ลัทธิเต๋า (Taoism)
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ลัทธิเต๋า (Taoism)  (อ่าน 4671 ครั้ง)
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1883
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13305


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« เมื่อ: สิงหาคม 30, 2010, 02:39:42 PM »

Credit / http://www.thaisamkok.com/forum/index.php?showtopic=517&mode=linearplus

เมื่อ 3,000 ปีมาแล้ว ชาวจีนตามลุ่มแม่น้ำเหลือง มีความเคารพธรรมชาติ เช่น ภูเขา แม่น้ำ ต้นไม้ ฯลฯ เป็นอย่างสูง แต่อันที่จริงเป็นการนับถือวิญญาณ (Spirits) ในระดับต่าง ๆ จากสูงมาหาต่ำ ได้แก่ วิญญาณแห่งสวรรค์ หรือ เซี่ยงตี่ (เทียนตี่) วิญญาณภาคพื้นดิน วิญญาณมนุษย์ และวิญญาณสัตว์ทั้งหลาย สวรรค์ถือว่าเป็นวิญญาณสูงสุด เป็นบรรพบุรุษของฮ่องเต้หรือพระจักรพรรดิ และเป็นหัวหน้าวิญญาณของบรรพบุรุษสวรรค์ไม่ใช่สถานที่ แต่เป็นเจตจำนงของพระผู้เป็นเจ้า หรือ พูดให้ถูกที่สุดเป็นระเบียบแห่งเอกภพ ฮ่องเต้จะต้องทำการบูชาสวรรค์และแผ่นดินปีละครั้งประชาชนธรรมดาไม่อาจบูชาสวรรค์และโ
ลกง่ายนัก จึงบูชาบรรพบุรุษผู้ล่วงลับของตนแทน เชื่อกันว่าวิญญาณของบรรพบุรุษยังดำรงอยู่ และจะคอยช่วยเหลือบุคคลที่กระทำการบูชาให้มีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต มีการกินเลี้ยงฉลองอย่างมโหฬาร การบูชาเป็นเรื่องส่วนตัว และโดยตรง ไม่ใช่เพราะมีความกลัว หรือใช้เวทมนตร์คาถา ตามความคิดเก่าแก่ของจีน นักปราชญ์จีนโบราณ จึงพบคำอธิบายซึ่งยืนยันว่า ในเอกภาพนี้มีพลังหรือ อำนาจตรงกันข้ามอยู่ 2 อย่างคือ

1) หยาง (Positive Power) คือพลังบวกมีลักษณะสีแดง เป็นพลังเพศชาย พบในทุกสิ่งทุกอย่างที่ให้ความอบอุ่น สว่างไสว มั่นคง สดใส เช่น ดวงอาทิตย์ ไฟ ฯลฯ
2) หยิน (Negative power) คือพลังลบ มีลักษณะสีดำ เป็นพลังเพศหญิง พบในทุกสิ่งทุกอย่างที่ให้ความหนาวเย็น ความมืด อ่อนนุ่ม ชื้นแฉะ ลึกลับ และเปลี่ยนแปลง เช่น เงามืด น้ำ ฯลฯ

สวรรค์เป็นหยางแทบทั้งหมด และโลกเป็นหยินแทบทั้งหมดเช่นกัน จากการปะทะกันของสองสิ่งนี้ ทุกสิ่งทุกอย่างก็อุบัติขึ้นมา ทุกสิ่งทุกอย่างมีพลังทั้งสองนี้ทั้งนั้น บางครั้งหยินอาจมีพลังแข็งแรง แต่บางครั้ง หยาง ก็มีพลังมากกว่า ยกตัวอย่างเช่น ท่อนไม้ ตามปกติเป็นหยิน แต่เมื่อโยนเข้าไปในกองไฟ ก็เปลี่ยนรูปเป็นหยางไป ในชีวิตคนหยินและหยางก่อให้เกิดความล้มเหลวและความสำเร็จเป็นต้น เช่นเดียวกัน หยางและหยินไม่ใช่เป็นตัวแทนของความดีและความชั่ว แต่ทั้งสองนี้มีความจำเป็นต่อกฏเกณฑ์และระเบียบของเอกภพ ทั้งสองนี้ไม่ใช่อยู่ในภาวะปะทะกันตลอดเวลา แต่ยามใดมีความสามัคคีกัน ทั้งสองอย่างนี้ก็เป็นสิ่งดีด้วยกัน

ศาสดาของศาสนาเต๋า

ในระหว่างคริสตวรรษที่ 5 - 6 มีศาสดาทางศาสนาและปรัชญาเกิดขึ้นอย่างน่าสังเกต ในอินเดียมีศาสดามหาวีรและพระพุทธเจ้า ในกรีกมีโสคราตีส ในเปอร์เซียมีโชโรอัสเตอร์ ในจีนมีเล่าจื้อ และขงจื้อ ท่านเล่าจื้อ (Lao tze) เป็นศาสดาของศาสนาเต๋า ซึ่งได้หล่อหลอมชีวิตและอัธยาศัยชาวจีนกว่า 2000 ปีมาแล้ว

ชื่อจริงของเล่าจื้อ คือ ลี - เออร์ (Li Uhr) เกิดเมื่อปี 604 ก่อนคริสต์ศักราช ที่จังหวัดโฮนานประเทศจีน ตอนเมื่อเกิดนั้น กล่าวกันว่า พอคลอดออกมาก็เป็นคนมีผมหงอกขาว และมีอายุ 72 ปีแล้ว ด้วยเหตุนี้แหละท่านจึงชื่อ เล่าจื้อ ซึ่งหมายถึง "เด็กแก่" หรือ "ครูเฒ่า" เมื่อทำงานเป็นบรรณารักษ์ ที่หอสมุดหลวง สำนักของเจ้าเมือง ปรากฎว่ามีชื่อเสียงโด่งดังเพราะมี อำนาจสติปัญญาที่ลึกซึ้งเว้นคนธรรมดาสามัญ ครั้งหนึ่งขงจื้อเดินทางมาพบ ท่านไม่ชอบคำสอนของขงจื้อเลย ถึงกับพูดว่า "กลับไปเสียเถิดและเลิกความหยิ่งความอยากของท่านเสียด้วยนะ"

เล่าจื้อ ไม่ชอบชีวิตหรูหรา แต่ทุกคนดูเหมือนจะมุ่งมั่นเพื่อเงินชื่อเสียงและอำนาจ ในขณะเดียวกันทั้งเมืองก็เต็มไปด้วยการโกงกินกันอย่างมโหฬาร ด้วยเหตุนี้ วันหนึ่งท่านจึงขับเกวียนเทียมวัวดำสองตัวมุ่งไปยังภูเขาด้านทิศตะวันตก (ทิเบต?) พอถึงประตูเมืองนายประตูจำได้ จึงขอร้องให้ท่านหยุดพักเพื่อเขียนปรัชญาแห่งชีวิต ท่านจึงได้เขียนตำราที่โด่งดังของท่านเป็นอักษรจีน 5,500 ตัว จากนั้นก็ได้เดินทางต่อไป ปรากฏว่าพอถึงช่องแดนระหว่างภูเขา ท่านก็หายเข้าไปในก้อนเมฆ อะไรได้เกิดขึ้นก็ตามทีเถิด ตั้งแต่นั้นมาไม่มีใครเห็นท่านอีกเลย

คำสอนของเล่าจื้อ

คัมภีร์ที่เล่าจื้อเขียนนี้ มีชื่อว่า เต๋า - เต๋อ - จิง (Tao - the - jing) แปลว่า คัมภีร์แห่งมรรคและอำนาจ เล่าจื้อเริ่มต้นด้วยการตอบปัญหาที่ว่า "อะไรคือแก่นของเอกภพ?" "ถ้าเราสามารถมองไปเบื้องหลังปรากฎการณ์ของสิ่งทั้งหลายได้ และพบลักษณาการที่ชีวิตเกิดขึ้นแล้ว เราจะดำเนินชีวิตอย่างไร?" เล่าจื้ออธิบายว่า คำตอบมีอยู่พร้อมแล้วในว่า "เต๋า" คำนี้แปลกันมาว่า "ทาง", "มรรค" หรือ "แหล่งกำเนิดของทุกสิ่งทุกอย่าง" และเป็นการยากที่จะให้ความหมายเพราะคำ ๆ นี้ให้คำจำกัดความไม่ได้ แก่นแท้ของเต๋าลึกลับกว่าความลึกลับใด ๆ แต่ว่าก็มีบางสิ่งบางอย่างที่พอจะสังเกตได้ดังนี้

เต๋าไม่ใช่พระเป็นเจ้า แต่เป็นพลังหรืออำนาจที่หลั่งไหลท่วมท้นทุกสิ่งทุกอย่าง มีความรักทะนุถนอม แต่ก็ไม่เข้าไปเกี่ยวข้องหรือยึดสิ่งใดเป็นเจ้าของ เป็นสิ่งที่ทำงานอย่างนุ่มนวลและสงบเสงี่ยม โดยไม่ต้องพยายามสิ่งทั้งหลายก็จะเกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพ ให้พิจารณาตัวอย่างความเจริญก้าวไปแต่ละปีของฤดูทั้ง 4 ซึ่งดำเนินไปตามกฏเกณฑ์จากฤดูหนึ่งไปสู่ฤดูหนึ่ง ชนิดไม่ทันได้สังเกต ถึงอย่างนั้น ในแต่ละฤดูธรรมชาติทำหน้าที่ของมันอย่างเต็มที่ โดยปราศจากความวุ่นวายในภาวะเช่นนี้ เต๋าทำหน้าที่ประธานอย่างสงบและอย่างได้ผล (วู - เว) เพื่อให้ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปด้วยดี

ลัทธิเต๋า (Taoism)

ก. ประวัติของลัทธิและศาสดา

ลัทธิเต๋ามีกำเนิดในประเทศจีน ต้นกำเนิดเดิมของลัทธิเต๋าไม่ใช่ลัทธิหรือศาสนา แต่เป็นปรัชญาธรรม เพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า โดยอยู่อย่างกลมกลืนกับธรรมชาติ ตัดสิ่งที่เกิน ความจำเป็นของชีวิต รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีที่ฟุ่มเฟือยและฝืนกับธรรมชาติ โดยกลับไป มีชีวิตแบบง่าย ๆ ท่ามกลางความสงบของป่าเขาลำเนาไพร แต่เมื่อเวลาผ่านพ้นไปปรัชญาเต๋าได้ถูก ดัดแปลงให้สอดคล้องกับความเชื่อดั้งเดิมของจีนซึ่งบูชาพระเจ้าประจำธรรมชาติ ผสมกับความเชื่อ ในทางไสยศาสตร์อื่น ๆ จึงเกิดเป็นลัทธิเต๋า ซึ่งจะกล่าวรายละเอียดในตอนต่อไป
ปรัชญาเต๋าเป็นระบบความคิดที่โดดเด่นต่างจากปรัชญาอื่น ๆ ของจีน กล่าวคือ มีแนวคิดที่นอกจากจะเน้นหนักในทางจริยศาสตร์แล้ว ยังมีแนวคิดทางด้านปรัชญาการเมืองและทัศนะในทางอภิปรัชญาค้นหาอันติมสัจจ์ที่เป็นราก
ฐานแห่งสรรพสิ่ง ตรงจุดนี้เองที่ทำให้ปรัชญาเต๋ายังคงยืนหยัดท่ามกลางกระแสปรัชญาอื่น ๆ ของโลกในปัจจุบันแม้นวันเวลาจะผ่านพ้นไปนานก็ตาม ปรัชญาเต๋า ยังคงเป็นสิ่งที่น่าศึกษาค้นคว้าสำหรับผู้รักการแสวงหาความจริง
ก่อนที่จะกล่าวถึงระบบแนวความคิดของปรัชญาเต๋า เราควรศึกษาชีวประวัติของผู้ให้กำเนิดนั่นคือท่าน "เหล่าจื้อ" ผู้ซึ่งมีชีวประวัติยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่อาจจะสันนิษฐานความเป็นมาของท่านจากบันทึก "ซื่อกี่" ซึ่งเป็นบันทึกที่รวบรวมโดยซิเบ๊เชียง นักประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ฮั่น แม้นว่าบันทึกนี้จะมีบางตอนที่ขัดแย้งทำให้เกิดความคลุมเคลือก็ตาม แต่เราอาจจะสรุปได้ว่าท่านเหลาจื๊อเกิดในช่วงศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล เป็นชาวรัฐฌ้อ อำเภอหู ตำบลหลี หมู่บ้าน เค้กยินลี้ ชื่อเดิมของท่านคือ "ยื้อ แซ่ลี้" ส่วนชื่อเหลาจื๊อเป็นเพียงฉายาที่นิยมเรียกกันเท่านั้น ซึ่งหมายความว่า "อาจารย์ผู้เฒ่า" ท่านเคยรับราชการในราชสำนักจิว โดยดำรงตำแหน่งเป็นบรรณารักษ์ใหญ่แห่งหอพระสมุดต่อมาได้เห็นความเสื่อมโทรมของราชวงศ
์จิวจึงออกจากราชการจาริกไปถึงด่านแห่งหนึ่งก็ถูกนายด่านขอร้องให้เขียนคัมภีร์ ซึ่งท่านได้แต่งให้และได้ลาจากไปโดยไม่มีผู้ใดทราบ

ข. คัมภีร์ของลัทธิเต๋า

คัมภีร์ที่สำคัญที่สุดของลัทธิเต๋าคือ "เต๋าเต๋อจิง" ซึ่งเชื่อกันว่าท่านเหลาจื๊อเขียนขึ้น เมื่อประมาณศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล มีลักษณะเป็นหนังสือขนาดเล็กที่บรรจุถ้อยคำมากกว่า 5,000 คำ มีทั้งหมด 81 บท และนิยมแปลออกมาในรูปของร้อยกรอง เป็นคัมภีร์ที่มีผู้สนใจแปลเป็นภาษาอังกฤษมากรองลงจากคัมภีร์ไบเบิลและแปลเป็นภาษาอื
่น ๆ อีกหลายภาษา จึงเป็นหนังสือของคนจีนที่มีผู้รู้กันดีมากที่สุดเล่มหนึ่ง

โวหารที่ใช้ในคัมภีร์เต๋าเต๋อจิงนั้นมีสำนวนลึกซึ้งยากแก่การเข้าใจ เพราะเขียนไว้ด้วยประโยคสั้น ๆ แต่กินความหมายพิสดารซึ่งจะต้องใช้เวลาทำความเข้าใจ และจะต้องมีการอธิบาย อย่างยืดยาวจึงจะเข้าใจได้ ดังนั้นคัมภีร์นี้จึงมีนักปราชญ์เป็นจำนวนมากในสมัยต่อมา พยายามที่จะแต่งอรรถกถาและอรรกถาที่มีชื่อเสียงมากที่สุดที่ท่านเสถียร โพธินันทะ (เสถียร โพธินันทะ. 2514 : 180) ได้กล่าวไว้คือ อรรถกถาเต๋าเต๋อจิงที่เขียนโดย เฮ่งเพี๊ยก ซึ่งเป็นปราชญ์ที่มีชีวิต ในสมัยสามก๊ก (ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ Cool

ดังที่ได้ทราบมาแล้วว่า คัมภีร์เต๋าเต๋อจิงนี้มี 2 ภาค คือ "เต๋าจิง" และ "เต๋อจิง" เต๋าจิงเริ่มตั้งแต่บทที่ 1 - 37 อธิบายถึงความคิดที่เกี่ยวกับอันติมสัจจ์ และมรรควิธีแห่งการเข้าถึงอันติมสัจจ์นั้น โดยเริ่มต้นอธิบายตั้งแต่เต๋าคืออะไร ธรรมชาติของเต๋า การเกิดขึ้นของสิ่งที่เป็นสมมติบัญญัติหลักจริยธรรมของชีวิต ไปจนกระทั่งการอธิบายถึงวิถีทางเข้าถึงเต๋า ส่วนบทที่ 38 - 81 เป็นการอธิบายว่าชีวิตของเราจะเป็นอย่างไร ลักษณะการเมืองการปกครองที่ดีเป็นอย่างไร ลักษณะของผู้เป็นปราชญ์ที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร ทำอย่างไรจึงจะมีชีวิตอยู่ในโลกนี้อย่างมีความสุข และประเทศในอุดมคตินั้นควรมีลักษณะอย่างไร

ค. หลักคำสอนและเป้าหมายสุดท้ายของชีวิต

ความจริงสุงสุดที่ลัทธิเต๋าให้ความเคารพนับถือ คือ "เต๋า" ซึ่งเป็นเอกภาพของสรรพสิ่งเป็นที่เกิดและดับของสิ่งทั้งหลาย แต่เอกภาพนี้เป็นสิ่งที่ไม่ตาย ไม่มีเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุดโดยความหมายของคำว่า "เต๋า" ซึ่งเป็นเอกภาพของสรรพสิ่งทั้งมวลนี้มีความหมายว่า "หนทาง หรือวิธี" ซึ่งเป็นหนทางที่ไร้ทาง นั่นคือ เราไม่สามารถเห็นหนทางนี้ด้วยการเห็น ไปไม่ได้ด้วยการเดินแต่เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง เป็นหนทางที่มีจุดหมายแฝงอยู่ในตัวเอง เป็นบ่อเกิดและเป็นจุดหมายสุดท้ายของเอกภพ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูดหรือเหตุผล นอกจากการเปรียบเทียบ แต่การเปรียบเทียบก็ยังไม่สามารถอธิบายได้ถึงเต๋าตัวจริง ดังคำกล่าวของเหลาจื๊อในเต๋าเต๋อจิง บทที่ 1 ซึ่งพจนา จันทรสันติ (พจนา จันทรสันติ. 2523 : 53) ได้แปลมาจาก "ภูมิปัญญาจีน" (The Wisdom of China) ของหลินยู่ถั่ง โดยแปลความไว้ว่า

"........เต๋าที่อธิบายได้มิใช่เต๋าอันอมตะ
ชื่อที่ตั้งให้กันได้ ก็มิใช่ชื่ออันสูงส่ง
เต๋านั้นมิอาจอธิบาย และมิอาจตั้งชื่อ
เมื่อไร้ชื่อทำฉันใด จักให้ผู้อื่นรู้
ข้าพเจ้าขอเรียกสิ่งนั้นว่า "เต๋า" ไปพลาง ๆ
................... ..................
บ่อเกิดนั้นสุดแสนลึกล้ำ
ความลึกล้ำสุดแสนนั้น
คือประตูที่เปิดไปสู่ความรู้แจ้งแห่งสรรพชีวิต"

นอกจากนี้แล้ว ในเต๋าเต็กเก็งบทที่ 6 ได้ทำให้เราเห็นความยิ่งใหญ่ของเต๋ามากขึ้น เพราะจากเอกภาพนี้เองที่เป็นบ่อเกิดของฟ้าและดิน พจนา จันทรสันติ (2523 : 61) ได้แปลความไว้ว่า

"อหิทธานุภาพอันล้ำลึกนั้นมิเคยดับสูญ
เป็นมารดาอันมหัศจรรย์
จากทวาราแห่งมารดานี้เอง
ได้ก่อเกิดรากฐานแห่งฟ้าและดิน"

สำหรับในบทที่ 25 ได้ทำให้เราเห็นและเข้าใจในอันติมสัจจ์นี้ได้ดียิ่งขึ้นถึงความยิ่งใหญ่ที่มีอยู่เป็
นอยู่ด้วยตนเอง และจะมีอยู่อย่างนี้ต่อไปเรื่อย ๆ แม้นว่าสิ่งทั้งหลายจะสูญสิ้นไปหมดแล้วก็ตามแต่เต๋าก็ยังอยู่ชั่วนิจนิรันดร พจนา จันทรสันติ (2523 : 95) ได้แปลความไว้ว่า

"ก่อนดำรงอยู่ของฟ้าและดิน
มีบางสิ่งบางอย่างมืดมัวเคลือบคลุม
เงียบงันโดดเดี่ยว
อยู่เพียงลำพัง ไม่แปรเปลี่ยน
เป็นอมตะหมุนเวียนไม่หยุดยั้ง
มีค่าควรแก่การเป็นมารดาของสรรพสิ่ง
ข้าพเจ้าไม่ทราบชื่อสิ่งนั้น
แต่ถ้าถูกบังคับให้เรียก
ก็จะเรียกว่า "เต๋า"
และจะให้ชื่อว่า "ยิ่งใหญ่"
ยิ่งใหญ่หมายถึงความต่อเนื่อง
ความต่อเนื่องหมายถึงความยาวไกล
ความยาวไกลหมายถึงการกลับสู่ต้นกำเนิดเดิม
ดังนั้นเต๋าจึงยิ่งใหญ่
ฟ้าจึงยิ่งใหญ่
ดินจึงยิ่งใหญ่
ปราชญ์จึงยิ่งใหญ่
นี่คือความยิ่งใหญ่สี่ชนิดในจักรวาล
และปราชญ์ก็นับเป็นหนึ่งในนั้น
คนทำตามกฎแห่งดิน
ดินทำตามกฎแห่งฟ้า
ฟ้าทำตามกฎแห่งเต๋า
เต๋าคงอยู่และเป็นไปด้วยตนเอง"

ดังได้กล่าวมาแล้วนี้เราอาจสรุปได้ว่าเต๋าเป็นธรรมชาติที่มีอยู่เหนือถ้อยคำ จึงยากที่จะอธิบายให้ผู้คนเข้าใจได้ง่าย แต่มิได้หมายความว่าเราจะไม่มีโอกาสเข้าถึงเต๋า การเข้าถึงเต๋าและรู้จักเต๋ากระทำได้ด้วยการบำเพ็ญเพียร ทางจิตให้สงบจากอารมณ์ภายนอกทั้งอารมณ์ที่น่ายินดีและไม่น่ายินดี ไม่หลงเพลิดเพลินกับอารมณ์ที่ตนได้เข้าไปสัมพันธ์เกี่ยวข้องแต่ควบคุมจิตให้อยู่ในภา
วะบริสุทธิ์ ดังคำกล่าวในเต๋าเต๋อจิงบทที่ 10 ความว่า

"รักษาดวงวิญญาณให้พ้นจากความมัวหมอง
ทำจิตให้แน่วนิ่งเป็นหนึ่งเดียวได้หรือไม่
หายใจอย่างละเอียดอ่อนแผ่วเบา
เหมือนลมหลายใจของเด็กอ่อนได้หรือไม่
ชำระล้างญาณทัศนะให้หายมืดมัว
จนอาจแลเห็นกระจ่างชัดได้หรือไม่
มีความรักและปกครองอาณาจักร
โดยไม่เข้าไปบังคับบัญชาได้หรือไม่
ติดต่อรับรู้ และเผชิญทุกข์สุข
ด้วยความสงบนิ่งไม่ทุกข์ร้อนได้หรือไม่
แสวงหาความรู้แจ้ง
เพื่อละทิ้งอวิชชา ได้หรือไม่
ให้กำเนิด ให้การบำรุงเลี้ยง
ให้กำเนิด แต่มิได้ถือตนเป็นเจ้าของ
กระทำกิจ แต่มิได้ยกย่องตนเอง
เป็นผู้นำในหมู่ตน แต่มิได้เข้าไปบงการ
เหล่านี้คือคุณความดีอันลึกล้ำยิ่ง"

(พจนา จันทรสันติ. 2523 : 67)


การรักษาจิตให้บริสุทธิ์ คือ การเข้าถึงตัวตนภายในอันเป็นความรู้ที่ประเสริฐยิ่งกว่าการแสวงหามากเท่าใดก็ยิ่งรู้
น้อยเท่านั้น เพราะจิตยิ่งพอกพูนกิเลสมากขึ้น ความอยาก ความต้องการและความยึดถือก็ทวีขึ้นเรื่อย ๆ ในที่สุดมนุษย์ต้องตกเป็นทาสและถูกทำลายเพราะอวิชชานี้ ด้วยเหตุนี้นักปราชญ์เต๋า ก็คือผู้รู้แจ้ง ความรู้ภายในจึงสามารถสลัด ละ ปล่อยวางกิเลสตัณหาและหมด ซึ่งความยึดถือยึดติดในสิ่งทั้งหลายทั้งปวง
เราอาจสรุปได้ว่าคำสอนของเต๋ามุ่งให้บุคคลเข้าสู่สาระแห่งแก่นแท้โดยตรง โดยละความยึดถือมั่นในสิ่งทั้งปวง เป็นผู้อยู่พ้นจากความสงสัย ไปพ้นจากการแบ่งแยก ไม่ให้คุณค่าแก่สิ่งที่คนส่วนมากยึดถือ สลัดความหยิ่งยะโสโอหังออกไป สลัดความฉลาดและความเป็นคนเจ้าเหตุผล แต่หวนกลับมาดำรงชีวิตอยู่กับธรรมชาติ มีชีวิตที่เรียบง่าย มีใจที่บริสุทธิ์ปราศจากความอยากความต้องการในสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ความสงบจึงจะเกิดขึ้นได้ ดังคำกล่าวในเต๋าเต๋อจิงบทที่ 37 ความว่า

"เต๋าไม่เคยกระทำ
แม้กระนั้นทุกสิ่งทุกอย่างก็สำเร็จลุล่วงลง
หากกษัตริย์และเจ้านครสามารถรักษาเต๋าไว้ได้
โลกก็จะเปลี่ยนแปลงไปโดยความต่อเนื่อง
เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงไป และเกิดการกระทำต่าง ๆ ขึ้น
จงปล่อยให้ความเรียบง่ายแต่บรรพกาลเป็นผู้ควบคุมการกระทำ
ความเรียบง่ายแต่บรรพกาลนี้ไร้ชื่อ
มันช่วยขจัดความอยากทั้งปวง
เมื่อขจัดความอยากได้
ความสงบย่อมเกิดขึ้น
ดังนั้นโลกย่อมถึงซึ่งสันติสุข"

(พจนา จันทรสันติ. 2523 : 67)


อย่างไรก็ตามรากฐานสำคัญที่จะนำบุคคลไปสู่ชีวิตที่เรียบง่ายนั้น ท่านเหลาจื๊อได้กล่าวไว้มี 3 ประการ คือ

1. การมีความรัก จะช่วยให้เรากล้าหาญ
2. การทำแต่พอควร จะทำให้เราเป็นคนเรียบง่ายมีจิตใจกว้างขวาง
3. การไม่เป็นเอกในโลก ทำให้เรารู้จักเป็นผู้ตามที่ดี

คุณธรรม 3 ประการนี้เป็นหลักปฏิบัติที่จะทำให้บุคคลได้รับชันะและปลอดภัยจากความทุกข์ทั้งปวงใน
โลก ซึ่งเราจะศึกษาได้จากเต๋าเต็กเก็งบทที่ 67 เต๋าเต๋อจิง บทที่ 80

"หวังให้ประเทศเล็กที่มีพลเมืองน้อย
มีอาหารพอที่จะเลี้ยงดูพลเมือง
มากกว่าที่เขาต้องการถึงสิบเท่าร้อยเท่า
ให้ประชาชนเห็นคุณค่าของชีวิต
และไม่ท่องเที่ยวพเนจรไปไกล
ถึงแม้จะมีพาหนะเรือและรถ
ก็ไม่มีใครปรารถนาจะขับขี่
ถึงแม้จะมีเกราะและอาวุธ
ก็ไม่มีโอกาสจะใช้
ให้กลับไปใช้การจดจำเรื่องราว
ด้วยการผูกเงื่อนแทนการเขียนหนังสือ
ให้เขานึกว่าอาหารพื้น ๆ นั้นโอชะ
บ้านเรือนธรรมดานั้นสุขสบาย
ประเพณีวิถีชีวิตนั้นน่าชื่นชม
ในระหว่างเพื่อนบ้านนั้นต่างเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน
จนอาจได้ยินไก่ขันสุนัขเห่าจากข้างบ้าน
และตราบจนวันสุดท้ายของชีวิต
จะไม่มีใครได้เคยออกไปนอกประเทศของตนเลย"

(พจนา จันทรสันติ. 2523 : 67)


บทที่ 80 นี้ แสดงให้เห็นถึงประเทศในอุดมคติของท่านเหลาจื๊อที่ต้องการให้มีรูปแบบที่เรียบง่ายไม่
เนนความเป็นวัตถุนิยม แต่ส่งเสริมทางด้านจิตวิญญาณและให้คุณค่าของชีวิต วิถีชีวิตที่เรียบง่ายนี้จะทำให้ผู้คนมีความสุขในประเทศของตน โดยไม่จำเป็นต้องออกไปแสวงหาที่อื่น

ประเทศในอุดมคติของท่านเหลาจื๊อเป็นเพียงประเทศเล็ก ๆ ที่มีพลเมืองน้อย เพราะท่านไม่เห็นด้วยกับการล่าอาณานิคม หรือการแสวงหาดินแดนเป็นเมืองขึ้น เพราะจะทำให้ประเทศใหญ่โตเกินไปจนยากที่จะปกครองได้ทั่วถึง และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดกฎบัญญัติข้อบังคับต่าง ๆ ออกมามากมาย ประเทศน้อย คนน้อย ความสิ้นเปลืองทางเศรษฐกิจย่อมน้อยอันเป็นไปตามสัดส่วนการปกครองจึงเป็นไปได้ง่ายกว่
า ทฤษฏีนี้เรียกว่า "เซียวก๊กกั้วมิ้น" ท่านเสถียร โพธินันทะ (2514 : 214) แปลว่า "ทำให้เป็นรัฐเล็ก ๆ มีพลเมืองน้อย ๆ " ความคิดทางการเมืองของท่านเหลาจื๊อนี้ นักทฤษฏีการเมืองในโลกปัจจุบันบางท่านอาจจะไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะกลุ่มประเทศมหาอำนาจที่มีพื้นดินและจำนวนประชากรมาก การปกครองแบบเสรีนิยมและธรรมชาตินิยมของท่านเหล่าจื๊อจึงยากที่จะปฏิบัติได้ในยุคปัจ
จุบันจนกวาเมื่อใดก็ตามทโลกที่เราอยู่นี้มีมนุษย์ที่หมดความเห็นแก่ตัวแล้ว เมื่อนั้นทฤษฎีทางการเมืองแบบเซียวก๊กกั้วมิ้นอาจจะถูกนำมาใช้ปฏิบัติให้เห็นจริงได้


ง. ปรัชญาเต๋าและลัทธิเต๋า

ก่อนกำเนิดปรัชญาเต๋านั้นชาวจีนเคยนับถือธรรมชาติ เพราะเขาสังเกตเห็นว่าธรรมชาติมีคุณลักษณะสำคัญ 3 ประการคือ

1. ความเป็นวัฎจักรที่หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปอย่างเป็นระบบ เช่น การเกิดขึ้นของกลางวันและกลางคืน การหมุนเวียนเปลี่ยนไปของฤดูกาล ทำให้เกิดสภาพอากาศที่หลากหลายกันออกไปในแต่ละปี
2. มีการเกิดและดับตลอดเวลาเช่นความสว่างไสว และความมืดของพระจันทร์ทำให้เกิดข้างขึ้นข้างแรม
3. ความเป็นเอกภาพเดียวกันแม้นว่าเราจะเห็นว่า ธรรมชาติที่ปรากฎแก่ตามีความหลากหลายนับไม่ถ้วน ทำให้เกิดคุณสมบัติเฉพาะตัวบางอย่างก็คล้ายคลึง บางอย่างก็ตรงกันข้ามกัน แต่แท้จริงแล้วทั้งหมดนี้ล้วนเป็นเอกภาพเดียวกัน

ด้วยสาเหตุดังได้กล่าวมาแล้วนี้ จึงทำให้นักปราชญ์จีนหลายท่านพยายามค้นหาความลี้ลับของธรรมชาติ ทำให้แนวคิดในเรื่องวิญญาณและผีได้แทรกเข้ามาปะปน จนเกิดความคิดที่ว่ามีวิญญาณแฝงอยู่ในธรรมชาติ วิญญาณที่ว่านี้มีตั้งแต่วิญญาณที่อยู่ในท้องฟ้าซึ่งเรียกว่าเทพแห่งฟ้า หรือเทพแห่งสวรรค์ (ภาษาจีนมีคำเรียกพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่นี้ว่า "เทียน") ไล่ลงมาจนกระทั่งถึงเทพที่อยู่บนพื้นดิน ภูเขา ต้นไม้ ลำธาร แม่น้ำ ฯลฯ ลักษณะความเชื่อเช่นนี้เป็นแบบพหุเทวนิยม (Polytheism) กล่าวคือ เทพเจ้าแต่ละองค์ต่างมีฤทธิ์อำนาจ ถ้ามนุษย์คนใดต้องการบรรลุถึงซึ่งความปรารถนาของตน จะต้องกราบไหว้เซ่นสรวงเทพเจ้าแต่ละองค์แล้วแต่กรณี บางกลุ่มชนอาจจะยกย่องเทพเจ้าองค์หนึ่งให้ยิ่งใหญ่กว่าองค์อื่น ๆ แต่ในขณะเดียวกันเทพองค์ที่ยิ่งใหญ่นี้อาจจะถูกลดความสำคัญลงสำหรับอีกกลุ่มชนหนึ่ง

อย่างไรก็ตามโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว ชาวจีนในสมัยโบราณนั้นนิยมยกย่องเทพแห่งสวรรค์ให้เป็นใหญ่กว่าเทพองค์อื่น ๆ เป็นเทวาดิเทพที่ต้องมีการเซ่นสรวงบูชาอยู่เสมอ และการทำพิธีกรรมเซ่นสรวงบูชานั้นสามัญชนไม่วสามารถกระทำได้ นอกจากพระมหากษัตริย์เท่านั้น เพราะเชื่อกันว่าพระองค์เป็นโอรสแห่งสวรรค์จึงมีหน้าที่ที่จะต้องกระทำการเซ่นไหว้เป
็นประจำทุกปี จนกลายเป็นรัฐพิธีที่ใหญ่โตจะละเว้นมิได้เลย ในการเซ่นไหว้แต่ละครั้งนิยมฆ่าสัตว์นำมาสังเวยพร้อมกับข้าวปลาอาหาร รวมทั้งสุรา ที่มีรสเป็นเลิศ การทำพิธีกรรมแต่ละครั้งจะมีความประณีตในการถวายของบูชา เพราะมีผลต่อความเป็นอยู่ของอาณาประชาราษฏณ์ ปีใดที่เกิดความอดอยากแห้งแล้ง ยิ่งต้องมีการเซ่นไหว้เป็นพิเศษ มิฉะนั้นแล้วพวกที่คิดร้ายต่อราชบัลลังก์อาจยกขึ้นมาเป็นเหตุผลหนึ่งในการล้มล้างอำน
าจองกษัตริย์เพราะเหตุที่ว่าเป็นผู้ทำให้ฟ้าพิโรธไม่เป็นที่โปรดปรานอีกต่อไป และผู้ที่เข้ามาครอบครองคนใหม่ อาจจะอ้างถึงความชอบธรรมในการล้มล้างราชบัลลังก์กษัตริย์ของจีน จึงมีหน้าที่เป็นศาสนาจารย์โดยปริยาย อำนาจในทางศาสนาจึงอยู่ภายใต้อิทธิพลทางการเมือง

สำหรับประชาชนซึ่งไม่สามารถติดต่อกับพระเจ้าแห่งสวรรค์ได้ดังเช่นกษัตริย์ พวกเขาจะบูชาเทพบริวารองค์อื่น ๆ และวิญญาณบรรพบุรุษเพื่อสร้างความอบอุ่นใจและความมั่นคงในชีวิต ในแต่ละหมู่บ้านจึงมีศาลเจ้าให้กราบไหว้ และในแต่ละบ้านก็จะมีป้ายสถิตดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ


ความเชื่อของชาวจีนในเรื่องวิญญาณ ได้แสดงให้เห็นถึงความพยายามที่จะรู้จักและเข้าใจในธรรมชาติ โดยมีเป้าหมายที่จะเข้าใจในชีวิตของตนเอง จึงแสดงออกมาในรูปของความเชื่อแบบวิญญาณนิยม (Animism)
ต่อมาเมื่อความรู้ได้พัฒนาขึ้นความเชื่อในเรื่องพระเจ้าค่อย ๆ จางลง นักปราชญ์โบราณ ของจีนได้ค้นพบกฎแห่งธรรมชาติที่ครอบงำความเป็นไปของเอกภพ และแสดงออกมาในรูปของพลังอำนาจทั้ง 2 ด้าน ที่เรียกว่าหยินและหยาง พลังหยินเป็นพลังลบที่แสดงออกถึงความมืด ความลึกลับ ความหนาวเย็น ความเปียกชื้น และความเป็นหญิง พลังนี้ปรากฏอยู่ในดิน พระจันทร์ และเงามืดส่วนพลังหยางเป็นพลังบวก แสดงออกถึงความสว่าง ความอบอุ่น ความแห้ง การสร้างสรรค์ และความเป็นชาย พลังนี้ปรากฏอยู่ในพระอาทิตย์ และสิ่งที่ส่องแสงสว่าง ในเอกภพนี้จะมีพลังทั้งสองอย่างผสมกันในสัดส่วนที่ทำให้เกิดเป็นสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา แต่ถ้าพลังอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่เป็นไปตามสัดส่วนก็จะทำให้ผลที่เกิดขึ้นวิปริตไป

โลกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเอกภพได้ถูกสร้าง ขึ้นมาด้วยพลังอำนาจทั้ง 2 อย่างนี้ทำให้มีสิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากนับไม่ถ้วน แต่นักปราชญ์จีนในสมัยโบราณได้พยายามที่จะจัดระบบของมันออกมาเป็นกลุ่ม ๆ โดยพิจารณาจากคุณสมบัติ ซึ่งจำแนกออกมาได้เป็น 5 ธาตุ คือ ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุไม้ ธาตุโลหะ (ซึ่งมุ่งหมายเฉพาะธาตุทอง) และธาตุดิน

อย่างไรก็ตามแม้นว่านักปราชญ์จีนในสมัยต่อมาจะสอนให้มนุษย์มีความเข้าใจธรรมชาติ โดยใช้ปัญญามากกว่าความงมงาย ผู้ที่จะเข้าใจคำสอนเช่นนี้ได้ก็คงมีแต่ผู้มีปัญญาเท่านั้น คนจีน โดยทั่ว ๆ ไปยังคงนับถือวิญญาณและเทพเจ้า เมื่อวันเวลาผ่านพ้นไปคำสอนของปราชญ์คงเหลือไว้ให้ปัญญาชนศึกษาและขบคิดต่อไป ส่วนสามัญชนยังคงยึดถือในความเชื่อเดิม ๆ เทพเจ้ายังคงได้รับการยกย่องบูชาถูกยึดถือเป็นที่พึ่งต่อไป

ปรัชญาของท่านเหลาจื๊อก็ตกอยู่ภายใต้กฎนี้เช่นกัน กล่าวคือ คำสอนของท่านที่มุ่งให้บุคคลเข้าในในธรรมชาติอย่างผู้มีปัญญา และดำเนินวิถีชีวิตแบบเรียบง่ายที่สุด แต่พอวันเวลาได้ผ่านพ้นไปหลักคำสอน และคัมภีร์เต๋าเต๋อจิงได้ถูกเสริมเติมแต่ง เน้นหนักในทางอภินิหารและเวทมนต์ ทำให้ปรัชญาเต๋าได้เปลี่ยนรูปมาอยู่ในลักษณะของลัทธิศาสนาที่นำเอาความเชื่อในเรื่อง
หยินและหยางมาผสมกับความเชื่อดั้งเดิมของชาวจีนที่เคยบูชาพระเจ้าในธรรมชาติ รวมทั้งความเชื่อในทางไสยศาสตร์และการเล่นแร่แปรธาตุ

บุคคลแรกของลัทธิเต๋าที่เป็นผู้ก่อตั้งลัทธิคือนักพรต จางเต๋าหลิง แห่งภูเขาหลุ่งหัวซาน มณฑลเสฉวน นักพรตท่านนี้เคยประกาศว่าตนเองสำเร็จทิพยภาวะติดต่อกับเทพเจ้าได้ ท่านได้ยกให้ท่านเหลาจื๊อเป็นศาสดา และยกย่องคัมภีร์เต๋าเต๋อจิงเป็นสูตรของศาสนา พร้อมทั้งเขียนคัมภีร์เพิ่มขึ้นมาอีกหลายเล่ม แต่ละเล่มล้วนหนักไปในเรื่องของไสยศาสตร์เวทย์มนต์ การเล่นแร่แปรธาตุ และการแสวงหายาอายุวัฒนะ และเชื่อกันว่าพรตผู้นี้มีทิพยอำนาจมากสามารถติดต่อกับวิญญาณต่าง ๆ ได้ รวมทั้งติดต่อกับท่านปรมาจารย์เหลาจื๊อ และมีความสามารถในการปราบปรามเหล่ามารร้ายภูติผีปีศาจได้ด้วยดาบศักดิ์สิทธิ์ซึ่งท่า
นปรมาจารย์เหลาจื๊อได้มอบให้

สานุศิษย์จึงยกย่องท่านเป็น "เทียน ฉี เช็ง อิ เต๋า" (T'ien - Shih Cheng - Yi Tao) ซึ่งทอมสัน (Laurence G. Thompson. 1979 : 107) ได้แปลว่า "วิถีทางแห่งเอกภาพอันสมบูรณ์ของปรมาจารย์ ผู้ได้รับการแต่งตั้งจากสวรรค์" (Way of Perfect Unity of the Master Designated by Heaven.) หรือตำราหลายเล่มใช้คำว่า "อาจารย์แห่งสวรรค์" (Celestial Teacher) ซึ่งต่อมาเจ้าลัทธิทุกคนได้ใช้สมณศักดิ์นี้กันตลอดมา

ความไม่ธรรมดาของท่านจางเต๋าหลิงนั้นมีผู้เล่ากันมากมาย เช่น ท่านได้รับการบวชเป็นนักพรตโดยวิญญาณของท่านเหลาจื๊อเป็นผู้บวชให้ ท่านสามารถค้นพบสูตรของความเป็นอมตะท่านจึงมีพลังชีวิตที่เป็นทิพย์ ท่านมีดาบศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถปราบปีศาจร้ายแม้อยู่ไกลถึง 1,000 ไมล์ และสุดท้ายเชื่อกันว่าท่านขึ้นสวรรค์ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่โดยขี่เสือขึ้นไปทางยอดเ
ขาหลุงหัวซานท่านจางเต๋าหลิง มีอายุยืนถึง 120 ปี

หลังจากนั้นทายาทสกุลจางได้สืบทอดตำแหน่งกันต่อมาตั้งแต่ลูกจนถึงหลาน ลูกหลานของท่านมีส่วนทำให้ลัทธิเต๋ามีความเป็นระบบมากขึ้น นิกายนี้จึงได้ชื่อว่า นิกายเช็งอิ (Cheng - Yi) ซึ่งเน้นในรหัสยลัทธิเชื่อถือโชคลางอภินิหารการเข้าทรงและ คาถาอาคมต่าง ๆ นักบวชในนิกายนี้มีครอบครัวได้เช่นเดียวกับชาวบ้านทั่วไป

ในขณะเดียวกันแนวทางเดิมของท่านเหลาจื๊อยังคงมีอยู่โดยมีผู้สืบทอดพยายามค้นหาความจร
ิงภายในด้วยการดำเนินชีวิตตามแนวทางของท่านปรมาจารย์ พวกนี้ถูกเรียกว่าพวก "ชวน เชน เจียว" (Ch'uan - chen Chiao) ซึ่ง ทอมสัน (Laurence G. Thomson. 1979 : 107) ได้แปลว่า "การสืบทอดการบรรลุสิ่งสัมบูรณ์" (Tradition of Absolute Attainment) พวกนี้มีแนวทางชีวิตคล้ายกับชาวพุทธและนักพรตก็ดำเนินชีวิตเหมือนกับพระในพุทธศาสนา ต้องสละโสด งดน้ำเมา รับประทานอาหารามังสวิรัติ และที่เคร่งครัดมาก ๆ อาจต้องไปอยู่ตามถ้ำในเขาในป่า

วิวัฒนาการของลัทธิเต๋ายังคงมีอยู่ต่อไปเรื่อย ๆ ปัจจุบันนี้ถ้าเราศึกษาคำสอนในลัทธิเต๋า เราอาจจะแปลกใจที่เห็นคำสอนในพุทธศาสนาหลายเรื่องได้เข้าไปแทรกอยู่ทั้งนี้อาจเป็นผล
สืบเนื่องมาแต่อดีตในยุคสมัยที่พุทธศาสนามหายานได้เข้าไปเผยแพร่ในจีน ลัทธิเต๋ามีส่วนอย่งมากที่ช่วยตีความคำสอนในพุทธศาสนาเป็นภาษาจีน และชาวพุทธอินเดียที่เข้าไปเผยแพร่ศาสนาในจีน ซึ่งอาจจะมีปัญหาในเรื่องภาษา ได้ใช้วิธียืมคำบางคำของเต๋ามาช่วยในการอธิบายแนวคิดของพุทธศาสนา ยิ่งนานวันเท่าใดอิทธิพลของพุทธศาสนาก็ยิ่งมีอิทธิพลต่อลัทธิเต๋ามากขึ้น ถ้าเราสังเกตให้ดีจะเห็นว่าไม่เพียงแต่ในด้านคำสอนเท่านั้น แม้แต่รูปแบบความเป็นอยู่ของพระสงฆ์ก็ถูกนำไปปรับปรุงใช้จนกระทั่งนักบวชเต๋าที่เคยถ
ือพรตตามถ้ำภูเขา ได้เข้ามาใช้ชีวิตอยู่ในอาราม และมีการถือโสดเช่นเดียวกับพระสงฆ์ในพุทธศาสนา อย่างเช่นนิกายชวนเชน เป็นต้น

ลัทธิเต๋าเคยรุ่งโรจน์ในจีนแผ่นดินใหญ่ ต่อมาต้องได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยรัฐบาลคอมมิวนิสต์ได้ยึดครองปร
ะเทศจีนในปี พ.ศ. 2492 ได้ออกคำสั่งขับไล่นักบวชศาสนาต่าง ๆ นานา เช่น ไม่อนุญาตให้ทำพิธีกรรมทางศาสนา และไม่ให้เผยแพร่ศาสนา ด้วยวิธีใดทั้งสิ้น ผู้นับถือลัทธิเต๋าในแผ่นดินใหญ่จึงเหลือน้อยมาก เพราะหลายคนได้อพยพไปอยู่ไต้หวันและถิ่นอื่น ๆ จนกระทั่งหลังจากที่ประธานเหมาได้สิ้นชีวิตในปี พ.ศ. 2520 การผ่อนคลายทางศาสนาของจีนแผ่นดินใหญ่จึงดีกว่าแต่ก่อน เพราะประชนชนสามารถประกอบพิธีกรรมได้

สำหรับชาวเต๋าที่อพยพไปอยู่ไต้หวันได้นำเอาความเชื่อและลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ ที่เคยกระทำเมื่อสมัยอยู่ประเทศจีนไปด้วย เป็นเหตุให้มีการเผยแพร่ศาสนาด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การจัดตั้งสมาคม การพิมพ์หนังสือธรรมะและการจัดพิธีถือศีลกินเจ นอกจากนี้ในบางนิกายมีเสรีภาพที่จะทำพิธีกรรมต่าง ๆ ได้ เช่น การทรงเจ้า การทำพิธีไล่ผีร้าย การปลุกเสกของขลังและการทำพิธีกรรมต่าง ๆ ในวันสำคัญทางศาสนา ด้วยความเป็นปึกแผ่นมั่นคงของผู้นับถือลัทธิเต๋าในไต้หวัน เป็นเหตุให้ทางราชการได้ยกย่องให้เป็นศาสนาประจำชาติ และได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเป็นอย่างดีตราบจนทุกวันนี้

จ. สถานที่ทำพิธีกรรม

วัดหรือสถานที่ทำพิธีกรรมของลัทธิเต๋ามีลักษณะเหมือนศาลเจ้าของจีนโดยทั่ว ๆ ไป เพียงแต่การตบแต่งภายในที่จะตั้งแท่นที่บูชานั้น ออกจะพิถีพิถันและมีข้อกำหนดกฎเกณฑ์มากมาย แม้ในไต้หวันซึ่งเป็นแหล่งที่มีผู้นับถือลัทธิเต๋ามาก ก็ยังมีการปฏิบัติในเรื่องนี้ต่างกันออกไป ระหว่างไต้หวันที่อยู่ตอนเหนือและตอนใต้ ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากความเชื่อในเรื่องเทพเจ้าและไสยศาสตร์ และความต้องการที่จะทำให้เกิดสิริมงคลแก่ผู้เคารพบูชา

อย่างไรก็ตามโดยทั่ว ๆ ไปแล้วภายในศาลเจ้านิยมติดภาพเขียนของเหล่าเทพเจ้าและปรมาจารย์คนสำคัญของลัทธิเต๋า แต่จะติดตั้งในทิศทางตำแหน่งใดนั้น แล้วแต่ความเชื่อของแต่ละท้องถิ่นภาพปรมาจารย์ที่สำคัญของเต๋ามีดังนี้ คือ

1. ภาพของจางเต๋าหลิงในท่าขี่เสือ ซึ่งเป็นตอนหนึ่งของความเชื่อที่เล่าสืบกันมาว่าท่านเคยขี่เสือทะยานขึ้นสู่สวรรค์ และกลับลงมาพร้อมกับพลังอำนาจแห่งสวรรค์ที่ได้รับจากเทพเจ้า
2. ภาพของเหลาจื๊อในชุดสีเหลือง ท่านเป็นปรมาจารย์คนสำคัญที่เปิดเผยคำสอนอันเล้นลับให้แก่จางเต๋าหลิง
3. ภาพของเหวินเจียง ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ของนักรบเต๋าผู้ปกป้องศาลเจ้าทางด้านตะวันออก
4. ภาพของจูยีในชุดสีแดง สีแดงเป็นสัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์และหัวใจ แสงแห่งดวงอาทิตย์จะช่วยขับไล่ความมืดและความชั่วร้าย ส่วนหัวใจจะช่วยเปิดทางให้เราได้ติดต่อกับเต๋า ภาพของจูยีนิยมติดไว้ใกล้ ๆ กับภาพของเต๋าหลิงในมือของจูยีจะถือเอกสารสีเหลืองซึ่งเชื่อกันว่า เป็นคำสั่งเปิดสวรรค์
5. ภาพของพระจักรพรรดิ์ในชุดนักรบ นิยมเรียกกันว่า พระจักรพรรดิ์แห่งทิศเหนือ ภาพของพระองค์จะแขวนไว้ตรงข้ามกับภาพของจางเต๋าหลิง

นอกจากนี้ยังมีการตั้งโต๊ะพิธีภายในศาลเจ้าสำหรับเป็นที่วางของเซ่นไหว้ตามทิศทางต่า
ง ๆ ภายในศาลจะมีของเซ่นไหว้เฉพาะทิศนั้น ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเทพเจ้าองค์ใดสถิตในที่ใด และถ้ามีการจัดพิธีกรรมใหญ่มากเท่าใด การตั้งโต๊ะก็จะเพิ่มมากขึ้นจนบางครั้งอาจจะเลยมาภายนอกศาลเจ้าได้

สำหรับพระผู้ทำพิธีกรรมของลัทธิเต๋านั้นมี 2 พวกทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนิกาย ถ้าเป็นพวกชวนเชนเจียว นักบวชในนิกายนี้ส่วนมากนิยมสละโสด ปฏิบัติเคร่งครัดมาก มีการทำสมาธิและดำเนินชีวิตแบบสมถะคล้ายกับนักบวชในพุทธศาสนา ไม่ใคร่มีพิธีกรรมที่พิถีพิถัน และเสริมสิริมงคลให้แก่ผู้ทุกข์ร้อน เมื่อทำพิธีกรรมสำคัญ พระเหล้านี้จะมีชุดเสื้อผ้าสำหรับทำพิธีกรรมโดยเฉพาะ และชุดเหล่านี้มีความงดงามวิจิตรพิสดารมาก
ชุดที่ใช้ทำพิธีกรรมมีทั้งหมด 3 ชุด และแต่ละชุดนั้นใช้วาระต่างกัน ชุดเหล่านี้ ได้แก่ เจียงอิ เต๋าเป้า และไหชิง

เต๋าเป้า เป็นชุดที่ใช้บ่อยมากและเกือบจะทุกพิธีกรรม มีสีแดง ปักลวดลายหยินหยาง และถ้าเป็นเต๋าเป้าของหัวหน้าผู้ทำพิธีกรรมจะมีสีส้ม เพื่อแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างผู้ช่วยทำพิธีกรรมและหัวหน้าพระผู้ทำพิธีกรรม
ลวดลายชุดเต๋าเป้าของหัวหน้าพระจะละเอียดพิสดารปักทั้งผืน แทบไม่มีที่ว่าง

เจียงอิ เป็นชุดที่ใช้ในพิธีกรรมที่เป็นทางการและเป็นพิธีกรรมที่ค่อนข้างสำคัญ หัวหน้าพระใส่ชุดนี้เพื่อแสดงตนว่าเป็นคนของสวรรค์ เนื้อผ้าเป็นผ้าไหมสีแดง มีการปักลวดลายที่ละเอียดมากแสดงถึงสวรรค์และจักรวาล ถ้าหัวหน้าพระใส่ชุดนี้ ผู้ช่วยจะต้องใส่ชุดเต๋าเป้า และถ้าหัวหน้า พระใส่ชุดเต๋าเป้า พวกผู้ช่วยจะต้องใส่ชุดไหชิง

ไหชิง ถ้าเป็นไต้หวันทางใต้มีทั้งสีดำและสีส้ม เป็นชุดที่ใส่ในพิธีกรรมพื้น ๆ ทั่ว ๆ ไป เช่น เวลาสวดมนต์และพิธีกรรมที่ไม่เป็นทางการ

ฉ. ประเพณีและพิธีกรรมทางศาสนา

ลัทธิเต๋าแม้นว่าจะมีนิกายแตกออกเป็น 2 ทาง แต่ทั้งสองนิกายนี้มีส่วนช่วยให้ลัทธิเต๋าคงอยู่ได้ทุกวันนี้ เพราะจริตของคนแต่ละคนต่างกัน ย่อมเลือกแนวทางที่ตนชอบไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและสังคม นิกายชวนเชนซึ่งเป็นพวกที่เน้นการบรรลุถึงภายในใจของตนจะไม่ใคร่เน้นพิธีกรรมมาก เพราะถือว่าการเข้าถึงเต๋านั้นเป็นหลักสำคัญยิ่งกว่าการบูชาและการเซ่นสรวงใด ๆ ส่วนพวกนิกายเช็งอิ เป็นพวกที่ให้ความสำคัญทางพิธีกรรมมาก และมีความเชื่อในอภินิหารความศักดิ์สิทธิ์ และโชคลางต่าง ๆ จึงเกิดข้อห้าม (Taboo) และพิธีกรรมขึ้นมาหลายรูปแบบ ทั้งนี้เป็นเพราะการตีความเต๋าซึ่งเป็นนามธรรมยากที่จะเข้าใจ พวกนี้จึงเข้าใจกันว่าการเข้าถึงเต๋าคือ การเข้าถึงความเป็นอมตะ ทำให้อายุยืนยาวจึงคิดค้นวิธีปรุงยาอายุวัฒนะ การสร้างทิพยอำนาจให้เกิดขึ้นในตนเองจนสามารถเหาะเหินเดินอากาศ ลุยไฟ และเดินในน้ำได้ อีกทั้งยังสามารถทำให้หนังเหนียวยังฟันไม่เข้า และปราบภูติผีปีศาจได้
ความสามารถที่กระทำให้เกิดขึ้นได้เช่นนี้นำไปสู่การสร้างพิธีกรรมต่าง ๆ ขึ้นมา

ประเพณีและพิธีกรรมของเต๋าที่จะกล่าวถึงในที่นี้ มุ่งศึกษาเฉพาะลัทธิเต๋าในไต้หวันเท่านั้น เพราะอีกกระบวนการและความเคลื่อนไหวทางศาสนาที่ต่อเนื่องกันมากกว่าพวกเต๋าที่กระจาย
ในประเทศอื่น ๆ ดังได้ทราบมาแล้วว่าลัทธิเต๋านั้นแบ่งเป็น 2 พวกใหญ่ ๆ คือ นิกายเช็งอิ และนิกายชวนเชน พากเช็งอิเป็นพวกที่เน้นในศาสนพิธี และรหัสยลัทธิ จึงนิยมทำพิธีกรรมเพื่อให้เกิดความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์และสามารถดลบันดาลให้เกิดความสำเร็จสมความปรารถนา พิธีกรรมเหล่านี้ประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลัก 3 ส่วน คือ

1. พิธีสวดมนต์ ซึ่งมีทั้งการสวดมนต์ประจำวันและการสวดในมนต์พิธี

2. พิธีกรรมทางศาสนาสำหรับคนเป็น เป็นพิธีกรรมเพื่อเสริมศิริมงคลให้กับผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่และสร้างความเจริญรุ่งเรื
องอยู่รอดปลอดภัยจากการรังควาญของภูติผีปีศาจ และเหล่ามารร้าย เพราะพวกเต๋านิกายเช็งอิเชื่อว่าตามธรรมชาติในที่ต่าง ๆ จะมีวิญญาณดีและวิญญาณร้ายอาศัยอยู่ วิญญาณร้ายจะคอยทำร้ายผู้คนและหลอกหลอนให้ตกใจกลัวจะทำให้คนถูกหลอกเจ็บป่วยได้ง่าย ดังนั้น จึงเกิดพิธีกรรมต่าง ๆ ขึ้นมา เช่น พิธีไล่ผี พิธีเซ่นไหว้เทพเจ้า พิธีส่งเสริมสิริมงคลในวันปีใหม่ และพิธีถือศีลกินเจ พิธีเหล่านี้มีพระเต๋าเป็นผู้ทำพิธีกรรมโดยมีดนตรีบรรเลงตลอด พิธีเครื่องดนตรีมีทั้งปีกลอง และจะบรรเลงตั้งแต่จังหวะช้าไล่ไปจนกระทั่งเป็นจังหวะรวดเร็วเร้าใจ เหตุที่มีดนตรีเข้ามาในพิธีกรรมเพราะเชื่อกันว่า เสียงดนตรีสามารถป้องกันปีศาจร้าย เพราะพวกนี้ ไม่ชอบเพลงและเสียงดังอึกทึกของเครื่องดนตรี เครื่องดนตรีที่บรรเลง ได้แก่ กลอง ปี่ และดาบ เป็นต้น ในขณะดนตรีบรรเลง พระผู้ทำพิธีจะสวดมนต์พึมพำตลอด พร้อมกันนี้มีการรำดาบ ปัดแส้ และพรมน้ำมนต์ มีการเผากระดาษเหลืองอีกทั้งมีการเซ่นไหว้ด้วยอาหารและผลไม้ พิธีกรรมที่กล่าวมาข้างต้นนี้จะกระทำให้วัดเต๋า ซึ่งมีลักษณะแบบศาลเจ้าทั่ว ๆ ไปของจีนมีบางพิธีที่อาจจะแยกออกมาทำภายนอกวัด เช่น การแห่รูปเทพเจ้าไปตามถนนหนทางในวันสำคัญทางศาสนาเพื่อให้คนเคารพสักการะ และเพื่อเป็นศิริมงคลแก่ชุมชนนั้น ๆ ในกรณีนี้นิยมกระทำในช่วงถือศีลกินเจประมาณเดือนกันยายนหรือเดือนตุลาคม และบางแห่งอาจกระทำกันในเดือนพฤศจิกายน สำหรับเทศกาลกินเจนี้อาหารที่เซ่นไหว้เทพเจ้านิยมเป็นพวกมังสวิรัติโดยประดิษฐ์ ให้มีรสชาติคล้ายกับเนื้อสัตว์จริง ๆ แต่ทั้งหมดนี้ล้วนทำมาจากถั่ว งา ข้าว เห็ด แป้งและผักเป็นสำคัญ

3. พิธีกรรมทางศาสนาสำหรับคนตาย เป็นพิธีกรรมที่ช่วยให้คนตายได้รับแสงสว่างของสวรรค์เป็นพิธีส่งวิญญาณผู้ตายให้สามา
รถข้ามสะพานก้าวไปสู่สวรรค์ได้เร็วขึ้น คล้ายกับพิธีกงเต็กในไทยซึ่งทำโดยพวกพระมหายาน แต่รายละเอียดนั้นอาจจะแตกต่างกันออกไปเพราะในการทำพิธีกรรมนั้นจะมีการบรรเลงดนตรีแ
ละร่ายมนต์ตลอด จากนั้นนำกระดาษแผ่นหนึ่งใส่ในโลง อีกแผ่นให้เผาไฟจากนั้นหามโลงไปเผาโดยมีพระเต๋าสั่นกระดิ่งนำหน้าและสวดมนต์ นิกายเช็งอิ จะทำพิธีกรรมนี้ให้คนตายที่ตายแบบไม่ปกติเท่านั้น เช่น คลอดลูกตาย ตายในขณะที่เป็นหนุ่มเป็นสาว หรืออาจจะทำให้ปู่หรือพ่อก็ได้ คนที่ตายแบบนี้เขาถือกันว่าวิญญาณจะไม่สงบสุข มีแต่ความขุ่นเคืองจึงอาจก่อความยุ่งยากให้ได้ จึงเป็นหน้าที่ของครอบครัวที่จะเชิญพระเต๋ามาทำพิธีกรรม

อย่างไรก็ตาม การทำพิธีกรรมสำหรับคนตายแบบนี้นั้น ไม่ใช่ว่าเป็นพิธีหลักตายตัวของเต๋าทุกนิกาย เพราะมีชาวเต๋าบางคนที่อยู่ทางตอนเหนือของไต้หวันไม่ได้ให้ความสนใจในเรื่องนี้อย่าง
จริงจัง จึงนิยมให้พระในพุทธศาสนาเป็นผู้ทำพิธีกรรม เลเกอร์เวย์ (Lagerwey. 1987 : 171) ได้กล่าวว่าชาวเต๋าบางคนถึงขนาดเชื่อว่าพุทธศาสนาเป็นศาสนาของความตาย ส่วนเต๋าเป็นศาสนาของชีวิตกล่าวคือ ยามมีชีวิตอยู่ก็ดำเนินชีวิตไปตามหนทางของเต๋า แต่พอตายไป ชาวเต๋าหลายคนนิยมให้พระของชาวพุทธทำพิธีกรรม

 Cool



บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: