที่พิกัด   เพิ่มค่า Capacitance ได้ไม่เกิน
10 ถึง 20 MFD   + 2.5 MFD
20 ถึง 50 MFD   + 5   MFD
มากกว่า 50 MFD   + 10 MFD
บันทึกการเข้า
hs5gui
member
*

คะแนน10
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 51


« ตอบ #8 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2010, 04:03:08 PM »

2. ไม่ควรนำ Start Capacitor มาใช้แทน Run Capacitor  ถึงแม้จะมีค่า MFD เท่ากันก็ตาม เพราะจะทำให้เกิดการระเบิดได้ เนื่องจาก Start Capacitor ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น
3. สำหรับค่าพิกัดแรงดัน (Rate Voltage) ของ Run Capacitor ก็ควรจะใช้ค่าเดิม หรือต้องให้มากกว่าเดิมแต่ถ้าไม่รู้ค่าพิกัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าของตัวเดิมก็ให้ใช้ค่า 370 VAC ที่แรงเคลื่อนไฟฟ้าใช้งานของคอมเพรสเซอร์ 115 VAC และใช้ค่า 440 VAC ที่แรงเคลื่อนไฟฟ้าใช้งานของคอมเพรสเซอร์ 220-240 VAC
4. ถ้าหากใช้ Run Capacitor ที่มีค่า Capacitance (MFD) สูงหรือต่ำเกินไปจะทำให้
- Compressor กินกระแสไฟฟ้าสูงขึ้นและกำลังงานสูญเสียเพิ่มมากขึ้นซึ่งจะทำให้เราต้องเสียค่าไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น
- สมรรถนะของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์จะลดลง  เช่น  แรงบิดจะต่ำลงเมื่อใช้  Run Capacitor  มีค่าต่ำกว่าที่   กำหนดเป็นผลทำให้ประสิทธิภาพการสตาร์ทออกตัวของมอเตอร์ต่ำลงด้วย
- ค่า Power Factor จะต่ำลงเมื่อใช้ค่า MFD ต่ำ ทำให้มอเตอร์กินกระแสไฟฟ้าสูงขึ้น
บันทึกการเข้า
hs5gui
member
*

คะแนน10
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 51


« ตอบ #9 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2010, 04:04:05 PM »

Start Capacitor ปกติแล้วจะต่ออนุกรมอยู่กับหน้าสัมผัสของ Relay และขดลวดสตาร์ท หน้าที่โดยตรง คือ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสตาร์ทออกตัวให้กับคอมเพรสเซอร์ เช่น สามารถออกตัวได้ดีที่แรงเคลื่อนไฟฟ้าต่ำที่มีโหลดสูง หรือในสภาวะความดันน้ำยาด้านสูงและด้านต่ำไม่เท่ากัน โดย Start Capacitor จะทำงานพร้อมกับขดสตาร์ท และจะถูกตัดออกจากวงจรด้วย Relay ทันทีเมื่อมอเตอร์สามารถออกตัวได้ หรือเมื่อความเร็วรอบได้ประมาณ 75% ของความเร็วรอบของมอเตอร์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สั้นมากๆ ส่วน Bleeder Resistor หรือตัวความต้านทานจะต่อคร่อมระหว่างขั้วของ Start Capacitor ซึ่งจะทำหน้าที่คายประจุออกจากตัว Capacitor เพื่อป้องกันไม่ให้มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าตกค้างอยู่ที่ตัวของ Capacitor จะมีค่าความต้านทานประมาณ 15000 Ohms 2 Watt  +/- 20%
วิธีสังเกตุ Start Capacitor
- ตัวถัง (Case) ส่วนมากจะเป็นพลาสติกบางบริษัทจะทำช่องรูไว้ ที่บริเวณใกล้ขั้วของ Capacitor เมื่อเวลา Capacitor ทำงานผิดปกติหรือระเบิดสารอิเลคโตรไลท์ หรือน้ำมันก็จะได้พุ่งออกตามช่องรูที่กำหนดเพื่อความปลอดภัย
- ค่าของ Start Capacitor จะมีค่าสูง เช่น 43-63  MFD ซึ่งจะบอกค่าความจุเป็นค่าต่ำสุดและสูงสุดของการใช้งาน
- ค่าพิกัดแรงดันใช้งาน (Rate Voltage) ต่ำกว่า Run Capacitor เช่น 250 VAC, 330 VAC โดยใช้กับแรงเคลื่อนไฟฟ้าใช้งานของ Compressor ที่ไม่เกิน 130 VAC และ 240 VAC ตามลำดับ
บันทึกการเข้า
hs5gui
member
*

คะแนน10
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 51


« ตอบ #10 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2010, 04:04:52 PM »

ข้อควรระวัง
1. ถ้ามีการเปลี่ยน Start Capacitor ใหม่ควรใช้ค่าความจุ (MFD) และพิกัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าใช้งานเท่าเดิมตามที่บริษัทผู้ผลิตกำหนดมา
2. ถ้าหากใช้ Start Capacitor ที่มีค่า MFD สูงไปจะทำให้ กระแสไหลเข้าขดลวดสตาร์ทสูง และไหลผ่านหน้าสัมผัสของ Relay ด้วยซึ่งอาจทำให้หน้าสัมผัส (Contact) สึกหรอไวขึ้นหรืออาจเชื่อมติดกันอันจะเป็นผลทำให้ Start Capacitor ระเบิดได้เพราะจะต่อวงจร Start capacitor ตลอดเวลา หรือทำให้คอมเพรสเซอร์กินกระแสสูงขณะออกตัวจนทำให้ Overload ตัดวงจร
3. ถ้าหากใช้ Start Capacitor ที่มีค่า MFD ต่ำเกินไปจะทำให้ประสิทธิภาพการสตาร์ทออกตัวของคอมเพรสเซอร์ด้อยลงไปเนื่องจากกระแสที่ไหลเข้าขดลวดสตาร์ทลดลงทำให้สนามแม่เหล็ก (Magnetic Field) ที่ใช้เหนี่ยวนำโรเตอร์ลดลงตามจึงอาจทำให้คอมเพรสเซอร์ไม่สามารถสตาร์ทออกตัวออกได้
การตรวจเช็ค Capacitor ในการตรวจเช็คค่า Capacitance ของ Capacitor เราอาจจะใช้ Digital Multimeter รุ่นที่วัดค่าออกมาเป็น MFD ได้เลย หรือถ้าไม่มีก็ให้ใช้การตรวจสอบโดยใช้ Multimeter แบบเข็มแทนก็ได้เพียงแต่สามารถเช็คได้ว่าดีหรือเสียเท่านั้นไม่สามารถอ่านออกมาเป็นค่า MFD ได้

วิธีการตรวจสอบ โดยใช้ Multimeter แบบเข็ม
การตรวจวัด Run capacitor
-   ตั้ง Range ของมิเตอร์ที่สเกล R X 10000 โอห์ม หรือ R x 10K โอห์ม
-   นำสายของมิเตอร์มาวัดคร่อมที่ขั้วของ Run Capacitor
-   เข็มของมิเตอร์จะขึ้นอย่างรวดเร็วจนสุดสเกลวัด และจะค่อยๆ ลดลงจนถึง
            ค่าอินฟินิตี้ () ของสเกลโอห์ม แสดงว่า Run capacitor สามารถใช้งานได้
-   ถ้าเข็มของมิเตอร์ขึ้นแล้วค้างแสดงว่า Run capacitor ลัดวงจร (Short)
-   ถ้าเข็มของมิเตอร์ขึ้นแล้วลงไม่สุดถึงค่าอินฟินิตี้ () ของสเกลโอห์มแสดงว่า ค่าของ Capacitor เกิดการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้า
-   ถ้าเข็มของมิเตอร์ไม่ขึ้นแสดงว่า ขั้วต่อภายในของ Capacitor ขาด
การตรวจวัด Start capacitor
-   ก่อนทำการตรวจสอบถ้ามีขั้ว Bleeder Resistor ต่อคร่อมระหว่างขั้วของ Capacitor อยู่ให้ปลดตัวต้านทานออก 1 ข้าง
-   ตั้ง Range ของมิเตอร์ที่สเกล R X 10000 โอห์ม หรือ R x 10K โอห์ม
-   วัดคร่อมที่ขั้วของ Start capacitor ที่ต้องการตรวจสอบ
-   เข็มของมิเตอร์จะขึ้นอย่างรวดเร็วจนสุดสเกลวัด และจะค่อยๆ ลดลงจนถึงค่าอินฟินิตี้ () ของสเกลโอห์มแสดงว่า Start capacitor สามารถใช้งานได้
-   ถ้าเข็มของมิเตอร์ขึ้นแล้วค้างแสดงว่า Start capacitor ลัดวงจร (Short)
-   ถ้าเข็มของมิเตอร์ขึ้นแล้วลงไม่สุดถึงค่าอินฟินิตี้ () ของสเกลโอห์มแสดงว่าค่าของ Capacitor เกิดการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้า
-   ถ้าเข็มของมิเตอร์ไม่ขึ้นแสดงว่าขั้วต่อภายในของ Start capacitor ขาด
ข้อควรระวัง : ก่อนทำการวัดค่าทุกครั้งจะต้องทำการคลายประจุที่ค้างใน Capacitor ออกเสียก่อน โดยใช้สายไฟฟ้าหรือสายมิเตอร์มาต่อคร่อมขั้วทั้งสองของ Capacitor (Short circuit) ก่อนจึงจะทำการวัด ถ้าไม่คลายประจุของ Capacitor ออก จะทำให้เข็มของมิเตอร์ขึ้นเป็น 2–3 เท่าของการวัดครั้งแรกจึงไม่นิยมวัดด้วยวิธีนี้หรือถ้าไม่คลายประจุที่ Capacitor ก็ให้สลับสายของมิเตอร์ที่ทำการวัดได้เช่นกัน โดยเปลี่ยนจากขั้วลบมาเป็นขั้วบวกหรือเปลี่ยนจากขั้วบวกมาเป็นลบที่ Multimeter
บันทึกการเข้า
hs5gui
member
*

คะแนน10
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 51


« ตอบ #11 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2010, 04:05:58 PM »

รีเลย์ช่วยหมุน (Starting relays)
หน้าที่หลักของรีเลย์ช่วยหมุนคือ ตัดไฟฟ้าที่จ่ายให้กับขดลวดช่วยหมุน (Auxilary winding) หรือตัดไฟฟ้าเข้าตัว Start Capacitor  ออกจากวงจรเมื่อความเร็วรอบของมอเตอร์สูงประมาณ 75% ของความเร็วรอบที่ใช้งานปกติ Relay ที่ใช้กับมอเตอร์คอมเพรสเซอร์แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ที่นิยมใช้กับตู้เย็น ตู่แช่ และตู้น้ำเย็น
2.1 รีเลย์ที่ใช้กระแสไฟฟ้าควบคุมการทำงานหรือที่เราเรียกว่า Current relay หรือรีเลย์ช่วยหมุน อาศัยหลักการทำงานของแม่เหล็กไฟฟ้ามักจะใช้กับมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ขนาดไม่เกิน ½ Hp โดยใช้หลักการของกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวด Main ของมอเตอร์มาสร้างอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าให้กับรีเลย์ โดยที่ขดลวดของรีเลย์จะต่ออนุกรม (Series) เข้ากับขดลวด Main winding ของมอเตอร์ ด้วยเหตุนี้ขดลวด Current coil ของ Relay จะต้องโตมากพอที่จะทนกระไฟฟ้าเมื่อมอเตอร์คอมเพรสเซอร์มีโหลด
รีเลย์แบบนี้เป็นแบบที่ต้องติดตั้งตามที่ผู้ผลิตมอเตอร์คอมเพรสเซอร์เป็นผู้กำหนดมาให้เท่านั้น การติดตั้งจะติดตั้งในแนวดิ่งให้หน้าสัมผัส (Contact) ด้านล่างที่ติดอยู่กับแกนเหล็กถ่วงลงทำให้หน้าสัมผัส (Contact) อยู่ในลักษณะปกติเปิด (No) ตลอดเวลาขณะที่ Relay ยังไม่ทำงาน
เมื่อเริ่มทำงาน ขณะมอเตอร์ต่อวงจรกระแสจะไหลผ่านขดลวดของรีเลย์ปริมาณค่อนข้างสูง เพราะมอเตอร์ยังไม่เริ่มหมุน เท่ากับกระแส Lock rotor ของมอเตอร์ทำให้เกิดอำนาจแม่เหล็กที่ขดลวดของรีเลย์มาก และจะดึงแกนของหน้าสัมผัส (Contact) ด้านล่างให้มาติดกับหน้าที่สัมผัส (Contact) ด้านบนต่อเข้ากับขดลวด Auxilary ทำให้มอเตอร์เริ่มหมุนจนกระทั่งความเร็วรอบของมอเตอร์สูงถึง 75% ของความเร็วรอบใช้งานปกติ กระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้าขดลวด Main ของมอเตอร์จะลดความเข้มของอำนาจแม่เหล็กลงทำให้หน้าสัมผัส (Contact) ด้านล่างตกลง และตัดกระแสไฟฟ้าที่เข้าขดลวดช่วยหมุน (Auxilary winding) สำหรับมอเตอร์คอมเพรสเซอร์แบบ RSIR เมื่อการสตาทส์ออกตัวของมอเตอร์เป็นไปตามขั้นตอนการทำงานตามชนิดของมอเตอร์สิ้นสุดลง มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ก็จะทำงานเป็นปกติ
บันทึกการเข้า
hs5gui
member
*

คะแนน10
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 51


« ตอบ #12 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2010, 04:07:12 PM »

การเลือกขนาดของรีเลย์ที่ใช้กระแสไฟฟ้าควบคุมจะต้องให้เหมาะสมกับขนาดแรงม้าของมอเตอร์ เพราะถ้าเลือกใช้ขนาดของรีเลย์ใหญ่เกินไป จะทำให้อำนาจแม่เหล็กที่เกิดขึ้นไม่มากพอที่จะดึงแกนเหล็กของหน้าสัมผัส (Contact) ด้านล่างให้ต่อวงจรขดลวดช่วยหมุน (Auxilary winding) ของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ได้ แต่ถ้าขนาดรีเลย์เล็กเกินไปกระแสที่ไหลเข้ามอเตอร์อาจมากเกินไป ทำให้อำนาจแม่เหล็กที่เกิดขึ้นมากที่ขดลวดของ Relay จนแกนเหล็กหน้าสัมผัส (Contact) ด้านล่างไม่สามารถตกลงได้ ซึ่งมีผลทำให้ขดลวดช่วยหมุน (Auxilary winding) ภายในของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ไหม้


 รีเลย์ที่ใช้แรงเคลื่อนไฟฟ้าควบคุมการทำงาน (Potential Relay) เป็นรีเลย์ช่วยหมุนที่ใช้การเปลี่ยนแปลงของแรงเคลื่อนไฟฟ้าควบคุมการทำงาน โดยอาศัยอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้า สำหรับรีเลย์แบบนี้ใช้ลวดทองแดงเส้นเล็กๆ พันรอบแกนเหล็ก เพื่อทำให้เกิดอำนาจแม่เหล็ก เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวด รีเลย์ชนิดนี้สามารถใช้กับมอเตอร์ชนิดเฟสเดียวที่มีขนาดไม่เกิน 3 แรงม้า และหน้าสัมผัส (Contact) ของรีเลย์จะอยู่ในลักษณะปกติปิด (NC) จะเปิดก็ต่อเมื่อมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าจ่ายให้กับขดลวดของ Relay มากพอที่จะทำให้ Relay ทำงาน








 โพเทนเชียล รีเลย์ (Potential Relay)   วงจรการต่อใช้งาน Potential Relay
จากรูปที่ขั้วต่อสายของ Potential relay ขั้วที่ 1, 2 และ 5 ที่ขั้วหมายเลข 5 ของ Potential relay จะต่อเข้ากับขั้ว C ของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์และที่ขั้วหมายเลข 2 ของ Potential relay จะต่อเข้ากับขั้ว S ของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์และที่ขั้วหมายเลข 4 ของ Potential relay จะต่อเข้ากับขั้ว R ของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ ส่วน Run capacitor จะต่อเข้ากับขั้ว 2 และขั้ว 4 ของ Potential relay และ Start capacitor จะต่อเข้ากับขั้วหมายเลข 1 และ 4 และแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่จ่ายให้กับมอเตอร์คอมเพรสเซอร์จะต่อเข้ากับขั้วของ Potential relay ที่ขั้วหมายเลข 4 และ 5 ตามลำดับการทำงาน เมื่อจ่ายกระแสให้กับมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ในขณะที่มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ยังไม่หมุน กระแสไฟฟ้าจะไหลเข้าไปที่ขั้ว C ของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ และจะแบ่งการไหลออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 จะไหลผ่านขดลวดเมน (Main winding) ของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ และส่วนที่ 2 จะไหลผ่านขดลวดช่วยหมุน (Auxilary winding) และแบ่งออกเป็น 2 ทาง โดยไหลผ่าน Start capacitor และ Run capacitor ไปครบวงจรที่ขดลวดเมน (Main Winding) ของมอเตอร์ที่ขั้วหมายเลข 4 ของ Potential relay ในขณะนั้นทำให้แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ตกคร่อมระหว่างขั้วของขดลวดคอยล์ (Coil) ของ วงจร Potential relay มีค่าน้อยมากและยังไม่สามารถทำให้เกิดอำนาจสนามแม่เหล็กมากพอที่จะทำให้ขดลวด Coil ของ Potential ทำงาน จึงทำให้หน้าสัมผัส (Contact) ของ Potential relay ที่ขั้วหมายเลข 1 และ 2 ยังต่อวงจรอยู่ (หน้าสัมผัสนี้จะเป็นแบบปกติปิด NC)เมื่อมอเตอร์คอมเพรสเซอร์เริ่มหมุนจะทำให้แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ตกคร่อมขดลวด Coil เริ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งความเร็วรอบของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์มีความเร็วรอบประมาณ 75% ของความเร็วรอบทำงานปกติ ทำให้แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ตกคร่อมขดลวด (Coil) ของ Potential relay มีมากพอที่จะสร้างอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อดูดหน้าสัมผัส (Contact) ที่ขั้วหมายเลข 1 และหมายเลข 2 ของ Potential relay เปิดวงจรและตัดวงจรของ Start capacitor ออก ทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน Run capacitor เพียงอย่างเดียว และจะไปครบวงจรกับขดลวดเมน (Main) ของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ที่ขั้วหมายเลข 4 ของ Potential relay และมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ก็จะเพิ่มความเร็วรอบจนถึงระดับการทำงานปกติ
เมื่อมอเตอร์หยุดทำงาน หน้าสัมผัส (Contact) ของรีเลย์จะกลับสู่สภาพเดิมในลักษณะปิด เพื่อพร้อมที่จะทำงานในครั้งต่อไป
บันทึกการเข้า
hs5gui
member
*

คะแนน10
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 51


« ตอบ #13 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2010, 04:22:21 PM »

ขอโทษที่ทำให้กระทู้ยาวไปหน่อย
การตรวจสอบ Potential Relay  วัดขั้ว 2 กับ 5 ที่เป็นขดลวด ว่าขาดหรือช๊อตรอบ
วัดขั้ว1กับขั้ว2 ที่เป็นหน้าสัมผัสปรกติปิด ทั่วไปจะได้ศูนย์โอห์ม
 
   การเลือกใช้ Potential Relay แบบง่ายที่สุดคือวัดแรงดันไฟฟ้าคร่อมขด Cและขด S ขณะStart
แล้วนำมาเป็นค่า Pickup voltage ของ Relay
ลองดาวน์โหลดเอกสาร Relay 3ARRX ของ GE มาดูครับมีการเลือกใช้งานด้วย แต่โคตรยุ่งยาก
สังเกตุนะครับ Relay 3ARRไม่มี X คือตัวเดิมที่เราเคยใช้กันมานานตัวถังจะเป็นสีดำ แต่รุ่นใหม่มีXตัวถังจะเป็นสีขาว  ปัจจุบัน GE ไม่มีสีดำแล้วนะครับ ถ้าเจอก็เป็นเก่าเก็บหรือของไม่แท้
   เดิม GE ผลิตที่ Mexico แต่ปัจจุบันผลิตที่ Malay ชักจะ... พอพอกับElectrica แล้ว
บันทึกการเข้า
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3004


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« ตอบ #14 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2010, 09:06:17 PM »

 Lips Sealed เยี่ยมมาก HAPPY2!! Cheesy
บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ
Experience
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 23


« ตอบ #15 เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2010, 05:48:29 AM »

ขอบคุณครับ พี่hs5gui
 lv!
บันทึกการเข้า
hs5gui
member
*

คะแนน10
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 51


« ตอบ #16 เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2010, 01:23:36 PM »

ป๋าเฉียบ แคปสตาร์ท 46-108Uf
ไม่มีนะครับ มีแต่ 88-106uF ที่ Compแอร์ตระกูล AW ชอบใช้
Potential Relay 3ARR3U13AS2 น่าจะพอ  ถ้าใช้ 3ARR3U3AT2 volt pick upสูงไป เดี๋ยว Motor จะไหม้เสียก่อน

ป๋าเฉียบ
ของที่ขอไว้ ยังไม่ได้ส่งเลย ติดเคอร์ฟิวอีกต่างหาก
หรือจะให้ไปส่งที่หน้าบ้านเลย จะได้ล้างท้องกนทุเรียนเมืองจันท์  ดีใจจัง
บันทึกการเข้า
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3004


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« ตอบ #17 เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2010, 07:49:12 PM »

 Smiley เยี่ยมมาก ขอบคุณ โดนชกเมาหมัด มึนเลย รอได้ครับ cry2!! HAPPY2!!  Cheesy
บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ
ns99
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 20


« ตอบ #18 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2010, 12:26:56 PM »

ขอบคุณท่านผู้น้ำใจงาม งานนี้ผมได้ความรู้เยอะเลยครับ ขอบคุณ
บันทึกการเข้า
Experience
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 23


« ตอบ #19 เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2010, 12:39:41 PM »

นำ Potential + Capacitor-star มาต่อเพิ่มแล้ว Compressor ออกตัวเร็วกว่าเดิมมาก
ประโยชน์
1.ช่วยในการสตาร์ท Compressor ทำให้ Compressor สตาร์ทออกตัวง่าย
2.ลดกระแสไฟฟ้าขณะสตาร์ท(ประหยัดไฟฟ้า)

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!