ตำนานเมืองขีดขินตั้งแต่สมัยพระเจ้ารามราช - พระเจ้าพรหมมหาราช-ตามพงศาวดาร
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ตำนานเมืองขีดขินตั้งแต่สมัยพระเจ้ารามราช - พระเจ้าพรหมมหาราช-ตามพงศาวดาร  (อ่าน 3360 ครั้ง)
kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน630
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2363


NightBaron


เว็บไซต์
« เมื่อ: ธันวาคม 01, 2010, 05:31:33 AM »

ตำนานเมืองขีดขิน(รามปุระนคร-เสนาราชนคร-เมืองปรันตปะ)โดยย่อตามพงศาวดารเหนือ

ในศุภวาระที่ศูนย์พุทธศรัทธาได้ก่อตั้งมาและจะครบ ๒๕ ปีในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
ขอนำประวัติความเป็นมาของเมืองโบราณที่ตั้งอยู่ใกล้กับศูนย์พุทธศรัทธา ซึ่งตามพงศาวดาร
ได้มีความเกี่ยวเนื่องกับพระเจ้ารามราช-พระนางเจ้าจามเทวี และพระเจ้าพรหมมหาราช บูรพมหากษัติย์ไทย
ผู้ทรงพระคุณอันยิ่งใหญ่หาประมาณมิได้ต่อชนชาติไทย




เมืองขีดขิน หรือ รามปุระนคร หรือเสนาราชนคร ครั้งหนึ่งเคยเป็นศูนย์กลางแห่งมหาอำนาจ
มีอาณาเขตการปกครองกว้างใหญ่ไพศาล มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานกว่า ๑,๔๒๗ ปีมาแล้ว
มีกษัตริย์ที่ปกครองดินแดนแห่งนี้หลายพระองค์รวมทั้งพระเจ้ารามราชและพระนางเจ้าจามเทวี
ผู้ซึ่งครั้งหนึ่งเคยปกครองรามปุระนคร(หรือเสนาราชนคร)



เจ้าชายรามราชได้อภิเศกสมรสกับเจ้าหญิงจามเทวีและในปีพุทธศักราช ๑๑๙๘
ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติครองรามปุรนคร(ปัจจุบันคือเมือง
ขีดขินเมืองเก่าแห่งบ้านคูเมือง อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี)
อาณาประชาราษฏร์ต่างจุดประทีปโคมไฟเฉลิมฉลองทั่งทั้งพระนครอย่าง
สมพระเกียรติและยิ่งใหญ่ ทั้งสองพระองค์ทรงปกครองรามปุรนครด้วยทศพิธ
ราชธรรม บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองอุดมสมบูรณ์ ไพร่ฟ้าประชาราษฏร์อยู่เย็น
เป็นสุข ด้วยพระเมตตาบารมีเสมอมา



พระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าพรหมมหาราช วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี



พระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าพรหมมหาราช มหาราชพระองค์แรกของชาติไทย

กาลเวลาสืบเนื่องต่อมาจนถึงสมัยพระเจ้าพรหมมหาราช
ตามพงศาวดารเหนือ (ฉบับพระวิเชียรปรีชา(น้อย) กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า
"สมเด็จพระเจ้าไกรสรราช พระราชโอรสของพระเจ้าศรีธรรมปิฏกหรือ
พระเจ้าพรหมมหาราชแห่งนครโยนกเชียงแสน พระราชบิดาส่งพระองค์ลงมา
ครองเมืองละโว้ ภายหลังปี พ.ศ. ๑๕๐๐ อันเป็นเมืองลูกหลวงทางใต้ในสมัยนั้น
พระองค์เสกสมรสกับพระนางสุลเทวี ราชธิดาแห่งกรุงศรีสัชนาลัย ทรงมีพระโอรส ๑ องค์
พระนามว่า "พระเจ้าดวงเกรียงกฤษณราช" ซึ่งในเวลาต่อมาถูกส่งไปครองเมืองเสนาราชนครปี พ.ศ. ๑๗๕๕
ตามหลักฐานกล่าวว่าเมืองเสนาราชนครตั้งอยู่ห่างจากเมืองละโว้ ๑๐๐ เส้น
จากการตรวจสอบของคณะโบราณคดีของกรมศิลปากร ได้สัญจรมาสำรวจ
เส้นทางเสด็จนมัสการพระพุทธบาทและถนนฝรั่งส่องกล้อง ได้ไปชมเมือง
โบราณแห่งนี้ และสัญนิษฐานว่าเมืองโบราณแห่งนี้เป็นเมืองเสนาราชนคร
ตามพงศาวดารเหนือจริง เพราะเมืองโบราณแห่งนี้ก็อยู่ห่างจากเมืองละโว้
๑๐๐ เส้น เมืองโบราณดังกล่าวตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอบ้านหมอไปทาง
เหนือประมาณ ๖๐๐ เมตร และห่างจากศูนย์พุทธศรัทธาประมาณ ๓๐๐ เมตร
บริเวณนี้ยั้งปรากฏเป็นคูเมือง กำแพงเมืองวัดโดยรอบประมาณ ๑,๕๐๐ เมตร
สภาพคูเมืองฝังลึกมากหลักฐานการก่ออิฐสอปูนยังปรากฏอยู่บ้าง



ศาลหลักเมือง ของเมืองขีดขินในปัจจุบัน



ทรากนครขีดขินโบราณ


เคยมีคนขุดค้นพบวัตถุโบราณหลายชิ้น เช่นรูปนายทวารบาล รูปพระโพธิสัตว์ ซึ่งทำด้วยศิลาเป็นต้น
ปัจจุบันวัตถุโบราณดังกล่าวได้นำไปประดิษฐานไว้ในวิหารเล็ก หลังมณฑปพระพุทธบาท



พระเจ้าไกรสรราช ได้ครองเมืองละโว้ ประมาณปี พ.ศ. ๑๗๔๙ และได้สวรรคต
ในปี พ.ศ. ๑๗๖๒ รวมสิริเสวยราช ๑๓ ปี อย่างไรก็ดีเมื่อพระราชบิดาสวรรคตแล้ว
พระเจ้าดวงเกรียงกฤษณราช แห่งเมืองเสนาราชนคร หาได้เสด็จขึ้นไปครองเมืองละโว้แทนไม่
ทั้งนี้เพราะพระองค์ต้องรับภาระปกครองดูแลเมืองอโยธยา ซึ่งเป็นมรดกทางฝ่ายมเหสีอีกโสดหนึ่งด้วย
อนึ่งเป็นที่น่าสังเกตุว่า พระเจ้าดวงเกรียงกฤษณราช ยังทรงเรียกอีกพระนามหนึ่งว่า
"พระเจ้าสายน้ำผึ้ง" อันพระราชเทวีมเหสีนั้นเล่าก็ทรงเป็นราชธิดาแห่งพระเจ้าหลวง
ผู้ครองเมืองอโยธยา ตามประวัติศาสตร์ปรากฏว่า พระเจ้าดวงเกรียงกฤษณราช
มีบุญญาธิการมาก ชื่อเสียงเกียรติคุณเลื่องลือไปไกล ถึงกับพระเจ้ากรุงจีนได้ยก
ราชธิดาคือ "พระนางสร้อยดอกหมาก" ให้ แต่ยังไม่ทันได้เศกสมรสกัน พระนาง
ก็ด่วนสิ้นพระชนม์เสียก่อน พระองค์จึงสร้างวัดพนัญเชิงขึ้นเป็นที่ถวายพระเพลิงศพ
วัดนี้สร้างขึ้นก่อนที่พระเจ้าอู่ทองเสด็จมาสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีถึง ๒๓ ปี



วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา


เมืองเสนาราชนคร ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่า เป็นเมืองลูกหลวงของเมืองละโว้
พระเจ้าดวงเกรียงกฤษณราช ทรงมีราชโอรส ๑ องค์ พระนามว่า พระเจ้าธรรมมิกราช
สมัยนั้นเมืองละโว้กับเมืองเสนาราชสองเมืองนี้มีความเจริญรุ่งเรืองมาก
เป็นแหล่งการค้าและการศึกษาศิลปวิทยาที่มีชื่อเสียง ตามพงศาวดารโยนกยังกล่าวว่า
พ่อขุนรามคำแหง, พ่อขุนเม็งราย, พญาคำเมือง สมัยที่เป็นพระยุพราชฝ่ายเหนือ
เคยเสด็จลงมาศึกษาศิลปวิทยาที่เมืองละโว้



พระเจ้าดวงเกรียงกฤษณราชขึ้นครองเมืองเสนาราชนครเมื่อ พ.ศ. ๑๗๕๔
สวรรคต พ.ศ. ๑๗๙๕ พระโอรสพระนามว่า "พระเจ้าธรรมมิกราช" ได้ขึ้นครอง
เมืองเสนาราชนครสืบต่อมา

เรื่องราวจากพงศาวดารต่างๆ นี้ล้วนมีความเกี่ยวเนื่องกับสถานที่ตั้งของศูนย์พุทธศรัทธาในปัจจุบัน

บันทึกจากความทรงจำเกี่ยวกับพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน(หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)
กับพระเจ้ารามราชและวัดรามพงศาวาส


ย้อนหลังไปประมาณ ๒๐ กว่าปี วันหนึ่งผมได้รับโทรศัพท์จากพี่ปรีชา พึ่งแสง ศิษย์ใกล้ชิดหลวงพ่อ
โทรมาว่าท่านแม่ศรีให้ค้นหาวัดในละแวกท่าลานที่เป็นวัดมอญ จากที่ได้ค้นหาและสอบถามก็ได้ทราบ
ว่ามีอยู่วัดหนึ่งเป็นวัดมอญและยังมีชุมชนชาวมอญอยู่รวมกันเป็นหมู่บ้านย่อมๆ ชื่อ วัดรามพงศาวาส
ผมได้โทรแจ้งให้พี่ปรีชาทราบข้อมูล ก็ได้รับการตอบกลับมาว่าเป็นวัดที่ท่านแม่ศรีให้ค้นหา
มาทราบภายหลังจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อว่าวัดรามพงศาวาสแห่งนี้เป็นวัดที่พระเจ้ารามราชทรงผนวช
และต่อมาได้รับแจ้งจากพี่ปรีชาว่าหลวงพ่อจะมาเยี่ยมที่วัดราม พวกเราที่ท่าลานก็ดีใจกันมาก และได้ไป
ติดต่อกับพระอาจารย์อำนวย เจ้าอาวาสวัดรามพงศาวาสแจ้งให้ท่านทราบ ท่านดีใจมากเพราะมีความเคารพ
ศรัทธาในองค์หลวงพ่ออยู่แล้ว(ขออภัยสำหรับข้อมูลเนื่องจากนานมากแล้วจำวันเดือนปีที่หลวงพ่อมาไม่ได้
และภาพที่ถ่ายไว้ก็ค้นหาไม่เจอ)




พระอาจารย์อำนวย เจ้าอาวาสวัดรามพงศาวาส

เมื่อถึงกำหนดวันที่นัดหมาย คณะของหลวงพ่อมีรถตู้และรถเก๋งหลายคันได้เดินทางมายังวัดรามพงศาวาส
คณะพุทธศรัทธาและสาธุชนที่ทราบข่าวก็มาต้อนรับหลวงพ่อกันแน่นวัด ศาลาของวัดรามก็อยู่ในสภาพเก่ามาก
โดยเฉพาะชานศาลาคนนั่งกันเต็ม ญาติโยมพุทธบริษัทก็ได้เข้ามากราบและทำบุญกับหลวงพ่อกันมากมาย
หลวงพ่อได้คุยกับพระอาจารย์อำนวยและถามถึงต้นสะตือ ท่านบอกว่าสมัยพระเจ้ารามราชมาบวช
มีต้นสะตือใหญ่อยู่ริมน้ำ พระอาจารย์อำนวยก็กราบเรียนหลวงพ่อว่าสมัยก่อนเคยมี แต่เนื่องจาก
ตรงที่ตั้งวัดรามติดกับแม่น้ำป่าสักและเป็นคุ้งน้ำ น้ำก็กัดเซาะตลิ่งนานเข้าๆ ทำให้ต้นสะตือที่อยู่ริมน้ำ
ถูกน้ำกัดเซาะจนต้นสะตือล้มลงและไหลพัดไปกับแม่น้ำ

ตามกำหนดการหลวงพ่อจะฉันเพลที่วัดรามจากนั้นก็จะเดินทางต่อไปแวะที่พระราชวังบางปะอิน
ในระหว่างที่กำลังทำบุญถวายปัจจัยกับหลวงพ่อก็เกิดเหตุขึ้น ชานศาลาซึ่งเก่ามากก็เกิดเสียงดังลั่น
คล้ายจะพังลง แต่ก็เป็นที่น่าแปลกใจเพราะชานศาลาไม่พัง ถ้าพังลงคงต้องมีคนบาดเจ็บหลายคน
เพราะนั่งกันเต็ม ตอนนั้นได้แต่แปลกใจแต่ไม่ทราบสาเหตุจนหลังจากหลวงพ่อกลับไปหลายวันแล้ว
ผมได้พบกับลุงประสิทธิ์ ท่านเป็นชาวมอญแต่อยู่กรุงเทพ มาร่วมทำบุญด้วย ท่านเล่าให้ฟังว่า
วันที่หลวงพ่อมาที่วัดราม ท่านนั่งติดกับหลวงพ่อ พอมีเสียงไม่ลั่นคล้ายชานศาลาจะพังคลืนลงไป
ลุงประสิทธิ์ก็ได้ยินหลวงพ่อพูดมาคำเดียว "หยุด" ชานศาลาที่จะพังก็หยุดจริงๆ ตามวาจาสิทธิ์
ของหลวงพ่อ ลุงประสิทธิ์บอกว่าแกเคารพและศรัทธาหลวงพ่อมาก




จากนั้นหลวงพ่อและคณะศิษย์ก็ออกเดินทางไปยังพระราชวังบางปะอิน
คณะพุทธศรัทธาก็ขับรถตามขบวนหลวงพ่อไปด้วย



บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: