พระพุทธเจ้าคือใคร
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระพุทธเจ้าคือใคร  (อ่าน 2010 ครั้ง)
kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน630
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2363


NightBaron


เว็บไซต์
« เมื่อ: มิถุนายน 04, 2010, 06:03:07 AM »

เมื่อกล่าวโดยรากศัพท์คำว่า “พระ พุทธเจ้า” ในภาษาไทยเรามาจาก “พุทธ” ในภาษาบาลีซึ่งแปลว่า “ท่านผู้ ตรัสรู้” คือรู้ประจักษ์ความจริงอันเป็นเหตุให้พ้นจากความทุกข์ทั้ง ปวง คำว่า “พระพุทธเจ้า” ที่แปลว่า“ท่านผู้รู้”นั้น มีความหมายที่พึงอธิบายได้เป็น 2 ประการคือ


1. ท่านผู้ตรัสรู้ ซึ่งเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ ได้แก่เจ้าชายสิทธัตถะแห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ผู้เป็นโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางมหามายา ประสูติก่อนพุทธศก 80 ปี เมื่อพระชนมายุ 16 พรรษาดืทรงอภิเษกสมรสกับพระนางยโสธราหรือพิมพา เมื่อพระชนมายุ 29 ปี มีพระโอรสองค์หนึ่งชื่อ ราหุล และได้เสด็จออกทรงผนวชเพื่อทรงค้นคว้าสัจธรรมอยู่ถึง 6 ปี จึงได้ตรัสรู้เมื่อพระชนมายุ 35 ปี ครั้นตรัสรู้แล้วได้ประกาศพระพุทธศาสนาประดิษฐานสังฆมณฑลขึ้นเสด็จจาริกไปใน ที่ต่างๆ เผยแผ่พระพุทธศาสนาอยู่เป็นเวลาถึง 45 ปี จึงเสด็จดับขันธ์นิพพานเมื่อพระชนมายุ 80 ปี สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงธรรมครั้งแรกและปรินิพพาน ยังมีหลักฐานปรากฏอยู่ ซึ่งรัฐบาลอินเดียในปัจจุบันได้พยายามอำนวยความสะดวกในการตัดถนนทำทาง และสร้างที่พักสำหรับผู้จะไปนมัสการสังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่งนั้น ซึ่งมีสิ่งก่อสร้างบ้าง ศิลาจารึกบ้างเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า เจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านั้นเป็นบุคคลที่มีตัวจริงในทาง ประวัติศาสตร์


2. ท่านผู้ตรัสรู้ ซึ่งเป็นตำแหน่งแห่งศาสดาเอกของโลก ใครก็ตามเมื่อบำเพ็ญบารมี คุณความดีต่างๆ โดยสมบูรณ์แล้ว ก็จะได้ตรัสรู้สัจธรรมเป็นพระพุทธเจ้าประดิษฐานพระพุทธศาสนาขึ้นในโลก กล่าวโดยหลักการแห่งพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้ามิได้มีเพียงพระองค์เดียวที่เรานับถือในปัจจุบันเท่านั้น แต่มีมากมายนับจำนวนไม่ถ้วนทั้งในอดีตและอนาคต คือตลอดระยะกาลนานไกลนั้น ย่อมมีพระพุทธเจ้าตรัสรู้สัจธรรมเกิดขึ้นเป็นคราวๆ หลักการนี้มองในแง่หนึ่งคล้ายเป็นความเชื่อแบบปรัมปรา แต่มองอีกแง่หนึ่งจะเห็นความจริงชัดขึ้นว่าตำแหน่งพระพุทธเจ้านี้มิได้ผูก ขาดตัดตอนไว้เพื่อผู้ใดผู้หนึ่งไว้เฉพาะโครที่ทำความดีไว้มากจนสมบูรณ์ ก็มีโอกาสได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เป็นหลักกลางๆ สำหรับทุกคน และเป็นหลักที่มีเหตุผล เพราะในคนจำนวนมากเมื่อมีความตั้งใจทำความดี สักวันหนึ่งก็คงมีใครที่สามารถบรรลุผลของความดีนั้น


หลักการนี้แสดงว่า การเป็นพระพุทธเจ้ามิใช่การชุบมือเปิบหรือเป็นการได้ดีอย่าลอยๆ ต้องอาศัยความพากเพียรพยายามอย่างยิ่งยวด และต้องมีน้ำใจเด็ดเดี่ยวไม่ท้อถอยจึงจะประสบความสำเร็จ อีกประการหนึ่ง มีฝรั่งบางคนเขียนหนังสือกล่าวถึงพระพุทธศาสนาไว้ว่า เป็นศาสนาของมนุษย์ ไม่ใช่ของเทวดา จึงสู้ศาสนาของเขาไม่ได้ ตามความรู้สึกของข้าพเจ้า การที่พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของมนุษย์และการที่มนุษย์ได้ตรัสรู้เป็นพระ พุทธเจ้านี้เป็นที่น่าพอใจยิ่งนัก เพราะเป็นเรื่องตรงไปตรงมา ประกอบด้วยเหตุผล ยิ่งยุคนี้เป็นยุคที่โลกเจริญด้วยวิทยาศาสตร์ มนุษย์มักจะมองเรื่องของเทพนิยายเป็นเรื่องไม่มีอะไรจริงจังหรือเป็นเพียง นิทานไป


การที่มนุษย์คนหนึ่งมีความพากเพียรพยายามในการสร้างคุณงามความดีจนประสบผล แห่งความเพียรพยายาม แล้วสั่งสอนชาวโลกตามความจริงที่ค้นพบนั้น ย่อมแสดงให้เห็นว่าเป็นเรื่องที่มีเหตุผล และเป็นตัวอย่างจูงใจให้ทุกคนไม่ทอดอาลัยปล่อยชีวิตไปตามบุญตามกรรม พูดง่ายๆก็คือ เป็นตัวอย่างที่คนอื่นๆ อาจปฏิบัติตามได้ ไม่เป็นการผูกขาดสำหรับใครเพียงผู้เดียว




ท่านผู้ตรัสรู้ 3 ประเภท


ท่านผู้ตรัสรู้ หรือ “พุทธ” นั้นกล่าวโดยประเภท แบ่งออกเป็น 3 คือ


1. สัมมาสัมพุทธะ ท่านผู้ตรัสรู้ด้วยตนเอง แล้วสอนให้ผู้อื่นตรัสรู้ตามได้ด้วยประเภท นี้ได้แก่ พระพุทธเจ้า ผู้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาขึ้นในโลก


2. ปัจเจกพุทธะ ท่านผู้ตรัสรู้จำเพาะตน ไม่สามารถตั้งหลักคำสอนขึ้น ประเภทนี้ ได้แก่ท่านผู้บำเพ็ญบารมีรองลงมาจากพระพุทธเ แม้ตัวท่านเองสามารถตรัสรู้ได้ ก็ไม่สามารถตั้งศาสนาขึ้นได้


3. สุตพุทธะ หรือ สาวกพุทธะ ท่านผู้ตรัสรู้ที่อาศัยฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เป็นผู้ตรัสรู้ชั้นสาวก หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อนุพุทธะ แปลว่า ท่านผู้ตรัสรู้ตาม มิใช่ตรัสรู้ด้วยตนเอง...


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: